ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วยเรื่องของโรค "ไต"  (อ่าน 7153 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ว่าด้วยเรื่องของโรค "ไต"
« เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2013, 04:06:30 am »
โรคไต
-http://www.yourhealthyguide.com/article/ak-kidney-4.html-


โรคไต หมายถึง โรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า พยาธิสภาพ เกิดที่บริเวณไต ที่พบมาก ได้แก่
     

   โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
     

   โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง
     

   โรคไตอักเสบเนโฟรติก
     

   โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
     

   โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
     

   โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

อาการ
     

   ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ
     

   ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ก็ได้
     

   ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆ เหมือนฟองสบู่
     

   การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆ กัน เป็นข้อสันนิฐาน ที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต
     

   ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น
     

   การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ
     

   การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ
     

   การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
     

   การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
     

   อาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณ หนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมาก จะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)
     

   ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้
     

   ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้ หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) เนื่องจากปกติ ไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีด หรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ควรต้องไปพบแพทย์ ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้น ว่าเป็นโรคไตหรือไม่

สาเหตุ
     

   เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
     

   เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
     

   เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
     

   เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
     

   เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด

คำแนะนำ
     
1.
   กินอาหารโปรตีนต่ำ หรืออาหารโปรตีนต่ำมาก ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น
โดยกินอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งหมายถึงโปรตีน ที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด จำนวน 0.6 กรัม ของโปรตีน / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน โดยไม่ต้องให้กรดอะมิโนจำเป็น หรือกรดคีโต (Keto Acid) เสริม เพราะอาหารโปรตีนในขนาดดังกล่าวข้างต้น ให้กรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณที่พอเพียง กับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยซึ่งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย ประมาณ 50-60 กิโลกรัม ควรกินอาหาร ที่มีปริมาณโปรตีนสูงประมาณ 30-60 กรัม / วัน อาจจำกัดอาหารโปรตีน เพื่อชะลอการเสื่อมหน้าที่ ของไตได้อีกวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนต่ำมาก (0.4 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน) ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์คีโต (Keto Analog) ของกรดอะมิโนจำเป็น ในกรณีผู้ป่วยมีน้ำหนักเฉลี่ย 50-60 กิโลกรัม ควรกินโปรตีนประมาณ 20-25 กรัม / วัน เสริมด้วยกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์ครีโตของกรดอะมิโนจำเป็น 10-12 กรัม / วัน
          
     
2.
   กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอล ในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม / วัน ด้วยการจำกัดอาหาร ที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น
          
     
3.
   งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ฟอสเฟตมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม และเมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดทานตะวัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดอัลมอนด์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟตสูง จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรัง ให้รุนแรงมากขึ้น และมีความรุนแรงของ การมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น นอกเหนือจากผลเสีย ต่อระบบกระดูกดังกล่าว
          
     
4.
   ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่มีอาการบวม การกินเกลือในปริมาณไม่มากนัก โดยไม่ต้องถึงกับงดเกลือโดยสิ้นเชิง แต่ไม่ควรกินเกลือเพื่อการปรุงรสเพิ่ม ผู้ป่วยที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณเกลือที่กินต่อวันให้น้อยกว่า 3 กรัมของน้ำหนักเกลือแกง (เกลือโซเดียมคลอไรด์) ต่อวัน ซึ่งทำได้โดยกินอาหารที่มีรสชาติจืด งดอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ทำเค็ม หรือหวานเค็ม เช่น เนื้อเค็ม ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รวมถึงหมูแฮม หมูเบคอน ไส้กรอก ปลาริวกิว หมูสวรรค์ หมูหยอง หมูแผ่น ปลาส้ม ปลาเจ่า เต้าเจี้ยว งดอาหารบรรจุกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง เนื้อกระป๋องข้างต้น
5. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกิน น้ำหนักจริงที่ควรเป็น (Ideal Weight for Height) ในคนปกติ ควรจำกัดปริมาณแคลอรี ให้พอเพียงในแต่ละวันเท่านั้น คือ ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน


นุชจรี ร่วมชาติ
   
               
          แหล่งข้อมูล : www.dmsc.moph.go.th - ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม    
          
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วยเรื่องของโรค "ไต"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2013, 04:07:28 am »
-http://www.yourhealthyguide.com/article/ak-kidney-5.html-


เมื่อพูดถึง โรคไต คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า คือ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งหมายถึง การสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างถาวร และถ้าเข้าสู่ ระยะสุดท้าย ก็ต้องได้รับการฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ไปได้ จริงๆ แล้ว โรคไต มีอยู่หลายชนิด แต่ก่อนที่เราจะรู้จักโรคไตนั้น ควรทำความรู้จักกับไตก่อน

ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง มี 2 ข้างอยู่บริเวณบั้นเอว หน้าที่สำคัญของไต คือ
     
1.
   ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตีนในอาหารออกจากร่างกาย
     
2.
   รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรอและด่างของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
     
3.
   ควบคุมความดันโลหิต
     
4.
   สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก

ไต เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนที่ต่อจากท่อไต (URETER) ซึ่งจะนำปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เข้าสู่ท่อปัสสาวะ (URETHRA) ในเพศชายจะมีต่อมลูกหมาก อยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ

โรคไตและระบบปัสสาวะ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ
     
1.
   โรคที่เกิดจากการอักเสบ ในส่วนของไตที่มีหน้าที่กรอง (โกสเมอรูรัส - GLOMERULUS) หรือเกิดจากภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ กลุ่มอาการเนฟโฟติค (NEPHROTIC) และไตอักเสบ (NEPHRITIS)
     
2.
   โรคที่เกิดจากความผิดปกติของไต ที่เป็นท่อเล็กๆ (TUBULE) และเซลล์ที่ผยุงไตให้เป็นรูปร่าง (INTERSTIJIUM) ซึ่งเราเรียกรวมๆ ว่า โรคของ TUBULO INTERSTITIUM โรคที่พบบ่อย คือ การตายของเนื้อเยื่อที่ท่อไต (ACUTETUBULAR NECROSIS) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ ไตวายเฉียบพลัน
     
3.
   โรคติดเชื้อ เช่น โรคติดเชื้อจากบคทีเรีย ของทางเดินปัสสาวะ
     
4.
   โรคที่เกิดจากการอุดตันทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต, นิ่ว เป็ฯต้น
     
5.
   โรคไตที่มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคถุงน้ำที่ไต
     
6.
   เนื้องอกในไต
     
7.
   โรคทางด้านร่างกาย ที่มีแนวโน้มจะทำให้ การทำงานของไตเสื่อมลง เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง

ภาวะไตวายคือ ภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
     
1.
   ไตวายเฉียบพลัน โดยช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะเป็นชั่วโมง หรือ เป็นวันทำให้เกิดการคั่งของ ของเสียทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และ การควบคุม ปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ถ้าไม่ได้รับการรัดษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่ จะมีปริมาณปัสสาวะต่อวันน้อยกว่า 400 ซีซี สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน มีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติ ของการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่ช๊อกจากการติดเชื้อ, เสียเลือดจำนวนมาก หรือขาดน้ำอย่างรุนแรงจากท้องเสีย การใช้คำว่า "เฉียบพลัน" นอกจากบ่งถึง ช่วงเวลาระยะสั้นที่เกิดขึ้นแล้ว ยังบ่งถึงความเป็นไปได้ ที่ไตจะกลับสู่ภาวะปกติได้
     
2.
   ไตวายเรื้อรัง คือการสูญเสียการทำงานของไต ที่เป็นไปอย่างช้าๆ และถาวร ช่วงเวลาอาจตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปีขึ้นไป จนในที่สุดเข้าสู่ภาวะสุดท้ายของไตวาย (END STAGE OF RENAL FAILURE) ซึ่งหมายถึง ภาวะที่ต้องการการรักษา แบบทดแทน (เช่น ฟอกเลือด, เปลี่ยนไต) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

อาการและสัญญาณบอกเหตุ ของผู้ป่วยโรคไต
     
1.
   ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรืออาจมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
     
2.
   มีโปรตีนหรือไขขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะที่ออกมามีฟองมาก และฟองไม่สลายตัวไปง่ายๆ (การมีฟองในปัสสาวะเล็กน้อยถือเป็นเรื่องปกติ)
     
3.
   อาการบวมรอบๆ ตาและข้อเท้า
     
4.
   อาการปวดหลัง จะปวดบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวที่ขาหนีบ และลูกอัณฑะ หากความเจ็บปวดเกิดขึ้น เหนือกระดูกหัวเหน่า แสดงว่า มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ และถ้าความเจ็บปวดเกิดขึ้น พร้อมกับอาการไข้และหนาวสั่น แสดงว่ามีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนบน คืแท่อไตและกรวยไต สิ่งที่ต้องคำนึงไว้ คือ อาการปวดหลัง ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับไตเสมอไป เนื่องจจากส่วนหลังของร่างกาย ยังมีกระดูกกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ความเป็นจริงที่พบคือ โรคไตส่วนใหญ่ที่พบ ก็ไม่ได้มีอาการปวดหลัง
     
5.
   ปัสสาวะลำบาก สาเตุจากนิ่ว หรือต่อมลูกหมากโต
     
6.
   อาการของไตวาย ผู้ป่วยที่ไตวายไม่มากนักจะไม่ปรากฎอาการให้เห็น แต่จะทราบโดยการเจาะเลือด ตรวจดูการทำงานของไต ที่สำคัญ คือ ระดับยูเรียไนโตรเจน (BLOOD UREA NITROGEN - BUN) และระดับเครียตินิน (SERUM CREATININE) เมื่อไตวายเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยมีอาการที่เราเรียกว่า "กลุ่มอาการยูรีเมีย" ซึ่งเกิดจากการที่มีของเสียสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติ ของการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวซีด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลีย คันไปทั้งตัว บวมที่ส่วนหน้าและส่วนขา ปัสสาวะบ่อยครั้งในเวลากลางคืน และเกิดหัวใจล้มเหลว

การล้างไต

ที่ใช้อยู่มี 2 วิธี คือ การล้างไตทางหน้าท้อง และการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม เนื่องจากการล้างไต เป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะฉะนั้น กรณีผู้ป่วยยังไม่มีอาการทางยูรีเมีย เช่น ยังรู้สึกสบายดี ไม่เพลีย ไม่คลื่นไส้ สมรรถภาพหัวใจ ยังอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ และไม่มี ภาวะทุโภชนาการ แพทย์จึงดูแลแบบประคับประคองไปก่อน บางครั้งแพทย์ที่ดูแลจะใช้ผลเลือด เป็นเกณฑ์ในการแนะนำ ให้ผู้ป่วยเข้าโปรแกรมล้างไต คือ ค่าซีรัม BUN ควรจะเกิน 100 mg/d หรือค่าซีรัมเครียตินิน ควรเกิน 9 mg/d ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรมีกาอารยูรีเมียร่วมด้วย

ข้อบ่งชี้ที่แน่นอนและชัดเจนของผู้ป่วยที่ควรเริ่มทำการล้างไต
     
1.
   ผู้ป่วยที่มีการทำงานของสมองผิดปกติ ซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว
     
2.
   มีการอักเสบของเยื้อหุ้มปอด และเยื้อหุ้มหัวใจจากยูรีเมีย
     
3.
   มีความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย เ่นมีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า แขนขาอ่อนแรง
     
4.
   มีภาวะน้ำเกินหรือหัวใจล้มเหลวบ่อยๆ
     
5.
   มีโพแทสเซียมในเลือดสูงบ่อย ๆ และไมาสามารถควบคุมได้ โดยการใช้ยา
     
6.
   มีภาวะเป็นกรดในเลือด และไม่สามารถควบคุมโดยการให้ยารักษา
   
               
          แหล่งข้อมูล : สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม - province.moph.go.th/nakhonpathom
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วยเรื่องของโรค "ไต"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2013, 04:08:10 am »
-http://www.yourhealthyguide.com/article/ak-kidney-diabetes.htm-   


เบาหวาน เป็นภาวะผิดปกติของร่างกาย ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และมีน้ำตาลรั่วออกมาในปัสสาวะ

เบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆ ได้มากมาย เช่น หัวใจ ตา ระบบประสาท ไต เป็นต้น

โรคแทรกซ้อนของเบาหวานที่เกิดกับไต และทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ระบบประสาทกระเพาะปัสสาวะเสื่อม ( Neurogenic bladder) ทำให้มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือมีอาการปัสสาวะไม่ออกก็ได้ และภาวะไตวายระยะเริ่มต้น รวมทั้งไตวายในที่สุด

เป็นเบาหวานนานเท่าไร จึงจะมีไตวาย

จากการศึกษาพบว่า โดยเฉลี่ยหลังจากเป็นเบาหวานมาประมาณ 10 ปี จะพบอาการแทรกซ้อนทางไต คือ เริ่มมีไตเสื่อมได้ประมาณ 30-35% ( ในบางรายจะเกิดก่อน 10 ปี และบางรายเกิดหลัง 10 ปี) หลังจากเริ่มมีภาวะไตวายในระยะเริ่มต้น พบว่าอีกประมาณ 4-7 ปี จะกลายเป็นไตวายในระยะสุดท้าย ถ้าไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างเหมาะสม

จะทราบได้อย่างไรว่ามีโรคแทรกซ้อนทางไตแล้ว

เนื่องจากในระยะแรก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร ดังนั้นจะทราบได้จากการตรวจปัสสาวะ ซึ่งจะพบว่าเริ่มมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะมากกว่าปกติเล็กน้อย ( Microalbuminuria) และจะมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความรุนแรงของภาวะไตวาย แต่ถ้าเป็นระยะหลังที่มีไตวายมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการบวมโดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและหลังเท้า มีไข่ขาวในปัสสาวะมาก และมีค่าของเสียในเลือดสูง ระวังไม่ควรรอให้ถึงระยะนี้ เพราะไม่สามารถแก้ไขได้ ผู้ป่วยจะเกิดไตวาย ระยะสุดท้ายในอีกไม่กี่ปี

ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนหรือไม่ ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ยิ่งน้ำตาลในเลือดสูงมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากและเกิดเร็วขึ้น

ความผิดปกติอื่นจะช่วยส่งเสริมภาวะแทรกซ้อนทางไตหรือไม่ ความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน ให้เกิดอาการเร็วขึ้นและรุนแรงขึ้น

ในปัจจุบันเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย ดังนั้นการควบคุมอาหาร การดูแลรักษา และการตรวจเช็คอวัยวะต่างๆ รวมทั้งไต จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะเป็นวิธีป้องกัน หรือช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้น้อยที่สุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

ถ้าเป็นแล้วจะรักษาได้หรือไม่ ถ้าเป็นในระยะแรกที่มีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาได้ แต่ถ้าเป็นระยะหลังที่มีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะมาก หรือมีไตวายแล้ว ไม่สามารถรักษาได้ ได้แต่ช่วยรักษาให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้ายให้ช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
   
               
          แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วยเรื่องของโรค "ไต"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2013, 04:08:47 am »
-http://www.yourhealthyguide.com/article/ak-food-eating.html-

โรคไต เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่นอกจากจะสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นโรคที่ต้องบอกว่า ใช้ “ทุนทรัพย์” ในการรักษาที่เอาการทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราย ที่ร่างกายเข้าสู่จุดที่ต้องทำการฟอกไต

ดังนั้น ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ก็ควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถป้องกันได้ ด้วยการระมัดระวังในการบริโภค

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการฟอกเลือด ด้วยเครื่องล้างไตเทียมไปเรียบร้อยแล้ว ก็มีความจำเป็น ที่จะต้องดูแลสุขภาพของตนเองไปพร้อมๆ กันด้วย กล่าวคือ ต้องเลือกรับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่จะให้โทษ เพราะนอกจากจะไปทำอันตรายต่อไตมากขึ้นแล้ว ยังจะทำให้เกิดภาวะอาการเจ็บป่วยต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะหัวใจวาย ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
       
พ.ท.น.พ.อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า อาหารที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารที่มีรสเค็ม เพราะจะส่งผลต่อความดันโลหิตสูง หัวใจโตและน้ำท่วมปอด นอกจากนี้ ก็รวมไปถึงอาหารที่ฟอสเฟสมาก เพราะจะทำให้กระดูกบาง ผุและหักง่าย ต่อมไทรอยด์จะโต ส่วนอาหารที่มีโปแตสเซียม ก็ต้องเลี่ยงเช่นกัน เนื่องจากทำให้หัวใจเต้นเร็ว และอาจเกิดภาวะหัวใจวายตามมา

ด้าน รศ.วลัย อินพรัมพรรย์ ที่ปรึกษาโภชนบำบัด โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการฟอกเลือด ด้วยเครื่องล้างไตเทียม ล้างไตผ่านทางช่องท้อง จะสูญเสียสารอาหารมากมาย อาทิ โปรตีน เกลือแร่ ดังนั้น จำต้องรับประทานอาหาร ให้ครบทั้ง 5 หมู่คือโปรตีน (เนื้อสัตว์) คาร์โบไฮเดรต (แป้ง) ไขมัน เกลือแร่ (ผักและผลไม้) และวิตามิน
       
อย่างไรก็ตาม ในการรับประทาน เนื้อสัตว์ จะต้องเลือกชนิดที่ไม่ติดมันและติดหนัง ไข่ควรรับประทานแต่ไข่ขาว เพราะไข่แดงจะมีโคเลสเตอรอล โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส ส่วนนมและเนยแข็ง รวมทั้งอาหารจำพวกถั่วต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วแดง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ รวมทั้งขนมเปี๊ยะ กระยาสารทก็ต้องละเว้น เนื่องจากมีฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูง ซึ่งผู้ป่วยที่ฟอกเลือด จะมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายฟอสฟอรัส
       
ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานข้าว รวมถึงอาหารจำพวกก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น เพราะนอกจากจะมีคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีโปรตีนที่เหมาะสมกับร่างกาย กระนั้นก็ดีข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ก็ไม่เหมาะกับผู้ป่วย เนื่องจากมีฟอสฟอรัสมาก
       
ขนมประเภททองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ไอศกรีม พวกนี้ทำจากไข่แดง มีสารฟอสเฟสมาก ควรระมัดระวังในการรับประทาน ขนมหวานที่ผู้ป่วยรับประทานได้ จะต้องไม่หวานมากนัก เช่น ขนมน้ำดอกไม้ ขนมมัน ขนมถ้วยฟู สาคูเปียก เพราะจะช่วยให้เกิดพลังงาน สำหรับผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้อง ควรเลี่ยงพวกขนมหวานจัด เพราะยาล้างไตทางช่องท้องจะมีกลูโคสสูง จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และพบปัญหาเรื่องหลอดเลือดหัวใจ
       
ผักที่มีสีเขียวเข้ม สีเหลืองเข้ม เช่น หน่อไม้ฝรั่ง บล็อคเคอรี่ ดอกกะหล่ำ ใบคะน้า คึ่นฉ่าย มะเขือเทศ แครอท จะมีโปแตสสูง ควรหลีกเลี่ยง กลุ่มที่รับประทานได้ เช่น แตงกวา น้ำเต้า บวบ ฟักเขียว มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ผักกาด ส่วนผักที่ไม่ควรรับประทาน ก็เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ลูกพรุน ลูกพลับ ขนุน ผลไม้แห้ง มะขามหวาน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ ช็อกโกแลต โคล่า ซึ่งมีทั้งโปแตสเซียมและฟอสฟอรัส
       
อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ หมูหยอง หมูแผ่น นอกจากจะมีโคเลสเตอรอลแล้ว ยังมีโปแตสเซียมและโซเดียมสูง ควรยกเว้น อาหารสำเร็จรูปทุกประเภท บะหมี่ โจ๊ก มีโซเดียมสูง มีรสเค็มจัด ไม่ควรรับประทานอย่างยิ่ง เพราะนอกจากร่างกายจะบวมแล้ว ยังส่งผลถึงความดันสูงอีกด้วย รศ.วลัยแนะนำ

และปิดท้ายกันที่ ดร.ชนิดา ปโชติกาล แห่งภาควิชาคหกรรมศษสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ที่แนะนำว่า การที่ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการฟอกเลือด ด้วยเครื่องล้างไตเทียม หรือล้างไตผ่านทางช่องท้อง จะต้องรับการตรวจเลือดก่อนว่า มีสารประเภทใดในเลือดที่สูงมาก เมื่อทราบแล้ว ก็ไปปรึกษานักกำหนดอาหาร ซึ่งจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้ และคำปรึกษาเกี่ยวกับโภชนาการ ให้เป็นไปตามที่แพทย์กำหนด เมื่อผู้ป่วยได้บริโภคอาหาร ถูกต้องเหมาะสมกับภาวะที่ร่างกาย อยู่ระหว่างการฟอกเลือด ก็จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ที่สำคัญช่วยยึดอายุให้ยืนยาวมากขึ้น
   
               
          แหล่งข้อมูล : www.manager.co.th - 19 กุมภาพันธ์ 2548
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)