ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

เรียนรู้กฎหมาย ไว้เป็นแนวทางป้องกันตนเอง และไม่ให้ถูกเอาเปรียบบุคคลต่างๆ

<< < (4/10) > >>

sithiphong:
ท้องไม่รับ ทำอะไรได้บ้าง

-http://men.sanook.com/1746/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/-

เรื่องการชิงสุกก่อนห่าม นี่เป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใครจริงๆ ครับ เข้าใจว่าเรื่องเซ็กซ์กับผู้ชายนั้น มันอยู่ข้างๆ กัน แต่หากรักจะชิงสุกก่อนห่ามแล้วก็ต้องรู้จักการป้องกัน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาเรื่องฝ่ายหญิงตั้งท้อง และปัญหานี้จะไม่ใช่ปัญหาครับ เมื่อฝ่ายชายยินยอมที่จะรับผิดชอบ และทางฝ่ายหญิงเขาก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเกิดว่า ผู้ชายไม่รับ ปัญหาต่างๆ ย่อมตามมาอย่างแน่นอน และผู้ชายที่ทำแล้วไม่ยอมรับผิดชอบก็รู้ไว้นะครับ ว่าฝ่ายหญิงก็สามารถเอาผิดคุณตามกฏหมายได้ ดั่งกรณีที่ Sanook! MEN จะนำมาให้เป็นกรณีศึกษานี้ครับ


ฝ่ายชายไม่รับเป็นพ่อเด็กทำอย่างไรดี

          น้องสาวอายุ 26 ปี ท้องประมาณ 4 เดือน แล้วก็บอกให้ญาติฝ่ายชายไปขอ  แต่ญาติฝ่ายชายกลับปฏิเสธ แบบนี้ฝ่ายหญิงต้องทำอย่างไรบ้าง  ตอนนี้ทำอะไรไม่ถูกเลย และถามต่อไปอีกว่า  ถ้าเกิดฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ  แล้วตอนเด็กคลอด  ผู้เป็นญาติหรือพี่หรือน้องฝ่ายหญิงสามารถเป็นพ่อ(ชื่อเป็นพ่อในใบเกิด) เด็กได้หรือไม่อย่างไร  และเมื่อเวลาผ่านไปฝ่ายชายอยากจะมีสิทธิในตัวเด็กจะทำได้หรือไม่

คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์

           1. น้องสาวย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกให้ชายรับผิดโดยฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555,1556
           2. เมื่อคลอดบุตรแล้ว ในใบแจ้งเกิดสามารถเว้นว่างช่องบิดาผู้ให้กำเนิดได้ หากกรอกข้อมูลที่เป็นเท็จ ย่อมมีความผิดอาญาฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ จดข้อความอันเป็นเท็จลงในสูติบัตรอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน ตาม ป.อ. มาตรา 267

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1555 ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(2) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
(4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
(5) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
(6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร
พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณาข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตรซึ่งปรากฏในระหว่างตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่เช่น บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดยเหตุประการอื่น

ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็นบิดาของเด็กนั้นได้ ให้ยกฟ้องเสีย

มาตรา 1556  การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่เด็กเป็นผู้เยาว์ ถ้าเด็กมีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กก็ได้
เมื่อเด็กมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ เด็กต้องฟ้องเอง ทั้งนี้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
ในกรณีที่เด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว จะต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันบรรลุนิติภาวะ
ในกรณีที่เด็กตายในระหว่างที่เด็กนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรอยู่ผู้สืบสันดานของเด็กจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้ ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรมาก่อนวันที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรภายหลังที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้เหตุดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่พ้นสิบปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่ผู้สืบสันดานของเด็กเป็นผู้เยาว์ ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 276  ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากบิดาไม่รับเป็นบุตรบุญ ไม่สามารถใส่ชื่อบิดาในใบเกิดได้

ขอบคุณบทความจาก
ฝ่ายชายไม่รับเป็นพ่อเด็กทำอย่างไรดี
http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=7236


sithiphong:
ฉลากสินค้าสำคัญอย่างไร - ไขปัญหาผู้บริโภค

-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/214415/%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-


เมื่อพูดถึง “ฉลากสินค้า” ทุกท่านที่เป็นผู้บริโภคคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ไม่รู้จักฉลากสินค้า เพราะในชีวิตประจำวันผู้บริโภคสามารถพบเห็นฉลากสินค้าได้ทั่วไป
วันเสาร์ 8 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 00:00 น.



 เมื่อพูดถึง “ฉลากสินค้า” ทุกท่านที่เป็นผู้บริโภคคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ไม่รู้จักฉลากสินค้า เพราะในชีวิตประจำวันผู้บริโภคสามารถพบเห็นฉลากสินค้าได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นฉลากยา ฉลากอาหาร ฉลากเครื่องสำอาง ฉลากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือฉลากสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วฉลากสินค้ามีความสำคัญกับผู้บริโภคอย่างไร

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองไว้ 5 ประการ คือ

1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา 5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

โดยพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กำหนดว่า “ฉลาก” หมายถึง รูป รอยประดิษฐ์ กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏข้อความเกี่ยวกับสินค้าซึ่งแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุสินค้าหรือสอดแทรก หรือรวมไว้กับสินค้า หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุสินค้า และหมายความรวมถึงเอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบสินค้า ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้น

“ฉลากของสินค้า” จะต้องระบุข้อความดังนี้

- ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร กรณีที่เป็นสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อขาย จะต้องระบุประเทศที่ผลิตด้วย เช่น โทรทัศน์สี คอมพิวเตอร์ สมุดพิมพ์เขียน น้ำหอมปรับอากาศ ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ผลิตในประเทศมาเลเซีย ฯลฯ

- ชื่อผู้ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย

- ชื่อผู้ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย

-สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขายหรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย

- ต้องแสดงปริมาณ หรือขนาด หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้า

- ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด เช่น ใช้ทำความสะอาดพื้นไม้หรือพื้นกระเบื้อง  ภาชนะเคลือบใช้ตั้งบนเตาไฟ ฯลฯ

- ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการใช้ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค เช่น ห้ามใช้ของมีคมกับการแซะน้ำแข็งในตู้เย็น  ควรเก็บสินค้าไว้ในที่ร่มและไม่เปียกชื้น ฯลฯ

- คำเตือน  (ถ้ามี)

- วัน เดือน ปี ที่ผลิต หรือวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือวัน เดือน ปี ที่ควรใช้ก่อน (ถ้ามี)

- ราคาต้องระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นด้วยก็ได้ นอกจากนี้สินค้าที่ควบคุมฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้แก่ สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (กรณีจะเข้าข่ายเป็นโรงงานก็คือใช้แรงงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป หรือใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป) สินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายและคณะกรรมการว่าด้วยฉลากยังมีอำนาจออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก กำหนดให้สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องในการใช้สินค้าหรือโดยสภาพของสินค้านั้น หรือสินค้าทั่วไปใช้เป็นประจำ

การกำหนดฉลากของสินค้านั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค ในการที่จะทราบข้อเท็จจริงในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากได้ สำหรับการแสดงข้อความในฉลากสินค้าต้องใช้ข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ ในกรณีที่สินค้านั้น ๆ มีกฎหมายของหน่วยงานราชการอื่นควบคุมในเรื่องฉลากอยู่แล้ว ก็ให้จัดทำฉลากตามกฎหมายนั้น ๆ เช่น อาหารต้องจัดทำฉลากตามพระราชบัญญัติอาหาร ฯลฯ

เมื่อฉลากสินค้าเป็นแหล่งข้อมูลในการอุปโภค และบริโภคของผู้บริโภค ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้กำหนดสิทธิที่ผู้บริโภคจะต้องได้รับข่าวสาร ดังนั้นไม่ว่าจะก่อนซื้อหรือก่อนใช้สินค้าหรือบริการ หยุดให้ความสำคัญอ่านฉลากสักนิดเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค.

sithiphong:

การมอบอำนาจ กับ อากรแสตมป์


การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบอำนาจให้อีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน

วันจันทร์ 17 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 00:53 น.






 การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบอำนาจให้อีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทางกฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง การทำหนังสือมอบอำนาจโดยเฉพาะกิจการสำคัญๆ เช่น กิจการอันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือกิจการอันเกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีต่อศาล ต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง และไม่ควรลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความให้ครบถ้วนชัดเจน มิฉะนั้น แม้จะปรากฏในภายหลังว่าข้อความดังกล่าวผิดไปจากเจตนารมณ์ของ ผู้มอบอำนาจก็ตามหากเกิดความเสียหายขึ้นก็ถือว่าผู้มอบอำนาจต้องรับผิดชอบเนื่องจากประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่อาจใช้ยันบุคคลภายนอกที่สุจริตและเสียค่าตอบแทนได้

ทั้งนี้สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการมอบอำนาจตั้งตัวแทนซึ่งมิได้กระทำในรูปแบบลักษณะตราสารสัญญา คือ ต้องปิดแสตมป์เพื่อเสียค่าอากรด้วย ซึ่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีซึ่งตาม ข้อ 7. กำหนดให้ผู้มอบอำนาจต้องปิดแสตมป์เพื่อเสียค่าอากร 3 กรณี คือ

(1) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว เสียค่าอากรแสตมป์ 10 บาท

(2) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว เสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท

(3) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายตนต่างกระทำกิจการแยกกันได้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบ คนละ 30 บาท

อากรแสตมป์เป็นแสตมป์ที่แสดงถึงการชำระภาษีอากรให้แก่รัฐ การปิดอากรแสตมป์นั้นนอกจากต้องปิดอากรให้ครบถ้วนตามกฎหมายแล้วต้องขีดฆ่าที่อากรด้วย มิฉะนั้นหากไม่ปิดอากรแสตมป์ หรือปิดไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย จะมีผลทำให้อาจถูกเรียกเงินเพิ่มอากรจากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ (มาตรา 113) และอาจทำให้สัญญาหรือตราสารที่ทำนั้นไม่สามารถใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ (มาตรา 118) โดยตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2523 หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบแต่ไม่ขีดฆ่า เท่ากับไม่ได้ปิดอากรบริบูรณ์ โจทก์ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หนังสือดังกล่าวจึงใช้อ้างไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2535 สัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตมป์ครบบริบูรณ์และได้ขีดฆ่าเพื่อมิให้นำไปใช้ได้อีกแม้มิได้ลงวันเดือนปีที่อากรแสตมป์แต่สัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียก็ถือเป็นการปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้วจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

ดังนั้น การมอบอำนาจที่สำคัญดังกล่าวข้างต้นจึงไม่อาจละเลยเรื่องอากรไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นไปเพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์ของการมอบอำนาจที่จะผูกพันตามข้อบังคับของกฎหมายอันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้มอบอำนาจนั่นเอง

พิมลพรรณ การขยัน

สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

https://www.facebook.com/สำนักกฎหมาย-สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

sithiphong:
อายุความบัตรเครดิต


-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/222880/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95++-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-



ปัจจุบัน “ธุรกิจบัตรเครดิต” รัฐได้มีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในเรื่องธุรกิจบัตรเครดิต เช่น ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
วันเสาร์ 15 มีนาคม 2557 เวลา 00:00 น.

“การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ”  แต่ถ้ามีหนี้ก็จงชำระหนี้ให้ครบถ้วนถูกต้องตามกำหนดเวลา โดนเฉพาะหนี้บัตรเครดิตซึ่งถ้าไม่รอบคอบและเรียนรู้ศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะรูด “หนี้สิน” อาจกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิตของคุณได้ทีเดียว เช่นเดียวกับหลาย ๆ ต่อหลายกรณีที่มีปัญญาที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตและได้มาร้องเรียนกับสคบ. ปัญหาที่เข้ามาร้องเรียนส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับ การชำระหนี้ ค่าทำเนียม ค่าเบี้ยปรับ บัตรเครดิตหาย  โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดจากการขาดวินัยและความรู้ไม่เท่าทันของผู้ใช้บัตรเครดิตทั้งสิ้น อันที่จริงจริงหากเราใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัยและเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ ปัญหาดังกล่าวจะไม่สามารถสร้างความทุกข์ใจให้กับผู้บริโภคได้เลย

อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกและปลอดภัยกว่าการถือเงินสด อีกทั้งการซื้อสินค้าและบริการได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินทันที สามารถถอนเงินสดมาใช้จ่ายในยามฉุกเฉินและสะสมสำหรับผู้บริโภคที่กำลังตัดสินใจจะทำบัตรเครดิตควรอ่านรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ผู้ออกบัตรหลาย ๆ แหล่ง เพื่อเปรียบเทียบ เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี ระยะเวลาชำระคืนโดยปลอดดอกเบี้ย วันที่เริ่มคิดดอกเบี้ย การผ่อนชำระเงินขั้นต่ำ เงื่อนไขการนำบัตรเครดิตไปใช้ในต่างประเทศ ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการอื่น ๆ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และรายละเอียดอื่น เช่น จุดบริการรับชำระเงิน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการสมัครบัตรเครดิต ภาระหน้าที่ของผู้ถือบัตร การทำบัตรหาย การขอยกเลิกบัตร

ปัจจุบัน “ธุรกิจบัตรเครดิต” รัฐได้มีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในเรื่องธุรกิจบัตรเครดิต เช่น ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 ซึ่งมีสาระสำคัญในการดูแลธุรกิจบัตรเครดิต  แล้วทีนี้หากพลาดพลั้งเกิดเป็นหนี้บัตรเครดิตขึ้นมา ทราบหรือไม่ว่าเขามีอายุความฟ้องร้องกันกี่ปี

เมื่อถามถึงว่าอายุความคืออะไร ตามประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บอกว่า อายุความ คือ สิทธิเรียกร้องที่คนเรามีสิทธิที่จะเรียกร้องต่อกันได้ภายในระยะที่กฎหมายกำหนดสิทธินั้นเอาไว้ ถ้าผู้มีสิทธิเรียกร้องไม่ร้องเอาจนพ้นระยะเวลานั้น สิทธิที่จะเรียกร้องในเรื่องนั้นก็จะหมดไป เรียกว่า “ขาดอายุความ” ซึ่งผู้ที่ต้องถูกบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นก็มีสิทธิปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามที่ผู้นั้นเรียกร้องได้ โดยไม่ผิดกฎหมาย

เดิมทีคดีบัตรเครดิตมีอายุความในการฟ้องร้องภายในกำหนด 10 ปี แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาตีความในเรื่องอายุความของบัตรเครดิตไว้ว่าเป็นการเรียก เอาค่าที่โจทย์ได้ออกเงินทดรองไป มีอายุความ 2 ปี ซึ่งเป็นกรณีทั่วไป ที่ธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชําระหนี้ภายในกําหนดเวลา 2 ปี นับแต่ลูกหนี้ได้ชําระหนี้แก่ธนาคารครั้งสุดท้าย ถ้าหากธนาคารไม่ฟ้องร้องในเวลา  2 ปี คดีก็ขาดอายุความลูกหนี้ก็พ้นความรับผิดไม่ต้องชําระหนี้ แต่แม้ว่าคดีขาดอายุความไปแล้วก็ตามถ้าธนาคารเจ้าหนี้ยื่นฟ้องมาแล้วและลูกหนี้ไม่ยื่นคําให้การแก่คดีภายในกําหนดของกฎหมายลูกหนี้ก็แพ้คดีอยู่ดี แต่ทางที่ดีอย่าเป็นหนี้เลยจะดีกว่า.

sithiphong:
การจดทะเบียนสมรส เรื่องสำคัญที่คู่บ่าวสาวควรรู้

-http://wedding.kapook.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-84544.html-



เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม

         หนุ่มสาวที่กำลังถกเถียงหรือลังเลเรื่องการจดทะเบียนสมรส ลองอ่านเรื่องความสำคัญของทะเบียนสมรส และประโยชน์ของทะเบียนสมรสที่นำมามาบอกกันก่อนดีกว่า

         เราเชื่อว่าว่าที่คู่บ่าวสาวที่กำลังจะเข้าพิธีวิวาห์คงมีการพูดคุยกันเรื่อง "ทะเบียนสมรส" เช่น จะจดทะเบียนสมรสดีไหม, จดกับไม่จดแตกต่างกันอย่างไร, การจดทะเบียนสมรสมีขั้นตอนยุ่งยากหรือเปล่า หรือทะเบียนสมรสผลดีต่อชีวิตคู่และทายาทอย่างไรบ้าง ฯลฯ ซึ่งบางคู่เข้าใจตรงกัน บางคู่เข้าใจแตกต่างกัน ดังนั้น วันนี้เราจึงนำข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับการการจดทะเบียนสมรสมาบอกเล่ากันค่ะ เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส

         จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง

        ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ

        ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา

        ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น

        ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้

         หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น, สมรสกับคู่สมรสเดิม, มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์, ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้, ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส

        บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

        สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ

        หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)

        สำเนาทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส

        การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส

        คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส

        คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม

        คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้นต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต

ค่าธรรมเนียม

         การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะรับ-ส่งนายทะเบียน การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท

ทะเบียนสมรสสำคัญอย่างไร

         การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสมีความสำคัญต่อคู่แต่งงาน สามีภรรยา เพราะเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ใช้สำหรับยืนยันความสัมพันธ์ และเป็นหลักฐานที่ใช้สำหรับการยืนยันสิทธิ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา เช่น การรับรองบุตร ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับสิทธิ์ต่าง ๆ ตามกฎหมาย การแบ่งสินสมรส การฟ้องหย่าในกรณีสามีหรือภรรยามีชู้ เป็นต้น

         การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสามีภรรยาบางคู่ ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น คู่สามีภรรยาที่ทำธุรกิจ หรือนักการเมือง ซึ่งการจดทะเบียนสมรสทำให้ต้องมีการตรวจสอบทางบัญชีการเงินของทั้งสามีภรรยา เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจเกิดการฟ้องร้องได้ การแต่งงานแบบนี้จึงอาจไม่มีทะเบียนสมรสโดยความยินยอมและตกลงของสามีภรรยาเอง แต่ในขณะเดียวกันการแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้สามีหรือภรรยาโอนทรัพย์สินของตัวเองไปยังบัญชีของอีกฝ่าย เพื่อเลี่ยงการตรวจสอบหรือการเสียภาษีได้เช่นกัน


ประโยชน์ของทะเบียนสมรส

        1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน นั่นหมายความว่าสามีจะหาเลี้ยงภรรยา หรือภรรยาจะหาเลี้ยงสามี หรือจะช่วยดูแลกันและกันก็ได้

        2. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของสามี หรือจะไม่ใช้ก็ได้

        3. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ (ถ้าอยากถือสัญชาติไทย)

        4. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส)

        5. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน

        6. การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการหรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือการรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน

        7. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทน จากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้ เช่น สามีโดนรถชน ภรรยาสามารถเรียกค่าเสียหายถึงชีวิตกับผู้ขับรถชนได้

        8. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้อย่างออกหน้าออกตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเอง และเรียกค่าเสียหายได้จากชู้ด้วย

        9. การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้ว)

        10. การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้

        11. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย

        12. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น ภรรยาโดนกระชากกระเป๋า สามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้ หรือสามีโดนคนพูดจาหมิ่นประมาทว่าร้าย ภรรยาก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทฝ่ายตรงข้ามแทนสามีได้

ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายนานแค่ไหน อายุของทะเบียนสมรส

         การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทะเบียนสมรสก็จะมีผลทางกฎหมายหรือมีอายุยาวตลอดไปจนกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่า ซึ่งการจดทะเบียนหย่าก็เป็นไปตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย หรือถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องมีการฟ้องหย่าโดยให้ศาลเป็นผู้พิจารณา เพื่อใช้เหตุผลและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบ รวมถึงการหาข้อตกลงต่าง ๆ เช่น การแบ่งสินสมรส สิทธิ์การดูแลบุตร ค่าเลี้ยงดู เป็นต้น

 การจดทะเบียนสมรสซ้อน

         ตามกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นผิดกฎหมาย และไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย เช่น หนุ่มเอจดทะเบียนสมรสกับสาวบี แล้วอีกไม่นานหนุ่มเอก็ไปจดทะเบียนสมรสกับสาวซี แบบนี้เรียกว่าจดทะเบียนสมรสซ้อน ซึ่งกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสครั้งหลังเป็นโมฆะ หากการจดทะเบียนสมรสครั้งแรกยังไม่มีการจดทะเบียนหย่าที่สมบูรณ์ และภรรยาที่จดทะเบียนสมรสซ้อนจะไม่มีรับสิทธิ์ตามกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น ในขณะเดียวกัน ถ้าหนุ่มเอลักไก่ด้วยการจดทะเบียนสมรสไว้กับสาวทั้งสองคน แต่อยู่ ๆ หนุ่มเอจดทะเบียนหย่ากับสาวบี แล้วไปอยู่กับสาวซี กฎหมายก็ไม่ให้สิทธิ์เช่นกัน เพราะถือว่าหนุ่มเอและสาวซีจดทะเบียนสมรสซ้อนในช่วงที่ยังมีการจดทะเบียนสมรสตัวจริงอยู่

บริการตรวจสอบทะเบียนสมรส

         ทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ khonthai.com หรือที่กรมการปกครองงานทะเบียนสมรสสอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 1548

         พอจะทราบความสำคัญและประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรสหรือใบทะเบียนสมรสกันแล้ว ใครที่กำลังจะแต่งงาน หรือแต่งงานไปแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลองกลับมาทบทวนกันอีกครั้งค่ะว่าจริง ๆ แล้วการจดทะเบียนสมรสดีกับเราหรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและเหตุผลของแต่ละคนและแต่ละคู่ค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

-http://www.momypedia.com/article-7-21-258/%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AA/-

-bora.dopa.go.th-

-dopa.go.th-




นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version