อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
sithiphong:
ปัญหาการนอนกรน
26 พ.ย. 56 05.25 น.
-http://guru.sanook.com/26744/-
การนอนกรนถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติ หากทางเดินหายใจโล่งดีไม่ควรมีเสียงกรนเกิดขึ้น
แต่อันตรายของการกรนจะมากหรือน้อย ขึ้นกับว่าสุขภาพของบุคคลนั้นเป็นอย่างไร และมีการหยุดหายใจ (Apnea) ร่วมด้วยหรือไม่
ดังนั้นเราจึงอาจแบ่งการนอนกรนได้เป็น ๒ ชนิดคือ
กรนธรรมดา (Habitual Snoring)
อาจเรียกว่า “กรนรำคาญ” ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ไม่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย
อันตรายของการกรนจึงเกิดจากการสร้างความรำคาญให้แก่คนข้างเคียง
จนในบางรายอาจถึงขั้นมีปัญหากับคู่สมรส ต้องแยกห้องนอน
กรนที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย (Obstructive Sleep Apnea)
เป็นชนิดที่มีอันตราย เนื่องจากในช่วงที่หยุดหายใจ ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในกระแสเลือดจะลดลงเป็นช่วงๆ ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น นอนไม่อิ่ม สะดุ้งตื่นบ่อยๆ ปวดศีรษะช่วงเช้า ง่วงนอนในตอนกลางวัน เผลอหลับในบ่อยๆ สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย และจากการศึกษาในปัจจุบันยังพบว่าผู้ที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วยในระดับรุนแรงจะมีอัตราการตายสูงกว่าประชากรทั่วไป และเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆที่สำคัญได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต
การรักษา
ขึ้นกับชนิดของการนอนกรน และระดับความรุนแรง
โดยถ้ามีการหยุดหายใจร่วมด้วย ไม่ควรปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจแบ่งการรักษาออกได้เป็น
1. การรักษาทั่วไป หลีกเลี่ยงสาเหตุเสริมต่างๆ ทำได้โดย ลดน้ำหนัก, ออกกำลังกาย, ปรับการนอน ไม่นอนหงาย, งดดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์, หลีกเลี่ยงยาบางประเภท รวมทั้งรักษาโรคที่เกี่ยวข้อง เช่น ภูมิแพ้ โรคในโพรงจมูก ซึ่งต้องรักษาก่อนที่จะไปรักษาโดยใช้วิธีอื่น
2. การรักษาโดยใช้เครื่องเพิ่มความดันของอากาศในช่องทางเดินหายใจ ซึ่งจะทำให้ช่องทางเดินหายใจถ่างกว้างออกจึงไม่เกิดเสียงขณะหายใจ และไม่เกิดการหยุดหายใจเครื่องมือดังกล่าวเรียกว่า Nasal CPAP (continuous positive airway pressure) การรักษาโดยใช้ Nasal CPAP นี้ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดีในผู้ป่วยเกือบทุกรายหากผู้ป่วยสามารถทนใช้เครื่องได้ แต่ผู้ป่วยบางส่วนไม่สามารถทนใช้เครื่องได้เนื่องจากรู้สึกรำคาญที่ต้องใช้เครื่องขณะนอนหลับ
3. การผ่าตัด มีหลายวิธีขึ้นกับระดับความรุนแรง ความพอใจของผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้งความชำนาญของแพทย์ผู้รักษา ตัวอย่างของการผ่าตัดได้แก่
- การผ่าตัดบริเวณต่อมทอนซิลและลิ้นไก่ เพื่อลดขนาดของเนื้อเยื่อบริเวณนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้นและการสั่นสะเทือนขณะหลับน้อยลงจึงลดเสียงกรนและลดการหยุดหายใจที่เกิดจากอุดกั้นของทางเดินหายใจ
- การใช้คลื่นความถี่สูง เพื่อลดขนาดของเนื้อเยื่อบริเวณ เพดานอ่อน, ลิ้นไก่, โคนลิ้น, ต่อมทอนซิล และทำให้เนื้อเยื่อกระชับขึ้น
- การผ่าตัดเพื่อลดความอ้วน เนื่องจากความอ้วนเป็นสาเหตุของการกรนและการอุดกั้นทางเดินหายใจ แต่ควรพิจารณาเฉพาะในรายที่อ้วนมากๆเท่านั้น
- การผ่าตัดยืดขากรรไกรและแก้ไขโครงสร้างของใบหน้า ได้ประโยชน์ในรายที่การกรนเกิดจากโครงสร้างของใบหน้าผิดปกติ
- การเจาะคอ ใช้ในรายที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่นแล้ว โดยเฉพาะในรายที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจรุนแรงและไม่สามารถใช้ Nasal CPAP ได้
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
sithiphong:
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการระบาด”ไวรัสเมอร์ส”
-http://ch3.sanook.com/51511/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%B2-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2-2-
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการระบาด”ไวรัสเมอร์ส” นาทีที่ 2.58
1.คนติดเชื้อ (ทั้งในตะวันออกกลางและเอเชีย) ไม่ใช่คนที่เดินตามท้องถนน ส่วนใหญ่ติดจากโรงพยาบาล อย่างน้อย 25 เคส ในเกาหลีใต้เป็นคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือ ใกล้ชิดกับชายที่ติดเชื้อคนแรก ซึ่งรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล
2.ยังไม่มีข้อสรุปว่า ไวรัสแพร่กระจายได้อย่างไร แพร่มาทางอากาศหรือไม่ (ถ้าแพร่ทางอากาศได้ มันจะอ้อยอิ่งอยู่ในอากาศได้เป็นชั่วโมง) หรือไวรัสติดอยู่ตามผ้าปูเตียงหรือสิ่งของที่ผู้ป่วยใช้
3.การแพร่ระบาดในเกาหลีใต้ (ถ้าไม่นับในซาอุฯ) มีลักษณะต่างจากประเทศอื่น เพราะกระจายไปเยอะกว่า จริง ๆ แล้วมีหลายประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ หรือในยุโรป เช่น เนเธอแลนด์ แต่ประเทศเหล่านั้นไม่มีการแพร่กระจาย ติดกันอยู่แค่คนสองคน
ก่อนหน้าที่จะมีเคสเกาหลีใต้ มีความเชื่อว่าเมอร์ส ติดไม่ง่าย เพราะจะติดหรือส่งผลต่อระบบหายใจส่วนล่างของมนุษย์ซึ่งยากมากที่จะแพร่เชื้อไปสู่คนต่อไป แต่กรณีเกาหลีใต้ไม่เป็นเช่นนั้น
4.ยังมีข้อมูลหรือความรู้ไม่มากว่าไวรัสตัวนี้กลายพันธุ์ได้หรือไม่ ( แต่เป็นเรื่องปกติที่ไวรัสจะกลายพันุธ์) สำหรับ เคสเกาหลีใต้ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังมุ่งศึกษาตรงนี้ ที่อยากรู้คือ Genetic Order หรือการเรียงลำดับของยีนของเจ้าตัวที่แพร่ในเกาหลีใต้ ว่ามันมีหน้าตาอย่างไร ซึ่งตอนนี้เกาหลีใต้ได้ส่งตัวอย่างให้ห้องแลป ที่เนเธอแลนด์แล้ว
ลักษณะของการระบาดในเกาหลีใต้ เรียกว่า Super Spreading Event ซึ่งต่างจากการระบาดของประเทศอื่น ( ยกเว้นชาอุดิอาระเบีย)
วิธีป้องกันที่คนเกาหลีใต้กำลังรณรงค์กันอยู่ ได้แก่
1.หากมีอาการเหล่านี้ ให้ต้องสงสัยว่าอาจติดเชื้อไวรัสเมอร์ส คือ ไข้สูงเกิน 38 องศา ไอ หายใจติดขัด
2.ขณะไอหรือจาม ควรใช้กระดาษชำระหรือผ้าเช็ดหน้า
3.ควรล้างมือบ่อย ๆ
4.ไม่ควรใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสเมอร์ส
5.พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ต่างๆ เช่น อูฐ ค้างคาว แพะ
6.ไม่ควรดื่มนมอูฐที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ และ หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้ออูฐที่ปรุงไม่สุก
ขณะที่ สำนักข่าวที่ประเทศเกาหลี ก็ได้ออกคำแนะนำ ด้านการรับประทานอาหาร ที่จะสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเมอร์สโดยควรทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ ปลา นม และเต้าหู้ นอกจากนี้ อาหารที่เป็นที่นิยม อย่างกิมจิและถั่วนัตโตะ ก็ได้รับการแนะนำว่าควรทานด้วย รวมถึงยังควรเน้นทานผัก ผลไม้ เพื่อเสริมสร้างวิตามิน
sithiphong:
ไวรัสเมอร์ส อาการแบบนี้ต้องสงสัย ป่วยแล้วรีบไปโรงพยาบาล
-http://health.kapook.com/view121897.html-
ไวรัสเมอร์ส อาการแสดงของโรคมีอะไรบ้าง ที่ทำให้เราต้องฉุกคิดว่าอาจจะป่วย พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น ก่อนโรคไวรัสเมอร์สจะคร่าชีวิต
ไวรัสเมอร์สดูเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิดเมื่อพบผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศไทยแล้ว แม้กระทรวงสาธารณสุขจะออกมายืนยันว่าไม่ใช่เรื่องน่าตื่นตระหนก เพราะพบผู้ป่วยได้เร็วและขณะนี้ยังไม่มีการระบาดในประเทศไทย แต่เราทุกคนจะเพิกเฉยเรื่องนี้ไม่ได้ ต้องรู้ว่า ไวรัสเมอร์ส คืออะไร โดยเฉพาะอาการที่ต้องสงสัยเข้าข่ายไวรัสเมอร์ส เพราะหากพบเจอขึ้นมาจะได้รักษาทัน
ไวรัสเมอร์ส อาการเด่น ๆ มีอะไรบ้าง
1. มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดทั่วไป หรือไข้หวัดใหญ่
2. มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
3. มีอาการไอ หอบ หายใจลำบากตามความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจน
4. ผู้ป่วยประมาณ 30-40% จะมีอาการท้องเสีย มวนท้อง คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการเด่นชัดที่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดา
5. มีอาการปอดบวม
หากใครมีอาการในลักษณะนี้มากกว่า 2 ข้อขึ้นไป และมีประวัติเดินทางมาจากประเทศในตะวันออกกลาง หรือเคยสัมผัส อยู่ใกล้ชิดกับคนที่เดินทางมาจากตะวันออกกลาง ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที เพราะโรงพยาบาลมีเครื่องมือในการตรวจสอบได้ดีกว่าคลินิก ซึ่งถ้าใครไปช้าจนมีอาการรุนแรงแล้ว อาจเสียชีวิตได้จากอาการปอดอักเสบรุนแรง หรือไตวาย
ไวรัสเมอร์ส ป้องกันเบื้องต้นอย่างไรดี
การป้องกันไวรัสเมอร์สก็ไม่ต่างจากอาการไข้หวัดทั่วไป นั่นก็คือการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง และมีสุขอนามัยที่ดี อย่างเช่น
1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อย ๆ หากไม่มีสบู่สามารถใช้เจลล้างมือได้
2. หากมีอาการไอหรือจาม ให้ใช้ทิชชูหรือผ้า ปิดจมูกและปาก จากนั้นนำทิชชูทิ้งขยะ
3. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสดวงตา จมูก และปาก หากยังไม่ได้ล้างมือ
4. หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์ อาทิ จูบ หรือการมีสัมพันธ์ร่วมกันกับคนที่มีอาการป่วย
5. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่ต้องมีการสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ประตู หรือโทรศัพท์
6. ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลาง
7. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมาก
8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
9. ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือมีอาการปอดบวม
10. หากมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค ควรดูแลสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่เลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เช่น ฟาร์ม ตลาด เป็นต้น
11. หากเดินทางกลับจากประเทศแล้วมีอาการไข้และไอเกิน 2 วัน ขอให้รีบเดินทางมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที และแจ้งประวัติการเดินทางต่อแพทย์ด้วย
อย่าเพิ่งตื่นตระหนกกับโรคไวรัสเมอร์ส แม้จะเป็นโรคที่ยังไม่มียาต้านไวรัสจำเพาะต่อเชื้อนี้ในการรักษา แต่ถ้าหากป่วยแล้วรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ก็สามารถรักษาตามอาการแบบประคับประคองจนกว่าการอักเสบในระบบทางเดินหายใจจะลดน้อยลงจนหายเป็นปกติได้
sithiphong:
อย.แนะรับมือ "ยุงลาย" ภัยร้ายหน้าฝน
-http://health.sanook.com/659/-
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า ขณะนี้ก้าวเข้าสู่ฤดูฝน เป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยวิธีเบื้องต้นที่จะป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก ต้องระมัดระวังไม่ให้โดนยุงกัด ซึ่งหนึ่งในวิธีป้องกันอย่างง่าย คือ การใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง ซึ่งนิยมใช้รูปแบบทาและฉีดพ่นผิวหนัง ออกฤทธิ์โดยการไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง จึงสามารถใช้ในการไล่ยุงแต่ไม่สามารถฆ่ายุงได้
ขอบคุณภาพประกอบ : http://www.ebay.com/gds/Don-t-Let-Mosquitoes-Bug-You-This-Summer-/10000000205249210/g.html?roken2=ti.pU3RlcGhhbmllIFJvc2U=
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการไล่ยุง จัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านหรือทางสาธารณสุข ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ซึ่งวิธีการเลือกซื้อแตกต่างกันตามชนิดของสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีสาร DEET ,Icaridin ,Elthyl butylacetyl aminopropionate ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย.
ดังนั้นควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ฉลากมีการแสดงเลขทะเบียน อย.วอส. ในกรอบเครื่องหมาย อย. และ แสดงระยะเวลาในการป้องกันยุง ส่วนผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีน้ำมันตะไคร้หอม หรือ citronella oil เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุง ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียน แต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่อ อย. จึงควรเลือกซื้อที่มีการแสดงเลขที่รับแจ้งบนฉลาก ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพควรมีฤทธิ์ในการไล่ยุงลายบ้านได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
การใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันไม่ให้ยุงกัด แต่ควรใช้อย่างระมัดระวัง อ่านฉลากและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ควรเก็บในที่มิดชิดห่างจากเด็ก อาหาร และ สัตว์เลี้ยง ปิดฝาให้สนิทและอย่าให้ถูกแสงแดด เปลวไฟ หรือ ความร้อน ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี (ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์) สำหรับผลิตภัณฑ์ไล่ยุงประเภทแป้งหรือโลชั่น ห้ามนำไปทาแทนแป้งหรือโลชั่นทั่วไป ควรใช้เฉพาะจำเป็น อย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจำ
เนื้อหาโดย : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
sithiphong:
อย. เตือน! ชาสมุนไพร ไม่ใช่ยา รักษาโรคไม่ได้
-http://health.sanook.com/691/-
กรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวในสื่อ เกี่ยวกับชาสมุนไพร ที่อ้างว่าใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน อย. มีความห่วงใย ขอเตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณรักษาโรค เนื่องจาก ชาสมุนไพร จัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา จึงไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรค แนะผู้บริโภคเลือกซื้อชา สมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐานตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนด และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชา สมุนไพรที่ฉลากระบุเครื่องหมาย อย. พร้อมเลขทะเบียนในกรอบ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณี ที่มีการเผยแพร่ข่าวในสื่อ เกี่ยวกับชาสมุนไพร โฆษณาอ้างสรรพคุณว่าสามารถบรรเทาอาการของ โรคสะเก็ดเงินได้นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแล ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอเตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อ คำโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรค ได้ เนื่องจากชาสมุนไพร จัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา จึง ไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรคชาสมุนไพร จัดเป็นอาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ. 2547 เรื่อง ชาสมุนไพร ซึ่งกำหนดไว้ว่า สถานที่ผลิตหรือนำเข้า ต้องปฏิบัติตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ใน การผลิตและเก็บรักษาอาหารในส่วนของผลิตภัณฑ์ จะต้องผลิตจากส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ระบุไว้ใน บัญชีแนบท้ายประกาศฯ เรื่อง ชาสมุนไพร หรือตามรายชื่อที่ อย. ประกาศเพิ่มเติมเท่านั้น และ อนุญาตให้นำพืชสมุนไพรมาผ่านกรรมวิธีอย่างง่าย เฉพาะการทำแห้งและลดขนาดให้เล็กลงด้วยการ ตัด สับ หรือบดเท่านั้น เพื่อจุดมุ่งหมายในการบริโภคโดยการต้มหรือชงกับน้ำเท่านั้น ต้องไม่มี จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีสารเป็นพิษจากจุลินทรีย์ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช สารปนเปื้อน หรือสารพิษชนิดอื่นในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่มียาแผนปัจจุบันหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อ จิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษ การแสดงฉลากต้องมีข้อความภาษาไทย แสดงชื่อผลิตภัณฑ์ เลขสารบบอาหาร (อย.) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ/นำเข้า น้ำหนักสุทธิ ส่วนประกอบที่ สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนัก วันเดือนปีที่หมดอายุ หรือ วันเดือนปีที่อาหารยังมีคุณภาพ ข้อมูล สำหรับผู้แพ้อาหาร เป็นต้น และการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ถ้าเผยแพร่เฉพาะท้องถิ่นหรือจังหวัด สามารถ ยื่นขออนุญาตได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่หากเป็นการเผยแพร่ทั่วประเทศ จำเป็นต้องขอ อนุญาตต่อ อย. และต้องไม่มีการอ้างสรรพคุณในการบำบัด บรรเทารักษาหรือป้องกันโรค และไม่ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือหลอกลวงผู้บริโภค สำหรับโรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ การรักษาจึงต้องมีการวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทาง และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ชาสมุนไพรไม่ สามารถช่วยให้หายจากโรคได้รองเลขาธิการ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร ด้วย การ อ่านฉลากอาหาร ก่อนซื้อควรสังเกตวันที่ผลิต วันที่ควรบริโภคก่อน สภาพภายนอกของ บรรจุภัณฑ์ต้องสมบูรณ์ ไม่มีรอยบุบหรือฉีกขาด มีการเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม และอย่า หลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างว่าสามารถให้ผลในการบำบัด บรรเทารักษาหรือป้องกันโรค หากผู้บริโภคพบ เห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ขอให้ร้องเรียนมา ได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือผ่าน Oryor Smart Application หรือ สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่กระทำผิดต่อไป
******* กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 18 มิถุนายน 2558 ข่าวแจก 76 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 0 2590 7117 , 7123โทรสาร 0 2591 8474 http://www.fda.moph.go.th
แหล่งข่าวโดย » สำนักสารนิเทศ
เนื้อหาโดย : Sanook!
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version