ผู้เขียน หัวข้อ: จิตคิด กับ จิตรู้  (อ่าน 2151 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
จิตคิด กับ จิตรู้
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2013, 05:08:33 pm »




เรื่อง “จิตคิด” กับ “จิตรู้”

ที่จริงถ้าเราแยกนามธรรมได้ชำนาญ เราจะไม่กล่าวถึง..
“จิตคิด” กับ “จิตรู้”
เพราะจิตนั้น มันมีคุณสมบัติหลายอย่าง ตั้งแต่
รู้สึก จำ คิด รับรู้ และเสพย์ อารมณ์

หากเราแยกนามได้ชำนาญ เราจะพบว่า
คุณสมบัติแต่ละอย่างของจิตนั้น ก็คือนามขันธ์ แต่ละตัวนั่นเอง
คือความรู้สึกสุข ทุกข์ ก็คือเวทนา ไม่ใช่จิต

ความจำก็คือสัญญา ไม่ใช่จิต
ความคิดนึกปรุงแต่งก็คือสังขาร ไม่ใช่จิต
ความรับรู้ก็คือวิญญาณ ไม่ใช่จิต
เอาเข้าจริง สิ่งที่เราเรียกว่าจิต ก็ไม่ใช่จิต



แต่เพราะเราไม่รู้เท่าทัน ไม่ปล่อยให้ขันธ์แต่ละขันธ์
เขาทำหน้าที่ของเขา
จึงไปยึดเอานามธรรมว่าเป็นจิตเรา แล้วให้มันร่วมมือกันทำงาน
จนหลอกเราได้
เช่นพอรู้ว่ามีความสุข ก็ยึดเอาว่า จิตสุข หรือเราสุข

ไม่ได้เห็นว่าความสุข ก็เป็นสิ่งภายนอก เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา
พอมีความจำได้หมายรู้ ก็ยึดว่าเราจำได้หมายรู้
ไม่เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา

พอมีความคิดนึกปรุงแต่ง ทั้งที่เป็นอกุศล กุศล และเป็นกลาง
ก็ว่าจิตเราดี จิตเราชั่ว จิตเราเป็นกลาง
ไม่เห็นว่าความคิดนึกปรุงแต่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา

พอมีความรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ว่าจิตเรารับรู้
ไม่เห็นว่าความรับรู้เป็นสภาพธรรมที่เป็นอิสระอยู่นอกเหนือ
การบังคับบัญชาของเรา

จิตนั้นอาศัย “จิตสังขาร” คือเวทนา สัญญา และสังขาร จึงรู้สึกว่า
เป็นจิต
ขอเพียงปล่อยวาง นามขันธ์เสียให้หมด ไม่เห็นว่าเป็นเรา

ธรรมชาติรับรู้ล้วนๆ ก็จะปรากฏขึ้น
และธรรมชาติอันนั้น จะไม่มีความรู้สึกแม้แต่นิดเดียวว่า เป็นตัวเรา หรือจิตเรา
อย่าไปสำคัญว่า นี่คือจิตรู้ จิตคิด จิตจำ จิตเห็น
สิ่งเหล่านั้น เป็นการประกอบกันขึ้นของนามขันธ์เท่านั้นเองครับ

รักษาสติ สัมปชัญญะไว้ให้แจ่มใส ต่อเนื่อง
รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
รูป และนาม เขาจะทำหน้าที่ของเขาไปตามเหตุปัจจัย ให้ดูต่อหน้าต่อตาทีเดียว




โดยคุณ สันตินันท์
(นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)


>>> F/B Trader Hunter พบธรรม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2013, 06:24:48 pm โดย ฐิตา »