อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > ท่านพุทธทาสภิกขุ
"I" and "MINE" เพื่อเอาไว้เป็นเครื่อง.. ป้องกันบ้า :พุทธทาสภิกขุ
ฐิตา:
๑๖ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]
๑๖. งานด้านปฏิบัติธรรมจึงมีอย่างเดียว คือ อย่าให้สิ่งแวดล้อมมาทำจิตของเราให้หวั่นไหวไปตามอารมณ์ได้ นี่คือการรักษาพรหมจรรย์ที่ถูกต้อง เป็นการปฏิบัติธรรมที่ลัดที่สุดของทุกศาสนา โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสียทองหรืออะไรๆ เลย เพียงทำตนให้เป็นเหมือน "ไม้กวาด" คอยจ้องกวาดสิ่งสปกรกที่จะมาเกาะจิตใจหรือความนึกคิดของเรา ถ้าเราหมั่นระวังจิตใจก็จะประภัสสรตามสภาพเดิมแม้ของมัน ความสงบสุขก็จะมีอยู่เรื่อยไป ดุจเราหมั่นซักเสื้อผ้ารักษาให้ขาวให้สะอาดไว้ตามสภาพเดิมของมันนั่นเอง เคยมีผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยการพิจารณาผ้าที่สะอาดซึ่งกลายเป็นผ้าสกปรกไป เพราะสิ่งสกปรกเกิดขึ้นในภายหลัง
16. With regard to Dhamma practice, there is only one main task to do : that is - do not let the mind be affected by the environment and react according to the feelings that emerge in it. Be like a broom, always ready to sweep away any filthy thing that tries to cling to the mind or to our thoughts. If we keep bewaring of it, the mind will stay clean as it originally is Calmness and peace will prevail. It can be compared to our washing of the clothes regularly to keep them clean. There had been cases of people becoming 'arahants' by merely contemplating on pieces of clean clothes wich had later become contaminated.
๑๗ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]
๑๗. นอกจากคอยกวาดสิ่งสกปรกให้ออกไปจากความนึกคิดแล้ว ควรรู้จักคลุมจิตใจ อย่าให้กิเลสลอยเข้ามาเกาะมันได้ด้วย แบบเดียวกับการเอาผ้าหรือสิ่งอื่นใดคลุมเข้าของที่สะอาดอยู่แล้ว มิให้ฝุ่นละออลงเกาะได้ ฉันนั้น ฝุ่นสกปรกของจิตใจก็ได้แก่ ความโลภ โกรธ หลงงมงาย และความเห็นแก่ตัวจัด จะเรียกว่าความอยาก ความยึด ความยุ่งก็ได้ เรียกว่าตัณหาอุปาทานก็ได้ กล่าวคือกิเลสชนิดต่างๆ นั่นเอง ซึ่งถ้าใครลงมือกวาดได้บ้างแล้ว ก็จะเริ่มเป็นพระอริยบุคคลถ้ากวาดออกได้หมด ก็เป็นพระอรหันต์
17. Besides sweeping away whatever filthy things out of mind, one should know how to protect it by not allowing any mental defilement to cling to it. It is just like covering a piece of cloth over something clean to prevent dust from settling on it. The filthy dust of the mind consists of greed (lobha), anger (dasa) and delusion (moha) and also selfishness. Some call it desire, others may call it attachment or craving, but they are all different kinds of mental defilements. If someone his way to become 'ariya-puggala' ; if he were to be able to sweep all the dust away, he would be on 'arahant'.
๑๘ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]
๑๘. ตามธรรมดาคนมักเผลอตัวบ่อย ๆ หรือไม่ก็ประมาท โดยถือเสียว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ร้ายแรงอะไร บางคนกลับเห็นไปว่าการเข้าคลุกกับกิเลสต่างๆ นั้น มันสนุกดี หรือโลดโผนมีชีวิตชีวา พระพุทธเจ้าจึงเตือนอยู่ตลอดเวลา (แม้กระทั่งตอนที่พระองค์ปรินิพพาน) ว่า จงอย่าประมาท จงมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอๆ
18. Some people tend to be negligent or even careless about having to deal with human desires. for they regard it as something rather ordinary, not in the least dangerous at all. Some even think it is fun to have to deal with human desires. It provides stimulation and excitement. The Buddha thus took pain to warn us (at the time just before his decease). not to be careless but to be mindful, alert and wise always.
๑๙ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]
๑๙. คนที่มีปัญญาและรู้ตัวทันกาลเวลาแล้ว ก็คงจะไม่ปล่อยให้กิเลสเข้ามาชักใยพันจิตใจและความนึกคิดของเขาให้วุ่นวายไปกับมัน เพราะมองเห็นว่ามันได้ไม่คุ้มเสีย ในเรื่องนี้ก็ควรใช้คติพจน์ที่ว่า รู้แล้วนิ่งเสีย คือไม่ไปรับเอากิเลสเหล่านั้นเข้ามาไว้ในความนึกคิด หรือไม่ยอมกวนเอาสิ่งที่มันนอนนิ่งอยู่ในสันดานให้ฟุ้งขึ้นมา คอยควบคุมความนึกคิดให้ถูกต้องตามคลองธรรม ไม่ว่าจะทำอะไรก็ใช้ปัญญาและเหตุผลเสมอๆ
19. Those who are wise and consciously catching up with the time are not likely to allow mental defilements to spin around their mind and thoughts, rendering it chaotic because they simply could see that it is not worth the trouble. In this matter, one should follow the advice : Once you know it, remain still, do not allow the desire to take charge of your thoughts, or do not let what already lies dormant burst forth with such vehemence. Just try to rein-in the thoughts so that they go in line with the Dhamma. No matter you do, always do it with wisdom and reasons.
๒๐ ม.ค.๒๕๕๖
[พุทธธรรมกำมือเดียว]
๒๐. โดยพิจารณาหรือปลงให้ตกว่า สิ่งที่กระทบจิตใจเรานั้น มันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ไม่ว่าใครก็จะต้องพบเป็นครั้งเป็นคราว มันผ่านแล้วมันก็ผ่านไป เหมือนความร้อนความหนาวของอากาศ นิ่งทนมันไปชั่วคราว ไม่ต้องไปดีใจ เสียใจ ถ้าจะกินเหยื่อก็อย่าให้ถูกเบ็ดเกี่ยว ถ้ากินปลาก็อย่าใหถูกก้างติดคอ หากพิจารณาเห็นโทษมากกว่าคุณแล้ว ก็ทำใจเฉยไว้ต้องเอาชนะความอ่อนแอของตนเองให้ได้ คือ ไม่ยอมโน้มเอียงไปเคล้ากับกิเลส เมื่อเข้ามากระทบเราแล้ว เราก็ปลงตก มันก็เป็นการ "กระทบล่อน" คือ กระทบแล้วไม่ติดตัวเรา แต่ถ้าปลงไม่ตกมันก็เป็นการ "กระทบติด" คือติดจิตใจ ติดความนึกคิดของเรา จนเราเป็นทุกข์เป็นร้อนขึ้นมา
20. Do contemplate and take a good insight into this : It is a natural phenomenum of the world that our mind has to come into contact with myriads of things and events of life. Anyone would have to encounter with it one time or another. It comes and goes just like the coldness and the hotness of the weather. Remain still and put up with it for temporary period. There is no need for feeling glad or sad over it. There is a Thai saying which goes like this : "If you want to eat the bait, make sure you don't get hooked by the hook ; if you want to eat the fish, make sure your throat doesn't get pricked by the fish bone". If upon consideration, there somes to be move harm than good, then stay still and be neutral. One should overcome one's own weakness and not get carried away by one's own craving. We renounce it when craving strikes our mind, then it slips away, but should we fail to renounce it, it becomes a 'striking that sticks' - that is - it gets glued to the mind till we begin to suffer.
"I" and "MINE" ตัวกู-ของกู
ที่มา : ภาคผนวก ของหนังสือ "I" and "MINE" From BUDDHADASA BHIKKHU
ตัวกู-ของกู [พุทธทาสภิกขุ]
Kungwan AngkaewJan : G+ สานต่อปณิธานพุทธทาส
-https://plus.google.com/communities/102879107293774602968/stream/e979e885-dc88-411c-a549-df3fb841b18c
ฐิตา:
จงคิดกับเพื่อนมนุษย์ว่า...
ท่านพุทธทาส อินฺทปัญฺโญ ได้กล่าวขอคิดธรรมะให้มนุษย์ได้มองเห็น
ถึงเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนั้น ให้ใช้ชีวิตในสังคมโดยเข้าใจกัน
โดยใช้หลักธรรมธรรมะอธิบายสัจธัมของมนุษย์ที่เกิดมาบนโลกนี่ ให้มนุษย์นั้นเข้าใจ
จงคิดกับเพื่อนมนุษย์ว่า...
เขาเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของเรา..
เขาเป็นเพื่อน เวียนว่าย อยู่ในวัฏฏสงสาร ด้วยกันกะเรา..
เขาก็ตกอยู่ใต้ อำนาจกิเลส เหมือนเรา ย่อมพลั้งเผลอไปบ้าง..
เขาก็มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่น้อยไปกว่าเรา..
เขาย่อมพลั้งเผลอบางคราว เหมือนเรา..
เขาก็ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม เหมือนเรา ไม่รู้จักนิพพาน เหมือนเรา..
เขาโง่ในบางอย่าง เหมือนที่เราเคยโง่..
เขาก็ตามใจตัวเอง ในบางอย่าง เหมือนที่เราเคยกระทำ..
เขาก็อยากดี เหมือนเรา ที่อยาก ดี - เด่น - ดัง..
เขาก็มักจะกอบโกย และ เอาเปรียบ เมื่อมีโอกาส เหมือนเรา..
เขามีสิทธิที่จะ บ้าดี - เมาดี - หลงดี - จมดี เหมือนเรา..
เขาเป็น คนธรรมดา ที่ยึดมั่น ถือมั่นอะไรต่างๆ เหมือนเรา
เขาไม่มี หน้าที่ ที่จะเป็นทุกข์ หรือตายแทนเรา..
เขาเป็น เพื่อนร่วมชาติ ร่วมศาสนา กะเรา..
เขาก็ทำอะไร ด้วยความคิดชั่วแล่น และ ผลุนผลัน เหมือนเรา..
เขามีหน้าที่รับผิดชอบ ต่อครอบครัวของเขา มิใช่ของเรา..
เขามีสิทธิ ที่จะมีรสนิยม ตามพอใจของเขา..
เขามีสิทธิ ที่จะเลือก (แม้ศาสนา) ตามพอใจของเขา
เขามีสิทธิ ที่จะใช้ สมบัติสาธารณะ เท่ากันกับเรา
เขามีสิทธิ ที่จะเป็น โรคประสาท หรือ เป็นบ้า เท่ากับเรา
เขามีสิทธิ ที่จะขอความช่วยเหลือ เห็นอกเห็นใจจากเรา..
เขามีสิทธิ ที่จะได้รับอภัยจากเรา ตามควรแก่กรณี..
เขามีสิทธิ ที่จะเป็นสังคมนิยม หรือ เสรีนิยม ตามใจเขา..
เขามีสิทธิ ที่จะเห็นแก่ตัว ก่อนเห็นแก่ผู้อื่น..
เขามีสิทธิ แห่งมนุษย์ชน เท่ากันกับเรา, สำหรับจะอยู่ในโลก..
ถ้าเราคิดกันอย่างนี้ จะไม่มีการ ขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้น..
ท่านพุทธทาส อินฺทปัญฺโญ
>>> G+ วัดเจ็ดเสมียน น้อมนำธรรมะสู่สังคม
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version