ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย... อาหาร ๔ อย่าง  (อ่าน 1061 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ว่าด้วย... อาหาร ๔ อย่าง
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2014, 11:14:24 pm »

[๒๔๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่าง เพื่อความดำรงอยู่
ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร ๔ อย่างนั้นคือ ๑. กวฬิงการาหาร หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร ๔. วิญญาณาหาร ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้
แล เพื่อดำรงอยู่แห่งสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้
แสวงหาที่เกิด ฯ

[๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กวฬิงการาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร ภิกษุ
ทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ภรรยาสามี ๒ คน ถือเอาเสบียงเดินทางเล็กน้อย แล้ว
ออกเดินไปสู่ทางกันดาร เขาทั้งสองมีบุตรน้อยๆ น่ารักน่าพอใจอยู่คนหนึ่ง เมื่อ
ขณะทั้งสองคนกำลังเดินไปในทางกันดารอยู่ เสบียงเดินทางที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย
นั้นได้หมดสิ้นไป แต่ทางกันดารนั้นยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองยังข้ามพ้นไปไม่ได้
ครั้งนั้น เขาทั้งสองคนคิดตกลงกันอย่างนี้ว่า เสบียงเดินทางของเราทั้งสองอันใด

แลมีอยู่เล็กน้อย เสบียงเดินทางอันนั้นก็ได้หมดสิ้นไปแล้ว แต่ทางกันดารนี้ยัง
เหลืออยู่ เรายังข้ามพ้นไปไม่ได้ อย่ากระนั้นเลย เราสองคนมาช่วยกันฆ่าบุตร
น้อยๆ คนเดียว ผู้น่ารัก น่าพอใจคนนี้เสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง เมื่อได้
บริโภคเนื้อบุตร จะได้พากันเดินข้ามพ้นทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น ถ้าไม่เช่นนั้น
เราทั้งสามคนต้องพากันพินาศหมดแน่ ครั้งนั้น ภรรยาสามีทั้งสองคนนั้น ก็ฆ่าบุตร
น้อยๆ คนเดียวผู้น่ารัก น่าพอใจนั้นเสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็ม และเนื้อย่าง เมื่อ

บริโภคเนื้อบุตรเสร็จ ก็พากันเดินข้ามทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น เขาทั้งสองคน
รับประทานเนื้อบุตรพลาง ค่อนอกพลางรำพันว่า ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของ
ฉันไปไหนเสีย ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉันไปไหนเสีย ดังนี้ เธอทั้งหลาย
จะเข้าใจความข้อนั้นเป็นอย่างไร คือว่าเขาได้บริโภคเนื้อบุตรที่เป็นอาหารเพื่อความ
คะนองหรือเพื่อความมัวเมา หรือเพื่อความตบแต่ง หรือเพื่อความประดับประดา
ร่างกายใช่ไหม ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า จึงตรัสต่อไปว่า ถ้า

เช่นนั้น เขาพากันรับประทานเนื้อบุตรเป็นอาหารเพียงเพื่อข้ามพ้นทางกันดารใช่
ไหม ใช่ พระเจ้าข้า พระองค์จึงตรัสว่า ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่า บุคคลควรเห็น
กวฬิงการาหารว่า [เปรียบด้วยเนื้อบุตร] ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่ออริยสาวก
กำหนดรู้กวฬิงการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ความยินดีซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณ
เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ความยินดีซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณได้แล้ว สังโยชน์อันเป็น
เครื่องชักนำอริยสาวกให้มาสู่โลกนี้อีกก็ไม่มี ฯ
******************

พระสูตรนี้เป็นการสอน ถึงการกินอาหาร ที่ปราศจากด้วยกามคุณห้า
นั้นหมายความว่า ไม่ได้กินเพราะรสอร่อย กลิ่นหอม พูดง่ายๆว่าเป็นการกินที่ปราศจากตัณหา
กินด้วยความคิดว่า การให้ได้มาแห่งอาหารนั้นจะเป็นคุณหรือเป็นโทษ พิจารณาว่าสิ่งใด
ก่อเกิดประโยชน์มากที่สุดก็เลือกทำสิ่งนั้น
------------------------------------------------


[๗๕๑] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารผ่อนลง
วันละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้างเถิด. เราจึงกินอาหารผ่อนลงทีละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อ
ถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. เมื่อเรากินอาหารผ่อน
ลงทีละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง

เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายก็ถึงความซูบผอมลงเหลือเกิน. เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั้นเอง
อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเป็นเหมือนเถาวัลย์มีข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อดำ ฉะนั้น. ตะโพกของ
เราเป็นเหมือนดังเท้าอูฐ กระดูกสันหลังของเราผุดระกะ เปรียบเหมือนเถาวัลย์ชื่อวัฏฏนาวฬี
ฉะนั้น. ซี่โครงของเราขึ้นนูนเป็นร่องดังกลอนศาลาเก่ามีเครื่องมุงอันหล่นโทรมอยู่ฉะนั้น. ดวงตา
ของเราถล่มลึกเข้าไปในเบ้าตา ปรากฏเหมือนดวงดาวในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น. ผิวศีรษะของเรา

ที่รับสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ราวกับผลน้ำเต้าที่เขาตัดมาแต่ยังสด ถูกลมและแดดแผดเผา ก็เหี่ยว
แห้งไปฉะนั้น. เราคิดว่าจักลูบผิวหนังท้อง ก็จับถูกกระดูกสันหลังด้วย คิดว่าจักลูบกระดูก
สันหลัง ก็จับถูกผิวหนังท้องด้วย ผิวหนังท้องของเรากับกระดูกสันหลังติดถึงกัน. เรานั้นคิดว่า
จักถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็เซซวนล้มลง ณ ที่นั้นเอง. เรานั้นเมื่อจะให้กายนี้แลสบาย จึง
เอาฝ่ามือลูบตัว เมื่อเราเอาฝ่ามือลูบตัว ขนอันมีรากเน่าก็ร่วงตกจากกาย. มนุษย์ทั้งหลายเห็น

เราแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมดำไป. บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม
ไม่ดำเป็นแต่คล้ำไป. บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า จะว่าพระสมณโคดมดำไปก็ไม่ใช่ จะว่าคล้ำไปก็
ไม่ใช่ เป็นแต่พร้อยไป. ดูกรภารทวาชะ ผิวพรรณอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของเรา ถูกกำจัดเสียแล้ว
เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง."
********************************

....เอาการกินหรือไม่กินของพระโพธิสัตว์ ไปเทียบกับสองคนผัวเมียที่ฆ่าลูกตัวเอง
เพื่อเอามาทำเป็นอาหารระหว่างเดินทาง
....กับพระโพธิสัตว์ที่เลือกจะอดหาร ซึ่งต่างฝ่ายก็มุ่งหวังให้การกระทำของตน
สู่ความสำเร็จ
....อยากให้พิจารณาดูว่า อย่างไรเป็นสัมมาทิฐิและอย่างไรเป็นมิจฉาทิฐิ
---------------------------------------

เรื่องที่พระองค์ทำทุกขกิริยา เป็นเพราะพระองค์เอาอุปมาสามข้อของพระองค์เป็นที่ตั้ง
แล้วเข้าใจผิดว่า จะละกามได้ต้องปฏิเสธความสุข จึงพยายามทำทุกขกิริยา
..
..
เหตุที่ทำให้พระโพธิสัตว์ ทรงทำทุกขกิริยา เป็นเพราะพระองค์พิจารณาเอาจากอุปมา๓ข้อ
ที่พระองค์ทรงรู้มา
การพิจารณาอุปมา๓ข้อของพระองค์ พระองค์รรำลึกเอาว่า .....
ความสุขคือกาม

นี่เป็นการเข้าใจของพระโพธิสัตว์ ก็ด้วยการเข้าใจผิด(มิจฉาทิฐิ)
พระองค์จึงปฏิบัติทุกข์กิริยา.....
และอุปมา๓ข้อที่พระโพธิสัตว์พิจารณาก็คือ........................
----------------------------------------------------------


[๔๙๒] ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้น อุปมาสามข้ออันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่ได้เคยฟังมาในกาลก่อน
มาปรากฏแก่อาตมภาพ.
๑. เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักถือเอา
ไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้. ดูกรราชกุมาร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความ
ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้
ปรากฏได้บ้างหรือ?
โพธิราชกุมารทูลว่า ข้อนี้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้ยังสด
ชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ บุรุษนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบากกายเปล่า.

ดูกรราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งก็ฉันนั้น มีกาย
ยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม ยังกระหาย
ในกาม ยังมีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน.
ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี
ถึงจะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น
เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรราชกุมาร อุปมาข้อที่หนึ่งนี้แล อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ.

[๔๙๓] ดูกรราชกุมาร อุปมาข้อที่สอง อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน
มาปรากฏแก่อาตมภาพ. เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วย
หวังว่า จะเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ. ดูกรราชกุมาร พระองค์จะเข้าพระทัย
ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่บนบกไกลน้ำมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด
พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือ?
ข้อนี้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นยังสดชุ่มด้วยยาง แม้จะตั้ง
อยู่บนบกไกลน้ำ บุรุษนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบากกายเปล่า.

ดูกรราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายหลีกออกจาก
กาม แต่ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม มีความกระหายในกาม
มีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน. ท่านสมณ-
*พราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงแม้
จะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น
เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรราชกุมาร อุปมาข้อที่สองนี้ อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ.

[๔๙๔] ดูกรราชกุมาร อุปมาข้อที่สาม อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน
มาปรากฏแก่อาตมภาพ เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วย
หวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้ไฟเกิด จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้. ดูกรราชกุมาร พระองค์จะเข้า
พระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำนั้นมาสีไฟ พึงให้ไฟ
เกิด พึงทำให้ไฟปรากฏได้บ้างหรือ?
อย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นแห้งเกราะ และทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ.

ดูกรราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ฉันนั้นแล มีกาย
หลีกออกจากกามแล้ว ไม่มีความพอใจในกาม ไม่เสน่หาในกาม ไม่หลงอยู่ในกาม ไม่ระหาย
ในกาม ไม่เร่าร้อนเพราะกาม ละได้ด้วยดี ให้สงบระงับด้วยดีในภายใน ท่านสมณพราหมณ์
เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงจะไม่ได้
เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญา
เครื่องตรัสรู้ อันไม่มีกรรมอื่นยิ่งกว่าได้. ดูกรราชกุมาร อุปมาข้อที่สามนี้อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้
ฟังมาในกาลก่อนนี้แล มาปรากฏแก่อาตมภาพ. ดูกรราชกุมาร อุปมาสามข้ออันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่
เคยได้ฟังมาในกาลก่อนเหล่านี้แล มาปรากฏแก่อาตมภาพ.
http://www.84000.org/tipitaka/read/?13/492-494
******************************************

อุปมาทั้งสามเป็นข้อเปรียบเทียบกัน ระหว่างความสุขและความทุกข์
ซึ่งพระโพธิสัตว์เข้าใจไปว่า ความสุขความสบายเป็นกามควรหลีกหนี
และยังเข้าใจอีกว่า การปฏิบัติเพื่อความทุกข์ทรมาณเป็นการหลีกหนีกามได้
--------------------------------------------
หลังจากที่พระโพธิสัตว์ ทรงทำทุกขกิริยา มาหลายวิธีก็ยังไม่บรรลุมรรคผล
พระโพธิสัตว์จึงทรงหันกับมาเสวยอาหารตามเดิม........

ก่อนที่จะล้มเลิกการทำทุกขกิริยา ทรงดำริดังนี้................
------------------------------------------------------------------


[๕๐๔] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียง
เท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักได้เสวยทุกขเวทนา
อันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จักไม่ยิ่งไปกว่านี้. สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ได้เสวยอยู่ซึ่งทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร
อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จะไม่ยิ่งไปกว่านี้. แต่เราก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณ-
*ทัสสนวิเสส (ความรู้ความเห็นของพระอริยะอันวิเศษอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์) ด้วย
ทุกกรกิริยาที่เผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางเพื่อรู้อย่างอื่นกระมังหนอ.
http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=0

สรุปใจความสั้นๆว่า วิธีที่พระองค์กระทำอยู่นั้น เหล่าพราหมณ์ก็ทำกันอยู่
แต่ก็ไม่เห็นว่า พราหมณ์จะบรรลุมรรคผลแห่งการพ้นทุกข์ และคิดว่าจะต้องมีหนทางอื่น
นอกเหนือจากนี้


[47259.พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องอาหารไว้อย่างไร]
:http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47259