ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
เรียนรู้กฎหมาย ไว้เป็นแนวทางป้องกันตนเอง และไม่ให้ถูกเอาเปรียบบุคคลต่างๆ
sithiphong:
เล่นสงกรานต์ถูกลวนลาม "แจ้งเอาผิดตามกฎหมาย"ได้นะจ๊ะ
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1397347921&grpid=03&catid=&subcatid=-
การออกไปเล่นน้ำสงกรานต์ในที่ต่างๆ แล้วโดนลวนลามทางร่างกาย ไม่ว่าจะกอด จูบ ลูบ คลำโดยเจ้าตัวไม่ได้ยินยอม ถือว่าเข้าข่ายความผิดฐานอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้
หากโดนกอด จูบ ลูบคลำ ตามร่างกาย โดนจับของลับ สามารถเอาผิด ตามมาตรา 278 "ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นไม่อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ ขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นคนอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
แต่หากไกล่เกลี่ยลงตัว ผู้เสียหายยอมความ สามารถทำได้ ตามมาตรา 281 "การกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรคแรก และ มาตรา 278 นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือ ถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการ กระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ใน มาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้" และที่สำคัญผู้เสียหายต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีด้วย
ไม่ว่าเพศใดๆ ต้องรู้เท่าทันกฎหมาย เมื่อออกไปเล่นน้ำแล้วโดนลวนลามร่างกาย ต้องไม่ปล่อยเฉย จบด้วยคำขอโทษ หรือติดป้ายประจาน เพราะสามารถเอาผิดผู้กระทำตามกฎหมายได้ ชนิดติดคุกหัวโตนานนับ 10 ปีได้
คดีอนาจารไม่ใช่ปรับเงินเพียง 500 บาท แล้วปล่อยกลับบ้านเหมือนที่หลายคนเข้าใจ
sithiphong:
พนักงานลาป่วยได้ทุกกรณีหรือไม่ ?
-http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1397210918-
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์ โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ http://tamrongsakk.blogspot.com
เมื่อทำงานไปแล้วทุกคนมีโอกาสเจ็บไข้ได้ป่วยกันบ้างเป็นธรรมดาของสังขาร ซึ่งตามกฎหมายแรงงานเขาบอกไว้ในมาตรา 32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ซึ่งการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการ
ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือสถานพยาบาลของทางราชการ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างในวันลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน
จากกฎหมายแรงงานที่ผมยกมาข้างต้น จึงสรุปแบบภาษาชาวบ้านได้ว่าลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง (ไม่ใช่ลาป่วยได้ปีละ 30 วันทำงานอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดนะครับ) และหากบริษัทอนุญาตให้ลาป่วยจะต้องจ่ายค่าจ้างให้ในวันที่ลาป่วยด้วย (แต่จ่ายให้ไม่เกิน 30 วันทำงาน ถ้าหากปีใดพนักงานลาป่วยจริงเกินกว่า 30 วันทำงาน ส่วนที่เกิน 30 วันทำงานนั้น บริษัทอาจจะไม่จ่ายให้ก็ได้)
ที่ผมบอกมาทั้งหมดนั้นอยู่บนเงื่อนไขสำคัญว่า "ในกรณีที่ลูกจ้างป่วยจริง ๆ" นะครับ
เพราะเรา ๆ ท่าน ๆ จะทราบว่ายังมีพนักงานบางคนที่ "ไม่ได้ป่วยจริง" แต่ไม่อยากจะมาทำงาน ก็เลยอ้างว่า "ป่วย" และขอลาป่วย ซึ่งตามระเบียบของทุกบริษัทจะมีบอกไว้ว่าในกรณีที่พนักงานจะลาป่วยให้ลาป่วยในโอกาสแรกที่จะทำได้ (เช่นโทรศัพท์) มาที่ผู้บังคับบัญชา (ซึ่งก็คือหัวหน้างานโดยตรงนั่นแหละครับ)
แต่ในทางปฏิบัติมักจะพบว่าพนักงานที่แกล้งป่วยมักจะโทร.มาขอลาป่วยกับใครก็ได้ที่ไม่ใช่หัวหน้า
การลาป่วยลักษณะนี้มักจะลาไม่ให้ถึง 3 วันทำงาน เพื่อจะได้ไม่ต้องไปหาใบรับรองแพทย์มายืนยันซะด้วยสิครับ
ปัญหาจะเกิดกับหัวหน้างานว่า...แล้วควรจะต้องอนุญาตให้ลาป่วยทุกกรณีหรือไม่ ? ไม่อนุญาตได้ไหม ถ้าไม่ได้ป่วยจริง ?
จากปัญหาดังกล่าวตอบได้ดังนี้ครับ
1.หากลูกน้องของท่านป่วยจริง ก็ต้องอนุญาตให้ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน (แต่ถ้าบริษัทจะใจดีจ่ายให้เกินกว่า 30 วันก็ไม่มีปัญหานะครับ)
2.สำหรับกรณีลูกน้องที่มักจะชอบอู้งานโดยอ้างว่าลาป่วย ท่านอาจจะไปเยี่ยมเยียนลูกน้องที่ลาป่วยที่บ้าน หรือที่หอพักของเขาก็ได้ (แต่อย่าไปบอกเขาล่วงหน้าว่าจะไปเยี่ยม) ในกรณีที่เขาลาป่วยไม่ถึง 3 วันเพื่อไปดูว่าเขาป่วยจริงหรือไม่ ซึ่งท่านจะต้องรู้ทันลูกน้องประเภทมือวางอันดับหนึ่งจอมอู้พวกนี้
ถ้าไปเยี่ยมแล้วไม่อยู่ที่ห้องพัก หรือเดินหน้าบานกลับมาห้องพัก อย่างนี้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องอนุญาตให้ลาป่วย เพราะไม่ป่วยจริง และถือว่าขาดงานในวันนั้นได้เลยครับ
3.หัวหน้างานจึงควรจะต้องแยกแยะให้ดีระหว่างลูกน้องที่ป่วยจริง กับลูกน้องที่มักจะชอบอ้างว่าป่วย (แต่ไม่ได้ป่วยจริง) จะได้มีการปฏิบัติกับลูกน้องได้อย่างถูกต้อง และเท่าทันลูกน้อง
แล้วกรณีที่ลูกน้องลาป่วยเท็จล่ะ..ผลจะเป็นอย่างไร ?
ตามอ่านต่อที่ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1397210918
sithiphong:
.
ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก ต้องมีข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสำคัญของสินค้านั้น ระบุชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบธุรกิจ
วันเสาร์ 10 พฤษภาคม 2557 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/236204/%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87++-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-
ฉลากสินค้ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญและใส่ใจอ่านรายละเอียดก่อน ซื้อเพื่อรักษาสิทธิของตัวท่านเอง การอ่านฉลากสินค้าจะช่วยให้ทราบถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของส่วนประกอบ ปริมาณ สามารถเปรียบเทียบราคาระหว่างผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อก็สามารถช่วยให้ประหยัดเงินในกระเป๋าได้ไม่น้อย นอกจากนี้รายละเอียดของฉลากยังบอกให้ทราบถึงวิธีการเก็บรักษา การใช้งานได้อย่างถูกต้อง หากผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะแพ้ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก็จะสามารถทราบได้จากการอ่านฉลากและหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเสีย แต่หากเกิดปัญหาในการบริโภคผลิตภัณฑ์ ก็สามารถร้องเรียนให้มีการดำเนินการต่อผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย ได้ตามชื่อและที่อยู่ที่ปรากฏในฉลากด้วย และเพื่อเป็นการควบคุมให้ผู้ประกอบการ จัดทำฉลากได้อย่างถูกต้อง สคบ. จึงได้ออกประกาศเรื่องลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ซึ่งสินค้าที่ควบคุมฉลากก็ได้แก่ สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก ต้องมีข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสำคัญของสินค้านั้น ระบุชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบธุรกิจ สถานที่ผลิต หรือสถานที่ประกอบธุรกิจนำเข้าประเภทสินค้า ประเทศที่ผลิตกรณีนำเข้า ข้อความอันจำเป็น ได้แก่ ราคา ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ คำเตือน วันเดือนปีหมดอายุ หรือกรณีอื่นตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนด ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาไทยกำกับภาษาต่างประเทศสามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน
ลักษณะของฉลากที่ควบคุมต้องระบุข้อความดังนี้ ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้า กรณีสั่ง/นำเข้าให้ระบุประเทศที่ผลิต ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศ ไทยของผู้ผลิตเพื่อขาย ชื่อหรือเครื่องหมาย การค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อขาย สถานที่ตั้งที่สามารถติดต่อได้จริง ขนาด มิติ ปริมาณ ปริมาตร น้ำหนัก วิธีใช้ ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ คำเตือน (ถ้ามี) วันเดือนปีที่ผลิต หรือ หมดอายุ หรือที่ควรใช้ก่อน ราคาพร้อมระบุหน่วยบาท โดยการแสดงฉลากสินค้าต้องแสดงไว้ที่ตัวสินค้า ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ สอดแทรกหรือรวมไว้กับสินค้า เอกสารหรือคู่มือ ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุ และหากผู้ประกอบการขายสินค้าที่ควบคุมฉลากแต่ไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่การแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.
sithiphong:
ขอดูสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ท่านผู้ถามก็ช่างกระไรหนอ คุณใช้ชื่อนี้เวลานี้ถามมาที่กระผมนี้เล่นเอากระผมสะดุ้งโหยง จะดีร้ายประการใดก็รีบค้นคว้าหาคำตอบให้ดีกว่า
วันเสาร์ 7 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/Content/Article/242945/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+%E0%B8%9B.%E0%B8%9B.%E0%B8%8A.-
ท่านผู้ใช้นามว่าปฏิรูปถามมาว่า มีความประสงค์จะขอดูสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งจะขอดูได้ไหม
ท่านผู้ถามก็ช่างกระไรหนอ คุณใช้ชื่อนี้เวลานี้ถามมาที่กระผมนี้เล่นเอากระผมสะดุ้งโหยง จะดีร้ายประการใดก็รีบค้นคว้าหาคำตอบให้ดีกว่า
มีคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๔๒๗/๒๕๕๑ ที่พอจะนำมาเป็นแนวทางในเรื่องนี้ครับ
เหตุเกิดจากผู้ร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ต้องการทราบรายละเอียดสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในเรื่องที่ตนร้องเรียนกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจรายหนึ่งซึ่งต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.วินิจฉัยว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล
สงสัยมาก ไม่ผิดได้อย่างไรหว่า ใคร่จะทราบรายละเอียดในการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้แน่ชัด จึงทำหนังสือแสดงความประสงค์ขอตรวจดูและคัดสำเนาสำนวนการสอบสวนทั้งหมด ปรากฏว่าท่านไม่อนุญาต
ไปร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารซึ่งท่านก็วินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ แต่คณะกรรมการป.ป.ช.ท่านก็ยืนกรานไม่ให้เหมือนเดิม
ท่านก็มีอำนาจตามมาตรา ๑๒๐ แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดเปิดเผยข้อความ ข้อเท็จจริง หรือข้อมูลที่ได้มาเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยมิได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. และมิใช่เป็นการกระทำตามหน้าที่ราชการหรือเพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบหรือไต่สวนข้อเท็จจริง หรือเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำปรับ
แบบนี้ก็ต้องไปเล่นต่อที่ศาลปกครองตามธรรมเนียม คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ ๒ ขอให้เปิดเผยข้อมูลตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารดังกล่าว
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ท่านผู้อ่านที่เคารพที่ศาลท่านต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง
แต่ในคดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เป็นกรณีใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ในการออกกฎ คำสั่งหรือมติใด ๆ ที่มีผล กระทบต่อบุคคลเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
และเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ การไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีตรวจและคัดสำเนาเอกสารในสำนวนการไต่สวน จึง มิใช่กระทำในฐานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ
แต่เป็นการกระทำในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีไม่เปิดเผยสำนวนการสอบสวนตามคำวินิจฉัยตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เปิดเผยตามคำขอจึงเป็นคดีตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ดังกล่าว
และตามมาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบมาตรา ๑๐๔ และมาตรา ๑๐๘ แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ สำนักงาน ป.ป.ช.เป็น “หน่วยงานอิสระของรัฐ” และผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่ง มิให้เปิดเผยข้อมูลคำสั่งได้ตามมาตรา ๓๕ วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
ผู้ฟ้องคดีขอตรวจและคัดสำเนาสำนวนการสอบสวนที่มาจากการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึง เป็นเอกสารที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามมาตรา ๑๙ (๓) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯซึ่งต้องห้ามมิให้เปิดเผยตามมาตรา ๑๒๐ ดังกล่าว
แต่บทบัญญัติดังกล่าว มิได้ห้ามหรือให้อำนาจผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่อย่างใด การใช้ดุลพินิจเปิดเผยหรือไม่ย่อมต้องพิจารณา พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯประกอบด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อมูลข่าวสารที่ขอให้เปิดเผยเป็นข้อมูลที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรืออาจทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพและไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี
กรณีจึง ไม่มีเหตุที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๒๕ และคำวินิจฉัยให้เป็นที่สุด คณะกรรมการฯจึงมีฐานะเป็น “คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท” ตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ มีผลผูกพันให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตาม เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการข้อมูลฯจึงเป็น การละเลยต่อหน้าที่ พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการตามคำขอของผู้ฟ้องคดี
ก่อนมีเรื่องกับหน่วยงานที่ไม่ยินยอมเปิดเผยข้อมูลให้ตามคำขอ อย่าลืมไปดำเนินการทางคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารก่อนนะขอรับ.
พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์
-www.naipisit.com/อีเมล- : -praepim@yahoo.com-
sithiphong:
โดนเลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะทำอย่างไรดี
-http://money.kapook.com/view89785.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก decha
โดนเลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะทำอย่างไรดี จะเรียกร้องค่าชดเชยจากบริษัทได้หรือไม่ เรามีคำตอบ
เชื่อว่าพนักงานบริษัทหลาย ๆ คนอาจจะเคยประสบปัญหาถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้า จนได้รับความลำบากและเดือดร้อนอย่างมาก หากใครที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ล่ะก็...ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากบริษัทได้ ซึ่งวันนี้เราก็มีข้อมูลจากเว็บไซต์ decha.com มาร่วมด้วยช่วยกันคลายทุกข์ และตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
คำถาม : แม่ทำงานเป็นพนักงานขายกับบริษัทหนึ่ง แล้วบริษัทต่อสัญญาไม่ได้ โทรมาบอกเลิกจ้างทั้งที่จะเปิดขายอีกไม่กี่วัน แล้วเงินประกันก็ยังไม่คืนทำงานมาประกันสังคมก็ไม่มีให้ แต่ถ้าของขาดของหายหักเงินตลอด แม่ไม่ได้ติดใจอะไร แต่อยากได้เงินประกันคืนไว ๆ แต่ก็ติดตลอด พอแม่ว่าไป มาบอกเลิกจ้างบริษัทน่าจะรับผิดชอบ กลับบอกว่าให้ไปว่ากับโรงเรียนที่ไม่ต่อสัญญา เราจะทำอย่างไรได้บ้างคะ
คำตอบ : การที่บริษัทนายจ้างเลิกจ้างมารดาของท่าน นอกจากนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากการเลิกจ้างนั้นแล้ว หากบริษัทไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามีให้แก่มารดาซึ่งเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10 วรรคสอง, มาตรา 17 วรรคสาม ดังนี้ มารดามีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ตนทำงานอยู่ หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งตามความมาตรา 123, มาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
สรุปว่า หากโดนเลิกจ้างโดยที่ไม่บอกล่วงหน้า ก็สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าชดเชย หรือเพื่อให้รับกลับเข้าทำงานได้นั่นเอง
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version