ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนรู้กฎหมาย ไว้เป็นแนวทางป้องกันตนเอง และไม่ให้ถูกเอาเปรียบบุคคลต่างๆ  (อ่าน 18519 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ขอรวบรวมเนื้อหาสาระทางด้านกฎหมาย จากแหล่งความรู้ต่างๆ

นำมาลงไว้ รวบรวมไว้ในการเรียนรู้กฎหมาย ไว้เป็นแนวทางป้องกันตนเอง และไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากบุคคลต่างๆ

 :13:

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

การจัดการที่จอดรถ ‘คอนโดฯ’ - กฎหมายรอบรั้ว
วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:00 น.

-http://www.dailynews.co.th/article/950/216944-



การบริหารจัดการที่จอดรถในอาคารชุด เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ผู้บริหารอาคารชุดจำต้องคำนึงถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักจะเป็นการร้องเรียนว่ามีไม่เพียงพอ สิทธิในการจอดรถไม่เป็นไปตามที่ได้รับข้อมูลจากเจ้าของโครงการขณะตกลงซื้อ หรือบางรายจอดรถทับสิทธิคนอื่น บางรายนำรถของตัวเองที่มีหลายคันมาจอดภายในอาคารชุด ทำให้ที่จอดรถลดน้อยลง ปัญหาเหล่านี้สร้างความกดดันให้กับทั้งกรรมการและฝ่ายบริหารอาคารชุด ซึ่งอาจนำไปสู่การร้องเรียน ประท้วงให้เปลี่ยนบริษัทบริหารจัดการ หรือคณะกรรมการอาคารชุดได้

โดยปกติในเบื้องต้น เจ้าของโครงการจะจัดให้มีจำนวนที่จอดรถให้ตรงตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้าง และในที่สุดได้รับใบอนุญาตเปิดใช้อาคาร (อ.6) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนอาคารชุด ซึ่งการแบ่งสันปันส่วนที่จอดรถให้กับเจ้าของร่วม โดยทั่วไปมักจัดสรรให้ตามแบบและขนาดของห้องชุด เช่น ห้องสตูดิโอ จัดให้มีที่จอดรถได้หนึ่งคัน ห้องขนาดหนึ่งและสองห้องนอนมีที่จอดรถได้สองคัน ห้องขนาดสามห้องนอนหรือเพนท์เฮาส์มีที่จอดรถได้สามคัน เป็นต้น แต่ในทางปฏิบัติ การใช้ชีวิตจริงอาจไม่สามารถทำได้ตามนั้น

เช่นห้องขนาดสตูดิโอ ระบุให้มีที่จอดรถหนึ่งคัน แต่ในความเป็นจริงอาจอยู่ด้วยกันสองคน สามีภรรยามีรถสองคัน หมายความว่าจะมีรถหนึ่งคันสามารถเข้ามาจอดในอาคารชุดได้ แต่อีกคันหนึ่งจะต้องแลกบัตรในฐานะผู้มาเยี่ยมทุกวัน ซึ่งสร้างความหงุดหงิดไม่น้อย ทางแก้ไขที่ทำได้คือ ทำสติกเกอร์ หรือบัตรผ่านเข้า-ออกพิเศษให้รถคันที่สองนี้ให้เข้ามาในโครงการโดยไม่ต้องแลกบัตร แต่อนุญาตให้จอดในที่จอดของผู้มาเยี่ยม ซึ่งที่จอดรถของผู้มาเยี่ยมนี้มักจัดไว้นอกอาคารบริเวณโดยรอบ หรืออาจกั้นไว้ในอาคารจอดรถแยกให้เป็นสัดส่วน ก็จะลดปัญหาข้างต้นได้ แต่แน่นอนว่าจะทำให้ที่จอดรถที่เตรียมไว้ลดลง แต่ก็ยังดีกว่าที่จะปล่อยให้เจ้าของร่วมไม่มีที่จอดรถ

อีกปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เจ้าของร่วมบางรายมีรถหลายคัน จึงนำรถมาจอดในที่จอดรถของอาคารชุด บางรายมีมารยาทก็ไปจอดในที่จอดรถผู้มาเยี่ยม แต่หลายคนก็ไม่สนใจ เลือกจอดตามใจ บางรายจอดทิ้งไว้เป็นเดือน ซึ่งถ้าเป็นที่จอดรถประเภทที่ไม่ได้มีการกำหนดเลขที่บ้านผู้เป็นเจ้าของไว้ ก็อาจไม่มีปัญหา ตราบเท่าที่ยังมีที่จอดรถอย่างพอเพียง แต่ถ้าเป็นที่จอดรถประเภทที่กำหนดเลขที่บ้านไว้ก็มักทำให้มีเรื่องทะเลาะกันได้ ซึ่งปัญหาก็มักไปลงเอยที่นิติบุคคลที่จะต้องหามาตรการในการแก้ไข เช่น ต้องมีการล็อกล้อ เสียค่าปรับหรือใช้วิธีเตรียมแม่แรงไว้เพื่อเคลื่อนย้ายรถที่จอดขวางหรือจอดทับสิทธิ ซึ่งก็จะเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างเจ้าของรถที่ถูกเคลื่อนย้ายกับนิติบุคคลต่อไป

จะเห็นได้ว่าการบริหารที่จอดรถให้มีประสิทธิภาพต้องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น การออกแบบและจัดที่จอดรถให้เหมาะสมและพอเพียงโดยเจ้าของโครงการตั้งแต่ต้น โดยคำนึงถึงความเป็นจริง การชี้แจงของนิติบุคคลให้เจ้าของร่วมทราบถึงสิทธิในการจอดรถ รวมทั้งการบังคับใช้กฎข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการจอดรถอย่างเข้มงวดโดยไม่เลือกปฏิบัติ และประการสำคัญที่สุดคือการที่เจ้าของร่วมในอาคารชุดนั้น ๆ ต้องมีจิตสำนึกในการรู้จักสิทธิและหน้าที่โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นนะครับ.

ดินสอพอง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ดิน
วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:00 น.

-http://www.dailynews.co.th/article/345/201761-


กระผมนั่งคิดครึ้ม ๆ ว่า วันนี้นั่งเขียนต้นฉบับด้วยดินสอท่ามกลางแสงวับแวม ๆ จากเทียนไขที่จุดรายล้อม เขียนเสร็จแล้วนั่งสามล้อถีบมาส่งต้นฉบับที่เดลินิวส์ เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว

จึงเรียกสามล้อกลับบ้านอย่างสบายใจ รอเวลาขึ้นรถไฟไปต่างจังหวัดซึ่งคงใช้เวลาไม่กี่วันก็ถึงที่หมาย

น้ำยังท่วมตามปกติ นั่นหมายถึงว่ากระผมกำลังมีปูปลากุ้งหอยมาให้จับกินถึงหน้าบ้านอย่างอุดมสมบูรณ์ ไปไหนมาไหนก็นั่งเรือแจวไม่รีบร้อน โน พรอบเบล็ม

อา นี่มันช่างเป็นชีวิตที่แสนผาสุกอะไรอย่างนี้ มันคือชีวิตในอุดมคติ เรียบง่าย ไม่รีบเร่ง แสนสบาย ไม่มีความเครียด ทำยังไงหนอท่านผู้อ่านจึงจะได้มีชีวิตที่เพอร์เฟกต์เหมือนกระผมบ้าง

ก็ไม่แน่หรอกขอรับโปรดอย่าอิจฉากระผม วันแห่งความผาสุกเช่นนั้นกำลังใกล้เข้ามาอย่างน่าพิศวง เพราะจะสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูก็มีคนต่อต้าน จะมีสามจี ก็มีคนฟ้องขัดขวาง จะมีรถไฟความเร็วสูง ก็คัดค้านกันเสียงระงม จะสร้างเขื่อนใหญ่ ๆ วันนี้ไม่มีทางสร้างได้ จะจัดการเรื่องน้ำท่วมให้เป็นระบบ ก็มีการฟ้องร้องให้ระงับการดำเนินการ

ท่านผู้คัดค้านทุกเรื่องกำลังทำฝันให้เป็นจริง ขณะที่กำลังเคลิบเคลิ้ม ดันมีท่านผู้อ่านใช้นามว่า “แฟนเดลินิวส์” ถามมาอย่างไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม สุขเสิกอะไรกันฟะ

ขอทราบหลักเกณฑ์และวิธีการในการคิดค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินว่าจะมีการ ปรับลดจากราคาเดิมได้หรือไม่ และที่ดิน ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่เหลืออยู่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จะมีสิทธิอย่างไรบ้างตามกฎหมาย

อันนี้สิน่าห่วงจริงเพราะโครงการต่าง ๆ ของรัฐในเรื่องเหล่านี้ต้องมีการเวนคืนที่ดินชาวบ้าน

ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย สุขจริงทุกข์จริง เพราะมีข้อโต้แย้งเป็นคดีปกครองจำนวนมากไม่เห็นมีใครเป็นห่วง

ประการแรก ปัญหาว่ากำหนดค่าทดแทนที่ดินไว้เรียบร้อย มีการเปลี่ยนใจจะปรับลดจำนวนเงินค่าทดแทนในภายหลังได้หรือไม่ อาจเป็นเพราะหน่วยงานผู้ดำเนินการประสบปัญหาในทางงบประมาณในภายหลัง เป็นต้น

ถ้าการกำหนดราคาครั้งแรกกระทำโดยชอบตามหลักเกณฑ์ในมาตรา ๒๑ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ และพิจารณาอย่างเป็นธรรมแล้ว  พูดคำไหน คำนั้นครับ เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจหน่วยงานผู้เวนคืนที่จะปรับลดได้ ดังมีกรณีที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้างทางหลวงตารางวาละ ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อมาได้ปรับลดอัตราค่าทดแทนลงร้อยละ ๑๐ คงเหลือตารางวาละ ๙,๐๐๐ บาท

โดยอ้างปัญหาภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น (ซึ่งน่าจะหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง)

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า นอกจากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้พิจารณากำหนดค่าทดแทนตามมาตรา ๒๑ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ แล้วยังพิจารณาจากสภาพและทำเลที่ตั้งของที่ดินด้วย การกำหนดราคาทดแทน จึงชอบด้วยเหตุผลและเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินแล้ว

แต่การที่คณะกรรมการฯ ได้ปรับลดอัตราค่าทดแทนที่ดินลงร้อยละ ๑๐ เป็นตารางวาละ ๙,๐๐๐ บาท โดยอ้างปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใดบัญญัติให้อำนาจไว้ จึงไม่เป็นธรรมแก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ศาลพิพากษาให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดินในอัตราตารางวาละ ๑๐,๐๐๐ บาท (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๖๘/๒๕๔๙)

คดีปกครองเรื่องค่าทดแทนนี่ ปกติชาวบ้านเขาขอสามคำ ขอเงินเพิ่ม  นี่ไปลดจนชาวบ้านฟ้องได้แค่เหลือเท่าทุน

คำถามต่อมาเกี่ยวกับที่ดินส่วนที่เหลืออยู่จากการเวนคืน มีมาตรา ๒๑ วรรคสามแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย

ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยวางหลักเกณฑ์ไว้ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๙ / ๒๕๔๙ ดังนี้

ประการแรกต้องได้ความว่า ที่ดินส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลงอันเป็นผลจากการเวนคืน

เป็นหน้าที่ ของหน่วยงานผู้เวนคืนที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงจากการเวนคืนหรือไม่ เพียงใด โดยไม่จำต้องให้เจ้าของที่ดินผู้ถูกเวนคืนร้องขอเสียก่อน

ซึ่งการกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่ราคาลดลง จะต้องลดลงโดยเป็นผลโดยตรงจากการเวนคืนเท่านั้น

ทั้งนี้ ต้องพิจารณาจากผลกระทบต่าง ๆ ที่ทำให้ที่ดินเฉพาะแปลงนั้นเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการเวนคืนโดยตรง

พิจารณาผลกระทบอะไรบ้าง ท่านว่าให้พิจารณาถึงรูปร่างลักษณะ ขนาดที่เปลี่ยนแปลงไปของที่ดิน รวมถึงข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ เป็นต้น

และ มิอาจนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาได้ เนื่องจากราคาประเมินทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกำหนดราคาประเมินที่ดินทั้งระบบและเป็นการสำรวจเพื่อกำหนดราคาที่ดินใหม่ทุก ๆ สี่ปี

ก็ต้องกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือตามความเป็นจริงและเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินผู้ถูกเวนคืน

อย่างไรก็ดี คดีนี้ ปรากฏว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีส่วนที่เหลือจากการเวนคืนยังคงใช้ประโยชน์ได้ และมิได้มีราคาสูงขึ้นหรือลดลงแต่อย่างใด ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้ผู้ฟ้องคดี

เรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนมีกำหนดไว้ในกฎหมายหลายประเด็น จึงมีปัญหากันมากสำหรับชาวบ้านที่ถูกเวนคืนและไม่ใช่นักกฎหมาย เพื่อรับใช้ท่านผู้อ่านเดลินิวส์ถ้ามีข้อสงสัยประการใดสอบถามมาที่อีเมลข้างล่างนี้ ปัญหาใดมีหลักกฎหมายน่าสนใจ ก็ขออนุญาตนำลงเผยแพร่ต่อไปขอรับ.

พิสิษฐ์  พลรักษ์เขตต์
www.naipisit.com/อีเมล์ :praepim@yahoo.com

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
กฎหมายแรงงานน่ารู้ .. ลาเพื่อรับราชการทหาร
-http://hilight.kapook.com/view/79595-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

            หนุ่ม ๆ วัยทำงานหลายคน ที่ได้รับหมายเรียกเข้ารายงานตัวเพื่อรับราชการทหาร แต่ก็ยังกังวลใจในเรื่องของการลางาน เพราะยังไม่เข้าใจถึงสิทธิ์ในการลา วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการลาเพื่อรับราชการทหาร มาฝากให้พนักงานชายหนุ่มทั้งหลายได้เข้าใจกันจ้า


ลาเพื่อรับราชการทหาร

            การลาเพื่อเข้ารับราชการทหาร ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 35 นั้น เป็นการอนุญาตให้ลาเพื่อเข้ารายงานตัวต่อหน่วยงานทหาร ตามหมายเรียกพล เพื่อตรวจสอบและเพื่อฝึกวิชาทหาร แต่ไม่ใช่การลาเพื่อรับราชการทหารที่เกิดจากการเกณฑ์ทหารเหมือนที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งการลาแบบนี้เรียกว่า ลาระดมพล โดยมีรายละเอียดดังนี้

            จำนวนวันที่ลา สามารถลาได้ตามที่กำหนดมาในหมายเรียก
            ค่าจ้างในวันที่ลา ตามมาตรา 58 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาด้วย แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน ใน 1 ปี

            เมื่อได้ทราบข้อมูลของการลาเพื่อรับราชการทหารเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมใช้สิทธิ์การลาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ด้วยนะคะ และหากมีข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับประกันสังคมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ กระปุกดอทคอมจะนำมาฝากให้คนทำงานได้ทราบกันอีกแน่นอนจ้า

http://hilight.kapook.com/view/79595
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
หมั้น-แต่งงาน-สมรส
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1375525023&grpid=&catid=02&subcatid=0207-

โดย พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช

คอลัมน์ ฎีกาชีวิต (มติชนรายวัน 3 สิงหาคม 2556)



สังคมไทยยังมีความสับสนพอสมควรในเรื่องการหมั้น การจัดพิธีแต่งงาน และการสมรส จนดูว่าเกี่ยวพันกันแยกกันไม่ออก ครั้นเกิดปัญหาขึ้นถ้าทั้งสองฝ่ายหาทางตกลงกันเพื่อยุติประเด็น 3 ประการข้างต้นด้วยเหตุและผลและไม่ใช้กฎหมายมาช่วยแก้ไขปัญหาดีกว่าเป็นไหนๆ

ให้แปลกใจอยู่เหมือนกันว่า มนุษย์เราต่างเชื่อในความยุติธรรมและยึดมั่นในความถูกหรือผิดด้วยกัน เมื่อมีปัญหาใดทำไมไม่ใช้ความเชื่อที่กล่าวไว้มาช่วยกันแก้ไข หรืออาจหาคนกลางและจ้างทนายที่ปรึกษาไว้ด้วยยิ่งดี หรือจะใช้มโนธรรมควบคู่กันไปยิ่งวิเศษ ปัญหาอาจคลี่คลายก็ได้

พูดกันตามภาษาชาวบ้านไม่ต้องใช้กฎหมายมายุติปัญหาได้หรือไม่ เช่น ชายหนุ่มและหญิงสาวคู่หนึ่งต่างรักกัน ชายนั้นต้องรับผิดชอบต่อการสู่ขอหมั้นหมายหญิงคนที่เขารัก หลังผ่านการทาบทามพ่อแม่ฝ่ายหญิงกันล่วงหน้า ชายควรจะดูฐานะทางการเงินของตัวเองเสียก่อนๆ ที่จะคิดขอหมั้นหญิง

ถ้าฝ่ายหญิงไม่ขัดข้องชายบิดพริ้วไม่ได้ ครั้นถึงวันสู่ขอหมั้นหมายกันจริงๆ ชายมีหน้าที่ส่งมอบของหมั้นและสินสอดหรือโอนทรัพย์สินให้ตามที่ตกลงกันไว้ก่อน เหตุผลก็คือเพื่อเป็นหลักฐานหรือจะเรียกว่าเป็นหลักประกันว่าชายนั้นจะสมรสกับหญิงไม่แปรเปลี่ยนว่ากันไปตามนี้

พระเดชพระคุณท่านอย่าได้อ้างว่าหลักทรัพย์ที่ตกลงกันนั้นยังขาดอยู่ไว้วันแต่งงานกันจริงๆ จะนำมาส่งมอบให้ครบอย่ากังวล หรือให้ของหมั้นแต่บางส่วนและค้างบางส่วน ไม่ว่ากรณีใดก็ตามถ้าฝ่ายหญิงเชื่อฝ่ายหญิงต้องรับความเสี่ยงกันเอง หากต่อมาเกิดปัญหาเห็นทีจะต้องโทษการตัดสินใจของตัวเอง

ใช่ว่าเรื่องที่ยกมาเป็นตัวอย่างจะไม่เคยเกิดขึ้น เกิดขึ้นมาแล้วทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ครั้นวันวิวาห์มาถึงชายเตรียมงานเลี้ยงออกค่าใช้จ่ายเอง แต่ของหมั้นขอยกยอดไว้ก่อนก็ดี หรือที่ค้างบางส่วนยังหามาให้ไม่ทันขอผัดผ่อนไปก่อนก็ดี

หรือซ้ำร้ายชายให้ฝ่ายหญิงออกค่าใช้จ่ายในงานแต่งไปก่อน ส่วนของหมั้นเป็นเพียงสัญญาว่าจะมอบให้ภายหลัง หลังแต่งงานกันแล้วชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรสผัดผ่อนหญิงและทะเลาะกัน ที่สุดชายขนของออกจากบ้านหลังนั้น

สิ่งที่ยกมากล่าวจะว่าชายผิดสัญญาหมั้นก็ไม่ใช่ เพราะการหมั้นยังไม่เกิดขึ้น เป็นแต่เพียงสัญญากันไว้ว่าจะ...แต่ยังไม่ได้มีการส่งมอบของหมั้น หญิงจะอ้างชายผิดสัญญาหมั้นก็ไม่ได้ จะอ้างได้ก็ต่อเมื่อการหมั้นเกิดขึ้นแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานฝ่ายหญิงใจดีมากออกค่าใช้จ่ายให้ก่อนจะส่งบิลไปเก็บเงินกับใครดี

เมื่อไม่มีการหมั้น ฝ่ายหญิงเรียกค่าทดแทนความเสียหายจากฝ่ายชายก็ยากนะ เพราะกฎหมายก็ไม่เปิดช่องอีกเช่นกัน ปัญหาเช่นที่ยกมานี้จะไปเรียกร้องความยุติธรรมจากใครให้หนักใจแทน

ฝ่ายหญิงทั้งเจ็บใจทั้งสูญเสียความสาวและถูกสังคมรอบข้างลงโทษด้วยเสียงซุบซิบนินทา ก่อนอื่นใดสิ่งแรกและสำคัญคือต้องตั้งสติให้มั่น ค่อยๆ ดูเหตุแห่งปัญหาทั้งหมดเกิดจากชายหรือการตัดสินใจของฝ่ายหญิงผิดพลาดก่อน และใช้ปัญญาคิดอ่านกันต่อไป

ฝ่ายหญิงต้องใจเย็นอย่าใช้อารมณ์หากควบคุมไม่ได้เกรงว่าเหตุร้ายจะตามมา ทั้งสองฝ่ายค่อยๆ หาช่องทางคลี่คลายความเสียหาย ดูซิว่าฝ่ายชายจะมีทางออกบรรเทาความเสียหายได้แค่ไหน เพียงใด?

ถ้าชายคนที่หญิงเคยเชื่อว่ารักเธอยังมีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ น่าจะหาทางเยียวยาความเสียหายหรือแสดงความรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่แท้ เว้นแต่หญิงดูคนผิดมาแต่แรกคงเก็บความเสียใจไว้คนเดียวกระมัง

อีกเรื่องหนึ่งหากชายให้ของหมั้นบางส่วนแต่ผิดสัญญาหมั้นภายหลังถือว่าการหมั้นเกิดขึ้นแล้ว เมื่อชายผิดสัญญาหมั้นไม่ยอมสมรส ของหมั้นบางส่วนก็ตกเป็นสิทธิแก่หญิง ส่วนที่ค้างไว้อย่าได้หวังคำสัญญา

เพราะว่าของหมั้นต้องส่งมอบให้หญิงในวันหมั้น มอบส่วนที่เหลือในวันอื่นหาใช่ของหมั้นไม่

เรื่องจะกล่าวถึงต่อไป "ให้ของหมั้นหญิง คู่หมั้นแต่บางส่วน" เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมากฎหมายคุ้มครองสิทธิหญิงไว้อย่างไร?
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
อะไรคือกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน กันแน่
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2556 เวลา 00:03 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/188732/225302-



อะไรคือร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีรับรอง

การเสนอร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ แบ่งได้เป็น 2 กรณี  คือ การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และร่างพระราชบัญญัติธรรมดาทั่วไป ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ 3 วิธีโดย 1) คณะรัฐมนตรี 2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ส่วนร่างพระราชบัญญัติทั่วไป นอกจาก 3 วิธีดังกล่าวแล้ว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไปได้ด้วย  โดยที่หากร่างพระราชบัญญัติทั่วไปที่เสนอนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีด้วย ส่วนร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแม้ว่าจะเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงินแต่ไม่มีบทบัญญัติให้ต้องเสนอนายกรัฐมนตรีให้คำรับรองด้วย จึงสามารถเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรได้เลย

ในการดำเนินงานของกระทรวงการคลังก็มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไปที่มีลักษณะเกี่ยวด้วยการเงินเช่นกัน แต่เนื่องจากเป็นร่างที่เสนอจากคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 142 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีอยู่ในคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว จึงไม่ต้องขอคำรับรองจากนายกรัฐมนตรีซ้ำอีก

แล้วปัญหาว่าอะไรคือร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีรับรองจะพิจารณาแต่เพียงชื่อหรืออ่านเผินๆ คงไม่ได้ อย่างเช่น เมื่อเร็วๆนี้ มีร่างพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งที่ดูชื่อก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงิน แต่ก็ยังมีประเด็นปัญหาให้ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นร่างพระราชบัญญติที่เกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติแต่ละเรื่องว่าเข้าข่ายตามมาตรา 143 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่ กล่าวคือ เป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาในลักษณะเป็นการขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ จ่ายเงินแผ่นดิน หรือโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การกู้เงิน การค้ำประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตรา

สำหรับกรณีเกิดเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น รัฐธรรมนูญได้กำหนดแนวทางการวินิจฉัยไว้โดยให้ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ เป็นผู้วินิจฉัย และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจัดให้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว หากเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า “ไม่ใช่” สภาผู้แทนราษฎรก็สามารถพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไปได้ แต่หาก “ใช่” ก็ต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรองร่างพระราชบัญญัตินั้นๆ ก่อน จึงจะบรรจุเข้าสู่วาระของสภาผู้แทนราษฎรได้ นอกจากนี้ แม้ว่าตอนเสนอร่างพระราชบัญญัติจะพิจารณา ว่าไม่เกี่ยวด้วยการเงิน แต่หากในชั้นการพิจารณาของสภามีการปรับแก้ไขร่างพระราชบัญญัติจนมีเนื้อหาเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ก็ต้องดำเนินการเพื่อให้นายกรัฐมนตรีรับรองอีกด้วย


นางสาวรินทร์ธิยา เธียรธิติกุล
สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
https://www.facebook.com/สำนักกฎหมาย-สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
การยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร - กฎหมายรอบรั้ว
วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/950/234251-


การยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนการปฎิบัติดังนี้ เมื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่อมาที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือมีกรณีให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามที่กำหนดในข้อบังคับให้คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรยื่นคำขอจดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่

พร้อมด้วยหลักฐานคือ หนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร, รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกที่มีมติให้ ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร, บัญชีที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคบริการสาธารณะและทรัพย์สินอื่นของนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร, บัญชีหนี้หรือภาระผูกพันของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและหนังสือยินยอมของเจ้าหนี้ให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร(ถ้ามี), หลักฐานการจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และทรัพย์สินอื่นไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา(ถ้ามี) และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขา ได้จดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นอันยกเลิก และให้หมายเหตุ การยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และหนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติ บุคคลหมู่บ้านจัดสรรทั้งสองฉบับนี้ให้ตรงกัน กับให้ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่งตั้ง ผู้ชำระบัญชีภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่จดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยอนุโลม แต่ห้ามมิให้ผู้ชำระบัญชีจำหน่ายที่ดินอันเป็น สาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะมีมติเป็นอย่างอื่น และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการโดยต้องจัดการชำระบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้เสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือมีกรณีที่คณะกรรมการจะกำหนด เวลาไว้เป็นอย่าง อื่น

ส่วนเรื่องที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะรวมทั้งทรัพย์สินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่เหลือจากการชำระหนี้ให้ผู้ชำระบัญชีโอนที่ดินและทรัพย์สินดังกล่าวให้ แก่นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นที่จัดตั้งขึ้น ในกรณีที่มิได้จัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนที่ดิน และทรัพย์สินดังกล่าวให้ผู้ชำระบัญชีดำเนินการจด ทะเบียนโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้เป็นสาธารณประโยชน์ หรือให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยผู้รับ โอนจะต้องไม่กระทำการอันถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง หรือส่งผลกระทบต่อการได้รับบริการหรือใช้ประโยชน์ ในสิ่งอำนวยความสะดวกเดิมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแต่อย่างใดนะครับ

ดังนั้นหากภายหลังการตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แล้วพบว่าการเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้นไม่เป็น ประโยชน์ต่อสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรแล้วก็สามารถยกเลิกการจดทะเบียนได้ตลอดเวลาเพียงแต่ต้องทำตามขั้นตอน ที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นครับ

ดินสอพอง

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
การควบรวมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร - กฎหมายรอบรั้ว
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.

-http://www.dailynews.co.th/article/950/235655-

ตาม พรบ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 กำหนดให้ผู้จัดสรร ต้องจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยความ เห็นชอบจากผู้ซื้อแปลงย่อยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และต้องให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับจากวันยื่นขอจดทะเบียนต่อ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขา แต่ในกรณีผู้จัดสรรมีการดำเนินการขออนุญาตจัดสรรแบ่งเป็นเฟส เช่นโครง การมีการแบ่งพัฒนาเป็น 3 เฟส ก็อาจต้องยื่นขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเฟส 1 ก่อน ตามด้วย เฟส 2 และ 3 ตามลำดับ จึงอาจมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรถึง 3 นิติบุคคลภายใน 1 โครงการ

และตาม พรบ.ดังกล่าว มาตรา 45กำหนดให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลง ย่อยตามแผนผังโครงการ (มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วตั้งแต่ 2 นิติฯ) และมีพื้นที่ติดต่อกัน หรือใกล้ เคียงกันสามารถควบรวมเป็น 1 นิติฯ ทั้งนี้มติของที่ประชุมใหญ่แต่ละแห่งที่อยู่ภายในโครงการเดียวกันต้องมีเสียง ไม่น้อยกว่าสามในสี่ หรือเอกฉันท์ ให้ควบรวม และต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับที่แต่ละนิติฯ ด้วย

ดังนั้น ในกรณีที่หมู่บ้านจัดสรรแต่ละเฟส มีทางเข้า-ออกทางเดียวกัน และมีการโอนสาธารณูปโภคส่วน กลางมาใช้ร่วมกันในภายหลัง จึงจำเป็นต้องมีการขอจดทะเบียนควบรวมนิติฯ ดังกล่าว
โดย ตามพ.ร.บ. กำหนดให้คณะกรรมการหมู่บ้านยื่นคำขอจดทะเบียนควบนิติฯตามแบบที่คณะกรรมการ จัดสรรที่ดินกลางกำหนดที่จังหวัด หรือสาชาสาขาพร้อมหลักฐานได้ดังนี้

- หนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่ละแห่ง
- รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกแต่ละแห่งที่มีมติให้ควบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และ เห็นชอบกับข้อบังคับของนิติฯที่เกิดจากการควบ
- สำเนาข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดจากการควบ
- บัญชีหนี้หรือภาระผูกพันของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่ละแห่งและหนังสือยินยอมของเจ้าหนี้ในการ ควบนิติฯ (ถ้ามี)
- บัญชีทรัพย์ที่เป็นสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และทรัพย์สินอื่นของนิติฯ แต่ละแห่ง

เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขาได้รับคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานแล้ว ให้พิจารณาความถูกต้อง ของเอกสารตามกฎหมายมีคำขอและเอกสารหลักฐาน, สำเนาข้อบังคับ และ วัตถุประสงค์ ของนิติ​ฯ หากต้องครบ ถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดให้ปิดประกาศคำขอไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือ สาขา สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ, แขวง, ที่ทำการกำนันในท้องที่นั้น, สำนักงานหรือที่ทำการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ที่ดินจัดสรร นั้นตั้งอยู่ และที่บริเวณที่ทำการจัดสรร แห่งละหนึ่งฉบับ ซึ่งต้องปิดประกาศไว้ 30 วัน และหากมีผู้คัดค้านภาย ในกำหนด เจ้าพนักงานที่ดินฯ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และสรุปเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาโดยเร็ว จากนั้น แจ้งผู้คัดค้านและเจ้าพนักงานที่ดินฯ ภายใน 15 วัน ซึ่งหากไม่ชอบด้วยกฎหมายให้เจ้าพนักงานที่ดินฯ มีคำสั่งยกเลิก คำขอดังกล่าว หากเห็นชอบก็ให้มีคำสั่งควบรวมนิติฯ ได้

ทั้งนี้นิติฯ ใหม่ที่เกิดจากการควบรวมจะได้ทั้งสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบที่นิติฯ เดิม (ก่อนควบรวม) พึงมีทุกประการมีครับ

ดินสอพอง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
9 ปัญหายอดฮิต เกี่ยวกับกฎหมายการสร้างบ้าน - รอบรู้เรื่องบ้าน
วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/950/239531-






เมื่อพูดถึงเรื่อง “กฎหมาย” หลายคนมักส่ายศีรษะ ปิดตาไม่อยากรับรู้ และปล่อยให้สถาปนิกจัดการเคลียร์แบบหรือหาทางลักไก่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่รู้หรือไม่ กฎเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ตราขึ้นเป็นกฎหมายนั้น ล้วนมีเหตุและผลเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและความปลอดภัยของตัวเจ้าของบ้านเอง “บ้านและสวน” จะมาไขข้อข้องใจ 9 ปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับกฎหมายการสร้างบ้านซึ่งหลายคนสงสัยและมักเข้าใจผิด มีอะไรบ้างมาดูกัน

ทำไมต้องสร้างบ้านโดยเว้นระยะรอบบ้านจะสร้างชิดรั้วเลยได้ไหม ได้พื้นที่เยอะดี

ไม่ได้ กฎหมายกำหนดให้บ้านที่มีพื้นที่น้อยกว่า 300 ตารางเมตรในด้านที่ไม่มีช่องเปิดต้องมีระยะถอยร่นจากตัวอาคารถึงแนวเขตที่ดิน ซึ่งอย่างน้อยก็ต้อง 0.50 เมตร (แล้วท่านยังต้องให้เพื่อนบ้านเห็นชอบและเซ็นรับรองในเอกสารว่ายินยอมด้วย) แต่สำหรับบ้านที่มีพื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตร ด้านที่เป็นผนังทึบต้องเว้นรอบบ้าน 1 เมตร เพราะอย่าลืมนะครับว่า เวลาช่างก่อสร้างบ้านของท่าน อย่างน้อยเขาก็ต้องตั้งนั่งร้าน หรือต้องมีระยะให้ช่างเข้าไปทำงานฉาบ ทาสีผนังข้าง ๆ บ้านท่าน เราจึงต้องมีระยะพื้นที่ว่างรอบ ๆ บ้านไว้ด้วย

เจาะผนังเพื่อแขวนภาพบนคอนโดมิเนียมได้ไหม

ผนังคอนโดมิเนียมส่วนที่กั้นระหว่างห้องหนึ่งกับอีกห้องหนึ่ง เป็นผนังที่มีเจ้าของร่วมกัน (คนละครึ่ง) หากเจาะสกรูสั้น ๆ ก็คงไม่เป็นไร แต่หากใช้สกรูตัวยาวอาจทะลุไปทำความเสียหายต่อทรัพย์สินเขาได้ แล้วอีกอย่างคือเรื่องเสียงที่เกิดขึ้นเวลาเจาะผนัง มันช่างดังสะท้านไปถึงแก้วหูเลย ดังนั้นหากจะเจาะผนังก็ควรแจ้งเพื่อนบ้านข้างเคียงเสียหน่อยก่อนเจาะก็จะดีที่สุด

อยู่คนเดียว เลยทำห้องนอนขนาดเล็กแค่ 2.50 X 2.50 เมตร ผิดกฎหมายไหม

ผิด กฎหมายกำหนดให้ห้องนอนต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 8 ตารางเมตร และส่วนที่แคบที่สุดต้องกว้างอย่างน้อย 2.50 เมตรด้วย นั่นหมายถึงห้องที่เล็กที่สุดต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 3.20 X 2.50 เมตรนั่นเอง

ต้นไม้ข้างบ้านยื่นกิ่งก้านข้ามรั้วมายังเขตพื้นที่บ้านเรา ตัดทิ้งได้เลยไหม

ในบ้านเราแม้ไม่มีกฎหมายห้าม แต่เพื่อความสมานฉันท์ระหว่างเพื่อนบ้าน ก็ควรบอกให้เจ้าของต้นไม้ทราบถึงปัญหาดังกล่าวก่อน ถ้าเจ้าของต้นไม้ไม่ดำเนินการ เราก็สามารถตัดส่วนที่ยื่นเกินมาได้
บ้านที่อยู่ใกล้คลองหรือทางน้ำธรรมชาติ ต้องมีระยะถอยห่างเท่าไร

ถ้าแหล่งน้ำนั้นกว้างน้อยกว่า 10 เมตร บ้านต้องถอยห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 3 เมตร

แหล่งน้ำกว้างกว่า 10 เมตร บ้านต้องถอยห่างอย่างน้อย 6 เมตร ถ้าเป็นแหล่งน้ำใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องถอยห่างอย่างน้อย 12 เมตร

หากก่อสร้างบ้านโดยไม่ขออนุญาตจะเกิดอะไรขึ้น เรื่องนี้สำคัญหรือเปล่า

เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องส่งแบบเพื่อยื่นขออนุญาต มิฉะนั้นหากนายช่างหรือนายตรวจจากทางราชการมาตรวจพบ อาจมีเอกสารให้ระงับงานก่อสร้างไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับใบอนุญาต และหากสิ่งก่อ
สร้างที่ได้ทำไว้นั้น

ขัดต่อข้อกฎหมายอีก อาจต้องรื้อถอนและทำใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอีกด้วย ขออนุญาตไว้ตั้งแต่แรกจึงน่าจะดีที่สุด

ไม่ติดรางน้ำฝนได้ไหม ไม่เห็นจะสวยเลย

หากการระบายน้ำจากบ้านเราไม่พุ่งข้ามรั้วไปบ้านข้างเคียง ไม่ต้องติดรางน้ำก็ได้ เพราะจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้มีกฎหมายบังคับชัดเจน แต่ถ้าลองนึกถึงใจเขาใจเรา การติดรางน้ำเพียงไม่กี่บาท ย่อมดีกว่าการต้องมีเพื่อนบ้านเป็นศัตรูเป็นไหน ๆ

รูปแบบของบันไดกว้างยาวเท่าไรก็ได้หรือเปล่า

กฎหมายอาคารกำหนดให้บันไดภายในบ้านต้องมีความกว้างอย่างน้อย 0.90 เมตร โดยวัดระยะที่โล่งจริง ๆ ไม่รวมราวบันไดหรือสิ่งที่ยื่นออกมาขวางทางเดิน หากคิดไม่ออกบอกไม่ถูก ก็ทำกว้างๆ ไว้สักหน่อย ไม่ควรต่ำกว่า 1.20 เมตร เพื่อความสะดวกในการเดินขึ้นลง นอกจากนี้ขนาดของลูกตั้งก็ห้ามสูงเกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 22 เซนติเมตร

สร้างรั้วบ้านใหม่ สูงได้กี่เมตร

ไม่ว่าจะเป็นรั้วบ้านด้านติดกับถนนทางเข้าหรือด้านที่ติดกับเพื่อนบ้าน เราสามารถสร้างรั้วได้ใหม่ชิดกับรั้วเดิมโดยไม่ต้องขออนุญาตข้างบ้านก่อน แต่ต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร วัดจากระดับฟุตปาธหรือถนนสาธารณะ.

บ้านและสวน


http://www.dailynews.co.th/article/950/239531
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)