ผู้เขียน หัวข้อ: ภควัทคีตา..บทเพลงแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า และ คัมภีร์มหาภารตะ  (อ่าน 2447 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ภควัทคีตา..บทเพลงแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า และ คัมภีร์มหาภารตะ
         

                 ภควัทคีตา.. บทเพลงแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า
       
''''''''''ภควัทคีตา(Bhagavad Gita) เป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะ(Mahabharata) ได้รจนาโดยท่านฤาษีวฺยาส (Vayasa) ซึ่งมีจุดประสงค์เช่นเดียวกันกับท่านฤาษีวาลมิกิ(Valmiki) ผู้รจนามหากาพย์รามายณะ(Ramayana) หรือรามเกียรติ์ คือ

''''''''''ฤาษีทั้ง ๒ ท่าน มีความเห็นว่าการศึกษาให้ลึกซึ้งในคัมภีร์พระเวท หรือคัมภีร์อุปนิษัท นั้นสำหรับบุคคลสามัญธรรมดา หรือชาวบ้านทั่วไปในอินเดียนั้น ให้เข้าใจถ่องแท้นั้นทำได้ยากยิ่ง

''''''''''เพราะคัมภีร์พระเวท หรือคัมภีร์อุปนิษัท กล่าวถึงส่วนนามธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นสภาวะที่ละเอียดที่บรรยายถึงธรรมชาติสูงสุดและความเป็นไปของจักรวาล...

''''''''''การที่ให้คนทั่วไปเข้าใจ ได้ ก็คือ การเขียนรจนาเป็นกาพย์เรื่องราวเป็นรูปธรรม เพื่อปลูกฝังศีลธรรม การประพฤติตนให้ถูกต้อง ผ่านความประทับใจในตัวละครที่รจนาขึ้นมาโดยอาศัยข้อมูลประวัติศาสตร์จริงของอินเดียมา บางส่วน เพื่อดำเนินเรื่อง โดยให้ผู้อ่านสามารถเกิดการซึมซับธรรมะจากความประทับใจเนื้อหานั้น โดยไม่ต้องท่องจำ เป็นวิถีชีวิต คุณธรรม สู่ความดีงาม

''''''''''มหากาพย์ภารตะเป็นเรื่องราวการต่อสู้กันเองของชาวอารยันหลังจากยึดอินเดียได้ จากชนเผ่าพื้นเมืองดราวิเดียนแล้วอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด สงครามนี้เป็นการต่อสู้กันระหว่างตระกูลปาณฑพ(Pandavas) กับตระกูลเการพ(Kurus) ซึ่งเป็นพี่น้องกันเอง จนเกิดเป็นสงครามที่กุรุเกษตรทางภาคเหนือใกล้กับกรุงเดลลีเก่า ครั้งนี้กษัตริย์อารยันทั่วอินเดียได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย แสดงถึงสภาพของอินเดียในขณะนั้นที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจกัน

''''''''''ภควัทคีตา' ถือเป็นตอนสำคัญที่สุดในเนื้อเรื่อง เนื้อความเป็นอนุศานส์การสนทนาระหว่างพระกฤษณะกับพระอรชุน ก่อนประกาศสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร คำสนทนานั้นพระกฤษณะได้อธิบายถึงความจริงของจักรวาล ความมีอยู่ ความเป็นไป และความที่จะเป็นของสิ่งต่างๆในจักรวาล.. เพื่อให้พระอรชุนเข้าใจในข้อเท็จจริงอันเป็นสัจธรรม ความเข้าใจในสัจธรรมนี้จะเป็นรากฐานแห่งความเห็น การคิด การตัดสินใจในการกระทำต่างๆได้ตามหน้าที่อย่างถูกต้องตามหลักแห่งสัจธรรม กฏแห่งธรรม (กรรม)



พระกฤษณะกำลังสอนธรรมะอันยิ่งใหญ่ในแก่อรชุน

พระกฤษณะตรัส...
''''''''''อรชุนเราจะบอกญาณอันเป็นความรู้ที่เร้นลับที่สุดแก่เธอผู้เป็นคนน่ารัก เมื่อเธอรู้สิ่งนี้แล้วเธอจะสามารถพ้นจากความบาปได้ สิ่งนี่เป็นราชาแห่งวิทยา เป็นราชาแห่งความเร้นลับ เป็นยอดแห่งผู้ที่ชำระตนจะสามารถรับรู้ได้โดยธรรมและญาณทัศนะที่ถูกต้อง ปฏิบัติง่ายไม่เสื่อมคลาย ผู้ที่ไม่มีศรัทธาในธรรมนี้ย่อมไม่บรรลุถึงเรา และจะกลับไปสู่หนทางมฤตยูของวัฏแห่งการเวียนว่ายตายเกิด

''''''''''จักรวาลทั้งหมด.. ถูกตัวเราที่ไม่ปรากฏรูปร่างห่อหุ้มเอาไว้ สรรพสิ่งทั้งหลายดำรงอยู่ในตัวเรา แต่ตัวเราหาได้อยู่ในสรรพสิ่งไม่ นี่คือความเร้นลับอันศักดิ์สิทธิ์ จงรู้ไว้เถิดว่าตัวเรา ซึ่งเป็นพระเจ้า เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง และสรรพสัตว์ทั้งปวง และค้ำจุนสรรพสิ่ง และสัตว์ทั้งปวง แต่ตัวเราหาได้อยู่ในสิ่งเหล่านี้ไม่ อุปมาดุจลมพายุใหญ่ที่พัดอยู่เสมอ และพัดไปทุกหนทุกแห่ง พร้อมทั้งหอบเอาสิ่งต่าง ๆ ไปด้วยกับลมนั้น

''''''''''เมื่อถึงเวลาสิ้นยุค เราจะใช้ประกฤติ หรือ พลังของเรา ทำให้สรรพสิ่งรวมกันคล้ายเมล็ดพืช และเมื่อเราเริ่มยุคใหม่ เราจะให้กำเนิดสิ่งเหล่านี้ใหม่อีกด้วยสิ่งนี้ โดยให้มายาเป็นผู้ปกครองสรรพสิ่ง เราผู้เป็นเจ้าของย่อมสร้างสรรพสิ่งครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ตัวเราไม่ยึดติดกับผลของกรรมเลย เราจึงไม่ถูกผูกมัดด้วยกรรม เพราะ มายาและปัญญา ล้วนเป็นพลังของเรา และเราใช้พลังนี้ทำให้สิ่งที่เราสร้างอยู่ในการดูแลของเรา เหมือนลมที่ใคร่จะพัดไปทางไหน ก็จะไปทางนั้น จักรวาลย่อมเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุนี้


''''''''''คนเขลาที่ไม่รู้ภาวะอันประเสริฐของตัวเรา เขาย่อมดูแคลนตัวเราเมื่ออยู่ในร่างมนุษย์ ว่าเราจำกัดด้วยพุทธิ ปัญญา ฤทธิ์ อำนาจ และเมตตา เขาผู้มีความหวังอันสูญเปล่า มีกรรมทั้งปวงที่สูญเปล่า มีความรู้อันสูญเปล่า จึงหันไปรับมายาหรือความจอมปลอมจากตัณหาและอหังการเยี่ยงปีศาจเอาไว้ แต่ยอดคนทั้งหลายย่อมอาศัยเรา และบูชาเราด้วยใจไม่วอกแวก เพราะเขารู้จักเรา ผู้เป็นบิดา เป็นมารดา เป็นมิตร ผู้อุ้มชู และบรรพบุรุษของโลกนี้ เราเองคือพระเวท เราเองคือเป้าหมาย เราเองคือเสาค้ำจุนจักรวาล เราเองเป็น แดนเกิด และ แดนดับ ของสิ่งทั้งหลาย เราเป็นผู้ให้ความร้อน เย็น เป็นที่ตั้ง และเป็นที่เก็บ เป็นเมล็ดพืชแรกของสรรพสิ่ง เป็นชีวิต เป็นความมตะ และ อมตะ



เมื่อเราอยู่ในฐานะของสิ่งที่อยู่ (สัต) เราก็คือ รูปปรากฏแห่งจักรวาลทั้งมวล
เมื่อเราอยู่ในฐานะของ '' สิ่งที่ไม่อยู่ '' (อสัต) เราก็คือ ความว่างอันสงัดยิ่งนัก เป็นโมกษะ

''''''''''อรชุน ไม่ว่าเธอจะทำอะไร จะบริโภคอะไร จะบูชาอะไร และจะถวายอะไร จะบำเพ็ญตบะหรือทำอะไรก็ตาม จงมอบสิ่งนั้นให้แก่เรา แล้วเธอจะพ้นจากพันธะของกรรม ไม่ว่าผลดีหรือชั่ว เธอจะต้องสละผลทุกๆ สิ่งให้แก่เราจนหลุดพ้น แล้ว เธอก็จะบรรลุถึงตัวเราได้ ตัวเราเป็นผู้เสมอภาคต่อสรรพสัตว์ ความเกลียดใครและความรักใครไม่มีในเรา ผู้ใดคบเราด้วยความรักและภักดี ผู้นั้นจะอยู่ในเรา และเราจะอยู่กับผู้นั้น ผู้ใดบาปหนาสักเพียงไรในสายตาโลกก็ตาม หากเขาสละกรรมและภักดีต่อเราด้วยความรัก เราก็จะถือว่าเขาเป็นคนดี เพราะเขามีความตั้งใจชอบ เขาจะกลายเป็นผู้เที่ยงธรรม และได้รับสันติเป็นนิจ ดังนั้น จงถือตัวเราเป็นที่พึ่ง และเจ้าจะบรรลุต่อเราได้...


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 17, 2012, 12:26:04 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



มหาภารตยุทธ
ศานติบรรพ :
ลักษณะทางแห่งความเสื่อม และความเจริญของจิตวิญญาณ

.......ความกำหนัด ความมุ่งร้าย ความหลง ความระเริง ความเศร้าโศก ความถือตัว ความโกรธ ความเย่อหยิ่ง
ความเกียจคร้าน ความริษยา เหล่านี้เป็นลักษณะผู้ที่ดำเนินทางแห่งความเสื่อม

.......การให้อภัย ความหนักแน่น การไม่ปองร้าย ความเยือกเย็น ความสัตย์ ความซื่อตรง การเอาชนะอินทรีย์ทั้งหก (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ความอ่อนโยน ความละอายต่อบาป ความไม่เรรวน กระละเว้นความชั่วร้าย ความไม่วุ่นวาย ความสันโดษทางกายและจิต การพูดจาอ่อนหวาน การไม่เบียดเบียน การไม่อิจฉา เหล่านี้เป็นลักษณะผู้ที่ดำเนินทางแห่งความเจริญ

    ยอมตายเพื่อธรรมะ ดีกว่าได้ชัยชนะด้วยการทำบาป
               
ความโลภเป็นบ่อเกิดแห่งบาปทั้งปวง ผู้ที่จะชนะตนเองได้ต้องเอาชนะความโลภของตนเสียก่อน

เมื่อใดที่เราย่นความอยากเข้าตัวของเราได้ ดุจเดียวกับที่เต่าหดหัวเข้ากระดองของมัน
เมื่อนั้นเราจะพบแสงสว่างและความสูงส่งแห่งจิตวิญญาณ

ตัณหา คือความอยาก
เป็นบ่อเกิดแห่งอกุศลกรรมทั้งปวง ความอยากก่อให้เกิดความโลภ ความโลภก่อให้เกิดการกระทำที่ผิดและเล่ห์เหลี่ยมทั้งหลายทั้งปวง ลักษณะหน้าไหว้หลังหลอก อหังการ ความอาฆาต ความหลงผิดในความรู้ ความหลงผิดในชาติกำเนิด ความหลงผิดในทรัพย์สินศฤงคาร เป็นอาทิเหล่านี้ล้วนมีกำเนิดจากความโลภ ความโลภ มีให้เห็นในทุกแห่งหนไม่เลือกว่าในเด็กในหนุ่มสาว และในผู้ใหญ่ ความโลภซ่อนตัวมาแม้แต่ในเสื้อคลุมของศาสนา




ความโลภมีมากเท่าใด ความไม่รู้จริง(อวิชชา)มีมากเท่านั้น
หมดความโลภจึงจะหมดความไม่รู้จริง

ไม่มีสิ่งใดที่ช่วยให้ แสงสว่าง ได้ยิ่งเท่า 'ความรู้'
ไม่มีสิ่งใดที่ช่วยขัดถูและเกลา'กิเลส'ได้เหมือน'ความสัตย์'
ไม่มีสิ่งใดที่เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ถนัดได้เท่า'ราคะ'
ไม่มีสิ่งใดที่ให้ความสุขเหมือน'การเสียสละ'เพื่อผู้อื่น


เมื่อยามมีสุข ไม่ควรจะเต้นตื่นฉันใด
เมื่อยามมีทุกข์ภัยก็ไม่ควรจะโศกเศร้าฉันนั้น
ความรู้จริงเป็นรากฐานของสรรพชีวิต

ความรู้จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อความรู้นั้นช่วยให้ผู้รู้มีความประพฤติดี และมี
ความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เป็นนิตย์


มหาภรตยุทธ มีชื่อเดิมว่า "ชัย" เป็นเนื้อหาของราชวงศ์ ภรต ในการสู้รบแย่งชิงความเป็นใหญ่ในหมู่ราชวงศ์กษัตริย์อารยัน หลังจากครอบครองอินเดียได้โดยเบ็ดเสร็จจากชนเผ่าพื้นเมืองเดิมดราวิเดียน (ฑราวิท) เป็นเนื้อหาการอวตารของกฤษณาวตาร ตามลัทธิความเชื่อไวษณพนิกาย ที่ถือพระนารายณ์เป็นใหญ่ เนื้อหารจนาเพื่อสอนอนุชนรุ่นหลังในศาสตร์ต่างๆ คือ สัจจวาจา ธรรมยุทธ์ และธรรมศาสตร์

  ส่วนรามเกียรติ์ เนื้อหาการอวตารของรามาวตาร ตามลัทธิความเชื่อไวษณพนิกาย ที่ถือพระนารายณ์เป็นใหญ่ เป็นเนื้อหาตอนที่ พระรามลงมาปราบพวกยักษ์ ในประวัติศาสตร์จริงนั้นคือพวกชนเผ่าพื้นเมืองเดิมดราวิเดียน(ฑราวิท) เมื่อชนะแล้วจึงแบ่งชนชั้นวรรณะ(สีผิว) ในตกลงเป็นทาส(ทัสยุ)

    ถอดรหัส รามาวตาร


ออฟไลน์ mmm

  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • ***
  • กระทู้: 206
  • พลังกัลยาณมิตร 109
  • <( O-O )>
    • ดูรายละเอียด
กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมตามสนอง
ผู้ก่อกรรมดี   ย่อมได้รับกรรมดี
ผู้ก่อกรรมชั่ว ย่อมใด้รับกรรมชั่ว
"ใช้ใจดู จะรู้จิต  ใช้จิตดู จะรู้ใจ"