เหราคายนาค หรือ มกรคายนาคเป็นพุทธศิลป์ หมายถึง
อุปาทานในขันธ์ห้า ยึดไว้อารมณ์ทุกข์เกิดแน่ๆ
ต้องคลายความยึดมั่นถือมั่น
สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
17.7.2013
..
..
มกร มาจาก วรรณกรรม วัฒนธรรมกรีก
เดิมคือเทพแพน เป็นเทพครึ่งแพะ
วันหนึ่งโดนไล่ล่า ซูส จึงให้พร มีหางเล็กๆ ว่ายหนีรอดได้
จึงเป็นดาวบนฟ้า ประจำเดือน มกราคม
มกร มาอยู่ใน พุทธศิลป์ ในแถบอุษาอาคเนย์
มาคาบ คายนาค หมายถึง"อุปทานในขันธ์ห้า" คาบจิตใคร
รอดยาก ครับ แต่ที่วัดปงสนก มาคาบ นกหัสดิน(นกหัสดี ,นกหัสดีลิงค์)
นกนี้ แปลเป็นภาษาปัจจุบันคือ"จิตสำนึก"
ที่ประกอบด้วย
ความคิด สิงห์โต
อารมณ์ ช้าง
เจตนา หงส์
ความรู้ความทรงจำ นาค
หากรวมกัน และมีกุศลส่ง ย่อมท่องไปได้ ในทุกภพภูมิ สาธุ
11.1.2017
G+ Suraphol KruasuwanPhilosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
********************************************
เรื่อง: >>> ตัวกินนาค <<<ผ่านปีใหม่มา หลายท่านส่วนใหญ่คงต้องไปเที่ยวภาคเหนือรับลมหนาวอย่างแน่นอน และที่พลาดไม่ได้คงต้องทำบุญตามวัดต่างๆ ซึ่งมีทั้งความสวยและงดงามในรูปแบบศิลปะล้านนา ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดลายฝาผนัง ตัวหน้าบัน ช่อฟ้า หรือแม้แต่บันไดนาค แต่ท่านสังเกตมั้ยครับว่า รูปปั้นตัวนาคที่ประดับอยู่ตรงบันไดทางขึ้นทั้ง 2 นั้น มันออกมาจากปากตัวอะไรซักอย่าง วันนี้ผมมีคำตอบมาเล่าให้ฟังกันครับ
มกรคายนาคที่วัดสะปุ๋งน้อย จังหวัดลำพูน
ตัวที่อ้าปากงับนาคตรงบันไดวัดตามทางเหนือ (ภาคอื่นก็มีเหมือนกัน แต่อาจจะน้อย) เราเรียกกันว่า มกร (อ่านว่า มะ-กะ-ระ หรือ มะ-กอน) หรือมีอีกชื่อหนึ่งในโลกป่าหิมพานต์คือ เหรา (อ่านว่า เห-รา) ลักษณะของตัวนี้กล่าวกันไว้ว่า เป็นลูกครึ่งต่างชาติ มีพ่อเป็นนาค ส่วนแม่เป็นจรเข้ โดยมีช่วงลำตัวยาวเหมือนนาคแต่ว่ามีขางอกออกมา ที่ส่วนหัวมีลักษณะเหมือนนาคแต่ว่าตรงปากนั้นเป็นจรเข้ อาศัยอยู่แถวบริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ เป็นสัตว์ในความเชื่อทางแถบอินเดีย ศรีลังกา และพม่า
ทำไมถึงเรียกมกร ?
แต่ก่อนชาวล้านนารู้จักแต่เพียงนาคหรือพญานาคทั้งนั้น แต่ครั้นพอเห็นตัวที่มีหัวเป็นนาคหรือสำรอกนาคนั้นมีขางอกออกมา ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรดี ก็เลยคาดกันว่า ไปรับอิทธิพลจากจีนที่เรียกงูหรือนาคที่มีขาว่า มังกร หรือ มกร นั่นแหละครับ
แล้วมันกินหรือคายนาค ?
ตามจริงแล้วเหราคายนาคนะครับ ไม่ใช่กำลังกิน ซึ่งการคายนาคของเหรานี้ คงมองได้ 2 แบบ
แบบที่ 1: ทางด้านการเมืองและศิลปะ
ในสมัยก่อนนั้น ที่ทางตอนเหนือของประเทศไทย มีอาณาจักรที่เรียกว่า อาณาจักรโยนกนคร หรือ โยนกนาคนคร กล่าวกันว่า ชาวเมืองนี้สืบเชื้อสายมาจากพญานาคจากเมืองบาดาล ต่อมาอาณาจักรแห่งนี้ก็ล่มสลายเพราะเหตุแผ่นดินไหว ผู้คนที่รอดก็พากันอพยพไปตั้งรกรากยังที่อื่นจนกลายเป็นดินแดนล้านนา และยังคงศิลปะที่มีนาคเป็นสิ่งศักสิทธิ์อยู่ ส่วนตัวเหรานั้นเป็นสัตว์ที่เป็นตัวแทนจากพม่า ต่อมาพม่าก็ได้เข้าครอบครองอาณาจักรล้านนา ดังนั้น การที่เห็นตัวเหราคายนาคในศิลปะทางภาคเหนือนั้น ก็พอจะกล่าวได้ว่า พม่าต้องการข่มอาณาจักรล้านนาที่อยู่ภายใต้การปกครองว่า "เอ็งอยู่ในปากข้าแล้ว จะกัดให้ตายเมื่อไหร่ก็ได้" อารมณ์ประมาณนั้น หรือถ้ามองในด้านศิลปะ จะหมายถึงเป็นการหลุดพ้นจากอิทธิพลศิลปะและการเมืองของพม่าที่เข้ามาครอบครองอาณาจักรล้านนาถึง 200 ปี
แบบที่ 2: ทางด้านพุทธศาสนา
ตัวเหราในทางพุทธศาสนา หมายถึง "
อุปทาน ความยึดติด ความลุ่มหลง" ส่วนนาคนั้น หมายถึง "
ความมีชีวิต ร่างกาย จิตใจของเรา" ถ้าอุปทาน ความลุ่มหลง(ตัวเหรา) มันจับเราไว้(นาค)
เราก็จะรู้สึกเจ็บปวด ไปไหนไม่ได้ เพราะว่าเรายังยึดติดอยู่ ดังนั้น หากไม่อยากเจ็บปวดก็ต้องปล่อยวางจากสิ่งยึดติดต่างๆ (หลุดออกจากปากเหราให้ได้) นี่จึงเป็นกุศโลบายที่คนโบราณสอนทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังอย่างเรายังไงล่ะครับ
บิดานั้นนาคา มารดานั้นมังกร
มีตีนทั้งสี่ หน้ามีทั้งครีบทั้งหงอน
เป็นทั้งนาคทั้งมังกร เรียกชื่อว่าเหราเอย
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3296.2010ที่มา: itti-patihan, reurnthai, dek-d, tripandtrek
:http://www.soccersuck.com/soccer/viewtopic.php?t=747547 ภาพคือ"ตัวมอม" เป็นผู้ช่วยให้ฝน ตามคติล้านนา
จะเห็นว่า ตัวหนึ่งเรียกฝน
อีกตัวปิดปากเงียบ
มีปริศนาธรรมอะไรซ่อนไว้?
G+ Suraphol KruasuwanPhilosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี