ผู้เขียน หัวข้อ: กฏแห่งกรรม.. (อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปปาทปาฐะ)  (อ่าน 1583 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



           'Listen with your eyes'. by Sipo Liimatainen.

กฏแห่งกรรม...
อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปปาทปาฐะ

สวัสดีครับ คุณวินทร์
คุณวินทร์เชื่อในกฏแห่งกรรมไหม ขอโทษนะครับ ถ้าคุณวินทร์ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ในหนังสือเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว

ผมได้อ่านเรื่อง ฌาน ของคุณทมยันตี ถึงแม้เป็นธรรมะที่แฝงไว้ในนิยาย แต่มีข้อความหนึ่งน่าสนใจ ที่ตัวละครในเรื่องบอกว่า กฏแห่งกรรม ก็เหมือนกฏแรงเหวี่ยงของวัตถุของเซอร์ไอแซค นิวตัน ที่ว่าเราเหวี่ยงอะไรออกไป จะกลับมาสู่ตัวเองในน้ำหนักเท่ากัน ตลอดไป น่าคิดมาก แต่ถ้ามีจริง ทำไมคนบางคนทำซั่วมากถึงเห็นผลช้าจริง

ขอบคุณครับ
...Patt
****************************



ตอบ...
ผมเขียนเรื่องกรรมในหนังสือ ปลาที่ว่ายนอกสนามฟุตบอล รวมทั้งนิยายวิทยาศาสตร์บางเรื่อง ลองอ่านรายละเอียดดูได้

โดยรวมๆ กรรมในความหมายที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สุดแล้วก็คือ cause-effect ก็คือหลักอิทัปปัจจยตา ของพุทธศาสนา ซึ่งสรุปความเป็นไปของมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายในจักรวาล ที่อยู่ในหลัก "เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ย่อมดับไป"

พูดง่ายๆ ก็คือ เหตุ 1 ทำให้เกิดผล 1, ผล 1 ทำให้เกิดเหตุ 2 เหตุ 2 ทำให้เกิดผล 2, ผล 2 ทำให้เกิดเหตุ 3 ...ไล่ไปเรื่อยๆ ดังนี้ นี่ก็คือ 'กรรม'
บางครั้งผลที่เกิดเป็นผลร้ายต่อคนที่ทำเรื่องร้าย บางคนจึงเรียกว่า "กรรมสนอง" เพื่อความสะใจ แต่เหตุและผลไม่เคยมีหลักแน่นอน มันเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัย

ดังนั้น คนทำเรื่องไม่ดีก็ไม่จำเป็นต้องรับกรรมไม่ดี หรือคนทำดีก็ไม่จำเป็นต้องรับกรรมดี เพราะในจักรวาล ไม่มี 'ดี' หรือ 'ไม่ดี'
อย่างที่พุทธว่า "มันเป็นอย่างนี้เอง" (suchness)



คุยกับวินทร์, 10 ธันวาคม 2554
โดย: โลกทรรศนะ


- http://www.facebook.com/groups/359416604075658/644020322281950/?notif_t=group_activity

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2013, 01:29:29 am โดย ฐิตา »