วิถีธรรม > จิตภาวนา-ปัญญาบารมี

ว่าด้วย “สุตมยญาณ” อันเป็นเครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับ...

<< < (2/2)

ฐิตา:

                   

“ธรรม ๗ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “นิททสวัตถุ”
                          “นิททสวัตถุ”
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “นิททสวัตถุ ๗” ประการนี้
     “นิททสวัตถุ ๗” ประการนี้ เป็นไฉน?

     ..........ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ .........
     ..........๑. เป็นผู้ “มีความพอใจ” อย่างแรงกล้าใน “การสมาทานสิกขา”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการสมาทานสิกขา
     ..........๒. เป็นผู้ “ได้ความยินดี”อย่างแรงกล้าใน “การใคร่ครวญธรรม”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการใคร่ครวญธรรมต่อไป
     ..........๓. เป็นผู้ “ยินดี”อย่างแรงกล้าใน “การกำจัดความอยาก”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการกำจัดความอยากต่อไป

     ..........๔. เป็นผู้ “มีความยินดี”อย่างแรงกล้าใน “การหลีกเร้น”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการหลีกเร้นต่อไป
     ..........๕. เป็นผู้ “มีความพอใจ”อย่างแรงกล้าใน “การเริ่มความเพียร”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการเริ่มความเพียรต่อไป
     ..........๖. เป็นผู้ “มีความพอใจ”อย่างแรงกล้าใน “ความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัว”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัวต่อไป
     ..........๗. เป็นผู้ “มีความพอใจ”อย่างแรงกล้าใน “การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ ต่อไป

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “นิททสวัตถุ ๗” ประการนี้แล
***************************************************

      “นิททสวัตถุ” แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชี่อว่า “นิททัสสะ” แปลว่ามีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี
     เป็นคำที่เดียรถีย์ใช้เรียกนิครณถ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี ถ้าตายลง เมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า “นิททัสสะ” คือ เมื่อมาเกิดอีกจะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี และอาจไม่ถึง ๙ ปี ๑ ปี

     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้คำนี้หมายถึง “พระขีณาสพ ในความหมาย “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียว หรือครู่เดียว โดยมีเงื่อนไขว่าผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประการ ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์ มากน้อยไม่สำคัญ”
-------------------------------------------------------

     อ้างอิง.............
     ..........ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ .........
     ..........๑. เป็นผู้ “มีความพอใจ” อย่างแรงกล้าใน “การสมาทานสิกขา”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการสมาทานสิกขา
********************************************
     .....ขยายความ
      “สมาทานสิกขา” หมายถึง การบำเพ็ญ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์และถูกต้อง
      “ไตรสิกขา” สิกขา ๓ คือ ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน ประกอบด้วย
      ……..๑. อธิสีลสิกขา หมายถึง สิกขาคือศีลอันยิ่ง ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง
      ……..๒. อธิจิตตสิกขา หมายถึง สิกขาคือศีลอันยิ่ง ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรม เช่น สมาธิ อย่างสูง
      ……..๓. อธิปัญญาสิกขา หมายถึง สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง
--------------------------------------------------------------

     อ้างอิง.............
     ..........ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ .........
     ..........๑. เป็นผู้ “มีความพอใจ” อย่างแรงกล้าใน “การสมาทานสิกขา”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการสมาทานสิกขา
     ..........๒. เป็นผู้ “ได้ความยินดี”อย่างแรงกล้าใน “การใคร่ครวญธรรม”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการใคร่ครวญธรรม “ต่อไป”
********************************************
     .....ขยายความ
      “ได้ความยินดี” หมายถึง ฉันทะ คือ ความพอใจ ความยินดี
      “การใคร่ครวญธรรม (ธมฺมนิสนุติ) ” หมายถึง การเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรม โดยความเป็น สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา”
     ............ดังนั้น “ธมฺมนิสนุติ” จึงเป็นชื่อของวิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)
      สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา” รวมเรียกว่า “ไตรลักษณ์”
      “ต่อไป” หมายถึง กาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดระยะ ไม่ได้หมายถึงภพในอนาคต



      “ไตรลักษณ์” คือ สามัญลักษณะ ลักษณะ 3 ประการ แห่งสังขารธรรมทั้งหลาย พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม หลักทั้งสามนี้ ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงค้นพบและนำมาเปิดเผยแสดงแก่เวไนยสัตว์ ประกอบด้วย

     ๑. อนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง)
     ๒.ทุกขตา (ความเป็นทุกข์)
     ๓.อนัตตตา (ความเป็นของไม่ใช่ตน)

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย...........
เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง
ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง”
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา)

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย...........
เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง
ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์”
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” (สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา)

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย...........
เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่าง นั้นเอง
ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” (สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา)
---------------------------------------------------------------------

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ………
     ........จักษุเป็นของไม่เที่ยง
     ........สิ่งใดไม่เที่ยง      สิ่งนั้นเป็นทุกข์
     ........สิ่งใดเป็นทุกข์      สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
     ........สิ่งใดเป็นอนัตตา     สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

           ........นั่นไม่ใช่ของเรา
           ........นั่นไม่เป็นเรา
           ........นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ………
     ........หูเป็นของไม่เที่ยง
     ........สิ่งใดไม่เที่ยง      สิ่งนั้นเป็นทุกข์
     ........สิ่งใดเป็นทุกข์      สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
     ........สิ่งใดเป็นอนัตตา     สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

           ........นั่นไม่ใช่ของเรา
           ........นั่นไม่เป็นเรา
           ........นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ………
     ........จมูกเป็นของไม่เที่ยง
     ........สิ่งใดไม่เที่ยง      สิ่งนั้นเป็นทุกข์
     ........สิ่งใดเป็นทุกข์      สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
     ........สิ่งใดเป็นอนัตตา     สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

           ........นั่นไม่ใช่ของเรา
           ........นั่นไม่เป็นเรา
           ........นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
กรณี ........ลิ้น , กาย , ใจ ทรงตรัสถึง ด้วยข้อความ เดียวกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย.........
     อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ……
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “จักษุ”
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “หู”
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “จมูก”
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “ลิ้น”
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “กาย”
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “ใจ”

     เมื่อ “เบื่อหน่าย”      ย่อม “คลายกำหนัด”
     เพราะ “คลายกำหนัด”      ย่อม “หลุดพ้น”
     เมื่อ “หลุดพ้น” แล้ว      ย่อมมี .......
     ………..ญาณหยั่งรู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว”
     ………..รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว”
     ……….. “พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว”
     ……….. “กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว”
     ………..กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
------------------------------------------------
     อ้างอิง.............
     ..........๓. เป็นผู้ “ยินดี”อย่างแรงกล้าใน “การกำจัดความอยาก”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการกำจัดความอยากต่อไป ฯลฯ
     ..........๖. เป็นผู้ “มีความพอใจ”อย่างแรงกล้าใน “ความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัว”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัวต่อไป
     ..........๗. เป็นผู้ “มีความพอใจ”อย่างแรงกล้าใน “การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ ต่อไป
********************************************
     .....ขยายความ
      “การกำจัดความอยาก” หมายถึง การกำจัด หรือการข่มตัณหา
      “ความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัว” หมายถึง สติ และ สัมปชัญญะ
      “การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ” (ทิฏฐิปฏิเวเธ) หมายถึง การเห็นแจ้งด้วยสัมมาทิฏฐิ


-http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=500

ฐิตา:



    “ธรรม ๘ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “อภิภายตนะ ๘”
                       “อภิภายตนะ ๘” [อารมณ์แห่งญาณอันฌายีบุคคลครอบงำไว้]

     รายละเอียดธรรม ๘ อ่านได้จาก..........
      - http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=504
--------------------------------------------------

(๓๙. อภิญเญยยธรรม–ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
        Knowing the Ultimate Reality with Full Comprehension)
http://www.siripat.com/Annual-Special-Articles-2015/39.%20Knowing-the-Ultimate-Reality-with-Full-Comprehension-2015.asp
*********************************************

      “ธรรม ๙ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “อนุปุพพวิหาร ๙”
      “อนุปุพพวิหาร ๙” [ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันพระโยคีบุคคลพึงเข้าอยู่ตามลำดับ]

     รายละเอียดธรรม ๙ อ่านได้จาก..........
     - http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=515
********************************************************

      “ธรรม ๑๐ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “นิชชรวัตถุ ๑๐”
      “นิชชรวัตถุ ๑๐” [ธรรมเป็นเหตุกำจัดมิจฉาทิฐิเป็นต้น]

                          อ่านรายละเอียดธรรม ๑๐ “นิชชรวัตถุ ๑๐” ได้จาก..........
     - http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=522


ฐิตา:



 “อ้างอิง....................................
     ธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็น “สุตมยญาณ” อย่างไร
      “ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว” คือ.......
      เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า....
     ..... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
*****************************************
      ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
      ธรรม ๒ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
      ธรรม ๓ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
      ธรรม ๔ ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
      ธรรม ๕ ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕
      ธรรม ๖ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖
      ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ ๗ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิ
อีกต่อไป]
      ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ ๘ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายี
บุคคลครอบงำไว้]
      ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
      ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือ   นิชชรวัตถุ ๑๐ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิ]

*************************

      “ธรรม ๘ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “อภิภายตนะ ๘”
      “อภิภายตนะ ๘” [อารมณ์แห่งญาณอันฌายีบุคคลครอบงำไว้]

                          “อภิภายตนะ ๘”
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “อภิภายตนะ ๘” ประการนี้
      “อภิภายตนะ ๘” ประการนี้ เป็นไฉน......
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ .........
     ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเล็กน้อยมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๑”

     ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในรูปภายใน     เห็นรูปภายนอกไม่มีประมาณมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๒”

     ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน     เห็นรูปภายนอกเล็กน้อยมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๓”

     ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน     เห็นรูปภายนอกไม่มีประมาณมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๔”

 ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว
     หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณาสีมีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว แม้ฉันใด”

     ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว” ฉันนั้นเหมือนกัน
     ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๕”

ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง
     ดอกกรรณิกาอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง
     หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง แม้ฉันใด”

     ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง” ฉันนั้นเหมือนกัน
     ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๖”

ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง
     ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง
     หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง แม้ฉันใด”

     ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง” ฉันนั้นเหมือนกัน
     ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๗”

     ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว
     ดาวประกายพรึกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว
     หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว แม้ฉันใด”

     ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว” ฉันนั้นเหมือนกัน
     ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๘”

เสริมความ...................
           “อฏฺฐ อภิภายตนานิ - อภิภายตนะ ๘” มีความหมายว่า อายตนะทั้งหลายครอบงำฌานเหล่านั้น
     ฉะนั้น “ฌาน” เหล่านั้น จึงชื่อว่า “อภิภายตนะ”
           คำว่า “อายตนานิ” หมายความว่า ฌานมี “กสิณ” เป็นอารมณ์

           คำว่า “อายตนะ” เพราะอรรถว่า “เป็นที่ตั้งอันยิ่ง”
           คำว่า “อายตนานิ” หมายความว่า ฌานมี “กสิณ” เป็นอารมณ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย......... บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้
           กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นไฉน คือ ...........
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “ปฐวีกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “อาโปกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “เตโชกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “วาโยกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “นีลกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “ปีตกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมชัดซึ่ง “โลหิตกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “โอทาตกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “อากาสกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “วิญญาณกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้

     กสิณ หมายถึง วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ.........
๑. ภูตกสิณ ๔ (กสิณคือมหาภูตรูป) ได้แก่.......
     .....๑.๑ ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน) กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์
     .....๑.๒ อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ) กสิณที่ใช้น้ำเป็นอารมณ์
     .....๑.๓ เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ) กสิณที่ใช้ไฟเป็นอารมณ์
     .....๑.๔ วาโยกสิณ (กสิณคือลม) กสิณที่ใช้ลมเป็นอารมณ์

๒. วรรณกสิณ ๔ (กสิณคือสี) ได้แก่........
     .....๒.๕ นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว) กสิณที่ใช้สีเขียวเป็นอารมณ์
     .....๒.๖ ปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง) กสิณที่ใช้สีเหลืองเป็นอารมณ์
     .....๒.๗ โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง) กสิณที่ใช้สีแดงเป็นอารมณ์
     .....๒.๘ โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว) กสิณที่ใช้สีขาวเป็นอารมณ์

๓. กสิณอื่นๆ..............
     .....๓.๙ อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า ช่องว่าง) กสิณที่ใช้ความว่างเป็นอารมณ์
     .....๓.๑๐ วิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ) กสิณที่ใช้ความรู้สึกเป็นอารมณ์

**********
ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต "กสิณสูตร" ได้แสดงไว้ ดังข้อความที่ ๘
.
แต่ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้อธิบาย ในหมวดกสินอื่นๆ ดังนี้ค่ะ

ค. กสิณอื่นๆ
           9. อาโลกกสิณ (กสิณคือแสงสว่าง — the Light Kasina)
           10. อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า, ช่องว่าง — the Space Kasina)

      กสิณที่มาในบาลี เช่น องฺ.ทสก. 24/25/48 (A.V. 46) ไม่มีอาโลกกสิณแต่มีวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ -- the Consciousness Kasina) เป็นข้อที่ 10 และอากาสกสิณ เป็นข้อที่ 9

           คำว่า “อายตนะ” เพราะอรรถว่า “เป็นที่ตั้งอันยิ่ง”
     อธิบายว่า ...............
           ก็บุคคลมีญาณอันยิ่ง ผู้มีญาณแกล้วกล้าคิดว่า อันเราพึงเข้าใจในอารมณ์นี้เพราะเหตไร ภาระในการทำจิตให้เป็น “เอกัคคตา” ไม่มีแก่เรา ดังนี้ แล้วครอบงำอารมณ์เหล่านั้นเสีย “เข้าสมาบัติ”

     ยัง “อัปปนา” ให้เกิดขึ้นในอารมณ์นี้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิต
     ฌานที่ให้เกิดขึ้นโดยประการอย่างนี้ ท่านเรียกว่า “อภิภายตนะ”
****************************

      "เอกัคคตา" หมายถึง ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ
     "อัปปนาสมาธิ" หมายถึง สมาธิแน่วแน่ จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน
     สมาธิถึงขั้นอัปปนา คือ ภาวะจิตที่มั่นคงเรียบรื่นสงบสนิทดีที่สุด

      "สมาบัติ" หมายถึง ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง
      สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น

     สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙



ต่อที่       “ธรรม ๙ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “อนุปุพพวิหาร ๙”
      “อนุปุพพวิหาร ๙” [ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันพระโยคีบุคคลพึงเข้าอยู่ตามลำดับ]
dhammathai.org/kaveedhamma

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version