ผู้เขียน หัวข้อ: กฏแห่งกรรม มีความหมายว่าอย่างไร?  (อ่าน 1667 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




กฏแห่งกรรม มีความหมายว่าอย่างไร?
กฏ แปลว่า ดัน และ ผลัก หรือ กดลงไป และ ดันขึ้นมา
กรรม แปลว่า การกระทำ

          ถ้าหากว่าเรามีคุณธรรมที่ได้อบรมมาดีแล้ว มันจะดันและผลักไปในทางที่ดี ให้มีปัญญา
          ถ้าการกระทำของเราไม่สมส่วนควรกัน ไม่สมน้ำสมเนื้อ เพราะจิตใจที่อบรมมาไม่ดี มันจะดันไปในทางที่ไม่ดี และกดให้จมลง ให้ต่ำลงไป โผล่ไม่ขึ้น  แม้กฏเกณฑ์กรรมจะเป็นเช่นนี้ แต่คนในปัจจุบันกลับสงสัยในเรื่อง กฏแห่งกรรม และบางคนก็ไม่ยอมเชื่อเรื่องนี้ ถึงกับมีคนเขียนเป็นคำกลอนว่า
" ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป "  นี่แสดงให้เห็นว่าคนกำลังประสบทิฐิ คือ ความเห็นผิด  ทำให้ชีวิตเกิดอันตรายในปัจจุบันนี้มากมาย




ในเรื่อง กฏแห่งกรรม ได้กล่าวถึงอันตรายที่เกิดแก่สัตว์โลก 5 อย่าง คือ
     1. กิเลสันตราย อันตรายที่เกิดจากกิเลส เช่น มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น
     2. กัมมันตราย อันตรายที่เกิดจากกรรมชั่วที่ทำในปัจจุบัน ไม่ต้องไปรอเอาชาติหน้า
     3. วิปากันตราย อันตรายที่่เกิดจากวิบากหรือผลของกรรมที่ทำให้อดีตมาส่งผลทันในปัจจุบันนี้
     4. ทิฏฐิอันตราย อันตรายที่่เกิดจากทิฐิที่ผิด คิดผิด ทำอะไรไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
     5. อริยูปวาทันตราย อันตรายที่เกิดจากการจาบจ้วงพระอริยเจ้า คุณพ่อ คุณแม่ ครูบาอาจารย์ ผู้มีบุญคุณ เกิดอันตรายแก่ชีวิตแน่นอน




ขอขอบคุณข้อมูลธรรมะจาก  sakchai kongmaneepran
G+ rose white





G+ สงขลาน่าอยู่ นำภาพพุทธพจน์มาแบ่งปันค่ะ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรม อันบุคคลกระทำแล้วด้วย โลภะ โทสะ โมหะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2013, 08:49:10 am »