ผู้เขียน หัวข้อ: คำแปลพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ :สมเด็จพระญาณสังวร  (อ่าน 1145 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

 
คำแปลพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
(สมเด็จพระญาณสังวร-เจริญ สุวฑฺฒโน วัดบวรนิเวศวิหาร)
๑ ธมฺมสงฺคณี
กุสลาธมฺมา

ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล คือไม่มีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีสุขเป็นวิบากต่อไป

อกุสลาธฒฺมา

ธรรมทั้งหลายเป็นอกุศล คือมีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป

อพฺยากตา ธมฺมา

ธรรมทั้งหลายที่เป็น อัพยากฤต คือท่านไม่พยากรณ์ว่า เป็นกุศล หรืออกุศล คือเป็นธรรมกลาง ๆ

กตเม ธมฺมา กุสลา

ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเป็นไฉน

ยสฺมึ สมเย

ในสมัยใด

กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ

จิตที่เป็นกุศลอันหยั่งลงสู่กามย่อมเกิดขึ้น

โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ

เป็นไปกับโสมนัส ประกอบด้วยญาณ

รูปารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือรูป หรือมีรูปเป็นอารมณ์บ้าง

สทฺทารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือเสียง หรือมีเสียงเป็นอารมณ์บ้าง

คนฺธารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือกลิ่น หรือมีกลิ่นเป็นอารมณ์บ้าง

รสารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือรส หรือมีรสเป็นอารมณ์บ้าง

โผฏฺฐพฺพารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือโผฏฐัพพะ สิ่งทีกายถูกต้อง หรือมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์บ้าง

ธมฺมารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือ ธรรม เรื่องที่เกิดแก่ใจ หรือมี ธรรมเป็นอารมณ์บ้าง

ยํ ยํ วา ปนารพฺภ

ปรารภอารมณ์ใด ใด บ้างก็ดี

ตสฺมึ สมเย

ในสมัยนั้น

ผสฺโส โหติ

ความประจวบต้องกันแห่งอายตนะภายในภายนอก และวิญญาณ ย่อมมี ฯลฯ

อวิกฺเขโป โหติ

ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี

เย วา ปน ตสฺมึ สมเย อญฺเญปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา อรูปิโน ธมฺมา

ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่มีรูป ที่อาศัยกันเกิดขึ้นแม้เหล่าอื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น

อิเม ธมฺมา กุสลา

ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล

๒. วิภงฺโค
ปยฺจกฺขนฺธา

ขันธ์ คือกองทั้ง ๕

รูปกฺขนฺโธ

รูปขันธ์ กองรูป ๑

เวทนากฺขนฺโธ

เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๑

สญฺญากฺขนฺโธ

สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๑

สงฺขารกฺขนฺโธ

สังขารขันธ์ กองสังขาร ๑

วิญฺญาณกฺขนฺโธ

วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ๑

ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ

ในขันธ์ทั้ง ๕ นั้น รูปขันธ์เป็นไฉน

ยงฺกิญจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ

รูปอันใดอันหนึ่งเป็นอดีต ล่วงไปแล้ว เป็นอนาคตยังมิได้มา เป็นปัจจุบัน เกิดขึ้นอยู่ฉะเพาะหน้า

อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา

เป็นภายในหรือภายนอก

โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา

หยาบหรือละเอียด

หีนํ วา ปณีตํ วา

เลวหรือประณีต

ยํ ทูเร วา สนฺติเก วา

อันใด ในที่ไกลหรือในที่ใกล้

ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิตฺวา อภิสงฺขิปิตฺวา

ประมวลย่นย่อรูปนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน

อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ

นี้พระตถาคตครัสเรียกว่ารูปขันธ์

๓.ธาตุกถา
สงฺคโห

การสงเคราะห์ คือรวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นรูปธรรมด้วยกัน

อสงฺคโห

การไม่สงเคราะห์ คือไม่รวมเข้าเป็นหมู่เดียวกัน เช่น ไม่สงเคราะห์รูปขันธ์เข้าด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อันเป็นนามธรรม

สงฺคหิเตน อสงฺหิตํ

หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันได้เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมฝ่ายอื่น เช่นอายตนะธาตุฝ่ายรูป ที่สงเคราะห์เข้ากับรูปขันธ์ได้ แต่สงเคราะห์เข้ากับนามขันธ์ไม่ได้

อสงฺคหิเตน สงคหิตํ

หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน แต่สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกัน เช่น นามขันธ์ไม่สงเคราะห์เข้ากับ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูป แต่สงเคราะห์เข้ากับอายตนะ ธาตุฝ่ายนามด้วยกันได้

สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ

หมวดธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันได้ เพราะเป็นฝ่ายเดียวกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันได้กับหมวดธรรมฝ่ายเดียวกันทั้งหมด เช่นขันธ์ อายตนะ ธาตุ ฝ่ายรูปหรือธรรม ก็สงเคราะห์เข้ากันได้ตามประเภททั้งหมด

อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ

หมวดธรรมที่สงเคราะห์กันไม่ได้เพราะต่างฝ่ายกัน ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับหมวดธรรมต่างฝ่ายกันทั้งหมด เช่น รูปขันธ์สงเคราห์เข้ากันกับนามขันธ์ไม่ได้ ก็สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับอายตนะธาตุฝ่ายนามทั้งหมด

มสฺปโยโค

ความสัมปโยคประกอบกัน คือความมีเกิด ดับ มีวัตถุที่ตั้งและมีอารมณ์เป็นสภาค คือมีส่วนร่วมเป็นอันเดียวกัน เช่น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ วิญญาณขันธ์ก็มีสัมปโยคประกอบกับนามขันธ์ ๓ เหล่านี้ได้ ส่วนรูปขันธ์ไม่มีสัมปโยคประกอบกันกับอะไรอื่น

วิปฺปโยโค

ความวิปโยค ไม่ประกอบ คือพรากกัน เพราะเป็นวิสภาคผิดส่วนกัน จึงต่างเกิด ต่างดับ เป็นต้น เช่น รูปขันธ์มีวิปโยคไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ นามขันธ์ ๔ ก็มีวิปโยคไม่ประกอบกับรูปขันธ์

สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ

หมวดธรรมที่สัมปยุต ประกอบกันได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับหมวดธรรมประเภทอื่น เช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่สัมปยุตประกอบกับนาม ๔ ได้ ก็วิปปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์

วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ

หมวดธรรมที่วิปปยุตไม่ประกอบกันแล้ว ก็สัมปยุต ประกอบกันอีก หมวดธรรมเช่นนี้ไม่มี เพราะนามขันธ์ ๔ วิปปยุตไม่ประกอบกันกับรูปขันธ์แล้ว ก็ไม่สัมปยุตประกอบกันกับธรรมอื่นนอกจากพวกของตน รูป และนิพพานเป็นวิปยุตไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ แล้วก็ไม่สัมปยุตกับธรรมอื่น

อสงฺคหิตํ

หมวดธรมที่ไม่สงเคราะห์เข้ากัน คือเมื่อกล่าวถึงบททั้งหลายที่ละเว้นไว้ ย่อมประมวลความโดยย่อว่า หมวดธรรมที่สัมปยุตประกอบกันก็ดี หมวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกันก็ดี ย่อมสงเคราะห์เข้ากันได้บ้าง สงเคราะห์เข้ากันมิได้บ้าง เช่น ไปสวดธรรมที่วิปยุตไม่ประกอบกับรูปขันธ์ คือพวกนามขันธ์ ๔ ก็สงเคราะห์เข้ากันกับนามขันธ์ทั้ง ๔ แต่ไม่สงเคราะห์เข้ากันกับรูปขันธ์

๔. ปุคฺคลปญฺญตฺติ
ฉ ปญฺญตฺติโย

บัญญัติ คือการแสดงประกาศแต่งตั้งทั้งหลาย ๖

ขนฺธติปญฺญตฺ

บัญญัติว่า ขันธ์

อายตนปญฺญตฺติ

บัญญัติว่า อายตนะ

ธาตุปญฺญตฺติ

บัญญัติว่า ธาตุ

สจฺจปญฺญตฺติ

บัญญัติว่า สัจจะ

อินฺทฺริยปญฺญตฺติ

บัญญัติว่า อิทรีย์

ปุคฺคลปญฺญตฺติ

บัญญัติว่า บุคคล

กิตฺตาวตา ปุคคลานํ ปุคฺคลปญฺญตฺติ

บัญญัติซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล กำหนดประมาณเท่าไร

สมยวิมุตฺโต

บุคคลผู้พ้นแล้วโดยสมัย คือบุคคลผู้ได้วิโมกข์ หรือสมาบัติ ๘ ตามกาล ตามสมัย และมีอาสวะบางเหล่าสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคล ๓ จำพวกเบื้องต้นผู้ได้สมาบัติ ๘

อสมยวิมุตฺโต

บุคคลผู้พ้นโดยไม่มีสมัย คือบุคคลผู้มิได้มีวิโมกข์ ๘ ตามกาล ตามสมัย แต่มีอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอรหันต์ สุกขวิปัสสก อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอสมยวิมุตต์ เพราะได้อริยวิโมกข์ตามลำดับขั้น อริยวิโมกข์ไม่มีสมัยกำเริบอีกได้

กุปฺปธมฺโม

บุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ มีฐานะโอกาสจะอาศัยความประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้

อกุปฺปธมฺโม

บุคคลอันมีธรรมอันไม่กำเริบได้ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติคล่องแคล่วชำนาญ ไม่มีฐานะโอกาสจะประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้ ได้แก่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งพระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอกุปปธัมมะ เพราะอริยวิโมกข์ของท่านเป็นธรรมไม่กำเริบอีกได้

ปริหานธมฺโม

บุคคลผู้มีธรรมยังเสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบได้นั่นแล

อปริหานธมฺโม

บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบได้นั่นแล

เจตนาภพฺโพ

บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อม เพราะเจตนาเอาใจใส่ คือ บุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ เมื่อเอาใจใส่อยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น

อนุรกฺขนาภพฺโพ

บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อมด้วยคอยรักษาไว้ คือบุคคลได้รูปสมาบัติหรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญเมื่อคอยรักษาอยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น

ปุถุชฺชโน

บุคคลผู้เป็นปุถุชนมีกิเลสเกิดหนาแน่น คือบุคคลผู้ยังละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นยังไม่ได้ และไม่ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เหล่านั้น

โคตฺรภู

บุคคลผู้ถึงญาณครอบโคตร คือบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมก่อน แต่จะก้าวเข้าสู่อริยธรรม โดยไม่มีธรรมอื่นขั้นระหว่าง ได้แก่ผู้ล่วงโคตร คือมณฑลบัญญัติปุถุชน จะย่างสู่โคตรอริยชน กำลังอยู่ในภาวะที่มิใช่ปุถุชน มิใช่อริยชน

ภยูปรโต

บุคคลผู้งดเว้นเพราะความกลัว ได้แก่พระเสขบุคคล ๗ และปุถุชนผู้มีศีล ปุถุชนกลังภัย ๔ คือทุคคติภัย ภัยคือทุคคติ วัฏฏภัย ภัยคือวน กิเลส กรรม วิบาก กิเลสภัย ภัยคือกิเลส อุปวาทภัย ภัยคือความติเตียน จึงงดเว้นบาป พระเสขบุคคลแม้ตั้งอยู่ในอริยมรรค อริยผล ก็ยังกลัวภัย ๓ เว้นทุคคติภัย

อภยูปรโต

บุคคลผู้งดเว้นเพราะความไม่กลัว ได้แก่พระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ตัดภัยได้เด็จขาด

ภพฺพาคมโน

บุคคลผู้ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์เครื่องกั้น คือกรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ ไม่ประกอบด้วยกิเลสสาวรณ์ เครื่องกั้นคือกิเลส ได้แก่ นิตยมิจฉาทิฏฐิไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ เครื่องกั้นคือวิบาก ได้แก่อเหตุกปฏิสนธิ และทุเหตุกปฏิสนธิ เป็นผู้มีศรัทธา มัฉันทะ มีปัญญา ไม่บ้าใบ้เป็นภัพพบุคคล สมควรบรรลุมรรคผลได้

อภพฺพาคมโน

บุคคลผู้ไม่ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น ๓ อย่างนั้น เป็นผู้ปราศจากศรัทธาเป็นต้น เป็นอภัพพบุคคล ไม่สมควรบรรลุมรรคผล

นิยโต

บุคคลผู้เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลทำอนันตริยกรรม ๕ และบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐิ ๒จำพวก เที่ยงแน่แท้ที่จะไปสู่นรก พระอริยบุคคล ๘จำพวก เที่ยงแน่แท้ต่อมรรคผลสูง ๆขึ้นไป และเที่ยงแน่แท้ต่อ อนุปปาทาปรินิพพาน

อนิยโต

บุคคลผู้ไม่เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลนอกจากนิยตบุคคลเหล่านั้นเพราะมีคติไม่แน่นอน

ปฏิปนฺนโก

บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ได้แก่ตั้งอยู่แล้วในมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น

ผเลฏฺฐิโต

บคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยผล ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

อรหา

บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ด้วยการละโดยไม่มีส่วนเหลือ

อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน

บุคคลปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เบื้องปลายทั้ง ๔มี รูปราคะเป็นต้น

๕. กถาวตฺถุ
ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ

สกวาที ถามว่า สัตว์ บุคคล ชายหญิงย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์หรือ

อามนฺตา

ปรวาที ตอบว่า ย่อมมีได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึง สัตว์บุคคล ชายหญิงไว้ในพระสูตร โดยสมมติสัจจะ คือความจริงโดยสมมุติ

โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ

สกวาที ถามว่า อรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่งสูงสุดคือปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์นั้นหรือ

น เหวํ วตฺตพฺเพ

ปรวาที ตอบว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นเลย เพราะสัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นไม่มีได้โดยปรมัตถ์สัจจะ คือความจริงโดยปรมัตถ์

อาชานิ นิคฺคหํ

สกวาทีกล่าวว่า ท่านจงยอมรับนิคคหะโทษ ควรข่มขี่ เพราะคำต้นกล่าวรับรองแล้ว แต่คำหลังกลับกล่าวปฏิเสธ

หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน

ถ้าสัตว์ บุคคล ชาย หญิง ย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ไซร้

เตน วต วตฺตพฺเพ โย สจฺฉิกตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ

ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุนั้นแล พึงกล่าวว่าอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่ง คือปรมัตถ์นั้น

มิจฺฉา

สัตว์ บุคคล ชาย หญิงซึ่งท่านปรวาทีกล่าวแล้วในข้อนั้น ท่านกล่าวรับรองในปัญหาต้นว่า สัตว์ บุคคล ชาย หญิง ย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถ อย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ แต่ท่านกลับไม่กล่าวรับรองในปัญหาหลังว่า อรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่ง คือ ปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้ โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดย อรรถอย่างยิ่ง คือปริมัตถ์นั้น คำของท่านนี้จึงผิด เพราะขัดแย้งกันเอง ถ้าจะไม่พึงกล่าวรับรองในปัญหาหลัง ก็ไม่พึงกล่าวรับรองในปัญหาต้นเสียก่อน ฉะนั้นสัตว์บุคคลชายหญิงซึ่งท่านกล่าวแล้ว อันท่านกล่าวรับรองในปัญหาต้น แต่ไม่กล่าวรับรองในปัญหาหลัง จึงผิดพลาดขัดแย้งกันแย้ง

๖. ยมก
เย เกจิ กุสลา ธมฺมา

ธรรมทั้งหลายเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

สพฺเพ เต กุสลมูลา

ธรรมทั้งหลายนั้นเป็นกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ทั้งสิ้น

เย วา ปน กุสลมูลา

ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเป็นกุศลมูล

สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา

ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกุศลทั้งสิ้น

เย เกจิ กุสลา ธมฺมา

ธรรมทั้งหลายเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

สพฺเพ เต กุสลมูเลน

ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นทั้งสิ้น มีมูลเป็น

เอกมูลา

อันเดียวกันกับกุศลมูล

เย วา ปน กุสลมูเลน

ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดมีมูลเป็น

เอกมูลา

อันเดียวกันกับกุศลมูล

สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา

ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกุศลทั้งสิ้น

๗.ปฏฺฐาน
เหตุปจฺจโย

เหตุเป็นปัจจัย เหตุที่ตั้งอยู่เฉพาะแห่งผล มี ๖ อย่าง ได้แก่ อกุศลเหตุ ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ กุศลเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อกุศลเหตุเป็นปัจจัยแดนเกิดแห่งผล คืออุดหนุนให้เกิดนาม รูป หรือ จิต เจตสิก และรูปฝ่ายอกุศล กุศลเหตุเป็นปัจจัยแห่งนามรูปฝ่ายกุศล เหมือนอย่างรากแก้วของต้นไม้ใหญ่ เป็นที่ตั้งอยู่ได้ของต้นไม้ และช่วยอุหนุนต้นไม้ให้งอกงาม

อารมฺมณปจฺจโย

อารมณ์เป็นปัจจัย อารมณ์เป็นเรื่องเจตสิกทั้งหลายยึดหน่วง มี ๖ อย่าง ได้แก่

รูปารมณ์ อารมณ์คือรูป
สัททารมณ์ อารมณ์คือเสียง
คันธารมณ์ อารมณ์คือกลิ่น
รสารมณ์ อารมณ์คือรส
โผฏฐัพารมณ์ อารมณ์คือโผฏฐัพพะ สิ่งที่กายถูกต้อง
ธัมมารมณ์ อารมณ์คือ ธรรม ได้แก่เรื่องของรูปเป็นต้นที่ได้ประสบแล้วในอดีต
อารมณ์เหล่านั้นเป็นปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการเหล่านั้น เพราะจิตและเจตสิกทั้งปวงต้องอาศัยยึดหน่วงอารมณ์จึงเกิดขึ้นได้ เหมือนอย่างคนชราหรือทุพพลต้องอาศัยไม้เท้าหรือเชือกเป็นเครื่องยึดหน่วง จึงทรงตัวลุกขึ้นเดินไปได้

อธิปติปจฺจโย

อธิบดีเป็นปัจจัย อธิบดีคือธรรมที่เป็นใหญ่กว่าสัมปยุตตธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับตน แบ่งเป็น ๓ ประเภทก่อนคือ

อารัมมณาธิปติ อธิบดีคืออารมณ์ชนิดที่น่าปรารถนาอย่างแรง ๑
สหชาตาธิปติ อธิบดีคือธรรมที่เกิดร่วมกัน ๑
สหชาตาธิปติ มี ๔ อย่างคือ
ฉันทาธิปติ อธิบดีคือฉันทะเจตสิก ความพอใจที่เกิดขึ้นในใจ
วิริยาธิปติ อธิบดี คือวิริยะเจตสิก ความเพียรที่เกิดขึ้นในใจ
จิตตาธิปติ อธิบดี คือความเอาใจใส่จดจ่อ
วิมังสาธิปติ อธิบดีปัญญาเจตสิก ปัญญาใคร่ครวญพิจารณาเกิดขึ้นในใจ
อารมณ์อย่างแรงเป็นอธิปติปัจจัย เพราะทำให้นามธรรม คือจิตและเจตสิกน้อมไปยึดอย่างหนักหน่วง ส่วน อธิบดี ๔ มีฉันทะเป็นต้น เป็นอธิปติปัจจัยเพราะสามารถยังธรรม ซึ่งเกิดร่วมกับตน และนามธรรมอื่นซึ่งไม่สามารถจะเป็นอธิบดีได้ ให้น้อมไปตามอำนาจของตน

อนนฺตรปจฺจโย

ธรรมที่เกิดเป็นลำดับไม่มีระหว่างคั่นเป็นปัจจัย คือสามารถยังจิตตุปบาท (ความเกิดแห่งจิต) อันสมควรกันให้เกิดขึ้นในลำดับของตน ได้แก่ นามธรรม คือ จิตและเจตสิกที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยอุดหนุนแก่นามธรรม คือจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลัง ได้แก่ช่วยอุปการะให้เกิดขึ้นสืบต่อกันไปโดยไม่ว่างเว้น คือไม่มีระหว่างคั่นเว้นไว้แต่จุติจิตของพระอรหันต์

สมนนฺตรปจฺจโย

ธรรมที่เกิดเป็นลำดับสืบต่อกันเรื่อยไป ไม่มีธรรมอื่นมาคั่นระหว่างเลยทีเดียวเป็นปัจจัย ได้แก่นามธรรมที่เกิดก่อนเป็น สมนันตรปัจจัยแก่นามธรรมที่เกิดภายหลัง คล้ายกับอนัตรปัจจัย

สหชาตปจฺจโย

ธรรมที่เกิดร่วมเป็นปัจจัย คือ ธรรมที่เกิดร่วมกันต่างเป็นปัจจัยอุดหนุนกันเอง ด้วยอำนาจที่ยังธรรมที่เกิดร่วมกันให้เกิดพร้อมกัน เพราะเมื่อตนไม่เกิด แม้ธรรมที่เกิดร่วมกันก็ไม่เกิดขึ้นได้ เหมือนอย่างดวงไฟเกิดพร้อมกับแสงไฟ เมื่อไม่มีดวงไฟ แสงไฟก็มีขึ้นไม่ได้ เช่น นามขันธ์ ๔ มหาภูตรูป ๔ ปฏิสนธิหทัยวัตถุ เป็นสหชาตปัจจัย

อญฺญมญฺญปจฺจโย

ธรรมแต่ละอย่างต่างต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย คือธรรมที่เป็นอุปการะโดยอุดหนุนกันและกันให้เกิดขึ้น เหมือนอย่างไม้ ๓ อัน ต่างพิงอาศัยกันจึงตั้งอยู่ได้ ได้แก่นามขันธ์ ๔ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๔ ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น ปฏิสนธินามขันธ์ ๔ และปฏิสนธิหทัยวัตถุ ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น

นิสฺสยปจฺจโย

ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสัยที่อาศัย คือเป็นที่อาศัยโดยอธิษฐานการ คืออาการที่ตั้งมั่น ๑ เป็นที่อาศัยโดยนิสสยาการ คืออาการที่อ้างอิงอาศัย ๑ ธรรมเป็นนิสัยปัจจัยที่อาศัยโดยอาการที่ตั้งมั่นนั้นได้แก่ปฐวีธาตุ เป็นที่อาศัยตั้งมั่นแห่งธาตุอื่น วัตถุ ๖ มีจักขุเป็นต้น เป็นที่อาศัยตั้งมั่นแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น เหมือนอย่างแผ่นดินที่อาศัยตั้งมั่นของต้นไม้เป็นต้นบนแผ่นดิน ธรรมเป็นนิสัยที่อาศัยโดยอาการที่อิงอาศัยนั้น ได้แก่นามขันธ์ ๔ เป็นที่อิงอาศัยกันและกัน อาโป เตโช วาโยก็เหมือนกัน เหมือนอย่างแผ่นผ้าเป็นที่อาศัยแห่งจิตกรรมภาพวาดเขียน

อุปนิสฺสยปจฺจโย

ธรรม เป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า ได้แก่อารมณ์อย่างแรงกล้า เหมือนอย่างอารมณ์ที่เป็นอธิปติปัจจัยเป็นที่อาศัย อย่างแรงกล้าให้เกิดธรรมที่เกิดจากอารมณ์นั้นเป็นปัจจัย เรียกว่าอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้าคือ อารมณ์ ธรรมที่เกิดเป็นลำดับ ไม่มีระหว่างคั่นอย่างแรงกล้าเหมือนอย่าง อนันตรปัจจัย เป็นอุปนิสสยปัจจัยให้เกิดธรรมที่เกิดจากธรรมนั้นเป็นปัจจัยโดยไม่มีระหว่างคั่น เรียกว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า คือธรรมที่เกิดเป็นลำดับไม่มีระหว่างคั่น เหตุที่มาจนเป็นปกตินิสัยแล้ว ไม่เกี่ยวข้องด้วยอารัมณปัจจัย เป็นเหตุที่ตนทำให้เกิดขึ้นเอง เช่นกุศลธรรม อกุศลธรรมต่างๆ ก็ดี เป็นเหตุฝ่ายกุศลและอกุศล ที่เนื่องจากการเสวนาซ่องเสพบุคคลและอาหารเป็นต้นของตนก็ดี เรียกว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า คือเหตุที่ทำมาจนเป็นอุปนิสัยแล้ว

ปุเรชาตปจฺจโย

ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย คือธรรมที่เกิดขึ้นก่อนแล้วยังคงมีอยู่ไม่ดับไป ได้แก่รูปธรรมที่เกิดขึ้นก่อนแล้วยังไม่ดับไป เป็นปัจจัยอุดหนุนนามธรรม คือจิตและเจตสิกให้เกิดขึ้น เปรียบเหมือนพระอาทิตย์และพระจันทร์เกิดขึ้นก่อนยังไม่ดับ สัตว์โลกทั้งหลายจึงได้อาศัยเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ในโลก

ปจฺฉาชาตปจฺจโย

ธรรมที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัย ได้แก่นามธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลัง เป็นปัจจัยปัจจัยอุดหนุนแก่รูปธรรมที่เกิดก่อนให้ตั้งอยู่ได้จนครบอายุ อายุของรูปธรรมเท่ากับอายุของจิต ๑๗ ดวง รูปธรรมที่เกิดก่อนจะตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๗ ขณะจิตนี้ ก็เพราะจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลังอุปถัมภ์ให้ตั้งอยู่และให้เจริญ มีอุปมาเหมือนอย่างต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้ว จะตั้งอยู่และเจริญขึ้นได้ ก็ด้วยอาศัยน้ำฝนที่ ตกลงมา หรือเอาน้ำรดในภายหลัง หรือมีอุปมาเหมือนอย่างลูกนกแร้งที่ยังเล็ก บินไปหาอาหารมิได้ ก็ได้อาศัยเจตนาที่หวังอาหารนั่นเองบำรุงเลี้ยง จนกว่าจะบินออกไปหาอาหารเองได้

อาเสวนปจฺจโย

ธรรมที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์บ่อย ๆ เป็นปัจจัย ได้แก่โลกิยชวนจิตที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ชื่อว่าเสพอารมณ์บ่อย ๆ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมที่เป็นเชื้อสายชาติเดียวกันให้เกิดขึ้น เช่นเมื่อกุศลชวนจิตดวง ๑ เกิดขึ้น ก็เป็นปัจจัยอุดหนุนกุศลชวนจิตชนิดเดียวกันให้เกิดขึ้นเป็นดวงที่ ๒ เป็นปัจจัยอุดหนุนต่อกันไปดังนี้ จนถึงดวงที่ ๗ ซึ่งเป็นตัวเจตนาลงสันนิษฐานให้สำเร็จกิจอย่างหนึ่ง ๆ เหมือนอย่างบุคคลที่เรียนวิชาใดอย่างหนึ่งมาแล้ว ย่อมเรียนวิชาอย่างเดียวกันต่อขึ้นไปได้ง่าย และเร็วขึ้นจนกระทั่งสำเร็จการเรียนวิชาอย่างนั้น

กมฺมปจฺจโย

กรรมเป็นปัจจัย กรรมได้แก่เจตสิกธรรม คือเจตนา ความจงใจ เป็นปัจจัยปรุงแต่งจัดแจงจิต เจตสิกธรรมที่เกิดในจิต กัมมชรูป รูปที่เกิดแต่กรรม และจิตตชรูป รูปที่เกิดแต่จิต ที่เกิดรวมกันเป็นสหชาตธรรม เช่นเมื่อจิตและเจตสิกรับรูปารมณ์เป็นต้น เกิดโลภจิตขึ้น กรรมคือเจตนาที่เป็นสหชาตเกิดร่วมอยู่ด้วย ก็เป็นปัจจัยปรุงแต่งจัดแจงโลภจิตนั้นให้เข้ารับรูปารมณ์เต็มที่ เป็นเหตุให้แสดงอาการของโลภะออกมาทางกายวาจา ด้วยอำนาจโลภมูลเจตนา อีกอย่างหนึ่ง กรรมที่เป็น นานาขณิกะเกิดขึ้นในขณะต่าง ๆกัน เป็นปัจจัยเพาะพืชพันธุ์ไว้ เมื่อกุศลเจตนา และอกุศลเจตนาเกิดขึ้นพร้อมกับจิตนั้นดับไปแล้ว กรรมคือเจตนานี้ยังเพาะพืชพันธุ์ไว้ มีอำนาจส่งผลให้ปรากฏขึ้ในภายหลัง

วิปากปจฺจโย

วิบากเป็นปัจจัย วิบากคือธรรมที่เป็นผลของกุศล และอกุศล ได้แก่วิบากนามขันธ์ ๔ หรือวิบากจิตเจตสิก เป็นปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน และเป็นปัจจัยอุดหนุนปฏิสนธิกัมมชรูปและจิตตชรูป วิบากเป็นปัจจัยอุดหนุนวิบากนี้ มีอุปมาเหมือนอย่างชราซึ่งเป็นวิบาก เกิดสืบมาจากชาติชรา ในตอนแรก ๆ ที่ติดมาตั้งแต่เป็นทารก เป็นปัจจัยอุดหนุนชราในตอนหลัง ๆ โดยลำดับ

อาหารปจฺจโย

อาหารเป็นปัจจัย สภาพที่นำผลมา คือประมวรมาซึ่งผลของตน ๆ ชื่อว่าอาหาร เป็นปัจจัยอุปถัมภ์รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย อาการปัจจัยนี้มี ๔ อย่างคือ

กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ได้แก่โอชาภายนอกที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ เป็นรูปอาหาร เป็นปัจจัยอุดหนุนรูปกาย
ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ
มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือเจตนาจงใจ
วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ
สามข้อ(หลัง)นี้เป็นนามอาหาร เป็นปัจจัยอุดหนุนนามธรรม คือจิตเจตสิกที่ประกอบด้วยตน และอุดหนุนจิตตชรูปและปฏิสนธิกัมมชรูป ซึ่งมีนามอาหารและจิตเจตสิกนั้นเป็นสมุฏฐาน อาหารเหล่านี้ เป็นปัจจัยอุดหนุนรูปธรรมและนามธรรมของสัตว์ทั่วทั้ง ๓๑ ภูมิ เพราะสัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร

อินฺทฺริยปจฺจโย

อินทรีย์เป็นปัจจัย ธรรมที่เป็นใหญ่ คือกระทำซึ่งความเป็นใหญ่ยิ่งชื่อว่าอิทรีย์ มี ๒๒คือ

จักขุนทรีย์ อิทรีย์คือ ตา
โสตินทรีย์ อินทรีย์คือ หู
ฆานินทรีย์ อินทรีย์ คือจมูก
ชิวหินทรีย์ อินทรีย์ลิ้น
กายินทรีย์ อินทรีย์คือกาย
มนินทรีย์ อินทรีย์คือใจ
อิตถินทรีย์ อินทรีย์คือหญิง
ปุริสินทรีย์ อินทรีย์คือชาย
ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต
สุขินทรีย์ อิทรีย์คือสุข
ทุกขินทรีย์ อินทรีย์คือทุกข์
โสมนัสสินทรีย์ อินทรีย์คือโสมนัส
โทมนัสสินทรีย์ อินทรีย์คือโทมนัส
อุเปกขินทรีย์ อินทรีย์คืออุเบกขา
สัทธินทรีย์ อินทรีย์คือศัทธา
วิริยินทรีย์ อินทรีย์คือเพียร
สตินทรีย์ อินทรีย์คือสติ
สมาธินทรีย์ อินทรีย์คือสมาธิ
ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อินทรีย์คือโสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ อินทรีย์คือโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตมรรค
อัญญาตาวินทรีย์ อินทรีย์คืออรหัตผล
อินทรีย์เหล่านี้ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ๆ เช่นตา ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในการเห็นรูป และยกเว้นอิตถีภาวะเสีย เหลือ ๒๐ เป็นปัจจัยและเป็นผลแห่งปัจจัยของกันและกัน

ฌานปจฺจโย

ฌานเป็นปัจจัย ฌานคือการเพ่งอารมณ์อย่างแน่วแน่ประกอบด้วยองค์เป็นปฐม คือ วิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา เป็นปัจจัยอุดหนุนนามขันธ์ ๔ และจิตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป ที่เกิดพร้อมกับตน อีกอย่างหนึ่ง ฌานมี ๒ คือ

อารมมณูปนิชฌาน เพ่งอารมณ์ทางสมถภาวนา
ลักขณูปนิชฌาน เพ่งลักษณะทางวิปัสสนาภาวนา คือไตรลักษณ์
ต่างเป็นปัจจัยอุดหนุนตามอำนาจของตน

มคฺคปจฺจโย

มรรคเป็นปัจจัย มรรคคือธรรมที่เป็นประดุจหนทาง เพราะเป็นธรรมนำให้มุ่งหน้าไปสู่สุคติ ทุคติ และนิพพาน องค์มรรค ๙ได้แก่

ปัญญา
วิตก
สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ
วิริยะ
สติ
เอกัคคตา
ทิฏฐิ
องค์มรรคเหล่านี้ เว้น ทิฏฐิ(ความเห็นผิด)ข้อที่ ๙ เหลือ ๘ เป็นฝ่ายกุศล องค์มรรค ๔ คือ วิตก วิริยะ เอกัคคตา ทิฏฐิ เป็นฝ่ายอกุศล และองค์มรรค ๘ ฝ่ายอัพยากฤต เป็นปัจจัยอุดหนุนให้ไปสู่ สุคติ ทุคติ และนิพพานตามประเภท และอุดหนุนสหชาตธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับตนให้ ไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกันตน และ ให้ทำกิจ ตามหน้าที่ของตนๆ

สมฺปยุตฺตปจฺจโย

ธรรมที่สัมปยุตกันเป็นปัจจัย ธรรมที่ประกอบพร้อมกัน ๔ ประการ คือธรรม ๒ อย่าง

เมื่อเวลาเกิด ก็เกิดพร้อมกัน
เมื่อเวลาดับ ก็ดับพร้อมกัน
มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน
มีที่อาศัยอันเดียวกัน
เรียกสัมปยุต ได้แก่ จิต และ เจตสิก ที่เป็นนามธรรมด้วยกัน เป็นปัจจัย และผลของปัจจัยของกันและกัน แม้จะมีหน้าที่ ต่างกันแต่ก็สัมปยุตประกอบกันได้สนิท ดังจะยกตัวอย่างนามขันธ์ ๔ เวทนาขันธ์ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ สัญญาขันธ์ ทำหน้าที่จำอารมณ์ สังขารขันธ์ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์ วิญญาณขันธ์ ทำหน้าที่รู้อารมณ์ แม้จะต่างหน้าที่กันแต่ก็สัมปยุตกันสนิท เหมือนอย่างเภสัชจตุมธุรส ประกอบด้วยของ ๔ อย่าง คือ น้ำมันเนย ๑ น้ำมันงา ๑ น้ำผึ้ง ๑ น้ำตาล ๑ มีรสเข้ากันสนิทจนไม่อาจจะแยกรสออกจากกันได้

วิปฺปยุตฺตปจฺจโย

ธรรมที่วิปปยุตกันเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่สัมปยุตกันดังกล่าวในข้อก่อน เรียกวิปปยุตธรรม ได่แก่นามและรูป นามเป็นวิปปยุตธรรมของรูป รูปก็เป็นวิปปยุตตธรรมของนาม เพราะไม่ประกอบด้วยลักษณะของสัมปยุตธรรมครบทุกอย่าง ดังเช่น เมื่อจิตเกิด แม้จิตตชรูปจะเกิดด้วย แต่ก็ขาดลักษณะข้ออื่น ทั้งรูปและนามแม้จะเป็นวิปปยุตธรรมของกัน แต่ก็เป็นปัจจัยอุดหนุนกันและกัน เพราะต่างอาศัยกันเป็นไป เหมื��างอาศัยกันเป็นไป เหมือนอย่างคน ๒ คน มิใช่ญาติกัน แต่ก็อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน อีกอย่างหนึ่ง วิปปยุตปัจจัยนี้ เปรียบเหมือนรส ๖ อย่างคือ หวาน๑ เปรี้ยว ๑ ฝาด ๑ เค็ม ๑ ขม ๑ เผ็ด ๑ รวมเป็นรสเดียวกันไม่ได้ แต่ก็อาศัยปรุงเป็นแกงอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเป็นปัจจัยอุดหนุนกันได้

อตฺถิปจฺจโย

ธรรมที่มีอยู่เป็นปัจจัย ธรรมที่มีอยู่คือธรรมที่ปรากฏมีอยู่ในระหว่างอุปปาทะ (ความเกิด) ฐิติ (ความตั้งอยู่) ภังคะ (ความดับ) คือยังมีอยู่ในระหว่างนั้นยังไม่ดับไป ธรรมที่ชื่อว่ามีอยู่อย่างมีกำลังกล้า คือยังมีอยู่ในฐิติ ความตั้งอยู่ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมที่เป็นผลของตนให้เกิดขึ้น ข้อสำคัญเป็นปัจจัยอุปถัมภ์ธรรมที่เป็นผลของตนให้ดำรงอยู่ เหมือนอย่างพื้นดินที่มีอยู่ อุปถัมภ์ต้นไม้ที่มีอยู่เหมือนกันให้งอกงามและตั้งอยู่ เช่นนามขันธ์ ๔ เป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน มหาภูตรูป ๔ เป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน นามรูปในขณะปฏิสนธิเป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน

นตฺถิปจฺจโย

ธรรมที่ไม่มีเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่มีคือธรรมที่ดับไปแล้วเป็นปัจจัย อุดหนุนธรรมเช่นเดียวกันให้เกิดขึ้น สืบต่อไปในลำดับ ดังที่กล่าวแล้วในอนันตรปัจจัย เช่นจิต เจตสิกดวงที่ ๑ ดับไป ก็เป็นปัจจัยให้ดวงที่ ๒ เกิดสืบต่อไปในลำดับ ถ้าดวงที่ ๑ ไม่ดับ ดวงที่ ๒ ก็เกิดขึ้นมิได้ เหมือนอย่างแสงสว่างกับความมืด เมื่อแสงสว่างดับไป ความมืดจึงปรากฎขึ้นได้

วิคตปจฺจโย

ธรรมที่ปราศจากไปเป็นปัจจัย ธรรมที่ปราศจากไป คือธรรมที่ถึงความดับ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมเช่นเดียงกันให้เกิดขึ้นในลำดับเช่นเดียวกับนัตถิปัจจัย

อวิคตปจฺจโย

ธรรมที่ไม่ปราศจากไปเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่ปราศจากไป คือธรรมที่ยังไม่ถึงความดับ เป็นปัจจัยอุปการะที่ยังมีอยู่ด้วยกัน เช่นเดียวกับ อัตถิปัจจัย

G+ ชาตรี กองนอก
Shared publicly  -  12/6/2558  6:47 AM