ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

เรียนรู้กฎหมาย ไว้เป็นแนวทางป้องกันตนเอง และไม่ให้ถูกเอาเปรียบบุคคลต่างๆ

<< < (6/10) > >>

sithiphong:
6 วิธีรับมือกระทู้โจมตีบนโลกออนไลน์

-http://ch3.sanook.com/22127/it-24-%E0%B8%8A%E0%B8%A1-digital-marketing-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B5-

IT 24 ชม. Digital Marketing รับมือกระทู้โจมตีบนโลกออนไลน์

หลายๆท่านที่เคยเข้าเว็บบอร์ดดังอย่าง Pantip หรือไม่ก็คลิกอ่านกระทู้ pantip ผ่านทาง Social Network ต่างๆ ก็จะเห็นกระทู้ที่ตั้งขึ้น ซึ่งเป็นกระทู้แนะนำที่คนสนใจจำนวนมาก และบ่อยครั้งที่แบรนด์มักจะถูกโจมตีจากผู้บริโภค งานนี้แบรนด์จะรับมือจัดการกับกระทู้นี้อย่างไร? เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และหวังให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวแบรนด์มากขึ้น
เราได้รวบรวมข้อมูลจาก นายอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ผู้ดูแลโครงการเว็บไซต์ Pantip โฉมใหม่ ได้ให้คำแนะนำภายในงาน Thailand Zocial Awards 2014 เมื่อช่วงบ่ายวันพุธที่ผ่านมา เกี่ยวกับ 6 ข้อ ในการรับมือ แก้วิกฤต ในกรณีคนโพสต์โจมตีแบรนด์ของเรา

6 ข้อที่ว่านี้ คือ Prompt / Apologize / Non-legal /Tone / Influencer / Policy

P = Prompt

แบรนด์ควรติดตามกระทู้อย่างใกล้ชิดเพื่อตอบสนองอย่างรวดเร็ว
ควรใช้ Social Media Monitoring tool ในการติดตาม
ควรแสดงตัวตนในกระทู้ เพื่อให้ผู้อ่านรู้ว่าบริษัททราบเรื่องแล้ว ตัวอย่างเช่น“สวัสดีครับ ผมเจ้าหน้าที่จากบริษัท . .. ขอรับเรื่องจากเจ้าของกระทู้ไปตรวจสอบ และ รีบแจ้งผลให้ทราบครับ”

A = Apologize

แม้บริษัทไม่ได้ผิด ก็สามารถขอโทษได้ เพราะเราไม่ได้ต้องการยอมรับผิด แต่ต้องการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า

ถ้าบริษัทผิดเองจริง ต้องขอโทษอย่างจริงใจ และควรระบุแนวทางการแก้ไข ไม่ให้กรณีนี้เกิดขึ้นอีก
ถ้าพนักงานของบริษัทผิดจริง ก็ต้องให้พนักงานคนนั้นขอโทษต่อลูกค้า และถ้าเป็นไปได้ ควรแจ้งลูกค้าว่ามีการลงโทษพนักงานอย่างไร?

N = Non-legal

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่รู้จักกฎหมาย และไม่อยากขึ้นศาล แต่การประกาศจะดำเนินคดีกับผู้โพสต์ ผู้เผยแพร่ข้อความ อาจส่งผลเชิงลบกับบริษัท เพราะผู้บริโภคจะรู้สึกถูกข่มขู่ให้ปิดปาก พวกเขาจะหาวิธีแก้เผ็ดบริษัทในช่องทางต่างๆ

กรณีที่เป็นคู่แข่ง หรือเกรียน มีเจตนาทำลายชื่อเสียงบริษัท บริษัทสามารถสู้ได้ดยการดำเนินคดีแบบเงียบๆไม่ต้องประกาศให้โลกรู้ เพราะเป็นการเรียกแขกโดยใช้เหตุ

T = Tone

ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า แต่ลูกค้าเป็นปีศาจ ทำอย่างไรให้ปีศาจพอใจ ไม่โกรธ ออกฤทธิ์
ตอบกระทู้ให้รู้สึกเจ็บปวดยิ่งกว่าลูกค้า

เราไม่ได้คุยกับลูกค้า สองต่อสอง แต่เรากำลังคุยโดยที่มีไทยมุงจำนวนมากๆ
การเผย ชื่อ สกุล ให้กับลูกค้า ( อาจเป็นทางกระทู้หรือทางหลังไมค์) จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราจริงใจกับเขา ลูกค้าจะรู้ว่าเราคือ contact point สำหรับการติดต่อในอนาคต

I = Influencer

รับมือกับกระทู้ที่มีพลัง Influencer สูง (กระทู้ที่อยากอ่านและอยากโหวตให้ติดกระทู้แนะนำ อยากให้แชร์อ่านเยอะๆ ) อย่างทันถ่วงที

เป็นพันธมิตรกับ Influencer ที่ช่วยให้เรารับมือกับวิกฤตในอนาคต
ทำให้ตัวเองเป็น Influencer ซะเลย (อย่างผู้บริหารแบงค์มาโพสต์ตั้งกระทู้เล่าเคล็ดลับทางการเงินขึ้น Pantip เอง)

P = Policy (ซึ่งเป็นเรื่องทีต้องคุยในองค์กร)

ใครควรเป็นคนแรกที่พบกระทู้ที่พูดถึงบริษัท ? / ใครควรเป็นคนตอบกระทู้ ? / คนตอบกระทู้มีอำนาจในการตัดสินใจแค่ไหน? / ใครเป็นคนรับเรื่อง ส่งต่อไปยังแผนกต่างๆของบริษัท และติดตามเรื่องให้กับลูกค้า ? / มีการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าอย่างไร ?

นี่ก็คือเรื่องราวการจัดการบริหาร ฺBrand Crisis ที่เกิดจากลูกค้าโพสต์กระทู้โจมตีขึ้นบน Pantip ที่แบรนด์ต่างๆจะต้องเตรียมพร้อมรับมือ และแก้ไขสถานการณ์นี้ให้ได้ ซึ่ง 6 ข้อนี้ ถ้าทำได้ จะช่วยรักษาความเชื่อมั่นของแบรนด์ และ แบรนด์ของคุณได้รับความสัมพันธ์ที่ดีบนเว็บบอร์ดด้วย ..



http://ch3.sanook.com/22127/it-24-%E0%B8%8A%E0%B8%A1-digital-marketing-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B5

.

sithiphong:
เป็นหนี้บัตรเครดิตถูกเชิญไปขึ้นศาล เสียประวัติการทำงานหรือไม่


-http://money.kapook.com/view89782.html-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก decha.com

           เป็นหนี้บัตรเครดิตถูกเชิญไปขึ้นศาล ควรจะทำอย่างไร และจะเสียประวัติการทำงานหรือไม่ อยากรู้มาไขข้อข้องใจกันเลย

           ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมพกพาบัตรเครดิตแทนเงินสด เนื่องจากสามารถใช้จ่ายได้อย่างสะดวกสบายและที่สำคัญยังสามารถสะสมแต้มได้รับของรางวัลมากมาย อ๊ะ ๆ แต่ถ้าหากใช้แบบไม่ยั้งคิดบัตรเครดิตก็อาจหนี้มหาศาลโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ แถมยังต้องขึ้นโรงขึ้นศาลอีกต่างหาก ซึ่งใครที่กำลังประสบปัญหานี้แต่ไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร และกังวลว่าจะกระทบกับงานที่ทำหรือไม่ วันนี้เรามีข้อมูลจากเว็บไซต์ decha.com มาไขข้อข้องใจกันค่ะ

           คำถาม : คุณกุ้งขอคำปรึกษาเรื่องบัตรเครดิต ได้รับเอกสารจากบัตรเครดิตให้ไปขึ้นศาล ยอดหนี้ประมาณ 70,000 บาท อยากทราบว่าต้องทำยังไงต่อดีคะ และจะเสียประวัติมีผลกระทบกับงานที่ทำอยู่หรือไม่ จะถูกไล่ออกไหม ถ้ามีการผ่อนชำระหนี้หมดแล้วประวัติเสียจะลบหรือไม่คะ

           คำตอบ :

           1. ต้องดูว่ามีความสามารถในการชำระเงินหรือไม่ ถ้ามีความสามารถในการชำระหนี้ควรไปเจรจาที่ศาล ขอจ่ายงวดเดียวหรือ 2 งวด หรือขอลดยอดหนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อท่าน แต่ถ้าไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ไม่ต้องไปศาลเพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรกับท่าน

           2. การเป็นหนี้ไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว

           3. ประวัติการค้างชำระหนี้มีผลต่อการกู้ยืมเงินในอนาคตแน่นอน และชื่อของท่านอยู่ในเครดิตบูโร เป็นเวลา 3 ปี





sithiphong:
ภาษีมรดก คืออะไร มาไขข้อข้องใจกันเถอะ


-http://money.kapook.com/view96529.html-




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ภาษีมรดก คืออะไร อัตราภาษีมรดก ที่ต้องถูกเรียกเก็บในกรณีที่ได้รับทรัพย์สินหรือมรดกเป็นอย่างไร เราจะพาไปไขข้อข้องใจกัน

          ข่าวคราวการออก พ.ร.บ.ภาษีมรดก พร้อมเปลี่ยนแปลง อัตราภาษีมรดก ใหม่ อาจทำให้หลายคนที่ไม่คุ้นหูกับภาษีชนิดนี้เริ่มหันมาสนใจและอยากรู้จัก ภาษีมรดก กันมากขึ้น โดยเฉพาะทายาทหรือบุคคลที่มีโอกาสได้รับมรดก วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ ภาษีมรดกและอัตราภาษีมรดก มาให้ทำความเข้าใจกันค่ะ

         ภาษีมรดก คืออะไร

          ภาษีมรดก เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บเมื่อมีการโอนทรัพย์สินจากพ่อ-แม่ คนในครอบครัว หรือผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เสียชีวิตลง ให้กับทายาทหรือผู้รับมรดก โดยเป็นการเรียกเก็บที่นิยมทำกันในประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อความยุติธรรมในการจัดเก็บภาษีตามความสามารถในการเสียภาษี หรือเรียกว่าเก็บภาษีตามฐานะ โดยจะคำนวณจากทรัพย์สินในกองมรดกทั้งหมดที่ตกทอดจากผู้เสียชีวิตไปยังทายาทหรือผู้รับมรดก และสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

         ภาษีกองมรดก

          เป็นการรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เสียชีวิตมาประเมินภาษีและชำระตามจำนวนที่ประเมินได้ จากนั้นจึงนำทรัพย์สินตกทอดไปยังทายาทหรือผู้รับมรดก โดยจะเป็นการจัดเก็บแบบอัตราก้าวหน้าตามมูลค่าของกองมรดก ซึ่งมีข้อดีในการจัดเก็บภาษีได้มากและเป็นธรรมตามมูลค่ามรดก แต่มีข้อเสียคือเป็นการจัดเก็บแบบเหมารวม ดังนั้นเมื่อทายาทนำมรดกไปแบ่งกันอาจทำให้คนที่ได้รับมรดกน้อยเสียภาษีเท่ากับคนที่ได้รับมรดกมากกว่า

         ภาษีการรับมรดก

          เป็นการจัดเก็บภาษีหลังการแบ่งมรดก โดยผู้รับมรดกแต่ละคนเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งจะมีอัตราไม่เท่ากันตามจำนวนมรดกที่ได้รับ แต่ลำดับชั้นของสิทธิในการรับมรดก เช่น ผู้รับมรดกแบบพินัยกรรม ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยตรงก็จะเสียภาษีมากกว่าทายาทโดยตรง เป็นต้น สำหรับข้อดีของภาษีชนิดนี้ คือเมื่อแบ่งมรดกออกเป็นส่วน ๆ ให้ทายาทแต่ละคนแล้ว จะมีโอกาสที่ต้องเสียภาษีน้อยกว่า เพราะมีเกณฑ์ขั้นต่ำในการจัดเก็บภาษีมรดก หากจำนวนมรดกที่ได้รับไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ข้อเสียคือภาครัฐจัดเก็บภาษีได้ยาก และการเรียกเก็บเป็นรายคนต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าการเก็บแบบรวม

         ใครต้องเสียภาษีมรดก

          ผู้ที่ต้องเสียภาษีมรดก คือผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้าของมรดก ซึ่งแบ่งออกเป็น ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม ซึ่งเรียงลำดับได้รับมรดกก่อนและหลังดังนี้

         ทายาทโดยธรรม

          1. ลูกเจ้าของมรดก, ลูกนอกสมรสที่รับรองบุตรแล้ว, ลูกบุญธรรม และคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย

          2. บิดา-มารดาแท้ ๆ ของเจ้าของมรดก

          3. พี่-น้อง ร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน

          4. พี่-น้อง ร่วมบิดา หรือ ร่วมมารดาเดียวกัน

          5. ปู่-ย่า-ตา-ยาย

          6. ลุง-ป้า-น้า-อา

         ผู้รับพินัยกรรม

          คือผู้ที่ถูกกำหนดไว้ว่าให้รับมรดกจากเจ้าของมรดกที่เสียชีวิต หรือสิทธิตามพินัยกรรม ทั้งนี้ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมอาจเป็นคนเดียวกันก็ได้ แตกต่างกันที่ทายาทโดยธรรมต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น

         อัตราภาษีมรดก

          สำหรับ อัตราภาษีมรดก ที่ถูกเรียกเก็บในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2557) จะแบ่งการเสียภาษีออกเป็นขั้นดังนี้

          หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ไม่เสียภาษีมรดก

          หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 4 ปี เสียภาษีมรดก 10% ของมูลค่ารวม

          หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 3 ปี เสียภาษีมรดก 20% ของมูลค่ารวม

          หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต 2 ปี เสียภาษีมรดก 30% ของมูลค่ารวม

          หากมีการโอนมรดกก่อนเจ้าของมรดกเสียชีวิต น้อยกว่า 2 ปี หรือเสียชีวิตก่อนโอน เสียภาษีมรดก 40% ของมูลค่ารวม

          อัตราภาษีมรดก 2558

          หลังจากมีการหาข้อสรุปในการจัดเก็บภาษีมรดกกันมานาน และกรมสรรพากรได้เสนอให้มีการอนุมัติ พ.ร.บ.ภาษีมรดกใหม่ พร้อมเตรียมผลักดันให้มีการบังคับใช้ในปี 2558 แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปอัตราภาษีมรดกที่แน่ชัด โดยมีเพียงการคาดการณ์ไว้ดังนี้

          เก็บภาษีมรดกจากผู้รับ 5% ของมูลค่าทรัพย์สิน แต่ไม่เกิน 30%

          เก็บภาษีมรดกอัตราเดียว 10% ของมูลค่าทรัพย์สิน และยกเว้นสำหรับมรดกที่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

           เก็บภาษีกองมรดกแบบขั้นบันได ดังนี้

          ทรัพย์มรดกสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาทแรก ไม่เสียภาษีมรดก

          ทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท เสียภาษีมรดก 10%

          ทรัพย์มรดกสุทธิส่วนที่เกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีมรดก 20%

           เก็บภาษีการรับมรดกเป็นขั้นบันได ดังนี้

          ทรัพย์สินสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทแรก ไม่เสียภาษีมรดก

          ทรัพย์สินสุทธิส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 40 ล้านบาท เสียภาษีมรดก 10%

          ทรัพย์สินสุทธิส่วนที่เกิน 40 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีมรดก 20%

          ทั้งนี้เป็นเพียงการคาดเดาอัตราภาษีมรดก ปี 2558 ที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งข้อสรุปจะออกมาเป็นอย่างไร คงต้องรอติดตามความคืบหน้าต่อไป แต่เบื้องต้นคงทำให้หลาย ๆ คนรู้จักกับภาษีมรดกกันมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเตรียมตัวเสียภาษีอย่างถูกต้อง ลองศึกษาข้อมูลภาษีมรดกกันไว้แต่เนิ่น ๆ นะคะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
sanpakornsarn และ เฟซบูีก MP Accounting & Law Office


sithiphong:
สามี หนีหน้าที่ได้หรือ? : คอลัมน์ ฎีกาชีวิต

-http://women.sanook.com/34729/-

คอลัมน์ ฎีกาชีวิต
โดย พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช

 

คู่สมรสอาจเกิดปัญหารุนแรงถึงขั้นแตกหักจนยากจะทนอยู่ร่วมชีวิตกันได้อีกต่อไปทางเลือกที่ไม่อื้อฉาวคือพูดคุยกันเสียก่อนถ้ายอมรับเหตุและผลกันได้ก็ไม่ต้องมีความจำเป็นยื่นคำขาดขอหย่าหรือใช้สิทธิทางศาลชายหรือหญิงฝ่ายใดขาดความซื่อสัตย์ไม่เคารพหน้าที่ที่มีต่อกันจะพบชะตากรรมเดียวกัน

ความซื่อสัตย์ของชีวิตคู่พึงรักษากันไว้ให้มั่นคงคือรากฐานสำคัญของครอบครัวฝ่ายใดไม่ซื่อสัตย์ไม่เคารพหน้าที่คือต้นเหตุแห่งปัญหาจะเป็นผลร้ายแรงต่อชีวิตครอบครัวอาจเกิดจากสามีจะไปติดพันหญิงอื่นภริยาปากร้ายใจดีชอบดูหมิ่นเหยียดหยามสามีเลยเถิดไปถึงบุพการี หรือเข้าบ่อนติดการพนัน เป็นอาทิ

เพียงแต่ว่าถ้าฝ่ายใดพอมีสติกันอยู่บ้างอาจเตือนสติฝ่ายก่อเหตุให้รีบแก้ไขเสียและขอให้คิดถึงความรักความดีงามการเสียสละและชีวิตของลูกๆซึ่งกำลังเติบใหญ่มีพ่อแม่อยู่กันพร้อมหน้าปัญหาใดเข้ามาก็แก้ไขกันได้ถ้าพ่อแม่แยกกันอยู่เพราะหย่ากันแล้วจะเกิดผลร้ายตามมาต่ออนาคตของลูกได้

เมื่อมีเหตุจะเชื่อเช่นนั้นก่อนหย่าให้แยกกันอยู่กันชั่วคราวจะด้วยวาจาหรือจะเป็นลายลักษณ์อักษรให้รีบทำเถิดเพื่อให้โอกาสคนก่อเหตุมีเวลาแก้ไขปัญหาก่อนที่จะตัดสินใจหย่ากัน

ข้อตกลงแยกกันอยู่สามีอยู่บ้านหนึ่งภริยาอยู่อีกบ้านหนึ่งถือว่ามีผลบังคับกันได้ไม่ขัดต่อศีลธรรมและกฎหมายแต่สิ่งที่ต้องตระหนักทั้งสามีภริยาต่างมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูต่อกันอย่าลืม..แกล้งลืม...

ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา(ยังไม่ได้มีการหย่า) ต่างต้องอยู่กินด้วยกัน (อาจแยกกันอยู่ชั่วคราวได้) ต่างต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน (มาตรา 1461) ค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงผูกพันเสมือนหนึ่งเงาตามตัวทั้งสามีและภริยาไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อกันได้

สิ่งที่คู่สมรสควรตระหนักไว้ว่า "ตราบใดที่การสมรสไม่สิ้นสุดลงด้วยความตายก็ดี การหย่าก็ดี หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสก็ดี สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันไป"

เพราะถือว่าสามีภริยาคู่นั้นยังไม่หย่าขาดจากกันตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา1501ต่างต้องมีหน้าที่ต่อกันจนกว่าจะหย่า(ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 2627/2530)

มีหลายกรณีเกิดขึ้นในศาลขณะที่สามีภริยาแยกกันอยู่ชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาที่ยังไม่ลงตัวระหว่างนั้นเกิดปัญหาตามมาถึงขั้นมีการฟ้องร้องต่อศาลและสู้คดีกันถึงสามศาลจึงขอนำมาเป็นตัวอย่างเทียบเคียงกับชีวิตจริงดั่งอุทาหรณ์สองเรื่องอ่านแล้วจะรู้เข้าใจถึงหน้าที่ของสามีภริยาที่มีต่อกัน

ศาลพิพากษาให้สามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูภริยาเป็นรายเดือนเหตุเพราะโจทก์หรือสามีมีฐานะดีกว่าจำเลยคือภริยา(คำพิพากษาฎีกาที่3822/2534) หรือ

ภริยาสมัครใจแยกกันอยู่กับสามีชั่วคราวทั้งๆ ที่เธอไม่ได้เป็นฝ่ายก่อเหตุสร้างปัญหา เธอกระทำด้วยความสุจริตใจแม้ใจจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม ภริยาอาจอยู่ในฐานะพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่งหลังแต่งงานถูกสามีขอร้องให้ออกจากงานมาทำหน้าที่ดูแลบ้านเรือนและรับภาระเลี้ยงลูก

ครั้นมีเหตุแห่งปัญหาสามีอาจไปติดพันหญิงอื่นหรือเหตุใดก็ช่างเถอะแต่จำต้องแยกกันอยู่ชั่วคราวหลังจากนั้นสามีปฏิเสธจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูทั้งๆ ที่มีความสามารถอุปการะเลี้ยงดูภริยาได้

คิดว่าแยกกันอยู่ชั่วคราวตัวใครตัวมันหาได้ไม่ ความรับผิดชอบยังติดตามตัวสามี

สามีมีงานการทำเป็นปึกแผ่นมีรายได้แน่นอนเป็นรายเดือนหรือมีอาชีพค้าขายก็ได้ครั้นเกิดปัญหาไม่อาจลงตัวอาศัยเวลาช่วยคลี่คลายแก้ไขเหตุสามีจะปฏิบัติกับภริยาตนเองเสมือนหนึ่งเธอมีรายได้จากงานประจำแต่ความเป็นจริงเธอทำหน้าที่เป็นแม่บ้านมีหน้าที่ต้องเลี้ยงลูกและไม่มีรายได้เหมือนก่อน

ไม่ใช่สิ่งถูกต้องยุติธรรมกับภริยาและแม่ของลูก สภาพความเป็นจริงบังคับให้เธอไปหยิบยืมเงินคนอื่นได้นานเท่าใดกัน สามีอยู่ใกล้ชิดรู้อยู่แก่ใจดีกว่าคนนอกและควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ยกมากล่าวไว้ว่าเธอยังอยู่ในสถานะของภริยาและสามีจะปฏิเสธหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูภริยาได้อย่างไรกัน

หน้าที่ของสามีที่ดีต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบเสมอ

เรื่องทำนองนี้หากมีคดีขึ้นสู่ศาล คิดหรือว่าชายผู้เป็นสามีจะหนีหน้าที่ที่มีต่อภริยาได้กระนั้นหรือ? คำตอบคือไม่อาจหนีพ้นความรับผิดชอบต่อภริยาได้ครับ (ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 5627/2530)

sithiphong:
คดีแพรวา 9 ศพ ไขภาษากฎหมายจากคำพิพากษา

-http://news.sanook.com/1794570/-


นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

ย้อนรอยคดีแพรวาสาวซีวิค 9 ศพ และไขภาษากฎหมายจากคำพิพากษาล่าสุดจากศาลฎีกา

ทันทีที่มีข่าวออกมาว่าศาลฎีกาไม่รับคำฟ้องในคดีสาวซีวิค 9 ศพ โลกโซเชียลก็เดือดยิ่งกว่าอุณหภูมิในบ้านเรา หลายๆ คนออกมาแสดงความไม่พอใจ บวกกับกระแสสังคมที่มีต่อเรื่องนี้ แม้แต่ศาลก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปด้วย

แต่เดี๋ยวก่อน...การไม่รับฟ้องในครั้งนี้คืออะไร และจะมีผลอย่างไรต่อคดีนี้ นั่นคือสิ่งที่หลายๆ คนอาจจะยังสงสัย ด้วยความกำกวมในภาษาข่าวและภาษากฎหมาย

หากจะคลายความสงสัยในเรื่องนี้ เราคงต้องไปถามผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอย่าง ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ (@tanaiwirat)

ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปตั้งแต่คำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อปี 2555 ซึ่งเป็นการพิพากษาด่านแรกของคดีดังแห่งปีที่สังคมจับตามอง

คำพิพากษาในตอนนั้นคือ จำเลยมีความผิดฐานขับขี่รถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อคดี จึงลดโทษให้ 1 ใน 3 คือลงโทษจำคุก 2 ปี โดยให้รอลงอาญาเป็นเวลา 3 ปี พร้อมสั่งคุมประพฤติจำเลย 3 ปี และห้ามขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์

สังคมจึงตั้งคำถามว่าทำไมโทษมันช่างเบาบางเสียเหลือเกินเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คดีความนี้ก็ได้ยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยการยื่นอุทธรณ์จากทั้ง 2 ฝ่าย

ฝ่ายโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษ พร้อมทั้งดำเนินการฟ้องร้องในทางแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายไปด้วย

ในขณะที่ฝ่ายจำเลยต้องการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาจากศาลชั้นต้น โดยต้องการจะยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเองและไม่ใช่การขับขี่โดยประมาท

ศาลอุทธรณ์ยังคงยืนยันตามศาลชั้นต้น คือจำเลยมีความผิดฐานขับขี่รถยนต์โดยประมาท ตัดสินให้เพิ่มระยะเวลาการรอลงอาญาเป็น 4 ปี และบำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมง เป็นเวลารวม 4 ปี ส่วนโทษอื่นๆ ให้คงตามศาลชั้นต้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ฝ่ายจำเลยต้องการ

ดังนั้น ฝ่ายจำเลยจึงได้ยื่นคำร้องต่อไปในชั้นศาลฎีกา เพื่อพิสูจน์ว่าสาวซีวิคไม่ได้ขับรถโดยประมาท

จากข่าวล่าสุด ชัดเจนแล้วว่าศาลฎีกาไม่รับคำร้องของฝ่ายจำเลย ซึ่งถ้าจะต้องแปลไทยเป็นไทย ก็ขอสรุปง่ายๆ ว่าคำพิพากษายังมีผลคงเดิม คือสาวซีวิคมีความผิดฐานขับขี่รถยนต์โดยประมาท บทลงโทษที่ได้รับก็ยังคงเดิมไว้ดังที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไปก่อนหน้านี้ และยังส่งผลให้คดีทางแพ่งสามารถเดินหน้าต่อไปได้

ในแง่มุมของนักกฎหมาย คำสั่งของศาลฎีกาในลักษณะนี้อาจจะดูมีประโยชน์ต่อทางผู้เสียหายหรือฝ่ายโจทก์ แต่ที่จะมองข้ามไปไม่ได้ก็คือ การที่ฝ่ายจำเลยพยายามยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาอาจเป็นการยืดเวลาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายออกไป เนื่องจากต้องหยุดกระบวนการทางแพ่งไว้ชั่วคราว เพื่อรอคำตัดสินทางอาญา

นับตั้งแต่วันแรกที่เกิดอุบัติเหตุจนถึงวันนี้ จะเห็นว่าฝ่ายจำเลยจะให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหามาโดยตลอด แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาว่าเธอมีความผิด ประเด็นในการต่อสู้คดีของสาวซีวิคก็ถูกเปลี่ยนมาเป็น "ประมาท" หรือ "ไม่ประมาท"

ทำไมประเด็นนี้จึงมีความสำคัญ?

เพราะคดีนี้ไม่ได้มีแค่ความผิดในทางอาญา ฝ่ายโจทก์ก็ได้มีการฟ้องร้องทางแพ่ง โดยเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินถึง 120 ล้านบาท โดยคดีจะเข้าสู่กระบวนการทางแพ่งได้ก็ต่อเมื่อคดีทางอาญาสิ้นสุดลง ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ ศาลแพ่งจะยึดคำพิพากษาของศาลอาญาเป็นหลัก

แนวทางการตัดสินในศาลแพ่งจึงไม่ได้อยู่ที่ผิดหรือไม่ผิด เพราะตัดสินไปแล้วด้วยศาลอาญา หากแต่อยู่ที่ "จะจ่ายค่าเสียหายอย่างไร" มากกว่า

เนื่องจากในตอนที่เกิดเหตุ จำเลยยังเป็นเยาวชน การเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งจึงไปตกอยู่กับผู้ปกครอง ในฐานะที่เป็นผู้อบรมเลี้ยงดู หรือในอีกทางหนึ่ง ศาลก็สามารถเรียกค่าเสียหายกับจำเลย (สาวซีวิค) ได้โดยตรง ซึ่งก็จะเป็นเรื่องของการบังคับคดีในลำดับถัดไป

ดังนั้น ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะได้รับการชดเชย (แต่จะช้าหรือเร็วก็เป็นอีกเรื่องนึง)

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version