ผู้เขียน หัวข้อ: เตือนภัยไวรัส ‘โคโรน่า’ สายพันธุ์ใหม่อันตรายถึงชีวิต!  (อ่าน 1369 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เตือนภัยไวรัส ‘โคโรน่า’ สายพันธุ์ใหม่อันตรายถึงชีวิต!
วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/224/220378-











หลังจากองค์การอนามัยโลกประกาศแจ้งเตือนให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศ ดำเนินการเฝ้าระวังโรคในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน หลังมีรายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อ “โคโรน่า” ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 และมีผู้เสียชีวิตแล้ว

ล่าสุด ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้นำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเชื้อโรคดังกล่าว พร้อมรายงานสถานการณ์ล่าสุดเพิ่มเติมว่า ได้ตรวจพบผู้ป่วยที่ยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2012 แล้วรวม 77 ราย เสียชีวิต 42 ราย จากรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 9 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี และอิตาลี โดยส่วนมากจะพบผู้ป่วยในประเทศซาอุดี อาระเบีย

“เชื้อไวรัสโคโรน่า” ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2508 เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (Single stranded RNA virus) ในตระกูล Coronaviridae ประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยหลายชนิด สามารถทำให้เกิดโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ เช่น หนู สุนัข แมว กระต่าย ไก่ วัว กระบือ สุกร ขณะนี้ไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรคในคนที่รู้จักมี 6 ชนิด โดย 4 ชนิดทำให้เกิดโรคไข้หวัด 1 ชนิดทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุน แรง หรือ โรคซาร์ส และอีก 1 ชนิดคือ เมอร์ส (Middle East Respiratory Syndromes Coronavirus : MERS)

ถึงแม้ว่าผู้ที่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่จะมีอาการคล้ายโรคซาร์ส แต่เชื้อก่อให้เกิดโรคแตกต่างกัน ซึ่งโคโรน่าโดยทั่วไปพบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตอบอุ่น มักพบในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ พบได้ในทุกกลุ่มอายุ สำหรับการติดต่อคล้ายโรคทางเดินหายใจ คือผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ จากการไอหรือหายใจรดกัน หรือจากมือที่เปื้อนเชื้อโรคมาสัมผัสจมูกหรือตา ซึ่งระยะฟักตัวของโรคประมาณ 3-4 วัน ส่วนเชื้อก่อโรคซาร์ส มีระยะฟักตัว 4-7 วัน (อาจนาน 10-14 วัน) และหากไวรัสอยู่นอกร่างกายจะสลายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง และถูกทำลายได้ด้วยสารซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาด

จากการศึกษาวิจัยพบว่า สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคอาจมีส่วนเกี่ยว ข้องกับสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว ทำให้เจ็บป่วยได้ทั้งระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ ซึ่งพบว่าก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนถึงร้อยละ 35 มีอาการตั้งแต่ระดับน้อยคือเป็นไข้หวัดธรรมดาจนถึงระดับรุนแรง  (โรคซาร์ส) ทำให้หายใจติดขัด ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีอาการของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ น้ำมูก ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ หรือบางคนอาจมีอาการปอดอักเสบ เช่น หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือบางรายรุนแรงอาจมีระบบหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ยังพบมีอาการแสดงทางอวัยวะอื่นได้ เช่น มีอาการไตวายเฉียบพลัน ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
 
องค์การอนามัยโลก (WHO) และสำนักงานควบคุมโรคและป้องกันโรคสหรัฐ อเมริกา หรือ CDC ให้คำแนะนำ สำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางให้สังเกตอาการภายใน 14 วัน สำหรับการวินิจฉัยโรคนอกจากอาการและประวัติแล้วอาจจำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อช่วยวินิจฉัยด้วยการตรวจโดยวิธีทางชีวะพันธุกรรมของไวรัส (Real-Time Reverse-Transcriptase Polymerase Chain Reaction : RT-PCR) โดยใช้เก็บสิ่งส่งตรวจจากบริเวณต่าง ๆ ดังนี้ เสมหะจากทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น การดูดสารคัดหลั่งจากหลอดลม น้ำล้างถุงลมและหลอดลมฝอย เสมหะทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น การป้ายเก็บสิ่งส่งตรวจจากโพรงจมูกและคอ การดูดสารคัดหลั่งจากโพรงจมูก ตรวจอุจจาระในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย และเลือด น้ำเหลือง ซึ่งใช้เป็นตัวช่วยเสริม

สำหรับผู้ที่ต้องพิจารณาส่งตรวจด้วยวิธีดังกล่าว คือผู้ป่วยที่มีอาการแสดงออกทางระบบทางเดินหายใจ คือ มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอที่สงสัยว่ามีปอดอักเสบ รวมทั้งภาพรังสีปอดมีความผิดปกติ และมีประวัติการเดินทางหรือท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศในคาบสมุทรอาระเบียและประเทศใกล้เคียง ภายในระยะเวลา 14 วันและไม่สามารถอธิบายสาเหตุการป่วยของผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจรุนแรงที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการที่เดินทางไปในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางภายใน 14 วันหลังจากท่องเที่ยวในประเทศดังกล่าว หรือผู้ที่มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก หายใจหอบเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ภายในระยะเวลา 14 วันหลังจากเดินทางกลับมาจากกลุ่มประเทศในคาบสมุทรอาระเบีย ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ เยเมน โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต อิรัก อิสราเอล ซีเรีย จอร์แดน เลบานอน จำเป็นต้องแจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบด้วย

ส่วนการรักษาเหมือนการติดเชื้อโคโรน่าไวรัสชนิดอื่น ๆ คือ ไม่มียาต้านไวรัสในการรักษาผู้ป่วย และขณะนี้ไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ดังนั้นเราจึงควรป้องกันการติดเชื้อเบื้องต้นได้ด้วยการหลีกเลี่ยงผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อ เช่น ผู้ที่มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดหรือที่สาธารณะที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก หากจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่แออัดควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ ล้างมือบ่อยครั้งด้วยน้ำสบู่ เนื่องจากพบเชื้อได้ทั้งในอากาศ น้ำมูก และเสมหะ ซึ่งอาจปนเปื้อนที่มือของผู้ติดเชื้อแล้วไปจับสิ่งของหรือวัตถุทั่วไป

นอกจากนี้การรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นควรใช้ช้อนกลาง เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมและออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสปศุสัตว์มีชีวิตหรือสัตว์ป่าในกรณีที่เดินทางไปในประเทศในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตามจากข้อมูลปัจจุบันคนไทยอย่าเพิ่งตื่นตระหนกหรือเครียดกับโรคนี้จนเกินไป เนื่องจากแนวโน้มการระบาดมายังประเทศไทยยังไม่อยู่ในระดับน่ากังวล ในตอนนี้สิ่งที่พึงกระทำคือ การศึกษาข้อมูลการป้องกันและดูแลรักษาเบื้องต้นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือในการป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบ ครัวให้ปลอดภัย.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)