สักแต่ว่า... (นัยที่ ๑)
พาหิยะ ! เมื่อใดเธอ
เห็น รูป แล้ว สักว่าเห็น,
ได้ฟังเสียง แล้ว สักว่าฟัง,
ได้กลิ่น, ลิ้มรส, สัมผัสทางผิวกาย,
ก็สักว่า ดม ลิ้ม สัมผัส,
ได้รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้ง แล้ว ;
เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี.
เมื่อใด “เธอ” ไม่มี ;
เมื่อนั้น เธอก็ไม่ ปรากฏ ในโลกนี้,
ไม่ปรากฏ ในโลกอื่น,
ไม่ปรากฏ ในระหว่าง แห่งโลก ทั้งสอง :
นั่นแหละ คือที่สุด แห่งทุกข์ละ.
อุ. ขุ. ๒๕ / ๘๓ / ๔๙.////////////////////////////////////////////สักแต่ว่า... (นัยที่ ๒)
“ข้าแต่พระองค์เจริญ ! ข้าพระองค์เป็นคนชรา เป็นคน
แก่คนเฒ่า มานาน ผ่านวัย มาตามลำดับ. ขอพระผู้มี พระภาค ทรง
แสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคต จง ทรงแสดงธรรมโดยย่อ ใน
ลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่ว ถึงเนื้อความ แห่ง
ภาษิตของพระผู้มี พระภาคเจ้า ในลักษณะ ที่ข้าพระองค์
จะพึงเป็น ทายาทแห่งภาษิต ของ พระผู้มี พระภาค เจ้าเถิด พระเจ้าข้า !”
มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจะสำคัญ ความข้อนี้ว่า
อย่างไร คือ รูปทั้งหลาย อันรู้สึก กันได้ ทางตา เป็นรูป
ที่ท่านไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็น ที่ท่านกำลัง เห็นอยู่ ก็ไม่มี
ที่ท่านคิดว่า ท่านควรจะ ได้เห็น ก็ไม่มี ดังนี้แล้ว ความ
พอใจก็ดี ความ กำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในรูปเหล่านั้น
ย่อมมีแก่ ท่าน หรือ ?
“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”
(ต่อไปนี้ ได้มี การตรัสถาม และ การ ทูลตอบ ในทำนอง
เดียวกันนี้ทุก ตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อของสิ่ง ที่นำ มากล่าว
คือในกรณีแห่ง เสียง
อันรู้สึก กันได้ ทางหู ใน
กรณี แห่ง กลิ่น อันรู้สึกกัน ได้ทางจมูก ใน
กรณีแห่ง รส อันรู้สึก กันได้ ทางลิ้น ใน
กรณีแห่ง โผฏฐัพพะ อันรู้สึก เป็น
แต่เพียง สักว่า ได้ยิน ;
ใน สิ่งที่ท่าน รู้สึก แล้ว (ทางจมูก, ลิ้น, กาย)
จักเป็นแต่ เพียง สักว่า รู้สึก ;
ใน สิ่งที่ท่าน รู้แจ้ง แล้ว (ทางวิญญาณ) ก็จัก
เป็นแต่ เพียงสักว่า รู้แจ้ง.
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรม
เหล่านั้น : เมื่อ สิ่ง ที่เห็น แล้ว สักว่าเห็น,
สิ่งที่ฟัง แล้ว สักว่า ได้ยิน,
สิ่งที่ รู้สึก แล้ว สักว่ารู้สึก,
สิ่งที่ รู้แจ้งแล้ว สักว่า รู้แจ้ง, ดังนี้แล้ว ;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใด ตัวท่าน ไม่มีเพราะ
เหตุนั้น, เมื่อนั้น ตัวท่าน ก็ไม่มี ในที่นั้น ๆ ;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใด ตัวท่านไม่มี ในที่นั้น ๆ,
เมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มี ในโลกนี้ ไม่มี ในโลกอื่น
ไม่มีใน ระหว่าง โลกทั้งสอง :
นั่นแหละ คือที่สุด แห่ง ความทุกข์ ดังนี้.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ รู้ทั่วถึง เนื้อความ
แห่งภาษิตอัน พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วโดย ย่อนี้ ได้โดยพิสดาร
ดังต่อไปนี้ :-
เห็นรูปแล้ว สติ หลงลืม ทำ ในใจซึ่ง รูปนิมิต ว่า น่ารัก
มี จิต กำหนัด แก่กล้า แล้ว เสวยอารมณ์ นั้นอยู่
ความ สยบ มัวเมาย่อม ครอบงำ บุคคลนั้น.
เวทนาอันเกิด จากรูป เป็น อเนกประการ ย่อมเจริญ แก่ เขานั้น.
อภิชฌา และ วิหิงสา ย่อมเข้าไป กลุ้ม รุมจิต ของเขา.
เมื่อสะสม ทุกข์อยู่ อย่างนี้ ท่าน กล่าวว่า ยังไกล จาก นิพพาน.
(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้
อย่างเดียวกัน).
บุคคลนั้นไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย เห็นรูป
แล้ว มีสติเฉพาะ มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์อยู่ ความ
สยบมัวเมา ย่อมไม่ ครอบงำ บุคคลนั้น.
เมื่อเขาเห็นอยู่ ซึ่งรูปตามที่ เป็นจริง เสวยเวทนา
อยู่ทุกข์ ก็สิ้นไป ๆ ไม่ เพิ่มพูนขึ้น
เขามี สติ ประพฤติ อยู่ด้วย อาการอย่างนี้,
เมื่อ ไม่สะสม ทุกข์อยู่ อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้ ต่อ นิพพาน.
(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้
อย่างเดียวกัน).
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความ
แห่งภาษิตอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดาร
อย่างนี้ พระเจ้าข้า !”
พระผู้มีพระภาค ทรง รับรอง ความข้อนั้น ว่า
เป็น การถูกต้อง. ท่าน มาลุงก๎ยบุตร หลีก ออกสู่ ที่สงัด
กระทำความเพียร ได้เป็น อรหันต์ องค์หนึ่ง ในศาสนานี้.
สฬา.สํ. ๑๘ / ๙๑-๙๕ / ๑๓๒-๑๓๙.