ผู้เขียน หัวข้อ: วิถีเซน(38)...อิสรภาพแห่งใจ ตอนที 1-2  (อ่าน 1498 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


               

วิถีเซน(38)...อิสรภาพแห่งใจ ตอนที 1

ธรรมะอรุณสวัสดิ์สังฆะที่รัก วันก่อนนั้นเราได้พูดถึง ประตูแห่งการหลุดพ้น 3 ประการ นั่นก็คือการเจริญสมาธิ 3 ประการ ซึ่งเป็นคำสอนที่ปรากฏอยู่ในพุทธศาสนาทุกนิกาย การเจริญสมาธิหมายถึงการใช้พลังแห่งการมองอย่างลึกซึ้ง เพื่อเข้าถึงธรรมชาติของความว่าง (emptiness) หรือสุญญตา การไร้สัญลักษณ์รูปลักษณ์ (signlessness) และการไร้ซึ่งความมุ่งหวัง (aimlessness)

ประตูแห่งการหลุดพ้น
ในประเพณีทางพุทธศาสนานั้น เราไม่ได้ให้คำสัญญาใดว่าผู้ปฏิบัติจะได้เข้าไปสู่สรวงสวรรค์ หรือดินแดนสุขาวดี หรือพ้นจากบาปหรือนรก แท้จริงแล้วเราปฏิบัติเพื่อที่จะมองอย่างลึกซึ้งและปลดปล่อยตัวเองให้หลุดพ้น เราอาจเห็นได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรากำลังหานั้น แท้จริงแล้วล้วนอยู่ตรงนั้นอยู่แล้วในชั่วปัจจุบันขณะ อยู่ในตัวเรา อยู่รอบตัวเรา เพราะฉะนั้นนี่ไม่ใช่การให้คำมั่นสัญญา นี่คือการปฏิบัติที่จะช่วยให้เราตื่นรู้กับความเป็นจริงของเรา และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโลก

เราทราบดีว่าการทำสมาธินั้นคือทำสมาธิกับอะไรสักอย่าง เมื่อเราพูดถึงการทำสมาธิกับความว่างหรือสุญญตา เรารู้ว่าธรรมชาติของความว่างนั้นคือธรรมชาติของทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อเธอมองไปที่ใบไม้ ก้อนหิน หรือก้อนเมฆ เธอจะเห็นธรรมชาติของความว่างอยู่ในนั้น เช่นเดียวกับเวลาที่เธอมองไปที่ใครสักคนหนึ่ง ต้นไม้สักต้น หรือแม่น้ำ เธอควรมองให้เห็นถึงธรรมชาติแห่งความเป็นจริงของความว่างในทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอดู ความว่างไม่ควรจะเป็นแค่ความคิดทางนามธรรม แต่เป็นปัญญาเห็นแจ้งที่เธอสามารถสัมผัสได้ เมื่อเธอสัมผัสสิ่งต่างๆ อย่างที่เขาเป็นอยู่

เช่นเดียวกันกับความเป็นจริงในเรื่องความไร้ซึ่งสัญลักษณ์ และรวมถึงร่างกาย ต้นไม้ เราควรจะสังเกตและมองเห็นในสิ่งต่างๆ ที่เป็นที่เกิดขึ้นว่าไม่มีสัญลักษณ์หรือสัญญา ให้เห็นถึงธรรมชาติของทุกสิ่งทุกอย่างอย่างที่เป็นอยู่ สัญญาหรือสัญลักษณ์นั้นสามารถที่จะหลอกลวงเรา เราควรตระหนักรู้ถึงการหลอกลวงของรูปลักษณ์สัญญาเหล่านั้น การติดยึดกับรูปแบบต่างๆ ทำให้เราถูกล่อลวงไปได้ง่าย

เราจะต้องสำรวจและเรียนรู้ ประยุกต์การทำสมาธิแบบนี้ ในวิถีทางที่เป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันของเรา
ความอยากทำให้เรา
ไม่สามารถที่จะสัมผัส
กับความสุขที่เกิดขึ้น
ณ ที่นี่ ขณะนี้
คำสอนของพระพุทธองค์นั้นคือ
การมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข
ณ ที่นี่ ในขณะนี้
อยู่บนพื้นฐานของ
การมองอย่างลึกซึ้ง
เพื่อให้เราเห็นว่า
เรามีเงื่อนไขอย่างเพียงพอ
ที่จะมีความสุขในขณะนี้อยู่แล้ว
..................................

รู้เท่าทันปมแห่งความผูกมัด 
ในพุทธศาสนาเราพูดถึง เงื่อนไข 10 ประการที่บั่นทอนความเป็นอิสระของเรา เวลาที่เราพูดถึงการหลุดพ้นนั่นคือการหลุดพ้นจาก "ปม" ที่ผูกมัดนี้ เพราะฉะนั้นเธอจะต้องฝึกปฏิบัติเจริญสมาธิที่เพื่อที่จะคลายการผูกมัดจากปมทั้งหลาย

สิ่งที่ผูกมัดเราข้อแรกคือ ความอยากมีสิ่งต่างๆ ในความอยากนั้นมีสิ่งที่เป็นอันตราย เราคิดว่าสิ่งที่เราอยากนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องมี ถ้าเรามีสิ่งนั้นเราจึงจะมีความสุข แต่จริงๆ แล้วเราไม่ได้เห็นอันตรายในสิ่งที่เราอยากได้ ในสิ่งที่เราไขว่คว้าหามา ความอยากทำให้เราไม่สามารถสงบสุขได้อีกต่อไป มันทำให้เราไม่มีความพึงพอใจกับสิ่งที่เรามี สิ่งที่เราเป็น หรือสถานการณ์ที่เราเป็นอยู่ ความอยากทำให้เราไม่สามารถที่จะสัมผัสกับความสุขที่เกิดขึ้น ณ ที่นี่ ขณะนี้ คำสอนของพระพุทธองค์นั้นคือการมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข ณ ที่นี่ ในขณะนี้ อยู่บนพื้นฐานของการมองอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เราเห็นว่าเรามีเงื่อนไขอย่างเพียงพอที่จะมีความสุขในขณะนี้อยู่แล้ว หากเรามีไฟแห่งความอยากอยู่ภายใน เราเชื่อว่า หากเราปราศจากสิ่งที่เราต้องการ เราจะไม่สามารถเป็นสุขได้อีกต่อไป ไฟแห่งความอยากทำให้เราสูญเสียความสุข ความสงบ และความสามารถที่จะมีความสุขในปัจจุบันขณะ นี่คือ 1 ใน 10 สิ่งที่ผูกมัดเราไว้ และเราจะต้องคลายปมเหล่านี้ออก

เราจะมองให้เห็นถึงสิ่งที่เราอยากได้อย่างไร พระพุทธองค์ทรงยกตัวอย่างมากมาย เพื่อให้เราเห็นถึงอันตรายจากการวิ่งไขว่คว้าสิ่งที่เราอยากได้ ตัวอย่างที่หนึ่งคือ ภาพของใครสักคนหนึ่งที่กำลังถือคบไฟและวิ่งต้านลม ลมกำลังเผาไหม้มือของเขาผู้นั้นแต่เขาก็ยังคงวิ่งต่อไป นั่นคืออันตรายของความอยาก

ตัวอย่างที่สองที่พระพุทธองค์ได้ทรงเสนอให้เราเห็นคือ ภาพของสุนัขที่กำลังวิ่งไล่กระดูกเปล่าๆ ถึงแม้ว่าสุนัขตัวนั้นจะได้กระดูกชิ้นนั้นแล้ว แต่ก็ยังไม่พึงพอใจ เพราะมันพยายามเคี้ยวกระดูกที่ไม่มีชิ้นเนื้อติดอยู่เลย หนำซ้ำกระดูกนั้นเป็นกระดูกพลาสติกอีกต่างหาก สิ่งที่เราอยากได้ก็เป็นเช่นเดียวกัน สิ่งที่เราอยากได้ไม่เคยเติมเต็มความต้องการของเรา

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ภาพของปลาที่กำลังงับเหยื่อบนเบ็ด ชาวประมงจะใช้เหยื่อติดขอเบ็ดเพื่อตกปลา แล้วโยนเบ็ดนั้นลงไปในแม่น้ำ เมื่อปลาเห็นเหยื่อตกปลาเหล่านั้นก็รู้สึกว่าเหยื่อน่าดึงดูดใจ น่าเข้าไปกัดกินมาก โดยหารู้ไม่ว่าเมื่อกัดเข้าไปแล้ว ตนเองจะติดกับดักและถูกจับได้ ซึ่งบางครั้งเหยื่อปลาที่มีสีสันที่น่าดึงดูดเหล่านั้นเป็นเพียงเหยื่อพลาสติกด้วยซ้ำ

เพราะฉะนั้นเราจะต้องมองให้เห็นว่าสิ่งที่เราอยากได้นั้นมีอันตราย เมื่อมองเห็นอย่างชัดเจน เราจะเห็นว่าถึงแม้สิ่งนั้นจะน่าดึงดูดใจ แต่มันจะไม่สามารถดึงดูดใจเราได้อีกต่อไปแล้ว เพราะเราเห็นถึงอันตรายของสิ่งที่เราอยากได้นั้น นี่คือสิ่งที่เราจะต้องฝึกทำสมาธิ



เท่าทันปมแห่งความโกรธ ความไม่รู้ ความเปรียบเทียบ และความสงสัย
ปมที่สอง
คือ ความโกรธ เปลวไฟแห่งความโกรธนั้นก็ทำลายเรามากพอๆ กับเปลวไฟแห่งความอยาก เมื่อความโกรธฝังอยู่ในตัวเรา เราจะไม่มีความสามารถมีความสงบ ความสุข ณ ที่นี่และขณะนี้ นั่นคือเหตุผลที่เราจะต้องฝึกปฏิบัติมองอย่างลึกซึ้งให้เห็นว่า ความโกรธนั้นเกิดจากความโง่เขลาหรืออวิชชา ซึ่งเป็นการมองเห็นอย่างผิดๆ การมองอย่างลึกซึ้งเช่นนี้ทำให้เราเข้าใจถึงความทุกข์ ซึ่งคืออริยสัจข้อที่หนึ่งในอริยสัจ 4

เมื่อเราเข้าใจอริยสัจข้อที่หนึ่ง คือการเห็นความทุกข์ เราก็จะสามารถก้าวข้ามความโกรธ และคลายปมแห่งความโกรธนั้นได้ ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถสัมผัสได้ว่าความโกรธนั้นอยู่ในตัวเขา เขาก็จะสามารถฝึกการคลายปมแห่งความโกรธที่อยู่ในตัวเขา ซึ่งจะช่วยปลดปล่อยจิตปรุงแต่งนั้น

ปมข้อที่สามคือ ความไม่รู้ อวิชชา หรือความคิดเห็นที่ผิด ทำให้เราสับสนว่าเราควรจะไปไหน ทำอะไร และไม่ควรทำอะไร ที่เราทำในสิ่งที่ผิด เราพูดในสิ่งที่ผิดเพราะว่าเรามีความโง่เขลา เรามีความไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูก อะไรคือสิ่งที่ผิด นี่คือปมผูกมัดเราในข้อที่สาม

ปมข้อที่สี่คือ ความรู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่า เหนือกว่า หรือเท่ากับคนอื่น นั่นเพราะว่าเรามีความคิดเห็นต่อความมีตัวตน ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ ทำให้เกิดปมด้อย ปมเด่น ปมเท่าเทียมกันในใจของเรา และเราก็เป็นทุกข์กับความเด่น ความด้อย ความเท่าเทียมเหล่านั้น

ปมข้อที่ห้าคือ ความสงสัย ความไม่เชื่อ เวลาที่เราสงสัยเราก็จะไม่มีความสุข มันมีความไม่รู้ ความไม่เชื่ออยู่ตรงนั้น

ปลดปล่อยความคิดเห็นผิด
ปมข้อที่หก
คือ ความคิดเห็นที่ผิด เป็นการมองที่ผิด เรามีความคิดเห็นอยู่ 5 ประเภทที่จะบอกได้ว่าเป็นความคิดเห็นที่ผิด
ความคิดเห็นที่ผิดอย่างแรกคือ กายนี้เป็นตัวฉัน ฉันคือกายนี้ ถ้าเธอเข้าใจหรือเชื่อว่าเมื่อเธอตายไปแล้วเธอจะไม่อยู่ตรงนั้นอีก และเธอเชื่อว่าก่อนที่จะเป็นกายนี้เธอไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น นั่นคือความคิดเห็นที่ผิด

ความคิดเห็นที่ผิดอย่างที่สองคือ ความเชื่อในความคิดเห็นที่เป็นสองขั้ว การเชื่อว่าฝ่ายขวานั้นตรงกันข้ามกับฝ่ายซ้าย เชื่อว่ามีการเกิด-มีการตาย เชื่อว่ามีข้างนอก-มีข้างใน เชื่อว่ามีการเป็นอยู่-มีการไม่เป็นอยู่ เชื่อว่ามีความเหมือนกัน-มีความต่างกัน ความคิดเห็นที่มองทุกสิ่งออกเป็นสองขั้วที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน การมองแบบนี้จะนำความทุกข์มาให้เราทั้งสิ้น พระพุทธองค์ทรงพยายามทำให้เรามีความสามารถ ที่จะข้ามพ้นความคิดเห็นที่เป็นคู่ตรงข้ามกันแบบนี้ เพื่อให้เราเข้าสู่ความเป็นอิสระ ความเป็นอิสระที่ข้ามพ้นความคิดเห็นสองขั้วนั่นคือการมองทางสายกลาง นั่นจะทำให้เราไม่ติดยึดแบบนี้ นี่เป็นคำสอนที่กว้างและลึกมาก

ความเห็นที่ผิดข้อที่สามคือ การยึดติดอยู่กับความคิดเห็นใดความคิดเห็นหนึ่ง เมื่อมีความคิดเห็นเช่นนี้ นั่นคือจุดจบในความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณของเธอ เมื่ออะไรก็ตามที่เธอได้เรียนรู้ ได้ยิน เธอควรจะมีความระมัดระวัง และไม่ควรจะตัดสินไปว่ามันคือความจริงอันสูงสุด เธอควรปล่อยวางเพื่อจะได้ก้าวเข้าไปสู่ความจริงที่สูงขึ้น เมื่อเธอมีปัญญาเห็นชอบในเรื่องหนึ่ง และเธอคิดว่าปัญญาเห็นชอบนั้นเป็นความจริงอันสูงสุดแล้ว เธอย่อมไม่สามารถที่จะรับความจริงที่สูงกว่านั้น และเธอก็ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง เธอต้องมีความพร้อมที่จะปลดปล่อยความเข้าใจของเธอ ปล่อยวางปัญญาที่ได้รับและความคิดเห็นที่เธอมีอยู่ เหมือนกับเธอเดินขึ้นบันได เมื่อเราเดินขึ้นบันไดไปถึงขั้นที่สี่ เราคิดว่านั่นคือขั้นสูงสุดแล้ว เธอก็จะไม่สามารถเดินขึ้นบันได้ที่สูงขึ้นไปได้อีก เธอต้องปล่อยวางขั้นที่สี่เพื่อที่จะข้ามไปยังขั้นที่ห้า เมื่อเธอเดินขึ้นไปบนขั้นที่ห้าเธอก็ควรที่จะพร้อมปลดปล่อยขั้นที่ห้าเพื่อที่จะเดินขึ้นไปบนขั้นที่หก เพราะฉะนั้น หากความรู้หนึ่งเป็นอุปสรรคต่อความรู้อื่น เธอควรปลดปล่อยความรู้นั้นเพื่อเข้าไปสู่ความรู้หรือความเข้าใจที่สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง นี่คือความหมายของการไม่ติดยึดกับความคิดเห็น ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์มาก เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติหรือควรปฏิบัติ


ความคิดเห็นที่ผิดข้อที่สี่คือ ความเชื่อที่ว่า สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นโดยไม่มีเงื่อนไขปัจจัย นั่นคือความคิดเห็นที่บิดเบือน กฎที่แท้จริงคือ เมื่อเธอได้มีความคิดเห็นอันใด เธอก็จะได้ผลผลิตจากความคิดเห็นนั้น เมื่อเธอบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธ เธอก็จะได้รับผลนั้น เมื่อเธอบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการคิดแบบนี้ เธอก็จะได้รับผลของการคิดเช่นนั้น เมื่อเธอสังเกตสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เธอก็จะเห็นว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะเงื่อนไขเหตุปัจจัยหลายอย่างมารวมกันที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้น แต่ถ้าเธอไม่คิดว่ามันมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดผลนั้นขึ้นมา เธอคิดว่ามันมีเหตุอย่างเดียวที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นขึ้นมา นั่นคือความคิดเห็นที่บิดเบือน

หากเธอไม่เชื่อว่าความทุกข์นั้นเกิดขึ้นจากวิถีการใช้ชีวิตของเรา นั่นคือความคิดเห็นที่บิดเบือน นั่นก็คือการกระทำที่ผิด ความคิดเห็นที่ผิด เธอคิดว่าความทุกข์มันเกิดขึ้นมาของมันเอง โดยไม่คิดว่ามันมีเหตุมาจากการดำเนินชีวิต นี่คือความคิดเห็นบิดเบือนจากความเป็นจริง

ความเห็นผิดข้อที่ห้าคือ ความเชื่อทางไสยศาสตร์ หากเธอเชื่อว่าการมีพิธีกรรมแบบนี้จะทำให้เธอได้รับการปลดปล่อยออกมาจากนรกหรือบาป นั่นคือสิ่งที่เธอยึดติดกับความเชื่อในพิธีกรรม เมื่อเธอเชื่อว่าเธอทานเนื้อสัตว์อะไรก็ได้ยกเว้นเนื้อวัว เมื่อเธอไม่ทานเนื้อวัวแล้วจะทำให้เธอเป็นนักบุญ หรือเธอทานเนื้ออะไรก็ได้ยกเว้นเนื้อหมู นี่เป็นเช่นเดียวกันกับความคิดต้องห้ามที่เรามีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความคิดในแง่ไสยศาสตร์เหล่านี้ไม่ช่วยให้เธอเป็นอิสระ สิ่งที่จะนำมาซึ่งการปลดปล่อยคือความเข้าใจจนเกิดปัญญา ใช่ว่าการสังเกตถึงความคิดต้องห้ามแบบนี้จะทำให้เธอเป็นอิสระ นั่นไม่เพียงพอ เธอต้องมองอย่างลึกซึ้งและเข้าใจอย่างแท้จริง เธอถึงจะปลดปล่อยได้

นี่คือความคิดเห็นผิด 5 ประการที่เธอจะต้องปลดปล่อยจากจิตปรุงแต่งของเธอ
แท้จริงแล้วการกราบไหว้
คือการทำสมาธิอย่างหนึ่ง
คือการมองอย่างลึกซึ้ง
ฉะนั้นก่อนที่เรา
จะกราบไหว้พระพุทธองค์
เราจะต้องรู้ว่า
พระพุทธองค์อยู่ในตัวเรา
และเราอยู่ในตัวพระพุทธองค์
เราและพระพุทธองค์นั้น
เป็นความว่างโดยธรรมชาติ
และนี่คือพลังแห่งการหลุดพ้น

คลายจากปมพิธีกรรมที่ว่างเปล่า
แท้จริงแล้วการกราบไหว้คือการทำสมาธิอย่างหนึ่ง คือการมองอย่างลึกซึ้ง ฉะนั้นก่อนที่เราจะกราบไหว้พระพุทธองค์ เราจะต้องรู้ว่าพระพุทธองค์อยู่ในตัวเรา และเราอยู่ในตัวพระพุทธองค์ เราและพระพุทธองค์นั้นเป็นความว่างโดยธรรมชาติ และนี่คือพลังแห่งการหลุดพ้น

หากเราไม่ทำเช่นนั้น เมื่อไรก็ตามที่เราเชื่อว่า การกราบไหว้พระพุทธองค์คือการอธิษฐานให้เราได้รับความปลอดภัย เมื่อนั้นเธอกำลังยึดติดกับพิธีกรรม เช่นเดียวกับเมื่อพระชาวคริสเตียนฉีกชิ้นขนมปังให้เธอในพิธีของชาวคริสเตียน แล้วเธอเชื่อจริงๆ ว่านั่นคือเนื้อของพระเยซู เธอกำลังติดยึดอยู่กับพิธีกรรม ที่วัดของเราเวลาที่เราหยิบขนมปังชิ้นหนึ่งขึ้นมา เรามองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เห็นว่าชิ้นขนมปังนั้นคือตัวแทนของจักรวาลทั้งหมด ในชิ้นขนมปังเธอสามารถเห็นพระอาทิตย์ ก้อนเมฆ และทุกสิ่งทุกอย่าง จักรวาลทั้งจักรวาลนั้นอยู่ในขนมปัง เมื่อเธอทานขนมปัง เธอก็สัมผัสกับจักรวาล ผืนดิน และโลกทั้งหมด นั่นคือการปฏิบัติเจริญสติ เจริญสมาธิ และเกิดปัญญา

นักบวชชาวคริสเตียนประกอบพิธีกรรม เพื่อให้เธอได้สัมผัสกับพระเยซูที่อยู่ในตัวเธอ และพระชาวคริสต์นั้นควรทำให้พิธีกรรมมีชีวิตชีวาขึ้นมาจริงๆ ณ ที่นี่ ในขณะนี้ เหมือนกับเวลาที่เราเชิญระฆัง ทุกคนกลับมาสู่บ้านแห่งปัจจุบันขณะ เราก็กลับมามีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ถ้าเราไม่มีชีวิตชีวาขึ้นมาจริงๆ เราเพียงแต่ดำรงในความเงียบและทำไปตามพิธีกรรม เรากำลังติดยึด ในพิธีของชาวคริสต์จะต้องมีชีวิตชีวา ผู้เข้าร่วมในโบสถ์จึงจะมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้ และนั่นคือเป้าหมายของพิธีกรรม พิธีกรรมแบบนั้นใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าหากเราทำตามพิธีกรรมเพียงเพราะว่านั่นเป็นพิธีกรรม เราจะไม่ได้รับอะไรเลย แต่ถ้าเราสามารถเชื่อมโยงกับพระเยซู และสัมผัสได้ว่าพระเยซูอยู่ในตัวเรา นั่นย่อมเป็นมากกว่าการทำตามพิธีกรรม สิ่งเหล่านี้เป็นจริงในทุกประเพณี ทุกศาสนา

หากเราติดยึดในพิธีกรรม เราก็ต้องปลดปล่อยพิธีกรรมเหล่านี้ เมื่อเราจัดวันแห่งสติ เราจะต้องจัดในวิถีทางที่ทำให้วันแห่งสตินั้นเป็นชั่วขณะแห่งสติ เป็นชั่วขณะแห่งความเบิกบาน ความสงบ และความอิสระ ไม่อย่างนั้นแล้ว ถึงแม้ว่าวันแห่งสติจะเต็มไปด้วยการนั่งสมาธิ การสวดมนต์ แต่กลับว่างเปล่าจากความมีชีวิตชีวาและความปิติเบิกบาน วันแห่งสติก็เป็นแค่เพียงพิธีกรรม แม้แต่การนั่งสมาธิ เดินสมาธิ การสวดมนต์ก็อาจกลายเป็นพิธีกรรมที่ว่างเปล่าได้ นี่คือเงื่อนไขปมอันหนึ่งที่เราจะต้องปลดปล่อย เพื่อไปสู่การหลุดพ้นที่แท้จริง... (มีต่อค่ะ)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 31, 2013, 05:58:09 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วิถีเซน(39)...อิสรภาพแห่งใจ ตอนที 2
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 14, 2013, 04:05:54 pm »


                 

วิถีเซน(39)...อิสรภาพแห่งใจ ตอน 2
ขอบคุณความเป็นอนิจจัง

เรามีครูบาอาจารย์หลายท่านที่สอนเรื่องความเป็นอนิจจัง รวมทั้งลัทธิเต๋าด้วย ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ถึงเธอจะเห็นด้วยกับคำสอนนี้ มันก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก เพราะคำสอนนี้ไม่ใช่แค่ความคิดเฉยๆ เธอต้องใช้ความเป็นอนิจจังนี้เป็นเครื่องมือในการเจริญสมาธิ เมื่อเธอสัมผัสกับทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเธอตลอดทั้งวัน เธอจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจังได้ด้วยตัวเอง เธอสามารถมองเห็นความเป็นอนิจจังในคู่ครองของเธอ เห็นว่าเขาเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ตัวเธอเองก็เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ และเธอเองก็เป็นอนิจจังเช่นเดียวกัน

เรามีแนวโน้มที่จะเชื่อเรื่องการคงอยู่อย่างถาวร แต่นั่นไม่เป็นอนิจจัง ถ้าเธอเปรียบเทียบภาพของเธอเมื่ออายุ 5 ขวบกับตัวเธอในปัจจุบัน เธอจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของร่างกาย ความรู้สึก และการรับรู้ เธอสามารถมองเห็นความแตกต่างอันยิ่งใหญ่ระหว่างเธอเมื่ออายุ 5 ขวบกับเธอในปัจจุบัน เธอจะเห็นความเป็นอนิจจัง เมื่อเรามีการเจริญสมาธิอย่างลึกซึ้งในธรรมชาติของความเป็นอนิจจัง ความเป็นอนิจจังจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเรา

ความเป็นอนิจจังนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องทางลบ ไม่ใช่บทเพลงที่ทำให้รู้สึกเศร้า เพราะถ้าเธอตระหนักรู้ว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง เธอจะเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ มากขึ้น เธอจะเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ ณ ที่นี้ เพราะเธอรู้ว่ามันเป็นอนิจจัง และเธอก็จะเห็นคุณค่าของทุกนาทีที่จะอยู่กับเขา ถ้าเธอเห็นความเป็นอนิจจังของทุกสิ่งทุกอย่าง เธอจะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีความสวยงามมาก เหมือนกับดาวตกที่อยู่เพียงชั่ววินาที เหมือนดอกไม้ไฟที่ถูกจุดขึ้นมา สว่างไสวไปชั่วแค่วินาทีเดียวก่อนดับไป

เวลาที่เรามีความโกรธ เราอาจพูดออกไปด้วยความรู้สึกโกรธเพื่อทำให้คนที่รักเรารู้สึกเป็นทุกข์ เราจะต้องพิจารณาว่าคนรักของเธอนั้นเป็นอนิจจัง เธออาจหลับตาและทำสมาธิเพื่อมองให้เห็นว่าอีก 300 ปี คนรักของเธอก็จะไม่อยู่ในรูปลักษณ์แบบนี้ และตัวเธอเองก็จะไม่อยู่ในรูปลักษณ์แบบนี้เช่นเดียวกัน เมื่อเธอสัมผัสกับธรรมชาติความเป็นอนิจจัง เธอจะสามารถลืมตาขึ้นมาและเห็นว่าความโกรธนั้นได้มลายหายไป เธอได้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของทุกวินาทีที่คนรักยังอยู่กับเธอ เธออาจสวมกอดคนรักเขาให้อยู่ในอ้อมกอดของเธอ หายใจเข้า เธอยังอยู่ที่นี่ หายใจออก ความโกรธได้ถูกถอดถอนออกไปด้วยการพิจารณาความเป็นอนิจจัง

เห็นอนิจจังก็เห็นธรรม
ความเป็นอนิจจังในพุทธศาสนาไม่ได้หมายถึงความเป็นอนิจจังเท่านั้น แต่หมายถึงความไร้ตัวตน (อนัตตา) ความเป็นดั่งกันและกัน ความเอื้ออิงเกื้อกูลเพื่อที่จะเกิดขึ้น หรือ ปฏิจจสมุปบาท ถ้าไม่เห็นธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้ เราก็จะไม่เห็นธรรมชาติของความเป็นอนิจจังด้วย เวลาที่เราพิจารณาความเป็นอนิจจังก็หมายถึง เราพิจารณาความเป็นดั่งกันและกัน ความเป็นอนัตตา และความเป็นปฏิจจสมุปบาทด้วย

ความเป็นอนิจจังนั้นไม่ใช่ความจริง แต่เป็นปรมัตถ์หรือความจริงอันสูงสุดที่เราจะต้องประกาศว่าเป็นความจริงสมบูรณ์ยิ่งใหญ่กว่าความจริงอื่น หาใช่ลัทธิความเชื่อ แต่เป็นสิ่งที่เราจะต้องก้าวข้ามผ่านความคิดเห็นที่เรายึดติดกับการเป็นอนิจจัง เพราะความเป็นอนิจจังไม่ใช่ความคิดเห็น แต่เป็นเครื่องมือที่ให้เราใช้

สมมติเรามีคำถามว่า ความเป็นอนิจจังคืออะไร ความเป็นจริงคือ ต้นไม้เป็นอนิจจัง ก้อนเมฆก็เป็นอนิจจัง แล้วอะไรเล่าคืออนิจจัง

ความเป็นอนิจจังนั้นเป็นเหมือนคำคุณศัพท์ แต่มันก็ควรจะเป็นคำนามด้วย คำคุณศัพท์คือคำที่บอกคุณลักษณะ เป็นคำที่ขยายคำนาม ความเป็นอนิจจังหมายถึง ไม่มีอะไรที่จะอยู่เหมือนเดิมตลอดไป แต่บางอย่างอาจสามารถอยู่ได้เพียงชั่วขณะเท่านั้น ในชั่วขณะต่อไปมันก็กลายเป็นสิ่งอื่น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าตลกที่จะเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะคงอยู่ตลอดไป เพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ตรงนั้นแค่ชั่วขณะของเสี้ยว เสี้ยว เสี้ยว วินาที และนั่นก็คือเช่นนั้นเอง

เวลาที่เราเห็นภาพลักษณ์บางอย่าง ภาพบางอย่างที่ปรากฏขึ้นภายนอก เราคิดว่าข้างในคงมีอะไรบางอย่างที่อยู่ได้นาน นั่นก็คือจุดที่ทำให้เราตีตราลงไปว่ามันเป็น "นิจจัง" หรือถาวร แต่จริงๆ แล้วเธอไม่สามารถอยู่ตรงนั้นได้เหมือนกับเป็นคนเดิมแม้ในชั่วขณะ หรือสองชั่วขณะ
หวังว่าคำสอนนี้คงไม่ซับซ้อนจนเกินไป

ก้อนเมฆไม่เคยตาย
ก่อนที่พระพุทธองค์จะปรินิพพานไป พระพุทธองค์ได้สอนบทคาถาที่สวยงามที่มีชื่อเป็นภาษาบาลีของเถรวาท ในพระสูตรมหาปรินิพพานว่า

"สังขารเป็นอนิจจัง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกอบขึ้นมาเป็นอนิจจัง
เป็นปรากฏการณ์ที่จะต้องผ่านการเกิดและการตาย
เมื่อธารแห่งการเกิดและการตายนั้นจบสิ้นลง
นิพพานก็กลายเป็นแหล่งแห่งความสุข
"

เมื่อความคิดเห็นเรื่องการเกิดและการดับได้ถูกถอดถอนออกไป การดับสิ้นซึ่งความคิดเห็นนั้นเราเรียกว่า ความสุข เราอาจแบ่งบทคาถานี้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนต้นคือสองประโยคแรกซึ่งหมายถึง ภาวะที่ยังมีการเกิดการดับ สองประโยคสุดท้ายคือเป็นความจริงอันสูงสุด หรือปรมัตถ์ธรรม สองประโยคแรกนี้พูดถึงความเป็นจริงเปรียบเทียบ หมายถึงปรากฏการณ์ต่างๆ สรรพสิ่งต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมานั้นเป็นอนิจจัง เพราะทั้งหมดจะต้องผ่านการเกิดการตาย เวียนว่ายอยู่ในนั้น เป็นประโยคที่พูดอยู่ในโลกธรรม ส่วนสองประโยคสุดท้ายพูดถึงความเป็นจริงอันสูงสุด หรือปรมัตถ์ธรรม

เมื่อเราได้ถอดถอนความคิดเห็นเรื่องของการเกิดการดับ เราก็จะพบความสุขที่แท้จริง เพราะว่าการเกิดการดับเป็นเพียงความคิดเห็น ไม่ใช่ความเป็นจริง เมื่อเราฝึกอย่างลึกซึ้ง เราจะมองเห็นว่าภาพข้างนอกเหมือนกับมีการเกิดการตายอยู่ แต่เมื่อมองอย่างลึกซึ้งเธอจะเห็นว่า ไม่มีการเกิด-การตาย ไม่มีการเกิด-การดับ

เมื่อเรามองไปที่เมฆบนท้องฟ้า เราจะเห็นว่าเมฆไม่เคยตาย เมฆไม่เคยดับไป เมฆนั้นไม่เคยตายไปจากความไม่มีอะไรไปเป็นสิ่งที่มีอะไร แต่ก็เป็นไปไม่ได้ที่เมฆนั้นจะเกิดขึ้นมา เพราะว่ามีการเกิดขึ้นนั้นหมายถึง จากที่ไม่มีอะไร เธอได้เกิดเป็นอะไรสักอย่างหนึ่ง จากที่ไม่เคยเป็นใคร เธอเกิดขึ้นมาเป็นใครคนหนึ่ง เมฆไม่เคยเป็นแบบนั้น ก่อนที่จะเกิดขึ้นมาเป็นเมฆ เมฆได้เป็นอะไรสักอย่างมาก่อนแล้ว เช่น เป็นมหาสมุทร เป็นไอร้อนที่สร้างขึ้นจากพระอาทิตย์ ฉะนั้นเมฆไม่ได้มาจากสิ่งที่ไม่มีอะไรแล้วกลายมาเป็นเมฆ ธรรมชาติของเมฆจึงเป็นธรรมชาติของการไร้การเกิดไร้การตาย

การเกิดขึ้นนั้นหมายถึง
จากที่ไม่มีอะไร
เธอได้เกิดเป็นอะไรสักอย่างหนึ่ง
จากที่ไม่เคยเป็นใคร
เธอเกิดขึ้นมาเป็นใครคนหนึ่ง
เมฆไม่เคยเป็นแบบนั้น
ก่อนที่จะเกิดขึ้นมาเป็นเมฆ
เมฆได้เป็นอะไรสักอย่างมาก่อนแล้ว
เช่น เป็นมหาสมุทร
เป็นไอร้อนที่สร้างขึ้นจากพระอาทิตย์
ฉะนั้นเมฆไม่ได้มาจากสิ่งที่ไม่มีอะไร
แล้วกลายมาเป็นเมฆ
ธรรมชาติของเมฆจึงเป็นธรรมชาติ
ของการไร้การเกิดไร้การตาย





เข้าใจทุกข์ก็พ้นทุกข์
ในตอนแรกๆ เราคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง มันต้องผ่านการเกิดการตาย แต่ว่าในสองประโยคสุดท้ายนั้น การเกิดการตายเป็นแต่เพียงความคิดเห็น และเมื่อสามารถข้ามพ้นความคิดเห็นของการเกิดและการตายได้ เราก็จะพบแหล่งของความสุข และเธอจะไม่กลัวความเป็นอนิจจังและการเกิดการตายอีกต่อไป

นั่นคือบทคาถาที่มีความงดงามมากที่สุดคาถาหนึ่ง ในคำสอนของพระพุทธองค์ เพราะฉะนั้น เมื่อเรามองอย่างลึกซึ้งในเรื่องความเป็นอนิจจัง ความเป็นอนิจจังจึงหมายถึง การเป็นดั่งกันและกัน หมายถึงความเป็นอนัตตา และนั่นก็คือสิ่งที่เราควรจะทำสมาธิ เราไม่ควรยึดติดว่าเป็นความจริงอันสูงสุด เป็นความคิดเห็นอันสุดยอด

เรามีแนวโน้มที่จะเสาะแสวงหาความน่ายินดีความพึงพอใจในตัวเรา ในตัวเรามีสิ่งที่เรียกว่า "มนัส" เป็นสภาพหนึ่งของจิตใต้สำนึกที่พยายามวิ่งหนีความทุกข์ และยึดติดกับความอยาก ความน่ายินดี ความพึงพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง เมื่อเราไม่มีปัญญาเห็นแจ้งที่เกิดจากการเจริญสติและสมาธิ เรากำลังอนุญาติให้มนัสบงการชีวิตของเราด้วยการวิ่งหนีออกจากความทุกข์ วิ่งหนีออกจากความเจ็บปวด แล้วพยายามวิ่งตามความอยากอยู่เสมอ

เรารู้ว่าความทุกข์นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่เราสามารถเรียนรู้ได้ แต่ถ้าเราไม่สามารถโอบกอดความทุกข์ของเรา และมองเข้าไปสู่ธรรมชาติของความทุกข์นั้น เราจะไม่สามารถเห็นหนทางที่นำไปสู่การเยียวยา และหลุดพ้นออกจากความทุกข์

มนัสจะพยายามทำให้เราเพิกเฉยกับความเป็นจริงเช่นนี้ คือ หลีกหนีความดีงามของความทุกข์ มนัสจึงไม่สามารถเห็นบทบาทของโคลนตมที่มีต่อดอกบัว มนัสเชื่อว่าดอกบัวเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีโคลนตม มนัสนั้นจึงไม่เห็นอันตรายที่เกิดจากการวิ่งตามความอยาก

มนัสนั้นดึงดูดความอยากมากมายและเมื่อได้มาซึ่งความอยากเหล่านั้นแล้ว เรากลับเป็นทุกข์มากยิ่งขึ้น เหมือนกับกระดูกเปล่าที่สุนัขพยายามกัดแทะอย่างไม่เคยพึงพอใจ และมนัสก็ไม่สามารถเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ เพราะฉะนั้น การทำสมาธิหมายถึง การมีปัญญารู้แจ้งในคุณดีงามของความทุกข์ และมีปัญญาที่จะเห็นถึงอันตรายของการวิ่งเสาะแสวงหาสิ่งที่เราอยากได้ เราต้องช่วยเพื่อนมนุษย์ให้เห็นสิ่งเหล่านี้

เรารู้ว่าความทุกข์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ
ที่เราสามารถเรียนรู้ได้
แต่ถ้าเราไม่สามารถ
โอบกอดความทุกข์ของเรา
และมองเข้าไปสู่ธรรมชาติ
ของความทุกข์นั้น
เราจะไม่สามารถเห็นหนทาง
ที่นำไปสู่การเยียวยา
และหลุดพ้นออกจากความทุกข์

ไร้ความตาย ไร้ความกลัว
การทำสมาธิเพื่อมองอย่างลึกซึ้ง ให้เห็นถึงธรรมชาติของการไร้การเกิดไร้การตาย คือการเข้าถึงธรรมชาติแห่งนิพพาน นิพพานหมายถึงการถอนรากของความคิดเห็นในเรื่องการเกิดการตาย

นิพพานนั้นไม่ใช่คำสัญญาที่เกิดขึ้นหากเราทำบุญด้วยการปฏิบัติในตอนนี้ แต่นิพพานนั้นอยู่ที่นี่ ณ ขณะนี้แล้ว ดำรงอยู่ในการปฏิบัติของเรา นิพพานหมายถึงการถอดถอนความคิดเห็นทั้งหลาย รวมถึงความคิดเห็นสองขั้วเรื่องการเกิด-การดับ เราไม่เพียงจะต้องถอดถอนความคิดเห็นเรื่องความเป็นอมตะ ความคิดเห็นเรื่องความเป็นอนิจจังก็ต้องถอดถอนด้วย

เมื่อเราการถอดถอนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเกิดการดับแล้ว เราก็จะได้พบกับนิพพานซึ่งคือความสุขอันแท้จริงและการไร้ซึ่งความกลัว เราสามารถฝึกที่จะแทงทะลุผ่านความคิดเห็นแห่งการเกิดและการตาย การเป็นอยู่และการไม่เป็นอยู่ การมีและการไม่มี

นิพพานก็ไม่ใช่สิ่งที่เราพยายามเสาะแสวงหาเช่นเดียวกัน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ตรงนั้นแล้วในธรรมชาติแห่งนิพพาน และเธอก็เป็นนิพพานอยู่แล้ว ความเป็นจริงของเธอคือการไร้การเกิดไร้การตาย ไร้การมาไร้การไป เราอยู่ในนิพพานอย่างสมบูรณ์แล้ว เราจึงไม่เป็นเหยื่อของการเสาะแสวงหาอีกต่อไป

เมฆที่อยู่บนท้องฟ้านั้นก็เป็นธรรมชาติแห่งนิพพาน อยู่ในธรรมชาติของการไร้การเกิดไร้การตาย เมฆนั้นจึงไม่ต้องไปเสาะแสวงหานิพพาน เพราะเมฆนั้นเป็นนิพพานอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นนิพพานไม่ใช่ข้อสัญญา แต่เป็นธรรมชาติอันแท้จริงที่เราจะต้องตื่นรู้ ด้วยการถอดถอนความคิดเห็นเกี่ยวกับนิพพาน

เมฆที่อยู่บนท้องฟ้านั้น
ก็เป็นธรรมชาติแห่งนิพพาน
อยู่ในธรรมชาติของ
การไร้การเกิดไร้การตาย
เมฆนั้นจึงไม่ต้องไปเสาะแสวงหานิพพาน
เพราะเมฆนั้นเป็นนิพพานอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นนิพพานไม่ใช่ข้อสัญญา
แต่เป็นธรรมชาติอันแท้จริง
ที่เราจะต้องตื่นรู้ด้วยการถอดถอน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับนิพพาน

เพชรตัดทำลายมายาแห่งความคิดเห็น
ในพระสูตรเพชรตัดทำลายมายา ได้บอกว่ามีความคิดพื้นฐาน 4 ประการที่เราจะต้องโยนทิ้ง ประการแรกคือ ความคิดเกี่ยวกับตัวตน เมื่อไรที่เราสามารถมองเห็นว่าตัวของเรานั้นกอปรขึ้นด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเรา เมื่อนั้นเราจะเป็นอิสระจากความคิดเห็นเกี่ยวกับ "ตัวฉัน" หรือ อัตตา

ประการที่สองคือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับมนุษย์ นี่เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เธอจะต้องถอดถอนความคิดเห็นเกี่ยวกับมนุษย์ ประวัติวิวัฒนาการของมนุษย์อาจทำให้เราคิดว่า เราเป็นสิ่งพิเศษกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เราจะต้องถอดถอนความคิดเห็นที่ว่าเราสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเราเองเพียงลำพัง เพราะมนุษย์นั้นประกอบขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ ในตัวของเราประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ พืชพันธุ์ต่างๆ และสรรพสัตว์ต่างๆ ถ้าเราส่งองค์ประกอบเหล่านั้นคืนกลับไปสู่ธรรมชาติ มนุษย์ก็ไม่สามารถอยู่ตรงนั้นได้อีกต่อไป

เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า พระสูตรเพชรตัดทำลายมายาเป็นความแท้จริงของนิเวศวิทยาเชิงลึก เพราะถ้าเราไม่รักษาสรรพสัตว์ พืชพันธุ์ และแร่ธาตุไว้ได้ เราก็จะไม่สามารถรักษาตัวเราได้ เราจะต้องปกป้องสัตว์ พืช แร่ธาตุไว้เพื่อมนุษย์จะได้รับการปกป้องเช่นเดียวกัน

ดังนั้น เราจึงต้องถอดถอนความคิดที่ว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่แยกออกมาใช้ชีวิตได้ด้วยตนเองได้ นั่นไม่ใช่ความจริงเลย เราประกอบไปด้วยเมฆ พื้นดิน ไฟ อากาศ และธาตุทั้ง 4 หากขาดสิ่งเหล่านี้เราก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้

ข้อที่สามคือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต บรรดาสิ่งมีชีวิตนั้นคือมนุษย์และสัตว์ ซึ่งมนุษย์และสัตว์นั้นไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หากขาดซึ่งพืชและแร่ธาตุ ในประวัติศาสตร์ของวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตทำให้เรารู้ว่า เรามาจากแร่ธาตุต่างๆ เรามาจากพืชพันธุ์ต่างๆ เรามาจากสัตว์ต่างๆ เรารู้ว่าเรามีบรรพบุรุษที่เป็นมนุษย์ แต่เราก็มีบรรพบุรุษที่เป็นสัตว์ พืชพันธุ์ และแร่ธาตุด้วย เราจึงไม่ควรแยกตัวออกมาจากสิ่งเหล่านั้น เพราะสิ่งเหล่านั้นก็คือตัวเรา และตัวเราก็คือสิ่งเหล่านั้นด้วย

ถ้าเธอเห็นความเป็นอนิจจัง
ของทุกสิ่งทุกอย่าง
เธอจะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
มีความสวยงามมาก
เหมือนกับดาวตกที่อยู่เพียงชั่ววินาที
เหมือนดอกไม้ไฟที่ถูกจุดขึ้นมา
สว่างไสวไปชั่วแค่วินาทีเดียว
ก่อนดับไป

ความรู้วิทยาศาสตร์ทำให้เรารู้ว่าโลกของสิ่งมีชีวิตนั้นน่าสนใจ และมันดำรงอยู่ในโลกของสิ่งที่ไม่มีชีวิตด้วย อนุภาคและอิเล็กตรอนที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก นักวิทยาศาสตร์สามารถมองเห็นวิญญาณของสิ่งที่ไม่มีชีวิตได้ ความคิดที่แบ่งแยกสิ่งมีชีวิตออกจากสิ่งไม่มีชีวิตเป็นความคิดเห็นที่ผิดที่เราจะต้องถอดถอนออกจากตัวเรา

ข้อที่สี่คือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับช่วงชีวิต เราคิดว่าในช่วงระยะเวลาที่เรามีชีวิตนั้น มีช่วงเวลาที่เรียกว่าการเกิด หรือเริ่มต้น และช่วงขณะของการหยุดการดำรงอยู่ หรือการตาย เรียกได้ว่าชีวิตของเราเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันเกิดและจบลงเมื่อวันตาย เราคิดว่า ก่อนที่จะเกิดเราไม่ได้อยู่ตรงนั้น เมื่อตายไปเราก็จะหายไปอย่างสิ้นเชิง เราคิดว่า จากสิ่งที่ไม่มีชีวิตเรากลายเป็นสิ่งมีชีวิต จากสิ่งที่มีชีวิตกลายเราเป็นสิ่งไม่มีชีวิต แต่ช่วงชีวิตของเราไม่ได้เป็นแบบนั้น ก่อนที่เราจะเกิด เราอยู่ตรงนั้นอยู่แล้ว หลังจากวันตาย เราก็อยู่ตรงนั้น เมื่อเรามองเช่นนี้ ความคิดเห็นเรื่องการเกิดการตายจะได้รับการคลี่คลาย นี่คือความคิดเห็นพื้นฐานทั้ง 4 ที่เราจะต้องถอดถอนในพระสูตรเพชรตัดทำลายมายา

ในงานภาวนาครั้งนี้ เราได้ทบทวนพระอริยมรรคมีองค์ 8 หรือ หนทางที่ถูกต้อง 8 ประการ เราพูดถึงสัมมาทิฐิ ความคิดเห็นที่ถูกต้อง วิธีการคิดที่ถูกต้อง การกระทำที่ถูกต้อง การใช้วาจาที่ถูกต้อง การมีอาชีพที่ถูกต้อง การมีความเพียรที่ถูกต้อง การมีสติที่ถูกต้อง เรารู้ดีว่าหนทางที่พระพุทธองค์ได้นำเสนอนั้นเป็นหนทางแห่งการปฏิบัติอันถูกต้อง 8 ประการ ซึ่งคือหนทางสำหรับทุกคน ไม่ใช่หนทางสำหรับนักบวชเท่านั้น

นี่คือการน้อมรับพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน พุทธศาสนาเพื่อมวลมนุษย์
พระสูตรเพชรตัดทำลายมายา
เป็นความแท้จริงของนิเวศวิทยาเชิงลึก
เพราะถ้าเราไม่รักษาสรรพสัตว์
พืชพันธุ์ และแร่ธาตุไว้ได้
เราก็จะไม่สามารถรักษาตัวเราได้



ท่านติช นัท ฮันห์ เวบหมู่บ้านพลัม
-http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=truthoflife&month=01-2011&date=13&group=9&gblog=39


ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: วิถีเซน(38)...อิสรภาพแห่งใจ ตอนที 1-2
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 16, 2013, 12:06:31 am »
 :13: อนุโมทนาครับพี่่แป๋ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~