ผู้เขียน หัวข้อ: รวบรวมทัวร์ "กรุงศรีอยุธยา" เพื่อการทำบุญ , การศึกษาประวัติศาสตร์ และ การพักผ่อน  (อ่าน 3087 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
รวบรวม การเดินทางไป กรุงศรีอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นการไปทำบุญ , การศึกษาเรื่องราวต่างๆในประวัติศาสตร์  และ การพักผ่อนหย่อนใจ ครับ


กระทู้แรกที่ผมไปอยุธยา
ตะลุยทำบุญไหว้พระที่พระนครศรีอยุธยา
-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7170.0.html-


http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7170.0.html

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
บางปะอิน..ตำนานรัก..ชายผู้สูงศักดิ์ กับ สาวชาวบ้าน
วันศุกร์ ที่ 26 ตุลาคม 2555
-http://www.oknation.net/blog/nard/2012/10/26/entry-1-



บางปะอิน..ตำนานรัก ชายผู้สูงศักดิ์ กับ สาวชาวบ้าน

              ไม่ได้อินกับละคร เจ้าชายในสายหมอก  ความรัก ของเจ้าชายต่างเมือง ที่มีต่อ หญิงสาวชาวบ้านธรรมดาๆ  ที่กำลังออนแอร์ อยู่ขณะนี้ แต่อย่างใด...แต่ที่นี่  บางปะอิน ...ตำนานรัก ชายผู้สูงศักดิ์  กับ หญิงสาวชาวบ้าน  ของจริง และเป็นประวัติศาสตร์ ที่หลายคน ไม่เคยรู้มาก่อน ว่า  สถานที่ที่กลายมาเป็น พระราชวัง บางปะอิน ในปัจจุบัน  มีความเป็นมาอย่างไร...ลองฟังดูครับ..สำหรับความเป็นมาของ พระราชวังบางปะอิน นั้น ตามตำนานได้กล่าวไว้พอสรุปความได้ว่า...เมื่อครั้งที่ สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จประพาส ล่องแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเรือเกิดล่มที่บริเวณ เกาะบ้านเลน อยุธยา
       
       เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้ พระเอกาทศรถฯได้พบกับ “อิน” หญิงสาวชาวบ้าน ที่พอพบพาก็ถูกตาต้องใจและมีสัมพันธ์กันจนให้กำเนิดพระราชโอรส ที่ภายหลังขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า“สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง” สถานที่แห่งนี้ จึงชื่อว่า " บาง ปะ อิน " ซึ่งในปี พ.ศ. 2175 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นในบริเวณที่เสด็จพระราชสมภพ แล้วพระราชทานชื่อว่า “วัดชุมพลนิกายาราม”นอกจากนี้ยังมีการสร้าง “พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์”ขึ้นที่มีศิลปะสถาปัตยกรรมที่สวยงาม  ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม  และเป็นแหล่งเรียนรู้  ที่คนไทยควรหาโอกาสได้ไปเยือนสักครั้ง ในชีวิต



    นับแต่นั้นมาพระราชวังแห่งนี้กลายเป็นที่เสด็จประพาสเพื่อความสำราญของ พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา เรื่อยมา ก่อนจะถูกทิ้งร้างหลังเสียกรุงฯ  จากนั้นใน  ยุครัตนโกสินทร์  พระราชวังบางปะอิน  ได้รับการฟื้นฟูเรื่อยมาทั้งใน  สมัย รัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5...



  พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ ....เป็นพระที่นั่งปราสาทโถง ที่อยู่กลางสระน้ำ  สร้างเป็นแบบปราสาทจตุรมุข พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท  ในพระบรมมหาราชวัง  สร้างเสร็จเมือปี พ.ศ. ๒๔๑๙  และพรราชทานนามว่า  "พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์" ตามนามพระที่นั่งองค์แรก ซึ่งพระเจ้าปราสาททอง  ทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น ณ พระราชวังบางปะอิน แห่งนี้   ปัจจุบัน เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมรูปหล่อ รัชกาลที่ ๕  ที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖  ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าให้สร้างขึ้น





ประติมากรรม เทพีธาเลีย ซึ่งเป็นเทพีแห่งเรื่องราวความสนุกสนานของเทพปกรณัม กรีกโบราณ  ..ยืนเด่นอยู่บนราวสะพานข้ามคลอง หน้าพระที่นั่งไอยศวรรย์ทิพยอาสน์  งดงามมาก



หอวิฑูรทัศนา....เป็นหอสูง ยอดมน  ตั้งอยู่กลางเกาะ ในพระราชอุทยาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๔  เพื่อใช้เป็น หอส่องกล้องชมภูมิประเทศ และดูดาว



 หอวิฑูรทัศนา หอสูง 4 ชั้น ยอดมนตั้งโดดเด่นอยู่ ซึ่งหอวิฑูรแห่งนี้ถือเป็นหอชมวิวพระราชวังบางปะอินชั้นเยี่ยม ที่หากใครมีกำลังขาเหลือเฟือน่าจะเดินขึ้นบันไดเวียนชึ้นไปชมวิวด้านบน
       
          ที่บนหอวิฑูรฯ สามารถมองเห็นทิวทัศน์มุมสูงสวยๆงามๆของพระราชวังบางปะอินได้หลายมุม ไม่ว่าจะเป็นพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรในมุมสูง หรือพระที่นั่งเวหาศจำรูญที่อยู่ใกล้ๆกับหอวิฑูรฯ ที่หากเดินจากหอวิฑูรฯไปอีกนิดก็จะถึงยังพระที่นั่งแห่งนี้ ซึ่งเป็นพระที่นั่งหลังใหญ่ในรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนสีฉูดฉาดที่ดูโดดเด่นแปลกกว่าใคร ภายในตกแต่งด้วยศิลปะแบบจีนที่วิจิตรงดงาม



 พระที่นั่งเวหาศจำรูญ....เป็นพระที่นั่งสองชั้นสร้างในแบบศิลปะจีนอย่างงดงาม โดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีนในไทยได้สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๕





  พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ...เป็นพระที่นั่งเรือนไม้สองชั้นแบบชาเลต์ของสวิต คือมีเฉลียงทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ทาสีเขียวอ่อนและเขียวแก่สลับกันทั้งองค์พระที่นั่ง  ภายในตกแต่งแบบยุโรปด้วยเครื่องเรือนแบบฝรั่งเศสสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ เป็นชุดเดียวเข้ากันทั้งหมดทั้งพระที่นั่งอย่างงดงาม เป็นที่ประทับที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดปรานมากที่สุด  ได้เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับ บางคราวถึง ๓ ครั้งต่อปี  แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑  ขณะที่มีการดำเนินการซ่อมทาสีพระที่นั่ง ได้เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้พระที่นั่งหมดสิ้นทั้งองค์ เหลือแต่หอน้ำลักษณะคล้ายหอรบของยุโรปเท่านั้น



ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๗  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต  สร้างพระที่นั่ง อุทยานภูมิเสถียร นี้ขึ้นมาใหม่ ดังที่เห็นในปัจจุบัน













http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=7VZihGvzKp4#!
-http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=7VZihGvzKp4#!-

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=7VZihGvzKp4#!

-http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=7VZihGvzKp4#!-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พาทัวร์อยุธยากับ 9 สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
-http://travel.kapook.com/view64024.html-






เรียบเรียงข้อมูลและภาพประกอบโดยกระปุกดอทคอม

          วันหยุดสุดสัปดาห์นี้มีใครวางแผนไปไหนใกล้ ๆ บ้างหรือเปล่า? ถ้ายังไม่มีก็ตามกระปุกท่องเที่ยวไปทัวร์สถานที่ท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ อย่าง "พระนครศรีอยุธยา" จังหวัดที่ขึ้นชื่อว่ามีวัดวาอารามและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว แถมยังได้ความสบายใจและได้ความเป็นสิริมงคลกลับมาที่บ้านอีกด้วย



          โดยเราเริ่มต้นสถานที่ท่องเที่ยวที่แรกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากันที่ เจดีย์ศรีสุริโยทัย เจดีย์สีทองสูงเด่นองค์เดียวทางด้านทิศตะวันตกของเกาะกรุงศรีอยุธยา ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ในเกาะเมืองด้านทิศตะวันตกติดกับสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 3 ถนนอู่ทอง พระเจดีย์แห่งนี้เป็นโบราณสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอนุสรณ์สถานของวีรสตรีไทยพระองค์แรก สมเด็จพระสุริโยทัย ซึ่งสิ้นพระชนม์ในการทำสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าแปร และเป็นการยืนยันเกียรติแห่งสตรีไทยที่ได้รับการยกย่องจากสังคมไทยมาแต่ครั้งบรรพกาล



          ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวอันดับสองที่เราควรเดินทางเข้าไปไหว้สักการะ คือ ทุ่งหันตรา หรือเรียกอีกหนึ่งชื่อว่า อนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี เป็นสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี 2555 ตั้งอยู่ในตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้เป็นอนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี ด้วยการสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ขนาดความสูง 9.84 เมตร โดยพระพุทธรูปนี้เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนที่ช่วยกันสร้างให้เสร็จภายในคืนเดียว






          ไปต่อกันที่อันดับสาม พระราชวังบางประอิน อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน โดยมีหลักฐานว่าเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา และได้รับการบูรณะขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งเพิ่มเติมและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ อีกดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นที่ประทับและออกว่าราชการในการเสด็จประพาสอยุธยา และใช้ในการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ จนถึงในราชกาลปัจจุบันพระราชวังบางปะอินก็ยังใช้เป็นที่ประทับพระราชทานงานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ เป็นครั้งคราว

          สำหรับพระราชวังบางปะอินแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ พระราชฐานชั้นนอก สำหรับพระเจ้าอยู่หัวออกมหาสมาคมและพระราชพิธีต่าง ๆ และพระราชฐานชั้นใน ใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ โดยภายในเปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์ถึงอาทิตย์ เวลา 08.00-15.30 น. ซึ่งภายในพระราชวังมีอาคารและสถานที่น่าสนใจหลากหลายแห่ง ดังนี้...






          ในบริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอก ได้แก่...

  หอเหมมณเฑียรเทวราช เป็นปรางค์ศิลายอดทรงปราสาทแบบขอม สร้างขึ้นเพื่อ อุทิศถวายแด่พระเจ้าปราสาททอง

  สภาคารราชประยูร ตึกสองชั้นริมน้ำที่สร้างเพื่อเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายหน้าและข้าราชบริพาร ซึ่งปัจจุบันเป็นอาคารสำหรับจัดนิทรรศการของพระราชวังบางประอิน พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พระที่นั่งปราสาทโถงกลางน้ำ ที่จำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมข์ปราสาท ในพระบรมหาราชวัง ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปหล่อสัมฤทธิ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

  พระที่นั่งวโรภาษพิมาน สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรปแบบคอรินเทียน ออร์เดอร์ ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการและจัดงานพระราชพิธีต่าง ๆ ปัจจุบันใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อเสด็จแปรพระราชฐาน โดยนั่งท่องเที่ยวสามารถเข้าชมด้านในได้



           ในเขตในบริเวณเขตพระราชฐานชั้นใน ได้แก่...

  พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เป็นพระที่นั่งเรือนไม้สองชั้น สถาปัตยกรรมตามแบบชาเลต์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ภายในประดับตกแต่งแบบยุโรปด้วย เครื่องเรือนไม้มะฮอกกานีจัดสลับลายทองทับที่สั่งจากยุโรป รวมทั้งของราชบรรณาการอีกมากมาย

  พระที่นั่งวิฑูรทัศนา เป็นพระที่นั่งลักษณะเป็นหอคอยสูงยอดมน สูงกว่า 30 เมตร เป็นพระที่นั่ง 3 ชั้น ตกแต่งด้วยลายไม้ฉลุหรือลายขนมปังขิง





  พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ หรือ พระที่นั่งเก๋งจีน สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน เป็นเก๋งสองชั้นปัจจุบัน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมภายในได้บางส่วน





  อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือเรียกเป็นสามัญว่า อนุสาวรีย์พระนางเรือล่ม สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสด็จสวรรคตของพระมเหสีจากอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา

  อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ หรืออนุสาวรีย์พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ และเจ้าฟ้าสามพระองค์ รัชกาลที่ 5 ที่ทรงโศกเศร้าพระทัยเนื่องจากสูญเสียพระอัครชายาและลูก ๆ อีกสองคน ในปีเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันได้สร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นที่ระลึกด้วยหินอ่อนแกะสลักพระรูปเหมือนไว้ใกล้กับอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

         ต่อมาอันดับที่สี่คือ วัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของอยุธยา ตั้งอยู่นอกเกาะกรุงศรีอยุธยาฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ภายในอาณาบริเวณแผนผังรูปสี่เหลี่ยมของวัดไชยวัฒนารามมีสิ่งก่อสร้างหลายชนิด โดยศูนย์กลางอยู่ที่องค์ปรางค์ประธานขนาดใหญ่สูงถึง 35 เมตร ล้อมรอบด้วยปรางค์บริวาร 4 องค์ประจำทิศต่าง ๆ











         ข้ามฝั่งไปเที่ยวอีกหนึ่งวัด นั่นก็คือ วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานคร หรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ที่ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับบริเวณนี้ ภายในบริเวณวัดมีเจดีย์สรรเพชญดาญาณ ในสมัยก่อนนั้นที่นี่เป็นที่ตั้งของพระสถูปเจดีย์ใหญ่สององค์ องค์แรกทางทิศตะวันออกเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดา และองค์ที่สองคือองค์กลางเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระบรมเชษฐา โดยได้สร้างพระพุทธรูปไว้ภายในวิหารขนาดใหญ่และตั้งชื่อว่า เจดีย์สรรเพชญดาญาณ ส่วนเจดีย์องค์ถัดมาทางทิศตะวันตก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 พระราชโอรสได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งเจดีย์สามองค์นี้เป็นสถาปัตยกรรมการออกแบบลังกา ระหว่างเจดีย์แต่ละองค์มีมณฑปก่อคั่นไว้ และได้มีการบูรณะเจดีย์แห่งนี้จนมีสภาพที่ดีขึ้นอย่างในปัจจุบัน





          วัดพระศรีสรรเพชญ์ เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00-18.00 น. ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 40 บาท ชาวต่างชาติ 220 บาท อีกทั้งบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน สอบถามรายละเอียดที่สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ 0 3524 2284, 0 3524 2286 (หมายเหตุ : ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30-21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน)



          จากนั้นมากันที่อันดับหก วัดภูเขาทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ 2 กิโลเมตร โดยวัดนี้มีหลักฐานว่า พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อคราวที่ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา และได้สร้างเจดีย์ภูเขาทองใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นที่ระลึกเมื่อคราวรบชนะไทยไว้ ซึ่งมีรูปแบบของฐานเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับแบบมอญและพม่า ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานเจดีย์ดังกล่าว ทำให้ตัวเจดีย์ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมสองแบบผสมกัน





          และอันดับเจ็ด ได้แก่ วัดมหาธาตุ ซึ่งถือเป็นปรางค์ที่สร้างในระยะแรกของสมัยอยุธยา ได้รับอิทธิพลจากปรางค์ขอม ชั้นล่างก่อสร้างด้วยศิลาแลงแต่ที่เสริมใหม่ตอนบนเป็นอิฐถือปูน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์ใหม่ โดยเสริมให้สูงกว่าเดิม แต่ขณะนี้ยอดพังลงมาเหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น จึงเป็นที่น่าเสียดายเพราะมีหลักฐานว่าเป็นปรางค์ที่มีขนาดใหญ่มาก อีกทั้งยังก่อสร้างอย่างวิจิตรสวยงาม ซึ่งภายหลังบริเวณนี้ได้มีกรมศิลปากรมาขุดแต่งพระปรางค์แห่งขึ้น จึงพบข้าวของโบราณหลายชิ้น ที่สำคัญคือ ผอบศิลา ภายในมีสถูปซ้อนกัน 7 ชั้น รวมทั้งได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องประดับอันมีค่าไว้ภายใน แต่ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุนั้นได้นำไปประดิษฐานไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ส่วนสิ่งที่น่าสนใจในวัดอีกอย่างคือ เศียรพระพุทธรูปหินทราย ซึ่งมีรากไม้ปกคลุมเข้าใจว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ในสมัยเสียกรุง จนรากไม้ขึ้นปกคลุมมีความงดงามแปลกตาไปอีกแบบ










           สถานที่ท่องเที่ยวอันดับแปด วัดโลกยสุธา ตั้งอยู่ถัดจากเจดีย์ศรีสุริโยทัยเข้าไปทางด้านหลังประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในยังมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ที่ก่อด้วยอิฐถือปูนยาวประมาณ 42 เมตร มีซากพระวิหารเป็น 8 เหลี่ยม ขนาดใหญ่อยู่ชิดองค์พระเหลืออยู่หลายต้น ซึ่งเป็นเข้าใจว่าเป็นซากพระอุโบสถ  โดยนักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถเดินทางเข้าไปสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลได้









           และปิดท้ายทริปนี้ด้วย วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวทางทิศเหนือของคูเมือง ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง เดิมมีชื่อว่า "วัดพระเมรุราชิการาม" ที่ตั้งของที่นี่เป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้น โดยวัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระอุโบสถมีขนาดยาว 50 เมตร กว้าง 16 เมตร เป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งมีเสาอยู่ภายใน หน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหยียบเศียรนาค และมีรูปราหูสองข้างติดกับเศียรนาค หน้าต่างเจาะเป็นช่องยาวตามแนวตั้ง เสาเหลี่ยมสองแถว ๆ ละแปดต้น มีบัวหัวเสาเป็นบัวโถแบบอยุธยา ด้านบนประดับด้วยดาวเพดานเป็นงานจำหลักไม้ลงรักปิดทอง ส่วนลายแกะสลักบานประตูพระวิหารน้อย เป็นลายแกะสลักด้วยไม้สักหนา แกะสลักจากพื้นไม้ไม่มีการนำชิ้นส่วนที่อื่นมาติดต่อเป็นลายซ้อนกันหลายชั้น



           พระประธานในอุโบสถสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช มีนามว่า "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ" ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้โดยรักษาแบบอย่างเดิมไว้ และได้เชิญพระพุทธรูปศิลาสีเขียวหรือพระคันธารราฐประทับนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีจากวัดมหาธาตุมาไว้ ข้างพระอุโบสถมีพระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่การเก็บรักษาไว้ ซึ่งที่นี่พระอุโบสถจะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเวลา 08.00-18.00 น. ค่าเข้าชมชาวต่างชาติ 20 บาท


 
          นี่เป็นเพียงทริปท่องเที่ยวเพื่อเสริมสิริมงคลแบบสั้น ๆ ที่เรานำมาแนะนำกัน แต่ภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมี สถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงร้านอาหารต่าง ๆ มากมายไว้รอต้อนรับนักท่องเที่ยงอย่างไม่ขาดสายเลย ถ้าใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวก็อย่าลืมลองแวะเวียนไปเที่ยวกันดูด้วยจ้า...

          ทั้งนี้ สอบถามรายะเอียดต่าง ๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ที่ สำนักงานพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ 0 3524 6076 ที่ตั้ง 157 สนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ 0 3524 6076-7 ที่ตั้ง 108/22 หมู่ 4 ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา หรือเว็บไซต์ -thai.tourismthailand.org-

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ททท. , ayutthaya.org

-http://thai.tourismthailand.org/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2-

-http://www.ayutthaya.org/attractions/-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
กรุงศรีอยุธยาสุดยอด ฝรั่งยกเป็น 1 ใน 16 เมืองใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มวลมนุษย์
-http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9560000008955-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
23 มกราคม 2556 21:05 น.    


ภาพตระการตา.. มุมหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์กรุงเก่ายามราตรี สะท้อนอดีตอันรุ่งโรจน์ยาวนานกว่า 400 ปี ราชธานีของอาณาจักรสยาม การศึกษาของนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันในช่วง 15-20 ที่ผ่านมาได้พบข้อมูลว่าเมื่อ 3 ศตวรรษก่อน กรุงศรีอยุธยามีประชากรถึง 1 ล้านคน เป็นทั้งอู่ข้าวอู่น้ำ ศูนย์กลางศิลปะวิทยาการและการค้าขายกับแว่นแคว้นต่างๆ การเจริญสัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตกเริ่มขึ้นในยุคนี้ แต่.. "อูเดีย" ที่ชาวฝรั่งเศสเรียกขานย่อยยับลงในปี พ.ศ.2310 ด้วยมือของอาณาจักรใหม่ที่เข้มแข็งกว่า .. และอยู่ใกล้ๆ กัน. -- ภาพ: Tour.Co.Th
       .
       
[นำเสนอครั้งแรกเวลา 14:09 น.- ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนเวลา 21.09 น. วันที่ 23 ม.ค.2556]

       
ASTVผู้จัดการออนไลน์ – ในช่วงหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์โลก กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นนครใหญ่อันดับหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไม่มีแห่งอื่นใดสามารถเปรียบเทียบได้ ที่นี่เป็นแหล่งแห่งความเจริญรุ่งเรืองสุดขีด เป็นแหล่งค้าขายระหว่างประเทศ เป็นแหล่งวิวัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมอันหลากหลาย เป็นอู่อารยธรรมอีกแห่งหนึ่งในซีกโลกตะวันออก
       
       เทอร์เทียส แชนดเลอร์ (Tertius Chandler, 2458-2543) นักประวัติศาสตร์อิสระที่ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์โลกแนวก้าวหน้า ได้เคยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมืองโบราณจากแหล่งต่างๆ เอาไว้ในหนังสือ Four Thousand Years of Urban Growth อันมีชื่อเสียงของเขา หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ในปี 2530
       
       ศ.จอร์จ โมเดลสกี (George Modelski) แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ได้ศึกษาเรื่องนี้มานานและเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ในหนังสือ World City -3000 to 2000 ซึ่งเป็นเรื่องราวการวิวัฒน์ของเมืองต่างๆ ทั่วโลกในระยะเวลา 5,000 ปี คือ จากช่วงก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปี จนถึง ปี ค.ศ.2000
       
       แต่ยังไม่เคยมีครั้งไหนที่มีการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งชื่อ "อยุธยา" ได้ปรากฏในทำเนียบ 16 เมืองใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษย์ และเรื่องนี้ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้
       
       นั่นคือการศึกษาเปรียบเทียบแบบเดียวกันกับมหานครนิวยอร์กในศตวรรษที่ 20 กรุงลอนดอนในทศวรรษที่ 1900 และย้อนหลังไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบุล) เมื่อก่อนคริสต์ศักราช 600 ปี หรือ เมืองเจริโค (Jericho) เมื่อ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล
       
       ทั้งหมดเป็นเมืองใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัยที่นำมนุษย์เข้าสู่อีกยุคหนึ่งไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรมหรือการค้า แต่ละเมืองล้วนสิ้นสุดยุคแห่งความยิ่งใหญ่ต่างกันไป บางแห่งถูกเมืองอื่นๆ ร่วมยุคเดียวกันแซงหน้าในด้านความใหญ่โตและจำนวนประชากร และ บางแห่งสิ้นสุดลงเพราะถูกทำลาย...
       
       ภายใต้การศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดแบบ "ถึงก้นครัว" ตั้งแต่เรื่องการผลิตและจ่ายแจกอาหารในหมู่ประชากร รวมทั้งจำนวนผู้เสียชีวิตในอุบัติภัยร้ายแรงต่างๆ ฯลฯ นักประวัติศาสตร์ได้พบว่ากรุงศรีอยุธยาเคยเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นคริสต์วรรษที่ 18 ด้วยประชากรราว 1,000,000 คน
       
       ช่วง 400 ปีของกรุงศรีอยุธยานั้น นักการทูตชาวตะวันตกที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีด้วยได้เคยบันทึกเอาไว้ว่า เป็นเมืองที่สวยงาม .. แต่น่าเสียดายที่ถูกพม่าโจมตีและเผาทำลายราบในปี ค.ศ.1767 (พ.ศ.2310) และศูนย์กลางของราชอาณาจักรใหม่ได้ย้ายลงไปยังกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน.
       
       
ยุคทองแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา


ถึงแม้จะไม่มีปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์ของชาติไทย แต่นักการทูตตะวันตกที่เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาได้วาดแผนที่แบบเดียวกันนี้เอาไว้เป็นจำนวนมาก นักประวัติศาสตร์ในสหรัฐฯ ที่ศึกษาคนคว้าในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมา พบว่าเมื่อประมาณ 3 ศตวรรษที่แล้วที่นี่มีประชากรถึง 1 ล้านคน และจัดให้เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในยุคสมัย อยู่ในลำดับที่ 13 เมืองใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ 5,000 ปีของมวลมนุษย์.


ภาพวาดของชาวตะวันตกที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีเมื่อ 300 ปีที่แล้ว สะท้อนให้เห็นวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและกิจกรรมในแม่น้ำเจ้าพระยา นักการทูตฝรั่งเศสบันทึกเอาไว้ว่า "อูเดีย" เป็นเมืองที่สวยงาม.. นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันในยุคใหม่พบว่า เมืองหลวงของราชอาณาจักรสยามแห่งนี้เคยมีประชากรถึง 1,000,000 คน ใหญ่โตที่สุดในยุคสมัย.


รถม้าสะท้อนความเป็นตะวันตก ขบวนช้างบ่งบอกความเป็นตะวันออก กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นแหล่ง "ปะทะ" ระหว่างอารยธรรมตะวันตกกับตะวันออก หลายอาณาจักรมุ่งไปยังที่นั่นเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและประกอบการค้าขาย ในยุคที่อยุธยาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจำนวนประชากรถึง 1,000,000 คน.



แผนที่ฝรั่งเศสปีพ.ศ.2229 แสดงอาณาเขตของอาณาจักรสยาม พุกาม เขมร ลาว โคชินจีนกับแคว้นตังเกี๋ย ทั้งหมดเป็นแว่นแคว้นในสายตาของชาวตะวันตกที่เดินทางเข้าสู่ภูมิภาคในยุคนี้ นั่นคือช่วงปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันเป็นยุคทองของ "อูเดีย" มีแผนที่แบบเดียวกันนี้อีกจำนวนมาก ที่สะท้อนความรุ่งโรจน์ของกรุงศรีอยุธยาในยุคหนึ่งซึ่งกลายเป็นเมืองใหญ่ที่สุดแห่งยุค.


ชาวตะวันตกซึ่งเป็นนักวาดเขียนสะท้อนชีวิตความเป็นไปกับความประทับใจเอาไว้มากมาย เมื่อได้ไปเยือนกรุงศรีอยุธยาใน 3-4 ศตวรรษก่อน นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันในยุคใหม่ 2 กลุ่มได้ศึกษาและยกให้อยุธยาเป็นหนึ่งใน 16 เมืองใหญ่ของโลก เป็นแหล่งอารยธรรมตะวันออกที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ 5,000 ปีของมวลมนุษย์.


ภาพเขียนของชาวฝรั่งเศสเมื่อครั้งเจ้าพระยาโกษาปาน อัญเชิญพระราชสาสน์จากกรุงศรีอยุธยาไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ซายส์ในกรุงปารีส เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างสองราชอาณาจักร ในยุคทองของ "อูเดีย" ที่มีประชากรถึง 1,000,000 คน นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันในยุคใหม่ 2 กลุ่มศึกษาและได้ข้อมูลตรงกัน อยุธยาเคยเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของโลกในยุคสมัยหนึ่ง.


ภาพเขียนของชาวฝรั่งเศส บอกเล่าเหตุการณ์ครั้งเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสนำพระราชสาสน์จากกรุงปารีสไปทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีภาพดีๆ เช่นนี้อีกจำนวนมาก ในขณะที่หลักฐานสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยถูกทำลายหรือสูญหายไปในเหตุการณ์ "เสียกรุง" แต่นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันในยุคใหม่ 2 กลุ่มทำการศึกษาและได้ข้อมูลตรงกันว่า กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของโลกในยุคหนึ่ง.


ภาพจากเว็บไซต์ขององค์การยูเนสโกที่ขึ้นทะเบียนกรุงเก่าเป็นมรดกโลกหลายปีก่อน เศียรพระพุทธรูปที่จมอยู่ในต้นไทร สะท้อนการล่มสลายอันขมขื่นของกรุงศรีอยุธยาในปี 2310 ที่นี่เคยเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของโลกแห่งยุค เป็นอีกแห่งหนึ่งที่แตกดับลงจากการศึก หลายแห่งล่มสลายไปกับภัยธรรมชาติ บางแห่งพังทลายลงเพราะไม่อาจผลิตอาหารให้พอเลี้ยงดูประชากรได้.




 16 เมืองใหญ่ในประวัติศาสตร์มวลมนุษย์

       
       1. เจริโค (Jericho) ใหญ่ที่สุดของโลกในยุค 7,000 ปีก่อนคริสตกาล พลเมือง 2,000 คน ตั้งอยู่ระหว่างทะเลแดงกับภูเขานีโบ (Mt Nebo) เป็นโอเอซิสใหญ่ที่สุด ใช้น้ำจากแม่น้ำจอร์แดน ในคัมภีร์ไบเบิ้ลเก่าบันทึกเอาไว้ว่า เจริโคเป็น "เมืองแห่งต้นปาล์ม" อยู่กันต่อมาอีกหลายยุค และเสื่อมไปกับกาลเวลา
       
       2. อูรุค (Uruk) ใหญ่ที่สุดในยุค 3,500 ปีก่อนคริสตกาล พลเมือง 4,000 คนเป็นเมืองหลวงของแคว้นกิลกาเมช (Gilgamesh) ในมหากาพย์ และเชื่อกันว่าคือเมืองเอเร็ค (Erech) ทีสร้างโดยกษัตริย์นิมรอด (King Nimrod) ในคัมภีร์ไบเบิ้ล อยู่ใกล้แม่น้ำยูเฟรติส (Euphrates River) ศูนย์กลางการเกษตรและการค้า สงครามในภูมิภาคที่เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 2000 BC ยืดเยื้อข้ามศตวรรษ ต่อมาเมืองอูรุคถูกทิ้งให้ร้างไปในยุคก่อนที่ฝ่ายอิสลามเข้าครอบครอง
       
       3. มาริ (Mari) เมืองหลวงแคว้นมีโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ในยุค 2000 BC ประชากร 50,000 ในยุคของกษัตริย์สุเมเรียน (Sumarite) หลายพระองค์ ก่อนเข้าสูยุคอาโมเรียน (Amorite) มีการสร้างพระราชวังขนาด 300 ห้อง ล่มสลายลงใน 1759 BC ถูกยึดรองโดยกษัตริย์ฮัมมูราบี (Hammurabi) แห่งบาบีลอน ในทศวรรษที่ 1930 นักโบราณคดีฝรั่งเศสค้นพบจารึกภาษาสุเมเรียน 25,000 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเมืองและเศรษฐกิจ จารึกนี้ทำให้คนรุ่นปัจจุบันรู้จักสภาการณ์ในยุคนั้น
       
       4. อูร์ (Ur) เป็นเมืองท่าสำคัญในอ่าวเปอร์เซียในยุค 2100 ก่อนคริสตกาล ประชากร 100,000 คน ค้าขายกับทั่วโลก ราว 500 BC ถูกทิ้งเป็นเมืองร้างเพราะภัยแล้งที่เกิดจากแม่น้ำที่เปลี่ยนทิศทางไหล แต่ยังเป็นแหล่งศักดิ์สิทธิ์ต่อมา การขุดค้นในทศวรรษ 1850 พบซากมนุษย์จำนวนมาก เป็น "เมืองแห่งคนตาย" (City of the Dead) หรือ นีโครโพลิส (Necropolis)
       
       5. หยินซู (Yinxu) รุ่งเรืองในช่วง 1300 BC ประชากร 120,000 คน เติบโตจากหมู่บ้านเล็กๆ ในอาณาจักรจีนโบราณเป็นแหล่งที่ค้นพบจารึกบนกระดูกสัตว์ที่เรียกว่า ออราเคิลโบน (Oracle Bone) จำนวนมาก เขียนด้วยอักษรจีนโบราณ เมืองทรุดโทรมลงและถูกทอดทิ้งในสมัยราชวงศ์โจว (Zhou Dynasty)
       
       6. บาบีลอน (Babylon) รุ่งเรืองสุดขีดในช่วง 700 BC พลเมือง 100,000 เป็นศูนย์กลางความร่ำรวยแห่งยุคสมัย กษัตริย์ทรงอำนาจและอิทธิพล เป็นแหล่งของสวนลอยบาบีลอน กับหอคอยแห่งบาเบล (Tower of Babel) คัมภีร์ไบเบิ้ลกล่าวเอาไว้ว่า ชาวบาบีลอนเชื่อมั่นในพระเจ้าและพยายามปีนป่ายไปสู่สวรรค์ ราว 538 BC กษัตริย์ไซรัส Cyrus) แห่เปอร์เซียยาตราทัพทวนแม่น้ำยูเฟรติสเข้าตี ปล้นสะดมบาบีลอนจนแหลกคามือ
       
       7. คาร์เถจ (Carthage) รุ่งเรืองโดดเด่นในปี 300 BC พลเมือง 100,000 ได้ชื่อเป็นเมืองยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ก่อนที่จะถูกกองทัพโรมันที่เหนือกว่าเข้าโจมตีและเผาจนวายวอดและทำลายทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อ 146 ปีก่อนคริสตกาล
       
       8. โรม (Rome) ยิ่งใหญ่ที่สุดในปี ค.ศ.200 ประชากร 1,200,000 คน เลี้ยงดูชาวเมืองด้วยอาหารจากยุโรปและรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในรูปภาษี ชีวิตอันสุขสบายของชาวโรมันสะท้อนได้ดีมากในภาพยนตร์เช่น แกลดิเอเตอร์ (Gladiator) ที่นำแสดงโดยรัสเซล โครว์ (Russell Crowe) กับวาวควีน ฟีนิกซ์ (Joaquin Phoenix) แต่ปี ค.ศ.273 โรมเหลือประชากรอยู่ราว 500,000 เริ่มเข้าสู่ยุคมืด (Dark Age)
       
       9. คอนสแตนนิโนเปิล (Constantinople) เจริญสุดขีดในปี ค.ศ.600 ประชากร 600,000 คน เป็นศูนย์กลางการค้าขาย อาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลในยุคของจักรพรรดิฟลาวีอุส เฮราคลีอุส ออกัสตัส (Flavius Heraclius Augustus) สงครามเปอร์เซียปี 618 ทำให้การส่งอาหารและพืชผลการเกษตรจากอียิปต์หยุดชะงัก พลเมืองเริ่มอดอยากและเหลือเพียงประมาณ 1 ใน 10 ของจำนวนเมื่อ 18 ปีก่อนหน้านั้น
       
       10. แบกแดด (Bagdad) ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกในปี ค.ศ.900 ประชากร 900,000 คน ได้ชื่อเป็นศูนย์กลางของยุคทองแห่งศาสนาอิสลาม เป็นศูนย์กลางของศิลปะและวิทยาการหลายแขนงที่โลกอิสลามใช้มาจนถึงยุคปัจจุบัน แบกแดดเฟื่องฟูอยู่ 300 ปีเศษ ก่อนจะถูกกองทัพมองโกลรุกรานและถูกตีย่อยยับลงในปี 1250
       
       11. ไคเฟิง (Kaifeng) เป็นเมืองใหญ่มากใน ค.ศ.1200 ประชากร 1,000,000 คน ตัวเมืองป้องกันแน่นหนาด้วยกำแพงถึง 3 ชั้น แต่ก็ไม่พ้นเงื้อมมือของมองโกลในการศึกที่ยืดเยื้อ 30 ปีเศษและปี 1234 ไคเฟิงก็แตกพ่าย ราษฎรหลบหนีไปคนละทิศละทาง ที่นี่ยังมีชุมชนชาวยิวโบราณใหญ่โตที่สุดในจีนอีกด้วย
       
       12. ปักกิ่ง โดดเด่นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1500 ประชากร 1,00,000 คน ใหญ่โตที่สุดในยุค แต่แพ้ภัยตัวเองเพราะไม่สามารถลี้ยงดูประชากรที่มากมายได้ ราษฎรบุกถางป่าตัดไม้ทำบ้านเรือนที่อาศัยและเผาถ่านเป็นเชื้อเพลิง จนโล่งเตียน ส่งผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมสะท้านสะเทือนไปทั่วภูมิภาค
       
       13. กรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองหลวงอาณาจักรสยามโบราณอยู่กว่า 400 ปี แต่ขึ้นนำหน้าทุกเมืองในโลกในปี ค.ศ.1700 (พ.ศ.2243) ประชากร 1,000,0000 เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจากสารพัดทิศ รวมทั้งชาวยุโรปด้วย แต่อยุธยาก็สิ้นสุดลงเป็นเถ้าถ่านด้วยน้ำมือของกองทัพพม่า
       
       14. ลอนดอน ใหญ่โตที่สุดในต้นศตวรรษที่ 19 หรือปี ค.ศ. 1825 ประชากร 1,335,000 คน ที่อยู่กันแออัดจนเกือบจะทุกย่านของเมืองหลวงมีสภาพเป็นสลัม อาชญากรรมลามเมือง ในปี 1829 รัฐบาลได้ตั้งกองกำลังตำรวจขึ้นอย่างเป็นทางการ ตั้งชื่อตามชื่อของนายกรัฐมนตรีโรเบิร์ต พีล (Robert Peel) ชาวอังกฤษเรียกตำรวจว่า "บ๊อบบี้ส์" (Bobbies) จนถึงทุกวันนี้
       
       15. นิวยอร์ก ในปี 1925 หรือต้นศตวรรษที่แล้วมีประชากรถึง 7,774,000 คน เป็นมหานครที่มองสู่อนาคตอย่างแท้จริง เป็นแห่งแรกของโลกที่สร้างตึกระฟ้า ถึงแม้ว่าจะเจอสภาพเศรษฐกิจตกต่ำในปี 1929 แต่การก่อสร้างอาคารสูงเช่น ไครสเลอร์ เอ็มไพร์สเตท ลินคอล์นและอาคารวันวอลสตรีท ฯลฯ ก็ยังดำเนินต่อไป
       
       16. โตเกียว ใน 1968 (พ.ศ.2511) เมืองหลวงของญี่ปุ่นมีประชากรถึง 20,500,000 คน ไม่เคยมีที่ไหนประวัติศาสตร์โลก แต่เศรษฐกิจของประเทศรุ่งเรืองสุดขีด ระหว่างปี 1953-1990 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจยุคหลังสงครามโชติช่วงมากที่สุด ญี่ปุ่นสร้างสิ่งประดิษฐ์สมัยใหม่ออกสู่ตลาดโลกมากมายหลายชนิด.


http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9560000008955

.




คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
10 ความสนุกที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปอยุธยา

-http://travel.sanook.com/1307770/10-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2/-




1.ไหว้พระนอน อยุธยามีพระนอนมากมาย ที่เมื่อไปสักการะแล้วหลายคนอาจตื่นตะลึงกะบความงามและเสน่ห์มนต์ขลัง ภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยาก็มีวัดใหญ่ชัยมงคล วัดโลกยสุธา วัดสามวิหาร วัดพุทไธศวรรย์ วัดธรรมิกราช วัดเสนาสนาราม วัดพนมยงค์ ส่วนอำเภออื่นๆ เช่น วัดสะตือ วัดไม้รวก อำเภอท่าเรือ วัดพิกุล อำเภอบางบาล วัดสุวรรณเจดีย์ อำเภอมหาราช วัดบางปลาหมอ อำเภอเสนา




2.ไหว้ราชานุสาวรีย์ เพื่อระลึกถึงพระปรีชาสามารถและคุรงามความดีของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ที่ทรงกอบกู้รักษาบ้านเมืองไว้ ที่พระบรมราชานุสาวรีย์ พระเจ้าอู่ทอง พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศรมหาราช (ทุ่งภูเขาทอง) และวัดใหญ่ชัยมงคล อีกทั้ง พระราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสอนที่วัดพิชัยสงคราม




3.ชมพระราชวัง อลังการสร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรมอันวิจิตรบรรจง ที่สะท้อนถึงฝีมือและความฉลาดในเชิงช่างยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาที่พระราชวังบางปะอิน พระราชวังโบราณหรือพระราชวังหลวงและพระราชวังจันทรเกษม



4.เที่ยวพิพิธภัณฑ์ รู้จักอดีตของอาณาจักรอยุธยา เรียนรู้ประวัติศาสตรืผ่านการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ที่มีอยุ่หลายแห่งเช่น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจันทรเกษม สถาบันอยุธยาศึกษา ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อำเภอบ้านแพรก พิพิธภัณฑ์เรือนไทยล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์




5.ตลาดอยุธยา ยังไม่วาย ทั้งตลาดบกตลาดน้ำ เช่น ตลาดน้ำกรุงเก่าวัดท่าการ้อง ตลาดน้ำอโยธยา ตลาดหัวรอ ตลาดน้ำอยุธยาคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา ตลาดโก้งโค้ง อำเภอบางปะอิน และตลาดลาดชะโด อำเภอผักไห่




6.เพลินแหล่งภูมิปัญญา ชมศิลปหัตถกรรมที่ยังคงอยู่ การสืบทอดวิธีการดำรงชีวิตและภูมิปัญญาของคนไทยสมัยโบราณก่อให้เกิดเป็นงานสร้างสรรค์ต่างๆ เช่น การทำมีดอรัญญิก อำเภอนครหลวง การทำตุ๊กตาชาวบ้าน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และชมงานศิลปาชีพหลากหลายที่ศูนยืส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ และศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร การทำดอกไม้จากต้นโสน การสานปลาตะเพียนใบลาน และการทำหัวโขนของหม่อมหลวงพันสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ




7.ล่องเรือรอบเกาะเมือง ชมทศนียภาพและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก นอกจากนี้ บนเรือยังมีอาหารบริการให้อิ่มอร่อย และเลือกสรรได้หลายเมนู

8.นั่งช้่างหรรษา หรรษากับการนั่งช้างชมโบรารสถานและสัมผัสวิถีชีวิตช้างไทยได้หลายแห่ง เช่น วังช้างอยุธยาและเพนียด



9.นั่งตุ๊กตุ๊ก ไปทุกที่ อีกหนึ่งสัญลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่จะพานักท่องเที่ยวไปทั่วทุกมุมเมือง




10.โต้รุ่งไปกับตลาดอาหารกลางคืน ที่มีให้เลือกมากมาย ทั้งตลาดหน้าวังจันทรเกษม ตลาดโต้รุ่งหน้าตลาดแกรนด์ ตลาดรุ่งเรืองและตลาดบางเอียน หน้าองค์การโทรศัพท์

เรียบเรียงโดย : ทศพร สุภาพ


http://travel.sanook.com/1307770/10-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2/

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เที่ยวกรุงเก่า เล่าเรื่องใหม่
เที่ยวกรุงเก่า เล่าเรื่องใหม่ : คอลัมน์ชวนเที่ยว : โดย...เรื่อง/ภาพ : นพพร วิจิตร์วงษ์

               พูดถึงพระนครศรีอยุธยา หลายคนมองข้ามเพราะความที่อยู่ใกล้จนเกินไป เหมือนกับที่เขาชอบพูดกันว่า "ใกล้เกลือกินด่าง" หลายคนเคยไปจนไม่รู้จะไปเที่ยวตรงไหนของอยุธยาอีก และหลายคนรู้จักอยุธยาแค่เพียงเรื่องเล่าขานผ่านหน้าประวัติศาสตร์ แต่ยังไม่ได้ไปสัมผัส

               พระนครศรีอยุธยา เมืองหลวงเก่าของไทยยังเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และผู้ที่ชื่นชอบคลั่งไคล้ในโบราณสถาน ด้วยชื่อชั้นที่เป็นเมืองมรดกโลก โดยคณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก( UNESCO) ได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ที่มีอาณาเขตครอบคลุม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร

               สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วๆ ไป ที่มีเวลาน้อยนิดแค่ 1 วัน แต่ไม่รู้จะไปไหนดี ก็ไปหาความสำราญได้ในแง่มุมอื่นๆ ของพระนครศรีอยุธยาที่ผสมผสานทั้งความเก่าแก่ และความเป็นสมัยใหม่ได้ไม่ยาก

               เอาเป็นว่า วันนี้ฉันจะพาไปเที่ยวแบบฝนนิดๆ แดดหน่อยๆ ที่ "อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา" แล้วกัน จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางถนนสายเอเชีย แยกซ้ายเข้าอยุธยา ตรงไปเรื่อยๆ จนเห็นวงเวียนเจดีย์กลางเมือง บางคนอาจจะอยากแวะเที่ยวแถวนี้ก่อนก็ได้ วัดใหญ่ชัยมงคล อยู่แยกซ้าย สมัยพระนเรศวรชนช้างชนะพระมหาอุปราชา ได้โปรดเกล้าให้สร้างเจดีย์ไว้เป็นที่ระลึกที่นี่ ขนานนามว่า "พระเจดีย์ชัยมงคล" จากจุดนี้สามารถเลยไปเที่ยวชมวัดพนัญเชิง บ้านฮอลันดา บ้านญี่ปุ่น ได้ด้วย แต่ยังไม่ใช้เป้าหมายของเรา

               เลยวงเวียนตรงไปเรื่อยๆ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปสุดทางสามแยก เลี้ยวขวาไปตามป้ายอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งใจกลางกรุงศรีอยุธยา ที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 หลายคนไปอยุธยา ไม่รู้ว่าจะตั้งต้นเที่ยวที่ไหนดี แนะนำว่า ที่นี่แหละ เหมาะที่สุด เพราะสามารถเดินเท้าเชื่อมไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ไม่ยาก  เห็นช้างแต่งตัวรับนักท่องเที่ยวนั่งหลังช้าง ก็ถึง "วังช้าง" มุดหมายที่เราจะเริ่มต้นเดินเที่ยวซะที แวะจอดรถข้างๆ ลานแสดงช้าง

               แวะทักทายพลายน้อย พังน้อย ที่มาเรียกเสียงปรบมือจากนักท่องเที่ยวกันเสียหน่อย ขวัญใจของฉัน เห็นจะเป็น "ปีเตอร์" ช้างพลายที่เริ่มจะวัยรุ่น เจ้าตัวนี้มีแววศิลปินไม่น้อย ชอบเต้นแถมทำหน้าได้ระรื่น จนหน้าขำ

               จากลานแสดงช้าง เดินไปด้านหลัง เห็นเรือนไทยอยู่อีกฝั่งของคูน้ำ "คุ้มขุนแผน" แต่เดิมเป็นจวนสมุหเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ได้ย้ายจากที่เดิมมาสร้างตรงนี้ ที่แต่ก่อนเป็นคุกนครบาลเก่าของพระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งสร้างเรือนไทยเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2499 และให้ชื่อเรือนไทยนี้ว่า คุ้มขุนแผน ซึ่งเชื่อกันว่าขุนแผนเคยต้องโทษอยู่ในคุกแห่งนี้

               ขึ้นไปบนเรือน พวกเราเลือกถ่ายรูปกันมุมนั้น มุมนี้ แต่พออ่านป้ายที่ติดไว้ให้ทราบอีกที เป็นต้องวิ่งไปถ่ายรูปกันใหม่ที่เรือนใหญ่กันใหม่ สงสัยชาติก่อนเป็นขี้ข้า หรือไม่ก็ทาส ถึงได้เลือกถ่ายรูปกับส่วนที่เป็นเรือนคนใช้ก่อนเพื่อนเหมือนคุ้นเคยซะงั้น 555

 

 

               จากคุ้มขุนแผน ข้ามสะพานด้านหลัง เชื่อมไปยังบริเวณที่จะเห็นเป็นวัด และเจดีย์มากมาย บริเวณนี้เป็นเขตพระราชวังโบราณ และเป็นที่ตั้งของวัดมงคลบพิตร และวัดพระศรีสรรเพชญ์ จัดแจงติดต่อซื้อบัตรผ่านประตูเข้าวัดพระศรีสรรเพชญ์คนละ 10 บาท ราคาคนไทยก่อนจะเข้าเที่ยวชมได้

               วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง ต้นแบบของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง วัดนี้สร้างในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ตามพระราชพงศาวดาร ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2035 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ 2 องค์ที่วัดนี้เพื่อบรรจุพระบรมอัฐของพระราชบิดาและพระเชษฐา แต่มาสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระหน่อพุทธางกูร) โปรดเกล้าให้สร้างเจดีย์ขึ้นอีก 1 องค์ เรียงกันไป เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

               วิหารหลวงของวัดนี้ สร้างในปี พ.ศ. 2034 มีพระพุทธรูปยืนหุ้มทองขนาดใหญ่ คือ พระศรีสรรเพชญ์ เมื่อคราวพม่าบุกกรุงครั้งสุดท้ายได้สุมไฟเพื่อเผาเอาทองที่หุ้มพระศรีสรรเพชญ์ไป จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงโปรดเกล้าให้อัญเชิญชิ้นส่วนที่ชำรุดของพระศรีสรรเพชญ์ลงมากรุงเทพ ฯ และให้นำชิ้นส่วนที่บูรณะไม่ได้แล้วรวมกันไว้ในพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้น แล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า "เจดีย์สรรเพชญดาญาณ"

               บริเวณเจดีย์ สามารถเดินชมได้โดยรอบ ผ่านซากปรักหักพังของอิฐ หิน เจดีย์ เดี๋ยวนี้แต่ละจุดสำคัญ จะมีเครื่องหมายบอกให้ฟังคำอธิบายผ่านหูฟังที่ติดต่อขอใช้บริการได้ตอนซื้อบัตรผ่านประตู แต่ดูเหมือนนักท่องเที่ยวไทยไม่ค่อยสนใจอาจจะเพราะรู้เรื่องมาบ้าง นักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่มาเป็นกรุ๊ปทัวร์มีไกด์คอยอธิบายความ

               ออกจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ มาแวะ วัดมงคลบพิตร วัดนี้ถ้าใครดูรูปสมัยก่อนจะเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เด่นเป็นสง่า ซึ่งก็คือ พระมงคลบพิตร พระพุทธรูปโบราณที่ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทยนั่นเอง ในสมัยพระเจ้าเสือเกิดฟ้าผ่าลงมาที่ยอดมณฑป และเกิดไฟไหม้จนเครื่องมณฑปพังลงมาต้องพระศอของพระมงคลบพิตรหักตกลงมายังพื้น  พระเจ้าเสือจึงโปรดเกล้าให้รื้อยอดมณฑปแล้วสร้างใหม่เป็นแบบมหาวิหาร และต่อพระศอของพระมงคลบพิตรที่หักให้คืนดังเดิม

 

 

               แต่วิหารที่ประดิษฐานพระมงคลบพิตรและวัดพระศรีสรรเพชญ์ กลายเป็นซากปรักหักพัง เป็นสถานที่รกร้างอยู่นานถึง 153 ปีหลังจากที่พม่ายกทัพใหญ่เข้าประชิด จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จบวงสรวงดวงวิญญาณของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 บริเวณพระราชวังโบราณจึงได้รับการขุด ปรับแต่งให้ดีขึ้น และวัดทั้งสองแห่งก็ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่

               ผ่านฉากของประวัติศาสตร์ เพียงแต่บริเวณพระราชวังโบราณก็ทำให้นึกย้อนอดีตที่เราเคยได้แต่เรียนรู้จากหนังสือเท่านั้น

               "เสียงอะไรดัง... หรือหูฉันแว่วไป " ฉันนึกขึ้นทันทีที่ได้ยินเสียงจ้อกกก แผ่วๆ มา อ้อ...ที่แท้ท้องร้อง ได้เวลาอาหารเที่ยงแล้วสิ มาอยุธยาทั้งที่ แถมอยู่ย่านอุทยานประวัติศาสตร์แบบนี้ เลยไปอีกไม่ไกล มีร้านก๋วยเตี๋ยวไก่ฉีกเจ้าอร่อยขึ้นชื่อลือชานัก ว่าแล้วก็ชักชวนเพื่อนขึ้นรถดิ่งไปทันที

               ออกจากที่จอดรถข้างวังช้าง เลี้ยวขวา ตรงไปจนข้ามสะพานไม้แล้วเลี้ยวขวาเลาะกำแพงเมืองไปจนสุดท้าย ข้ามแยกไปอีกหน่อย ทางเดียวกับวัดพนมยงค์ ก็ถึงพอดี "ประนอมก๋วยเตี๋ยวไก่ฉีก" น้ำซุปเข้มข้น หอมอร่อย จบมื้อเที่ยงแบบอิ่มสบายท้อง ก็เลี้ยวเข้าวัดพนมพงค์ที่อยู่ตรงนั้น ต่อซะเลย

               วัดพนมยงค์ เป็นวันเก่าแก่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง มีพระนอนองค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่ง และเป็นวัดต้นตระกูลพนมยงค์ เนื่องจากศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ใกล้วัดนี้ เมื่อถึงยุคที่ต้องมีนามสกุล (รัชกาลที่6) จึงได้นำชื่อวัดพนมยงค์มาเป็นชื่อสกุล เครือญาติและลูกศิษย์ได้ช่วยกันทะนุบำรุงวัด และสร้างวิหารหลังใหม่ จากเดิมที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นวัดร้างมาก่อน โดยมีชื่อว่า วัดพระนมยง

               ออกจากวัดพนมยงค์ ยูเทิร์นมาทางแยกเลี้ยวขวาก็เจอ พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น ของ อ.เกริก ยุ้นพันธ์ ขึ้นชื่อว่าล้านของเล่น ที่นี่มีของเล่นเยอะแยะขนาดนั่งดูกันเป็นวันๆ ไม่หมด อาคารสีฟ้าขาว ของเล่นที่นี่มีทั้งสมัยโบราณสังกะสี มาจนถึงสมัยใหม่เรซิ่นก็มี ขวัญใจเด็กๆ อย่างซูเปอร์แมน อุลตร้าแมน หรือกัปตันอเมริกาตัวโตๆ รอให้ทักทายอย่างใกล้ชิด

               อาทิตย์หน้ามาติดตามกันต่อนะคะ จะชวนคุณพ่อ คุณแม่ ไปย้อนอดีตวันเด็ก ที่พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นกันค่ะ

 

 .......................................

(เที่ยวกรุงเก่า เล่าเรื่องใหม่ : คอลัมน์ชวนเที่ยว : โดย...เรื่อง/ภาพ : นพพร  วิจิตร์วงษ์)
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)