อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
sithiphong:
อันนี้ควร save เก็บไว้ครับเพราะเป็นกันเยอะ
ใครมีอาการ...ลองเอาไปใช้ดูครับ
ท่ายืดกล้ามเนื้อท้ายทอย -
http://youtu.be/mkLzLY0Hdjs
ท่ายืดกล้ามเนื้อบ่าและต้นคอ -
http://youtu.be/IjjadrM8-ZA
ท่ายืดกล้ามเนื้อสะบัก -
http://youtu.be/xXfvy9N-pyo
ท่ายืดกล้ามเนื้อคอด้านหน้า -
http://youtu.be/eITtsSDJV_o
ท่านั่งแบบสมดุล สำหรับคนปวดหลัง -
http://youtu.be/XAspVSaqtOo
ท่ายืดกล้ามเนื้อใต้ขาพับ -
http://youtu.be/c9SYYYL309g
สัญญานอันตรายของคนปวดหลัง -
http://youtu.be/sUB96DVpV2w
--------------------------------------------
อันนี้ควร save เก็บไว้ครับเพราะเป็นกันเยอะ
ใครมีอาการ...ลองเอาไปใช้ดูครับ
ท่ายืดกล้ามเนื้อท้ายทอย -
-http://youtu.be/mkLzLY0Hdjs-
ท่ายืดกล้ามเนื้อบ่าและต้นคอ -
-http://youtu.be/IjjadrM8-ZA-
ท่ายืดกล้ามเนื้อสะบัก -
-http://youtu.be/xXfvy9N-pyo-
ท่ายืดกล้ามเนื้อคอด้านหน้า -
-http://youtu.be/eITtsSDJV_o-
ท่านั่งแบบสมดุล สำหรับคนปวดหลัง -
-http://youtu.be/XAspVSaqtOo-
ท่ายืดกล้ามเนื้อใต้ขาพับ -
-http://youtu.be/c9SYYYL309g-
สัญญานอันตรายของคนปวดหลัง -
-http://youtu.be/sUB96DVpV2w-
sithiphong:
ไม้ดีมีประโยชน์ : 'สามสี' ใบรักษาแผล
-http://www.komchadluek.net/detail/20140812/189942.html-
ไม้ดีมีประโยชน์ : 'สามสี' ใบรักษาแผล : โดย...นายสวีสอง
บางพื้นที่เรียกต้น "สามสี" ว่าพุดตาน สามผิว มีถิ่นกำเนิดแถบบ้านเรา ปลูกง่าย ดอกสวยงามมาก สรรพคุณทางยาก็มี ใบแห้งผสมน้ำผึ้งทารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ในวงศ์ MALVACEAE ลำต้นและกิ่งก้านมีสีเทา มีขนปกคลุม
ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ เรียงสลับ ปลายแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบเว้าลึก 3-5 แฉก แผ่นใบสีเขียวค่อนข้างหนา มีขนปกคลุม สากมือ
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอก ปลายกิ่ง มี 5 กลีบเลี้ยง มีทั้งชั้นเดียวและซ้อนกัน กลีบดอกเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิของวัน ตอนเช้าสีขาว กลางวันสีชมพู ตอนเย็นสีชมพูเข้ม
ผล ทรงกลมมีจะงอย ขนาดราว 2 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 5 แฉก เมล็ดรูปไต มีขนยาว
ขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด เติบโตเร็วในดินร่วน ระบายน้ำดี ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน
sithiphong:
10 พฤติกรรมทำจนชิน พากระดูกเสื่อมก่อนวัย
-http://health.kapook.com/view96478.html-
10 พฤติกรรม พากระดูกเสื่อมก่อนวัย (e-magazine)
บุคลิกภาพที่ดีเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง เพราะฉะนั้นในการดำเนินชีวิตของเราสิ่งที่ควรระวังให้มาก ๆ คือพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การทำร้ายบุคลิกภาพ
อย่างเช่น การนั่งไขว่ห้างหรือการสวมรองเท้าส้นสูงจะทำให้ผู้หญิงเดินอย่างมั่นใจ สง่า แต่บางทีการกระทำเหล่านั้นอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อกระดูกในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่ง หรือนอน ก็มีโอกาสที่จะทำลายกระดูกได้ทั้งนั้น แม้จะเสริมให้บุคลิกภาพดีในช่วงปัจจุบัน แต่ทว่า อนาคตอาจจะบั่นทอนบุคลิกภาพของเราไปอีกยาวนาน
สำหรับกระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด เพราะฉะนั้นหากเราไม่ดูแลรักษากระดูก ก็เป็นการทำลายกระดูก ทำร้ายร่างกายตัวเอง
เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาดูกันว่า พฤติกรรมใดบ้างที่จะทำร้ายกระดูกโดยของเราได้โดยไม่รู้ตัว
1. พฤติกรรมการยืนแอ่นพุง/หลังค่อม
กลายเป็นสิ่งที่ทำจนติดเป็นนิสัยสำหรับหลาย ๆ คน ที่มักจะยืนแอ่นพุง หรือไม่ก็เดินหลังค่อม จนทำให้เสียบุคลิกภาพ แถมยังไปทำร้ายกระดูกอีกต่างหาก เพราะพฤติกรรมการยืนแอ่นพุงไปด้านหน้า หรือการยืนหลังค่อมก็จะทำให้กระดูกสันหลังขดงอ ผิดรูปไปได้
การยืนหลังตรงจึงเป็นการยืนที่ดีที่สุดสำหรับการยืนที่ดี คือการแสดงถึงการมีบุคลิกภาพที่ดีของบุคคลนั้น การยืนหลังตรง หน้าอกผาย จะทำให้เราเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดี ดูน่าสนใจ
2. พฤติกรรมการนอนขดตัว/นอนตัวเอียง
เวลาที่แต่ละคนนอน มักจะมีท่านอนประจำของตัวเองที่ทำให้หลับสบาย บางคนชอบนอนหงาย บางคนชอบนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง แต่ไม่ว่าคุณจะนอนในลักษณะไหน การนอนหลับให้เพียงพอในแต่ละวันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือควรนอนหลับอย่างต่อเนื่อง 6-8 ชม.
และเนื่องจากเวลา 6-8 ชม. เป็นเวลาที่นานพอสมควร ลักษณะของท่านอนของคุณจึงส่งผลโดยตรงกับการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะคนที่ชอบนอนขดตัว หรือนอนตัวเอียงที่ส่งผลกระทบกับกระดูกโดยตรง เนื่องจากการนอนที่ผิดรูปทรงของกระดูกจึงเป็นการทำลายกระดูกได้ดีที่เดียว
ท่าในการนอนที่ดีที่สุด คือการนอนหงายจึงเป็นการนอนที่ถูกต้องที่สุด อย่าลืมลองเปลี่ยนท่านอนกันนะคะ
3. นั่งกอดเข่า
การนั่งกอดเข่า เป็นท่านั่งของคนที่จิตตกก็ว่าได้ คิดอะไรไม่ออก เสียใจ ก็ชอบนั่งท่านี้ เด็ก ๆ จะชอบนั่งเวลาไม่ได้ดั่งใจ หากทำบ่อย ๆ จะก่อเป็นพฤติกรรมที่ทำลายกระดูก เพราะทำให้หลังช่วงบน สะบักและหัวไหล่ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงหรือชาได้
นอกจากนี้ยังมีผลต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะถ้ากระดูกคอผิดรูป จะทำให้กล้ามเนื้อคอเกร็ง และจำกัดการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เป็นสาเหตุของการอาการปวดศีรษะ หรืออาจทำให้เป็นไมเกรนเรื้อรังได้ ไม่อยากเสี่ยงภัยก็อย่าลืมควบคุมตัวเองไม่ให้นั่งท่านี้กันนะ
4. สะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว
ในชีวิตของคนเราในปัจจุบัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเดินทางเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องทำเป็นประจำอยู่ทุกวัน และการเดินทางนั้นคงไม่มีใครเดินทางตัวเปล่าแน่นอน ไม่ว่าจะเดินทางใกล้หรือไกล ทุกคนก็ย่อมมีสัมภาระ มีสิ่งของที่จะต้องพกพากันทั้งนั้น และกระเป๋าก็เป็นสิ่งหนึ่งที่คนแทบทุกคนจะต้องมี
แน่นอนว่าการสะพายกระเป๋านั้น หากเป็นกระเป๋าสะพายข้าง ไม่ใช่กระเป๋าเป้ที่สะพายหลังแล้ว โดยทั่วไปเราจะสะพายไปข้างที่ตัวเองถนัด สะพายด้วยแขนเดียว ซึ่งพฤติกรรมการสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียวนั้นทำให้ไหล่ของเราต้องรับน้ำหนักอยู่ข้างด้วย และยิ่งเป็นพฤติกรรมที่ทำบ่อย ๆ ทุกวัน ก็จะเป็นการทำลายกระดูกได้อย่างที่เราไม่ทันคิดกันเลย
5. นั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น
มีสาว ๆ หนุ่ม ๆ จำนวนไม่น้อย ที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าเอกสาร หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน และก็ย่อมจะเกิดอาการเมื่อยล้ากันบ้าง จึงทำให้บางคนชอบการนั่งเก้าอี้แบบครึ่งก้น ซึ่งหารู้ไม่ว่าพฤติกรรมการนั่งเก้าอี้ไม่เต็มก้นนี้ จะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวแคบ กระดูกต้องรับน้ำหนักตัวมาก มีผลต่อกระดูกที่จะค่อย ๆ เสื่อมลง
แต่ถ้าเรานั่งให้เต็มก้นเต็มเบาะ คือเลื่อนก้นให้เข้าในสุดจนติดพนักพิง จะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานน้อยและเกิดการรองรับน้ำหนักตัวได้เต็มที่ ดังนั้นถ้าหากอยากให้มีกระดูกที่แข็งแรงไปอีกนาน ก็ลองปรับท่านั่งในการทำงานใหม่ค่ะ
6. นั่งหลังงอ หลังค่อม
คงจะเป็นไปได้ยากที่เราจะหลังตรงกันตลอดเวลา อาจจะต้องมีบ้างที่แอบเผลอนั่งหลังงอ หรือนั่งหลังค่อม แต่การนั่งแบบนี้จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแลคติค ทำให้มีอาการปวดเมื่อย แล้วปัญหากระดูกผิดรูปก็จะตามมา
การนั่งหลังตรงเป็นท่านั่งที่ถูกวิธีที่สุด เพราะฉะนั้นหากไม่อยากเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี เราควรฝึกฝนให้นั่งหลังตรงจนติดเป็นนิสัย
7. หิ้วของหนักด้วยนิ้ว
ในทุก ๆ การซื้อของหรือหิ้วของ เราจะต้องใช้นิ้วมือในการหิ้ว และการใช้นิ้วหิ้วของหนักบ่อย ๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะจริง ๆ แล้ว กล้ามเนื้อในมือเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก หน้าที่หลักของนิ้วคือการใช้หยิบ, จับโดยไม่หนัก แต่หากต้องใช้จับหรือหิ้วหนัก ๆ จะทำให้เส้นเอ็นมีการเสียดสี และเกิดพังผืดในที่สุด ยิ่งหิ้วหนักมาก ๆ จะทำให้รั้งกล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ และเกี่ยวโยงไปถึงกระดูกคอ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งมากกว่าปกติ มีผลต่อการทรุดของกระดูกและกดทับเส้นประสาทได้
เพราะฉะนั้น ลองหาวิธีหิ้วของที่เราจะถนอมกระดูกนิ้วมือมาใช้กัน เช่น การใส่ของลงกระตร้าหรือรถเข็นนะคะ
8. ใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง
สำหรับรองเท้าส้นสูง ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า คือ accessories สำคัญสำหรับผู้หญิง ซึ่งยากนักที่จะเลี่ยงได้ เพราะสาว ๆ หลายคนจำเป็นต้องสวมใส่ในการทำงาน
การใส่รองเท้าส้นสูงนั้น จะทำให้ดูเป็นคนที่มีความสง่า และมีบุคลิกภาพที่ดี เสริมสร้างความมั่นใจแก่ผู้หญิง แต่ทว่าการใส่รองเท้าส้นสูงนานเกินไป หรือบ่อยเกินไปก็จะเป็นการทำลายกระดูกได้ด้วย เนื่องจากจะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลังและการมีโครงสร้างร่างกายที่ผิด
ดังนั้นแล้ว หากวันไหนที่ไม่จำเป็นต้องใส่รองเท้าส้นสูง สาว ๆ อาจจะใส่รองเท้าส้นเตี้ยแทน เพราะแค่มีความมั่นใจ บุคลิกภาพก็ดีได้แล้ว
9. ยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว
เวลาที่เราต้องยืนตรงนาน ๆ ก็ต้องรู้สึกเมื่อยกันบ้าง และเราก็จะพยายามหาท่ายืนที่ช่วยลดอาการเมื่อยลงบ้าง อย่างเช่นการยืนพักขาข้างเดียว
การยืนพักขาด้วยการลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียวเป็นการลงน้ำหนักตัวที่ขาข้างเดียว จะเป็นผลให้กระดูกเชิงกรานบิดเบี้ยวทำให้กระดูกสันหลังคด
สำหรับท่ายืนที่ถูกต้องก็คือ ท่ายืนที่ลงน้ำหนักที่สองขาพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลของร่างกาย ไม่ทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป แต่หากเมื่อย อยากจะพักขา ก็ทำได้ แต่พักได้ไม่นานค่ะ สลับขากันไป
10. นั่งไขว่ห้าง
ถือเป็นพฤติกรรมที่คาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว เพราะสาว ๆ มักจะนิยมนั่งไขว้ห้างเป็นประจำ หรือบางทีหนุ่ม ๆ หลายคนก็เป็น อาจเป็นเพราะนั่งแล้วทำให้ดูขาสวย ทำให้นั่งแล้วดูสง่า มั่นใจ แต่หลายคนคงจะยังไม่รู้ว่าการนั่งไขว่ห้างนั้นเป็นท่านั่งที่จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการกระดูกคดโดยไม่รู้ตัว นี่จึงเป็นการทำลายกระดูกอย่างยิ่งทีเดียว
การนั่งตัวตรง หลังตรง คือวิธีที่ถูกต้องค่ะ ซึ่งจะทำให้กระดูกของเราจะได้อยู่กับเราอย่างสวยงามไปนาน ๆ
หากรู้แล้วว่า พฤติกรรมไหนที่เสี่ยงต่อกระดูกเสื่อมแล้ว ก็ให้คุณสังเกตตัวเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาดูแลรักษากระดูกของเรากันดีกว่า ให้กระดูกนั่นอยู่เสริมบุคลิกภาพกับเราไปอีกนาน ๆ ค่ะ
ลิขสิทธิ์บทความของ emaginfo.com
ติดตามบทความ สุขภาพ หรืออ่าน แมกกาซีน
sithiphong:
3 กลุ่มโรคมากับน้ำท่วม ไม่ระวังอาจถึงตาย!
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2557 15:16 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000096745-
กรมควบคุมโรคเตือน 3 กลุ่มโรคที่มากับน้ำท่วม เสี่ยงบาดเจ็บ เจ็บป่วย จนถึงเสียชีวิต แนะดูแลสุขภาพ พักผ่อน ออกกำลังกายให้เพียงพอ จัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะโรค พบป่วยไข้เกิน 2 วันให้รีบพบแพทย์
วันนี้ (24 ส.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึง ช่วงฤดูฝนอาจมีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมได้ในบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพตัวเอง เนื่องจากอาจเจ็บป่วย บาดเจ็บ และเสียชีวิต จากกลุ่มโรคที่มากับน้ำท่วมได้ มี 3 กลุ่ม คือ 1.โรคติดเชื้อ 7 โรค ได้แก่ โรคผิวหนัง โรคตาแดง โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ และโรคไข้ฉี่หนู บางโรคอาจมีความรุนแรงน้อย เช่น โรคผิวหนัง จำพวกน้ำกัดเท้า เชื้อรา แผลพุพองเป็นหนอง เกิดจากการย่ำน้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาด ส่วนบางโรคมีอาการรุนแรง และทำให้เสียชีวิต เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งปีนี้ระบาดรุนแรงกว่า 2-3 ปี โดย 8 เดือนมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 60 ราย ประชาชนกลุ่มเสี่ยงควรรีบไปรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ฟรีที่สถานพยาบาลรัฐ
นพ.โสภณ กล่าวว่า 2. การบาดเจ็บที่เกิดจากสัตว์ แมลงมีพิษกัดต่อย เช่น งู ปลิง แมลงและสัตว์อื่นๆ เป็นต้น เพราะสัตว์เหล่านี้จะหนีน้ำท่วมขังขึ้นมาหลบบนที่สูง ถ้าถูกงูหรือสัตว์พิษกัด ต้องตั้งสติให้มั่น ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด (ถ้ามี) ห้ามกรีดแผล ห้ามดูดแผล ห้ามใช้ไฟ หรือไฟฟ้าจี้ที่แผล ห้ามประคบน้ำแข็ง ห้ามพอกสมุนไพร ห้ามดื่มสุรา แต่ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานบริการสุขภาพที่ใกล้ที่สุด และ 3. อุบัติเหตุ ได้แก่ จมน้ำ ไฟฟ้าดูด วัตถุแหลมคม โดยเฉพาะประชาชนที่ประกอบอาชีพทางน้ำ เช่น หาปลา ต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม พักอาศัยในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ไม่ควรลงเล่นน้ำในช่วงน้ำท่วม อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณที่น้ำท่วมขัง ให้ขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นที่สูง จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด อย่าปลอดให้อยู่ตามลำพัง ถ้าเดินทางควรเดินทางเป็นกลุ่ม และสวมชูชีพหรือเตรียมอุปกรณ์อื่นที่ช่วยในการลอยตัวในน้ำ เป็นต้น
“ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพมากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ จัดการสิ่งแวดล้อมรอบบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะโรค กำจัดขยะและแอ่งน้ำขัง หากป่วยมีไข้สูงเกิน 2 วันไม่ลดควรรีบพบแพทย์” อธิบดี คร. กล่าว
sithiphong:
อันตรายและโรคของ ′สังคมก้มหน้า′ที่คุณควรรู้ไว้ ?
-http://campus.sanook.com/1373249/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89/-
โรค′เท็กซ์เนค′ อาการของ′สังคมก้มหน้า′
โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ pairat@matichon.co.th
อันที่จริงเรื่อง "เท็กซ์เนค" ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่พูดถึงกันมา 2-3 ปีแล้ว ที่ผมหยิบกลับมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งเป็นเพราะว่าตอนนี้มันกำลังกลายเป็น "โกลบอล ซินโดรม" คือออกอาการกันแพร่หลายไปทั่วโลก ตามการแพร่ระบาดของอุปกรณ์พกพาสารพัดตั้งแต่ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เรื่อยไปจนถึงอีบุ๊กรีดเดอร์
ทั้งหลาย
ก่อนหน้านี้อุปกรณ์เหล่านี้ถูกจำกัดการใช้งานด้วยการเชื่อมต่อแต่ตอนนี้เมื่อสามารถเชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลาเนื้อหาที่มากับหน้าจอก็หลากหลายมากขึ้น ดึงดูดใจมากขึ้น ทั้งไลน์ ทั้งเกม ทั้งอีบุ๊กสารพัด สัดส่วนการใช้งานต่อวันก็เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล ไปไหนมาไหนก็เจอแต่ผู้คนก้มหน้าลงหาจออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นบนรถไฟฟ้า รถประจำทาง ร้านอาหาร
หนักๆ เข้าเดินไปไหนมาไหน ยังไปในลักษณะ "ก้มหน้า" จนผู้ใหญ่ท่านหนึ่งค่อนแคะให้เข้าหูว่าสังคมยุคนี้กลายเป็น "สังคมก้มหน้า" ไปแล้ว
"เท็กซ์เนค" เป็นคำที่ นายแพทย์ดีน ฟิชแมน แพทย์กายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญด้านบำบัดอาการของกระดูกสันหลังชาวอเมริกัน คิดขึ้นเพื่อใช้เรียกกลุ่มอาการของโรคที่เกิดขึ้นจากการ "ก้มหน้า" บ่อยๆ ซ้ำๆ และนานเกินปกตินี้ อาการที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่ การปวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ กล้ามเนื้อคอ ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดทุกวัน หนักเข้าก็อาจพาลไปถึงเกิดการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนบน ซึ่งถือว่าสาหัสเลยทีเดียวครับ
ที่น่ากังวลก็คือ การก้มหน้าในลักษณะนี้บ่อยๆ นานๆ จะส่งผลต่อบุคลิกท่าทาง และการเติบโตของร่างกายในเด็กและวัยรุ่นให้ออกมาบิดเบี้ยวโค้งงอจนต้องมาหาทางแก้กันยุ่งยากในภายหลัง
ที่มาของโรคนี้คือการก้มนั่นแหละครับในทางการแพทย์เขาบอกว่าเพียงแค่การก้มศีรษะลงไปข้างหน้า ผิดจากท่าปกติตามธรรมชาติ (คือเมื่อหูของเราอยู่ในแนวเดียวกับไหล่) เพียงแค่นิ้วเดียว น้ำหนัก
ของศีรษะก็จะทำให้ กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูกและเส้นประสาทในบริเวณไหล่ คอ ต้องแบกรับภาระหนักเพิ่มขึ้นมากแล้ว น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วยการถ่วงไปข้างหน้าจะไปดึงรั้งกล้ามเนื้อเส้นเอ็นทั้งหมดให้ต้องแบกรับภาระมากขึ้นตามไปด้วยอาการตึงจะเกิดขึ้นตามมาถ้าทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้งก็จะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ทั้งกับกล้ามเนื้อ เอ็น และเส้นประสาทในบริเวณดังกล่าว
ดร.ฟิชแมนเคยแสดงให้เห็นฟิล์มเอกซเรย์ของวัยรุ่นอเมริกันที่แสดงชัดเจนว่ากระดูกสองสามชิ้นบริเวณข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งงอไปด้านหน้าแบบผิดธรรมชาติเพราะเหตุนี้มาแล้ว
ข้อมูลที่ได้จากผลการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อปี2000ระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วศีรษะของคนเราจะหนักประมาณ 5 กิโลกรัม การก้มไปข้างหน้าทุกๆ 2 เซนติเมตร จะทำให้ไหล่ต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ถ้าก้มลงไป 6 เซนติเมตร น้ำหนักของศีรษะที่ไหล่ คอ และกระดูกสันหลังที่ต้องรองรับนั้นจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 20 กิโลกรัม
น้ำหนักขนาดนั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมการก้มนานๆ ซ้ำๆ อยู่ทั้งวันถึงก่อให้เกิดอาการได้มากขนาดนั้น
คำแนะนำของแพทย์เพื่อการป้องกันไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อของเท็กซ์เนคอย่างง่ายๆก็คือ ละสายตาจากจอ เปลี่ยนท่าจากการก้มหน้า ปล่อยให้ศีรษะกลับคืนสู่ท่าธรรมชาติในทุกๆ 15 นาที เงยหน้าขึ้น เหลียวไปรอบๆ ถ้ายังจำเป็นต้องจ้องจออยู่ก็ยกมันให้ขึ้นมาอยู่ในระดับสายตา เพื่อลดการแบกรับน้ำหนักของคอลงเป็นระยะๆ
ถ้าเป็นไปได้ก็ควรออกกำลังกาย ในแบบที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่ได้ผ่อนคลาย จะเป็นโยคะก็ได้ หรือจะเป็นกายบริหารแบบพิลาทีสที่มุ่งเน้นไปที่การทำให้ร่างกายของเราอยู่ในท่าทางที่ถูกต้องก็ได้ ทำให้ได้ทุกวันจะป้องกันปัญหานี้ได้
ใครที่ใช้มาตรการประดานี้แล้วยังไม่ได้ผล แสดงว่า เท็กซ์เนคของคุณค่อนข้างไปทางรุนแรงแล้ว ควรไปพบแพทย์ อย่างน้อยๆ ก็อาจต้องใช้ยาจำพวกคลายกล้ามเนื้อช่วย แต่ถ้าอาการเกิดไปกระทบทำให้กลุ่มประสาทในบริเวณดังกล่าวถูกบีบ กดอยู่นานๆ จนเกิดอาการปวดประสาท ก็จัดอยู่ในขั้นต้องให้แพทย์ที่เชี่ยวชาญดูแลเป็นการเฉพาะจะดีที่สุด
แล้วก็ต้องลดการตกไปเป็นส่วนหนึ่งของ"สังคมก้มหน้า"ลงให้เหลือน้อยที่สุดแล้วละครับ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version