ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย “สุตมยญาณ” อันเป็นเครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับ...  (อ่าน 3221 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


ธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็น “สุตมยญาณ” อย่างไร
     “ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว” คือ...
********************

     เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า....
     ..... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
     .....ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้
     .....ธรรมเหล่านี้ควรละ
     .....ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ
     .....ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง
     .....ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม
     .....ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่
     .....ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ
     .....ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
     .....สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
     .....สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
     .....ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
     .....นี้ทุกขอริยสัจ
     .....นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
     .....นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
     .....นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นสุตมยญาณ [แต่ละอย่าง]
---------------------------------------

  “ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว” คือ.......
      เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า....
     ..... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
*********************************

      ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
      ธรรม ๒ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
      ธรรม ๓ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
      ธรรม ๔ ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
      ธรรม ๕ ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕

      ธรรม ๖ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖
      ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิ
อีกต่อไป] ๗
      ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายี
บุคคลครอบงำไว้] ๘
      ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
      ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือ   นิชชรวัตถุ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิเป็นต้น] ๑๐


********************
ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วย “อาหาร”
************************

     สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วย “อาหาร
      สัตว์ทั้งปวง (สพฺเพ สตฺตา) ได้แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในภพทั้งปวง คือในกามภพเป็นต้น ในสัญญาภพเป็นต้น ในเอกโวการภพเป็นต้น
     ดำรงอยู่ได้ด้วย “อาหาร” (อาหารฏฺฐิติกา) หรือ มีอาหารเป็นที่ตั้ง หมายถึง การดำรงอยู่ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เพราะอาหาร
      “อาหาร” เพราะเป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งปวงเป็นธรรมอันหนึ่ง เป็นธรรมควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เมื่อรู้ปัจจัยแล้ว ก็เป็นอันรู้ปจฺจยุปบนฺ (ธรรมเกิดแต่ปัจจัย) เพราะปัจจัย และธรรมเกิดแต่ปัจจัยทั้ง ๒ นั้น เพ่งความอาศัยกันและกัน

**********************************



     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
  อาหาร ๔ เป็นไฉน
  อาหาร ๔ ได้แก่

     ..... ๑. กวฬีการาหาร (อาหารคือคำข้าวเป็นอาหารหยาบ หรือละเอียด)
     ..... ๒. ผัสสาหาร (อาหารคือ ผัสสะ)
     ..... ๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือเจตนา)
     ..... ๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)
     อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
*******************************

       อาหารของอวิชชา
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี
เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่าก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย …….
     เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของอวิชชา” ควรจะกล่าวว่า “นิวรณ์ ๕

      แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของนิวรณ์ ๕” ควรกล่าวว่า “ทุจริต ๓

      แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของทุจริต ๓” ควรกล่าวว่า “การไม่สำรวมอินทรีย์

      แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์” ควรกล่าวว่า “ความไม่มีสติสัมปชัญญะ

      แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ” ควรกล่าวว่า “การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

      แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย” ควรกล่าวว่า “ความไม่มีศรัทธา

      แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของความไม่มีศรัทธา” ควรกล่าวว่า “การไม่ฟังสัทธรรม

      แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของการไม่ฟังสัทธรรม” ควรกล่าวว่า “การไม่คบสัปบุรุษ

*******************************************

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ ……
      …..การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์       ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
      …..การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์      ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
      …..ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์       ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์
      …..การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์  ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
      …..ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์   ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
      …..การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์       ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
      …..ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์       ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
      …..นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์       ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์

      อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ


มีต่อค่ะ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2014, 04:56:35 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วย อาหาร ๔ (อาหารฏฺฐิติกา) เป็นไฉน...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 05:52:16 pm »



     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ………….
      …..เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขาเมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม      ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม

      …..ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม      ย่อมยังหนองให้เต็ม
      …..หนองที่เต็ม     ย่อมยังบึงให้เต็ม
      …..บึงที่เต็ม     ย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
      …..แม่น้ำน้อยที่เต็ม     ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม
      …..แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม     ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
      …..มหาสมุทรสาครนั้น มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย .........
......การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ
*******************************



“อาหารของวิชชา และ วิมุตติ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของวิชชาและวิมุตติ ” ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗

      แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของโพชฌงค์ ๗” ควรกล่าวว่า “สติปัฏฐาน ๔

      แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของสติปัฏฐาน ๔” ควรกล่าวว่า “สุจริต ๓

      แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของสุจริต ๓” ควรกล่าวว่า “การสำรวมอินทรีย์

      แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของการสำรวมอินทรีย์” ควรกล่าวว่า “สติสัมปชัญญะ

      แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของสติสัมปชัญญะ” ควรกล่าวว่า “การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

      แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย” ควรกล่าวว่า “ศรัทธา

      แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของศรัทธา” ควรกล่าวว่า “การฟังสัทธรรม


      แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของการฟังสัทธรรม” ควรกล่าวว่า “การคบสัปบุรุษ
******************************



     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ ……
     …… การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์       ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
     …… การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์       ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์
     …… ศรัทธาที่บริบูรณ์       ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์
     …… การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์       ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์

     …… สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์       ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
     …… การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์       ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
     …… สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์       ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
     …… สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์       ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์

     …… โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์       ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

      วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ
******************************************



      ดูกรภิกษุทั้งหลาย
     เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
     …… เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม
     …… ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม       ย่อมยังหนองให้เต็ม
     …… หนองที่เต็ม       ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
     …… แม่น้ำน้อยที่เต็ม       ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม
     …… แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม       ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
     …… มหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... ....โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ



-http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=481
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2014, 06:06:04 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “สุตมยญาณ” ว่าด้วยธรรมอันควรรู้ยิ่ง...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 06:58:51 pm »


                 

  “ธรรม ๒ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       ธาตุ ๒
      ธาตุ ๒ (เทฺว ธาตุโย) ได้แก่ สังขตธาตุ และ อสังขตธาตุ
      “ สังขตธาตุ ” ได้แก่ “ขันธ์ ๕” อันปัจจัยเป็นอเนกปรุงแต่งแล้ว
      “ อสังขตธาตุ ” ได้แก่ “พระนิพพาน” อันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้
*********************************

“ธรรม ๓ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       ธาตุ ๓
      “ธาตุ ๓ ” (ติสฺโส ธาตุโย) ได้แก่......
     .....กามธาตุ
     .....รูปธาตุ
     .....อรูปธาตุ


     บรรดาธาตุ ๓ นั้น....กามธาตุเป็นไฉน ?
     ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยกาม
     ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า “กามธาตุ”
     ชั้นต่ำมี “อวีจินรก” เป็นที่สุด ชั้นสูงมี “เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี”เป็นที่สุด
     ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างนี้ นับเนื่องอยู่ในระหว่างนี้
นี้เรียกว่า “กามธาตุ

     บรรดาธาตุ ๓ นั้น....รูปธาตุเป็นไฉน ?
     ในเบื้องต่ำมีพรหมโลกเป็นที่สุด ในเบื้องบนมีอกนิฏฐพรหมโลกเป็นที่สุด
     สภาวธรรมทั้งหลายคือจิต เจตสิก ของบุคคล....
     ......ผู้เข้าสมาบัติก็ดี
     ......ของผู้เกิดแล้วก็ดี
     ......ของผู้อยู่ด้วยสุขวิหารธรรมในปัจจุบันก็ดี
     ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้ นับเนื่องในระหว่างนี้
นี้เรียกว่า “รูปธาตุ

     บรรดาธาตุ ๓ นั้น....อรูปธาตุเป็นไฉน ?
     ในเบื้องต่ำมีอากาสานัญจายตนะพรหมโลกเป็นที่สุด ในเบื้องบนมีเนวสัญญานาสัญายตนะพรหมโลกเป็นที่สุด

     สภาวธรรมทั้งหลายคือจิต เจตสิก ของบุคคล....
     ......ผู้เข้าสมาบัติก็ดี
     ......ของผู้เกิดแล้วก็ดี
     ......ของผู้อยู่ด้วยสุขวิหารธรรมในปัจจุบันก็ดี
     ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้ นับเนื่องในระหว่างนี้
นี้เรียกว่า “อรูปธาตุ
****************************************

      “ธรรม ๔ ”       ควรรู้ยิ่ง คือ       อริยสัจ ๔
      “อริยสัจ ๔” (จตฺตาริ อริยสจฺจานิ) ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ ได้แก่........

     .....ทุกขอริยสัจ
     .....ทุกขสมุทัยอริยสัจ
     .....ทุกขนิโรธอริยสัจ
     .....ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


      “ทุกขอริยสัจ
     ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน ?
     .....ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์ อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็น “ทุกขอริยสัจ” คือ .....
     .....ความเกิดก็เป็นทุกข์
     .....ความแก่ก็เป็นทุกข์
     .....ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์
     .....ความตายก็เป็นทุกข์
     .....ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
     .....ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์
     .....ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
     โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์


      “ทุกขสมุทัยอริยสัจ”
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็น “ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ .....
     ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ประกอบด้วย....
     .....ด้วยความกำหนัด
     .....ด้วยอำนาจความเพลิน
     .....มีปกติเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

     “ทุกขนิโรธอริยสัจ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็น “ทุกขนิโรธอริยสัจ” คือ .....
     .....ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ ด้วยมรรค คือ วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.

      “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็น “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่ ........
     .....สัมมาทิฏฐิ
     .....สัมมาสังกัปปะ
     .....สัมมาวาจา
     .....สัมมากัมมันตะ
     .....สัมมาอาชีวะ
     .....สัมมาวายามะ
     .....สัมมาสติ
     .....สัมมาสมาธิ

*******************************************

      “ ธรรม ๕ ”       ควรรู้ยิ่ง คือ       วิมุตตายตนะ ๕
     “ปญฺจ วิมุตฺตายตนานิ” (วิมุตตายตนะ ๕) ความว่า เหตุแห่งการพ้น ๕ ประการ
     ๑. การสดับธรรมเทสนาที่ผู้อื่นแสดงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน
     ๒. การแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเหล่านั้น
     ๓. การสาธยายธรรมที่ตนได้สดับมาแล้ว
     ๔. การตรึกถึงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้วด้วยใจ
     ๕. อารมณ์อันสมควรแก่กรรมฐาน ๔๐ มีกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ เป็นต้น


-http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=492


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


               

“ธรรม ๖ ”       ควรรู้ยิ่ง คือ       อนุตตริยะ ๖
                 “อนุตริยะ ๖ ”
      “อนุตริยะ” (อนุตฺตริยานิ) หมายถึง ธรรมชาติอันประเสริฐ ภาวะอันเยี่ยม สิ่งที่ยอดเยี่ยม
                    ธรรมชาติอันประเสริฐ “อนุตริยะ ๖ ”.......ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน?
     อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ คือ ...............
     .....ทัสสนานุตตริยะ ๑
     .....สวนานุตตริยะ ๑
     .....ลาภานุตตริยะ ๑
     .....สิกขานุตตริยะ ๑
     .....ปาริจริยานุตตริยะ ๑
     .....อนุสสตานุตตริยะ ๑
*************************

     .......ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ “ทัสสนานุตตริยะ” เป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

     .....ดูกรภิกษุทั้งหลายทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว
     .....เป็นของชาวบ้าน
     .....เป็นของปุถุชน
     .....ไม่ประเสริฐ
     .....ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
     .....ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต
     "การเห็น" นี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย


     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า “ทัสสนานุตตริยะ” ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ
****************************

     .......ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ “สวนานุตตริยะ” เป็นไฉน ?
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้…….
     ..........ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆ
ต่ำๆ
     ..........ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจเลว
 
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
     “การฟัง” นี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย

     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า “สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ” สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
****************************************

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ลาภานุตตริยะเป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้…….
     ..........ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง หรือ
ได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
      การได้” นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย

     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า “ลาภานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
********************************************



มีต่อค่ะ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


                 

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิกขานุตตริยะเป็นไฉน ?
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้…….
     ..........ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษา
ศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ
     ..........ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
     การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
     การศึกษา” นี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย

     .....ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้
เราเรียกว่า "สิกขานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ" สิกขานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

***********************************************

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้…….
     ..........ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ
บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
      การบำรุง” นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย

     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า “ปาริจริยานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
************************************************************

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้…….
     ..........ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
     การระลึกนี้มีอยู่เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว

  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
      การระลึก” นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย

     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า “อนุสสตานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะอนุสสตานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

     ภิกษุเหล่าใด…………
     .....ได้ทัสสนานุตตริยะ
     .....ได้สวนานุตตริยะ
     .....ได้ลาภานุตตริยะ
     .....ยินดีในสิกขานุตตริยะ
     .....ได้ปาริจริยานุตตริยะ
     .....ได้อนุสสตานุตตริยะ

     เข้าไปตั้งการบำรุงเจริญอนุสสติที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญารักษาตน สำรวมในศีล
     ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์ โดยกาลอันควร ฯ


           
      ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิ อีกต่อไป] ๗
      ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายี บุคคลครอบงำไว้] ๘
      ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
      ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือ   นิชชรวัตถุ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิเป็นต้น] ๑๐
- http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=492



ยังมีต่อค่ะ...


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

“ธรรม ๗ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “นิททสวัตถุ”
                          “นิททสวัตถุ”
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “นิททสวัตถุ ๗” ประการนี้
     “นิททสวัตถุ ๗” ประการนี้ เป็นไฉน?

     ..........ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ .........
     ..........๑. เป็นผู้ “มีความพอใจ” อย่างแรงกล้าใน “การสมาทานสิกขา”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการสมาทานสิกขา
     ..........๒. เป็นผู้ “ได้ความยินดี”อย่างแรงกล้าใน “การใคร่ครวญธรรม”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการใคร่ครวญธรรมต่อไป
     ..........๓. เป็นผู้ “ยินดี”อย่างแรงกล้าใน “การกำจัดความอยาก”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการกำจัดความอยากต่อไป

     ..........๔. เป็นผู้ “มีความยินดี”อย่างแรงกล้าใน “การหลีกเร้น”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการหลีกเร้นต่อไป
     ..........๕. เป็นผู้ “มีความพอใจ”อย่างแรงกล้าใน “การเริ่มความเพียร”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการเริ่มความเพียรต่อไป
     ..........๖. เป็นผู้ “มีความพอใจ”อย่างแรงกล้าใน “ความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัว”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัวต่อไป
     ..........๗. เป็นผู้ “มีความพอใจ”อย่างแรงกล้าใน “การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ ต่อไป

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “นิททสวัตถุ ๗” ประการนี้แล
***************************************************

      “นิททสวัตถุ” แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชี่อว่า “นิททัสสะ” แปลว่ามีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี
     เป็นคำที่เดียรถีย์ใช้เรียกนิครณถ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี ถ้าตายลง เมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า “นิททัสสะ” คือ เมื่อมาเกิดอีกจะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี และอาจไม่ถึง ๙ ปี ๑ ปี

     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้คำนี้หมายถึง “พระขีณาสพ ในความหมาย “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียว หรือครู่เดียว โดยมีเงื่อนไขว่าผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประการ ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์ มากน้อยไม่สำคัญ
-------------------------------------------------------

     อ้างอิง.............
     ..........ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ .........
     ..........๑. เป็นผู้ “มีความพอใจ” อย่างแรงกล้าใน “การสมาทานสิกขา”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการสมาทานสิกขา
********************************************
     .....ขยายความ
      “สมาทานสิกขา” หมายถึง การบำเพ็ญ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์และถูกต้อง
      “ไตรสิกขา” สิกขา ๓ คือ ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน ประกอบด้วย
      ……..๑. อธิสีลสิกขา หมายถึง สิกขาคือศีลอันยิ่ง ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง
      ……..๒. อธิจิตตสิกขา หมายถึง สิกขาคือศีลอันยิ่ง ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรม เช่น สมาธิ อย่างสูง
      ……..๓. อธิปัญญาสิกขา หมายถึง สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง
--------------------------------------------------------------

     อ้างอิง.............
     ..........ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ .........
     ..........๑. เป็นผู้ “มีความพอใจ” อย่างแรงกล้าใน “การสมาทานสิกขา”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการสมาทานสิกขา
     ..........๒. เป็นผู้ “ได้ความยินดี”อย่างแรงกล้าใน “การใคร่ครวญธรรม”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการใคร่ครวญธรรม “ต่อไป
********************************************
     .....ขยายความ
      “ได้ความยินดี” หมายถึง ฉันทะ คือ ความพอใจ ความยินดี
      “การใคร่ครวญธรรม (ธมฺมนิสนุติ) ” หมายถึง การเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรม โดยความเป็น สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
     ............ดังนั้น “ธมฺมนิสนุติ” จึงเป็นชื่อของวิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)
      สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา” รวมเรียกว่า “ไตรลักษณ์
      “ต่อไป” หมายถึง กาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดระยะ ไม่ได้หมายถึงภพในอนาคต



      “ไตรลักษณ์” คือ สามัญลักษณะ ลักษณะ 3 ประการ แห่งสังขารธรรมทั้งหลาย พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม หลักทั้งสามนี้ ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงค้นพบและนำมาเปิดเผยแสดงแก่เวไนยสัตว์ ประกอบด้วย

     ๑. อนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง)
     ๒.ทุกขตา (ความเป็นทุกข์)
     ๓.อนัตตตา (ความเป็นของไม่ใช่ตน)


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย...........
เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง
ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา)

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย...........
เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง
ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์”
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” (สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา)

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย...........
เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่าง นั้นเอง
ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” (สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา)
---------------------------------------------------------------------

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ………
     ........จักษุเป็นของไม่เที่ยง
     ........สิ่งใดไม่เที่ยง      สิ่งนั้นเป็นทุกข์
     ........สิ่งใดเป็นทุกข์      สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
     ........สิ่งใดเป็นอนัตตา     สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

           ........นั่นไม่ใช่ของเรา
           ........นั่นไม่เป็นเรา
           ........นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ………
     ........หูเป็นของไม่เที่ยง
     ........สิ่งใดไม่เที่ยง      สิ่งนั้นเป็นทุกข์
     ........สิ่งใดเป็นทุกข์      สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
     ........สิ่งใดเป็นอนัตตา     สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

           ........นั่นไม่ใช่ของเรา
           ........นั่นไม่เป็นเรา
           ........นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ………
     ........จมูกเป็นของไม่เที่ยง
     ........สิ่งใดไม่เที่ยง      สิ่งนั้นเป็นทุกข์
     ........สิ่งใดเป็นทุกข์      สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
     ........สิ่งใดเป็นอนัตตา     สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

           ........นั่นไม่ใช่ของเรา
           ........นั่นไม่เป็นเรา
           ........นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
กรณี ........ลิ้น , กาย , ใจ ทรงตรัสถึง ด้วยข้อความ เดียวกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย.........
     อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ……
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “จักษุ”
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “หู”
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “จมูก”
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “ลิ้น”
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “กาย”
     ………..ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน “ใจ”

     เมื่อ “เบื่อหน่าย”      ย่อม “คลายกำหนัด”
     เพราะ “คลายกำหนัด”      ย่อม “หลุดพ้น”
     เมื่อ “หลุดพ้น” แล้ว      ย่อมมี .......
     ………..ญาณหยั่งรู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว”
     ………..รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว”
     ……….. “พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว”
     ……….. “กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว”
     ………..กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
------------------------------------------------
     อ้างอิง.............
     ..........๓. เป็นผู้ “ยินดี”อย่างแรงกล้าใน “การกำจัดความอยาก”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการกำจัดความอยากต่อไป ฯลฯ
     ..........๖. เป็นผู้ “มีความพอใจ”อย่างแรงกล้าใน “ความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัว”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัวต่อไป
     ..........๗. เป็นผู้ “มีความพอใจ”อย่างแรงกล้าใน “การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ”และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ ต่อไป
********************************************
     .....ขยายความ
      “การกำจัดความอยาก” หมายถึง การกำจัด หรือการข่มตัณหา
      “ความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัว” หมายถึง สติ และ สัมปชัญญะ
      “การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ” (ทิฏฐิปฏิเวเธ) หมายถึง การเห็นแจ้งด้วยสัมมาทิฏฐิ



-http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=500
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2014, 04:54:05 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



    “ธรรม ๘ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “อภิภายตนะ ๘”
                       “อภิภายตนะ ๘” [อารมณ์แห่งญาณอันฌายีบุคคลครอบงำไว้]

     รายละเอียดธรรม ๘ อ่านได้จาก..........
      - http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=504
--------------------------------------------------

(๓๙. อภิญเญยยธรรม–ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
        Knowing the Ultimate Reality with Full Comprehension)
http://www.siripat.com/Annual-Special-Articles-2015/39.%20Knowing-the-Ultimate-Reality-with-Full-Comprehension-2015.asp
*********************************************

      “ธรรม ๙ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “อนุปุพพวิหาร ๙”
      “อนุปุพพวิหาร ๙” [ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันพระโยคีบุคคลพึงเข้าอยู่ตามลำดับ]

     รายละเอียดธรรม ๙ อ่านได้จาก..........
     - http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=515
********************************************************

      “ธรรม ๑๐ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “นิชชรวัตถุ ๑๐”
      “นิชชรวัตถุ ๑๐” [ธรรมเป็นเหตุกำจัดมิจฉาทิฐิเป็นต้น]

                          อ่านรายละเอียดธรรม ๑๐ “นิชชรวัตถุ ๑๐” ได้จาก..........
     - http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=522


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2019, 02:16:55 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



 “อ้างอิง....................................
     ธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็น “สุตมยญาณ” อย่างไร
      “ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว” คือ.......
      เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า....
     ..... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
*****************************************
      ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
      ธรรม ๒ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
      ธรรม ๓ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
      ธรรม ๔ ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
      ธรรม ๕ ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕
      ธรรม ๖ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖
      ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ ๗ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิ
อีกต่อไป]
      ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ ๘ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายี
บุคคลครอบงำไว้]
      ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
      ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือ   นิชชรวัตถุ ๑๐ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิ]

*************************

      “ธรรม ๘ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “อภิภายตนะ ๘”
      “อภิภายตนะ ๘” [อารมณ์แห่งญาณอันฌายีบุคคลครอบงำไว้]

                          “อภิภายตนะ ๘”
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “อภิภายตนะ ๘” ประการนี้
      “อภิภายตนะ ๘” ประการนี้ เป็นไฉน......
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ .........
     ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเล็กน้อยมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๑”

     ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในรูปภายใน     เห็นรูปภายนอกไม่มีประมาณมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๒”

     ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน     เห็นรูปภายนอกเล็กน้อยมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๓”

     ผู้หนึ่ง มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน     เห็นรูปภายนอกไม่มีประมาณมีวรรณะดีและทราม” ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๔”

 ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว
     หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณาสีมีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว แม้ฉันใด”

     ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว” ฉันนั้นเหมือนกัน
     ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๕

ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง
     ดอกกรรณิกาอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง
     หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง แม้ฉันใด”

     ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง” ฉันนั้นเหมือนกัน
     ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๖

ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง
     ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง
     หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง แม้ฉันใด”

     ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง” ฉันนั้นเหมือนกัน
     ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๗”

     ผู้หนึ่ง......... มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว
     ดาวประกายพรึกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว
     หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว แม้ฉันใด”

     ผู้หนึ่ง..........มีความสำคัญ “ในอรูปภายใน
     เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว” ฉันนั้นเหมือนกัน
     ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้ เราเห็น
นี้เป็น “อภิภายตนะ ที่ ๘”

เสริมความ...................
           “อฏฺฐ อภิภายตนานิ - อภิภายตนะ ๘” มีความหมายว่า อายตนะทั้งหลายครอบงำฌานเหล่านั้น
     ฉะนั้น “ฌาน” เหล่านั้น จึงชื่อว่า “อภิภายตนะ”
           คำว่า “อายตนานิ” หมายความว่า ฌานมี “กสิณ” เป็นอารมณ์

           คำว่า “อายตนะ” เพราะอรรถว่า “เป็นที่ตั้งอันยิ่ง”
           คำว่า “อายตนานิ” หมายความว่า ฌานมี “กสิณ” เป็นอารมณ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย......... บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้
           กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นไฉน คือ ...........
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “ปฐวีกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “อาโปกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “เตโชกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “วาโยกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “นีลกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “ปีตกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมชัดซึ่ง “โลหิตกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “โอทาตกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “อากาสกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง “วิญญาณกสิณ” ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้

     กสิณ หมายถึง วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ.........
๑. ภูตกสิณ ๔ (กสิณคือมหาภูตรูป) ได้แก่.......
     .....๑.๑ ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน) กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์
     .....๑.๒ อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ) กสิณที่ใช้น้ำเป็นอารมณ์
     .....๑.๓ เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ) กสิณที่ใช้ไฟเป็นอารมณ์
     .....๑.๔ วาโยกสิณ (กสิณคือลม) กสิณที่ใช้ลมเป็นอารมณ์

๒. วรรณกสิณ ๔ (กสิณคือสี) ได้แก่........
     .....๒.๕ นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว) กสิณที่ใช้สีเขียวเป็นอารมณ์
     .....๒.๖ ปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง) กสิณที่ใช้สีเหลืองเป็นอารมณ์
     .....๒.๗ โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง) กสิณที่ใช้สีแดงเป็นอารมณ์
     .....๒.๘ โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว) กสิณที่ใช้สีขาวเป็นอารมณ์

๓. กสิณอื่นๆ..............
     .....๓.๙ อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า ช่องว่าง) กสิณที่ใช้ความว่างเป็นอารมณ์
     .....๓.๑๐ วิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ) กสิณที่ใช้ความรู้สึกเป็นอารมณ์

**********
ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต "กสิณสูตร" ได้แสดงไว้ ดังข้อความที่ ๘
.
แต่ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้อธิบาย ในหมวดกสินอื่นๆ ดังนี้ค่ะ

ค. กสิณอื่นๆ
           9. อาโลกกสิณ (กสิณคือแสงสว่าง — the Light Kasina)
           10. อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า, ช่องว่าง — the Space Kasina)

      กสิณที่มาในบาลี เช่น องฺ.ทสก. 24/25/48 (A.V. 46) ไม่มีอาโลกกสิณแต่มีวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ -- the Consciousness Kasina) เป็นข้อที่ 10 และอากาสกสิณ เป็นข้อที่ 9


           คำว่า “อายตนะ” เพราะอรรถว่า “เป็นที่ตั้งอันยิ่ง”
     อธิบายว่า ...............
           ก็บุคคลมีญาณอันยิ่ง ผู้มีญาณแกล้วกล้าคิดว่า อันเราพึงเข้าใจในอารมณ์นี้เพราะเหตไร ภาระในการทำจิตให้เป็น “เอกัคคตา” ไม่มีแก่เรา ดังนี้ แล้วครอบงำอารมณ์เหล่านั้นเสีย “เข้าสมาบัติ”

     ยัง “อัปปนา” ให้เกิดขึ้นในอารมณ์นี้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิต
     ฌานที่ให้เกิดขึ้นโดยประการอย่างนี้ ท่านเรียกว่า “อภิภายตนะ”
****************************

      "เอกัคคตา" หมายถึง ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ
     "อัปปนาสมาธิ" หมายถึง สมาธิแน่วแน่ จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน
     สมาธิถึงขั้นอัปปนา คือ ภาวะจิตที่มั่นคงเรียบรื่นสงบสนิทดีที่สุด

      "สมาบัติ" หมายถึง ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง
      สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น

     สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙



ต่อที่       “ธรรม ๙ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       “อนุปุพพวิหาร ๙”
      “อนุปุพพวิหาร ๙” [ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันพระโยคีบุคคลพึงเข้าอยู่ตามลำดับ]
dhammathai.org/kaveedhamma