แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น

พระสูตรล่องหน :เท็ตสุเง็น

<< < (2/3) > >>

ฐิตา:



ทาง ที่ไร้ทาง

ท่านอาจารย์นินากาวะ เป็นอาจารย์ของท่านอิคกุยุ
ในวาระที่ท่านอาจารย์นินากาวะใกล้จะสิ้นลมหายใจ
ท่านอาจารย์อิคกุยุ ก็ได้ไปเยี่ยม และถามท่านนินากาวะว่า
“ท่านอาจารย์ต้องการให้ผมนำทางให้ไหม?”

ท่านอาจารย์นินากาวะ ตอบว่า
“ท่านจะช่วยอะไรผมได้ เวลามาผมมาตัวคนเดียว
เวลาผมจะไป ผมก็ต้องไปคนเดียว”

ท่านอิคกุยุได้ยินดังนั้นจึงตอบว่า
“ถ้าท่านอาจารย์ยังคิดว่า ท่านมาคนเดียว และไปคนเดียวอยู่ละก้อ
แสดงว่าท่านหลงทางแล้ว ให้ผมนำทางท่านดีกว่า
เพราะความจริงแล้ว ไม่มีการมาและการไปเลยต่างหาก”

ด้วยคำแนะนำของท่านอิคกุยุเพียงเท่านี้ ท่านนินากาวะก็ถึงซึ่ง..
..ความหลุดพ้น และมรณภาพไปด้วยความสงบ


ฐิตา:


อัตตลักษณ์แห่งเซ็น
เซ็นเชื่อในมนุษย์ทุกคน คือเชื่อว่าทุกคนมีธรรมชาติแห่งพุทธะอยู่ด้วยกันทุกคน มีโอกาสตรัสรู้ได้ทุกคนและแจ่มแจ้งในตัวเองหรือการเข้าถึงพุทธะนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยรูปแบบใดๆทางภายนอกเลยด้วย

เซ็นชี้อีกว่า การตรัสรู้นี้ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเพศใด เป็นผู้คงแก่เรียนหรือไม่ อายุหรือวัยเท่าใด ฯลฯ เพราะไม่ว่าจะเป็นใคร ต่างก็มีธรรมชาติเดิมแท้อันบริสุทธิ์ อยู่ด้วยทุกคน เมื่อสิ่งที่มาครอบคลุมปกปิดถูกรื้อถอนออกไป ความสว่า่งไสวจะปรากฎออกมาทุกคน ไม่เว้นใครเลย

เซ็นไม่เน้นเรื่องอื่น เช่นพระเจ้ามีจริงหรือไม่ นรก-สวรรค์มีจริงหรือไม่ บุญกุศลคืออะไร ฯลฯ เซ็นจะหลีกเลี่ยงเรื่องเหล่านี้ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ หากแต่มุ่งในการทำตัวเองให้แจ่มแจ้งในปัจจุบันขณะนั้นก็พอ ไม่ปรารถนาอะไรอื่น โดยการถกเถียง หรือการเรียนในเชิงปรัชญาเพ้อเจ้อไปนั้น เซ็นถือว่าไม่ใช่เรื่องของเซ็นเอาเลยทีเดียว

เซ็นคือทางและเป็นทางอันตรงแน่วที่นำพาเราไปให้พ้นจากปัญญาในระนาบเหตุผลสามัญ หมายความว่าเซ็น ไม่ใช่เรื่องตรรก เราไม่อาจใช้ตรรกหรือเหตุผลตามธรรมดามาจับเซ็นได้ และเราไม่อาจอาศัยตรรกเพื่อเข้าสู่วิมุตติได้อีกด้วย

เซ็นจะจัดการในเรื่องความคิดรวบยอด หรือที่เรียกว่าความคิดปรุงแต่ง (คือความคิดที่ก่อให้เกิดการจำแนกสิ่งต่างๆออกเป็น 2 ขั้ว ต่างกัน เช่น ดี-ชั่ว ผิด-ถูก พอใจ-ไม่พอใจ) ซึ่งเซ็นถือว่าความคิดนี้เป็นเรื่องผูกมัดมนุษย์ไว้ในกรงแห่งความทุกข์และอวิชชา ถ้าหากทำลายความคิดปรุงแต่งเหล่านี้เสียได้จะเป็นอิสระ และจะเห็นสิ่งต่างๆตามที่เป็นจริงของมัน ไม่ใช่ผ่านแว่นแห่งตรรกหรือผ่านความคิดรวบยอดต่างๆนานา
___________________
ที่มา: http://zixzen.blogspot.com/2007/10/blog-post.html
..
..

30 เมษายน 57
ศิษย์โง่ ไปเรียนเซ็น
>>> F/B Sathid tongrak.

ฐิตา:



เหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศร
ประเทศญี่ปุ่นในยุคคะมะกุระ มีนักศึกษาผู้หนึ่งชื่อ ชินกัน ได้ศึกษาพุทธปรัชญาตามแนวของนิกายเท็นได เป็นเวลาถึง ๖ ปี แล้วไปศึกษาตามแนวของเซ็นอีก ๗ ปี จากนั้นได้เดินทางไปประเทศจีนและได้ศึกษาเซ็นตามแนวของจีนอีก ๑๓ ปี เมื่อเขากลับมาประเทศญี่ปุ่น จึงมีผู้สนใจสนทนาซักถามปัญหาธรรมต่างๆ แต่ท่านชินกันก็ไม่ค่อยจะยอมตอบคำถาม วันหนึ่ง มีนักศึกษาเฒ่าจากสำนักเท็นไดมาหาท่านชินกันแล้วกล่าวว่า

“ข้าพเจ้าได้ศึกษาอยู่ในสำนักเท็นไดมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ได้รับฟังคำสอนมาก็มาก แต่มีสิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถเข้าได้ใจจนทุกวันนี้ คือทางสำนักได้สอนว่า ในโลกนี้แม้แต่ต้นหญ้าและต้นไม้ก็อาจบรรลุธรรมหรือตรัสรู้ได้ เป็นสิ่งที่น่าประหลาดสำหรับข้าพเจ้ามาก”

“มันมีประโยชน์อะไรหรือเปล่า ที่เราจะมานั่งถกเถียงกันว่าต้นหญ้าและต้นไม้ตรัสรู้ได้หรือไม่อย่างไร แต่ปัญหามันควรจะอยู่ที่ว่า ตัวท่านเองนั่นแหละจะสามารถบรรลุถึงการตรัสรู้ได้อย่างไร ท่านเคยคิดถึงเรื่องนี้บ้างหรือเปล่า” ท่านชินกันถาม
“จริงสินะ ข้าพเจ้าไม่เคยคิดมาก่อนเลย” นักศึกษาเฒ่าตอบ

ท่านชินกันจึงบอกว่า
“ถ้าอย่างนั้นก็กลับบ้าน และลงมือคิดได้แล้ว”

พระพุทธองค์เคยตรัสสอนพราหมณ์ที่มาถามปัญหาภาคอภิปรัชญาทั้งหลาย เช่น ชาตินี้ ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ว่าไม่มีประโยชน์อะไร ทรงเปรียบเทียบให้ฟังว่า
“เหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศร แทนที่จะรีบรักษา กลับจะมัวหาคำตอบให้ได้เสียก่อนว่า ใครเป็นผู้ยิง ลูกศรทำด้วยอะไร คันศรทำด้วยอะไร เช่นนี้ก็คงไม่ทันการ”
..
..

30 เมษายน 57
ศิษย์โง่ ไปเรียนเซ็น
>>> F/B Sathid tongrak.

ฐิตา:



ศิษย์โง่ ไปเรียนเซ็น
...เซ็นยังไม่สอนธรรมอีกด้วย เพราะไม่มีอะไรที่จะสอนมากไปกว่าสิ่งที่มีอยู่เองแล้วตามธรรมชาติ ยิ่งไปสอนธรรมยิ่งคับแคบ, ยิ่งจำกัด, ยิ่งเล็กลง แทนที่จะเปิดกว้างให้รับรู้, รู้เห็น, เรียนรู้เองตามธรรมชาติที่แสนกว้างใหญ่ไม่มีจำกัดนั้น กลับมานั่งสอนธรรมะให้ ป้อนให้ทีละน้อย ทีละคำ นั้นไม่ใช่วิถีเซ็น

ดังนั้น เซ็นจึงไม่มีการสอนธรรมะ แต่อาศัยธรรมชาติรอบตัวนั่นแหละสอนตัวเอง เพราะอย่างนี้จึงมีธรรมะเต็มไปหมดโดยไม่ต้องสอนธรรมะเลย กล่าวอย่างนี้แล้ว ศิษย์โง่จะไปเรียนอะไรในเซ็นเล่า ก็ในเมื่อธรรมะก็ไม่มีสอน สมาธิก็ไม่มีสอน อะไรๆ ก็ไม่มีสอน ศิษย์โง่ยังไปเรียนอะไรกับเซ็นอีกเล่า แปลว่าเราก็ไม่ต้องเรียน ไม่ต้องไปหาครูบาอาจารย์กันแล้วใช่ไหม ถ้าใช่ แสดงว่าฉลาดแล้ว ไม่ต้องไปเรียนเพราะเขาไม่สอน ไม่ต้องไปหาครูบาอาจารย์เพราะมันไม่ใช่ นี่แสดงว่าฉลาดแล้ว ก็ไม่ใช่ “ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น” อีกต่อไป ก็จะเป็นเหมือนปุถุชนทั่วไป เริงโลกีย์ไปนั่นแหละ

ดังนี้ “ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น” จึงเป็นคนโง่ที่ยอมไปเป็นศิษย์ของคนที่ไม่มีอะไรจะสอน ไม่มีอะไรจะให้เรียน รอจนกว่ามันจะเริ่มเห็นความโง่ของตัวเอง แล้ววันนั้น อาจารย์ก็จะบอกถึงความโง่เง่าของมัน วันนั้นเองมันก็ได้รู้ตัวถึงความโง่ ที่สุดแห่งโง่ แล้วก็ดับสูญไปแค่นี้ ถ้าคิดว่าฉลาดแล้วก็เป็นปุถุชนไป แต่ถ้าคิดว่าตนเองยังโง่อยู่ ก็โง่เข้ามาแล้วเอาความโง่มาเผาผลาญเสียให้หมดไป หมดโง่แล้วก็เห็นธรรมชาติที่มันมีอยู่เองแล้ว ก็เท่านั้น...


30 เมษายน 57
ศิษย์โง่ ไปเรียนเซ็น
>>> F/B Sathid tongrak.
***********


เซนไร้เหตุผล

คนมีเหตุผล เก่งใช้เหตุผล ย่อมไม่ถึงเซน
คนดีแต่ใช้อารมณ์ ก็ไม่ถึงเซนเช่นกัน
ทั้งเหตุผลหรืออารมณ์ ไม่ช่วยให้ถึงเซน
ออกจากอารมณ์และเหตุผลก่อนจึงมาเรียนเซน

คนฉลาดมัวแต่อธิบายเชิงตรรกะ เหตุและผล
เมื่อเหตุนี้มี เหตุนี้จึงเกิด เมื่อผลนี้มี ผลนี้จึงเกิด
แต่เซนกล่าวถึงการดับเสียแล้วซึ่งเหตุและผล
เมื่อดับแล้วยังจะมีเหตุผลใดมากล่าวได้อีกเล่า?

คนเหลี่ยมจัดนิยมใช้อารมณ์โน้มน้าวใจคน
เมื่อคนชอบจึงยอมรับ เมื่อคนไม่ชอบก็ปฏิเสธ
แต่เซนกล่าวถึงภาวะหลังจากอารมณ์ดับแล้ว
เมื่ออารมณ์ดับไปแล้ว ยังจะอธิบายอะไรได้อีกเล่า?

เมื่อสมมุติทั้งปวงดับไป จักหาสมมุติใดอธิบายได้
เซนกล่าวถึงภาวะ การดับไปของสมมุติทั้งปวงนั้น
ภาวะหลังการดับไปของสมมุติทั้งหลาย คือ เซน
ดังนี้แล้ว จักหาเหตุผลหรืออารมณ์ใดอธิบายได้เล่า?

เมื่อเหตุยังเกิดอยู่ เหตุก็ยังดับลงได้
เมื่อเหตุดับลงแล้ว ผลย่อมเกิดตามมา
การเกิดดับของเหตุและผลเป็นวัฏฏะอย่างนี้
เหตุและผลจึงไม่หลุดพ้น ไม่ใช่เรื่องนิพพาน

เหนือเหตุ พ้นผล ด้วยดับเสียแล้วซึ่งเหตุและผล
ดับเสียแล้วซึ่งทุกข์และกิเลส ทั้งเหตุและผล
นิโรธฉับพลันอย่างนี้ จึงไม่อาจอธิบายได้
หากยังอธิบายได้ด้วยเหตุผล ย่อมยังไม่ถึงนิโรธ

บุคคลเดินตามอริยมรรค ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค
ครบองค์สมบูรณ์แล้วจึงนับได้ว่าเป็นอริยบุคคล
ผู้บรรลุธรรมนอกพุทธศาสนาไม่เดินตามนี้
แม้ปัญญาบารมีมากรู้ถึงนิพพาน แต่ไม่นับเป็นอริยบุคคล

เซียนเต๋าอยู่นอกพระพุทธศาสนา ก็รู้ถึงนิพพานได้
แต่ยังไม่นิพพาน เพราะยังไม่บรรลุเป็นอริยบุคคล
ปัญญามีพร้อมแล้วที่จะรอลงมาตรัสรู้เป็นพระปัจเจกฯ
การบรรลุธรรมของเซียน จึงไม่ใช่การบรรลุอริยบุคคล

เซียนเต๋าเข้าถึงนิโรธได้เอง จึงไม่ถูกทำลายสักกายทิฏฐิ
นิโรธเกิดได้ แต่ไม่ใช่อริยมรรค เพราะยังเหลือสักกายทิฏฐิ
พระอริยบุคคลทั้งหลายล้วนผ่านนิโรธและสิ้นสักกายทิฏฐิ
ดับสนิททั้งเหตุและผลแล้ว เข้าถึงเซนได้เช่นกัน
..
..

ไม่โง่อย่าเรียนเซน

สุภาษิตว่าไว้ “ศิษย์โง่ไปเรียนเซน”
ศิษย์ไม่โง่ ฝึกได้ ปฏิบัติได้ ไม่ต้องเรียนเซน
คนที่จะเรียนเซนได้ ล้วนโง่มาก่อนทั้งนั้น
จริงดังสุภาษิตว่า “ศิษย์โง่มาเรียนเซน”

ไม่โง่อย่าเรียนเซน โง่แล้วจึงมาเรียนเซน
ฉลาดแล้วไม่ถูกหลอกล่อด้วยอุบาย
เรียนเซนก็ไม่ได้มรรคผลอันใด
ดังนี้จึงว่า “ไม่โง่อย่ามาเรียนเซน”

ศิษย์ไม่โง่ สอนอะไรก็ฝึกได้ ปฏิบัติได้ ครูชอบ
ไปได้ดีกับการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
พอขาดระบบ ก็เหมือนว่าวสายขาด
ศิษย์ไม่โง่เรียนเซนแล้วอันตราย

ศิษย์โง่ สอนอะไรก็ทำไม่ได้ ฝึกไม่ได้ ยากเย็น
ครูเขาด่าเขาว่า เรียนแล้วเรียนอีกไม่จบเสียที
เพื่อนล้อ เพื่อนหลอก ก็ถูกเขาหลอกเอาได้
ศิษย์โง่แบบนี้ จึงเรียนเซนได้มรรคได้ผล

บอกให้ศิษย์ฉลาดโดดหน้าผา มันไม่โดด
เพราะมันฉลาดเกินไป เรียนเซนไม่ได้
บอกศิษย์โง่ให้โดดหน้าผา มันก็โง่โดดเสียจริงๆ
แท้แล้วเป็นอุบายของอาจารย์สอนโดยไม่สอน

อาจารย์เซนย่อมรู้อย่างแจ้งชัดถึงอินทรีย์ของศิษย์
แม้สั่งให้ศิษย์ทำสิ่งใด ย่อมทราบกำลังความสามารถ
ดังนั้น แม้เป็นคำสั่งที่โง่เง่า ก็เหมาะสมกับศิษย์โง่
ศิษย์โง่แบบนี้ จึงจะสำเร็จเซนได้ในที่สุด

ศิษย์โง่ ครูที่ไหนก็สอนไม่ได้แล้ว
เพราะครูไม่มีบุญบารมีพอที่จะสอนได้
สอนศิษย์เท่าไรก็รู้สึกว่าศิษย์โง่เหลือเกิน
เพราะไม่ทราบศักยภาพที่ซ่อนลึกเฉพาะตัวของศิษย์

อาจารย์เซนเล็งเห็นศักยภาพที่ซ่อนลึกนั้น
ท่านมีวิธีดึงเอาศักยภาพที่ซ่อนอยู่ออกมา
ด้วยวิธีการอันประหลาดเกินที่จะอธิบาย
จึงต้องอาศัยศิษย์ที่โง่พอที่จะทดลองปฏิบัติ

ศิษย์ฉลาดเก่งที่จะเรียนรู้สิ่งภายนอก
แต่ภายในไม่มีความพิเศษซ่อนอยู่
เพราะไม่มีดีในตัว จึงรับเอาแต่ของนอกตัว
ดังนี้ จึงกล่าวว่า “ศิษย์ไม่โง่ อย่าเรียนเซน”

3 .9.2014
สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่ามด
>>> F/B พระพุทธศาสนา นิกายเซ็น - Zen
..
..

พระพุทธศาสนา นิกายเซ็น - Zen
7 เมษายน 2013
"ปราศจากความคิดปรุงแต่งนั่นแหละเซ็น
ถ้าเธอทำได้เช่นนี้ การเดิน นั่ง หรือนอน และทุกๆสิ่งที่เธอทำก็เป็นเซ็น"

- โพธิธรรม ตั๊กม้อ -
https://www.facebook.com/ZenTheWayOfLife

ฐิตา:



ความจริงเป็นสิ่งที่อธิบายไม่ได้

ความจริงเป็นสิ่งที่อธิบายไม่ได้ แต่คนเรา
ก็พยายามใช้ความคิดและคำพูดมาอธิบายความจริง

ความคิดหรือคำพูด กับความจริง ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ยกตัวอย่างเรื่องไฟ
ไฟจริงๆ กับคำว่าไฟก็ไม่เหมือนกัน ถ้าคำว่าไฟเป็นความจริงเองละก็
ทุกครั้งที่คุณพูด ปากก็คงไหม้
หรือพอเขียนคำว่าไฟลงไปที่กระดาษ กระดาษก็คงไหม้หมด

แต่เห็นได้ว่า ทุกครั้งที่คุณคิด พูด หรือเขียนถึงไฟ มันไม่เคยมีอะไร
ลุกไหม้ขึ้นมาสักอย่าง เพราะมันเป็นแค่ความคิด ไม่ใช่ความจริง

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ควรอธิบายความจริง เราสามารถคิด
และอธิบายความจริงจนถึงขีดจำกัดที่ภาษาจะใช้อธิบายได้
เพียงอย่าลืมว่าความคิดหรือคำพูด ไม่ใช่ตัวความจริง เปรียบได้กับนิ้วที่ชี้ไปยังดวงจันทร์


ภิกษุณี ชุนโด อาโอยาม่า
___________________
ที่มา: รายการ พื้นที่ชีวิต ตอน เซ็น


25 มีนาคม 57
>>> F/B Sathid tongrak.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version