ประชาสัมพันธ์ > การเตือนภัยสังคมและกลุ่มมิจฉาชีพต่างๆ
รวม เตือนภัย ที่ใกล้ตัว อย่าประมาท และเป็นความรู้การป้องกันตนเอง
sithiphong:
เตือนภัย ! แฉกลโกงลักทรัพย์บนเครื่องบิน ทำเป็นขบวนการ
-http://hilight.kapook.com/view/126900-
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
เฟซบุ๊ก เรื่องเล่าจากฟากฟ้า
อุทธาหรณ์ เตือนภัยกลโกงลักทรัพย์บนเครื่องบิน ฉวยโอกาสตอนไม่อยู่ หลังนำของมีค่าไว้ในกระเป๋า ชี้ คนร้ายมักเป็นคนจีนที่เดินทางมาเป็นกลุ่มใหญ่
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 เฟซบุ๊ก เรื่องเล่าจากฟากฟ้า ได้มีการเขียนเรื่องราวเตือนใจสำหรับผู้ที่เดินทางผ่านเครื่องบินบ่อย ๆ หลังจากที่เกิดเหตุลักทรัพย์บนเครื่องบิน ในชั้นธุรกิจ ของสายการบินแห่งหนึ่ง ซึ่งมีรายละเอียดที่สรุปได้ดังนี้
ก่อนที่จะขึ้นเครื่อง ทางเจ้าหน้าที่รับทราบมาว่า ผู้โดยสารกลุ่มหนึ่งเคยมีประวัติลักทรัพย์บนเครื่องบินได้โดยสารขึ้นเครื่องมาด้วย ต้องจับตาดูเป็นพิเศษ ต่อมาได้มีผู้โดยสารกับลูกเรือคนหนึ่ง กำลังชุลมุนกันอยู่ในห้องน้ำ ก่อนที่ลูกเรือจะเหวี่ยงตัวผู้โดยสารออกมา พร้อมกับขอให้ลูกเรือคนอื่นจับตัวเอาไว้ จากนั้นลูกเรือคนที่เหวี่ยงผู้โดยสารออกมา ก็ได้นำเงินจำนวนหนึ่งออกมานอกห้องน้ำด้วย ทำให้ทราบว่า มีการลักทรัพย์บนเครื่องบินนั่นเอง
สำหรับเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ที่เกิดขึ้นนั้น มีผู้โดยสารคนหนึ่งสังเกตว่าผู้ต้องหากำลังเปิดกระเป๋าของผู้โดยสารฝั่งตรงข้าม ที่ไม่ได้อยู่บริเวณที่นั่งตัวเอง จึงเข้าไปถามไถ่ว่าต้องการอะไรหรือไม่ ทำให้ผู้ต้องหาตกใจที่ถูกจับได้ จึงรีบวิ่งไปที่ห้องน้ำ เพื่อทำลายหลักฐานสิ่งของที่ขโมยมา แต่ว่าลูกเรือคนที่เหวี่ยงผู้ต้องหานั้น อยู่หน้าห้องน้ำพอดี ก็ได้ยินเสียงของผู้โดยสารขอให้จับตัวไว้ จึงเกิดเหตุชุลมุนกันขึ้น ก่อนที่จะจับตัวได้สำเร็จ
ทั้งนี้ประเด็นการลักทรัพย์บนเครื่อง มักทำเป็นขบวนการ โดยเฉพาะผู้โดยสารชาวจีนที่เดินทางกันเป็นกลุ่ม และเดินทางในตอนกลางคืน จะสามารถลักทรัพย์ได้อย่างสะดวกมากกว่า ซึ่งวิธีการจะนั่งกระจายกัน ติดริมทางเดิน และจองตั๋วเปลี่ยนเส้นทางเอาไว้ เพื่อสะดวกต่อการหลบหนี
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
เฟซบุ๊ก เรื่องเล่าจากฟากฟ้า
sithiphong:
จับตายไปเลย
เสียดายเงินภาษีอากร เปลืองพื้นที่ในคุก
--------------------------------------------------------------
โจรในคราบคนดี ! ต้อม โอรส แอบอ้างเด็กพิการเรี่ยไรเงินบริจาค พอจับได้ขู่ทำร้าย
-http://hilight.kapook.com/view/127001-
ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง เข้าช่วยเหลือครอบครัวเด็กป่วยโรคงวงช้าง ถูก ต้อม โอรส นำรูปถ่ายเรี่ยไรเงินบริจาคเข้าบัญชีตัวเอง ก่อนขู่ทำร้าย
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2558 ผู้สื่อข่าวมารายงานว่า เจ้าหน้าที่ทหารชุดรักษาความสงบเรียบร้อย จ.ชัยนาท ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.วัดสิงห์ และนายไพรัตน์ เพชรยวน นายอำเภอวัดสิงห์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ เดินทางเข้าช่วยเหลือครอบครัวของ นายวันชัย คำภิณ หลังจากที่ลูกชายคือ ด.ช.พัฒนายุ หรือ น้องนะโม ซึ่งพิการเป็นโรคงวงช้างและน้ำในสมอง ได้ถูก นายรัชชานนท์ บุญญาพิทักษ์ หรือ ต้อม โอรส แอบอ้างนำรูปถ่ายไประดมเงินบริจาคเข้าบัญชีส่วนตัว จนเมื่อถูกทางครอบครัวของเด็กจับได้ก็กลับมาข่มขู่ผู้ปกครองเด็ก
โดยพ่อของน้องนะโม เผยว่า ต้อม โอรส ได้ปิดเฟซบุ๊กที่ระดมเงินบริจาคไปแล้ว และพยายามโทรมาขอให้ตนยอมความและถอนแจ้งความ อย่างไรก็ตามพวกตนยืนยันว่าจะไม่ถอนแจ้งความและจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายก็ได้รับปากว่าจะจัดชุดเข้ามาเยี่ยมและตรวจความปลอดภัยให้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ยอมให้ ต้อม โอรส ได้เข้ามาคุกคามหรือทำอันตรายโดยเด็ดขาด
ด้าน ร.ต.อ. สัญชัย เมธีวัฒน์ พนักงานสอบสวน เจ้าของคดีเผยว่า เบื้องต้นได้ติดต่อให้ ต้อม โอรส เข้ารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าจะเข้ามาเมื่อไหร่ หากยังไม่มีก็จะถูกออกหมายเรียกและหมายจับต่อไป
ขณะที่ทางเพจ Drama-addict ยังได้ออกมาสรุปข้อมูลในคดีที่เกิดขึ้นของ ต้อม โอรส ในชาวเน็ตได้ติดตามกันด้วย โดยระบุว่า ต้อม โอรส นั้นได้อ้างว่าตัวเองเป็นนักเลงกลับใจ ออกมาทำมูลนิธิรับบริจาคสิ่งของและเรี่ยไรเงินเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ยากไร้และเจ็บป่วย จากนั้น ต้อม โอรส ก็ได้ไปตื้อให้ครอบครัวที่มีเด็กพิการยอมเข้ามูลนิธิ แล้วนำใบรับรองความพิการของเด็กคนดังกล่าวไปประกาศเรี่ยไรเงิน แต่เงินเหล่านั้นกลับไปไม่ถึงมือพ่อ-แม่เด็ก ทำให้ฝ่ายพ่อ-แม่เด็กออกมาทวงถาม ต้อม โอรส จึงข่มขู่จะทำร้ายหากไม่ยอมเงียบ พร้อมอ้างตัวว่ารู้จักคนใหญ่คนโตมากมาย จนมีแฟนเพจในเฟซบุ๊กนำเรื่องราวมาตีแผ่สู่สังคม กระทั่งสื่อมวลชน ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองให้ความสนใจ ลงพื้นที่เข้าช่วยเหลือในที่สุด
ภาพจาก เพจ Drama-addict
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443274352-
sithiphong:
รวมภัยเงียบ ใกล้ตัวจากมือถือ(ที่ต้องระวัง)
-http://hitech.sanook.com/1401877/-
อย่างที่ทราบกันดีว่าตอนนี้นั้น มือถือกลายมาเป็นอวัยวะที่ 33 ของชีวิตเราในปัจจุบันไปแล้ว เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารที่มีมากขึ้นรวมทั้งราคาของอุปกรณ์เหล่านี้ถูกลงด้วย แต่ในทางกลับกันหากเราแยกแยะเวลาการใช้เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ไม่ถูกต้อง มันก็ก่อนอันตรายให้เราได้เช่นกัน มาดูกันครับว่าปัญหาหลักๆ เราต้องระวังมีอะไรบ้าง?
- คุยมือถือไปด้วยขณะชาร์จ ถือเป็นเรื่องปกติที่เรามักเห็นเสมอ (ของแบบนี้ไม่โดนกลับตัวไม่มีทางรู้แน่นอน)
มักมีคำถามให้เห็นเสมอว่า อันตรายหรือเปล่า ? คำตอบคือ การคุยมือถือไปด้วยขณะชาร์จ ทำให้เกิดอันตรายได้ การคุยไปด้วยเป็นการกระตุ้นการทำงานของแบตเตอรี่ให้ทำงานมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับตอนไม่ได้ชาร์จ
- การใช้หัวชาร์จไม่ได้มาตราฐานรวมไปถึง แบตฯ สำรอง ด้วยเช่นกัน
การใช้สายชาร์จ ไม่ควรซื้อสายชาร์จราคาถูกแต่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะอาจเกิดไฟลุกหรือระเบิดเหมือนที่เป็นข่าวดังได้ เพราะวัสดุไม่ได้คุณภาพ ทั้งนี้สายชาร์จของแท้ แม้จะราคาแพงหน่อย แต่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพในการผลิตจากผู้ผลิตแล้วมาตรฐานสากล
- การโพสข้อความในโซเชียลเน็ตเวิร์คบ่งบอกสถานะของตัวเองอย่างอยู่ไหน ทำอะไร
ใครจะคิดละว่า โซเชียลเน็ตเวิร์ค จะนำอันตรายมาสู่เราได้ ตัวอย่างง่ายๆ หากคุณออกไปทำธุระข้างนอกแล้ว โพสข้อความให้รู้ว่าตอนนี้ไม่มีคนอยู่บ้านและสิ่งที่คุณโพสนั้นไปเตะตา มิจฉาชีพเข้า อะไรจะเกิดขึ้นครับ ไม่เท่านั้นการโพสสิ่งของมีค่าเพื่อโชว์กันบนโซเชียลไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter, Facebook, Google+ ก็ล่อพวกโจรได้ดีเช่นกัน
- การใช้สมาร์ทโฟนระหว่างขับรถข้ามถนนรวมไปถึงระหว่างขึ้นลงรถ
นิสัยแบบนี้มักมีให้เห็นเสมอในสังคมปัจจุบันครับ มันทำให้เราประมาทมากขึ้นรวมทั้งขาดสมาธิเพราะก็มัวแต่เล่นมือถือไม่ได้สังเกตสิ่งรอบข้างมองซ้าย-ขวา ทั้งหมดอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และอีกอย่างยิ่งเป็นช่วงกลางดึกด้วยแล้วยิ่งอันตรายมันเป็นตัวล่อพวกมิจฉาชีพอย่างดีเลย ทางที่ดีรอบคอบไว้ก่อนครับ ถึงบ้านค่อยเล่นก็คงไม่ช้าไป สังเกตได้ว่าไม่ว่าเราจะเดินไปไหนขึ้นรถ-ลงเรือ ก็จะเห็นแต่คนก้มหน้าเล่นมือถือกันทั้งนั้น แทบจะทุกที่ ทุกเวลากันเลยทีเดียว
- การใช้สมาร์ทโฟนก่อนนอน และวางใกล้ตัวแล้วนอน
กรณีนี้ก็อันตรายไม่แพ้กันครับ ถึงแม้ว่าไฟที่อยู่ในสายชาร์จซึ่งวิ่งเข้ามือถือจะถูกแปลงแล้วก็ตาม แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า แต่ทว่าถ้าหากตัว Rectifier ที่เป็นตัวแปลงกระแสไฟนั้นยังมีคุณภาพหรือไม่มีการชำรุด ทางที่ดีไม่ควรชาร์จมือถือ แล้ววางไว้บนเตียงข้างๆ ที่เรานอนเพราะเราไม่รู้หรอกว่าไฟฟ้าจะรั่วมาโดนตัวเราตอนไหน อย่างกรณีของหนุ่มเมืองระยองที่เสียชีวิตเพราะนอนทับไอโฟนเมื่อกลางปี
แถมให้อีกอย่างการ คุณรู้ไหมว่าการคลุมโปงเล่นมือถือก่อนนอนก็อันตรายไม่แพ้กันครับ เพราะแสงสีฟ้าจากมือถือนั้นทำลายสายตาเราได้ครับ นักวิจัยเผยว่า แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่อการผลิต Melatonin ฮอร์โมนหลักในการควบคุม การหลับและตื่นของเราด้วยเช่นกัน
- เชื่อมต่อ Wi-Fi ไม่ทราบแหล่งที่มา
กรณีแบบนี้มักเกิดขึ้นได้ตามสถานที่สาธารณะเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นคุณควรทำการเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อ Public Wi-Fi ที่ไม่รู้จัก ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเชื่อมต่อจริงๆ จำไว้เสมอว่า Public Wi-Fi ที่ดี จะต้องไม่ถามข้อมูลรหัสผ่านใดๆของคุณ
- การดาวน์โหลดแอพฯ
คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้งานโปรแกรมเถื่อน หรือดาวน์โหลดแอพฯ มาโดยไม่ทราบแหล่งที่มาแน่ชัด เพราะมันอาจแฝงมาด้วย อาจแฝงมัลแวร์ที่แฮ็คเกอร์ใช้เพื่อควบคุมอุปกรณ์ของคุณมาด้วยก็ได้ แนะนำให้ดาวน์โหลดผ่านช่องทางที่ถูกต้อง เช่น App Store, Google Play หรือซื้อแผ่นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ถือเป็นช่องทางที่ปลอดภัยมากสุดครับ
- ความสะอาดของหน้าจอมือถือที่นำมาแบบหน้าบ้างก็ดีนะ
ปัญหาของสิว ที่ใครๆ มักมองข้ามไป ลองนึกภาพตามนะครับ เวลาใครโทรเข้ามาเราก็ต้องยกหน้าจอขึ้นแนบหน้าทุกครั้ง แล้วระหว่างวันมือของเราไปหยิบจับอะไรมาบ้างก่อนมาเล่นมือถือ เชื่อว่าหลายๆ คนมักไม่ได้ทำความสะอาดหน้าจออย่างจริงจังและถูกวิธีแน่นอน จริงๆแล้วหากไม่มีอุปกรณ์อะไรก็หากระดาษทิชชู จุมน้ำพอหมาดแล้วบีบน้ำออกก็สามารถนำมาเช็ดหน้าจอมือถือได้แล้ว
เห็นอันตรายจากการเล่น สมาร์ทโฟนไปแล้ว ถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ จะดีที่สุดครับ
sithiphong:
เวลาที่ออกสื่อ บางครั้งมีคนที่มักจะพูด โดยไม่มีความรับผิดชอบ
เช่น การที่ไปยืนยันว่า ไม่เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างนี้ หากเกิดเป็นขึ้นมา จะรับผิดชอบอย่างไร
!!!!!!!!!!
-----------------------------------
ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน กุ้งไทยปลอดฉีดสารเพิ่มน้ำหนักกุ้ง ชี้เป็นคลิปประเทศเพื่อนบ้าน
http://hilight.kapook.com/view/136156
ผู้เชี่ยวชาญยืนยันอุตสาหกรรมผลิตกุ้งของไทยมีการผลิตได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย และมีการตรวจสอบคุณภาพและสารตกค้างในกุ้งอย่างเข้มงวด ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่ากุ้งไทยสะอาด ปลอดภัยจากสารตกค้าง
ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ตามที่มีคลิปวิดีโอเผยแพร่การฉีดสารทำให้หนืดเข้าในตัวกุ้งกุลาดำเพื่อเพิ่มน้ำหนักนั้นเป็นโรงงานท้องถิ่นในประเทศเพื่อนบ้านไม่ใช่กุ้งในประเทศไทย ระบุแม้สารดังกล่าวปลอดภัย แต่ถือเป็นการกระทำที่ไม่ซื้อสัตย์และไม่มีความรับผิดชอบ
ดร.จูอะดีกล่าวต่อว่า สารที่ฉีดมีลักษณะหนืดคล้ายเจลาติน เรียกว่า Carboxy Methyl cellulose (CMC) เป็นวัตถุที่ปลอดภัยต่อการบริโภค สังเคราะห์จากพืช เป็นวัตถุใช้ในอาหารเพื่อให้อาหารมีหนืดและคงตัว เช่น ไอศครีม
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า อุตสาหกรรมกุ้งไทยไม่มีการฉีดสาร CMC เข้าไปในตัวกุ้ง เพราะเป็นการปฏิบัติที่ไม่รับผิดชอบ และไม่คุ้มต่อการลงทุนเนื่องจากต้องใช้แรงงานจำนวนมากฉีดกุ้งทีละตัว และเป็นการทำลายภาคอุตสาหกรรมกุ้งหากถูกจับได้
"ประเทศไทยเป็นผู้นำการส่งออกกุ้งกว่า 30 ปี จุดแข็ง คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูง และเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมกุ้งไทยมีการตรวจสอบคุณภาพกุ้ง ทั้งคุณภาพ เนื้อ สารปนเปื้อน และเชื้อโรคอย่างเข้มงวดก่อนส่งถือมือผู้บริโภคขอให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่ากุ้งไทยปลอดภัยจากสารปนเปื้อนแน่นอน" ดร.จูอะดีกล่าว
-https://www.facebook.com/541483892622947/videos/878880155549984/-
ภาพจาก เฟซบุ๊ก คลิปดังเฟสบุ๊ค
-https://www.facebook.com/541483892622947/videos/878880155549984/-
https://www.facebook.com/541483892622947/videos/878880155549984/
.
sithiphong:
.
.
ไม่อยากโดนหลอก อย่ารีบคลิกลิงก์และกรอบข้อมูล
ที่มา และ โพสโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand
5 สิงหาคม 2566
.
????จะคลิก link ????อะไรก็ต้องรอบคอบ ยิ่งเป็น link ที่ให้กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อชำระเงินด้วยยิ่งต้องระวัง‼️
.
มิจฉาชีพ???? จะมีมุกใหม่ ๆ มาหลอกให้กรอกข้อมูลเสมอ เช่น สำหรับผู้ใช้แอปพลิเคชันดูหนังออนไลน์ ????️ ที่ต้องชำระค่าบริการรายเดือนหรือรายปี จะได้รับอีเมลปลอม???? แจ้งว่ายังไม่ได้ชำระค่าบริการ/ไม่สามารถตัดเงินค่าบริการจากบัตรเครดิต????ได้ และให้กด link ผ่านอีเมลที่ส่งมาเพื่อกรอกข้อมูลบัตรเครดิต/ข้อมูลส่วนตัวใหม่ จากนั้นจะมีรหัส OTP เพื่อยืนยันข้อมูล ซึ่งหากเหยื่อหลงเชื่อ????ทำตามทุกขั้นตอน มิจฉาชีพก็จะสามารถดูดเงินออกไปได้สำเร็จ‼️
.
ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับมุกอื่น ๆ เช่น "ธนาคารกำลังปรับปรุงระบบ ขอให้ update ข้อมูลผ่าน link ที่แนบมาด้วย" ❌ปัจจุบันนี้ธนาคารไม่มีนโยบายขอข้อมูลลูกค้าผ่านทาง link ใน SMS และอีเมล❌
.
ดังนั้น ต้องตรวจสอบ???? ชื่ออีเมลผู้ส่งว่ามาจากบริษัท/ธนาคาร/หน่วยงานภาครัฐ ตามที่อ้างจริงหรือไม่ และในการกรอกข้อมูลควรกรอกผ่านเว็บไซต์????????????ทางการโดยตรง
.
หากไม่แน่ใจให้ติดต่อสอบถามไปยัง call center ????☎️ของหน่วยงานนั้น ๆ
.
#แบงก์ชาติ #แบงค์ชาติ #เตือนภัย #มิจฉาชีพ #แอปดูดเงิน
.
.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version