ผู้เขียน หัวข้อ: “เสมาสลัก” อีกหนึ่งเอกลักษณ์แห่งยุคทวารวดี  (อ่าน 1291 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
“เสมาสลัก” อีกหนึ่งเอกลักษณ์แห่งยุคทวารวดี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 พฤษภาคม 2556 14:12 น.    
-http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000053777-



ใบเสมาจำลองลวดลาย “พิมพาพิลาป”

       “ทวารวดี” คือชื่อของอาณาจักรและยุคสมัยหนึ่งในเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์ไทย โดยมีบันทึกระบุไว้ว่าอาณาทวารวดีนี้มีความเจริญรุ่งเรื่องตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 -18 และหลังจากนั้นจึงก้าวเข้าสู้ยุคสมัยของสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตามลำดับ ยุคสมัยที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นมีพื้นที่ตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทย(สยาม)ปัจจุบัน
       
       ซึ่งปัจจุบันแต่ละยุคสมัยนั้นได้มีโบราณสถานและโบราณวัตถุทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์แก่คนรุ่นหลังให้ได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของประวัติศาสตร์ในอดีต โดยโบราณสถานของแต่ละยุคนั้นจะแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ในศิลปะในการก่อสร้างที่โดดเด่นแตกต่างกันออกไป


คุณพิมพ์นารา กิจโชติประเสริฐ อธิบายความเป็นมาของใบเสมา

       “ศิลปะทวารวดี” จัดเป็นศิลปกรรมต้นอารยะธรรมสมัยประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการในด้านโบราณสถานและโบราณวัตถุนั้น ล้วนสร้างขึ้นโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานและศาสนาฮินดูรวมอยู่ด้วยกัน อิทธิพลของศิลปะทวารวดีได้แพร่ขยายไปยังภูมิภาคต่างๆทั้งภาคกลางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงอาจกล่าวได้ว่าศิลปะทวารวดี คือ “ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในสยามประเทศ”


อาคารจัดเก็บใบเสมาสลัก ” วัดโพธิ์ชัยเสมาราม”

       คุณพิมพ์นารา กิจโชติประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 กล่าวให้ความรู้ว่า “เชื่อกันว่าศิลปกรรมพพุทธและฮินดูได้มีอิทธิพลต่องานศิลปกรรมในดินแดนประเทศไทยมานานตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูต 9 สาย ออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั่วประเทศและนอกประเทศอินเดีย และสมณทูตสายที่ 8 คือพระอุตตรเถระและพระโสณเถระผู้เดินทางมายังดินแดนชื่อสุวรรณภูมินั้น สันนิษฐานกันว่าน่าจะหมายถึงดินแดนในประเทศไทยปัจจุบัน อันมีภาคกลางเป็นศูนย์กลางโดยเฉพาะที่เมืองนครปฐมซึ่งถือได้ว่าเป็นราชธานีของอาณาจักรทวารวดี และยังเชื่อกันว่าเจดีย์เดิมองค์ในที่องค์พระปฐมเจดีย์สร้างครอบทับไว้ น่าจะเป็นเจดีย์ที่สร้างขี้นในสมัยนั้น”


“พระธาตุยาคู” แห่งเมืองฟ้าแดดสงยาง

       โบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังเหลือให้เห็นและเป็นเอกลักษณ์นั้นก็คือ ”ใบเสมา” ที่มีจุดเริ่มมาตั้งแต่ยุคสมัยทวารวดี “ใบสีมา” หรือ ”ใบเสมา” นั้นหมายถึงเขตสงฆ์ แต่เดิมครั้งพุทธกาลเขตสีมาเป็นที่กำหนดเพื่อแสดงเขตวัดหรืออารามคล้ายกำแพงวัด “ใบเสมา” แห่งยุคทวาราวดีนั้นมีความแตกต่างจากยุคสมัยใดๆตรงที่ได้สลักภาพพุทธประวัติ ภาพทศชาติชาดกหรือเรื่องราวต่างๆในพระพุทธศาสนา ลงบนใบเสมาจึงเกิดเป็นความงดงามที่ยังคงเห็นในปัจจุบัน
       
       โดยส่วนมากใบเสมาสลักนั้นจะพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่บ้านกุดโง้ง จังหวัดชัยภูมิ เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะที่ ”เมืองฟ้าแดดสงยาง” นั้นยังสามารถพบเห็นใบเสมาหินทรายสลักที่ตั้งเรียงรายให้ได้ชมอยู่มากมาย


ใบเสมาที่ไม่ได้สลัก” ถูกเรียงรายตามทางเดินวัดโพธิ์ชัยเสามาราม ไว้ให้

       ใบเสมาหินทรายสลักเหล่านั้นเก็บรักษาไว้ให้ชมที่ "วัดโพธิ์ชัยเสามาราม" หรือ "วัดบ้านก้อม" โดยใบเสมาที่มีการแกะสลักลายจะจัดเก็บไว้ในอาคาร ส่วนที่ไม่ได้แกะสลักจะปักเรียงรายไว้ตามสนามหน้าวัด ถือเป็นเอกลักษณ์ศิลปะสมัยทวารวดีในเขตภาคอีสานเนื่องจากแทบจะไม่พบในภาคอื่นเลย
       
       สำหรับใบเสมาหินทรายสลักที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดนั้นคือ ใบเสมาสลักภาพพุทธประวัติเรื่องราวเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากกรุงกบิลพัสดุ์ และนางยโสธราพิมพาขอเข้าเฝ้าโดยแสดงการสักการะขั้นสูงโดยสยายพระเกศาเช็ดพระบาท เสมาใบนี้จึงได้ชื่อว่า “พิมพาพิลาป” ซึ่งใบเสมาของจริงนั้นจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติคอนแก่น ซึ่งที่วัดโพธิ์ชัยแห่งนี้ก็ได้มีการจำลองใบเสมาดังกล่าวไว้ให้ได้ชมด้วย และอีกหนึ่งความงดงามของเสมาสลักคือ เสมาสลักรูปเทวดาเหาะเหนือปราสาท ชั้นล่างมีรูปกษัตริย์ มเหสีและโอรส ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองอีสานสมัยทวารวดี เสมาใบนี้ได้นำมาจากเมืองฟ้าแดดสงยางนำมาตั้งไว้ที่หน้าพระอุโบสถวัดศรีบุญเรือง จังหวัดกาฬสินธุ์


ใบเสมาสลักรูปเทวดาเหาะเหนือปราสาท” วัดศรีบุญเรือง"

       นอกจากใบเสมาสลักแล้ว ยังมีโบราณสถานศิลปะทวารวดีที่โดดเด่นอีก นั่นก็คือ ”พระธาตุยาคู” ซึ่งเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์ทั้ง 14 องค์ ที่พบในเมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นศิลปะสมัยทวารวดี ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ไม่สอปูน นับเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพสมบูรณ์แม้กาลเวลาจะล่วงเลยมานานหลายศตวรรษ
       
       จะเห็นได้ว่าในแต่ละยุคสมัยมีเอกลักษณ์ในศิลปะที่สร้างสรรค์ออกมาได้อย่างงดงาม แม้กาลเวลาจะผ่านมานาน ความงดงามเหล่านี้ก็ไม่ได้หายไปไหน หากเพียงเราได้มีจิตสำนึกอนุรักษ์และปกป้องไว้ เหล่าลูกหลานรุ่นหลังของเราก็สามารถเชยชมมรดกล้ำค่านี้ได้ตราบนานเท่านาน
       
       ****************************************************
       
       เมืองฟ้าแดดสงยางและวัดโพธิ์ชัยเสมาราม ตั้งอยู่ที่ บ้านเสมา(บ้านก้อม) ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนวัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
       
       สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร โทร.0-2222-0934, 0-2224-3050
       
     
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000053777

****************************************************
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)