ผู้เขียน หัวข้อ: ศีล  (อ่าน 5646 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Plusz

  • กล่องแก้วแจ้วเจรจา
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 1555
  • พลังกัลยาณมิตร 376
  • Love yourself cuz no one will
    • extionary
    • Plusz009
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีล
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 09:12:38 pm »
อนุโมทนาค่ะ ^^
มีความสุข
ทุกครั้งที่เป็นตัวของตัวเอง

===== ได้เวลาวิ่ง วิ่งนะวิ่งนะแฮมทาโร่ =====                                       ===== ได้เวลาวิ่ง กลิ้งนะกลิ้งนะแฮมทาโร่ =====

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีล
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 09:21:03 pm »
อานิสงส์ของการรักษาศีล ๕
ผู้รักษาศีลข้อที่ ๑ คือไม่ฆ่าสัตว์ตัวชีวิต (ไม่ทำปาณาติบาต) ย่อมได้รับอานิสงส์ถึง ๒๓ ประการ คือ
๑. บริบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ คือร่างกายไม่พิกลพิการ
๒. มีกายสูงและสมส่วน
๓. สมบูรณ์ด้วยความคล่องแคล่ว
๔. เป็นผู้มีเท้าประดิษฐานลงด้วยดี
๕. เป็นผู้สดใสรุ่งเรือง
๖. เป็นคนสะอาด
๗. เป็นคนอ่อนโยน
๘. เป็นคนมีความสุข
๙. เป็นคนแกล้วกล้า
๑๐. เป็นคนมีกำลังมาก
๑๑. มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง
๑๒. มีบริษัทบริวารมิได้พลัดพรากจากตน
๑๓. เป็นคนไม่สะดุ้งตกใจกลัว
๑๔. ข้าศึกศัตรูทำร้ายมิได้
๑๕. ไม่ตายด้วยความเพียรของผู้อื่น
๑๖. มีบริวารหาที่สุดมิได้
๑๗. รูปสวย
๑๘. ทรวดทรงสมส่วน
๑๙. ป่วยไข้น้อย
๒๐. ไม่มีเรื่องเสียใจ
๒๑. เป็นที่รักของชาวโลก
๒๒. มิได้พลัดพรากจากผู้หรือสิ่งที่รักและชอบใจ
๒๓. มีอายุยืน
รักษาศีลข้อ ๑ คือไม่ฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มีคุณานิสงส์ ล้วนแต่น่าพอใจ ล้วนแต่ทำให้สุขใจ

ผู้รักษาศีลข้อที่ ๒ คือข้อไม่ลักทรัพย์(อทินนาทาน) ผู้รักษาย่อมได้รับอานิสงส์ถึง ๑๑ ประการ ดังนี้
๑. มีทรัพย์มาก
๒. มีข้าวของและอาหารเพียงพอ
๓. ได้โภคทรัพย์ไม่สิ้นสุด
๔. โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ก็ย่อมได้
๕. โภคทรัพย์ที่ได้ไว้แล้วก็ยั่งยืน
๖. หาสิ่งที่ปรารถนาได้อย่างรวดเร็ว
๗. สมบัติไม่กระจัดกระจายด้วย ราชภัย โจรภัย อุทกภัย อัคคีภัย หรือญาติฉ้อโกง
๘. หาทรัพย์ได้โดยไม่ถูกแบ่ง
๙. ได้โลกุตตรทรัพย์
๑๐. ไม่เคยรู้ ไม่เคยได้ยินคำว่าไม่มี
๑๑. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
ผู้รักษาศีลข้อ ๓ คือ เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ได้แก่เว้นจากการประพฤติผิดในการ (ไม่ทำชู้กับคู่ครองของผู้อื่น) ได้รับอานิสงส์ผลถึง ๒๐ ประการ (ปรมตฺถโชติกา) คือ
๑. ไม่มีข้าศึกศัตรู
๒. เป็นที่รักแห่งชนทั่วไป
๓. หาข้าวน้ำเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ อาศัยได้ง่าย
๔. หลับก็เป็นสุข
๕. ตื่นก็เป็นสุข
๖. พ้นภัยในอบาย
๗. ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกะเทยอีก
๘. ไม่โกรธง่าย
๙. ทำอะไรก็ทำได้ โดยเรียบร้อย
๑๐. ทำอะไรก็ทำโดยเปิดเผย
๑๑. คอไม่ตก (คือมี สง่า)
๑๒. หน้าไม่ก้ม (คือมีอำนาจ)
๑๓. มีแต่เพื่อนรัก
๑๔. มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
๑๕. มีลักษณะบริบูรณ์
๑๖. ไม่มีใครรังเกียจ
๑๗. ขวนขวายน้อยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย หากินง่าย
๑๘. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
๑๙. ไม่ต้องกลัวภัยจากใคร ๆ
๒๐. ไม่ค่อยพลัดพรากจากของที่รัก

ผู้รักษาศีลข้อที่ ๔ คือเว้นจาการพูดปด พูดหลอกลวงปลิ้นปล้อน ย่อมได้รับอานิสงส์ ๑๔ ประการ (ปรมตฺถโชติกา)
๑. มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
๒. มีวาจาไพเราะสละสลวย
๓. มีไรฟันอันเสมอชิตบริสุทธิ์
๔. ไม่อ้วนเกินไป
๕. ไม่ผอมเกินไป
๖. ไม่ต่ำเกินไป
๗. ไม่สูงเกินไป
๘. ได้แต่สัมผัสอันเป็นสุข
๙. ปากหอมเหมือนดอกบัว
๑๐. มีบริวารล้วนแต่ขยันขันแข็ง
๑๑. มีถ้อยคำที่บุคคลเชื่อได้
๑๒.ลิ้นบางแดงอ่อนเหมือนกลีบดอกบัว
๑๓. ใจไม่ฟุ้งซ่าน
๑๔. ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้

ผู้รักษาศีล ๕ คือเว้นจากการเสพสุราเมรัย สารเสพย์ติดทุกชนิด ย่อมได้รับอานิสงส์ ๓๕ ประการ (ปรมตฺถโชติการ)
๑. รู้กิจการอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
๒. มีสติตั้งมั่งทุกเมื่อ
๓. ไม่เป็นบ้า
๔. มีความรู้มาก
๕. ไม่หวั่นไหว (ผู้ใดชวนในทางผิดไม่ร่วมมือด้วย)
๖. ไม่งุนงง ไม่เซอะ
๗. ไม่ใบ้
๘. ไม่มัวเมา
๙. ไม่ประมาท
๑๐. ไม่หลงใหล
๑๑. ไม่หวาดสะดุ้งกลัว
๑๒. ไม่มีความรำคาญ
๑๓. ไม่มีใครริษยา
๑๔. มีความขวนขวายน้อย
๑๕. มีแต่ความสุข
๑๖. มีอต่คนนับถือยำเกรง
๑๗. พูดแต่คำสัตย์
๑๘. ไม่ส่อเสียดใคร ไม่มีใครส่อเสียด
๑๙. ไม่พูดหยาบกับใคร ไม่มีใครพูดหยาบด้วย
๒๐. ไม่พูดเล่นโปรยประโยชน์
๒๑. ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน
๒๒. มีความกตัญญู
๒๓. มีกตเวที
๒๔. ไม่ตระหนี่
๒๕. รู้เฉลี่ยเจือจาน
๒๖. มีศีลบริสุทธิ์
๒๗. ซื่อตรง
๒๘. ไม่โกรธใคร
๒๙. มีใจละอายแก่บาป
๓๐. รู้จักกลัวบาป
๓๑. มีความเห็นถูกทาง
๓๒. มีปัญญามาก
๓๓. มีธัมโมชปัญญา (มีปัญญารสอันเกิดแต่ธรรม)
๓๔. เป็นปราชญ์ มีญาณคติ (เป็นคลังแห่งปัญญา)
๓๕. ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และรู้ในสิ่งอันเป็นโทษ

http://www.kanlayanatam.com/sara/sara5.htm

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีล
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 09:21:48 pm »
โทษของการละเมิดศีล ๕ มีดังต่อไปนี้
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara6.htm

ละเมิดศีลข้อแรกคือ การทำลายชีวิต หากทำลายชีวิตบุพพการีถือว่าเป็นอนันตริยกรรมคือกรรมหนัก กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าประหารชีวิตสถานเดียว การฆ่า การทำลายชีวิตซึ่งเป็นการละเมิดศีลข้อ ๑ ผิดทั้งกฎหมายของบ้านเมือง และผิดศีล ผิดหลักพระพุทธศาสนาด้วย
โทษขอการละเมิดศีลข้อที่ ๑ คือการทำลายชีวิตนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต (การทำลายชีวิต) ที่บุคคลทำจนคุ้น ทำจนเคยตัวทำอยู่เรื่อย ๆ ไป ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในกำเนิดเปรตวิสัย
วิบากคือเศษกรรม (ผลกรรมที่เหลือ) ของการทำลายชีวิตอย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำซึ่งเป็นมนุษย์ กลายเป็นคนอายุสั้น (พลันตาย)
โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๒ คือ อทินนาทาน ได้แก่ลักทรัพย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ที่บุคคลทำจนคุ้น ทำจนเคยตัวทำอยู่เรื่อยไป ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากหรือเศษกรรม เศษของโทษ ที่ละเมิดศีลข้อ ๒ คือลักทรัพย์ (อทินนาทาน) อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลาย เป็นคนมีทรัพย์วินาศย่อยยับ (เช่น ถูกไฟ ไหม้หรือโจรผู้ร้ายปล้น เป็นต้น)
โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า กาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้) ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ
วิบากของกาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้) อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลายเป็นคนถูกจองเวร
โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๔ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า มุสาวาท (พูดปดหลอกลวง) ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ
วิบากคือเศษกรรม ของการพูดปดหลอกลวง อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลายเป็นคนถูกกล่าวตู่ด้วยความเท็จ
โทษขอการละเมิดศีลข้อที่ ๕ คือ สุราเมรัย นั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราเมรัย ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ
วิบากของการดื่มสุราเมรัย (เสพยาเสพย์ติด) อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์ กลายเป็นคนบ้า
สำหรับศีลข้อ ๕ การเสพยาเสพย์ติดทุกชนิด เช่น เฮโรอีน ฝิ่น กัญชา ยาม้า ยาบ้าน ยาอี โคเคน เป็นอาที ก็สงเคราะห์เข้าในศีลข้อนี้ ผู้ใดเสพ ก็ถือว่าเป็นการละเมิดศีลข้อ ๕ นี้ด้วยเช่นกัน
ปกติมนุษย์ก็เมาอยู่แล้วด้วยกิเลส คือ ราคะ โลภะ โทสะและโมหะ ยิ่งเติมสิ่งเสพย์ติดเข้าไปอีก จึงเมาและบ้ากำลัง ๒ (ยิ่งบ้ากันใหญ่) เที่ยวจับคนเป็นตัวประกันบ้าง โดดตึกตายบ้าง ฆ่าเมีย ฆ่าลูก ฆ่าตัวเองฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตัวเองตายบ้าง
เมืองไทยคนไทยเดินอยู่ตามถนนเตียน ๆ แท้ ๆยังถูกจับไปเป็นตัวประกันและถูกทำร้ายจนเสียชีวิต
เมืองไทยคนไทยเดินอยู่ตามถนนเตียน ๆ แท้ ๆ ยังถูกจับไปเป็นตัวประกันและถูกทำร้ายจนเสียชีวิต
เพราะฉะนั้น จงรีบเร่งรักษาศีล ๕ กันเถิดครับ เพื่อกำจัดปัญหาทางสังคมที่เกิดจากการที่มนุษย์ไม่รักษาศีล ๕ จึงเกิดโทษต่าง ๆ นานา มากหลายดังที่ปรากฏเป็นประจักษ์พยานให้เห็นอยู่
ผู้ละเมิดศีลข้อ ๕ ท่านกล่าวว่าวิบากกรรมที่เหลือย่อมทำให้เป็นบ้าเป็นคนเสียสติ
ในเวสสัตตรทีปนี ภาค ๒ ท่านพรรณนาให้เห็นคนบ้า ๘ จำพวก ดังนี้
. บ้าเพราะกาม
. บ้าเพราะโทสะ
. บ้าเพราะทิฎฐิ
. บ้าเพราะหลงใหล
. บ้านเพราะผีสิง (คือโลภ โกรธ หลง)
. บ้าเพราะดีเดือด
. บ้าเพราะเหล้า และ
. บ้าเพราะประสบเหตุร้าย
.
มีคำอธิบายขยายความดังนี้ครับ
. คนบ้ากาม ย่อมทำอะไรตามใจตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ
. คนบ้าเพราะโทสะ ย่อมมุ่งร้ายตกอยู่ในอำนาจการเบียดเบียน
. คนบ้าเพราะทิฎฐิ จิตย่อมวิปลาส คือมีความเป็นคลาดเคลื่อน
. คนบ้าเพราะหลง ความคิดย่อม เลอะเลือน
. คนบ้าเพราะผีสิง ย่อมตกอยู่ในอำนาจผี (กิเลส)
. คนบ้าเพราะดีกำเริบ ย่อมแล้วแต่ดีจะกำเริบ
. คนบ้าเพราเหล้า ย่อมตกอยู่ในอำนาจการดื่ม
. คนบ้าเพราะประสบเหตุร้ายย่อมตกอยู่ในอำนาจของความเศร้าโศก
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีล
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 09:35:21 pm »
ศีล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศีล แปลได้หลายความหมาย ซึ่งในอรรถกถา นิยมให้ความหมายว่า สีลนะ แล้วให้คำจำกัดความของคำว่า สีลนะ ไว้ ๒ ข้อหลัก คือ
สมาทานํ - การสำรวมกายวาจาไว้เรียบร้อยดี
อุปธารณํ - รองรับการทำบุญชั้นสูงกว่าศีลขึ้นไป ได้แก่ รองรับการรักษาธุดงค์ การทำสมาธิ การทำวิปัสสนา.
กล่าวโดยสรุป ศีล จึงหมายถึง ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" ด้วย.

ศีลในทางพระพุทธศาสนามี่อยู่หลายอย่างด้วยกัน.
ปัญจศีล (ศีล ๕) หรือเรียกว่านิจจศีล(คือถือเนื่องนิจจ์)
อาชีวัฏฐมกศีล (ศีลกุศลกรรมบท ๑๐) หรือเรียกว่าอาทิพรหมจริยาศีล(หรือเรียกอีกอย่างว่า นวศีล)
อัฏฐศีล (ศีล ๘) หรือเรียกว่าอุโบสถศีล (ศีลอุโบสถ)
ทสศีล (ศีล ๑๐)
ภิกษุณีวินัย (ศีล ๓๑๑)
ภิกษุวินัย (ศีล ๒๒๗)
ศีล แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือจุลศีล (ศีลอย่างน้อย) ได้แก่ คหัฏฐศีลทั้ง ๒ คือ ศีล๕ และอาชีวัฏฐมกศีล มัชฌิมศีล (ศีลอย่างกลาง)ได้แก่ บรรพชาศีลทั้ง ๒ คือได้แก่อัฏฐศีล และทสศีล มหาศีล(ศิลอย่างสูง) ได้แก่ อุปสมบททั้ง๒ คือ ภิกษุณีวินัย และภิกษุวินัย
ศีล คือ หลักในการปฏิบัติเพื่อที่จะให้ผู้ปฏิบัติมีกาย วาจา ใจ เป็นอิสระ จากเครื่องเหนี่ยวรั้งทั้งปวง และปกป้องตัวเองจากความเสื่อมทั้งหลาย และพ้นจากกรรมชั่ว ที่จะกลับมาสนองกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติในศีล
อานิสงส์ของการรักษาศีลแต่ละชั้นย่อมแตกต่างกันไป ตอนนี้ขอกล่าวถึงอานิสงส์กว้างๆ จากการรักษาศีล คือ ทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ

ดูเพิ่ม

ศีลห้า
ศีลแปด
อ้างอิง

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
ศีล เป็นบทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ศีล ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ศาสนา

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5".
หมวดหมู่: ศีล | บทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีล
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 09:36:18 pm »
ศีลห้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศีลห้า หรือ เบญจศีล เป็นศีลในลำดับเบื้องต้นในพุทธศาสนา ที่ศาสนิกชนพึงถือ ไม่เฉพาะแต่เหล่าสงฆ์เท่านั้น ศีลห้าจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 'นิจศีล' นั่นคือ ศีลที่ยึดถือป็นนิจ (นิตย์) ด้วยเหตุนี้ ในพิธีกรรมทั้งปวงในพุทธศาสนา หลังจากกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยแล้ว พุทธศาสนิกพึงอาราธนาศีล และรับศีลห้าก่อนเสมอ

[แก้] ศีลห้ามีด้วยกัน 5 ข้อ ดังนี้

ปาณาติปาตา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทั้งปวง รวมถึงการทำร้ายสัตว์ หรือมนุษย์ด้วย แม้แต่คิด หรือวางแผน ก็ถือว่าผิดศีลข้อนี้แล้ว
อทินฺนาทานา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการลักทรัพย์ เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ รวมถึงการเบียดบัง ฉ้อราษฎร์บังหลวง เอาเปรียบคนอื่นด้วย แม้แต่คิด หรือวางแผน ก็ถือว่าผิดศีลข้อนี้แล้ว
กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ข้อนี้เพียงแค่คิดก็ผิดแล้ว
มุสาวาทา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการพูดเท็จ คำหยาบ หรือพูดส่อเสียด รวมถึงการพูดให้คนแตกสามัคคีกันด้วย
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2".
หมวดหมู่: ศีล | ธรรมหมวด 5

ศีลแปด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศีลแปด หรือ อุโบสถศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์ หมายถึง อุบาสกอุบาสิกาทั่วไป มิใช่สงฆ์ (ซึ่งมีศีลเฉพาะตนอยู่แล้ว) โดยมักจะรับศีลแปดในวันพระ นิยมรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน หรือ 3 วัน
โดยปกติผู้รักษาศีลจะเปล่งวาจาอธิษฐาน ที่จะขอสมาทานศีลตั้งแต่เช้าของวันนั้น หากรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน เรียกว่า "ปกติอุโบสถ" และหากรักษา 3 วัน เรียกว่า "ปฏิชาครอุโบสถ"

[แก้] ศีลทั้งแปด

1. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการฆ่าสัตว์ 2. อทินฺนา ทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการลักสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ 3. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ 4. มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ 5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 6. วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงวันใหม่) 7. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม 8. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี


[แก้] "ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีลกับศีล 8"

1. อุโบสถศีล กับ ศีล 8 มีข้อห้าม 8 ข้อเหมือนกัน
2. คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน
3. อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด สมาทานรักษาได้เฉพาะ วันพระเท่านั้น ส่วนศีล 8 สมาทานรักษาได้ทุกวัน
4. อุโบสถศีล มีอายุ 24 ชั่วโมง (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล 8 ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา
5. อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีล ของชาวบ้านผู้บริโภคกาม (กามโภคี) ส่วนศีล 8 เป็นศีลสำหรับ ชาวบ้านผู้ไม่ครองเรือน เช่น แม่ชี [1]

[แก้] อ้างอิง

^ ประณีต ก้องสมุทร.ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%94".
หมวดหมู่: ศีล
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีล
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 09:36:49 pm »
ศีลสิบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ทสศีล)
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ศีล 10 หรือ ทสศีล สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดศรัทธาจะรักษาก็ได้ หัวข้อเหมือนศีล 8 แต่แยกข้อ 7 เป็น 2 ข้อ เลื่อนข้อ 8 เป็น 9 และเติมข้อ 10 คือ

[แก้] ศีล 10 ข้อ

เว้นจากทำลายชีวิต
เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
เว้นจากพูดเท็จ
เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ฯลฯ
เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ฯลฯ
เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ
เว้นจากการรับทองและเงิน
ศิล10นี้ เป็นข้อปฏิบัติของ สามเณร สามเณรี และสิกขมานา (ผู้ที่ขอบวชเป็นภิกษุณี ซึ่งต้องบวชเป็นสามเณรี และไม่ผิดศีลข้อ1 ,2,3,4,5,6 เป็นเวลาถึง2ปีโดยไม่ขาดศีลทั้ง 6ข้อโดยไม่ขาดเลย แต่ข้อ7,8,9,10ขาดได้บ้าง รวมทั้งเป็นข้อปฏิบัติของสมณะ นักบวชนอกพระศาสนา ก็ถือศีล10 มาก่อน เป็นศีลของพระอรหันตเจ้า เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายมีปกติไม่ผิดศีลข้อ1 ถึงข้อ 9 ตลอดชีวิต และมีปกติรักษาศีลข้อ10 เพราะผู้ผิดศีลข้อ10 ย่อมเสื่อมจากวิชชา (อริยสัจจ์)และจรณะ(โพชงค์)ถ้าพระอรหันต์มีปกติผิดศีลข้อ10 หรือครองเพศฆราวาสอันมิใช่สมณะเพศย่อมละสังขารนิพพานไป เพื่อรักษาธรรม คือ วิชชาและ จรณะมิให้เสื่อม == อ้างอิง ==
พระมหาเทพรังสรรค์ ปญฺญาวชิโร วัดพรหมจริยาวาส
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%9A".
หมวดหมู่: ศีล
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีล
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 09:37:31 pm »
ศีล 227

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา






บทความนี้ต้องการเก็บกวาด ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบ เพิ่มแหล่งอ้างอิง ใส่หมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือภาษาที่ใช้
ในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนด้วยกัน เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานวิกิพีเดียไทย
คุณสามารถช่วยแก้ไขได้ โดยการตรวจสอบและปรับปรุงบทความนี้
กรุณาเปลี่ยนไปใช้ป้ายข้อความอื่น เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ หรือแก้ไข
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิธีแก้ไขหน้าพื้นฐานคู่มือการเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย เมื่อบทความนี้ได้รับการแก้ไขตามนโยบายแล้ว ให้นำป้ายนี้ออก

ศีล 227 ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว
ศีลรวมทั้งหมดแล้ว 227 ข้อ ได้แก่
เนื้อหา


[แก้] ปาราชิก มี 4 ข้อ

1. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
2. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
3. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
4. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

[แก้] สังฆาทิเสส มี 13 ข้อ

1.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
2.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
3.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
4.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
5.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
6.สร้างกุฏิด้วยการขอ
7.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
8.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
9.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
10.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
11.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
12.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
13. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีล
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 09:38:20 pm »
[แก้] อนิยตกัณฑ์ มี 2 ข้อ

1. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
2. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว

[แก้] นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี 30 ข้อ

คืออาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ
1.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
2.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
3.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด 1 เดือน
4.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
5.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
6.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
7.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
8.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
9.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
10.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
11.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
12.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
13.ใช้ขนเจียมดำเกิน 2 ส่วนใน 4 ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
14.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี
15.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
16.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน 3 โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
17.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
18.รับเงินทอง
19.ซื้อขายด้วยเงินทอง
20.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
21.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
22.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน 5 แห่ง
23.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน 7 วัน
24.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด 1 เดือนก่อนหน้าฝน
25.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
26.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
27.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
28.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
29.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน 6 คืน
30.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน

[แก้] ปาจิตตีย์ มี 92 ข้อ

1.ห้ามพูดปด
2.ห้ามด่า
3.ห้ามพูดส่อเสียด
4.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
5.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน
6.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
7.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
8.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
9.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
10.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
11.ห้ามทำลายต้นไม้
12.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
13.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
14.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
15.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
16.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
17.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
18.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
19.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น
20.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
21.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย
22.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
23.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
24.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ
25.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
26.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
27.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี
28.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน
29.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
30.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี
31.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน 3 มื้อ
32.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
33.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
34.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน 4 บาตร
35.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
36.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
37.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
38.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
39.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง
40.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
41.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ
42.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
43.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน 2 คน
44.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
45.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
46.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
47.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
48.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
49.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน 3 คืน
50.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
51.ห้ามดื่มสุราเมรัย
52.ห้ามจี้ภิกษุ
53.ห้ามว่ายน้ำเล่น
54.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
55.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
56.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
57.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
58.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
59.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
60.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
61.ห้ามฆ่าสัตว์
62.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
63.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
64.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
65.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
66.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
67.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
68.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน 3 ครั้ง)
69.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
70.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
71.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
72.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
73.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
74.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
75.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
76.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
77.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
78.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
79.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
80.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
81.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
82.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
83.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
84.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
85.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
86.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
87.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
88.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
89.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
90.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
91.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
92.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีล
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 09:39:02 pm »
ปาฏิเทสนียะ มี 4 ข้อ
1. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
2. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
3. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
4. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า

[แก้] เสขิยะ สารูป มี 26 ข้อ

1.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
2.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
3.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
4.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
5.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
6.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
7.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
8.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
9.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
10.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
11.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
12.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
13.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
14.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
15.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
16.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
17.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
18.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
19.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
20.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
21.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
22.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
23.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
24.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
25.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
26.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

โภชนปฏิสังยุตต์ มี 30 ข้อ

คือหลักในการฉันอาหารได้แก่
1.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
2.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
3.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
4.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
5.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
6.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
7.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
8.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
9.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
10.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
11.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
12.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
13.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
14.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
15.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
16.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
17.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
18.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
19.ไม่ฉันกัดคำข้าว
20.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
21.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
22.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
23.ไม่ฉันแลบลิ้น
24.ไม่ฉันดังจับๆ
25.ไม่ฉันดังซูด ๆ
26.ไม่ฉันเลียมือ
27.ไม่ฉันเลียบาตร
28.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
29.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
30.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน

[แก้] ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี 16 ข้อ

1.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
2.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
3.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
4.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
5.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
6.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
7.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
8.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
9.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
10.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
11.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
12.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
13.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
14.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
15.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
16.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

[แก้] ปกิณสถะ มี 3 ข้อ

1. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
2. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
3. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ

[แก้] อธิกรณสมถะ มี 7 ข้อ

1. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
2. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
3. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
4. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
5. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
6. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
7. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5_227".
หมวดหมู่: ศีล
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ | หน้าที่ต้องการความช่วยเหลือ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ศีล
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 11:58:07 pm »
 :13: อนุโมทนาครับ
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~