ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

เรียนรู้กฎหมาย ไว้เป็นแนวทางป้องกันตนเอง และไม่ให้ถูกเอาเปรียบบุคคลต่างๆ

<< < (2/10) > >>

sithiphong:
อะไรคือกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน กันแน่
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2556 เวลา 00:03 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/188732/225302-



อะไรคือร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีรับรอง

การเสนอร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ แบ่งได้เป็น 2 กรณี  คือ การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และร่างพระราชบัญญัติธรรมดาทั่วไป ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ 3 วิธีโดย 1) คณะรัฐมนตรี 2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ส่วนร่างพระราชบัญญัติทั่วไป นอกจาก 3 วิธีดังกล่าวแล้ว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไปได้ด้วย  โดยที่หากร่างพระราชบัญญัติทั่วไปที่เสนอนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีด้วย ส่วนร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแม้ว่าจะเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงินแต่ไม่มีบทบัญญัติให้ต้องเสนอนายกรัฐมนตรีให้คำรับรองด้วย จึงสามารถเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรได้เลย

ในการดำเนินงานของกระทรวงการคลังก็มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไปที่มีลักษณะเกี่ยวด้วยการเงินเช่นกัน แต่เนื่องจากเป็นร่างที่เสนอจากคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 142 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีอยู่ในคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว จึงไม่ต้องขอคำรับรองจากนายกรัฐมนตรีซ้ำอีก

แล้วปัญหาว่าอะไรคือร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีรับรองจะพิจารณาแต่เพียงชื่อหรืออ่านเผินๆ คงไม่ได้ อย่างเช่น เมื่อเร็วๆนี้ มีร่างพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งที่ดูชื่อก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงิน แต่ก็ยังมีประเด็นปัญหาให้ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นร่างพระราชบัญญติที่เกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติแต่ละเรื่องว่าเข้าข่ายตามมาตรา 143 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่ กล่าวคือ เป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาในลักษณะเป็นการขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ จ่ายเงินแผ่นดิน หรือโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การกู้เงิน การค้ำประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตรา

สำหรับกรณีเกิดเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น รัฐธรรมนูญได้กำหนดแนวทางการวินิจฉัยไว้โดยให้ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ เป็นผู้วินิจฉัย และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจัดให้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว หากเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า “ไม่ใช่” สภาผู้แทนราษฎรก็สามารถพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไปได้ แต่หาก “ใช่” ก็ต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรองร่างพระราชบัญญัตินั้นๆ ก่อน จึงจะบรรจุเข้าสู่วาระของสภาผู้แทนราษฎรได้ นอกจากนี้ แม้ว่าตอนเสนอร่างพระราชบัญญัติจะพิจารณา ว่าไม่เกี่ยวด้วยการเงิน แต่หากในชั้นการพิจารณาของสภามีการปรับแก้ไขร่างพระราชบัญญัติจนมีเนื้อหาเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ก็ต้องดำเนินการเพื่อให้นายกรัฐมนตรีรับรองอีกด้วย


นางสาวรินทร์ธิยา เธียรธิติกุล
สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
https://www.facebook.com/สำนักกฎหมาย-สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

sithiphong:
การยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร - กฎหมายรอบรั้ว
วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/950/234251-


การยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนการปฎิบัติดังนี้ เมื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่อมาที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือมีกรณีให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามที่กำหนดในข้อบังคับให้คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรยื่นคำขอจดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่

พร้อมด้วยหลักฐานคือ หนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร, รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกที่มีมติให้ ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร, บัญชีที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคบริการสาธารณะและทรัพย์สินอื่นของนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร, บัญชีหนี้หรือภาระผูกพันของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและหนังสือยินยอมของเจ้าหนี้ให้ยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร(ถ้ามี), หลักฐานการจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และทรัพย์สินอื่นไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา(ถ้ามี) และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขา ได้จดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นอันยกเลิก และให้หมายเหตุ การยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และหนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติ บุคคลหมู่บ้านจัดสรรทั้งสองฉบับนี้ให้ตรงกัน กับให้ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่งตั้ง ผู้ชำระบัญชีภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่จดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยอนุโลม แต่ห้ามมิให้ผู้ชำระบัญชีจำหน่ายที่ดินอันเป็น สาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะมีมติเป็นอย่างอื่น และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการโดยต้องจัดการชำระบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้เสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือมีกรณีที่คณะกรรมการจะกำหนด เวลาไว้เป็นอย่าง อื่น

ส่วนเรื่องที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะรวมทั้งทรัพย์สินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่เหลือจากการชำระหนี้ให้ผู้ชำระบัญชีโอนที่ดินและทรัพย์สินดังกล่าวให้ แก่นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นที่จัดตั้งขึ้น ในกรณีที่มิได้จัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนที่ดิน และทรัพย์สินดังกล่าวให้ผู้ชำระบัญชีดำเนินการจด ทะเบียนโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้เป็นสาธารณประโยชน์ หรือให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยผู้รับ โอนจะต้องไม่กระทำการอันถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง หรือส่งผลกระทบต่อการได้รับบริการหรือใช้ประโยชน์ ในสิ่งอำนวยความสะดวกเดิมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแต่อย่างใดนะครับ

ดังนั้นหากภายหลังการตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แล้วพบว่าการเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้นไม่เป็น ประโยชน์ต่อสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรแล้วก็สามารถยกเลิกการจดทะเบียนได้ตลอดเวลาเพียงแต่ต้องทำตามขั้นตอน ที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นครับ

ดินสอพอง

.

sithiphong:
การควบรวมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร - กฎหมายรอบรั้ว
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.

-http://www.dailynews.co.th/article/950/235655-

ตาม พรบ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 กำหนดให้ผู้จัดสรร ต้องจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยความ เห็นชอบจากผู้ซื้อแปลงย่อยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และต้องให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับจากวันยื่นขอจดทะเบียนต่อ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขา แต่ในกรณีผู้จัดสรรมีการดำเนินการขออนุญาตจัดสรรแบ่งเป็นเฟส เช่นโครง การมีการแบ่งพัฒนาเป็น 3 เฟส ก็อาจต้องยื่นขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเฟส 1 ก่อน ตามด้วย เฟส 2 และ 3 ตามลำดับ จึงอาจมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรถึง 3 นิติบุคคลภายใน 1 โครงการ

และตาม พรบ.ดังกล่าว มาตรา 45กำหนดให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลง ย่อยตามแผนผังโครงการ (มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วตั้งแต่ 2 นิติฯ) และมีพื้นที่ติดต่อกัน หรือใกล้ เคียงกันสามารถควบรวมเป็น 1 นิติฯ ทั้งนี้มติของที่ประชุมใหญ่แต่ละแห่งที่อยู่ภายในโครงการเดียวกันต้องมีเสียง ไม่น้อยกว่าสามในสี่ หรือเอกฉันท์ ให้ควบรวม และต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับที่แต่ละนิติฯ ด้วย

ดังนั้น ในกรณีที่หมู่บ้านจัดสรรแต่ละเฟส มีทางเข้า-ออกทางเดียวกัน และมีการโอนสาธารณูปโภคส่วน กลางมาใช้ร่วมกันในภายหลัง จึงจำเป็นต้องมีการขอจดทะเบียนควบรวมนิติฯ ดังกล่าว
โดย ตามพ.ร.บ. กำหนดให้คณะกรรมการหมู่บ้านยื่นคำขอจดทะเบียนควบนิติฯตามแบบที่คณะกรรมการ จัดสรรที่ดินกลางกำหนดที่จังหวัด หรือสาชาสาขาพร้อมหลักฐานได้ดังนี้

- หนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่ละแห่ง
- รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกแต่ละแห่งที่มีมติให้ควบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และ เห็นชอบกับข้อบังคับของนิติฯที่เกิดจากการควบ
- สำเนาข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดจากการควบ
- บัญชีหนี้หรือภาระผูกพันของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแต่ละแห่งและหนังสือยินยอมของเจ้าหนี้ในการ ควบนิติฯ (ถ้ามี)
- บัญชีทรัพย์ที่เป็นสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และทรัพย์สินอื่นของนิติฯ แต่ละแห่ง

เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขาได้รับคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานแล้ว ให้พิจารณาความถูกต้อง ของเอกสารตามกฎหมายมีคำขอและเอกสารหลักฐาน, สำเนาข้อบังคับ และ วัตถุประสงค์ ของนิติ​ฯ หากต้องครบ ถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดให้ปิดประกาศคำขอไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือ สาขา สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ, แขวง, ที่ทำการกำนันในท้องที่นั้น, สำนักงานหรือที่ทำการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ที่ดินจัดสรร นั้นตั้งอยู่ และที่บริเวณที่ทำการจัดสรร แห่งละหนึ่งฉบับ ซึ่งต้องปิดประกาศไว้ 30 วัน และหากมีผู้คัดค้านภาย ในกำหนด เจ้าพนักงานที่ดินฯ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และสรุปเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาโดยเร็ว จากนั้น แจ้งผู้คัดค้านและเจ้าพนักงานที่ดินฯ ภายใน 15 วัน ซึ่งหากไม่ชอบด้วยกฎหมายให้เจ้าพนักงานที่ดินฯ มีคำสั่งยกเลิก คำขอดังกล่าว หากเห็นชอบก็ให้มีคำสั่งควบรวมนิติฯ ได้

ทั้งนี้นิติฯ ใหม่ที่เกิดจากการควบรวมจะได้ทั้งสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบที่นิติฯ เดิม (ก่อนควบรวม) พึงมีทุกประการมีครับ

ดินสอพอง

sithiphong:
9 ปัญหายอดฮิต เกี่ยวกับกฎหมายการสร้างบ้าน - รอบรู้เรื่องบ้าน
วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/950/239531-






เมื่อพูดถึงเรื่อง “กฎหมาย” หลายคนมักส่ายศีรษะ ปิดตาไม่อยากรับรู้ และปล่อยให้สถาปนิกจัดการเคลียร์แบบหรือหาทางลักไก่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่รู้หรือไม่ กฎเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ตราขึ้นเป็นกฎหมายนั้น ล้วนมีเหตุและผลเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและความปลอดภัยของตัวเจ้าของบ้านเอง “บ้านและสวน” จะมาไขข้อข้องใจ 9 ปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับกฎหมายการสร้างบ้านซึ่งหลายคนสงสัยและมักเข้าใจผิด มีอะไรบ้างมาดูกัน

ทำไมต้องสร้างบ้านโดยเว้นระยะรอบบ้านจะสร้างชิดรั้วเลยได้ไหม ได้พื้นที่เยอะดี

ไม่ได้ กฎหมายกำหนดให้บ้านที่มีพื้นที่น้อยกว่า 300 ตารางเมตรในด้านที่ไม่มีช่องเปิดต้องมีระยะถอยร่นจากตัวอาคารถึงแนวเขตที่ดิน ซึ่งอย่างน้อยก็ต้อง 0.50 เมตร (แล้วท่านยังต้องให้เพื่อนบ้านเห็นชอบและเซ็นรับรองในเอกสารว่ายินยอมด้วย) แต่สำหรับบ้านที่มีพื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตร ด้านที่เป็นผนังทึบต้องเว้นรอบบ้าน 1 เมตร เพราะอย่าลืมนะครับว่า เวลาช่างก่อสร้างบ้านของท่าน อย่างน้อยเขาก็ต้องตั้งนั่งร้าน หรือต้องมีระยะให้ช่างเข้าไปทำงานฉาบ ทาสีผนังข้าง ๆ บ้านท่าน เราจึงต้องมีระยะพื้นที่ว่างรอบ ๆ บ้านไว้ด้วย

เจาะผนังเพื่อแขวนภาพบนคอนโดมิเนียมได้ไหม

ผนังคอนโดมิเนียมส่วนที่กั้นระหว่างห้องหนึ่งกับอีกห้องหนึ่ง เป็นผนังที่มีเจ้าของร่วมกัน (คนละครึ่ง) หากเจาะสกรูสั้น ๆ ก็คงไม่เป็นไร แต่หากใช้สกรูตัวยาวอาจทะลุไปทำความเสียหายต่อทรัพย์สินเขาได้ แล้วอีกอย่างคือเรื่องเสียงที่เกิดขึ้นเวลาเจาะผนัง มันช่างดังสะท้านไปถึงแก้วหูเลย ดังนั้นหากจะเจาะผนังก็ควรแจ้งเพื่อนบ้านข้างเคียงเสียหน่อยก่อนเจาะก็จะดีที่สุด

อยู่คนเดียว เลยทำห้องนอนขนาดเล็กแค่ 2.50 X 2.50 เมตร ผิดกฎหมายไหม

ผิด กฎหมายกำหนดให้ห้องนอนต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 8 ตารางเมตร และส่วนที่แคบที่สุดต้องกว้างอย่างน้อย 2.50 เมตรด้วย นั่นหมายถึงห้องที่เล็กที่สุดต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 3.20 X 2.50 เมตรนั่นเอง

ต้นไม้ข้างบ้านยื่นกิ่งก้านข้ามรั้วมายังเขตพื้นที่บ้านเรา ตัดทิ้งได้เลยไหม

ในบ้านเราแม้ไม่มีกฎหมายห้าม แต่เพื่อความสมานฉันท์ระหว่างเพื่อนบ้าน ก็ควรบอกให้เจ้าของต้นไม้ทราบถึงปัญหาดังกล่าวก่อน ถ้าเจ้าของต้นไม้ไม่ดำเนินการ เราก็สามารถตัดส่วนที่ยื่นเกินมาได้
บ้านที่อยู่ใกล้คลองหรือทางน้ำธรรมชาติ ต้องมีระยะถอยห่างเท่าไร

ถ้าแหล่งน้ำนั้นกว้างน้อยกว่า 10 เมตร บ้านต้องถอยห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 3 เมตร

แหล่งน้ำกว้างกว่า 10 เมตร บ้านต้องถอยห่างอย่างน้อย 6 เมตร ถ้าเป็นแหล่งน้ำใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องถอยห่างอย่างน้อย 12 เมตร

หากก่อสร้างบ้านโดยไม่ขออนุญาตจะเกิดอะไรขึ้น เรื่องนี้สำคัญหรือเปล่า

เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องส่งแบบเพื่อยื่นขออนุญาต มิฉะนั้นหากนายช่างหรือนายตรวจจากทางราชการมาตรวจพบ อาจมีเอกสารให้ระงับงานก่อสร้างไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับใบอนุญาต และหากสิ่งก่อ
สร้างที่ได้ทำไว้นั้น

ขัดต่อข้อกฎหมายอีก อาจต้องรื้อถอนและทำใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอีกด้วย ขออนุญาตไว้ตั้งแต่แรกจึงน่าจะดีที่สุด

ไม่ติดรางน้ำฝนได้ไหม ไม่เห็นจะสวยเลย

หากการระบายน้ำจากบ้านเราไม่พุ่งข้ามรั้วไปบ้านข้างเคียง ไม่ต้องติดรางน้ำก็ได้ เพราะจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้มีกฎหมายบังคับชัดเจน แต่ถ้าลองนึกถึงใจเขาใจเรา การติดรางน้ำเพียงไม่กี่บาท ย่อมดีกว่าการต้องมีเพื่อนบ้านเป็นศัตรูเป็นไหน ๆ

รูปแบบของบันไดกว้างยาวเท่าไรก็ได้หรือเปล่า

กฎหมายอาคารกำหนดให้บันไดภายในบ้านต้องมีความกว้างอย่างน้อย 0.90 เมตร โดยวัดระยะที่โล่งจริง ๆ ไม่รวมราวบันไดหรือสิ่งที่ยื่นออกมาขวางทางเดิน หากคิดไม่ออกบอกไม่ถูก ก็ทำกว้างๆ ไว้สักหน่อย ไม่ควรต่ำกว่า 1.20 เมตร เพื่อความสะดวกในการเดินขึ้นลง นอกจากนี้ขนาดของลูกตั้งก็ห้ามสูงเกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 22 เซนติเมตร

สร้างรั้วบ้านใหม่ สูงได้กี่เมตร

ไม่ว่าจะเป็นรั้วบ้านด้านติดกับถนนทางเข้าหรือด้านที่ติดกับเพื่อนบ้าน เราสามารถสร้างรั้วได้ใหม่ชิดกับรั้วเดิมโดยไม่ต้องขออนุญาตข้างบ้านก่อน แต่ต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร วัดจากระดับฟุตปาธหรือถนนสาธารณะ.

บ้านและสวน


http://www.dailynews.co.th/article/950/239531

sithiphong:
-http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189059-

-http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189074-

.

http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189059

http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189074

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version