เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ไตรภูมิพระร่วง” หรือ “ไตรภูมิกถา” พระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไทย)เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกสมัยกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ.1888 เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวรรณกรรม ศิลปกรรม ประเพณีสำคัญต่าง ๆ ของไทย และแทรกอยู่ในวรรณคดีไทยแทบทุกเรื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดวาอารามต่าง ๆ จิตรกรรมในสมุดไทย หนังสือใบลาน การสร้างโบสถ์วิหาร พัทธสีมา ระเบียงคด การสร้างพระเมรุมาศเป็นลักษณะของเขาพระสุเมรุ ปราสาทราชวังต่าง ๆ ล้วนได้แนวคิดและเรื่องมาจากไตรภูมิ
พระมหาธรรมราชาลิไทย ทรงเป็นนักปราชญ์และนักการปกครอง มีพระปรีชารอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกา อนุฏีกา และปกรณ์พิเศษต่าง ๆ พระองค์ยังเชี่ยวชาญในวิชาโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และไสยศาสตร์จนถึงขั้นทรงบัญญัติคัมภีร์ศาสตราคมเป็นปฐมธรรมเนียมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนามากกว่า 30 คัมภีร์ มีเนื้อหากล่าวถึงจักรวาลวิทยา ปรัชญา จริยศาสตร์ ชีววิทยา และความคิดความเชื่อทางพุทธศาสนา โดยแสดงหลักธรรมที่สำคัญคือ การละเว้นความชั่วประกอบกรรมดี เป็ยกลวิธีการสอนประชาชนให้ยึดมั่นในคำสอนทางศาสนา เกรงกลัวต่อบาป ประกอบแต่กรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว ซึ่งมีส่วนสำคัญในการดำรงความมั่นคงของประเทศชาติได้
สาระสำคัญของเรื่องนื้ คือการพรรณนาเรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่า “
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งสาม คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิด้วยอำนาจของบุญและบาปที่ตนได้กระทำแล้ว ไตรภูมิ หรือ ภูมิทั้งสาม รวมทั้งการกำเนิดและการตายของสัตว์" กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
ภูมิที่ 1 : กามภูมิ เป็นที่ตั้งแห่ง
ความใคร่ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
อบายภูมิและสุคติภูมิ 1. อบายภูมิ คือแดนแห่ง
ความเสื่อม แบ่งออกเป็น
4 ภูมิ ได้แก่
นรกภูมิ
ติรัจฉานภูมิ
เปรตภูมิ
อสูรกาย
ภูมินรกภูมิ เป็นที่ตั้งของสัตว์ที่ทำบาป ต้องไปรับทัณฑ์ทรมานนานาประการ
แบ่งออกเป็นขุมใหญ่ ๆ 8 ขุมด้วยกัน คือ
(1) สัญชีพนรก
(2) กาฬสุตตนรก
(3) สังฆาฏนรก
(4) โรรุวะนรก
(5) มหาโรรุวะนรก
(6) ตาปนรก
(7) มหาตาปนรก
(8 ) อวีจีนรก หรือ อเวจีนรก
ในแต่ละนรกยังมีนรกบริวาร เช่น นรกขุมที่ชื่อโลหสิมพลี เป็นนรกบริวารของสัญชีพนรก ผู้ที่เป็นชู้กับสามีหรือภริยาผู้อื่นจะ มาตกนรกขุมนี้จะถูกนายนิรบาลไล่ต้อนให้ขึ้นต้นงิ้วที่สูงต้นละหนึ่งโยชน์ มีหนามเป็นเหล็กร้อนจนเป็นสีแดงมีเปลวไฟลุกโชนยาว ๑๖ นิ้ว ชายหญิงที่เป็นชู้กันต้องปีนขึ้นลง โดยมีนายนิรบาลเอาหอกแหลมทิ่มแทงให้ขึ้นลงวนเวียนอยู่เช่นนี้นับร้อยปีนรก
สำหรับผู้ที่ทำบาป แต่ไม่หนักพอที่จะตกนรก ก็ไปเกิดในที่อันหาความเจริญมิได้ อื่น ๆ เช่น เกิดเป็นเปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน พวกที่พ้นโทษจากนรกแล้วยังมีเศษบาปติดอยู่ก็ไปเกิดเป็นเดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสูรกายบ้าง เป็นมนุษย์ที่ทุพพลภาพพิกลพิการ ตามความหนักเบาของบาปที่ตนได้ทำไว้
2. สุคติภูมิ เป็นส่วนของ
กามาพจรภูมิ หรือ
กามสุคติภูมิ แบ่งออกเป็น
เจ็ดชั้น คือ
มนุษย์ภูมิ 1 และสวรรค์ 6 ชั้นรวมเรียกว่า “ฉกามาพจร” ได้แก่ จตุมหาราชิกาภูมิ ตาวติงสาภูมิ (ดาวดึงส์-ไตรตรึงษ์) ยามาภูมิ ตุสิตาภูมิ (ดุสิต) นิมมานรดีภูมิ และ ปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ กามาพจรภูมิทั้งเจ็ดชั้น
เป็นที่ตั้งอันเต็มไปด้วยกาม เป็นที่ท่องเที่ยวของสัตว์ที่ลุ่มหลงอยู่ใน
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นอารมณ์อันพึงปรารถนา เมื่อรวมกับอบายภูมิอีกสี่ชั้นเรียกว่า กภูมิสิบเอ็ดชั้นสาม
ภูมิที่ 2 : รูปภูมิ หรือรูปาวจรภูมิ ได้แก่ รูปพรหมสิบหกชั้น เริ่มตั้งแต่พรหมปริสัชชาภูมิ ที่อยู่สูงกว่าสวรรค์ชั้นหก คือ ปรนิมมิตวสวัตดี มากจนนับระยะทางไม่ได้ ระยะทางดังกล่าวอุปมาไว้ว่าสมมติมีหินก้อนใหญ่เท่าโลหะปราสาทในลังกาทวีป ถ้าทิ้งหินก้อนนี้ทิ้งลงมาจากชั้นพรหมปริสัชชาภูมิ ต้องใช้เวลาถึงสี่เดือนจึงจะตกลงถึงพื้น จากพรหมปริสัชชาภูมิขึ้นไปถึงชั้นที่สิบเอ็ด ชื่อชั้นอสัญญีภูมิ เป็นรูปพรหมที่มีรูปแปลกออกไปจากพรหมชั้นอื่น ๆ คือ พรหมชั้นอื่น ๆ มีรูป มีความรู้สึก เคลื่อนไหวได้ แต่พรหมชั้นอสัญญีมีรูปที่ ไม่ไหวติง ไร้อริยาบท โบราณเรียกว่า พรหมลูกฟัก ครั้นหมดอายุ ฌานเสื่อมแล้วก็ไปเกิดตามกรรมต่อไป
รูปพรหมที่สูงขึ้นไปจากอสัญญีพรหมอีกห้าชั้นเรียกว่า ชั้นสุทธาวาส หมายถึงที่อยู่ของผู้บริสุทธิ ผู้ที่จะไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาสคือ ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี คือเป็นผู้ที่ไม่กลับมาสู่โลกนี้ต่อไป ทุกท่านจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วนิพพานในชั้นสุทธาวาสนี้
ภูมิที่ 3 : อรูปภูมิ หรืออรูปาพาจรภูมิ มี 4 ชั้น เป็นพรหมที่ไม่มีรูปปรากฏ ผู้ที่ไปเกิดในภูมินี้คือผู้ที่บำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุฌานโลกีย์ชั้นสูงสุด เรียกว่าอรูปฌานซึ่งมีอยู่สี่ระดับได้แก่ผู้ที่บรรลุอากาสานัญจายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาอากาศเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากาสานัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาวิญญาณเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในวิญญาณัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาความไม่มีเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากิญจัญญาตนะภูมิ และผู้ที่บรรลุเนวสัญญานสสัญญายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาฌานที่สามให้ละเอียดลงจนเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) จะไปเกิดในแนว
สัญญานาสัญญายตนะภูมิ พรหมเหล่านี้เมื่อเสื่อมจากฌานก็จะกลับมาเกิดในรูปพรหมภูมิ หรือภูมิอื่น ๆ ได้เช่นกัน
การกำเนิดและการตายของสัตว์ การกำเนิดของสัตว์ การเกิดของสัตว์ในสามภูมิมีอยู่ 4 อย่างด้วยกันคือ
1.ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น มนุษย์และสัตว์เดรัจฉานบางชนิดที่เลี้ยงลูกด้วยนม
2.อัณฑชะ เกิดในไข่ ได้แก่สัตว์เดรัจฉานบางชนิด เช่น นก สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ปลา เป็นต้น
3.สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ได้แก่สัตว์ชั้นต่ำบางชนิดที่ใช้การแบ่งตัวออกไป เช่น ไฮดรา อมิบา
4.โอปาติกะ เกิดขึ้นเอง เมื่อเกิดแล้วก็จะสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อตายไปจะไม่มีซาก ได้แก่ เปรต อสูรกาย เทวดา และพรหม เป็นต้น
การตายของสัตว์
การตายมีสาเหตุสี่ประการด้วยกันคือ
1. อายุขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นอายุ
2. กรรมขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นกรรม
3. อุภยขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นทั้ง อายุ และสิ้นทั้งกรรม
4. อุปัจเฉทกรรมขยะ เป็นการตายเพราะอุบัติเหตุ
นอกจากนั้นแล้ว มีการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ในโลกและในจักรวาล มีภูเขาพระสุเมรุราชเป็นแกนกลาง แวดล้อมด้วยกำแพงน้ำสีทันดรสมุทร และ ภูเขาสัตตบรรพต อันประกอบด้วย ภูเขายุคนธร อินิมธร กรวิก สุทัศนะ เนมินธร วินันตกะ และ อัสสกัณณะ
กล่าวถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนพเคราะห์ และดารากรทั้งหลายในจักรวาล เป็นเครื่องบ่งบอกให้รู้วันเวลาฤดูกาล และเหตุการณ์ต่าง ๆ
กล่าวถึงทวีปทั้งสี่ที่ตั้งอยู่รอบภูเขาพระเมรุมาศ ชมพูทวีปอยู่ทางทิศใต้กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ มีปริมณฑล ๓๐๐,๐๐๐ โยชน์ มีแผ่นดินเล็กล้อมรอบได้ ๕๐๐ มีแผ่นดินเล็กอยู่กลางทวีปใหญ่สี่ผืน เรียกว่า สุวรรณทวีป กว้างได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ มีประมณฑล ๓๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นเมืองที่อยู่ของพญาครุฑ
การกำหนดอายุของสัตว์และ
โลกทั้งสามภูมิ มี กัลป์ มหากัลป์ การวินาศ การอุบัติ การสร้างโลก สร้างแผ่นดินตามคติของพราหมณ์ ท้ายสุดของภูมิกถา เป็นนิพพานกถา
ว่าด้วยนิพพานสมบัติของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย
วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน อันเป็นวิธี
ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาสร้างโดย: ศรีสวาสดิ์ บุนนาคแหล่งอ้างอิง:
: http://www.thaigoodview.com/node/18553