ผู้เขียน หัวข้อ: อาชญากรรม ศาสนาและการเมือง ที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้  (อ่าน 13052 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
โจรใต้ลอบวางระเบิดสะพานรือเสาะ นราธิวาส ทหารเจ็บ 3


-http://hilight.kapook.com/view/112625-



ป่วนนราฯ!โจรใต้บึ้มสะพานรือเสาะทหารลาดตระเวนเจ็บ3 (ไอเอ็นเอ็น)
 
              โจรใต้ลอบวางระเบิดสะพานใน อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ทหารบาดเจ็บ 3 นาย นำส่งโรงพยาบาลแล้ว ขณะเจ้าหน้าที่รุดตรวจสอบแล้ว
 
              เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดแสวงเครื่องบริเวณรอยต่อสะพานบ้านดาระ หมู่ที่ 6 ต.เรือง เบื้องต้นทำให้เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บจำนวน 3 นาย ล่าสุดถูกนำส่งรักษาที่โรงพยาบาลรือเสาะ กองกำลังผสม อ.รือเสาะ เดินทางเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ
 
              วันนี้ (10 ธันวาคม 2557) เกิดเหตุ คนร้ายลอบวางระเบิดแสวงเครื่องบริเวณรอยต่อสะพานบ้านดาระ หมู่ที่ 6 ต.เรือง เบื้องต้นทำให้เจ้าหน้าที่ทหาร สังกัดร้อย ร.15132 ฉก.นราธิวาส 30  ได้รับบาดเจ็บจำนวน 3 นาย ล่าสุดถูกนำส่งรักษาที่โรงพยาบาลรือเสาะ กองกำลังผสม อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
 
              ต่อมา ร.ต.ท.มารุต นิลโกสีย์ พนักงานสอบสวน สภ.รือเสาะ จ.นราธิวาส พร้อมด้วย พ.ต.อ.สมปราชญ์ กรรณกานนท์ ผกก.สภ.รือเสาะ พ.ท.เอกพล เลขนอก ผบ.ฉก.นราธิวาส 30 ร.ต.ท.พลวัฒน์ เทพษร รองสารวัตรชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด นปพ.จว.นราธิวาส กองวิทยาการ ภ.จว.นราธิวาส กำลังตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครองจำนวนหนึ่ง เดินทางเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ บริเวณรอยต่อสะพาน บ.ดาระ ม.6 และ บ.สุเป๊ะ ม.2 ต.เรียง อ.รือเสาะ พบบริเวณริมถนนมีรถ จยย.ล้มตะแคงอยู่จำนวน 2 คัน หลุมระเบิดลึกประมาณ 80 เซนติเมตร กว้างประมาณ 70 เซนติเมตร พร้อมเศษซากของชิ้นส่วนระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบไว้ในกล่องเหล็ก หนักประมาณ 5 กิโลกรัม ตกกระจายเกลื่อน

              ส่วนทหารผู้บาดเจ็บทราบชื่อคือ

              1. ร.ต.อุดร ชนะเสน ผบ.หมวด ร้อย ร.15132 ถูกสะเก็ดที่แขนซ้าย

              2. ส.ท.นิอาเรฟ นิหลง ถูกสะเก็ดที่คาง มีอาการแน่นหน้าอกและหูอื้อ

              3. พลทหารอาดาลี บิลังโหลด อาการแน่นหน้าอกและหูอื้อ
 
              สอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ ร.ต.อุดร ผบ.หมวด นำกำลังรวม 4 นาย ขับขี่รถ จยย. 2 คัน เพื่อออกตรวจสอบพื้นที่ เมื่อถึงที่เกิดเหตุ คนร้ายซึ่งแฝงตัวอยู่ในป่ารกทึบได้จุดชนวนระเบิดแสวงเครื่องที่ลอบวางไว้แบบเร่งด่วน ทำให้ทหาร 3 นาย ได้รับบาดเจ็บดังกล่าว เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ของผู้ไม่หวังดีในพื้นที่

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ระเบิดยะลาอีกรอบ 2 จุด กลางเขตเทศบาล เพลิงโหมร้านเฟอร์นิเจอร์

-http://hilight.kapook.com/view/120470-


ระเบิดยะลาอีกแล้ว ครั้งนี้ลอบวางบึ้มร้านเฟอร์นิเจอร์ กลางเขตเทศบาล เพลิงโหมหนัก คุมเพลิงได้แล้ว ขณะที่ยังเกิดบึ้มอีกจุดหลังห้องน้ำทางไปตลาดเมืองใหม่

            เมื่อเวลาประมาณ 07.00 น. วันนี้ (16 พฤษภาคม 2558) มีรายงานจาก ThaiPBS‬ ว่า เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดร้านราชาเฟอร์นิเจอร์ ในเขตเทศบาลนครยะลา จ.ยะลา ทำให้เกิดเพลิงไหม้อย่างหนัก

            โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้พยายามเข้าควบคุมเพลิงแล้ว ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้เข้าไปตรวจสอบเหตุ พร้อมปิดกั้นสถานที่เกิดเหตุ โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเพลิงเอาไว้ได้แล้ว ตรวจสอบพบว่ามีบ้านเรือนร้านค้าได้รับความเสียหายจำนวน 5 หลัง กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบในที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจพิสูจน์หลักฐานยะลา ส่วนสาเหตุเชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ในพื้นที่

            อย่างไรก็ตาม นอกจากเหตุระเบิดที่ร้านเฟอร์นิเจอร์ดังกล่าวแล้ว ยังเกิดเหตุขึ้นอีกจุดที่บริเวณหลังห้องน้ำ ทางไปตลาดเมืองใหม่ เขตเทศบาลนครยะลา เบื้องต้นไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

            จากการสอบสวนทราบว่า คนร้ายได้นำระเบิดแสวงเครื่องไปวางไว้ด้านหลังห้องน้ำชาย และเกิดระเบิดขึ้น



ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thai PBS News

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
โซเชียลพลิกข้อมูล…ประวัติศาสตร์ชาวโรฮินจา (โรฮิงยา) ทำไมอยู่พม่าไม่ได้ อองซานซูจีว่ายังไง?

-http://chaoprayanews.com/blog/socialtalk/2015/05/16/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A5/-





Kannikar Jinadit added 2 new photos.

ประวัติศาสตร์ชาวโรฮินจา (โรฮิงยา) ทำไมอยู่พม่าไม่ได้ <<< คนโลกสวย คนใจดีควรอ่าน

ชาวโรฮินจา คือมุสลิมที่อาศัยอยุ่ทางตอนเหนือของยะไข่ (อาระกัน) ได้เข้ามาอยู่อาศัยในอาระกันตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 แต่จำนวนไม่สามารถระบุได้แน่ชัด หลังจากสงคราม Anglo-Burmese ในปี 1826 อังกฤษ เข้าปกครองอาระกัน และอพยพผู้คนจากเบงกอลเข้ามาใช้แรงงาน จำนวนประชากรของมุสลิมคิดเป็น 5% ของชาวอาระกันในขณะนั้น (1869) แต่หลังจากนั้นไม่นาน จำนวนประชากรโรฮิงยาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บันทึกตามสัมโนประชากรของอังกฤษระหว่างปี 1872 และ 1991 ได้ระบุว่าจะนวนประชากรมุสลิมในยะไข่ เพิ่มขึ้นจาก 58,255 คนเป็น 178,646 คน

“…ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดความรุนแรงระหว่างกองกำลังมุสลิม ที่อังกฤษติดอาวุธให้ กับกองกำลังชาวยะไข่พื้นเมือง ทำให้ความขัดแย้งเพิ่มสูงขึ้น ในปี 1982 นายพลเนวินได้ทำรัฐประหารสำเร็จ และปฏิเสธความเป็นพลเมืองพม่าของชาวโรฮินจา…”

“….อังกฤษได้มอบอาวุธให้กับมุสลิมโรฮินจาทางตอนเหนือของอาระกัน เพื่อสร้างแนวป้องกันการบุกของกองทัพญี่ปุ่น ในขณะที่ตัวเองกำลังหนีตาย แต่ชาวมุสลิมกลับใช้อาวุธนั้นเข้าทำลายหมู่บ้านของชาวอาระกัน แทนที่จะนำไปต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น…”

“…เพื่อเตรียมการบุกกลับเข้าสู่พม่า อังกฤษได้จัดตั้งกองกำลังทหารอาสา (V-Force) กับชาวโรฮินจา ในช่วงสามปีที่อังกฤษสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น กองกำลังโรฮินจามุ่งโจมตีชุมชนชาวอาระกัน ใช้อาวุธที่ได้รับจากอังกฤษ เข้าทำลายวัดพุทธ โบสถ์วิหาร เจดีย์ และบ้านเรือนชาวอาระกันอย่างโหดเหี้ยม…”

“…ผู้อาวุโสของโรฮินจา ได้ก่อตั้งกลุ่มนักรบมูจาฮีดีน เพื่อดำเนินการจีฮัดในพื้นที่ตอนเหนือของอาระกันในปี 1947 เป้าหมายของกลุ่มมูจาฮีดีน คือการสร้างรัฐอิสลามอิสระขึ้นในอาระกัน ในช่วงปี 1950s พวกเขาเริ่มใช้คำเรียกตัวเองว่า “โรฮินจา” เพื่อสร้างอัตลักษณ์สำหรับอ้างสิทธิ์เหนือดินแดน ขบวนการของพวกเขามีความก้าวหน้ามากในช่วงก่อนปี 1962 ที่จะมีการปฏิวัติโดยนายพลเนวิน เนวินได้ใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อต้านโรฮินจาตลอดสองทศวรรต ส่งผลให้มุสลิมในพื้นที่ต้องหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังคลาเทศในฐานะผู้ลี้ภัยสงคราม…”

“…ตั้งแต่ปี 1990 ความเคลื่อนไหวของโรฮินจาแตกต่างจากในยุค 1950 ที่ใช้กองกำลังติดอาวุธก่อกบฏ การดำเนินการในยุคใหม่มุ่งเน้นการล็อบบี้ต่างชาติ โดยชาวโรฮินจาที่หลบหนีออกมาได้ มีการสร้างเรื่องชนพื้นเมืองโรฮินจา โดยนักวิชาการโรฮินจา และเผยแพร่คำว่า “โรฮินจา” และใช้นักการเมืองปฏิเสธถิ่นกำเนิดในเบงกาลี นักวิชาการโฮินจาอ้างว่า ยะไข่เคยเป็นรัฐอิสลามมานับพันปี หรือมีกษัตริย์มุสลิมปกครองยะไข่เป็นเวลา 350 ปี สมาชิกสภาชาวโรฮินจายังเคยกล่าวว่า “โรฮินจาอยู่ฮาศัยในยะไข่มาตั้งแต่ยุคที่พระเจ้าสร้างโลก อาระกันเป็นของเรา และมันเคยตกเป็นดินแดนของอินเดียมา 1,000 ปี” พวกเขามักจะย้อยรอยถิ่นกำเนิดของโรฮินจาไปถึงนักเดินเรือชาวอาหรับ แต่การกล่าวอ้างนี้ถูกปฏิเสธในวงวิชาการว่าเป็น “นิทานที่แต่งขึ้นใหม่” นักการเมืองโรฮินจาบางคนใช้วิธีการตราหน้านักประวัติศาสตร์นานาชาติว่า เข้าข้างชาวยะไข่ เพื่อปฏิเสธประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานอ้างอิง แม้กระนั้น เรื่องนี้ก็แพร่กระจายไปในวงกว้างหลังการจลาจลในปี 2012…”



ที่มา
http://en.wikipedia.org/wiki/Rohingya_people
http://pantip.com/topic/33636917



A Mujahideen leader surrendered arm to Brigadier Aung Gyi as part of the government’s peace process in Buthidaung, Arakan, on 4 July 1961



http://en.wikipedia.org/wiki/Rohingya_people
หลายเสียงบอกว่า “ซูจี” เรตติ้งตก เหตุอ้ำอึ้ง.. อ้ำอึ้ง กรณีโรฮิงญา

หลายเสียงบอกว่า “ซูจี” เรตติ้งตก เหตุอ้ำอึ้ง.. อ้ำอึ้ง กรณีโรฮิงญา
นางอองซานซูจี ปรากฏตัวที่ศูนย์กลางผู้สื่อข่าวแห่งชาติในกรุงโตเกียว วันที่ 16 เม.ย.2556 กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนเริ่มไม่พอใจท่าทีของผู้นำฝ่ายค้านพม่า ที่ไม่แสดงความชัดเจนต่อเหตุจลาจล 3 ระลอกใหญ่ทั้งเมื่อปีที่แล้วและในปีนี้ ขณะที่อดีตนักโทษการเมืองและบรรดา สส.ได้ออกประณามการใช้ความรุนแรงและการสังหารชาวมุสลิมโรฮิงญา ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าผู้นำพรรค NLD จำต้องสงวนท่าทีเพื่อมิให้ชาวพุทธที่เป็นคะแนนเสียงส่วนใหญ่ตีตนออกห่าง สำหรับการเลือกตั้งในอีก 2 ปีข้างหน้า. — AFP Photo/Kenichiro Seki/POOL.

กรุงเทพฯ 21 เม.ย.56 (เอเอฟพี) – การปฏิเสธที่จะประณามการโจมตีชาวมุสลิมในพม่า ได้ทำให้ความนิยมในตัวเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นางอองซานซูจี ในหมู่นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนลดลง แต่ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า การสงวนท่าทีดังกล่าวจะไม่ทำให้เธอเสียคะแนนนิยมในหมู่ผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

การจลาจลที่เกี่ยวกับศาสนาเป็นเวลาเกือบเดือนในตอนกลางของพม่า ทำให้มีผู้ถูกสังหารไป 43 คน บรรดาอดีตนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัว รวมทั้งเหล่าสมาชิกรัฐสภาต่างออกแสดงความเห็นใจชาวมุสลิมที่ตกเป็นเป้าหมายของความรุนแรง ซึ่งสุเหร่ากับบ้านเรือนของพวกเขาถูกเผา

แต่นางซูจีไม่ได้แสดงกล่าวประณามอย่างชัดเจน ต่อการจู่โจมชาวมุสลิมซึ่งคิดเป็นประมาณ 4% ของประชากรทั้งหมด หรือไม่ได้ประณามวาจาที่สร้างความเกลียดชังของพระสงฆ์หัวรุนแรงจำนวนหนึ่ง

ในทางกลับกัน เมือปี 2555 เมื่อเกิดคลื่นความรุนแรงขึ้น 2 รอบระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงญากับพระสงฆ์ชนชาติส่วนน้อยชาวระไค (Rakhine) ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คนในภาคตะวันตกของประเทศ ผู้นำของฝ่ายค้านเพียงแต่กล่าวอ้อมๆ เรียกร้องให้ทุกฝ่าย “เคารพกฎหมาย”

“พวกเขาไม่ได้เป็นพลเมืองของที่ใด และคุณเพียงแต่เสียใจต่อพวกเขาที่พวกเขาเกิดมารู้สึกว่าไม่ได้เป็นพลเมืองประเทศของเราเช่นกัน” นางซูจีกล่าวถึงชาวมุสลิม โรฮิงญา ในพม่าระหว่างเยือนญี่ปุ่นสัปดาห์ที่แล้ว

แต่นางซูจีซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2534 และถูกกักบริเวณให้อยู่ในบ้านพักเป็นเวลาหลายปี ได้ปกป้องท่าทีของตัวเองว่า “ดิฉันเสียใจถ้าหากประชาชนมองว่า ความเห็นของดิฉันไม่น่าสนใจมากพอในการยอมรับพวกเขา”

นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า การให้ความเห็นอันล่าช้าของนางซูจีในเรื่องนี้ และโดยปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์ของบรรดาตัวการที่ทำให้เกิดความรุนแรงได้ทำให้นางอยู่ไม่สบายแน่ๆ ในฐานะที่เคยเป็นผู้นำต่อสู้อดีตคณะปกครองทหารมารยาวนาน

“ผมดีใจที่นางยอมรับในทางใดทางหนึ่งว่าประชาชนเหล่านี้กำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง…. แต่.. มันจำเป็นที่จะต้องมีมากกว่านางรู้สึกเศร้า” นายฟิล โรเบิร์ตสัน (Phil Robertson) แห่งองค์การฮิวแมนไรท์วอตช์ (Human Right Watch) กล่าว

“ภาระในการดำเนินการตกอยู่กับฝ่ายรัฐบาล แต่นางซูจีก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้นำฝ่ายค้านธรรมดาๆ เช่นกัน.. และนี่คือจุดที่ศีลธรรมจรรยาที่สั่งสมมาตลอดเวลาหลายปีจำเป็นต้องนำมาใช้” นายโรเบิร์ตสันกล่าว

สิ่งนี้ได้ทำให้บรรดาชนชาติส่วนน้อยแสดงความสงสัยต่อประชาชนส่วนใหญ่ในพม่า รวมทั้งนางซูจี และได้ออกกล่าวหาว่า ภายใต้รัฐบาลปฏิรูปที่นำโดยพลเรือน ก็ยังมีการเลือกปฏิบัติอยู่ต่อไป สำหรับชาวโรฮิงญายิ่งเป็นที่แน่นอนว่าพวกเขารู้สึกถูกนางซูจีทอดทิ้ง

มีชนชาติส่วนน้อยโรฮิงญาราว 800,000 คน ที่องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า เป็นกลุ่มคนถูกเลือกปฏิบัติ และรับเคราะห์กรรมหนักหน่วง อาศัยอยู่ในรัฐระไค ในนั้นมีหลายหมื่นคนกลายเป็นผู้พลัดจากที่อยู่อาศัย อันเนื่องมาจากเหตุความรุนแรงปีที่แล้ว ปัจจุบันต้องหลบภัยในค่ายผู้อพยพที่จัดทำขึ้นชั่วคราว

กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนได้กล่าวหาเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยว่า ในบางกรณีได้เป็นผู้นำการโจมตีชาวโรฮิงญาเสียเอง
หลายเสียงบอกว่า “ซูจี” เรตติ้งตก เหตุอ้ำอึ้ง.. อ้ำอึ้ง กรณีโรฮิงญา
นางอองซานซูจี ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ศูนย์กลางผู้สื่อข่าวแห่งชาติในกรุงโตเกียว วันที่ 16 เม.ย.2556 เมื่อถูกถามเพราะเหตุใดจึง “อ้ำอึ้ง อ้ำอึ้ง” ต่อกรณีความรุนแรงทางศาสนาและยังไม่เคยกล่าวประณามการฝ่ายใด ผู้นำที่เป็นสัญลักษณ์ประชาธิปไตยก็ยังคงพูดแต่เพียง “เสียใจ” ต่อเหตุการณ์เท่านั้น ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าผู้นำพรรค NLD จำต้องสงวนท่าทีเพื่อมิให้ชาวพุทธที่เป็นคะแนนเสียงส่วนใหญ่ตีตนออกห่าง สำหรับการเลือกตั้งในอีก 2 ปีข้างหน้า. — AFP Photo/Kenichiro Seki/POOL.
อาบู ทาเฮ (Abu Tahay) แห่งพรรคประชาธิปไตยเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ (National Democratic Party for Development) ซึ่งเป็นตัวแทนชาวโรฮิงญากล่าวว่า นางซูจีซึ่งมีฐานะเป็นธิดาของนายพลอองซาน บิดาแห่งเอกราช และเป็นสัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตยนั้น ทำให้มีพันธะที่จะต้องเข้าแทรกแซงในเหตุรุนแรง

แต่นายทาเฮก็ไม่ยอมวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำของสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy) ที่เชื่อกันว่า จะชนะในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2558 ที่อาจจะทำให้นางได้ขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี

“อองซานซูจีมีการเลือกตั้งที่จะต้องเอาชัยชนะในปี 2558 ถ้าหากแสดงความเอนเอียงไปเข้าข้างมุสลิมโรฮิงญา และชาวมุสลิมกลุ่มอื่นๆ จนเกินไป นางเสี่ยงต่อการตีตนออกห่างทางการเมืองของกลุ่มชาวพุทธที่เป็นส่วนหนึ่งของฐานเสียง” นายนิโคลาส ฟาเรลลี (Nicholas Farrelly) มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าว

“กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนตะวันตก และกลุ่มนานาชาติที่ต่อต้านการไม่ยุติธรรมต่อชาวอิสลาม ล้วนไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่จะเลือกผู้เข้าไปบริหารพม่าในช่วงปีข้างหน้า” นายฟาเรลลีกล่าว

นายวินทิน (Win Tin) ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “เดอะเลดี้” ไม่ประสงค์ที่จะเติมเชื้อให้แก่ความตึงเครียดทางชนชาติและศาสนา ในขณะประเทศกำลังผ่านออกจากระบอบของคณะปกครองทหาร

“สถานการณ์นี้ทำให้นางสูญเสียภาพของการเป็นศูนย์รวมแห่งธรรม ดอว์ซูจีทราบเรื่องนี้ดี” นายวินทินกล่าวกับเอเอฟพีโดยใช้สรรพนามนำหน้าภาษาพม่าที่แสดวงการยกย่อง พร้อมสำทับว่า “ทุกอย่างล้วนมีความเปราะบางทางการเมือง”

นักการทูตอาวุโสผู้หนึ่งบอกแก่เอเอฟพีว่า บรรดาผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติควรจะมองผู้นำประชาธิปไตยในความเป็นจริงให้มากยิ่งขึ้น

ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ “จำเป็นต้องพิจารณาว่าความผิดหวังของพวกเขานั้นเป็นผลจากการมองนางซูจีให้มีฐานะใกล้เคียงนักบุญกับความถูกต้องชอบธรรมในช่วงปีถูกกักบริเวณหรือไม่” นักการทูตที่ขอไม่ให้เปิดเผยตัวตนให้ความเห็น

แต่นางคริส ลูวา ผู้นำอำนวยการ “โครงการอาระกัน” (The Arakan Project) ในกรุงเทพฯ ที่เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของชาวโรฮิงญากล่าวว่า นางซูจีล้มเหลวอย่างสำคัญในการทดสอบความเป็นผู้นำ

“นางพูดถึงการปกครองด้วยกฎหมาย แต่นั่นยังไม่พอ” นางลูวากล่าว.
๑๑๑๑๑๑๑๑

ข้อมูลจากพันทิป

http://en.wikipedia.org/wiki/Rohingya_people

ชาวโรฮินจา คือมุสลิมที่อาศัยอยุ่ทางตอนเหนือของยะไข่ (อาระกัน) และพูดภาษาโรฮีนจา นักวิชาการบางคนบอกว่า พวกเขาเป็นคนพื้นเมืองในยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์หลายคนกล่าวว่า พวกเขาเป็นผู้อพยพมาจากเบงกอล ในช่วงที่อังกฤษปกครอง และบางส่วนก็มาในช่วงที่พม่าได้รับเอกราช และช่วงสงครามกลางเมืองในบังคลาเทศ

มุสลิมได้เข้ามาอยู่อาศัยในอาระกันตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 แต่จำนวนไม่สามารถระบุได้แน่ชัด  หลังจากสงคราม Anglo-Burmese ในปี 1826 อังกฤษ เข้าปกครองอาระกัน และอพยพผู้คนจากเบงกอลเข้ามาใช้แรงงาน จำนวนประชากรของมุสลิมคิดเป็น 5% ของชาวอาระกันในขณะนั้น (1869) แต่หลังจากนั้นไม่นาน จำนวนประชากรโรฮิงยาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บันทึกตามสัมโนประชากรของอังกฤษระหว่างปี 1872 และ 1991 ได้ระบุว่าจะนวนประชากรมุสลิมในยะไข่ เพิ่มขึ้นจาก 58,255 คนเป็น  178,646 คน

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดความรุนแรงระหว่างกองกำลังมุสลิม ที่อังกฤษติดอาวุธให้ กับกองกำลังชาวยะไข่พื้นเมือง ทำให้ความขัดแย้งเพิ่มสูงขึ้น ในปี 1982 นายพลเนวินได้ทำรัฐประหารสำเร็จ และปฏิเสธความเป็นพลเมืองพม่าของชาวโรฮินจา

ประวัติศาสตร์ชาวโรฮินจา

ยุคสมัยอณาจักร มรัคอู

หลักฐานของการตั้งถิ่นฐานของมุสลิมเบงกอลในดินแดนอาระกันครั้งแรก ย้อนกลับไปได้ถึงยุคของกษัตริย์ชาวพุทธนามว่า นรเมขลา (1430-1434) แห่งอาณาจักร มรัคอู (Mrauk U) หลังจากที่กษัตริย์นรเมขลาได้ลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในเบงกอล(บังคลาเทศ)เป็นเวลา 24 ปี เขาได้กลับมาครองบันลังก์ได้อีกครั้งในปี 1430 โดยการสนับสนุนด้านกำลังทหารจากสุลต่านเบงกอล ทหารชาวเบงกอลที่มากับกษัตร์ย์นรเมขลา จึงตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอาระกัน หลังจากนั้น เขายกดินแดนบางส่วนให้สุลต่านเบงกอล และยอมรับอธิปไตยของสุลต่านเบงกอลเหนือดินแดนเหล่านั้น

เพื่อแสดงถึงความเป็นข้าราชบริพานในสุลต่านเบงกอล ราชาอาระกันได้ใช้ชื่อแบบอิสลาม และนำเงินเหรียญอิสลามมาใช้ในราชอาณาจักร กษัตริย์นรเมขลา ได้สร้างเหรียญที่มีอักษรพม่าอยู่ด้านหนึ่ง และอักษรเปอเซียอยู่อีกด้านหนึ่ง แต่ความเป็นรัฐทาสของอาระกันต่อเบงกอลเป็นไปในระยะเวลาสั้นๆ หลักจากที่สุลต่าน Jalaluddin Muhammad Shah ตายลงในปี 1433 ผู้สืบทอดของกษัตริย์นรเมขลาก็ตอบแทนด้วยการเข้ายึดเมืองรามูในปี 1437 และจิตะกองในปี 1459 อารกันได้ยึดครองจิตะกองไปจนถึงปี 1666

( ใครสนใจเรื่องนี้เพิ่มเติม อ่าน THESE BUDDHIST KINGS WITH MUSLIM NAMES
http://aboutarakaneng.blogspot.com/2013/01/these-buddhist-kings-with-muslim-names.html
)

ยุคแห่งชัยชนะของพม่า

หลังจากที่พม่าได้ชัยชนะต่ออาระกันในปี 1785 ชาวอาระกันจำนวน 35,000 คนได้หนีเข้าไปในเขตจิตตะกองของบริติชเบงกอลในปี 1799  เพื่อหนีเอาชีวิตรอด และแสวงหาการคุ้มครองจากบริติชอินเดีย ผู้ปกครองพม่าได้ประหารชาวอาระกันนับพันคน และขนย้ายประชากรส่วนที่เหลือ เข้าไปที่ภาคกลางของพม่า ทิ้งอาระกันให้เป็นดินแดนที่แทบจะร้างผู้คนไปจนถึงช่วงที่อังกฤษเข้ามายึดครอง ในระหว่างนั้น มีฑูตคนหนึ่งชื่อ  Sir Henry Yule พบเห็นชาวมุสลิมจำนวนมาก ทำงานรับใช้ราชวงศ์พม่าในฐานะขันที และขันทีมุสลิมเหล่านี้ มาจากอาระกัน

ยุคการปกครองของจักรวรรดิ์อังกฤษ

อังกฤษได้ส่งเสริมให้ชาวเบงกอลที่อยู่ในดินแดนใกล้เคียง อพยพเข้าไปตั้งรกรากในดินแดนอาระกัน ในฐานะผู้ใช้แรงงานในฟาร์ม อังกฤษได้ยกเลิกเขตแดนระหว่างเบงกอลและ อาระกัน ทำให้มีไม่ข้อจำกัดในการอพยพระหว่างดินแดน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ชาวเบงกอลนัพพัน จากจิตตะกอง ได้เข้ามาตั้งรกรากในอาระกันและหางานทำ

สำมะโนประชากรของอังกฤษปี 1871 รายงานว่ามีมุสลิมอยู่ 58,255 คนในยะไข่ และในปี 1911 จำนวนมุสลิมได้เพิ่มขึ้นเป็น 178,647 คน คลื่นของผู้อพยพพากันหลั่งไหลเข้ามาตามความต้องการแรงงานราคาถูกในกิจการข้าวเปลือกของบริติชอินเดีย ผู้อพยพจากเบงกอล ซึ่งส่วนใหญ่ มาจากจิตตะกอง หลั่งไหลกันเข้ามาสู่เมืองทางตะวันตกของอาระกัน การอพยพของขาวอินเดีย(ในขณะนั้น) เข้าสู่พม่า ได้กลายเป็นปรากฎการณ์ระดับชาติของพม่า ไม่ใช่แค่ในอาระกัน

นักประวัติศาสตร์บันทึกว่า ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ชาวอินเดียเข้าไปตั้งรกรากในพม่าไม่ต่ำกว่า 250,000 คนต่อปี จำนวนผู้อพยพได้เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนถึงจุดสุดยอดในปี 1927 ซึ่งมีจำนวนผู้อพยพสูงถึง 480,000 คน ย่างกุ้งได้แซงหน้านิวยอร์คในการเป็นปลายทางของผู้อพยพสูงสุดในโลก เมืองใหญ่หลายเมืองของพม่าอย่าง ย่างกุ้ง,ยะไข่, Bassein,Moulmein ผู้อพยพชาวอินเดีย กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ ชาวพม่าต้องตกอยู่ในความสิ้นหวัง

ผลกระทบของการย้ายถิ่นฐานมีความรุนแรงโดยเฉพาะในอาระกัน ในปี 1939 เจ้าหน้าที่ของอังกฤษได้แจ้งเตือนถึงความเป็นปรปักษ์กันระหว่างชาวอาระกันพื้นเมืองที่นับถือพุทธ กับผู้อพยพชาวมุสลิม และจัดตั้งคณะกรรมการนำโดย James Ester และ Tin Tut เพื่อศึกษาประเด็นการอพยพของมุสลิมเข้ามาในอาระกัน คณะกรรมการได้ให้คำแนะนำให้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยระหว่างเขตแดนของทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ดีผลของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้อังกฤษต้องถอนกำลังออกจากอาระกัน

ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นได้บุกเข้าสู่พม่า ทำให้กองกำลังของอังกฤษต้องถอนกำลังไป และหมดอำนาจในดินแดนอาระกัน ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นระหว่าง ชาวอาระกันพื้นเมือง กับชุมชนมุสลิม อังกฤษได้มอบอาวุธให้กับมุสลิมโรฮินจาทางตอนเหนือของอาระกัน เพื่อสร้างแนวป้องกันการบุกของกองทัพญี่ปุ่น  ในขณะที่ตัวเองกำลังหนีตาย แต่ชาวมุสลิมกลับใช้อาวุธนั้นเข้าทำลายหมู่บ้านของชาวอาระกัน แทนที่จะนำไปต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น

ในเดือนมีนาคม 1942 ชาวโรฮินจาจากตอนเหนือของอาระกัน สังหารชาวอาระกันพื้นเมืองไปราว 20,000 คน และเพื่อตอบโต้ มุสลิมในเมือง Minbya และ Mrohaung จึงถูกชาวอาระกัน และ Karenni ฆ่าไปประมาณ 5,000 คน ในระหว่างนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้กระทำการฆ่า ข่มขืน และทรมาณชาวมุสลิมในอาระกัน ทำให้มุสลิมอาระกันราวๆ 22,000 ต้องหลบหนีข้ามพรมแดนไปเบงกอล นอกจากนี้ความรุนแรงยังไม่ได้จำกัดอยู่แค่มุสลิมในอาระกันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงชาวอินเดีย และอังกฤษ ที่เข้ามาพำนักในช่วง ที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

เพื่อเตรียมการบุกกลับเข้าสู่พม่า อังกฤษได้จัดตั้งกองกำลังทหารอาสา (V-Force) กับชาวโรฮินจา ในช่วงสามปีที่อังกฤษสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น กองกำลังโรฮินจามุ่งโจมตีชุมชนชาวอาระกัน ใช้อาวุธที่ได้รับจากอังกฤษ เข้าทำลายวัดพุทธ โบสถ์วิหาร เจดีย์ และบ้านเรือนชาวอาระกันอย่างโหดเหี้ยม

ยุคจลาจลหลังสงครามโลก

ในระหว่างที่ปากีสถาน กำลังต่อสู้ทางการเมืองเพื่อแยกตัวออกจากอินเดีย ในปี 1940 มุสลิมโรฮินจา ได้ก่อตั้งองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อแยกดินแดน ไปรวมกับปากีสถานตะวันออก ก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชในปี 1948 ผู้นำมุสลิมได้ติดต่อกับ  โมฮัมหมัด อาลี จินนาร์ ผู้ก่อตั้งปากีสถาน และขอความช่วยเหลือในการรวบรวมดินแดน Mayu เข้ากับ ปากีสถาน โดยอ้างความเข้ากันได้ทางศาสนาและสภาพตามภูมิศาสตร์ สองเดือนต่อมา กลุ่มสันนิบาตมุสลิมอาระกันตอนเหนือก็ถูกจัดตั้งขึ้นในเมืองหลวงของยะไข่  โดยมีเป้าหมายจะรวมดินแดนกับปากีสถาน แต่ข้อเสนอนี้ก็ไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมเพราะผู้นำปากีสถานปฏิเสธ และกล่าวว่าเขาจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของพม่า

หลังจากที่ถูกผู้นำปากีสถานปฏิเสธ ผู้อาวุโสของโรฮินจา ได้ก่อตั้งกลุ่มนักรบมูจาฮีดีน เพื่อดำเนินการจีฮัดในพื้นที่ตอนเหนือของอาระกันในปี 1947 เป้าหมายของกลุ่มมูจาฮีดีน คือการสร้างรัฐอิสลามอิสระขึ้นในอาระกัน ในช่วงปี 1950s พวกเขาเริ่มใช้คำเรียกตัวเองว่า “โรฮินจา” เพื่อสร้างอัตลักษณ์สำหรับอ้างสิทธิ์เหนือดินแดน  ขบวนการของพวกเขามีความก้าวหน้ามากในช่วงก่อนปี 1962 ที่จะมีการปฏิวัติโดยนายพลเนวิน เนวินได้ใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อต้านโรฮินจาตลอดสองทศวรรต  ส่งผลให้มุสลิมในพื้นที่ต้องหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังคลาเทศในฐานะผู้ลี้ภัยสงคราม

ยุคหลังได้รับเอกราช และสงครามกลางเมืองบังคลาเทศ

จำนวนของผู้อพยพจากบังคลาเทศ หลังจากที่พม่าได้รับเอกราช ยังไม่แน่ชัดและเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

ในปี 1955 มีการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ผู้เขียนคือ Virginia Thompson and Richard Adloff ได้เขียนว่า “การอพยพหลังสงครามจากจิตตะกอง เข้าไปดินแดนนั้น เกิดขึ้นในระดับใหญ่มาก ในพื้นที่ Maungdaw and Buthidaung พวกเขาได้เข้าแทนที่ชาวอาระกัน”

ในระหว่างปี 1971 ถึง 1973 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในบังคลาเทศ ประกอบกับการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ทำให้เกิดการอพยพของมุสลิมเบงกาลีราวๆ 10 ล้านคน เข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ลี้ภัยจำนวนมากได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของยะไข่

ในปี 1975 บังคลาเทศได้ส่งทูตไปเจรจากับพม่า เพื่อขอร้องให้พม่าอย่าขับไล่ ผู้บุกรุก 500,000 คนในอาระกันในระหว่างที่การเมืองภายในบังคลาเทศกำลังวุ่นวาย ในขณะที่กลุ่มพระสงฆ์ก็ออกมาประท้วงรัฐบาลโดยชูประเด็นว่าการอพยพของมุสลิมบังคลาเทศเข้ามาจะทำให้สัดส่วนประชากรเปลี่ยนแปลงไป นายพลเนวินได้ร้องขอสหประชาชาติเพื่อส่งคืนผู้ลี้ภัย และใช้กำลังทหารขับดันผู้อพยพ 200,000 คนกลับบังคลาเทศในปี 1978 บังคลาเทศประท้วงรัฐบาลพม่าและกล่าวหาว่า ได้ใช้กำลังขับไล่ประชากรมุสลิมพม่านับพันเข้าสู่บังคลาเทศ รัฐบาลพม่าตอบกลับว่าคนเหล่านั้นเป็นประชากรของบังคลาเทศ ที่เข้ามาอาศัยในพม่าอย่างผิดกฎหมาย หลังจากการเจรจาในเวทีสหประชาชาติ นายพลเนวินตกลงรับผุ้ลี้ภัยจำนวน 200,000 คน กลับมาพำนักในอาระกัน ในปี 1982 รัฐบาลบังคลาเทศได้แก้ไขกฏหมายพลเมืองและประกาศว่า “โรฮินจา” ทั้งหมด ไม่ใช่คนสัญชาติบังคลาเทศ และในปีเดียวกัน รัฐบาลพม่าก็ตรากฎหมายพลเมืองและประกาศว่า “ชาวเบงกาลี” เป็นชาวต่างชาติ

ความเคลื่อนไหวของโรฮินจาในปัจจุบัน (1990-ปัจจุบัน)

ตั้งแต่ปี 1990 ความเคลื่อนไหวของโรฮินจาแตกต่างจากในยุค 1950 ที่ใช้กองกำลังติดอาวุธก่อกบฏ การดำเนินการในยุคใหม่มุ่งเน้นการล็อบบี้ต่างชาติ โดยชาวโรฮินจาที่หลบหนีออกมาได้ มีการสร้างเรื่องชนพื้นเมืองโรฮินจา โดยนักวิชาการโรฮินจา และเผยแพร่คำว่า “โรฮินจา” และใช้นักการเมืองปฏิเสธถิ่นกำเนิดในเบงกาลี นักวิชาการโฮินจาอ้างว่า ยะไข่เคยเป็นรัฐอิสลามมานับพันปี หรือมีกษัตริย์มุสลิมปกครองยะไข่เป็นเวลา 350 ปี สมาชิกสภาชาวโรฮินจายังเคยกล่าวว่า “โรฮินจาอยู่ฮาศัยในยะไข่มาตั้งแต่ยุคที่พระเจ้าสร้างโลก อาระกันเป็นของเรา และมันเคยตกเป็นดินแดนของอินเดียมา 1,000 ปี” พวกเขามักจะย้อยรอยถิ่นกำเนิดของโรฮินจาไปถึงนักเดินเรือชาวอาหรับ  แต่การกล่าวอ้างนี้ถูกปฏิเสธในวงวิชาการว่าเป็น “นิทานที่แต่งขึ้นใหม่” นักการเมืองโรฮินจาบางคนใช้วิธีการตราหน้านักประวัติศาสตร์นานาชาติว่า เข้าข้างชาวยะไข่ เพื่อปฏิเสธประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานอ้างอิง แม้กระนั้น เรื่องนี้ก็แพร่กระจายไปในวงกว้างหลังการจลาจลในปี 2012





คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เรื่องจริง จากอาณ์เคเค English

https://www.youtube.com/watch?v=Vy-LqGRjIOo
-https://www.youtube.com/watch?v=Vy-LqGRjIOo-




นักรบฟาตอนีหรือโจรชั่่ว

https://www.youtube.com/watch?v=PV1pfQ31eZk
-https://www.youtube.com/watch?v=PV1pfQ31eZk-




ใคร? ยิงเด็กนักเรียนที่ยะหริ่ง เขาทำผิดอะไรจึงฆ่ากัน

https://www.youtube.com/watch?v=ycjpjwfJQt4
-https://www.youtube.com/watch?v=ycjpjwfJQt4-

.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ตำรวจแบบนี้ น่าจะให้ออกจากราชการ 

ทำให้ตำรวจที่ดี  มีมลทินไปด้วย

ไม่รู้ว่า มันทำอะไรให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยบ้าง

คงไม่ได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์  รอกินเงินภาษีอากรไปวันๆ

บัดซบจริงๆ



-----------------------------------------------------------

พระวัดเบญฯ แฉตำรวจใจเหี้ยม สะใจทหารพรานคู่อริโดนระเบิดตาย

-http://hilight.kapook.com/view/123501-



 พระมหาอภิชาติ ปุณฺณจนฺโท วัดเบญจมบพิตร โพสต์แฉตำรวจใต้ สะใจทหารพรานคู่อริโดนระเบิดตาย พอเรื่องแดงไปไหว้ขอโทษท่านรอง ถาม ตำรวจแบบนี้ยังอยากให้เขากินภาษีอยู่อีกหรือ

          วันที่ 17 กรกฎาคม 2558 ในเฟซบุ๊ก Aphichat Promjan ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กส่วนตัวของ พระมหาอภิชาติ ปุณฺณจนฺโท วัดเบญจมบพิตร ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพแสดงความคิดเห็นต่อกรณี บทสนทนาไลน์ของตำรวจนายหนึ่งในสังกัด สภ.ธารโต จังหวัดยะลา หลุดออกมา ข้อความแฉชัดว่าตำรวจนายนี้แสดงอาการสะใจเมื่อได้ทราบข่าวว่าทหารพรานนายหนึ่งซึ่งเคยเป็นคู่อรืกัน ถูกกับระเบิดเสียชีวิต และระบุว่าพอไลน์หลุดออกมา ตำรวจนายนี้ก็รีบไปไหว้ขอโทษท่านรอง ผบ.ฉก.ทพ.33 คงกลัวภัยจะมาถึงตัว และทิ้งคำถามว่า ตำรวจแบบนี้คนไทยยังอยากให้กินภาษีกันอยู่อีกหรือ



   ทั้งนี้ จากการสำรวจดูเฟซบุ๊กดังกล่าว พบว่าพระมหาอภิชาติมักโพสต์แสดงทรรศนะเรื่องข่าวสารบ้านเมืองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นข่าวในหรือต่างประเทศก็ตาม







ภาพจาก เฟซบุ๊ก Aphichat Promjan
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก แนวหน้า


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ไม่รู้ว่า จะเก็บกลุ่มโจร ไว้ทำไม
เก็บไว้ดีแต่สร้างปัญหา ให้พวกมันฆ่าคน

จับตายให้หมด  จะได้ไม่ต้องมีใครตายอีก
เพราะพวกมันฆ่า ทุกคน และทุกศาสนาไม่ว่าจะเป็นพุทธ หรือ อิสลาม




------------------------------------------------------------------------------


ญาติร่ำไห้ รับศพทหารใต้ตายในหน้าที่ เผยยังไม่ทันบวชตามสัญญา

-http://hilight.kapook.com/view/126938-









กองเกียรติยศ จ.อุบลราชธานี รอรับศพ อาสาสมัครทหารพราน ที่เสียชีวิตจากเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดที่ จ.ปัตตานี ด้านพี่สาวเผย น้องชายยังไม่ทันบวชแทนคุณพ่อแม่
 
             วันที่ 25 กันยายน 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก N a R a Peace ( น ร า สันติ ) รายงานว่า เมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา เครื่องบินกองทัพอากาศ ได้มาส่งศพ อส.ทพ. ธีรศักดิ์ กอยนาพันธ์ อายุ 20 ปี ชาว ต.เซเป็ด อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ที่สนามบินกองบิน 21 อุบลราชธานี โดยเจ้าหน้าที่ทหารและกองเกียรติยศมาคอยรับอย่างสมเกียรติ รวมทั้งบรรดาญาติที่มารอรับอย่างใจสลาย

ญาติร่ำไห้ รับศพทหารใต้ตายในหน้าที่ เผยยังไม่ทันบวชตามสัญญา
 
             โดย อส.ทพ. ธีรศักดิ์ เป็นหนึ่งในทหารที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์กลุ่มก่อการร้ายไม่ทราบจำนวนลอบวางระเบิดกองร้อยทหารพราน 4403 สังกัดกรมทหารพรานที่ 44 บนถนนสายกะพ้อ-สายบุรี ต.ตะโละดือรามัน อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บ 4 นาย เมื่อวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่ง อส.ทพ. ธีรศักดิ์ ถูกสะเก็ดได้รับบาดเจ็บสาหัส และได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน และได้เสียชีวิตลงเมื่อเวลา 09.30 น. ของวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา จึงได้มีการส่งศพมาบำเพ็ญกุศลตามความเชื่อทางศาสนา ณ วัดจิกสูง บ้านจิกสูง ต.เซเป็ด อ.ตระการพืชผล และจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 30 กันยายน 2558 

 
             นอกจากนี้มีรายงานจากพี่สาวผู้ตาย เผยว่า อส.ทพ. ธีรศักดิ์ เป็นน้องคนสุดท้อง มีความใฝ่ฝันอยากเป็นทหารรับใช้ชาติ จึงไปสมัคร อส.ทพ. และได้ปฏิบัติหน้าที่ใน จ.ปัตตานี และเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2558 น้องชายเพิ่งกลับมาเยี่ยมบ้านและบอกว่าปีหน้าจะกลับมาบวชทดแทนคุณพ่อแม่ แต่กลับเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นก่อน

ภาพจาก เฟซบุ๊ก N a R a Peace ( น ร า สันติ ), Suphalerk Engchaun, อรุณยุพา พาคำ 
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)