ผู้เขียน หัวข้อ: สูจิโลมสูตร (สัมผัสลามก)  (อ่าน 1809 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
สูจิโลมสูตร (สัมผัสลามก)
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 02:23:11 pm »



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย
ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

สูจิโลมสูตรที่ ๕

[๓๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บน (แท่นหิน) เตียงมีแม่แคร่ในที่อยู่ของสูจิโลมยักษ์ ใกล้ (เท่า) บ้านคยา
ก็สมัยนั้นแล ขรยักษ์และสูจิโลมยักษ์เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ลำดับนั้น ขรยักษ์ได้กล่าวกะสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ สูจิโลมยักษ์ได้กล่าวกะขรยักษ์ว่า
นั่นไม่ใช่สมณะนั่นเป็นสมณะเทียม เราทราบชัดว่าสมณะหรือสมณะเทียมเพียงไร
ลำดับนั้นสูจิโลมยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วน้อมกายของตนเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงเบนกาย (ของสูจิโลมยักษ์)
ออกไปสูจิโลมยักษ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านกลัวข้าพเจ้าหรือสมณะ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราไม่กลัวท่านดอกผู้มีอายุ แต่สัมผัสของท่านลามก ฯ

สู. ดูกรสมณะ ข้าพเจ้าจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่พยากรณ์ไซร้ข้าพเจ้าจักควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้งเสีย
หรือจักฉีกหทัยของท่านเสีย หรือจักจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไป ในแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น ฯ

พ. เราไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์  ผู้ซึ่งจะควักดวงจิตของเราออกโยนทิ้ง
หรือจะฉีกหทัยของเราเสีย หรือจะจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไปในแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น
ผู้มีอายุ ก็แลท่านปรารถนาจะถามปัญหาข้อใด ก็จงถามเถิด ฯ

ลำดับนั้นแล สูจิโลมยักษ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๒๐] ราคะและโทสะมีอะไรเป็นเหตุเกิด ความไม่ยินดี ความยินดี ขนลุกขนพอง
เกิดแต่อะไร วิตกทั้งหลายเกิดแต่อะไร แล้วจึงปล่อยลงไปหาใจที่เป็นกุศล
เหมือนพวกเด็กน้อยเอาด้ายผูกตีนกาแล้วปล่อยลงไป ฉะนั้น ฯ


พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า ราคะและโทสะมีอัตภาพเป็นเหตุเกิด
ความไม่ยินดี ความยินดี ขนลุกขนพอง เกิดแต่อัตภาพนี้ วิตกทั้งหลายเกิดแต่ อัตภาพนี้
ี้แล้วปล่อยลงไปหาใจที่เป็นกุศลเหมือนพวกเด็กน้อยเอาด้ายผูกตีนกาแล้วปล่อยลงไป
ฉะนั้นกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เกิดแต่ความเยื่อใย เกิดในตน เหมือนย่านไทรเกิดแต่ต้นไทร
ฉะนั้น กิเลสเป็นอันมาก ซ่านไปแล้วในกามทั้งหลาย เหมือนเถาย่านทรายรึงรัดไปแล้วในป่า
สัตว์เหล่าใดย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่กิเลสนั้นว่ามีกิเลสใดเป็นเหตุุสัตว์เหล่านั้นย่อมบรรเทาซึ่งหมู่กิเลสนั้นได้

ท่านจงฟังเถิด ยักษ์ สัตว์เหล่าใดย่อมบรรเทาซึ่งหมู่กิเลสได้ สัตว์เหล่านั้น ย่อมข้ามพ้น
ซึ่งโอฆะอันข้ามได้โดยยาก ที่ยังไม่เคยข้ามแล้ว เพื่อความไม่เกิดอีก ฯ


จบสูจิโลมสูตรที่ ๕

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๗๘๕๘ - ๗๘๙๔. หน้าที่ ๓๔๔ - ๓๔๕.
Credit by : http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v....94&pagebreak=0

        พลังจิตดอทคอม

อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ัะ
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 03, 2012, 04:58:49 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: สูจิโลมสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 02, 2010, 01:04:54 am »
:13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมจริยสูตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2013, 09:55:19 am »

                     

   ธรรมจริยสูตรที่ ๖

   [๓๒๑] พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวความประพฤติทั้งที่เป็นโลกิยและโลกุตระ
   ทั้งสองนี้ คือ ความประพฤติธรรม พรหมจรรย์ว่าเป็น (แก้วอัน
   สูงสุด) ธรรมเครื่องอยู่อันสูงสุด
ถึงแม้บุคคลออกบวชเป็นบรรพชิต
   ถ้าบุคคลนั้นเป็นชาติปากกล้ายินดีแล้วในความเบียดเบียนดุจเนื้อไซร้
   ความเป็นอยู่ของบุคคลนั้นเลวทราม ย่อมยังกิเลสธุลีมีราคะเป็นต้น
   ของตนให้เจริญ
ภิกษุผู้ยินดีแล้วในความทะเลาะ ถูกธรรมคือโมหะ
   หุ้มห่อแล้ว ย่อมไม่รู้ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว แม้อันเหล่า

   ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักบอกแล้ว ภิกษุผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ทำตนที่
   อบรมแล้วให้ลำบากอยู่ ย่อมไม่รู้ความเศร้าหมอง ย่อมไม่รู้ทางอัน
   ให้ถึงนรก เมื่อไม่รู้ก็เข้าถึงวินิบาต เข้าถึงครรภ์จากครรภ์ เข้าถึงที่
   มืดจากที่มืด ภิกษุผู้เช่นนั้นแล ละไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความทุกข์
   ก็บุคคลใดผู้มีการงานเศร้าหมองเห็นปานนี้ตลอดกาลนาน พึงเป็นผู้เต็ม
   แล้วด้วยบาป เหมือนหลุมคูถที่เต็มอยู่นานปี พึงเป็นหลุมเต็มด้วยคูถ


   ฉะนั้น บุคคลนั้นเป็นผู้มีกิเลสเครื่องยียวนหมดจดได้โดยยาก ดูกรภิกษุ
   ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงรู้จักบุคคลผู้อาศัยเรือน ผู้มีความปรารถนา
   ลามก ผู้มีความดำริลามก ผู้มีอาจาระและโคจรลามกเห็นปานนี้
   เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกันเว้นบุคคลนั้นเสีย จงกำจัดบุคคล
   ผู้เป็นเพียงดังแกลบ จงคร่าบุคคลผู้เป็นเพียงดังหยากเยื่อออกเสีย
   แต่นั้นจงขับบุคคลลีบผู้ไม่ใช่สมณะแต่มีความสำคัญว่าเป็นสมณะ
   ไปเสีย ครั้นกำจัดบุคคลผู้มีความปรารถนาลามก มีอาจาระและโคจร
   ลามกออกไปแล้ว เธอทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้ว มีความเคารพกันและกัน
   จงสำเร็จการอยู่ร่วมด้วยบุคคลผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย แต่นั้น เธอทั้งหลาย
   ผู้พร้อมเพรียงกัน มีปัญญาเครื่องรักษาตน จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ



   จบธรรมจริยสูตรที่ ๖
Credit by : http://etipitaka.com/compare?lang1=thai&lang2=pali&p1=289&p2=404&volume=25#

                   


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วย ธรรม ๗ ประการ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2013, 12:53:51 pm »




         [๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นผู้
ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๗ ประ
การเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นธัมมัญญู รู้จักธรรม๑
อัตถัญญู รู้จักอรรถ ๑
อัตตัญญู รู้จักตน ๑
มัตตัญญู รู้จักประมาณ ๑
กาลัญญู รู้จักกาล ๑
ปริสัญญู รู้จักบริษัท ๑
ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือกคบคน ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ
อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เราก็
ไม่พึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ
ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

             ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักเนื้อความ
แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความ
แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น
อัตถัญญู แต่เพราะภิกษุรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่ง
ภาษิตนี้ๆ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู
ด้วยประการฉะนี้ ฯ

             ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตนว่า เรา
เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่
พึงรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้
เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล
สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู
ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

             ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักประมาณในการรับ
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จัก
ประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็
ไม่พึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู
ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

             ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้
เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาล
หลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม
นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็น
กาลัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็น
กาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็น
กาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ด้วย
ประการฉะนี้ ฯ

             ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้
บริษัทกษัตริย์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหา
อย่างนี้ พึงยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนั่งอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้ หากภิกษุไม่รู้
จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู
แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ ฉะนั้น เราจึง
เรียกว่าเป็นปริสัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู
ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

             ก็ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จัก
บุคคลโดยส่วน ๒ คือ บุคคล ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งต้องการเห็นพระ
อริยะ พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ บุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ พึง
ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงได้รับความ
สรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
ต้องการจะฟังสัทธรรม พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลที่ไม่ต้องการฟัง
สัทธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรม พึงได้รับ
ความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ

พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรม บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูก
ติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุ
นั้นๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้
พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ พึงถูกติเตียน
ด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ
บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความ
แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พวกหนึ่งไม่พิจารณา เนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้
บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ

บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงได้รับความสรรเสริญด้วย
เหตุนั้นๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ
พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรม
แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรมไม่ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรม
แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อ

ประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น พวกหนึ่งปฏิบัติทั้งเพื่อ
ประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์
ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ ฉะนี้แล ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญู
อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นผู้
ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๒๓๘๕ - ๒๔๕๙. หน้าที่ ๑๐๔ - ๑๐๗
ที่มาเว็บพลังจิต http://board.palungj...ad.php?t=167292
--------------------------



ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เป็นที่พึ่งที่ระลึก
อนุโมทนาขอบคุณทุกท่านมีความสุขโชคดีเจริญในธรรมครับ
G+ ชาตรี กองนอก
Shared publicly  -  7:25 AM