ผู้เขียน หัวข้อ: วิญญาณธาตุเป็นอย่างไร คืออะไร :หลวงพ่อฤๅษี  (อ่าน 2477 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




วิญญาณธาตุเป็นอย่างไร คืออะไร
หลวงพ่อฤๅษี ท่านเมตตามาสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. วิญญาณธาตุ หมายถึง ระบบประสาทสัมผัสทั้ง ๖ อายตนะ ๖ หรือประตูทั้ง ๖ ของร่างกาย อันมีระบบประสาทรับรู้ของตา - หู - จมูก - ลิ้น - กาย โดยมีใจหรือจิตเป็นผู้รับรู้ (สมองเป็นหนึ่งในอาการ ๓๒ ของร่างกาย เป็นศูนย์รับระบบประสาทสัมผัสของร่างกาย ซึ่งทำงานของมันอยู่เป็นปกติ เกิดดับๆ อยู่เป็นสันตติธรรม ผู้ที่ไปรับรู้เรื่องของสมองก็คือจิต จะเห็นได้ชัดเจนตอนร่างกายถูกดมยาให้สลบ หรือใช้ยาสลบ ร่างกายทุกส่วนก็สลบ รวมทั้งสมองด้วย แต่จิตไม่สลบ ยังคงรู้อยู่เป็นปกติ มิได้สลบตามร่างกาย จุดนี้ผู้ปฏิบัติธรรมได้ขั้นสูงเท่านั้น จึงจะรู้และเข้าใจได้)

๒. วิญญาณธาตุตัวนี้แหละเป็นตัวสร้างอารมณ์สุข (พอใจ) สร้างอารมณ์ทุกข์ (ไม่พอใจ) ให้เกิดแก่ร่างกาย
๓. บุคคลใดเอาจิตไปเกาะอารมณ์ทั้งสองแล้วหลงคิดว่า สุข-ทุกขเวทนาของกายนี้มีในเรา เป็นของเรา (เราคือจิตไม่ใช่กาย) มีในเขา เป็นของเขา แต่พอร่างกายมันตาย อารมณ์เหล่านี้ซึ่งเกิดจาก วิญญาณธาตุ ก็ตายไปพร้อมกับกาย

๔. แต่จิตไม่เคยตาย จิตเป็นอมตะ ผู้ตายคือร่างกาย พร้อมวิญญาณธาตุ อันตรายอันใหญ่ยิ่งอยู่ที่จิตไปยึดเกาะติดวิญญาณธาตุ เกาะอารมณ์สุข-ทุกข์ว่าเป็นเราเป็นของเรา เอาเวทนาของกายมาเป็นเวทนาของจิต นี่แหละคือตัว สักกายทิฎฐิ ตัวอวิชชา
๕. เพราะแยกกาย - เวทนา - จิต - ธรรม ให้ออกจากจิตไม่ได้ สักกายทิฎฐิก็ตัดไม่ได้เช่นกัน

(ขออธิบายสั้นๆ ว่า กาย - เวทนา ๒ ตัวแรก เป็นเรื่องของร่างกาย กายหรือรูปกายปกติของมันก็ เกิดดับๆ เป็นสันตติธรรม เป็นปกติของมัน เวทนาอาศัยกายอยู่ เมื่อกายเกิดดับๆ เวทนาก็ย่อม เกิด - ดับๆ ตามกาย ๒ ตัวนี้ต้องมีสติกำหนดรู้อยู่เสมอ หากไม่กำหนดรู้ มันก็ไม่รู้ว่ามันเป็นทุกข์ของกายไม่เกี่ยวกับจิต ต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา)
ส่วนจิต หมายถึง เจตสิก คือ อารมณ์ของจิต ซึ่งปกติไม่เที่ยง เกิด - ดับๆ ๆ อยู่เป็นสันตติธรรมเช่นกัน สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่ควรยึดว่ามันเป็นเราเป็นของเรา
ส่วนธรรมก็ เกิด - ดับ ๆ ๆ ไม่เที่ยง ใครยึดเข้าก็เป็นทุกข์ทันที แบบเดียวกันกับเจตสิก
สำหรับจิต คือ เรานั้นเป็นผู้รู้ เป็นผู้รับรู้เรื่องของธรรม ๔ ตัวนั้น คือ กาย - เวทนา - จิต - ธรรม มันเกิด - ดับๆ อยู่ตลอดเวลาคนละส่วนกับเราคือจิต ในการปฏิบัติที่ถูก จึงต้องรู้สักเพียงแต่ว่ารู้ รู้แล้ววางๆ ๆ ไม่ยึด - ไม่เกาะ - ไม่ปรุงแต่งไปตามสิ่งที่ตนรู้นั้นๆ ขอเขียนไว้สั้นๆ แค่นี้)

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
-http://www.facebook.com/BuddhaSattha?filter=1