ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติวันสงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์  (อ่าน 921 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ประวัติวันสงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์
-http://hilight.kapook.com/view/21047-






เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          แดดร้อนเปรี้ยงกลางเดือนเมษายนเช่นนี้ เชื่อเลยค่ะว่า หลาย ๆ คนคงกำลังตั้งหน้าตั้งตารอคอยเทศกาลแห่งความสุขอย่าง "เทศกาลสงกรานต์" อย่างแน่นอน เพราะนอกจากที่เราจะได้สาดน้ำคลายร้อนในวันหยุดยาว ๆ 3 วันกันแล้ว เทศกาลนี้ยังเป็นวันนัดพบของคนในครอบครัวที่อยู่ต่างถิ่นต่างแดน ให้กลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมกันด้วย อีกทั้งยังเป็นเทศกาลที่เปรียบเสมือนวันปีใหม่ไทย ให้ชาวไทยได้ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตตลอดทั้งปี

          วันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอหยิบยกนำเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "วันสงกรานต์" มาให้เพื่อน ๆ ได้รับทราบกัน ไปดูกันซิว่า เทศกาลสงกรานต์ เริ่มขึ้นเมื่อไร และมีความสำคัญอย่างไรบ้าง...

          สำหรับคำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สํ-กรานต" ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือการย้ายที่ เคลื่อนที่ โดยหมายความอีกนัยนึงว่า เป็นการเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่นั่นเอง ส่วนเทศกาลสงกรานต์นั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ของคนไทยสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กันมากับประเพณีตรุษจีน จึงมีการเรียกรวมกันว่า "ประเพณีตรุษสงกรานต์" ซึ่งหมายถึง ประเพณีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นั่นเอง

          ทั้งนี้ วันหยุดสงกรานต์ เป็นวันหยุดราชการ แบ่งออกเป็น 3 วัน ได้แก่ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์, วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา, วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก ส่วนกิจกรรมหลัก ๆ ที่ทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็จะเป็นการทำความสะอาดบ้านเรือน การร่วมกันทำบุญทำทาน สรงน้ำพระ รดน้ำของพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำคลายร้อนกัน เป็นต้น




 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันสงกรานต์   

          ในสมัยโบราณ คนไทยถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งตกราว ๆ เดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าเป็นช่วงฤดูหนาว ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นวันที่ 1 เมษายน แต่เมื่อในยุคสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ปี พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นสากล คือวันที่ 1 มกราคม แต่กระนั้น คนไทยส่วนมากก็คุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงกำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทิน เกรกอรี่

          นอกจากประเทศไทยได้ถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่แล้ว รู้หรือไม่ว่า ประเทศมอญ พม่า ลาว  ก็นำเอาวันดังกล่าว เป็นเทศกาลฉลองวันขึ้นปีใหม่ของเขาด้วยเช่นกัน



 สำหรับภาษาและความเชื่อของวันสงกรานต์ในแต่ละภาคก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้ ...

ภาคกลาง

          วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" และเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ

          วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า "วันเนา" ซึ่งในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ประกาศให้เป็นวันครอบครัว

          วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันเถลิงศก" คือวันเริ่มจุลศักราชใหม่


ภาคเหนือ

          วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า "วันสังขารล่อง" ซึ่งมีความหมายว่า อายุสิ้นไปอีกปี

          วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า "วันเน่า" เป็นวันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปากเน่าและไม่เจริญ

          วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันพญาวัน" คือวันเปลี่ยนศกใหม่


ภาคใต้ 
   
          วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า "วันเจ้าเมืองเก่า"  หรือ "วันส่งเจ้าเมืองเก่า" เพราะเชื่อว่าเทวดารักษาบ้านเมืองกลับไปชุมนุมกันบนสวรรค์

          วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า "วันว่าง" คือวันที่ปราศจากเทวดาที่รักษาเมือง ชาวบ้านก็จะงดงานอาชีพต่าง ๆ แล้วไปทำบุญที่วัด

          วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันรับเจ้าเมืองใหม่" คือวันรับเทวดาองค์ใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเมืองแทนองค์เดิมที่ย้ายไปประจำเมืองอื่น

          คำว่า "ดำหัว" ปกติแปลว่า "สระผม" แต่ประเพณีสงกรานต์ล้านนา หมายถึง การแสดงความเคารพ และขออโหสิกรรมที่ตนอาจจะเคยล่วงเกิน รวมทั้งขอพรจากผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส ครูบาอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา ส่วนมากจะใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยนำไปไหว้ และผู้ใหญ่ก็จะจุ่มเอาน้ำแปะบนศีรษะก็เป็นอันเสร็จพิธี



อย่างไรก็ตาม พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกครอบครัว หรือชุมชนบ้านเรือนละแวกใกล้เคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปตามสมัย และค่านิยม จากเดิมชาวบ้านจะใช้น้ำเป็นตัวแทนในการประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ โดยถือว่า น้ำจะแก้ความร้อนของฤดูร้อน และใช้ช่วงเวลาดังกล่าวขอพรจากผู้ใหญ่ รวมไปถึงระลึกบุญคุณต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ส่วนประเพณีสงกรานต์ในสมัยใหม่นั้น จะเป็นประเพณีกลับบ้านเกิดเสียมากกว่า หรือถือว่าเป็นวันครอบครัว


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
วิชาการดอทคอม

-http://hilight.kapook.com/view/21047-

.





คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)