ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนาน พระแม่ธรณี ผู้กำเนิดและค้ำชูมนุษย์  (อ่าน 9323 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


ภาพวาดฝาผนังในโบสถ์ วัดเทียนถวาย ปทุมธานี

ตำนาน พระแม่ธรณี ผู้กำเนิดและค้ำชูมนุษย์
แม้ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘แม่ธรณี’, ‘แม่พระธรณี’ หรือ ‘พระแม่ธรณี’ ตามแต่จะเรียกขานกันนั้น จะมิใช่คติดั้งเดิมของชาวพุทธอย่างแท้จริงก็ตาม แต่ก็ได้ปรากฏคติความเชื่อเรื่องนี้ในสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน
       
        แม่ธรณีเป็นใคร? เกี่ยวโยงถึงเรื่องราวในศาสนาได้อย่างไร? และเหตุใดจึงมีอิทธิพลต่อความเชื่อในวัฒนธรรมไทย?       
        เรื่องนี้ อาจารย์ฤดีรัตน์ กายราศ จากสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ได้ค้นคว้า และเรียบเรียง ไว้เป็นความรู้ที่น่าสนใจและเห็นภาพได้ชัดเจน ดังความส่วนหนึ่งว่า
       
        ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์ที่บังเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่มนุษย์แต่โบราณกาลไม่สามารถทราบหรืออธิบายได้ด้วยปัญญาและเหตุผล จึงเข้าใจว่าเกิดจากฤทธิ์และอำนาจของผีสางเทวดาที่จะบันดาลให้ทั้งคุณ และโทษ ประกอบกับธรรมชาติของมนุษย์ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครอง จึงเกิดคติความเชื่อว่า หากมีการบนบานศาลกล่าวเซ่นไหว้บูชาแล้ว ก็จะพ้นจากความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อน
       
        ด้วยความเชื่อดังนี้เมื่อปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ก็ได้เข้าไปครอบงำอยู่ในความนึกคิดและจิตใจของคนในชาติในสังคมอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ กลายเป็นมูลฐานแห่งวัฒนธรรมจารีตประเพณี เกิดเป็นพิธีรีตอง ต่างๆ ที่มนุษย์ในยุคสมัยต่อมาได้ปรับปรุงให้ประณีตงดงามขึ้น เพื่อสัมฤทธิ์ผลแห่งความเป็นสวัสดิมงคลในการดำเนินชีวิต เทวดาในวัฒนธรรมไทยก็เป็นมรดกจากสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนการทำมาหากินของคนไทยและเป็นที่น่าสังเกตว่าเทวดาที่คอยเอื้อเฟื้อดูแลทุกข์สุขของมวลมนุษย์ มักจะเป็นเทวดา ผู้หญิงเสียเป็นส่วนใหญ่
       
        พระธรณี ตามคติความเชื่อของชาวฮินดูให้ความเคารพ นับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลก เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า ‘ธรณิธริตริ’ แปลว่าผู้ค้ำจุนพระธรณี แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่น แต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตอยู่ตามที่ต่างๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของ แม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ใน พระเวท ก็มีการขอร้องต่อพระธรณีให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครอง วิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่ นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุกๆเดือน ชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้

       

        เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์ องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของ พระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็น ชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ
       
        คติความเชื่อเรื่องพระธรณีได้เผยแพร่มาสู่ไทย ก็เนื่องจากอิทธิพลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ในพิธีกรรมต่างๆ อาทิ พิธีการก่อนไปจับช้างก็มีการกล่าว บูชาพระธรณีเช่นกัน แต่ความเชื่อถือเกี่ยวกับพระธรณีในไทยก็มิได้เป็นที่แพร่หลายนัก และมีความเชื่อเช่นเดียวกับทางอินเดียว่าเป็นเพศหญิง นามพระธรณี มีปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง อาทิ หนังสือเทศน์มหาชาติปฐมสมโพธิกถา ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น มีนามเรียกแตก ต่างกันไปเช่น นางพระธรณี พระแม่วสุนธราพสุธา แปลในความหมายเดียวกันว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติ หมายถึงแผ่นดินนั่นเอง สำหรับชาวไทยทั่วไปจะเรียกกันติดปาก ว่า แม่พระธรณีบ้าง พระแม่ธรณีบ้าง ตามความนิยม
       
        จากเรื่องราวของพระธรณี แสดงให้เห็นว่าเป็นเทพที่ รักสงบอยู่เงียบๆ จึงไม่ใคร่มีเรื่องราวอะไรในโลก เฝ้าแต่ เลี้ยงโลกประดุจแม่เลี้ยงลูก คอยรับรู้การทำบุญกุศลของ มนุษย์โลก ด้วยการใช้มวยผมรองรับน้ำจากการกรวดน้ำ เสมือนกับเป็นอรูปกะ คือไม่มีตัวตน แต่เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นหรือมีผู้ร้องขอจึงจะปรากฏรูปขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง
       
        พระธรณีเป็นเทวดาผู้หญิงที่มีสรีระรูปร่างใหญ่หากแต่อ่อนช้อย งดงาม พระฉวีสีดำ พระพักตร์รูปไข่ มวยพระเกศายาวสลวยสีเขียวชอุ่มเหมือนกลุ่มเมฆ พระเนตรสีเหมือนดอกบัวสายคือสีน้ำเงิน พระชงฆ์เรียว พระพาหาดุจ งวงไอยรา นิ้วพระหัตถ์เรียวเหมือนลำเทียน มีพระทัยเยือก เย็นไม่หวั่นไหว พระพักตร์ยิ้มละไมอยู่เสมอ ภาพเขียนรูปนางพระธรณีที่ถือกันว่างดงามเป็นพิเศษ คือภาพที่ฝาผนังด้านหน้าพระประธานในพระอุโบสถวัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี ส่วนภาพปั้นหล่อนางพระธรณีในศิลปะไทยที่มีปรากฏอยู่จะทำเป็นรูปหญิงสาว มีรูปร่างอวบใหญ่ ล่ำสันอย่างได้สัดส่วน มีความงามประดุจเทพธิดา นั่งในท่าคุกเข่า แต่ยกเข่าขวาขึ้นสูงกว่าเข่าซ้าย บางแห่งสร้างให้อยู่ในท่ายืน แต่ที่เหมือนกันก็คือมวยผมปล่อยยาว มือขวายกข้ามศีรษะไปจับไว้ที่โคนมวยผม ส่วนมือซ้ายจับมวยผมแสดงท่ากำลังบิดให้สายน้ำไหลออกมาจากมวยผมนั้น ส่วนเครื่อง ทรงไม่มีแบบแผนที่แน่นอนตายตัว ตามแต่จินตนาการของ ผู้สร้าง บางแห่งสวมพัสตราภรณ์เฉพาะช่วงล่าง แต่บางแห่งทั้งนุ่งผ้าจีบและห่มสไบอย่างสวยงาม ประดับเครื่องถนิมพิมพาภรณ์มีกรอบหน้าและจอนหู เป็นต้น...

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 04, 2014, 02:31:33 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำนาน พระแม่ธรณี ผู้กำเนิดและค้ำชูมนุษย์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 06:29:03 am »


                                 

        ส่วนลักษณะตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จากตำนานเกี่ยวกับเทวดา มาร พรหม และจากพระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เรื่องปฐมสมโพธิกถา ตอนมารวิชัยปริวรรต ได้กล่าวถึงพระแม่ ธรณีที่ปรากฏขึ้นมาในช่วงที่สำคัญที่สุดของพระพุทธเจ้าคือ ก่อนการตรัสรู้ ได้เป็นพยานสำคัญในการปราบมารทั้งหลายทั้งปวง ดังความละเอียดต่อไปนี้
       
        “แต่ในชาติอาตมะเป็นพระยาเวสสันดรชาติเดียวนั้น ก็ได้บำเพ็ญทานบารมีถึงบริจาคนางมัทรีเป็นอวสาน พื้นพสุธาก็กัมปนาการถึง 7 ครั้ง แลกาลบัดนี้ อาตมะนั่งเหนือ อปราชิตบัลลังก์อาสน์ หมู่มารอริราชมาแวดล้อมยุทธการ เป็นไฉนแผ่นพสุธาธารจึงดุษณีภาพอยู่ฉะนี้ แลพระยามาร อ้างบริษัทแห่งตนให้เป็นกฎสักขีขานคำมุสา แลพื้นปฐพีอันปราศจากเจตนาได้สดับคำอาตมะในครั้งนี้จงรับเป็นสักขีพยานแห่งข้า แล้วเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาอันประดับด้วยจักรลักษณะอันงามดุจงวงไอยรารุ่งเรืองด้วยพระนขามีพรรณอันแดงดุจแก้วประพาฬออกจากห้องแห่งจีวร ครุวนาดุจวิชุลดาในอัมพรอันออกจากระหว่างห้องแห่งรัตวลาหก ยกพระดัชนีชี้เฉพาะพื้นมหินทรา จึงออกพระวาจา ประกาศแก่นางพระธรณีว่า ดูก่อนวนิดาดลนารี ตั้งแต่อาตมะบำเพ็ญพระสมภารบารมีมาตราบเท่าถึงอัตภาพเป็นพระเวสสันดรราช ได้เสียสละบุตรทานบริจาคแลสัตตสดกมหาทาน สมณะพราหมณาจารย์ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะกระทำเป็นสักขี-พยานในที่นี้ก็มิได้ มีแต่พสุนธารนารีนี้แลรู้เห็นเป็นพยานอันใหญ่ยิ่ง เป็นไฉนท่านจึงนิ่งมิได้เป็นพยานอาตมาในกาล บัดนี้
       
        ในขณะนั้น นางพสุนธรีวนิดาก็มิอาจดำรงกายาอยู่ได้ ด้วยโพธิสมภารานุภาพยิ่งใหญ่แห่งพระมหาสัตว์ ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี ผุดขึ้นจากพื้นปฐพียืนประดิษฐานเฉพาะพระพุทธังกุรราช เหมือนดุจร้องประกาศกราบทูล พระกรุณาว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษราช ข้าพระบาททราบซึ่งสมภารบารมีที่พระองค์สั่งสมอบรมบำเพ็ญมา แต่น้ำทักษิโณทกตกลงชุ่มอยู่ในเกศาข้าพระพุทธเจ้านี้ ก็มากกว่ามากประมาณมิได้ ข้าพระองค์จะบิดกระแสใสสินโธทกให้ตกไหลหลั่งลง จงเห็นประจักษ์แก่นัยนาในครานี้ แลนางพระธรณีก็บิดน้ำในโมลีแห่งตน อันว่ากระแสชลก็หลั่งไหลออกจากเกศโมลีแห่งนางพสุนธรี เป็นท่อธารมหามหรรณพ นองท่วมไปในประเทศที่ทั้งปวงประดุจห้องมหาสาครสมุทร พระผู้เป็นเจ้ารักขิตาจารย์จึงกล่าวสารพระคาถาอรรถาธิบายความก็เหมือนนัยกล่าวแล้วแต่หลัง
       
        ครั้งนั้น หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำปลาตนาการไปสิ้น ส่วนคิรีเมขลคชินทรที่นั่งทรงองค์พระยาวัสวดีก็มีบาทาอันพลาดมิอาจ ตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตามชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร อันว่าระเบียบแห่งฉัตรธวัชจามรทั้งหลาย ก็ทักทบท่าวทำลาย ล้มลงเกลื่อนกลาดและพระยามาราธิราชได้ทัศนาการเห็นมหัศจรรย์ ดังนั้น ก็บันดาลจิตพิศวงครั่นคร้ามขามพระเดชพระคุณเป็นอันมาก พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวพระคาถาสรรเสริญคุณานุภาพโพธิสัตว์อรรถาธิบายความก็ซ้ำหนหลัง
       
        ครั้งนั้นมหาปฐพีก็ป่วนปั่นปานประหนึ่งว่าจักรแห่งนายช่างหม้อบันลือศัพท์นฤนาทหวาดไหวสะเทือนสะท้าน เบื้องบนอากาศก็นฤโฆษนาการ เสียงมหาเมฆครืนครั่นปิ่มปานจะทำลายภูผาทั้งหลาย มีสัตตภัณฑ์บรรพต เป็นต้น ก็ วิจลจลาการขานทรัพย์สำเนียงกึกก้องทั่วทั้งท้องจักรวาล ก็บันดาลโกลาหลทั่วสกลดังสะท้าน ปานดุจเสียงป่าไผ่อันไหม้ด้วยเปลวอัคคี ทั้งเทวทุนทุภีกลองสวรรค์ก็บันลือลั่นไปเอง เสียงครืนเครงดุจวีหิลาชอันสาดทิ้ง ถูกกระเบื้องอันเรืองโรจน์ร้อนในกองอัคนี การอัสนีบาตก็ประหารลงเปรี้ยงๆ เพียงพื้นแผ่นปฐพีจะพังภาคดังห่าฝน ถ่านเพลิง ตกต้องพสุธาดลดำเกิงแสงสว่าง หมู่มารทั้งหลายต่างๆตระหนกตกประหม่า กลัวพระเดชานุภาพแพ้พ่าย แตกขจัดขจายหนีไปในทิศานุทิศทั้งปวงมิได้เศษ แลพระยามาราธิราชก็กลัวพระเดชบารมี ปราศจากที่พึ่งที่พำนักซ่อน เร้นให้พ้นภัยหฤทัย ท้อระทดสลดสังเวช จึงออกพระโอษฐ์สรรเสริญพระเดชพระคุณพระมหาบุรุษราชว่า ดังอาตมาจินตนาการอันว่าผลทานศีลสรรพบารมีแห่งพระสิทธัตถกุมารนี้ ปรากฏอาจให้บังเกิดมหิทธฤทธิ์สำเร็จกิจมโนรถปรารถนาทุกประการ มีพระกมลเบิกบานแผ่ไปด้วยประสาทโสมนัส จึงทิ้งเสียซึ่งสรรพาวุธ ประนมหัตถ์ทั้ง 2,000 อัญชลีกรนมัสการ ก็กล่าวสารพระคาถาว่า นโม เต ปุริสาชญญ เป็นอาทิ


อรรถาธิบายความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ปุริสาชาไนยชาติเป็นอุดมบุรุษราชในโลกนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายวันทนาการชุลีพร้อมด้วยทวารทั้ง 3 คือกาย วจี มโน ประณามประณตในบทบงกชยุคลบาท บุคคลผู้ใดในมนุษย์ โลกธาตุกับทั้งเทวโลก ที่จะปูนเปรียบประเสริฐเสมอพระองค์คงเทียมเทียบนั้นมิได้มี พระองค์ได้ตรัสเป็นพระศรีสรรเพชญ์เสร็จแจ้งจตุราริยสัจจ์ศาสดาจารย์มีพระเดชครอบงำชำนะหมู่มาร เป็นปิ่นปราชญ์ฉลาดในอนุสัยแห่งสรรพสัตวโลกจะข้ามขนนิกรเวไนย์ให้พ้นจตุรโอฆกันดารบรรลุฝั่งฟากอมฤตมหานฤพานอันเกษมสุขปราศจากสังสารทุกข์ในครั้งนี้ แลพระยาวัสวดีมารโถมนาการพระคุณพระมหาบุรุษราชด้วยจิตประสาทเลื่อมใส ผลกุศลนั้นจะตกแต่งให้ได้ตรัสแก่พระปัจเจกโพธิญาณในอนาคตกาลภายหน้า เมื่อพระยามารกล่าวสัมภาวนากถาสรรเสริญคุณพระโพธิสัตว์ แล้วก็นิวัตตนาการสู่สกลฐานเทวพิภพ”


        จึงสรุปความเชื่อทั้ง 2 ลักษณะ คือ พระแม่ธรณีเป็นอรูปกะคือไม่มีรูปกาย เช่นเดียวกับพระแม่คงคา ซึ่งชาวฮินดูจะทำการสักการะได้ทุกสถานที่ เมื่อต้องการความช่วยเหลือก็อ้างเรียกได้ทุกเวลา ส่วนความเชื่ออีกลักษณะหนึ่งที่ทางศาสนาพุทธได้เชื่อตามพุทธประวัติ ที่พระแม่ธรณีได้มีพระคุณต่อพระพุทธเจ้าก่อนการตรัสรู้ดังได้กล่าว มาแล้วนั้น พระแม่ธรณีมีรูปกายผุดขึ้นมาจากพื้นปฐพี เป็นองค์ที่มีภาพเป็นนิมิตรเป็นรูปสตรีที่ทางพุทธได้กำหนดพระนามของพระแม่ธรณี คือ ‘นางพสุนธรี’ ซึ่งเป็นองค์ตามลักษณะของรูปร่างตามพระแม่ธรณีบีบมวยผม จะประดิษฐานอยู่ใต้แท่นฐานพระพุทธเจ้า ‘ปางปราบมาร’ และเมื่อเกิดมหาปฐพีป่วนปั่น ด้วยอิทธิฤทธิ์ของพระแม่ธรณีบีบมวยผม น้ำมาท่วมท้นหมู่มาร มีทั้งฝนตกและน้ำท่วม และ ‘ปางนาคปรก’ หรือเรียกว่า ‘พระอนันตชินราช’ ซึ่งมีพญานาคได้มาแผ่ปกบังฝนและขดตัวยกชูบัลลังก์ขึ้นสูงจากน้ำที่ท่วมท้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน จึงมีรูปภาพที่ตามผนังพระอุโบสถวัดต่างๆ ตรงข้ามกับพระประธาน พระแม่ธรณี จึงเป็นเทพผู้อุปถัมภ์พระพุทธเจ้า การบูชาจึงดูได้จากภาพ พระแม่ธรณีที่ทูนบัลลังก์พระพุทธองค์สูงเหนือเศียร เป็นต้น
       
        การสักการบูชาพระแม่ธรณีเมื่อศึกษาจากบทสวดทางพุทธศาสนา จึงเป็นบทที่เกี่ยวกับการ ‘ให้’ เป็นหลักใหญ่ จน มีผู้เรียบเรียงไว้สำหรับผู้สนใจได้ใช้บูชาคู่กับพุทธคุณ ซึ่งนิยมใช้บทสวด ‘พาหุง พุทธคุณคุ้มครองโลก’



........ธรณี เมตตา นมามิ.......
พระธรณี ให้พืชผล เพื่อชีวิต
พระธรณี ให้ถิ่นฐาน เพื่อชีวิต
พระธรณี รับร่างไว้ ยามไร้ชีวิต
"ลักษณวดี"

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 21, 2015, 01:37:52 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำนาน พระแม่ธรณี ผู้กำเนิดและ้ำค้ำชูมนุษย์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 06:39:06 am »

       
       แม่พระธรณีบีบมวยผม สาธารณทานของ ‘พระราชินีนาถ’ ในรัชกาลที่ 5      
        รูปปั้นแม่พระธรณีบีบมวยผม ซึ่งประดิษฐานบริเวณเชิงสะพานผ่านพิภพลีลา ถือเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญของกรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ตามประวัติกล่าวว่า
       
        สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 หรือสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 6 และ 7 ทรงมีพระราชดำริ ให้สร้างรูปแม่ธรณีบีบมวยผมขึ้น เพื่อแจกจ่ายน้ำดื่มสะอาดบริสุทธิ์ให้ผู้คนทั่วไป เป็นสาธารณทานแก่ชาวกรุงเทพฯ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษาของพระองค์ เมื่อปี พ.ศ.2456 โดยมีลักษณะเป็นรูปแม่ธรณีบีบมวยผมนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบรูปแม่ธรณี ส่วนพระยาจินดารังสรรค์(พลับ)เป็นผู้ออกแบบซุ้มเรือนแก้ว กระทั่งแล้วเสร็จ และประกอบพิธีเปิดในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2460 อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ดังที่ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2460 ความว่า...
       
        “พรุ่งนี้ฉันจะทำบุญวันเกิดที่นี่ตามคตินิยม ให้คุณจัดเปิดรูปนางพระธรณีท่ออุทกทาน ซึ่งฉันได้ออกทรัพย์ให้หล่อขึ้นสำเร็จตั้งไว้ ณ เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา และขออุทิศท่ออุทกทานนี้ให้เป็นสาธารณทานแก่ประชาชนผู้เพื่อนแผ่นดินใช้กินบำบัดร้อนและกระหาย เป็นความสบายตามปรารถนาทั่วกันเทอญ
       
        ปัจจุบัน อนุสรณ์สถานแห่งนี้ได้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ที่มีประชาชน มาสักการบูชาอย่างไม่ขาดสาย
       
       (จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 81 ส.ค. 50 โดย มุทิตา)




โดย นายทองผู้ปิดทองหลังพระ
นำมาแบ่งปันโดย sithiphong
-http://board.palungjit.com/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 21, 2015, 01:19:35 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธประวัติ ตอน ผจญมาร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 07:32:52 am »


พุทธประวัติ  ตอน ผจญมาร
พุทธประวัติ หมายถึง เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เริ่มตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกผนวช ตรัสรู้ ประกาศพระศาสนา จนถึงปรินิพพาน

                หลังจากพระสิทธัตถะทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยทรงเห็นว่า วิธีทรมานร่างกายนั้นมิใช่วิธีอันถูกต้องสำหรับการค้นหาสัจธรรม และได้ทรงตั้งพระทัยว่า จงทรงเลิกการปฏิบัติดังกล่าวโดยเด็ดขาด แต่จะกลับไปบำเพ็ญเพียรทางจิตให้มากขึ้นกว่าเดิมที่เคยปฏิบัติมาแล้วแต่หนหลัง พระองค์จึงได้ทรงเริ่มแสวยอาหารตามปกติจนพระวรกายแข็งแรงขึ้นโดยลำดับ
                ส่วนปัญจวัคคีย์ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ อัสสชิ และมหานามะ ที่ตามเสด็จมาคอยให้ความดูแล เห็นพระสิทธัตถะกลับมาเสวยอาหาร ก็เกิดความไม่เชื่อถือ จึงชวนกันผละหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

                เมื่อพระสิทธัตถะทรงอยู่ตามลำพัง พระองค์ก็ทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิต ก่อนเริ่ม ตอนเช้าทรงรับและเสวยอาหารที่นางสุชาดานำมาถวาย หลังจากเสวยแล้ว ได้ทรงนำถาดไปลอยในแม่น้ำเนรัญชราและทรงสรงน้ำที่นั่น ตอนกลางวันได้เสด็จไปพักผ่อนในดงไม้สาละ ตอนเย็นได้เสด็จมุ่งหน้าสู่โคนไม้มหาโพธิ์ ระหว่างทางทรงรับหญ้าคาจากนายโสตถิยะและเสด็จต่อไปจนถึงต้นมหาโพธิ์ ทรงลาดหญ้าปูเป็นที่นั่งต่างบัลลังก์ทางด้านตะวันออกของโคนต้นมาหาโพธิ์ และประทับนั่งบนแท่นหญ้าคานั้น ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ว่า “แม้เนื้อและเลือดในกายจะเหือดแห้งไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่นอกจากหนัง เอ็นและกระดูกก็ตาม ถ้ายังไม่ตรัสรู้สัจธรรม จะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่นั่งนี้
                จากนั้นพระสิทธัตถะทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิตตามหลักฌานที่เคยทรงมีพื้นฐานมาก่อน ทรงตั้งพระทัยระดมกำลังจิตต่อสู่กับธรรมชาติฝ่ายต่ำ เพื่อยกระดับจิตของพระองค์ให้สูงขึ้นและเพื่อค้นหาความจิรงให้ได้ว่า ความทุกข์ของชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และจะทำอย่างไร คนเราจึงจะรอดพ้นจากความทุกข์นั้นได้


                แต่เนื่องจากพระองค์ยังทรงอยู่ในวัยหนุ่ม ภาพแห่งอดีตที่เป็นความบันเทิงเริงรื่น ในท่ามกลางการบำรุงบำเรอของเหล่านางสนมที่พระองค์เคยได้รับในพระราชวัง ได้ปรากฏขึ้นและชักจูงพระทัยของพระองค์ให้คิดหวนกลับไปถึงความสุขสบายในหนหลัง แต่ด้วยพระทัยที่เด็ดเดี่ยวและมั่นคงต่อสัจอธิษฐาน พระองค์ได้ทรงต่อสู่กับภาพดังกล่าวด้วยกำลังพระทัยทั้งหมด ในที่สุดก็ทรงสามารถปัดเป่าความคิดอันชั่วร้ายที่เรียกว่า มาร ทั้งหลายที่เข้ามารบกวนพระทัยของพระองค์ให้สูญสิ้นไปได้ พระทัยของพระองค์จึงสงบเหมือน้ำในสระน้ำเวลาที่คลื่นลมสงบ


จากรูปได้ความว่า พระองค์ทรงนั่งบำเพ็ญทางจิต มีพญามารนามว่าวสวัตตี ผู้ตามผจญพระองค์มาตลอด ตั้งแต่วันเสด็จออกผนวช มาปรากฏตัวพร้อมเสนามาร มีอาวุธครบครันน่าสะพรึงกลัว พญามารร้องบอกให้พระองค์เสด็จลุกจากอาสนะว่า “บัลลังก์นี้เป็นของข้า ท่านจงลุกขึ้นเดี๋ยวนี้”เมื่อพระองค์แย้งว่า บัลลังก์เป็นของพระองค์ พญามารถามหาพยาน พระองค์ทรงเหยียดพระดรรชนีลงยังพื้นดินและตรัสว่า “ขอให้วสุนธรา(พระแม่ธรณี) จงเป็นพยาน
                ทันใดนั้นพระแม่ธรณีก็ผุดขึ้นจากพื้นดินปรากฏตัวบีบมวยผม บันดาลให้มีกระแสน้ำหลากมาท่วมทับพญามารพร้อมทั้งกองทัพพ่ายไปในที่สุด เป็นอันว่าพญามารพร้อมทั้งกองทัพได้พ่ายแพ้แก่พระองค์โดยสิ้นเชิง  เหตุการณ์ตอนนี้ ต่อมาได้ถูกจำลองเป็นพระพุทธรูปรางหนึ่ง เป็นปางนั่งสมาธิ พระหัตถ์วางบนพระเพลา ชี้พระดรรชนีลงพื้นดิน เรียกว่า “ปางมารวิชัย”  จากเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถจะวิเคราะห์ได้ว่าการที่พระพุทธเจ้าทรงผจญมารและเอาชนะมารได้ในที่สุด

                ตีความได้ว่า มาร ก็คือกิเลส ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ที่มารบกวนพระทัยพระองค์ในขณะนั่งสมาธิ เสนามาร ก็คือกิเลสเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นบริวารของโลภะ โทสะ โมหะ การที่ทรงผจญมาร ก็คือ ทรงต่อสู้กับอำนาจของกิเลสเหล่านี้นั่นเอง
                ส่วนพระแม่ธรณี ก็คือบารมีทั้ง 10 ที่ทรงบำเพ็ญมา การอ้างพระแม่ธรณี ก็คือทรงอ้างถึงคุณความดีที่ทรงบำเพ็ญมา เป็นกำลังใจให้ต่อสู่กับอำนาจของกิเลส เพราะพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมาเต็มเปี่ยม พระองค์จึงสามารถเอาชนะอำนาจของกิเลสทั้งปวง บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่สุด



-http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Bud-pachan-man.htm

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำนาน พระแม่ธรณี ผู้กำเนิดและ้ำค้ำชูมนุษย์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 09:08:33 am »










สวรรค์ชั้นที่ 6 ปรนิมมิตสวัตตี ... เป็นชั้นสูงสุดในบรรดาสวรรค์
มีวิมานทองทอง วิมานแก้ว วิมานเงิน เป็นปราสาทที่สง่าภูมิฐาน
ตระหง่านอยู่ทั่วไปบนภาคพื้นที่ ลาดด้วยแก้ว 7 ประการ
ประกอบด้วย สวนทิพย์อุทยานอันวิจิตร และ สระโบกขรณีที่พักผ่อนหย่อนใจ
อันยิ่งใหญ่โอฬาริกยิ่งกว่าชั้นใดทั้งหมด


พระยามาร ก็กลายมาเป็น เทพ
พิทักษ์ศาสนา
จึงปรากฏรูปปั้นยักษ์ อยู่ตามวัดในพุทธศาสนา


เทพเจ้าที่อยู่บนสวรรค์ชั้นที่ 6 นี้
มีคุณสมบัติพิเศษยิ่งกว่าเทพเจ้าบนสวรรค์ชั้นอื่น ๆ
คือ เสวยกามคุณอารมณ์ โดยเทวดาอื่นรู้ความต้องการแล้วเนรมิตให้
เป็นสุขสมบัติที่ประเสริฐประณีต น่าประทับใจกว่าชั้นอื่นใด
จึงมีนามว่าสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตสวัตตี

เทพเจ้าเหล่าชาวฟ้าที่อยู่บนสวรรค์ชั้นนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายเทวดา มีเทวาธิราชผู้ยิ่งใหญ่
นามว่า "ท้าวปรนิมมิตเทวราช" เป็นผู้ปกครองเหล่าเทพ
ฝ่ายมาร มีมารผู้บุญหนักศักดิ์ใหญ่ บังเกิดเสวยทิพยสมบัติอยู่ด้วยอีกฝ่ายหนึ่ง
มี"ท้าวปรนิมมิตสวัตตีมาราธิราช" เป็นผู้ปกครองหมู่มาร



อย่างไรก็ดี ฝ่ายเทวดา กับ ฝ่ายมาร ก็เป็นการแบ่งแยก โดยมีเขตแดนกั้นกัน
โดยเด็ดขาด แต่ละฝ่ายไม่สามารถจะไปมาหาสู่หรือไปรบกวนกันได้ไม่




คุณ พระแม่ธรณี ในทาง พระเวท จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสูงสุด
ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกประการ
พระเวทที่เกี่ยวกับนางพระธรณีมักถูกกลบเกลื่อนปิดบัง เนื่องจากหากผู้ใด
ล่วงรู้และสามารถอธิษฐานบารมีจากพระแม่ธรณีได้ ย่อมทรงอำนาจสูงส่ง
ดังเช่นพระมหาบุรุษ เรื่องเหล่านี้เราจะพบอยู่ในโองการเชิญครู
ของพระเวทเกือบทุกสำนัก แต่มักจะละเลยกันจนบางครั้งมองข้ามกันไปก็มี



ในทาง พระเวท นางพระแม่ธรณี เป็นวิชาชั้นสูงระดับครูที่ต้องร่ำเรียนให้เข้าใจ
การบูชาแม่พระธรณีจึงมีพลานุภาพในทางป้องกันเสนียดอาเพท
ที่เรามักรู้จักกันในชื่อว่าการต้องธรณีสารหรือพกพาเครื่องราง
หากนมัสการได้ถูกต้องจะทำให้ชีวิตราบรื่นมั่นคงและพ้นภัยจากหมู่มารทั้งปวง

เวลาเดินทางให้อธิษฐานพระนางธรณีไป จะพ้นภัยทั้งปวง
เวลามี เหตุ ให้นึกถึง แม่พระธรณี แล้วภาวนาว่า...


คำบูชาแม่พระธรณี

กิระเทพหัศวิไสย ทั้งอรทัยสุนทรา
ยินนิยมสมจินดา จุติเกิดขึ้นพร้อมกัน
ปฏิสนธิธุลีเท่า คงคาเคล้าเป็นพืชพันธุ์
พระพายพัดลอองอัน ผนึกแน่นเป็นแผ่นดิน
วาโยแลปัถวี เป็นธรณีด้วยวาริณ
ศรีธาตุเพิ่มให้ภิณ โยชนโดยหมาย
จึงเกิดอิศวร อุมา พระธาดา พระนารายณ์
ประกอบสรรพ์ทั้งหลาย ทั้วศรีภพจบสากล ฯ





(คัดจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพ)
นำมาแบ่งปันโดย บุญญสิกขา
-http://board.palungjit.com
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2013, 04:21:51 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
โมทนาบุญครับ

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ธรณี
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2014, 06:21:03 pm »



ความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ธรณี

การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระแม่ธรณีหรือพระธรณี จะไม่มีผู้ใดได้ค้นคว้าเรื่องราวไว้มากนัก จึงผูกพันความเชื่อระหว่างศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา แยกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ลักษณะที่นำความเชื่อมาจากสิ่งมหัศจรรย์บังเกิดขึ้นเหนือธรรมชาติที่มิอาจจะหาคำอธิบายได้ จากปรากฎการณ์ที่เร้นลับ ตลอดจนการเล่าขานสืบต่อจนกลายเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น และความเชื่อถือผูกให้เป็นเทพเทวา เมื่อกระทำสิ่งที่ขัดหรือผิดต่อความเชื่อมักจะมีความรู้สึกว่า ถูกฟ้าดินลงโทษและชีวิตไม่สามารถดำรงต่อไปอย่างผาสุข หรือจะรู้สึกว่าผิดบาปต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะเป็นสิ่งไม่มีตัวตน เช่น พื้นพิภพ , ธรณี, พื้นดิน เป็นต้น

2. ลักษณะที่กล่าวอ้างความเชื่อจาก เทศน์มหาชาติ พุทธประวัติ ปฐมสมโพธกถา เกี่ยวกับตำนานเทพ เทวดาต่าง ๆ มีเป็นรูปลักษณ์ เห็นเป็นรูปร่างของเทพ ปรากฏกายเป็นสตรี

จากลักษณะความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ธรณี ซึ่งเป็นลักษณะความคิด ความเชื่อ จากหนังสือนิตยสารชวนรู้เขียนโดย อาจารย์ฤดีรัตน์ กายราศ จากกองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เรื่องพระคงคา พระธรณี แม่โพสพ เทวดา ในวัฒนธรรมไทยได้ค้นคว้าเกี่ยวกับพระแม่ธรณีได้ชัดเจน

จึงขออนุญาตอ้างอิงและนำบทความของท่านมาบางตอนเพื่อได้เห็นภาพลักษณ์ของพระแม่ธรณี ซึ่งท่านได้นำลักษณะของเทวานุสาวรีย์พระแม่ธรณีการประปานครหลวง มากล่าวและเขียนถึงภาพลักษณ์ได้ชัดเจนดังนี้

“ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์ที่บังเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่มนุษย์แต่โบราณกาลไม่สามารถทราบหรืออธิบายได้ด้วยปัญญาและเหตุผล จึงเข้าใจว่าเกิดจากฤทธิ์และอำนาจของผีสางเทวดาที่จะบันดาลให้ทั้งคุณและโทษ ประกอบกับธรรมชาติของมนุษย์ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้อง คุ้มครอง

จึงเกิดคติความเชื่อว่า หากมีการบนบานศาลกล่าวเซ่นไหว้บูชาแล้ว ก็จะพ้นจากความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อน ด้วยความเชื่อดังนี้เมื่อปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ก็ได้เข้าไปครอบงำอยู่ในความนึกคิดและจิตใจของคนในชาติ ในสังคมอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ กลายเป็นมูลฐานแห่งวัฒนธรรมจารีตประเพณี เกิดเป็นพิธีรีตองต่าง ๆ ที่มนุษย์ในยุคสมัยต่อมาได้ปรับปรุงให้ประณีตงดงามขึ้น

เพื่อสัมฤทธิ์ผลแห่งความเป็นสวัสดิมงคลในการดำเนินชีวิต เทวดาในวัฒนธรรมไทยก็เป็นมรดกจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนการทำมาหากินของคนไทยและเป็นที่น่าสังเกตว่าเทวดาที่คอยเอื้อเฟื้อดูแลทุกข์สุขของมวลมนุษย์ มักจะเป็นเทวดาผู้หญิงเสียเป็นส่วนใหญ่ “



พระธรณี ตามคติความเชื่อของชาวฮินดูให้ความเคารพนับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า “ธรณิธริตริ” แปลว่าผู้ค้ำจุนพระธรณี แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่นแต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย

เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของแม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป

ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ในพระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณ๊ให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครองวิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุก ๆ เดือนชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้

เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของพระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็นชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ
..
..
คติความเชื่อเรื่องพระธรณีได้เผยแพร่มาสู่ไทย ก็เนื่องจากอิทธิพลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ในพิธีกรรมต่าง ๆ อาทิเช่น พิธีการก่อนไปจับช้างก็มีการกล่าวบูชาพระธรณีเช่นกัน แต่ความเชื่อถือเกี่ยวกับพระธรณีในไทยก็มิได้เป็นที่แพร่หลายนัก และมีความเชื่อเช่นเดียวกับทางอินเดียว่าเป็นเพศหญิงนามพระธรณีมีปรากฎในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง

อาทิเช่น หนังสือเทศน์มหาชาติปฐมสมโพธิกถา ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น มีนามเรียกแตกต่างกันไปเช่น นางพระธรณี พระแม่วสุนธราพสุธา แปลในความหมายเดียวกันว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติหมายถึงแผ่นดินนั่นเอง สำหรับชาวไทยทั่วไปจะเรียกกันติดปากว่า แม่พระธรณีบ้าง พระแม่ธรณีบ้าง ตามความนิยม

จากเรื่องราวของพระธรณี แสดงให้เห็นว่าเป็นเทพที่รักสงบอยู่เงียบ ๆ จึงไม่ใคร่มีเรื่องราวอะไรในโลก เฝ้าแต่เลี้ยงโลกประดุจแม่เลี้ยงลูก คอยรับรู้การทำบุญกุศลของมนุษย์โลก ด้วยการใช้มวยผมรองรับน้ำจากการกรวดน้ำเสมือนกับเป็นอรูปกะ คือ ไม่มีตัวตนแต่เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นหรือมีผู้ร้องขอจึงจะปรากฏรูปขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง
..
..
จิตรกรรมฝาผนังรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม อุโบสถวัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี
ที่กล่าวกันว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนังรูปพระแม่ธรณีที่งดงามที่สุด

ลักษณะของพระแม่ธรณี
พระธรณีเป็นเทวดาผู้หญิงที่มีสรีระรูปร่างใหญ่หากแต่อ่อนช้อย งดงามพระฉวีสีดำ พระพักตร์รูปไข่ มวยพระเกศายาวสลวยสีเขียวชอุ่มเหมือนกลุ่มเมฆ พระเนตรสีเหมือนดอกบัวสายคือสีน้ำเงิน พระชงฆ์เรียว พระพาหาดุจงวงไอยรา นิ้วพระหัตถ์เรียวเหมือนลำเทียน มีพระทัยเยือกเย็นไม่หวั่นไหว พระพักตร์ยิ้มละมัยอยู่เสมอ

ภาพเขียนรูปนางพระธรณีที่ถือกันว่างดงามเป็นพิเศษ คือภาพที่ฝาผนังด้านหน้าพระประธานในพระอุโบสถวัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี ส่วนภาพปั้นหล่อนางพระธรณีในศิลปะไทยที่มีปรากฏอยู่จะทำเป็นรูปหญิงสาว มีรูปร่างอวบใหญ่ ล่ำสันอย่างได้สัดส่วน มีความงามประดุจเทพธิดา นั่งในท่าคุกเข่า แต่ยกเข่าขวาขึ้นสูงกว่าเข่าซ้าย

บางแห่งสร้างให้อยู่ในท่ายืน แต่ที่เหมือนกันก็คือมวยผมปล่อยยาว มือขวายกข้ามศีรษะไปจับไว้ที่โคนมวยผม ส่วนมือซ้ายจับมวยผมแสดงท่ากำลังบิดให้สายน้ำไหลออกมาจากมวยผมนั้น ส่วนเครื่องทรงไม่มีแบบแผนที่แน่นอนตายตัว ตามแต่จินตนาการของผู้สร้าง บางแห่งสวมพัตราภรณ์เฉพาะช่วงล่าง แต่บางแห่งทั้งนุ่งผ้าจีบและห่มสไบอย่างสวยงาม ประดับเครื่องถนิมพิมพาภรณ์มีกรอบหน้าและจอนหูเป็นต้น
..
..
สำหรับเทวานุสาวรีย์พระแม่ธรณีในการประปานครหลวงจะมีรูปทรงแตกต่างจากรูปปั้นทั่วไป คือมีลักษณะรูปทรงสง่างาม ลำแขน องค์เอวเรียวงดงาม พระฉวีสีดำ พระพักตร์รูปไข่ มวยพระเกศายาว พระเนตรรีใหญ่คมเหลือบมองพื้นพสุธา วงหน้ารีเรียวพระโอษฐ์ยิ้มละไม เหมือนรูปภาพพระแม่ธรณีที่ฝาผนังด้านหน้าพระอุโบสถวัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี
..
..
ความเชื่อทางพุทธศาสนา
ส่วนลักษณะตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จากตำนานเกี่ยวกับเทวดา มาร พรหม และจากพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสเรื่องปฐมสมโพธิกถาตอนมารวิชัยปริวรรต ได้กล่าวถึงพระแม่ธรณีที่ปรากฎขึ้นมาในช่วงที่สำคัญที่สุดของพระพุทธเจ้าคือ ก่อนการตรัสรู้ ได้เป็นพยานสำคัญในการปราบมารทั้งหลายทั้งปวง ดังความละเอียดต่อไปนี้

“แต่ในชาติอาตมะเป็นพระยาเวสสันดรชาติเดียวนั้น ก็ได้บำเพ็ญทานบารมีถึงบริจาคนางมัทรีเป็นอวสาน พื้นพสุธาก็กัมปนาการถึง 7 ครั้ง แลกาลบัดนี้ อาตมะนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์อาสน์ หมู่มารอริราชมาแวดล้อมยุทธการเป็นไฉนแผ่นพสุธาธารจึงดุษณีภาพอยู่ฉะนี้ แลพระยามารอ้างบริษัทแห่งตนให้เป็นกฏสักขีขานคำมุสา แลพื้นปฐพีอันปราศจากเจตนาได้สดับคำอาตมะในครั้งนี้จงรับเป็นสักขีพยานแห่งข้า

แล้วเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาอันประดับด้วยจักรลักษณะอันงามดุจงวงไอยรารุ่งเรืองด้วยพระนขามีพรรณอันแดงดุจแก้วประพาฬออกจากห้องแห่งจีวร ครุวนาดุจวิชุลดาในอัมพรอันออกจากระหว่างห้องแห่งรัตวลาหก ยกพระดัชนีชี้เฉพาะพื้นมหินทรา จึงออกพระวาจาประกาศแก่นางพระธรณีว่า

ดูก่อนวนิดาดลนารี ตั้งแต่อาตมะบำเพ็ญพระสมภารบารมีมาตราบเท่าถึงอัตภาพเป็นพระเวสสันดรราช ได้เสียสละบุตรทานบริจาคแลสัตตสดกมหาทานสมณะพราหมณาจารย์ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะกระทำเป็นสักขีพยานในที่นี้ก็มิได้ มีแต่พสุนธารนารีนี้แลรู้เห็นเป็นพยานอันใหญ่ยิ่ง เป็นไฉนท่านจึงนิ่งมิได้เป็นพยานอาตมาในกาลบัดนี้

ในขณะนั้น นางพสุนธรีวนิดาก็มิอาจดำรงกายาอยู่ได้ ด้วยโพธิสมภารานุภาพยิ่งใหญ่แห่งพระมหาสัตว์ ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี ผุดขึ้นจากพื้นปฐพียืนประดิษฐานเฉพาะพระพุทธังกุรราช เหมือนดุจร้องประกาศกราบทูลพระกรุณาว่าข้าแต่พระมหาบุรุษราช ข้าพระบาททราบซึ่งสมภารบารมีที่พระองค์สั่งสมอบรมบำเพ็ญมา

แต่น้ำทักษิโณทกตกลงชุ่มอยู่ในเกศาข้าพระพุทธเจ้านี้ ก็มากกว่ามากประมาณมิได้ ข้าพระองค์จะบิดกระแสใสสินโธทกให้ตกไหลหลั่งลง จงเห็นประจักษ์แก่นัยนาในครานี้ แลนางพระธรณีก็บิดน้ำในโมลีแห่งตน

อันว่ากระแสชลก็หลั่งไหลออกจากเกศโมลีแห่งนางพสุนธรีเป็นท่อธารมหามหรรณพ นองท่วมไปในประเทศที่ทั้งปวงประดุจห้องมหาสาครสมุทร พระผู้เป็นเจ้ารักขิตาจารย์จึงกล่าวสารพระคาถาอรรถาธิบายความก็เหมือนนัยกล่าวแล้วแต่หลัง

ครั้งนั้น หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำปลาตนาการไปสิ้น ส่วนคิรีเมขลคชินทรที่นั่งทรงองค์พระยาวัสวดีก็มีบาทาอันพลาดมิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตามชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร อันว่าระเบียบแห่งฉัตรธวัชจามรทั้งหลาย ก็ทักทบท่าวทำลายล้มลงเกลื่อนกลาดและพระยามาราธิราชได้ทัศนาการเห็นมหัศจรรย์ ดังนั้น ก็บันดาลจิตพิศวงครั่นคร้ามขามพระเดชพระคุณเป็นอันมาก
..
..
พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวพระคาถาสรรเสริญคุณานุภาพโพธิสัตว์
อรรถาธิบายความก็ซ้ำหนหลัง

ครั้งนั้นมหาปฐพีก็ป่วนปั่นปานประหนึ่งว่าจักรแห่งนายช่างหม้อบันลือศัพท์นฤนาทหวาดไหวสะเทือนสะท้าน เบื้องบนอากาศก็นฤโฆษนาการ เสียงมหาเมฆครืนครั่นปิ่มปานจะทำลายภูผาทั้งหลาย มีสัตตภัณฑ์บรรพต เป็นต้น ก็วิจลจลาการขานทรัพย์สำเนียงกึกก้องทั่วทั้งท้องจักรวาล ก็บันดาลโกลาหลทั่วสกลดังสะท้าน ปานดุจเสียงป่าไผ่อันไหม้ด้วยเปลวอัคคี

ทั้งเทวทุนทุภีกลองสวรรค์ก็บันลือลั่นไปเอง เสียงครืนเครงดุจวีหิลาชอันสาดทิ้ง ถูกกระเบื้องอันเรืองโรจน์ร้อนในกองอัคนี การอัสนีบาตก็ประหารลงเปรี้ยง ๆ เพียงพื้นแผ่นปฐพีจะพังภาคดังห่าฝน ถ่านเพลิงตกต้องพสุธาดลดำเกิงแสงสว่าง

หมู่มารทั้งหลายต่าง ๆ ตระหนกตกประหม่า กลัวพระเดชานุภาพแพ้พ่าย แตกขจัดขจายหนีไปในทิศานุทิศทั้งปวงมิได้เศษ แลพระยามาราธิราชก็กลัวพระเดชบารมี ปราศจากที่พึ่งที่พำนักซ่อนเร้นให้พ้นภัยหฤทัย ท้อระทดสลดสังเวชจึงออกพระโอษฐ์สรรเสริญพระเดชพระคุณพระมหาบุรุษราชว่า

ดังอาตมาจินตนาการอันว่าผลทานศีลสรรพบารมีแห่งพระสิทธัตถกุมารนี้ ปรากฏอาจให้บังเกิดมหิทธฤทธิ์สำเร็จกิจมโนรถปรารถนาทุกประการ มีพระกมลเบิกบานแผ่ไปด้วยประสาทโสมนัส จึงทิ้งเสียซึ่งสรรพาวุธประนมหัตถ์ทั้ง 2,000 อัญชลีกรนมัสการ ก็กล่าวสารพระคาถาว่า นโม เต ปุริสาชญญ เป็นอาทิ

อรรถาธิบายความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ปุริสาชาไนยชาติเป็นอุดมบุรุษราชในโลกนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายวันทนาการชุลีพร้อมด้วยทวารทั้ง 3 คือกายวจีมโนประณามประณตในบทบงกชยุคลบาท บุคคลผู้ใดในมนุษย์โลกธาตุกับทั้งเทวโลก ที่จะปูนเปรียบประเสริฐเสมอพระองค์คงเทียมเทียบนั้นมิได้มี

พระองค์ได้ตรัสเป็นพระศรีสรรเพชญ์เสร็จแจ้งจตุราริยสัจจ์ศาสดาจารย์มีพระเดชครอบงำชำนะหมู่มาร เป็นปิ่นปราชญ์ฉลาดในอนุสัยแห่งสรรพสัตวโลกจะข้ามขนนิกรเวไนย์ให้พ้นจตุรโอฆกันดารบรรลุฝั่งฟากอมฤตมหานฤพานอันเกษมสุขปราศจากสังสารทุกข์ในครั้งนี้

แลพระยาวัสวดีมารโถมนาการพระคุณพระมหาบุรุษราชด้วยจิตประสาทเลื่อมใส ผลกุศลนั้นจะตกแต่งให้ได้ตรัสแก่พระปัจเจกโพธิญาณในอนาคตกาลภายหน้า เมื่อพระยามารกล่าวสัมภาวนากถาสรรเสริญคุณพระโพธิสัตว์ แล้วก็นิวัตตนาการสู่สกลฐานเทวพิภพ”
..
..
  จึงสรุปความเชื่อทั้ง 2 ลักษณะ คือ   
    พระแม่ธรณีเป็นอรูปกะคือไม่มีรูปกาย เช่นเดียวกับพระแม่คงคา ซึ่งชาวฮินดูจะทำการสักการะได้ทุกสถานที่ เมื่อต้องการความช่วยเหลือก็อ้างเรียกได้ทุกเวลา

    ส่วนความเชื่ออีกลักษณะหนึ่งที่ทางศาสนาพุทธได้เชื่อตามพุทธประวัติ ที่พระแม่ธรณีได้มีพระคุณต่อพระพุทธเจ้าก่อนการตรัสรู้ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น พระแม่ธรณีมีรูปกายผุดขึ้นมาจากพื้นปฐพีเป็นองค์ที่มีภาพเป็นนิมิตรเป็นรูปสตรีที่ทางพุทธได้กำหนดพระนามของพระแม่ธรณี คือ”นางพสุนธรี”

    ซึ่งเป็นองค์ตามลักษณะของรูปร่างตามพระแม่ธรณีบีบมวยผม จะประดิษฐานอยู่ใต้แท่นฐานพระพุทธเจ้า “ปางปราบมาร” และเมื่อเกิดมหาปฐพีป่วนปั่น ด้วยอิทธิฤทธิ์ของพระแม่ธรณีบีบมวยผมน้ำมาท่วมท้นหมู่มาร มีทั้งฝนตกและน้ำท่วม และ “ปางนาคปรก” หรือเรียกว่า “พระอนันตชินราช” ชึ่งมีพญานาคได้มาแผ่ปกบังฝนและขดตัวยกชูบัลลังก์ขึ้นสูงจากน้ำที่ท่วมท้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน

    จึงมีรูปภาพที่ตามผนังพระอุโบสถวัดต่าง ๆ ตรงข้ามกับพระประธาน พระแม่ธรณีจึงเป็นเทพผู้อุปถัมภ์พระพุทธเจ้าการบูชาจึงดูได้จากภาพพระแม่ธรณีที่ทูนบัลลังก์พระพุทธองค์สูงเหนือเศียร เป็นต้น

    การสักการะบูชาพระแม่ธรณีเมื่อศึกษาจากบทสวดทางพุทธศาสนา จึงเป็นบทที่เกี่ยวกับการให้เป็นหลักใหญ่จนมีผู้เรียบเรียงไว้สำหรับผู้สนใจได้ใช้บูชาคู่กับพุทธคุณซึ่งนิยมใช้บทสวด “พาหุง พุทธคุณคุ้มครองโลก”
..
..

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี
  [๑๑๓๕] ใครเล่าหนอจะพึงบอกพระราชบุตรพระนามว่า เวสสันดรผู้ประเสริฐ
             ทรงชำนะความตระหนี่อันใครให้แพ้ไม่ได้ ทรงให้ความปลอดภัยในเวลามีภัยแก่เราได้
             พระองค์เป็นที่พึ่งของพวกยาจก ดังธรณีเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายฉะนั้น
             ใครจะพึงบอกซึ่งพระเวสสันดรมหาราชผู้เปรียบเหมือน แม่ธรณี แก่เราได้
             พระองค์เป็นที่ไปเฝ้าของพวกยาจก ดังสาครเป็นที่ไหลไปรวมแห่งแม่น้ำทั้งหลายฉะนั้น ฯลฯ
..
..

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำนาน พระแม่ธรณี ผู้กำเนิดและค้ำชูมนุษย์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2014, 07:01:13 pm »



อ้างจาก: sunee ที่ เมษายน 08, 2012, 10:24:51 AM
ได้อ่านพุทธประวัติ ตอนผจญมาร ตอนที่เหล่าพญามารกรีฑาทัพ มาเพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เหล่าเทวดา และพรหม ไม่กล้าปกป้องพระพุทธเจ้า แต่ปรากฏนางเองผู้เดียว คือพระแม่ธรณี บีบน้ำจากมวยผมโถมเข้าใส่พญามาร จนแตกกระเจิงไป

   อยากทราบว่า พระแม่ธรณี นี้เป็นปริศนาธรรม หรือ มีตัวตนจริง เป็นเทวดาชั้นไหน คะใน 16 ชั้น

--------------------------

 เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา อยู่ตั้งแต่กลางภูเขาสิเนรุจนกระทั่งถึงพื้นดินมนุษย์ มีชื่อเรียกตามที่อยู่ที่อาศัย ดังนี้
    ๑. ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนพื้นดิน
    ๒. รุกขัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนต้นไม้
    ๓. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่ในอากาศ (มีวิมานอยู่)

ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้า มหาสมุทร ตามบ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา ใต้พื้นดิน เป็นต้น โดยถือเอาสถานที่นั้นเป็นวิมานของตน

รุกขัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มี ๒ จาพวก คือ มีวิมาน และไม่มีวิมาน รุกขเทวดาที่มีวิมานวิมานจะตั้งอยู่บนยอดไม้ เทวดาที่ไม่มีวิมานก็จะอาศัยอยู่บนคบไม้ กิ่งไม้

อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่มีวิมานของตนเองตั้งอยู่ในอากาศ ภายในภายนอกวิมานประกอบด้วยรัตนะ ๗ อย่าง ได้แก่ แก้วมรกต แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้วมณี แก้ววิเชียร เงิน ทอง บางวิมานมี ๒ รัตนะ ๓ รัตนะ ขึ้นอยู่กับกุศลที่ตนเคยสร้างไว้ วิมานเหล่านี้จะลอยหมุนเวียนไปในอากาศรอบ ๆ ภูเขาสิเนรุ

อ้างอิง
หนังสือ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่มที่ ๑ ; ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมมัตถสังคหฎีกา ; พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
..
..
    คติทางพุทธเชื่อว่า พระแม่ธรณีเป็นเทวดา แต่ไม่ได้ระบุว่า เป็นเทวดาชั้นไหน
    ถึงตรงนี้แล้ว อย่างไงก็ต้องเดากันหน่อย ชื่อก็บอกว่า ธรณี
    เป็นใครก็ต้องเดาว่า "น่าจะอยู่กับดิน" ดังนั้น ขอเดาตามน้ำไปว่า
    พระแม่ธรณี เป็นเทวดาชั้น"จาตุมหาราชิกา"(สวรรค์ชั้นแรก) อยู่ในประเภท"ภุมมัฏฐเทวดา"
..
..


แม่พระธรณีบิดพระเกศา เกิดเป็นสมุทรธารา พระยามารก็พ่ายแพ้แก่พระบารมี
     สถานที่ที่พระมหาบุรุษประทับนั่งพื่อทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ แสวงหาทางตรัสรู้ ซึ่งอยู่ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น เรียกว่า 'โพธิบัลลังก์'

     พระยามารกล่าวตู่ว่าเป็นสมบัติของตน 
     ส่วนพระมหาบุรุษทรงกล่าวแก้ว่า   
        "บังเกิดขึ้นด้วยผลแห่งบุญบารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อน"   
     แล้วทรงอ้างพระนางธรณีเป็นพยาน

    ปฐมสมโพธิว่า "พระธรณีก็มิอาจดำรงกายอยู่ได้...ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี ผุดขึ้นจากพื้นปฐพี..."   
     แล้วกล่าวเป็นพยานมหาบุรุษ พร้อมกับบีบน้ำออกจากมวยผม 
     น้ำนั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า 'ทักษิโณทก' อันได้แก่   
     น้ำที่พระมหาบุรุษทรงกรวดทุกครั้งที่ทรงบำเพ็ญบุญบารมีแต่ชาติปางก่อนเป็นลำดับมา 
     ซึ่งแม่พระธรณีเก็บไว้ที่มวยผม เมื่อนางบีบก็หลั่งไหลออกมา

     ปฐมสมโพธิว่า "เป็นท่อธารมหามหรรณพ นองท่วมไปในประเทศทั้งปวง ประดุจห้วงมหาสาครสมุทร...หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำ ปลาสนาการไปสิ้น ส่วนคิรีเมขลคชินทร  ที่นั่งทรงองค์พระยาวัสสวดี ก็มีบาทาอันพลาด มิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตามชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร...พระยามารก็พ่ายแพ้ไปในที่สุด"

     บารมีนั้นคือความดี พระมหาบุรุษท่านทรงรำพึงว่า ชีวิต ดวงหทัย นัยน์เนตร ที่ท่านทรงบริจาคให้เป็นกุศลผลทานมาก่อนนั้น ถ้าจะเก็บรวมไว้ก็จะมากกว่าผลาผลไม้ในป่ามากกว่าดวงดาราในท้องฟ้า
     ความดีที่ทำไว้นั้นไม่หนีไปไหน ถึงใครไม่เห็น ฟ้าดินก็เห็น ดิน คือ แม่พระธรณี
ที่มา http://84000.org/tipitaka/picture/f26.html

   
    ถามว่า ทำไมจึงมีเพียงพระแม่ธรณีเพียงตนเดียวเท่านั้น ที่ออกมาช่วยพระพุทธเจ้า
    ตอบว่า สมัยที่พระพุทธองค์เป็นพระโพธิสัตว์มาหลายชาติ เวลาพระองค์สร้างบารมี ท่านจะกรวดน้ำทุกครั้ง และพระแม่ธรณีก็จะเป็นผู้เดียวที่เก็บน้ำนั้นไว้ น้ำที่ท่านหลั่งเอาไว้เป็นตัวแทนของความดีที่สั่งสมมา
    ในเมื่อพระองค์จะแสดงสิทธิ์ว่า เป็นเจ้าของ 'โพธิบัลลังก์' และบัลลังก์นี้เกิดจากบารมีของท่านที่สั่งสมมาในกาลก่อน สิ่งที่จะเป็นพยานในการบำเพ็ญบารมีของท่านได้ก็คือ น้ำที่ท่านหลั่งเอาไว้
    คนที่เก็บน้ำนั้นไว้ก็มีเพียงพระแม่ธรณีเท่านั้น นั่นคือคำตอบว่า ทำไมมีเพียงนางที่ช่วยพระพุทธองค์
..
..

มีเรื่อง สงสัย เพิ่มเติม อีกคะ
   คือถ้า พระแม่ธรณี เป็นเทพ ดังนั้น จึงรับน้ำที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญเพียรมา หลายแสนอสงไขยชาติไว้
   ที่นี้ คนที่ถูกสูบลงไปในธรณี นี้เป็น พระแม่ธรณี เป็นผู้จัดการหรือไม่คะ
จาก: sunee
..
..



    มหานรก มี ๘ ขุม
    ๑. สัญชีวนรก 
    ๒. กาฬสุตตนรก 
    ๓. สังฆาตนรก 
    ๔. โรรุวนรก 
    ๕. มหาโรรุวนรก 
    ๖. ตาปนนรก
    ๗. มหาตาปนนรก
    ๘. อวีจินรก แปลว่า ไม่มีระหว่าง คือไม่เว้นว่างจากทุกข์ บางทีเรียกว่า มหาอวีจิ แปลว่า อเวจีใหญ่ ภาษาไทยมักเรียกว่า นรกอเวจี นรกขุมนี้มีไฟลุกโพลงเต็มทั่วไปหมด ไม่มีระหว่างหรือเว้นว่าง สัตว์นรกขุมนี้ก็แน่นขนัดเหมือนยัดทะนาน ไม่มีระหว่างหรือเว้นว่าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่างวัตถุสิ่งของ เพราะสัตว์นรกต่างถูกไฟเผาไหม้อยู่ในที่เฉพาะตนๆ ความทุกข์ทรมานของสัตว์นรกในขุมนี้เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่มีว่างเว้น

    พระเทวทัตบังเกิดในอวีจินรก ยืนถูกทรมานอยู่บนพื้นเหล็กที่มีไฟลุกโชน
    เท้าทั้ง ๒ จมพื้นลงไปถึงข้อเท้า มือทั้ง ๒ จมฝาเหล็กถึงข้อมือ ศีรษะเข้าไปในเพดานโลหะถึงคิ้ว
    หลาวโลหะอันหนึ่งออกจากพื้นเบื้องล่างแทงร่างกายทะลุขึ้นไปในเพดาน
    หอกเล่มหนึ่งออกจากฝาทิศตะวันออกแทงทะลุหัวใจไปเข้าฝาทิศตะวันตก
    หอกอีกเล่มหนึ่งออกจากฝาทิศเหนือแทงทะลุซี่โครงไปเข้าฝาทิศใต้
    ถูกตรึงแน่นขยับไม่ได้ ถูกเผาไหม้อยู่ในอวีจินรก

เครื่องทรมานสัตว์นรก
  ในนรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุมนี้ มีเหล็ก เช่น พื้นแผ่นดินเหล็ก เครื่องอาวุธเหล็กต่างๆ มีไฟ คือ เหล็กนั่นแหละลุกเป็นไฟร้อนแรง มีภูเขาเหล็กที่กลิ้งมาบด และมีหมอกควันชนิดเป็นกรดหรือด่าง เป็นเครื่องทรมานสัตว์นรกทั้งหลาย

    ในนรกขุมที่ ๑ และที่ ๒ มีนายนิรยบาล แปลว่า ผู้รักษานรก
    ไทยนิยมเรียกว่า ยมบาล เป็นผู้ทำการทรมานสัตว์นรก
   แต่นรกขุมที่ลึกลงไปกว่านั้น ในอรรถกถาสังกิจจชาดกไม่ได้กล่าวถึงนายนิรยบาล มีแต่ไฟ เหล็ก เครื่องอาวุธต่างๆ เป็นต้น บังเกิดขึ้นเองเพื่อทรมานสัตว์นรกเอง ฯลฯ
..
..
อัธยาศัยจิตใจของบุคคลทั้งหลาย สรุปได้ ๔ คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้มีอัธยาศัยจิตใจชอบบำเพ็ญกุศลมาก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้มีอัธยาศัยจิตใจชอบในการกุศลและอกุศลเท่าๆ กัน
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้มีอัธยาศัยจิตใจชอบในอกุศลมากกว่ากุศล
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้มีอัธยาศัยจิตใจชอบในอกุศลฝ่ายเดียว

บุคคลประเภทที่ ๑ ในขณะใกล้ตายย่อมระลึกนึกถึงกุศลได้มาก ฉะนั้นบุคคลจำพวกนี้ย่อมพ้นจากการไปบังเกิดในอบายภูมิ 

บุคคลประเภทที่ ๒ ถ้าตัวเองพยายามระลึกถึงกุศลให้มากหรือญาติบุคคลใกล้ชิดช่วยเตือนสติให้ระลึกถึงกุศล ก็สามารถช่วยให้พ้นจากการบังเกิดในอบายภูมิ

บุคคลประเภทที่ ๓ ทำอกุศลมากกว่ากุศล ลำพังตัวเองจะนึกถึงกุศลนั้นย่อมนึกถึงไม่ได้ นอกจากจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นเท่านั้น แต่ต้องเป็นการช่วยเหลืออย่างพิเศษจึงจะช่วยได้ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างพิเศษแล้วบุคคลจำพวกนี้ย่อมจะต้องไปสู่อบายแน่นอน

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๔ นั้น ย่อมไม่พ้นจากการไปสู่อบายได้เลย นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อัครสาวก มหาสาวกเท่านั้นที่จะช่วยเหลือได้ และการที่จะได้รับความช่วยเหลือจากท่านเหล่านี้ได้บุคคลผู้นั้นก็จะต้องมีกุศลอปราปริยเวทนียกรรม(กุศลในชาติก่อนๆ)ที่มีกำลังมาก(ตัวอย่างเช่นโจรเคราแดงในบทเรียนชุดที่๗)
     ฉะนั้นถ้าบุคคลจำพวกนี้ต้องไปสู่นรกแล้ว ก็ไปสู่นรกโดยตรง
     ไม่มีโอกาสที่จะได้พบกับพระยายมราช

    เฉพาะบุคคลประเภทที่ ๒ และ ๓ ถ้าต้องไปสู่นรกแล้วก็มีโอกาสได้พบกับพระยายมราช
    เพื่อทำการสอบถาม ๕ เรื่อง หรือเรียกว่า เทวทูต ๕ เสียก่อน แล้วจึงไปเสวยทุกข์ในนรกนั้นๆ ภายหลัง

ที่มา  บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๖.๑ ภพภูมิ
เรียบเรียงโดยอาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย




    คุณสุนีย์ถามว่า ใครเป็นคนจัดการพระเทวทัต พระแม่ธรณีรึเปล่า
    เรื่องนี้เป็นอจินไตย เกินวิสัยที่จะรู้ได้  ตอบกันตรงๆก็คือ ไม่ทราบครับ
    แต่ก็ไม่อยากทำร้ายจิตใจกัน เลยขอจินตนาการเอาเอง แค่คุยเป็นเพื่อนอย่าถือเป็นสาระ
..
..
    ตามบทความข้างต้นจะเห็นว่า นรกอเวจี เป็นนรกขุมที่ ๘ ไม่มีใครดูแล ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้นเอง
    และการพิจาณาโทษสัตว์นรกต่างๆนั้น มีบุคคลอยู่ ๓ จำพวกที่ต้องคุยกับพระยายมราชก่อน
    แต่พระเทวทัตไม่ได้อยู่ใน ๓ จำพวกนั้น พระเทวทัตน่าจะอยู่ในจำพวกที่ ๔
    คือ มีอัธยาศัยจิตใจชอบในอกุศลฝ่ายเดียว เป็นพวกที่ไปสู่นรกโดยตรง

    ดังนั้น จากเหตุผลที่ยกมาข้างต้น การถูกธรณีสูบของพระเทวทัต
    น่าจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ไม่มียมบาล นายนิรยบาล หรือผู้ใดเป็นผู้กระทำ
    สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปด้วยอำนาจแห่งอนันตริยกรรมนั่นเอง



โดย nathaponson
: ทำไม นางเองผู้เดียว ที่ช่วยเหลือพระพุทธเจ้าต่อกรกับ พญามาร
-http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7193.0