ผู้เขียน หัวข้อ: คุณธรรมของสมาชิกที่ดีในชุมชน  (อ่าน 988 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
คุณธรรมของสมาชิกที่ดีในชุมชน
« เมื่อ: สิงหาคม 23, 2013, 07:59:30 pm »


 
 *คุณธรรมของสมาชิกที่ดีในชุมชน*
     คนผู้เป็นส่วนร่วมที่ดีของชุมชนนั้น จะช่วยให้หมู่ชนอยู่ร่วมกันด้วยดี มีธรรม คือ หลักความประพฤติดังนี้

     1. พึ่งตนเองได้ คือ ทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้ พร้อมที่จะรับผิดชอบตนเอง ไม่ทำตัวให้เป็นปัญหาหรือเป็นภาระถ่วงหมู่คณะหรือหมู่ญาติ ด้วยการประพฤติธรรมสำหรับสร้างที่พึ่งแก่ตนเอง
เรียกว่า "นาถกรณธรรม" 10 ประการ คือ
         1.1 ศีล ประพฤติดีมีวินัย คือ ดำเนืนชีวิตโดยสุจริต ทั้งทางกาย ทางวาจา มีวินัย และการประกอบสัมมาชีพ
         1.2 พาหุสัจจะ ได้ศึกษาสดับมาก คือ ศึกษาเล่าเรียนสดับรับฟังมาก อันใดเป็นสายวิชาของตน หรือตนศึกษาศิลปวิทยาใด ก็ศึกษาให้ช่ำชอง มีความเข้าใจกว้างขวางลึกซึ้ง รู้ชัดเจนและใช้ได้จริง
         1.3 กัลยาณมิตตตา รู้จักคบคนดี คือ มีกัลยาณมิตร รู้จักเลือกเสวนาเข้าหาที่ปรึกษาหรือผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี เลือกสัมพันธ์เกี่ยวข้อง และถือเยี่ยงอย่างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี ซึ่งจะทำให้ชีวิตเจริญงอกงาม
         1.4 โสวจัสสตา เป็นคนที่พูดกันง่าย คือ ไม่ดื้อรั้นกระด้าง รู้จักรับฟังเหตุผลและข้อเท็จจริง พร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุงตนเอง
         1.5 กิงกรณีเยสุ ทักขตา ขวนขวายกิจของหมู่ คือ เอาใจใส่ช่วยเหลือธุระและกิจการของชนร่วมหมู่คณะ ญาติ เพื่อนพ้อง และของชุมชน ร้จักใช้ปัญญาไตร่ตรองหาวิธีดำเนินการที่เหมาะ ทำได้ จัดได้ ให้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี
         1.6 ธรรมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม คือ รักธรรม ชอบการศึกษาค้นคว้า สอบถามหาความรู้หาความจริง รู้จักพูด รู้จักรับฟัง สร้างความรู้สึกสนิทสนมสบายใจ ชวนให้ผู้อื่นอยากเข้ามาปรึกษาและร่วมสนทนาด้วย
         1.7 วิริยะรัมภะ มีความเพียรขยัน คือ ขยันหมั่นเพียร พยายามหลีกละความชั่ว ประกอบความดี บากบั่น ก้าวหน้า ไม่ย่อท้อ ไม่ละเลยทอดทิ้งธุระหน้าที่
         1.8 สันตุฏฐี มีสันโดษรู้พอดี คือ ยินดี พึงพอใจแต่ในลาภผล ผลงาน และผลสำเร็จต่าง ๆ ที่ตนสร้างหรือแสวงหามาได้ด้วยเรี่ยวแรง ความเพียรพยายามของตนเองโดบชอบทางธรรม และไม่มัวเมาเห็นแก่ความสุขทางวัตถุ
         1.9 สติ มีสติคงมั่น คือ รู้จักกำหนดจดจำ ระลึกการที่ทำ คำที่พูด กิจที่ทำแล้ว และที่จะต้องทำต่อไป จะทำอะไรก็รอบคอบ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่ผลีผลาม ไม่เลินเล่อ ไม่ประมาท ไม่ยอมถลำลงในทางผิดพลาด ไม่ปล่อยปละละเลยทิ้งโอกาสสำหรับความดีงาม
       1.10 ปัญญา มีปัญญาเหนืออารมณ์ คือ มีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้ดี รู้ชั่ว รู้คุณโทษ รู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ มองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้จักพิจารณาวินิจฉัยด้วยใจเป็นอิสระ ทำการต่าง ๆ ด้วยความคิดและมีวิจารณญาณ

    2. อยู่ร่วมในหมู่ด้วยดี ในด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ หรือร่วมชุมชน ตลอดจนพี่น้องร่วมครอบครัว พึงปฏิบัติตามหลักการอยู่ร่วมกัน
เรียกว่า "สาราณียธรรม" (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) 6 ประการ คือ
         2.1 เมตตากายกรรม ทำต่อกันด้วยเมตตา คือ แสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ ร่วมชุมชน ด้วยการช่วยเหลือกิจธุระต่าง ๆ โดยเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
         2.2 เมตตาวจีกรรม พูดต่อกันด้วยเมตตา คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอนหรือแนะนำตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
         2.3 เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา คือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตาย้มแย้มแจ่มใสต่อกัน
         2.4 สาธารณโภคี ได้มาแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ คือ แบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน
         2.5 สีลสามัญญตา ประพฤติให้ดีเหมือนเขา คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจ หรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ
         2.6 ทิฏฐิสามัญญตา ปรับความเห็นเข้ากันได้ คือ เคารพรับฟังความคิดเห็นกัน มีความเห็นชอบร่วมกัน ตกลงกันได้ในหลักการสำคัญ ยึดถืออุดมคติ คือ หลักแห่งความดีงามหรือจุดหมายสูงสุดอันเดียวกัน 


ข้อมูลจาก +sakchai kongmaneepran
G+ อมรา เส้นทางสู่ธรรม originally shared: