ผู้เขียน หัวข้อ: ตั ว กู - ข อ ง กู  (อ่าน 2040 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ตั ว กู - ข อ ง กู
« เมื่อ: มิถุนายน 15, 2013, 10:28:53 am »




ตั ว กู - ข อ ง กู

เขียนเมื่อ วัน จันทร์ ที่ 26 มิถุนายน 2543 19:17:00
โดยคุณปราโมทย์/ปัจจุบันพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช

อ่านหลายกระทู้ในลานธรรม ที่แนะนำให้มองทุกอย่าง ให้ว่างจาก ตัวกู - ของกู และอ่านกระทู้ความวิปลาส ของคุณพัลวันในวิมุตติ แล้ว เห็นว่าเราน่าจะคุยกันเรื่อง ตัวกู - ของกู สักครั้งหนึ่ง

ช่วงที่ผมคลั่งคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาส ผมรู้สึกว่าตนเองเข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างถึงแก่น แท้แล้ว คือถ้าพยายามมองอะไรแบบว่างจาก ตัวกู - ของกู เสียอย่างเดียว ทุกสิ่งก็เป็นความว่าง ทั้งว่างจาก ตัวกู - ของกู และ ว่างจากกิเลสตัณหา เมื่อถึงความว่างอย่างนี้แล้ว ก็คือพ้นจากความยึดมั่น ในสิ่งทั้งปวง เป็นอันว่าจบหลักสูตรพระพุทธศาสนา จัดเป็นผู้รู้จริง คนหนึ่ง เพราะเข้าถึงแก่นธรรม หรือหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่ว่า "สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ - ธรรมทั้งปวงไม่ ควรยึดมั่น"

ความรู้ความเห็นที่ให้มองอะไรๆ ให้ว่างจากตัวกู -ของกู มีผลในทางทำให้กิเลสในใจเบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด เหมือนกัน อย่างจะโกรธใครสักคน ก็คิดว่าเขาไม่ได้ด่าเรา เพราะ เราไม่มี ตัวเขาเองก็ไม่มีอะไร มีแต่แค่เสียงกระทบหู แล้วจิตที่โง่ก็ไปคิดว่า "เขา"ด่า "เรา" จึงเป็นทุกข์ขึ้น มา การคอยคิดเรื่อง ตัวกู - ของกู ช่วยให้จิตใจสบายขึ้น ได้จริงๆ

นอกจากนี้ก็อิ่มใจภูมิใจว่าเราเข้าถึงแก่นธรรมแล้ว ส่วนคนอื่นๆ ยังเป็นคนที่วิ่งเลาะอยู่ริมฝั่ง เช่นยังหลงอยู่กับพิธีกรรมต่างๆอันเป็นเปลือก เป็นกระพี้ศาสนา

จนเมื่อได้มาปฏิบัติอย่างจริงจังแล้วนั่นแหละ จึงพบว่า การจะให้เห็น ตัวกู แล้วขจัดได้จริงๆ หรือการมองทุกอย่างเป็นความว่าง ทั้งจิตก็ว่าง และ ไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง เป็นงานที่ยากแสนยาก และทำไม่ได้ด้วยการคิดๆ เอา เอง

มีแต่การเจริญสติปัฏฐานอย่างจริงจังเท่านั้น จิตจึงจะพ้นจากตัณหาและทิฏฐิ และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ได้จริง จิตที่คิดแต่เรื่องความว่าง ความไม่มีตัวกู - ของกู คือจิตที่มีทิฏฐิถูกต้องครอบงำ คือเห็นว่า "ความเห็นหรือทิฏฐินี้ สมควรแก่เรา.. เรา เชื่ออย่างนี้" ซึ่งยังห่างไกลจากความว่าง หรือความไม่มีตัวกู -ของกู แบบคนละเรื่องทีเดียว

*************************************

ต่อไปนี้ ขอเปลี่ยนจากคำว่า กู เป็น เรา เพราะไม่เกี่ยวกับท่านอาจารย์พุทธทาสแล้ว
สิ่งที่รู้สึกว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นตัวกูนั้น ก็เริ่มจากการรู้สึกว่า ร่างกายนี้แหละคือตัวเรา แต่พอเจริญสติสัมปชัญญะเข้า ก็เริ่มเห็นว่า อ้อ กายนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก แต่เป็นกายของเรา เพราะกายนี้ถูกเห็น ถูกรู้อยู่ต่อหน้าต่อตา จึงลดระดับจากกายที่เป็น ตัวเรา เหลือเพียงเป็น กาย ของเรา (เหมือนที่รู้สึกว่า นี่แขนของเรา นี่ขาของเรา นี่ศีรษะ ของเรา ชี้ลงที่อวัยวะใดก็ล้วนแต่เป็นอวัยวะของเรา ไม่มีอวัยวะใดที่ชี้แล้วเรียกว่า ตัวเรา ได้เลย)

แม้เวทนา สัญญา และสังขาร ก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้เช่นเดียว กับกาย มันจึงปรากฏชัดว่า เป็นเวทนา สัญญา และสังขารของ เรา แล้วก็จะเหลืออยู่แต่จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ยินดี ยินร้าย ตัวนี้แหละดูอย่างไรก็รู้สึกว่า เป็น ตัวเรา

เรื่องความเป็นตัวเราของจิตนั้น มันซ้อนกันอยู่ 2 ระดับ คือ ความเห็นว่าจิตเป็นเรา อย่างหนึ่ง และ ความยึดว่าจิตเป็นเรา อีกอย่างหนึ่ง

การทำลายความเห็นผิด ว่าจิตเป็นเราก็ดี การทำลายความยึดมั่น ว่าจิตเป็นเราก็ดี ทำไม่ได้ด้วยการคิดๆ เอา ว่าไม่มีตัวกู - ของกู เพราะคิดอย่างไรก็คือกูคิด - กูรู้อยู่นั่นเอง แต่ทำได้ด้วยการเจริญสติปัฏฐานให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเท่านั้น

ผมเคยไปนั่งพับเพียบจับเข่าท่านอาจารย์พุทธทาส แล้วเรียนถามท่านว่า "ท่านอาจารย์เขียนหนังสือตั้งมากมาย ถ้าผมอ่านให้หมดแล้วคิดตาม ผมจะรู้ธรรมได้หรือไม่" ท่านตอบว่า "ไม่รู้หรอก" ผมจึงถามท่านว่า "แล้วทำอย่างไรจึงจะรู้ธรรม" ท่านตอบว่า "ต้องเจริญสติเอาเอง" กล่าวแล้ว ท่านอาจารย์ก็กำหนดสติรู้ลมหายใจของ ท่าน

*************************************

หัดรู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง
ความเห็นว่าจิตเป็นเรา อันจัดเป็นสักกายทิฏฐินั้น ไม่สามารถล้างได้ด้วย การคิด ว่าจิตไม่ใช่เรา แต่จะขาดได้ด้วย ความรู้ชัดว่าจิตไม่ใช่เรา และความรู้ชัดนั้น จิตเขาต้องรู้ชัดของเขาเอง ผู้ปฏิบัติทำได้เพียงการเจริญสติสัมปชัญญะ รู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงเท่านั้น

ความแปลกประหลาดของธรรมอันหนึ่งอยู่ตรงนี้ครับ คือผู้ปฏิบัติเจริญสติด้วยการระลึกรู้ กาย เวทนา จิต สังขาร หรือธรรมอันเป็นกลไกการทำงานของจิต ไม่ได้เจริญสติสัมปชัญญะรู้ตรงเข้าไปที่จิต (เพราะการใช้จิตไปแสวงหาจิต เป็นสิ่งที่ไม่มีใคร กระทำได้) ในขณะปฏิบัติ ไม่เคยคิดเลยเรื่องจิตจะเป็นเราหรือไม่ แต่ตอนที่ความรู้เกิดนั้น กลับไปเกิดความรู้รวบยอดเอาที่การเห็นชัดว่า จิต ไม่ใช่เรา เหมือนมองดูเงาหน้าของตนเองในกระจก ไม่เคยมองหน้าจริงๆของตนเองสักครั้ง แต่พอถึงจุดหนึ่ง ก็รู้จักหน้าตาของตนเอง ว่าเป็น อย่างไร การรู้กายเวทนา จิต ธรรม ก็เหมือน การดูเงาของจิต เมื่อดูถึงจุดหนึ่งก็รู้จักจิต

อนึ่ง ในขณะที่เจริญสติสัมปชัญญะอยู่นั้น จะรู้ชัด ใน ทันทีว่า กาย เวทนา จิต หรือธรรมที่ถูกรู้นั้น เป็นสิ่งที่ถูกรู้และแยกออกต่างหากจากจิต ไม่ใช่รู้กายวันนี้แล้วมะรืนจึงเห็นกายแยกเป็นคนละ ส่วนกับจิต ถ้าระลึกลงในกายแล้ว ยังไม่เห็นว่ากายฯลฯ เป็นสิ่ง ถูกรู้และไม่ใช่จิต ก็แสดงว่ายังเจริญสติปัฏฐานไม่ถูกต้องเท่าที่ควรจะ เป็น

เมื่อเจริญสติปัฏฐานต่อเนื่องเข้าถึงจุดหนึ่ง จิตจะวางอารมณ์ภายนอกทั้งหมด ดับความจงใจที่จะปฏิบัติ ดับความคิดนึกปรุงแต่ง เหลือเพียงธรรมชาติที่เกิดขึ้น และดับไป โดยไม่มีสัญญาหรือความสำคัญมั่นหมายว่า สิ่งนั้น คือสิ่งนั้น เป็นการเจริญวิปัสสนาโดยอัตโนมัติของจิตที่อบรมมา ดีแล้ว

เมื่อจิตรู้จริงถึงธรรมที่เป็น สังขารธรรมหรือธรรมฝ่าย ปรุงแต่งแล้ว จิตก็จะประจักษ์ชัดถึง วิสังขารธรรมหรือธรรมที่พ้น ความปรุงแต่ง

เมื่อความปรุงแต่งขาดไป ความเห็นว่าจิตเป็นเราก็ขาด ลงเพียงนั้น เพราะความเห็นว่าจิตเป็นเรา เกิดจากสังขารขันธ์ เข้าไปปรุงแต่งจิต เมื่อจิตผ่านสภาวะอันนั้นมาแล้ว ความเห็นว่าจิตเป็นเราจะไม่ย้อนกลับมาอีก แม้ในฝันก็ไม่มีความเห็นว่าจิตเป็นเรา แม้แต่น้อยหนึ่ง แต่ความยึดว่าจิตเป็นเรา ยังมีอยู่อย่างเหนียวแน่น เนียน และเร้นลึกจนยากจะสังเกตเห็นได้

ผมเองก็ทำได้เพียงการรู้ถึงความยึดว่าจิตเป็นเราได้ เป็นครั้งคราวเท่านั้น คือจะรู้ได้ ต่อเมื่อยามใดเจริญสติสัมปชัญญะอยู่ แล้วรู้ชัดถึงความปรากฏขึ้นของสังโยชน์เบื้องสูง 4 ประการ อันได้แก่รูปราคะ อรูปราคะ มานะ และอุทธัจจะ อันใด อันหนึ่ง สิ่งเหล่านี้คือเงาของจิตที่ถูกยึดว่าเป็นตัวเรา เมื่อเห็นเงา แล้วเฉลียวนิดหนึ่ง ก็เห็นถึงจิตที่ถูกยึดว่า เป็นตัวเรา เพราะถ้าไม่มีจิตที่เป็นตัวเรา ก็ย่อมไม่มีราคะในฌาน ไม่มีความถือตัว และไม่มีความฟุ้งไหวเล็กๆ เพราะ ความหิวธรรมอย่างเร้นลึก พอเห็นจิตที่เป็นตัวเรา ความเป็นตัวเราก็สลายออก จากจิตทันที จิตก็เข้าถึงสภาพธรรมที่รู้ ตื่น และเบิกบาน จากนั้นก็จะหมดความสามารถที่จะเห็นจิตอย่างแจ่ม แจ้งได้ เพราะจิตยังประกอบด้วยอวิชชา มันจึงเคลื่อนออก ส่ง ออกไปรู้สิ่งภายนอก โดยไม่สามารถจะทรงตัวรู้อยู่กับ จิตหนึ่ง หรือจิตเดิม แท้ ได้อย่างถาวร

การปฏิบัติธรรมเป็นของละเอียดและลาดลึกไปตาม ลำดับ เป็นเรื่องที่ต้องประจักษ์ถึงสภาวะจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ด้วยจิตที่พร้อมด้วยกำลังทั้งสติ ธรรมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดหรือคิดฟุ้งซ่านไปถึง ความว่าง ความไม่ยึดมั่นถือมั่น หรือ ความไม่มีตัวกูของกู

มิฉะนั้น ก็จะเข้าถึงเพียงสภาวะที่ว่า
กู ไม่มีตัวกู ของกู ยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น



ตั ว กู - ข อ ง กู
เขียนเมื่อ วัน จันทร์ ที่ 26 มิถุนายน 2543 19:17:00
โดยคุณปราโมทย์/ปัจจุบันพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช
>>> F/B ธรรมะคือยาขนานเอก


:https://www.facebook.com/ThrrmaKhuxYaKhnanXek