อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > มาลาบูชาครู
โมหะ ความลุ่มหลงเป็นเหตุ :ท่านพ่อลี ธัมมธโร
lek:
.
"สมาธิ เสาสะพานกลางแม่น้ำ"
" .. ศีล อันเป็นเบื้องต้นแห่งมรรค ก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไร
ปัญญา อันเป็นเบื้องปลายแห่งมรรค ก็ไม่ค่อยยากเท่าไรนัก
ส่วนสมาธิ อันเป็นท่ามกลางแห่งมรรคต้องพยายามหน่อย
เพราะเป็นการบังคับปรับปรุงกันในด้านจิตใจ
จริงอยู่ การทำสมาธินั้น เปรียบเหมือนปักเสาสะพานกลางแม่น้ำ
ย่อมเป็นสิ่งลำบาก แต่เมื่อปักลงได้แล้ว ย่อมเป็นประโยชน์แก่ศีลและปัญญา
ศีล นั้นเหมือนปักเสาสะพานฝั่งนี้
ปัญญา เหมือนปักเสาสะพานฝั่งโน้น
แต่ถ้าเสากลาง คือ สมาธิ ท่านไม่ปักแล้ว
ท่านจะทอดข้ามสะพานแม่น้ำ คือ โอฆะสงสาร ไปได้อย่างไร .. "
ท่านพ่อลี ธัมมธโร
ฐิตา:
#จิตในจิต คือได้แก่การหยิบยกเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของจิตทั้งหลายที่กล่าวมานั้น ตัวอย่างเช่น บางครั้งก็มีราคะ บางครั้งก็มีโทสะ บางครั้งก็มีโมหะ
ในคราวใดสมัยใด จิตทั้งหลายเหล่านั้นได้เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ก็ตั้งใจหยิบยกเอาจิตดวงนั้น ๆ เข้าไว้ แล้วให้ตั้งสัมปชัญญะความรู้สึกตัวประจำใจไว้ ตั้งสติแล่นติดต่อในอารมณ์นั้น ๆ ให้มั่นคง อย่าส่งไปในอารมณ์อื่น และอย่าให้ความปรารถนาใด ๆ เกิดขึ้นในขณะจิตอันนั้น แล้วใช้ อาตาปี คือความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่ในอารมณ์นั้น อย่าหวั่นไหวจนกว่าจะรู้ความเป็นจริงของเขา
ความจริงของนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วยิ่งกำเริบก็มี เสื่อมน้อยถอยไปก็มี เกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งแล้วก็เสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา หาเป็นแก่นสารมิได้ ตั้งใจเพ่งพิจารณากันอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงแม้ว่ากิเลสเหล่านั้นจะมีปรากฏอยู่ ถ้าหากว่าเราเป็นผู้มีสัมปชัญญะความรู้ตัว สติความระลึกได้ อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณา เมื่อคุณธรรม ๓ ประการนี้มีประจำอยู่ในตนเอง อกุศลจิตทั้งหลายเหล่านั้น ก็ไม่มีโอกาสที่จะเจริญงอกงามขึ้นได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดินที่ถูกครอบเสียด้วยภาชนะ เป็นต้นว่าหม้อหรือกะลาที่เขาครอบไว้ซึ่งพันธุ์ผักกาดที่กำลังงอกขึ้นใหม่ ถ้ามนุษย์ไม่หยิบยกกะลานั้นออกแล้ว พืชพันธุ์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มีทางเจริญเติบโตขึ้นได้ มีแต่ที่จะเหี่ยวแห้งตายไปถ่ายเดียวเท่านั้น ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติก็ควรที่จำต้องใช้สัมปชัญญะความรู้ตัวประจำจิตนั้น ๆ ไว้ สติค่อยแล่นระลึกอยู่ในอารมณ์นั้น อาตาปีเพียรเพ่งแผดเผา กิเลสเหล่านั้นก็จะเบาบางห่างไกลไปจากใจของตนทุกเมื่อ
จิตทั้งหลายที่กล่าวมา เปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดและถั่วเขียว สติเปรียบเหมือนกะลา สัมปชัญญะเปรียบเหมือนบุคคลผู้หว่านเมล็ดพันธุ์ อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณา อุปมาเหมือนแดดอันเป็นเครื่องเผาผลาญให้พืชพันธุ์ย่อยยับดับสูญ
ที่กล่าวมานี้พูดถึงจิตฝ่ายชั่ว
ส่วนจิตฝ่ายดีนั้นก็มีตรงกันข้าม เช่น
วิราคจิต จิตที่คลี่คลายออกมาจากความกำหนัดยินดี
อโทสะ คือจิตปราศจากความหงุดหงิดงุ่นง่าน อันเป็นบ่อเกิดแห่งความเสียหาย
อโมหจิต จิตที่ปราศจากความลุ่มหลงมัวเมา เข้าใจผิดไปต่าง ๆ
นี้เป็นส่วนกุศลจิตอันเป็นรากเหง้าแห่งความดีทั้งหลาย เมื่อเกิดมีแก่ตนแล้วก็ให้รักษาไว้ แล้วคอยกำหนดไว้จะตรวจดูภูมิภาคของตน จะได้รู้ว่าจิตใจของตนนั้นอยู่ในภูมิอันใด ถ้าจะกล่าวตามภูมิของจิตแล้วก็มีอยู่ ๔ อย่าง อันเป็นภูมิภาคแห่งความดีคือ
๑. กามาวจรภูมิ
๒. รูปาวจรภูมิ
๓. อรูปาวจรภูมิ
๔. โลกุตตรภูมิ
//ท่านพ่อลี ธัมมธโร//
ถ้าใครต้องการที่จะรู้ดีรู้ชอบแล้ว จิตดวงนี้เป็นโลกีย์หรือโลกุตตระนั้นอย่างนี้ คือ ให้สังเกตเมื่อทำความรู้เข้าไปสงบอยู่แล้วก็มีความสุขสบายคล้ายกับว่าไม่มีกิเลสเจือปน ถ้าปล่อยจิตดวงนั้นให้เป็นอยู่ตามธรรมดาแล้วก็เกิดกิเลสกำเริบขึ้นได้อยู่ตามธรรมดา เหตุนั้นจึงเรียกว่าเป็นแต่โลกีย์ บางทีก็ทรงตัวอยู่ได้ไม่เสื่อม ด้วยอำนาจแห่งความเพียร บางทีก็เกิดความสงสัยลังเลขึ้นในความรู้ของตนนั้นอีก เป็นต้นว่า ลูบคลำคร่ำครวญอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อย่าพึงเข้าใจว่าเป็นความรู้อันแท้จริง
ถ้าจะพูดถึงความรู้อันมีมากอย่างเช่น มโนใจก็รู้ จิตก็รู้ วิญญาณก็รู้ ปัญญาก็รู้ สัมปชัญญะก็รู้ วิชชาก็รู้ อวิชชาก็รู้ รวมลงที่ว่ามานี้ ล้วนแต่หมายเอาความรู้เป็นฐานด้วยกันทั้งสิ้น ต่างกันแต่ลักษณะที่รู้ เมื่อไม่รู้จักแยกอาการของรู้แล้ว รู้นั้นก็สับกันได้ บางทีก็อาจจะเอาความรู้ผิดมาเป็นความรู้ถูก บางทีก็อาจจะเอาความรู้ที่เป็นอวิชชามาเป็นวิชชา บางทีก็เอาความรู้ที่ติดสมมติมาเป็นวิมุตติ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติควรไตร่ตรองพลิกแพลงให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ว่าความรู้อันใดเป็นความรู้อันแท้จริง ความรู้อันใดเป็นความรู้ที่ไม่จริง ความรู้ที่ไม่จริงนั้นสักแต่ว่ารู้ แต่ละไม่ได้ ความรู้ที่จริงนั้น เมื่อเข้าไปรู้ในสิ่งใดย่อมละได้
นี้พูดมาในส่วนภูมิภาคแห่งจิตทั้งหลาย ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า โลกียภูมิ
(กามาฯ รูปาฯ อรูปาฯ)
//ท่านพ่อลี ธัมมธโร//
>>> F/B เจง ธรรมจารี
ฐิตา:
การยินดีในธรรม ย่อมชนะการยินดีทั้งปวง
originally shared to ชาวพุทธ (สนทนาธรรมตามกาล):
"มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสมฺมึฯ"
ให้เป็นผู้รู้จักประมาณในอาหารการบริโภค ทั้งอาหารกายและอาหารใจ
อาหารกาย ได้แก่ อาหารคำๆ ที่บริโภคเข้าไปเป็นเลือดเนื้อ
คือ ให้รู้จักกินอาหารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย
ไม่เป็นพิษเป็นโทษและไม่มากเกินประมาณ
อาหารจิต ก็ต้องหาอาหารที่ดีมาบำรุง
อาหารที่เป็นพิษของดวงจิต คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
อย่าให้มันมีขึ้นในจิตในใจ พอรู้ว่ามันจะเกิดขึ้นก็ให้รีบดับเสีย
ให้เก็บไว้ในตัว อย่าให้มันออกมาเกะกะลุกลามไปถึงคนอื่น
และความชั่วความไม่ดีของคนอื่น เราก็ไม่เก็บเข้ามาไว้ในตัวของเรา
กิเลสข้างในเราก็อย่าให้ไหลออก ข้างนอกก็กันอย่าให้มันเข้า
...ท่านพ่อลี ธัมมธโร...
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
ฐิตา:
เราต้องทำความรู้อยู่เฉพาะในปัจจุบันอย่างเดียว
ทำความรู้เท่าทันในอารมณ์ที่เกิดดับ
ปล่อยวางทั้งดีและชั่ว ไม่ยึดถือ
จิตที่เพ่งเฉพาะอยู่แต่ในอารมณ์อันเดียวนี้
จะเกิดเป็นสมาธิจนเป็นญาณจักขุขึ้น
มีหูทิพย์ ตาทิพย์ มองเห็นเหตุการณ์
อดีต อนาคตทั้งใกล้และไกล
มีบุพเพนิวาสญาณ รู้กรรมในอดีตชาติ
รู้การเกิดการตายการมาการไป
ของตัวเองและบุคคลอื่น สัตว์อื่น
ว่าเกิดมาแต่กรรมดีกรรมชั่วอย่างใด
เป็นเหตุให้เราเกิดความสลดสังเวช
เบื่อหน่ายในชาติภพและตัดกรรม
ที่จะไม่ให้เราคิดกระทำความชั่วได้อีก
"ความเบื่อหน่าย" อันนี้เป็นของมีคุณ
ไม่ใช่ของมีโทษเหมือน "เบื่อเมา"
"เบื่อเมา" นั้นมีลักษณะ
เหมือนกับคนที่กินข้าวอิ่มแล้ววันนี้
ก็รู้สึกเบื่อไม่อยากกินอีก
แต่พอวันรุ่งขึ้นก็หายเบื่อและกลับกินอีกได้
ส่วนการ "เบื่อหน่าย" นั้น
เป็นการเบื่อที่เราจะไม่กลับยินดีทำในสิ่งนั้นอีก
เช่น เราเห็นการเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นทุกข์
เราก็ไม่อยากทำปัจจัยที่จะทำให้เรา
ต้องกลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตายอีก..ดังนี้เป็นต้น
..
..
ต้องทำ "จิตตวิเวก" ให้ห่างจาก "นิวรณ์ธรรม" จึงเป็นประโยชน์แก่ตัว
จิตตวิเวก คือ ปฐมฌาน (เอกัคคตา)
จิตเที่ยวอยู่ในขอบเขตบ้าน ไม่หนีจากปัจจุบัน ไม่เที่ยวไปในอดีต
ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ได้แก่ ลมหายใจ "วิตก" คือ สังเกตตัวลม
"วิจาร" คือ รู้ลมเข้าออกสั้นยาว รู้จักเข้าใจ ขยับขยาย รู้ลักษณะของลม
"ปีติ" คือ ความอิ่มกาย อิ่มใจ ระงับเวทนาของกาย เป็น "สุข"
ปัจจุบันของรูปเป็นเอกัคคตา คือ "กายสังขาร" (ลมหายใจ)
ปัจจุบันของนาม คือ ตัว "สติ"
หายใจเข้าเป็น "ประการธรรม" หายใจออกเป็น "นามสกุล" เป็น "อุปการธรรม"
จิตเป็น "ชื่อ" สติเป็น "นามสกุล"
ความรู้ความคิดเห็นต่างๆ เป็น "คนใช้" ของเรา อย่าไปยึดถือมัน
กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก ไม่ยึดทั้งเหตุทั้งผล
ปล่อยไปตามสภาพของความเป็นเอง
..
..
วิถีของจิตใจนั้น มันไม่มีเรื่องอะไรหรอก แต่มันชอบออกไปหาเรื่อง
กายกำเริบ คือ ปวดเมื่อย
ใจกำเริบ คือ ฟุ้งซ่าน
๑) อวิชชาวิสมโลภะ คือ ใจที่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
อดีต อนาคต ยกจิตไปไว้ในอารมณ์อื่น
๒) พยาปาทะ, ใจก็ไม่ชอบ หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน
๓) มิจฉาทิฏฐิ, ไปก็ไม่รู้มาก็ไม่รู้ มาว่าไป ไปว่ามา
ลมออกว่าเข้า ลมเข้าว่าออก จิตเผลอเป็นคนไม่รู้เรื่องรู้ราว
๓ อย่างนี้ เป็น "มโนทุจริต" ทั้งสิ้น
จิตของเราเหมือนอาหารที่อยู่ในชาม
สติเสมือนฝาชาม ถ้าเราขาดสติเท่ากับเปิดฝาชามไว้
แมลงวัน (กิเลส) ย่อมจะบินมาเกาะ
เมื่อเกาะแล้วมันก็กินอาหาร แล้วก็ขี้ใส่บ้าง นำเชื้อโรคมาใส่ให้บ้าง
ทำให้อาหารนั้นเป็นเป็นโทษ เป็นพิษ
เมื่อเราบริโภคอาหารที่เป็นพิษเราก็ย่อมได้รับทุกข์ประสบอันตราย
ฉะนั้นเราจะต้องคอยระวังปิดฝาชามไว้เสมอ
อย่าให้แมลงวันมาเกาะได้
จิตของเราก็จะบริสุทธิ์สะอาด เกิดปัญญาเป็นวิชชา ความรู้
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
F/B ธรรมะคำสอนครูบาอาจารย์/Dhamma Articles
ฐิตา:
เว็บธรรมจักร ธรรมะออนไลน์ ได้แชร์รูปภาพของ dhammajak
17 มีนาคม 2017 เวลา 9:39 น.
"การรักและเมตตาตัวเอง"
การรักอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เมตตาตัว คือ หมั่นประกอบบุญกุศลและคุณความดีให้มีขึ้นในตน ขณะใดที่จะเกิดประโยชน์จากตา หู จมูก ปาก มือ เท้า ฯลฯ ของตนเองแล้ว ก็ไม่ยอมปล่อยโอกาสให้เสียไป มือของเราที่จะให้ทานก็ไม่ถูกตัด เท้าของเราที่จะก้าวเดินไปวัดก็ไม่ถูกตัด หูของเราที่จะได้ฟังเทศน์ก็ไม่ถูกตัด ตาที่จะได้พบเห็นของดีๆ ก็ไม่ถูกปิดมืด เราก็จะได้รับผลได้อันดีจากตัวของเราอย่างเต็มที่ อย่างนี้เรียกว่า เมตตาตัว เป็นการรักที่ถูกทาง ผู้นั้นจะมีแต่ความสุข
"พระอาจารย์ลี ธัมมธโร"
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
:: รวมคำสอน “ท่านพ่อลี ธมฺมธโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38679
>>fb ธรรมชาติอันสดใส
https://www.facebook.com/groups/236010043079656/?hc_ref=NEWSFEED
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version