ผู้เขียน หัวข้อ: นิกาย "เสี่ยมจง" / "เซ็น"  (อ่าน 1000 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
นิกาย "เสี่ยมจง" / "เซ็น"
« เมื่อ: มีนาคม 14, 2013, 03:03:47 pm »


                     

ประวัติ "นิกาย" ในประเทศจีน
นิกายนี้ ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า "เสี่ยมจง" แต่เนื่องด้วยคนไทยเราทราบชื่อนิกายนี้ตามภาษาญี่ปุ่นมาว่า "เซ็น" ซึ่งเป็นมูลศัพท์เดียวกัน จึงขอเรียกตามญี่ปุ่นไปด้วย

นิกายนี้เป็นนิกายที่สำคัญยิ่งนิกายหนึ่ง ซึ่งมีความเจริญแพร่หลายอยู่ทุกยุคทุกสมัย คำว่า "เซ็น" มาจากศัพท์ว่า "ธฺยาน" หรือ "ฌาน" หมายถึงนิกายที่ปฎิบัติทางวิปัสสนา

ตามประวัติเล่ากันว่า ในสมัยพุทธกาล ณ ท่ามกลางประชุมบริษัท ๔ พระศาสดาได้ทรงชูดอกหนึ่ง มิได้ตรัสเทศนาว่าอย่างไร ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย นอกจาก พระมหากัสสปเถระ รูปเดียวเท่านั้น ที่ยิ้มน้อยๆ อยู่ พระศาสดาจึงตรัสว่า

"ดูก่อน กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรถ์อันถูกต้องและนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริงย่อมไม่มีลักษณะ ได้มอบไว้ให้แก่เธอแล้ว"

เพราะฉะนั้น นิกายนี้จึงนับถือพระมหากัสสปเถระว่าเป็นปฐมาจารย์และถือว่าเป็นนิกายวิปัสสนาโดยเฉพาะ ไม่ต้องอาศัยตัวหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ ไม่อยู่ในกรอบแห่งคำพูดใดๆ แต่ชี้ตรงไปยังจุดของจิตใจ เพราะฉะนั้น บางทีจึงมีนามเรียกว่า "การเผยแผ่นอกคำสอน"

นิกายเซ็นนับตั้งแต่พระมหากัสสปเถระ ได้มีเกจิอาจารย์สืบทอดมาอีก ๒๘ องค์ จนถึงสมัย ท่านโพธิธรรม (ตั๊กม่อโจวซือ) จึงได้นำคติของนิกายนี้มาสั่งสอนในประเทศจีน ในสมัย พระเจ้าเหลียงบูเต้ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์เหลียง

แล้วต่อแต่นั้นมาก็มีคณาจารย์จีนสืบทอดมาอีก ๕ องค์ จึงนับว่าท่านโพธิธรรมผู้จาริกมาสู่ประเทศจีนในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายเซ็นในประเทศจีน คณาจารย์ฮุ่ยค้อ เป็นองค์ที่ ๒ ท่านฮุ่ยค้อได้มอบธรรมให้แก่ คณาจารย์เจ็งชั้ง เป็นองค์ที่ ๓ และท่านเจ็งชั้งได้มอบให้แก่ คณาจารย์เต้าสิ่ง เป็นองค์ที่ ๔

นิกายเซ็นแบ่งออกเป็น ๒ สำนัก คือ สำนักของคณาจารย์ฮ่งยิ่มเรียกว่า "สำนักอึ้งบ้วย" ซึ่งถือกันว่าเป็นสำนักที่สืบเนื่องมาโดยตรง และสำนักของคณาจารย์ฮวบย้ง เรียกชื่อว่า "สำนักงู่เท้า" ซึ่งเป็นสำนักแฝงเท่านั้น คณาจารย์ฮ่งยิ่มแห่งสำนักอึ่งบ้วยนับเป็นปฐมาจารย์ของนิกายเซ็นที่แยกสาขาออกมา.


ที่มา -www.fgs-th.com/home.html

หมายเหตุ : ปรมาจารย์ต๋าหมัว (ตักม้อ) พวกเรารู้จักและเรียกกันว่า "ตั๊กม้อ" ท่านเป็นเชื้อพระวงศ์ชาวอินเดียมาก่อน แล้วได้ออกบวชเป็นพระในพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ว่า ชาวจีนทั้งหลายมีความเคารพนับถือ พระมหากัสสปกับพระอานนท์เป็นอย่างยิ่ง

ฉะนั้น ภายในวัดวาอารามทุกแห่งในประเทศจีน จะเห็นรูปปั้นของท่านทั้งสองอยู่ด้านข้างของพระพุทธรูปทุกองค์ คล้ายกับที่บ้านเรานิยมปั้นรูปพระอัครสาวกทั้งสอง คือ พระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร ไว้เช่นกัน >>> VANCO

-http://board.palungjit.com/f23/ประวัติ-พระมหากัสสปเถระ-โดยพิสดาร-หลวงพ่อพระราชพรหมยาน-206755-3.html
                        น/3 / #45