ผู้เขียน หัวข้อ: ทรงแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทั้ง ใหม่และเก่า  (อ่าน 1588 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทั้ง
ใหม่และเก่า
(นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธ-
คามินีปฏิปทา. .....

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! จักษุ (ตา) .... โสตะ (หู) .... ฆานะ
(จมูก) .... ชิวหา (ลิ้น) .... กายะ (กาย) ..... มนะ (ใจ) อันเธอ
ทั้งหลาย พึงเห็นว่า
เป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า) อภิสังขตะ
(อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัยทำให้เกิด
ความรู้สึก
ขึ้น) เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด, อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะ
ความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด, อันนี้
เรียกว่า
กัมมนิโรธ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ
ให้ถึง ความดับ แห่งกรรม
) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค
(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่...

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า) กรรมเก่า
เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่ เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
เราก็ได้แสดงแล้ว.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัย
ความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวก
ทั้งหลาย, กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ
.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง. พวกเธอ
จงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ
ในภายหลังเลย
.
นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗ - ๒๓๑.


-http://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า/


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทรงแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทั้ง ใหม่และเก่า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:42:31 pm »


สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗ - ๒๓๑.
ได้ทราบความหมายของ 4 คำที่ควรทราบเรื่องกรรมไปแล้ว
คงทำให้ชาวพุทธรู้เรื่องๆ กรรมได้มากขึ้น และรู้ต่อไปว่าจะต้องจัดการกับกรรมอย่างไร
วันที่ :  28 กันยายน 55 9:40
-http://www2.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?Mbrowse=8&QNumber=340253
...................................




สาธุ...ขอบคุณที่ยกมาครับผม...
1. กรรมเก่า (ปุราณกัมม)
พ้นโดยกำหนดสัจจะกริยาว่า "บัดนี้รู้แล้ว จักไม่ทำต่อไป"

2. กรรมใหม่ (นวกัมม)
พ้นโดย ละอกุศล เจริญกุศลให้ยิ่ง ชำระใจให้แจ่มใจ ทุกลมหายใจเข้าออก

 3. กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)
ตั้งเป้าหมายชีวิต
-ไม่แบกอารมณ์ทุกข์
-ไม่เป็นทาสกุญแจไขความสุข
- แต่เย็น

4. กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม)
ฝึกฝนตนตาม นิปปปัญจธรรม
หรือโพธิปักขิยธรรม ธรรมภาคปฏิบัติ 37 ประการ อย่างจริงจัง...สาธุ
Suraphol Kruasuwan




//- เหตุแห่งทุกข์ นอกความเชืื่อ ของพุทธ
ดั้งเดิมคือ
-ไม่ใช่เรื่องของ กรรมเก่า (ข้ามภพชาติ)
-ไม่ใช่เรื่องของ ผู้มีฤทธิ์บันดาล(เป็นกฎธรรมชาติ)
-ไม่ใช่เรื่อง บังเอิญ (มีกฎ เหตุปัจจัยปรุงแต่ง)
-ไม่ใช่เรื่องปฏิกริยาของธาตุ (วัตถุนิยม)
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

101] ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3
(บาลีเรียกว่า ติตถายตนะ แปลว่า แดนเกิดลัทธิ, ชุมนุมหรือประมวลแห่งลัทธิ
— beliefs of other sects; grounds of sectarian tenets; spheres of wrong views;
non-Buddhist beliefs)

       1. ปุพเพตกเหตุวาท (ลัทธิกรรมเก่า คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบจะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในปางก่อน — a determinist theory that whatever is experienced)
       2. อิสสรนิมมานเหตุวาท (ลัทธิพระเป็นเจ้า คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้ยิ่งใหญ่ — a determinist theory that whatever is experienced is due to the creation of a Supreme Being; theistic determinism) เรียกสั้นๆ ว่า อิศวกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท
       3. อเหตุอปัจจัยวาท (ลัทธิเสี่ยงโชค คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้ คือ ถึงคราวก็เป็นไปเอง — an indeterminist theory that whatever is experienced is uncaused and unconditioned; accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท

       ทั้งสามลัทธินี้ ไม่ชอบด้วยเหตุผล ถูกยันเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆ กันมา เป็นลัทธิประเภท อกิริยา (traditional doctrines of inaction) หากยึดมั่นถือตามเข้าแล้ว ย่อมให้เกิดโทษ คือ ไม่เกิดฉันทะ และความพยายาม ที่จะทำการที่ควรทำและเว้นการที่ไม่ควรทำ

A.I.173;
Vbh.367.   องฺ.ติก. 20/501/222;
อภิ.วิ. 35/940/496.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖