วิถีธรรม > จิตภาวนา-ปัญญาบารมี

ศีล

<< < (3/4) > >>

Plusz:
อนุโมทนาค่ะ ^^

sithiphong:
อานิสงส์ของการรักษาศีล ๕
ผู้รักษาศีลข้อที่ ๑ คือไม่ฆ่าสัตว์ตัวชีวิต (ไม่ทำปาณาติบาต) ย่อมได้รับอานิสงส์ถึง ๒๓ ประการ คือ
๑. บริบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ คือร่างกายไม่พิกลพิการ
๒. มีกายสูงและสมส่วน
๓. สมบูรณ์ด้วยความคล่องแคล่ว
๔. เป็นผู้มีเท้าประดิษฐานลงด้วยดี
๕. เป็นผู้สดใสรุ่งเรือง
๖. เป็นคนสะอาด
๗. เป็นคนอ่อนโยน
๘. เป็นคนมีความสุข
๙. เป็นคนแกล้วกล้า
๑๐. เป็นคนมีกำลังมาก
๑๑. มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง
๑๒. มีบริษัทบริวารมิได้พลัดพรากจากตน
๑๓. เป็นคนไม่สะดุ้งตกใจกลัว
๑๔. ข้าศึกศัตรูทำร้ายมิได้
๑๕. ไม่ตายด้วยความเพียรของผู้อื่น
๑๖. มีบริวารหาที่สุดมิได้
๑๗. รูปสวย
๑๘. ทรวดทรงสมส่วน
๑๙. ป่วยไข้น้อย
๒๐. ไม่มีเรื่องเสียใจ
๒๑. เป็นที่รักของชาวโลก
๒๒. มิได้พลัดพรากจากผู้หรือสิ่งที่รักและชอบใจ
๒๓. มีอายุยืน
รักษาศีลข้อ ๑ คือไม่ฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มีคุณานิสงส์ ล้วนแต่น่าพอใจ ล้วนแต่ทำให้สุขใจ

ผู้รักษาศีลข้อที่ ๒ คือข้อไม่ลักทรัพย์(อทินนาทาน) ผู้รักษาย่อมได้รับอานิสงส์ถึง ๑๑ ประการ ดังนี้
๑. มีทรัพย์มาก
๒. มีข้าวของและอาหารเพียงพอ
๓. ได้โภคทรัพย์ไม่สิ้นสุด
๔. โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ก็ย่อมได้
๕. โภคทรัพย์ที่ได้ไว้แล้วก็ยั่งยืน
๖. หาสิ่งที่ปรารถนาได้อย่างรวดเร็ว
๗. สมบัติไม่กระจัดกระจายด้วย ราชภัย โจรภัย อุทกภัย อัคคีภัย หรือญาติฉ้อโกง
๘. หาทรัพย์ได้โดยไม่ถูกแบ่ง
๙. ได้โลกุตตรทรัพย์
๑๐. ไม่เคยรู้ ไม่เคยได้ยินคำว่าไม่มี
๑๑. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
ผู้รักษาศีลข้อ ๓ คือ เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ได้แก่เว้นจากการประพฤติผิดในการ (ไม่ทำชู้กับคู่ครองของผู้อื่น) ได้รับอานิสงส์ผลถึง ๒๐ ประการ (ปรมตฺถโชติกา) คือ
๑. ไม่มีข้าศึกศัตรู
๒. เป็นที่รักแห่งชนทั่วไป
๓. หาข้าวน้ำเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ อาศัยได้ง่าย
๔. หลับก็เป็นสุข
๕. ตื่นก็เป็นสุข
๖. พ้นภัยในอบาย
๗. ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกะเทยอีก
๘. ไม่โกรธง่าย
๙. ทำอะไรก็ทำได้ โดยเรียบร้อย
๑๐. ทำอะไรก็ทำโดยเปิดเผย
๑๑. คอไม่ตก (คือมี สง่า)
๑๒. หน้าไม่ก้ม (คือมีอำนาจ)
๑๓. มีแต่เพื่อนรัก
๑๔. มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
๑๕. มีลักษณะบริบูรณ์
๑๖. ไม่มีใครรังเกียจ
๑๗. ขวนขวายน้อยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย หากินง่าย
๑๘. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
๑๙. ไม่ต้องกลัวภัยจากใคร ๆ
๒๐. ไม่ค่อยพลัดพรากจากของที่รัก

ผู้รักษาศีลข้อที่ ๔ คือเว้นจาการพูดปด พูดหลอกลวงปลิ้นปล้อน ย่อมได้รับอานิสงส์ ๑๔ ประการ (ปรมตฺถโชติกา)
๑. มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
๒. มีวาจาไพเราะสละสลวย
๓. มีไรฟันอันเสมอชิตบริสุทธิ์
๔. ไม่อ้วนเกินไป
๕. ไม่ผอมเกินไป
๖. ไม่ต่ำเกินไป
๗. ไม่สูงเกินไป
๘. ได้แต่สัมผัสอันเป็นสุข
๙. ปากหอมเหมือนดอกบัว
๑๐. มีบริวารล้วนแต่ขยันขันแข็ง
๑๑. มีถ้อยคำที่บุคคลเชื่อได้
๑๒.ลิ้นบางแดงอ่อนเหมือนกลีบดอกบัว
๑๓. ใจไม่ฟุ้งซ่าน
๑๔. ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้

ผู้รักษาศีล ๕ คือเว้นจากการเสพสุราเมรัย สารเสพย์ติดทุกชนิด ย่อมได้รับอานิสงส์ ๓๕ ประการ (ปรมตฺถโชติการ)
๑. รู้กิจการอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
๒. มีสติตั้งมั่งทุกเมื่อ
๓. ไม่เป็นบ้า
๔. มีความรู้มาก
๕. ไม่หวั่นไหว (ผู้ใดชวนในทางผิดไม่ร่วมมือด้วย)
๖. ไม่งุนงง ไม่เซอะ
๗. ไม่ใบ้
๘. ไม่มัวเมา
๙. ไม่ประมาท
๑๐. ไม่หลงใหล
๑๑. ไม่หวาดสะดุ้งกลัว
๑๒. ไม่มีความรำคาญ
๑๓. ไม่มีใครริษยา
๑๔. มีความขวนขวายน้อย
๑๕. มีแต่ความสุข
๑๖. มีอต่คนนับถือยำเกรง
๑๗. พูดแต่คำสัตย์
๑๘. ไม่ส่อเสียดใคร ไม่มีใครส่อเสียด
๑๙. ไม่พูดหยาบกับใคร ไม่มีใครพูดหยาบด้วย
๒๐. ไม่พูดเล่นโปรยประโยชน์
๒๑. ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน
๒๒. มีความกตัญญู
๒๓. มีกตเวที
๒๔. ไม่ตระหนี่
๒๕. รู้เฉลี่ยเจือจาน
๒๖. มีศีลบริสุทธิ์
๒๗. ซื่อตรง
๒๘. ไม่โกรธใคร
๒๙. มีใจละอายแก่บาป
๓๐. รู้จักกลัวบาป
๓๑. มีความเห็นถูกทาง
๓๒. มีปัญญามาก
๓๓. มีธัมโมชปัญญา (มีปัญญารสอันเกิดแต่ธรรม)
๓๔. เป็นปราชญ์ มีญาณคติ (เป็นคลังแห่งปัญญา)
๓๕. ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และรู้ในสิ่งอันเป็นโทษ

http://www.kanlayanatam.com/sara/sara5.htm

sithiphong:
โทษของการละเมิดศีล ๕ มีดังต่อไปนี้
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara6.htm

ละเมิดศีลข้อแรกคือ การทำลายชีวิต หากทำลายชีวิตบุพพการีถือว่าเป็นอนันตริยกรรมคือกรรมหนัก กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าประหารชีวิตสถานเดียว การฆ่า การทำลายชีวิตซึ่งเป็นการละเมิดศีลข้อ ๑ ผิดทั้งกฎหมายของบ้านเมือง และผิดศีล ผิดหลักพระพุทธศาสนาด้วย
โทษขอการละเมิดศีลข้อที่ ๑ คือการทำลายชีวิตนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต (การทำลายชีวิต) ที่บุคคลทำจนคุ้น ทำจนเคยตัวทำอยู่เรื่อย ๆ ไป ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในกำเนิดเปรตวิสัย
วิบากคือเศษกรรม (ผลกรรมที่เหลือ) ของการทำลายชีวิตอย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำซึ่งเป็นมนุษย์ กลายเป็นคนอายุสั้น (พลันตาย)
โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๒ คือ อทินนาทาน ได้แก่ลักทรัพย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ที่บุคคลทำจนคุ้น ทำจนเคยตัวทำอยู่เรื่อยไป ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากหรือเศษกรรม เศษของโทษ ที่ละเมิดศีลข้อ ๒ คือลักทรัพย์ (อทินนาทาน) อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลาย เป็นคนมีทรัพย์วินาศย่อยยับ (เช่น ถูกไฟ ไหม้หรือโจรผู้ร้ายปล้น เป็นต้น)
โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า กาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้) ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ
วิบากของกาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้) อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลายเป็นคนถูกจองเวร
โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๔ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า มุสาวาท (พูดปดหลอกลวง) ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ
วิบากคือเศษกรรม ของการพูดปดหลอกลวง อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลายเป็นคนถูกกล่าวตู่ด้วยความเท็จ
โทษขอการละเมิดศีลข้อที่ ๕ คือ สุราเมรัย นั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราเมรัย ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ
วิบากของการดื่มสุราเมรัย (เสพยาเสพย์ติด) อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์ กลายเป็นคนบ้า
สำหรับศีลข้อ ๕ การเสพยาเสพย์ติดทุกชนิด เช่น เฮโรอีน ฝิ่น กัญชา ยาม้า ยาบ้าน ยาอี โคเคน เป็นอาที ก็สงเคราะห์เข้าในศีลข้อนี้ ผู้ใดเสพ ก็ถือว่าเป็นการละเมิดศีลข้อ ๕ นี้ด้วยเช่นกัน
ปกติมนุษย์ก็เมาอยู่แล้วด้วยกิเลส คือ ราคะ โลภะ โทสะและโมหะ ยิ่งเติมสิ่งเสพย์ติดเข้าไปอีก จึงเมาและบ้ากำลัง ๒ (ยิ่งบ้ากันใหญ่) เที่ยวจับคนเป็นตัวประกันบ้าง โดดตึกตายบ้าง ฆ่าเมีย ฆ่าลูก ฆ่าตัวเองฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตัวเองตายบ้าง
เมืองไทยคนไทยเดินอยู่ตามถนนเตียน ๆ แท้ ๆยังถูกจับไปเป็นตัวประกันและถูกทำร้ายจนเสียชีวิต
เมืองไทยคนไทยเดินอยู่ตามถนนเตียน ๆ แท้ ๆ ยังถูกจับไปเป็นตัวประกันและถูกทำร้ายจนเสียชีวิต
เพราะฉะนั้น จงรีบเร่งรักษาศีล ๕ กันเถิดครับ เพื่อกำจัดปัญหาทางสังคมที่เกิดจากการที่มนุษย์ไม่รักษาศีล ๕ จึงเกิดโทษต่าง ๆ นานา มากหลายดังที่ปรากฏเป็นประจักษ์พยานให้เห็นอยู่
ผู้ละเมิดศีลข้อ ๕ ท่านกล่าวว่าวิบากกรรมที่เหลือย่อมทำให้เป็นบ้าเป็นคนเสียสติ
ในเวสสัตตรทีปนี ภาค ๒ ท่านพรรณนาให้เห็นคนบ้า ๘ จำพวก ดังนี้
. บ้าเพราะกาม
. บ้าเพราะโทสะ
. บ้าเพราะทิฎฐิ
. บ้าเพราะหลงใหล
. บ้านเพราะผีสิง (คือโลภ โกรธ หลง)
. บ้าเพราะดีเดือด
. บ้าเพราะเหล้า และ
. บ้าเพราะประสบเหตุร้าย
.
มีคำอธิบายขยายความดังนี้ครับ
. คนบ้ากาม ย่อมทำอะไรตามใจตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ
. คนบ้าเพราะโทสะ ย่อมมุ่งร้ายตกอยู่ในอำนาจการเบียดเบียน
. คนบ้าเพราะทิฎฐิ จิตย่อมวิปลาส คือมีความเป็นคลาดเคลื่อน
. คนบ้าเพราะหลง ความคิดย่อม เลอะเลือน
. คนบ้าเพราะผีสิง ย่อมตกอยู่ในอำนาจผี (กิเลส)
. คนบ้าเพราะดีกำเริบ ย่อมแล้วแต่ดีจะกำเริบ
. คนบ้าเพราเหล้า ย่อมตกอยู่ในอำนาจการดื่ม
. คนบ้าเพราะประสบเหตุร้ายย่อมตกอยู่ในอำนาจของความเศร้าโศก

sithiphong:
ศีล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศีล แปลได้หลายความหมาย ซึ่งในอรรถกถา นิยมให้ความหมายว่า สีลนะ แล้วให้คำจำกัดความของคำว่า สีลนะ ไว้ ๒ ข้อหลัก คือ
สมาทานํ - การสำรวมกายวาจาไว้เรียบร้อยดี
อุปธารณํ - รองรับการทำบุญชั้นสูงกว่าศีลขึ้นไป ได้แก่ รองรับการรักษาธุดงค์ การทำสมาธิ การทำวิปัสสนา.
กล่าวโดยสรุป ศีล จึงหมายถึง ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" ด้วย.

ศีลในทางพระพุทธศาสนามี่อยู่หลายอย่างด้วยกัน.
ปัญจศีล (ศีล ๕) หรือเรียกว่านิจจศีล(คือถือเนื่องนิจจ์)
อาชีวัฏฐมกศีล (ศีลกุศลกรรมบท ๑๐) หรือเรียกว่าอาทิพรหมจริยาศีล(หรือเรียกอีกอย่างว่า นวศีล)
อัฏฐศีล (ศีล ๘) หรือเรียกว่าอุโบสถศีล (ศีลอุโบสถ)
ทสศีล (ศีล ๑๐)
ภิกษุณีวินัย (ศีล ๓๑๑)
ภิกษุวินัย (ศีล ๒๒๗)
ศีล แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือจุลศีล (ศีลอย่างน้อย) ได้แก่ คหัฏฐศีลทั้ง ๒ คือ ศีล๕ และอาชีวัฏฐมกศีล มัชฌิมศีล (ศีลอย่างกลาง)ได้แก่ บรรพชาศีลทั้ง ๒ คือได้แก่อัฏฐศีล และทสศีล มหาศีล(ศิลอย่างสูง) ได้แก่ อุปสมบททั้ง๒ คือ ภิกษุณีวินัย และภิกษุวินัย
ศีล คือ หลักในการปฏิบัติเพื่อที่จะให้ผู้ปฏิบัติมีกาย วาจา ใจ เป็นอิสระ จากเครื่องเหนี่ยวรั้งทั้งปวง และปกป้องตัวเองจากความเสื่อมทั้งหลาย และพ้นจากกรรมชั่ว ที่จะกลับมาสนองกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติในศีล
อานิสงส์ของการรักษาศีลแต่ละชั้นย่อมแตกต่างกันไป ตอนนี้ขอกล่าวถึงอานิสงส์กว้างๆ จากการรักษาศีล คือ ทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ

ดูเพิ่ม

ศีลห้า
ศีลแปด
อ้างอิง

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
ศีล เป็นบทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ศีล ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ศาสนา

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5".
หมวดหมู่: ศีล | บทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ

sithiphong:
ศีลห้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศีลห้า หรือ เบญจศีล เป็นศีลในลำดับเบื้องต้นในพุทธศาสนา ที่ศาสนิกชนพึงถือ ไม่เฉพาะแต่เหล่าสงฆ์เท่านั้น ศีลห้าจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 'นิจศีล' นั่นคือ ศีลที่ยึดถือป็นนิจ (นิตย์) ด้วยเหตุนี้ ในพิธีกรรมทั้งปวงในพุทธศาสนา หลังจากกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยแล้ว พุทธศาสนิกพึงอาราธนาศีล และรับศีลห้าก่อนเสมอ

[แก้] ศีลห้ามีด้วยกัน 5 ข้อ ดังนี้

ปาณาติปาตา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทั้งปวง รวมถึงการทำร้ายสัตว์ หรือมนุษย์ด้วย แม้แต่คิด หรือวางแผน ก็ถือว่าผิดศีลข้อนี้แล้ว
อทินฺนาทานา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการลักทรัพย์ เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ รวมถึงการเบียดบัง ฉ้อราษฎร์บังหลวง เอาเปรียบคนอื่นด้วย แม้แต่คิด หรือวางแผน ก็ถือว่าผิดศีลข้อนี้แล้ว
กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ข้อนี้เพียงแค่คิดก็ผิดแล้ว
มุสาวาทา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการพูดเท็จ คำหยาบ หรือพูดส่อเสียด รวมถึงการพูดให้คนแตกสามัคคีกันด้วย
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2".
หมวดหมู่: ศีล | ธรรมหมวด 5

ศีลแปด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศีลแปด หรือ อุโบสถศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์ หมายถึง อุบาสกอุบาสิกาทั่วไป มิใช่สงฆ์ (ซึ่งมีศีลเฉพาะตนอยู่แล้ว) โดยมักจะรับศีลแปดในวันพระ นิยมรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน หรือ 3 วัน
โดยปกติผู้รักษาศีลจะเปล่งวาจาอธิษฐาน ที่จะขอสมาทานศีลตั้งแต่เช้าของวันนั้น หากรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน เรียกว่า "ปกติอุโบสถ" และหากรักษา 3 วัน เรียกว่า "ปฏิชาครอุโบสถ"

[แก้] ศีลทั้งแปด

1. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการฆ่าสัตว์ 2. อทินฺนา ทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการลักสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ 3. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ 4. มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ 5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 6. วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงวันใหม่) 7. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม 8. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี


[แก้] "ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีลกับศีล 8"

1. อุโบสถศีล กับ ศีล 8 มีข้อห้าม 8 ข้อเหมือนกัน
2. คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน
3. อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด สมาทานรักษาได้เฉพาะ วันพระเท่านั้น ส่วนศีล 8 สมาทานรักษาได้ทุกวัน
4. อุโบสถศีล มีอายุ 24 ชั่วโมง (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล 8 ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา
5. อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีล ของชาวบ้านผู้บริโภคกาม (กามโภคี) ส่วนศีล 8 เป็นศีลสำหรับ ชาวบ้านผู้ไม่ครองเรือน เช่น แม่ชี [1]

[แก้] อ้างอิง

^ ประณีต ก้องสมุทร.ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%94".
หมวดหมู่: ศีล
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version