อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ

<< < (22/33) > >>

sithiphong:
มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ จัดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในสตรี โรคมะเร็งทุกโรคจัดว่ามีความผิดปกติในระดับยีนในเซลล์ แต่มีเพียงส่วนน้อยที่ยีนผิดปกติเหล่านั้นสามารถถ่ายทอดทางสายเลือดจากแม่ไปสู่ลูก


-http://www.dailynews.co.th/Content/Article/241560/%E2%80%98%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E2%80%99-





วันอาทิตย์ 1 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.

เมื่อไม่นานมานี้ หลายท่านคงได้ยินข่าวครึกโครมว่า ดาราสาวชื่อดังในฮอลลีวูด“แองเจลินา โจลี” ได้ทำการผ่าตัดเต้านมทิ้งทั้ง 2 ข้าง ในช่วงอายุไม่ถึง 40 ปี ด้วยเหตุผลที่ว่า เธอได้ไปตรวจยีนมะเร็งเต้านม ชื่อBRCA1 และผลเป็นบวก ทำให้โอกาสเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงชีวิตนี้สูงถึง 87% และเธอตั้งปณิธานว่า อีกไม่นานนี้ เธอจะผ่าตัดรังไข่ทิ้ง เนื่องจากยีนที่ผิดปกติดังกล่าว มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งรังไข่ ชนิดที่มีความรุนแรงสูง ได้อีก 50% ในตลอดชีวิตนี้

หลายท่านได้ยินเรื่องราวนี้ ต่างตระหนกกันมากว่า คนที่เป็นมะเร็งเต้านมหรือรังไข่ สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมไปสู่ลูกหลานได้เป็นศูนย์จริงหรือ และจำเป็นต้องตรวจยีน และผ่าตัดเต้านมและรังไข่ทิ้งจริงหรือ เราจะมาไขข้อข้องใจกันครับ

มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ จัดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในสตรี โรคมะเร็งทุกโรคจัดว่ามีความผิดปกติในระดับยีนในเซลล์ แต่มีเพียงส่วนน้อยที่ยีนผิดปกติเหล่านั้นสามารถถ่ายทอดทางสายเลือดจากแม่ไปสู่ลูก ในกรณีของมะเร็งเต้านมและรังไข่ ก็มีเพียง 5-8%

เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นมะเร็งดังกล่าว เราไม่สามารถทราบได้ว่า ใครจัดเป็นกลุ่มที่มีโอกาสถ่ายทอดยีนทางสายเลือดได้ เนื่องจากมะเร็งสตรีดังกล่าว มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหลัก เช่น การได้รับฮอร์โมนเพศหญิงจากรูปของยาคุมกำเนิด ความอ้วน การดื่มแอลกอฮอล์และยังมีปัจจัยที่อาจไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่นการรับสารพิษ สารเคมี เป็นต้น นอกจากนั้นความเสื่อมตามวัยก็เป็นปัจจัยที่ไม่มีผู้ใดหลุดพ้นไปได้ ปัจจัยทางพันธุกรรม เป็นเพียงปัจจัย

หนึ่ง ที่ส่งเสริมให้เกิดมะเร็งได้เร็วขึ้น ดังนั้น จึงมีคำแนะนำทางการแพทย์ว่า ครอบครัวใดก็ตามที่มีผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านม หรือรังไข่ ญาติสายตรง ได้แก่ บุตรสาว น้องสาว พี่สาว จำเป็นต้องรับทราบโอกาสที่ตนเองอาจจะได้รับการ

ถ่ายทอดทางพันธุกรรมของมะเร็งนั้น เพราะไม่มีใครทำนายได้ว่า เราจะตกอยู่ในกลุ่ม 5-8%นั้นหรือไม่ การคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์เต้านม จึงมีประโยชน์มาก ที่จะค้นหาโรคก่อนที่จะเกิด

อาการ และรับการรักษาได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องสูญเสียเวลา และคุณภาพชีวิต ในการไปผ่าตัดใหญ่ ฉายแสง หรือรับเคมีบำบัด ส่วนมะเร็งรังไข่ก็รับการคัดกรองด้วยการตรวจภายในประจำปีโดยสตินรีแพทย์ เช่นกัน

เพราะฉะนั้น วิธีดูคร่าว ๆ หญิงคนใดมีโอกาสที่จะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นมะเร็งเต้านมหรือรังไข่ที่ถ่ายทอดทางยีนมาในสายเลือด เพียงแค่ดูจากประวัติคนที่เป็นโรคในครอบครัวคร่าว ๆ โดยการวาดแผนภูมิครอบครัวก็พอจะบอกได้

จากรูปที่ให้มา คือลักษณะของแผนภูมิครอบครัว หรือเรียกเป็นศัพท์เทคนิคเฉพาะว่าพงศาวลี (pedigree) สี่เหลี่ยมคือผู้ชาย วงกลมคือผู้หญิง สีดำคือเป็นโรค ขีดคาดคือเสียชีวิตแล้ว ลูกศรคือคนที่มารับคำปรึกษา ดังนั้น ใน

กรณีรูปนี้ หญิงที่มารับคำปรึกษา สมมุติว่าอายุ30 ปี ตนเองไม่เคยมีอาการใด ๆ แต่มีมารดายาย ป้า น้าสาว ลูกสาวของป้า ล้วนแต่เป็นมะเร็งเต้านมกันหมด เพียงเท่านี้ก็ประเมินเบื้องต้นได้ว่า ครอบครัวนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะมีการถ่ายทอดของยีนมะเร็งจากรุ่นสู่รุ่น ก็คืออาจจะตกอยู่ในกลุ่ม 5-8% กลุ่มนั้นนั่นเอง ซึ่งกลุ่มนี้ควรมาพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพื่อประเมินความเสี่ยงโดยละเอียด ซึ่งกลุ่มต้องสงสัยประกอบไปด้วยมีคนเป็นมะเร็งเต้านม รังไข่ หรือมะเร็งที่อาจเกี่ยวข้องในกลุ่มยีนเดียวกัน เช่น มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งต่อมลูกหมากในญาติฝ่ายชาย โดยเมื่อซักย้อนขึ้นไป 3 รุ่น มีคนเป็นทุกรุ่น และถ้ามีคนที่เป็นมะเร็งดังกล่าวอายุน้อยกว่าปกติ เช่น ช่วงอายุ 18-40 ปี มีผู้ชายเป็นมะเร็ง หรือมีคนเป็นมะเร็งกลุ่มดังกล่าวหลายมะเร็งในคนเดียวกัน ยิ่งต้องสงสัยความเสี่ยงสูงที่จะถ่ายทอดมะเร็งทางสายเลือดมากขึ้นไปอีก ญาติผู้หญิงสายตรงของคนกลุ่มนี้ยิ่งต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อที่จะคัดกรอง

มะเร็งตั้งแต่ยังไม่มีอาการ และจะไม่รอไปจนถึงอายุ 40 ปี เหมือนผู้หญิงทั่วไป ในบางครอบครัวที่มีความรุนแรงสูงมาก อาจต้องคัดกรองกันตั้งแต่อายุ 18 ปีด้วยซ้ำ

ดังนั้นถ้าต้องสงสัยว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะรับการถ่ายทอดยีน ก็จะมีคำถามว่า จะต้องมาตัดเต้านมทิ้งเหมือนดาราสาวโจลีหรือไม่ คำตอบก็คือ “ไม่” ความเสี่ยงสูงแค่ไหน ก็ยังไม่เกิดโรค จนกว่าจะมีการพิสูจน์ระดับยีน ซึ่งยีนที่ทราบว่า ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมและรังไข่ในปัจจุบัน ได้แก่ ยีน BRCA1 และ BRCA2การตรวจสามารถกระทำได้ด้วยการเจาะเลือด และดึงสายดีเอ็นเอออกจากเม็ดเลือดขาว เพื่อไปทำการถอดรหัสพันธุกรรม แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง ถึงระดับครึ่งแสนบาท คนที่จะรับการตรวจ ก็ต้องมีความเสี่ยงสูงจริง ๆไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่เป็นมะเร็งจะต้องไปตรวจหมด การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และรับคำปรึกษาแนะนำทางพันธุกรรมที่ถูกต้อง จึงจำเป็นที่สุดครับ

ทีนี้ ถ้าตรวจมาแล้ว มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนในระดับยีนแบบโจลี จะทำอย่างไร การมียีนผิดปกติไม่ได้บอกว่าคุณผู้หญิงผู้นั้นจะต้องเป็นมะเร็ง 100% เพียงแต่ว่าความเสี่ยงในช่วงชีวิตนี้ก็จะสูงขึ้นมาก และไม่สามารถบอกได้ว่า

จะเกิดเมื่อไหร่ วิธีการดูแลก็มี 2 อย่าง

1. ตรวจคัดกรองเต้านม รังไข่ ทุก 6เดือน และกำจัดปัจจัยเสี่ยงทุกอย่าง ได้แก่ไม่รับฮอร์โมน ลดความอ้วน ไม่ดื่มเหล้า

2. จะตัดเต้านมและรังไข่ทิ้ง เพื่อป้องกันการเกิดเป็นโรคในอนาคต อย่างที่โจลีทำก็ได้ เพียงแต่คนที่จะทำอย่างนี้ได้ ต้องมีหลักฐานระดับยีนสนับสนุนเท่านั้น

สรุปคือ ไม่ใช่ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมหรือรังไข่ทุกคนจะถ่ายทอดทางพันธุกรรม ไม่ใช่ทุกคนที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะต้องตรวจยีน และไม่ใช่ทุกคนที่ตรวจยีนจะต้องตัดเต้านมทิ้ง เพียงแต่ว่าไม่มีใครทราบเองหรอกครับว่าเราเป็นกลุ่มไหน การปรึกษาแแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ

ดร.นพ.โอบจุฬ ตราชู อายุรแพทย์

และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาโมเลกุล

การแพทย์ / http://www.phyathai.com

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

sithiphong:
โซเชียลทำพิษ... 5 โรคฮิตของคนติดจอ

-http://health.kapook.com/view90153.html-

โพสต์เมื่อ :

โรคฮิตโซเชียล


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          5 โรคฮิตของคนติดจอ ติดแชท หมกมุ่นอยู่กับโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กมาก ๆ ป่วยไม่รู้ตัว มาดูซิมีโรคอะไรบ้าง แล้วเราเองก็เข้าข่ายด้วยหรือเปล่า

          ยุคสังคมออนไลน์ที่แทบทุกคนต้องมีสมาร์ทโฟน คุยกับเพื่อนผ่านเฟซบุ๊กหรือไลน์แทนการโทรศัพท์ สไลด์หน้าจอรับข่าวสารรอบตัวแบบไม่ให้ตกยุค พฤติกรรมแบบนี้แหละที่หอบเอาปัญหาสุขภาพจากความอินเทรนด์มาถึงตัวแบบยกเซต ว่าแต่ชาวโซเชียลมีเดียมักมีปัญหาสุขภาพอะไรมากที่สุดนะ

          สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ได้นำข้อมูลจาก คอลัมน์ ทันโรค ของ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ที่เขาจัดอันดับ 5 โรคฮิตของคนติดโซเชียลมีเดียไว้มาบอกกัน โดย 5 โรคฮิตของคนติดจอ ก็คือ โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก, โรคละเมอแชท, โรควุ้นในตาเสื่อม, โรคโนโมโฟเบีย และโรคสมาร์ทโฟนเฟซ เอ...ฟังชื่อดูก็ประหลาด ๆ ทั้งนั้น งั้นเรามาดูซิว่าแต่ละโรคเป็นอย่างไร แล้วอาการไหนที่เราเข้าข่ายซะแล้ว




1. โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome)

          หลายคนอาจสงสัยว่า เล่นเฟซบุ๊กก็มีเพื่อนตั้งมากแล้วจะเป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างไร แต่อาการนี้เกิดขึ้นได้จริง ๆ เพราะคนเราเมื่อติดอยู่แต่หน้าจอ จิ้ม ๆ กด ๆ คุยกับคนในโลกออนไลน์ ก็กลายเป็นไปเพิกเฉยต่อคนในโลกจริง แถมหลายคนใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาเราว้าเหว่ เหงา เดียวดาย ก็ยิ่งโพสต์เยอะ

          โดย ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ได้เขียนบทความให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก ไว้อย่างน่าสนใจว่า วารสารการแพทย์กุมารเวชศาสตร์ สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ และพบว่า คนที่ถูกเพื่อน ๆ ปฏิเสธหรือเป็นที่รังเกียจในโลกเฟซบุ๊กจะเป็นอันตรายมากกว่าถูกปฏิเสธในโลกแห่งความจริง และหลายรายอาจมีปัญหาซึมเศร้าตามมา

          นั่นเพราะเฟซบุ๊กได้สร้างความเป็นจริงเทียม (artificial reality) ขึ้นมา จากการโพสต์แต่เรื่องดี ๆ แต่เก็บงำเรื่องร้าย ๆ แย่ ๆ ที่อยากปกปิดเอาไว้ เราถึงเห็นแต่คนที่มีชีวิตสมบูรณ์แบบในโลกเสมือนจริงเต็มไปหมด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวเอง ความรู้สึก "ไร้ค่า" จึงเกิดขึ้น

          ถ้าคุณรู้สึกเสียความมั่นใจสุด ๆ เวลาส่งคำร้องไปขอเป็นเพื่อนแล้วไม่ได้รับการตอบรับ เก็บมาคิดว่าทำไมจึงไม่เป็นที่ต้องการ นี่ก็เป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กแล้ว วิธีหลีกหนีอาการนี้ก็คือ ลดการเล่นเฟซบุ๊กลง ทั้งอ่านเรื่องคนอื่น และโพสต์เรื่องตัวเอง จะได้รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น




2. ละเมอแชท (Sleep-Texting)

          อาการนี้ก็คือ ถึงแม้เราจะนอนแต่ก็ยังลุกขึ้นมาพิมพ์เหมือนกับคนละเมอนั่นเอง สาเหตุก็มาจากพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟนเกินเหตุ ทำให้สมองยึดติดกับโทรศัพท์อยู่ทุกขณะจิต แม้กระทั่งเวลานอน หากมีข้อความเข้ามา สมองก็จะปลุกร่างกายที่หลับใหลให้อยู่ในสภาวะละเมอ แล้วกดส่งข้อความไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเราอาจไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำว่าเขียนอะไรไป หรือส่งไปหาคน เพราะอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น แบบนี้ก็เสี่ยงต่อความเข้าใจผิดได้เลยนะเนี่ย

          นอกจากเสี่ยงต่อความเข้าใจผิดแล้ว อาการละเมอแชทยังกระทบสุขภาพด้วย เพราะเมื่อสมองปลุกให้เราตื่นในช่วงนี้ร่างกายก็จะนอนหลับไม่สนิทเต็มที่ เป็นเหตุให้พักผ่อนไม่พอ กระทบมาถึงระบบการทำงานของร่างกาย ทำให้สะสมความเครียด เสี่ยงเป็นโรคอ้วน ฝันร้าย กระทบต่อการเรียนและการทำงานได้เลยล่ะ



3. โรควุ้นในตาเสื่อม

          ปกติเราก็ใช้งานดวงตาหนักอยู่แล้ว และถ้ายิ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเพ่งข้อความในจอสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ก็ยิ่งทำให้ดวงตาของเราก็ทำงานหนักขึ้นแบบคูณสอง ถ้าปล่อยไปนาน ๆ จนมองเห็นหยากไย่ ตาข่าย หรือเส้นอะไรวนไปวนมาเหมือนยุง ปัดเท่าไรก็ไม่โดนสักที แบบนี้ต้องรีบหาหมอแล้ว เพราะนี่คือ "โรควุ้นในตาเสื่อม"

          จะบอกว่าจริง ๆ แล้วโรคนี้มักพบในผู้สูงอายุ เพราะใช้งานดวงตามานานจนเสื่อมไปตามวัย แต่น่าตกใจทีเดียวที่ปัจจุบันพบคนอายุน้อย ๆ เป็นโรคนี้มากขึ้น สาเหตุหลัก ๆ ก็มาจากการแชททั้งวัน จ้องจอทั้งคืน เล่นเกม ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันนาน ๆ ไม่ว่างเว้นนี่เอง พอรู้สึกปวดตาก็คิดว่าคงไม่เป็นอะไรมาก มารู้ตัวอีกทีก็เห็นภาพเป็นคราบดำ ๆ เป็นเส้น ๆ ไปซะแล้ว

          วิธีป้องกันก่อนเป็นโรควุ้นในตาเสื่อมก็ไม่ยากเลย แค่รู้จักพักสายตาเสียบ้าง มองไปในที่ไกล สูดอากาศธรรมชาติให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย หลับตาลงสักครู่ รู้จักใช้งานเทคโนโลยีในมืออย่างพอเหมาะ ก็จะช่วยให้หลีกเลี่ยงโรคนี้ได้แล้ว




4. โนโมโฟเบีย (Nomophobia)

          ชื่อประหลาด ๆ นี้ มาจากคำว่า "no-mobile-phone phobia" แปลตรงตัวก็คือ โรคกลัวไม่มีมือถือใช้ เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มวิตกกังวล

          คิดดูว่าถ้าเราอยู่ในที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือจู่ ๆ แบตเตอรี่โทรศัพท์ดันหมดซะงั้น แล้วเรารู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวาย แสดงว่าเข้าเค้าอาการโนโมโฟเบียแล้วล่ะ ในบางคนเป็นมาก ๆ อาจมีอาการเครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ได้เลย ซึ่งอาการจะหนักเบาขนาดไหนขึ้นอยู่กับแต่ละคน

          สำรวจตัวเองดูหน่อยซิว่า เราหมกมุ่นอยู่กับการเช็กข้อความในมือถือ ชอบหยิบขึ้นมาดูบ่อย ๆ หรือเปล่า หรือทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเตือนจากมือถือจะต้องวางภารกิจทุกอย่างที่อยู่ตรงหน้าแล้วรีบคว้าโทรศัพท์มาเช็กแบบด่วนจี๋ทันใจ ใครเป็นแบบนี้ก็เข้าข่ายโนโมโฟเบียแล้วล่ะจ้า ยิ่งถ้าตื่นนอนปุ๊บเช็กมือถือปั๊บ ห่างจากมือถือไม่ได้เลย หรือใช้เวลาพูดคุยกับเพื่อนในโลกออนไลน์มากกว่าเพื่อนตรงหน้า ก็ยิ่งชัด

          ใครที่มีอาการอย่างที่กล่าวว่า ต้องระวังปัญหาสุขภาพให้มาก ๆ โดยเฉพาะนิ้วล็อก ปวดตา ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ หมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควร เพราะนั่งผิดท่าเป็นเวลานาน ๆ รวมทั้งอาการนอนไม่หลับ และโรคอ้วนที่เกิดจากมัวแต่นั่งเล่นมือถือนาน ๆ ไม่ลุกไปไหนด้วยนะ




5. โรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face)

          โรคฮิตของคนติดแชทที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 5 ก็คือ โรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) หรือโรคใบหน้าสมาร์ทโฟน เกิดจากการที่เราก้มลงมองหน้าจอ หรือจ้องสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตเป็นเวลานานเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อคอเกิดอาการเกร็งและไปเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม

          เมื่อแก้มถูกแรงกดนาน ๆ เข้า ก็จะทำให้เส้นใยอิลาสติกบนใบหน้ายืด จนแก้มบริเวณกรามย้อยลงมา แถมกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากก็จะตกไปทางคางด้วย จนใบหน้าอาจดูผิดแปลกไปจากเดิม และจะเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อถ่ายภาพด้วยอุปกรณ์ของตัวเอง ฟังแล้วน่ากลัวนะเนี่ย หากใครเป็นมาก ๆ เข้าก็ถึงกับต้องศัลยกรรมกันเลยนะ

          สรุปแล้วว่าทั้ง 5 โรคนี้ดูไม่ได้ไกลจากตัวเราเท่าไรเลยนะคะ เพราะทุกคนล้วนใช้โลกออนไลน์ในการติดต่อสื่อสารกันหมด แต่วิธีป้องกันตัวเองให้ห่างจากโรคเหล่านี้ก็ไม่ยากเลย แค่รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม ก้มมองหน้าจอให้น้อยลง เล่นโทรศัพท์ ใช้คอมพิวเตอร์ เล่นเกมให้น้อยลง จะได้ไม่ด่วนป่วยไปซะก่อนไงคะ
 
http://health.kapook.com/view90153.html

sithiphong:
อาการเจ็บปวดตามจุดต่างๆ ร่างกาย บ่งบอกถึงอะไร

-http://guru.sanook.com/27156/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/-


อาการเจ็บปวดเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ มักสร้างความกังวลเพราะนอกจากจะไม่รู้ที่มาแล้ว เรายังไม่อาจเห็นสภาพภายในได้ เรื่องนี้นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ มีข้อมูลมาไขข้อข้องใจโดยเฉพาะอาการปวด 10 จุด ต่อไปนี้



‘เจ็บต้นคอร้าวแขน‘ เจ็บนี้ต้องระวังเส้นประสาทต้นคออาจถูกกดหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ยกของหนักที่ผ่านมาได้ ‘เจ็บแขนร้าวปลายมือ‘ ดูเรื่องเส้นประสาทให้ดีมีสิทธิ์เกิดจากพังผืดไปรัดเส้นประสาทหรือเกิดมาจากศูนย์รวมประสาทที่ต้นคอก็ยังได้

‘ปวดศีรษะร้าวต้นคอ‘ อาจเป็นเพียงกล้ามเนื้อที่เกร็งตึงเวลามีความเครียดธรรมดา แต่ถ้ามีตาพร่าบวกคลื่นไส้อาเจียนด้วยก็ต้องจับตาอาการด้านสมอง ‘ปวดหลังร้าวลงขา‘ น่าจะเกิดจากหมอนรองกระดูกกดเส้นประสาทเป็นหลัก โดยเฉพาะหลังส่วนบั้นเอวเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ การดูว่าปวดหลังถึงขั้นไหนให้ดูอาการร้าวลงขา

‘เจ็บอกวิ่งไปแขนซ้าย‘ ร้ายเสียยิ่งกว่าอกหักเพราะมักเกี่ยวถึงโรคหัวใจขาดเลือด ให้สังเกตอาการปวดว่าเหมือนถูกบีบหรือถูกงูเหลือมตัวใหญ่รัดด้วยหรือไม่ ‘ไอแล้วปวดร้าวลงก้นกบ‘ บางคนเวลาไอหรือเบ่งท้องแรงๆ แล้วมีอาการเจ็บร้าวไปหลังหรือก้นกบเบื้องล่างทุกครั้ง ต้องเฝ้าระวังโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น

‘เจ็บท้องน้อยร้าวลงหน้าขา‘ ในสตรีต้องระวังเรื่องอุ้งเชิงกรานอักเสบ ส่วนในหนุ่มๆ ให้ระวังนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ถ้ามีไข้ร่วมด้วยให้ช่วยระวังการติดเชื้อเป็นหลัก ‘เจ็บท้องส่วนอื่นๆ แล้วร้าวทะลุหลัง‘ อาการเจ็บหน้าไปหลังเช่นนี้ถ้าเป็นที่ตับ คือ ด้านบนขวาให้นึกถึงถุงน้ำดีที่อาจไม่ดีสมชื่อ เพราะนี่เป็นสัญญาณนิ่วในถุงน้ำดีหรือถุงน้ำดีอักเสบ ส่วนถ้าเจ็บตรงกลางร่วมกับไข้สูงให้นึกถึงตับอ่อนอักเสบ (Acute pancreatitis) แบบเฉียบพลัน

ปวดหลัง

‘เจ็บบั้นเอวแถวสีข้างร้าวลงขา‘ ยิ่งถ้าเจ็บบั้นเอวด้านใดด้านหนึ่งแล้วร้าวด้วย ให้นึกถึงก้อนนิ่วในกรวยไตหรือท่อไต ในบางรายอาจมีท่อปัสสาวะอักเสบร่วมกับมีไข้ รู้สึกหนาวและปัสสาวะปนเลือดอีก หากเป็นเช่นนี้แนะให้ช่วยรีบไปตรวจปัสสาวะ เอ็กซเรย์หรืออัลตร้าซาวน์

และสุดท้าย ‘เจ็บตามผื่นแล้วร้าวลงเส้นประสาท‘ การที่มีผื่นเป็นตุ่มน้ำใสแล้วมีอาการแสบร้อนหรือเคยมีประวัติโรคเริม งูสวัด ให้ระวังอาการปวดร้าวไปตามปลายประสาท แม้ไม่มีผื่นแล้วก็อาจทิ้งอาการแสบร้อนไว้ได้ บางรายเจ็บแสบอยู่ตามแนวเส้นประสาทเป็นครั้งคราว

คุณหมอกฤษดา ย้ำว่า สัญญาณเจ็บร้าวทั้งสิบที่ว่ามาเป็นวิธีดูคร่าวๆ เท่านั้น แต่ก็ช่วยทำให้ได้ร่องรอยของโรคที่ซ่อนอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บปวดตามร่างกายทางที่ดีที่สุดคือ พบแพทย์แล้วตรวจหาความผิดปกติให้ทราบชัดเจนชัวร์กว่า

ที่มา – สาระน่ารู้ดีดี.com



sithiphong:
หวิดดับ! รองผอ.กินหูหมู ช็อกหมดสติ 12 ชม



-http://news.sanook.com/1613393/%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%AD.%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9-%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4-12-%E0%B8%8A%E0%B8%A1/-





นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

(15 มิ.ย.) นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน ฝ่ายเวชกรรมสังคม เข้าตรวจอาการนายสุรสิทธิ์ สมยศ รองผู้อำนวยการเขตการศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 อายุ 58 ปี หลังเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลน่าน ด้วยอาการหนาวสั่น เหงื่อท่วมตัว ท้องร่วง อาเจียน หน้ามืด หมดแรง และความดันเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแพทย์ระบุว่าเป็นโรคสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) หรือโรคหูดับ ขณะนี้ได้ให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ และรอดูอาการอย่างใกล้ชิดประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อรักษาตามขั้นตอน

นายสุรสิทธิ์ ให้ข้อมูลกับแพทย์ว่า ไปร่วมงานเลี้ยงฉลองเปิดโรงเรียนที่ ต.สันทะ อ.นาน้อย ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กและปิดไปหลายปี โดยปีการศึกษานี้ได้มีคำสั่งให้เปิดการเรียนการสอนอีกครั้ง จึงจัดงานฉลองเปิดโรงเรียนและไปซื้อหมูมาจากคนในหมู่บ้านมาชำแหละ 1 ตัว เพื่อทำอาหารมาเลี้ยงผู้ร่วมงานกว่า 100 คน ซึ่งได้รับประทานลาบหมูดิบและหมูต้ม โดยเฉพาะช่วงหูและลำคอ ชาวบ้านบอกว่าเป็นส่วนอร่อยที่สุด หลังรับประทานไปแล้วประมาณ 4 ชั่วโมง เริ่มมีอาการหนาวสั่น เหงื่อออก อาเจียน และแขนขวาเริ่มชา จึงรีบเข้าพบแพทย์ทันที จากนั้นก็หมดสติไปนานถึง 12 ชั่วโมง

นพ.พงศ์เทพ อธิบายว่า โรคหูดับเป็นโรคอันตรายมาก หากอาการรุนแรงและถึงโรงพยาบาลช้าอาจถึงขึ้นเสียชีวิตได้ ซึ่งโรคนี้เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีในหมูเท่านั้น หากหมูป่วยจะพบเชื้อนี้มากบริเวณต่อมทอมซิลของหมู คือ ช่วงระหว่างหูและลำคอของหมู โดยผู้รับประทานหมูที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าไปจะมีไข้สูง หน้ามืด เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย อุจจาระร่วง อาเจียน ในรายอาการรุนแรงนอกจากไข้สูงยังติดเชื้อในกระแสเลือด ความดันเลือดลดต่ำอย่างรวดเร็ว เสียการทรงตัว ไม่มีแรง ประสาทหูอักเสบจนกระทั่งสูญเสียการได้ยิน ช็อคและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นเร็วมากภายใน 1-2 วัน ส่วนผู้ที่ได้รับประทานลาบหมูดิบในงานดังกล่าวอีกกว่า 100 คน ต้องเฝ้าระวังอาการ แต่คาดว่าจะปลอดภัยแล้วทั้งหมด เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานและได้รับเชื้อแบคทีเรียน้อย

sithiphong:
เตือน! หน้าฝนนี้ระวัง “โรคฉี่หนู” ระบาด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    21 มิถุนายน 2557 12:18 น.


-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000069839-


แพทย์เตือนหน้าฝนระวังโรคฉี่หนูระบาด แนะเลี่ยงแช่ ดื่มน้ำไม่มีภาชนะปิดเสี่ยงเชื้อปนเปื้อน พบอาการไข้สูง ปวดหัว เลือดออกเยื่อบุตารีบปรึกษาแพทย์


        พญ.กรุณา อธิกิจ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่าโรคที่มากับหน้าฝนและน้ำที่สำคัญ คือ โรคฉี่หนู หรือ เล็ปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน โดยสัตว์ที่เป็นพาหะที่พบบ่อย คือ หนู ไม่ว่าจะเป็นหนูบ้าน หนูท่อ หนูนา หนูพุก หนูตะเภา โดยเชื้อโรคมาจากในปัสสาวะของหนู จึงเรียกโรคนี้ว่า “ฉี่หนู” แต่สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ได้แก่ หมู วัว ควาย แพะ แกะ ม้า นก กระรอก รวมทั้ง สุนัข แเมว ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงใกล้ตัวเรานั้นเอง ซึ่งจะติดต่อเมื่อหนูฉี่ลงในน้ำที่ท่วมขัง แล้วเราไปย่ำลงน้ำ เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล หรือเข้าผ่านมาทางผิวหนังที่เปียกชุ่มจากการแช่น้ำนานๆ ตามซอกนิ้วมือนิ้วเท้า หรือเกิดจากการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน อาจหายใจเอาละอองเชื้อจากของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อ แต่ยังไม่พบการติดต่อจากคนถึงคนโดยตรง ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ หลังได้รับเชื้อ โดยอาการของโรคผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ แบบแรกมีอาการไม่รุนแรง จะพบได้มากสามารถรักษาได้ง่าย อาการของโรคจะคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้หนาวสั่น อาจมีไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด ปวดศีรษะค่อนข้างมาก ตาแดงเลือดออกที่เยื่อบุตา คลื่นไส้ อาเจียน และปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะ ปวดน่องขาทั้ง 2 ข้าง อาจมีอาการปวดหลังและท้อง
       
        แบบที่สอง มีอาการรุนแรงนั้นถึงขั้นเสียชีวิตได้ มีอัตราการเสียชีวิตราว 5-15% โดยที่ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต ตับวาย ไตวายเฉียบพลัน ตับอ่อนอักเสบรุนแรง สับสน เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย จนถึงระบบหายใจล้มเหลว อาจเกิดภาวะเลือดออกง่าย เช่น ผื่น จุดเลือดออกที่ผิวหนัง ไอมีเสมหะปนเลือด เลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มสมอง ทำให้เสียชีวิตในที่สุด หากพบว่าตัวเองมีความผิดปกติดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจเลือกและปัสสาวะและให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วและเหมาะสม อย่างน้อย 7 วัน ในผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการไม่รุนแรง จะให้ในรูปแบบยากิน และรักษาแบบผู้ป่วยนอก ส่วนในผู้ป่วยกลุ่มอาการรุนแรง ต้องนอนโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ดังนั้นเราควรป้องการก่อนที่จะเกิดโรคขึ้นโดยการไม่เดินย่ำน้ำ หรือแช่ในน้ำที่ท่วมขัง ถ้าจำเป็นต้องลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูทยาง หรือถุงมือยางป้องกัน หากสัมผัสกับน้ำท่วมขังให้รีบอาบน้ำหรือล้างผิวด้วยน้ำสบู่ทันที หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาหะโรคฉี่หนู ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ด้วยความร้อน หลีกเลี่ยงอาหารหรือน้ำที่ไม่มีภาชนะปกปิด เพราะอาจมีหนูมากินได้
       
        พญ.กรุณา กล่าวอีกว่า หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บกล้ามเนื้อน่องมาก ร่วมกับมีประวัติ เดินลุยน้ำ หรือมีประวัติ เดินป่า ตั้งแคมป์ ท่องเที่ยวตามแม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบและน้ำตก อย่าซื้อยาปฏิชีวนะทานเอง เพราะอาจเกิดอันตรายจากการแพ้ยาหรือใช้ยาไม่ตรงกับโรค ดังนั้น ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version