อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ

<< < (8/33) > >>

sithiphong:
2 กฎเหล็กป้องกัน "ภาวะเลือดเป็นกรด"
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 พฤศจิกายน 2556 20:38 น.

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000148534-


    ปกติเลือดของคนเราจะมีความเป็นด่างอยู่นิดๆ คือมีค่า pH อยู่ที่ประมาณ 7.2-7.4 ซึ่งจะนับว่าเป็นคนที่มีสุขภาพ ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ แต่ทุกวันนี้คนเราเจอกับ "ภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis หรือ hypo-Alkalinity)" มากขึ้น ซึ่งภาวะดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการหิว อาหารไม่ย่อย มีอาการร้อนและรู้สึกเจ็บในคอหอยและช่วงอก มีอาการวิงเวียน อาเจียน ปวดศีรษะ โรคประสาทต่างๆ และอาการนอนไม่หลับ
       
       ทั้งนี้ ภญ.สุมาพร ไทยเจริญ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับภาวะเลือดเป็นกรดเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจในจุลสารโรงพยาบาลสระบุรี ซึ่ง ASTVผู้จัดการออนไลน์ ขอนำมาเผยแพร่ให้แฟนนานุแฟนโต๊ะข่าวคุณภาพชีวิต ดังนี้ ภาวะเลือดเป็นกรด มักพบได้บ่อย แต่ไม่ได้แสดงอาการที่บ่งบอกชัดเจน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจากโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ภาวะไตวาย โรคไต ความผิดปกติในการขับกรด ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม รวมทั้งผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานด้วย นอกจากนี้ ยังเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันด้วย!!
       
       พฤติกรรมประจำวันที่ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ได้แก่ 1.การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เต็มไปด้วยสารเคมี ฝุ่นละออง สารพิษ 2.การรับประทานอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่าเป็นกรดและล้วนเป็นอาหารที่แต่ละคนโปรดปรานทั้งนั้น เช่น อาหารฟาสต์ฟูด น้ำตาล ชา กาแฟ เนื้อสัตว์ แป้ง ผลไม้รสหวาน ไขมัน ถั่ว เม็ดมะม่วงฟิมพานต์ และ 3.ความเครียด ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะไปสะสมจนร่างกายมีปริมาณกรดในเลือดเพิ่มขึ้น หรือเมื่อปริมาณสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างในเลือดลดลง แม้ว่าจะเป็นระดับที่เล็กน้อยก็ส่งผลให้ความสามารถในการขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้รับลดลง เกิดการสะสมของกรดในเนื้อเยื่อ จึงเรียกสภาวะเช่นนี้ว่า "ภาวะเลือดเป็นกรด" และจะทำให้ร่างกายเสื่อมลงช้าๆ และรบกวนการทำงานของร่างกาย

สำหรับวิธีการป้องกันภาวะเลือดเป็นกรด สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1.รับประทานอาหารให้ร่างกายได้รับอาหารที่เป็นด่าง (อัลคาไลน์) เพราะเมื่อมีการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ร่างกายก็จะลดการเสื่อมสภาพลง ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างภาวะด่างในร่างกายขึ้นมา การรับประทานอาหารที่มีความเป็นด่างมากๆ จะช่วยให้ร่างกายทำงานดีขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปการรับประทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราได้รับอาหารที่เป็นทั้งกรดและด่าง โดยที่โภชนาการอุดมคติที่ควรจะเป็นนั้น จะต้องประกอบด้วย อาหารที่เป็นด่าง (อัลคาไลน์) 75% และกรด (อะซิติก) 25% ของปริมาณอาหารทั้งหมดในแต่ละมื้อ
       
       อาหารที่เป็นด่าง จะมีค่า pH ระหว่าง 7.0 - 9.0 อาทิ แตงกวา สาหร่าย แคนตาลูป เลมอน (มะนาวฝรั่ง) กีวี แอปเปิ้ล อะโวคาโด ถั่วเหลือง บร็อคโคลี เยื่อไฝ่ ฟักทอง ข้าวโพด อัลมอนด์ ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ผักบุ้ง แครอต ขึ้นฉ่าย กระเทียม ลูกแพร์ องุ่นแห้ง ฝรั่ง ปวยเล้ง ชาเขียว กะหล่ำปลี แตงโม และมะเขือเทศ เป็นต้น
       
       ส่วนอาหารที่เป็นกรด จะมีค่า pH ระหว่าง 5.0 - 7.0 อาทิ น้ำตาลสังเคราะห์ เนื้อวัว เนื้อหมู น้ำอัดลม แป้งทำขนม เบียร์ สุรา ป็อปคอร์น อาหารแช่แข็ง น้ำสมสายชู เนื้อแกะ เนื้อแพะ ไก่งวง กาแฟ บะหมี่สำเร็จรูป เนยสังเคราะห์ ข้าวขัดสี อาหารกระป๋อง สีผสมอาหารสังเคราะห์ ช็อกโกแลต ผงชูรส อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน เป็นต้น
       
       และ 2.การออกกำลังกายที่เหมาะสม จะทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่เป็นด่าง แต่ต้องระมัดระวังอย่าออกกำลังกายมากจนเกินไปคือ เลยจุดความอ่อนล้า เพราะจะเกิดภาวะเลือดและเนื้อเยื่อในร่างกายมีความเป็นกรดมากเกินไป นอกจากนี้ เซลล์ที่ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ จะส่งผลให้การหายใจระดับเซลล์บกพร่องจนค่า pH ต่ำลง และจะหันไปใช้กระบวนการสลายกลูโคสแบบไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งผลที่ได้จะกลายสลายจะได้เป็นกรดแล็กติก จึงทำให้คนรู้สึกแย่กับการออกกำลังกายที่หักโหมจนเกินไป
       
       ทั้งนี้ เนื่องจากกระบวนการล้างสารพิษในร่างกายทำงานไม่สมดุลกับกรดที่มีมากเกินไปในเนื้อเยื่อ และหากไม่มีการออกกำลังกายเลย กรดและสารพิษที่ถูกสร้างขึ้นมาในร่างกาย ก็จะไม่ถูกกำจัดออกไป ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้เช่นกัน
       
       หากอยากหลีกเลี่ยงภาวะเลือดเป็นกรด ก็ควรรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง อย่ารับประทานอาหารที่เป็นกรดมาก และต้องออกกำลังกายให้เหมาะสม เท่านี้ก็จะช่วยให้มีร่างกายที่แข็งแรง ไม่มีภาวะเลือดเป็นกรดให้ยุ่งยากใจอีกต่อไป

---------------------------------------------------------------------------

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์......ป้องกันและรักษาได้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 พฤศจิกายน 2556 13:23 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000148527-


 โดย...รศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล
       สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
       คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
       
       เอชไอวี เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องในคน ส่วนโรคเอดส์ หมายถึงกลุ่มอาการของภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ไม่ได้เป็นแต่กำเนิด ปัจจุบันนี้การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศไทย จากรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกประมาณ 35 ล้านคนเมื่อสิ้นปีพ.ศ. 2555 สำหรับในประเทศไทยมีรายงานผู้ติดเชื้อเอชไอวีเกือบ 6 แสนคน และเสียชีวิตประมาณ 3 หมื่นคน ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีเท่ากับร้อยละ 1.4 แต่ในความเป็นจริงคาดว่า มีผู้ติดเชื้อสะสมประมาณ 1 ล้านคน ตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อรายแรกในประเทศเมื่อปี 2530
       
       การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์เป็นโรคที่รักษาได้แต่ไม่หายขาด เป็นโรคติดต่อเรื้อรังเหมือนโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน แต่ 2 โรคหลังนี้ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ ทางหลักของการติดต่อที่พบมากที่สุดในประเทศไทยคือ ทางเพศสัมพันธ์ทั้งที่เป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศ ส่วนการติดต่อทางอื่นที่พบได้คือ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน รวมถึงการสักและจากมารดาสู่ทารก หลังจากได้รับเชื้อเอชไอวีในช่วงแรกผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลยก็ได้ ผู้ติดเชื้อครึ่งหนึ่งอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นเอง แม้ไม่ได้รับการรักษาและจะเข้าสู่ระยะติดเชื้อที่ไม่มีอาการ
       
       เนื่องจากเชื้อไวรัสมีการแบ่งตัวตลอดเวลาจึงทำให้เม็ดเลือดขาวซีดีสี่ ซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคลดต่ำลงไปเรื่อยๆ หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ระยะมีอาการเช่น น้ำหนักลด, ฝ้าขาวในปาก, ท้องเสียเรื้อรังหรือมีตุ่มคันขึ้นตามแขนขา และระยะสุดท้ายคือ เอดส์ ซึ่งเป็นระยะที่เม็ดเลือดขาวซีดีสี่ต่ำมากและหรือมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนเช่น วัณโรคหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา เป็นต้น ซึ่ง 2 ระยะหลังนี้ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์และได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี
       
       นอกจากการให้ยาเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ภูมิคุ้มกันต่ำมากแล้ว หัวใจสำคัญที่สุดของการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีคือ การรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี การใช้ยาอย่างน้อย 3 ชนิดรวมกันเป็นสูตรยาที่เหมาะสมและถูกต้อง จะนำไปสู่การรักษาการติดเชื้อเอชไอวีที่ควบคุมได้คือ ไม่สามารถตรวจพบไวรัสในเลือด ทำให้มีภูมิคุ้มกันดีขึ้นหรือจำนวนเม็ดเลือดขาวซีดีสี่สูงขึ้น มีอุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสลดลง อัตราตายลดลงและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เนื่องจากยังไม่มียาต้านเอชไอวีชนิดใดที่สามารถรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดหรือยับยั้งการดำเนินของโรคได้นานตลอดไป

   
การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์......ป้องกันและรักษาได้

       ดังนั้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีจึงต้องกินยาทุกวันตลอดชีวิต ในปัจจุบันได้มีการพัฒนายาชนิดใหม่ๆ ที่กินง่าย มีผลข้างเคียงน้อย หรือเป็นแบบรวมเม็ดที่กินวันละ 1 เม็ด และมีราคาถูกลงกว่าเดิมมาก รวมไปถึงมีการพัฒนารูปแบบยาให้เป็นแบบฉีดและยาที่ออกฤทธิ์ในนาน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยที่จะพยายามทำให้โรคหายขาด ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 2 หลักการที่อาจจะเป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้คือ การรักษาเร็วตั้งแต่ที่มีการติดเชื้อใหม่ๆ แต่ปัญหาคือผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ทราบว่าตนเองติดเชื้อเมื่อมีอาการหรือติดเชื้อมานานแล้ว และการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งทั้ง 2 หลักการนี้ยังคงต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
       
       เนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวียังเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาดในขณะนี้ การป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ วิธีที่ยังมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์คือ การใช้ถุงยางอนามัย ทั้งถุงยางอนามัยสำหรับเพศชายและถุงยางอนามัยสำหรับเพศหญิง แต่ถุงยางอนามัยสำหรับเพศหญิงนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากมีราคาแพงและใช้ไม่สะดวก ส่วนการป้องกันการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกคือ การให้ยาต้านเอชไอวีแก่มารดาที่ติดเชื้อและการให้ยาในเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งมีประสิทธิภาพลดการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกได้เหลือน้อยกว่าร้อยละ 2 แต่ปัญหาที่พบคือ มารดามาฝากครรภ์ช้าหรือไม่ได้ฝากครรภ์ จึงไม่ได้รับยาต้านเอชไอวีเพื่อการป้องกัน จึงยังพบเด็กที่มีการติดเชื้อรายใหม่อยู่เรื่อยๆ
       
       การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ที่ติดยาเสพติดชนิดฉีดคือ การใช้เข็มฉีดยาที่สะอาดและไม่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น แต่การที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่เป็นการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงเป็นข้อมูลที่แสดงว่ามีการใช้ถุงยางอนามัยลดลง ผู้วิจัยหลายกลุ่มจึงได้มีการพัฒนาและวิจัยวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีใหม่ๆ เพื่อเสริมกับประสิทธิภาพของการใช้ถุงยางอนามัย โดยในช่วง 2-3 ปีนี้มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หลายการศึกษาโดยเฉพาะการใช้ต้านเอชไอวีที่ใช้รักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีมาเป็นเครื่องมือในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนที่จะได้รับเชื้อในผู้ที่มีความเสี่ยง
       
       มีหลายการศึกษาที่แสดงว่าเมื่อผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี เช่น เป็นชายรักชาย ผู้ที่ติดยาเสพติดชนิดฉีดหรือผู้ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวีแต่มีคู่ที่ติดเชื้อเอชไอวี กินยาต้านเอชไอวีชนิดเดียวกับที่ใช้รักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะมีการติดเชื้อเอชไอวีลดลง โดยยาต้านเอชไอวีมีประสิทธิภาพประมาณร้อยละ 40-50 แต่การกินยาต้านเอชไอวีนี้เป็นการป้องกันเสริมหรือร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนายาต้านเอชไอวีเป็นรูปแบบเจล เพื่อให้ผู้หญิงที่ยังไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวีใช้ใส่เข้าไปในช่องคลอด ทั้งก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องมือป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอย่างแรกที่ผู้หญิงสามารถเลือกใช้ได้ในกรณีที่ผู้ชายไม่ยอมใส่ถุงยางอนามัย แม้ว่าประสิทธิภาพของเจลชนิดนี้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีไม่สูงมากคือ ประมาณร้อยละ 40 และยังขึ้นกับความสม่ำเสมอในการใช้เจล
       
       นอกจากนี้ ยังมีหลักการที่ใช้ยาต้านเอชไอวีรักษาผู้ติดเชื้อและในขณะเดียวกันยังเป็นเครื่องมือในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีไปสู่คู่ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อ หมายถึงเมื่อให้การรักษาการติดเชื้อเอชไอวีคนนั้นๆ แล้ว จะทำให้ปริมาณเชื้อเอชไอวีในเลือดลดลง ส่งผลให้ปริมาณเชื้อเอชไอวีในสิ่งคัดหลั่งที่อวัยวะเพศลดลง และลดการติดต่อของเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งหลักการนี้สามารถลดการติดเชื้อไปสู่คู่ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวีได้สูงถึงร้อยละ 96 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
       
       โดยสรุป การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์สามารถป้องกันได้ โดยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และการป้องกันโดยวิธีต่างๆ ที่ขึ้นกับพฤติกรรมเสี่ยงนั้น ในปัจจุบันยังมีการศึกษาวิจัยและพัฒนายาใหม่ๆ รวมไปถึงการวิจัยที่จะทำให้การรักษาเป็นแบบหายขาด อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักได้รับการวินิจฉัยช้า ไม่ได้มีการตรวจเลือดคัดกรองโดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยง รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลให้ได้รับการรักษาช้า ซึ่งอาจจะทำให้มีผลการรักษาที่ไม่ได้หรือเกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนตามมา


sithiphong:
10 ความรู้เรื่องเอดส์

-http://campus.sanook.com/1370317/10-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B9%8C/-

สภากาชาดไทยให้ความรู้เรื่องเอดส์และการตรวจเอดส์ ไว้หลายประการ ดังนี้

1.เอดส์ ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน และการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกับผู้อื่น

2.เอดส์ สามารถป้องกันได้โดยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือโดยการเลิกเสพยา หรือโดยการใช้เข็มฉีดยาที่สะอาดทุกครั้งที่เสพยา แต่ก็มีคนไทยติดเชื้อใหม่ปีละเกือบ 200,000 รายคนที่ติดเชื้อใหม่ติดมาจากคนที่ติดเชื้ออยู่ก่อน แต่ไม่รู้ตัว เพราะไม่เคยไปตรวจ หรือไม่มีอาการอะไร

3.คนที่ติดเชื้ออาจไม่มีอาการอะไรเลยเป็นปีๆ หรืออาจมีอาการป่วยขึ้นมากะทันหัน จนเสียชีวิตได้

4.การตรวจ Anti - HIV เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหาเชื้อเอชไอวี (เอดส์) โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ สามารถตรวจพบได้หลังจากรับเชื้อมาแล้ว 2-6 สัปดาห์

5.ถ้าอยากตรวจพบให้เร็วขึ้น เช่นภายหลังรับเชื้อมาเพียง 3-7 วัน ต้องตรวจด้วยวิธี Nucleic Acid Technology (NAT) ปัจจุบันคลินิกนิรนามให้บริการตรวจด้วยวิธี NAT ทุกราย ถ้าการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) ด้วยวิธีแรกแล้วไม่พบ6.การติดเชื้อคนไทยทุกคน ทุกสิทธิ สามารถตรวจหา Anti - HIV ได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศไทย โดยตรวจฟรีได้ปีละ 2 ครั้ง ตามชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)

7.ใครบ้างที่ควรตรวจเอดส์? ทุกคนที่ติดยาเสพติดโดยการฉีด และทุกคนที่เคย หรือกำลังมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยแม้เพียงครั้งเดียว ทั้งกับคนที่รู้จัก (เช่น สามี หรือภรรยาของตัวเอง) หรือไม่รู้จัก ถือว่ามีพฤติกรรมที่มีโอกาสติดเอดส์ เพราะเราไม่รู้ว่าคนที่เรามีเพศสัมพันธ์ด้วยนั้นเคยมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเอดส์มาก่อนหรือเปล่า ดังนั้น ว่าไปแล้วคนเกือบทุกคนสมควรจะตรวจเอดส์อย่างน้อยสักครั้งหนึ่งในชีวิต

8.ก่อนการตรวจเอดส์ทุกครั้ง ผู้ตรวจควรมีข้อมูลและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์และการตรวจเอดส์ ซึ่งอาจหาได้จากการขอรับคำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือหาอ่านได้จากแหล่งข้อมูล เช่นสายด่วน 1663 หรือที่ www.trcarc.org หรือ www.adamslove.org

9.ปัจจุบัน คนที่ติดเชื้อไม่ต้องป่วย หรือเสียชีวิตจากเอดส์อีกแล้ว ถ้ารู้ตัวแต่เนิ่นๆ และรักษาแต่เนิ่นๆ ถ้ารู้ตัวเร็วและรักษาเร็ว อาจไม่ต้องกินยาไปตลอดชีวิต

10.คนที่ติดเชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ในสังคมร่วมกับคนอื่นได้ โดยไม่เป็นภัยหรือเป็นภาระกับใครจึงเป็นประโยชน์และไม่น่ากลัวที่เราจะไปตรวจเอดส์กัน

อย่างน้อยก็สักครั้งในชีวิต ตรวจเพื่อให้รู้ว่าเราไม่ติดเชื้อ ชีวิตจะได้ก้าวไปอย่างมั่นใจ

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

----------------------------------------------------------------------------------------



มีตกขาว อย่าพึ่งตกใจ

-http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7_%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%88/-

พ.อ.ผศ.น.พ .ธนบูรณ์   จุลยามิตรพร   ได้ให้ข้อแนะนำไว้ว่า
         ตกขาว เป็นของเหลวใด ๆ ที่ไหลออกมานอกช่องคลอด แต่ไม่ใช่เลือด ของเหลวดังกล่าวส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นจากช่องคลอด ปากมดลูก และอวัยวะข้างเคียงบริเวณปากช่องคลอด ลักษณะของตกขาว จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทั้งในขณะที่อยู่ในภาวะปกติ หรือกำลังเป็นโรคอยู่

ภาวะตกขาวที่ปกติเป็นอย่างไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร
           ตามปกติแล้วในสตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ (อีกนัยหนึ่ง คือ สตรีที่อยู่ในช่วงอายุที่ยังมีประจำเดือน หรือมีฮอร์โมนเพศหญิงเจริญเต็มที่) จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแตกต่างกันไปตามระยะของประจำเดือน การเปลี่ยนแปลงนี้ จะมีผลต่อการลักษณะของเหลวที่สร้างขึ้นมาจากอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์สตรี ดังเช่น ในช่วงกึ่งกลางรอบประจำเดือน หรือระยะใกล้เคียงกับการตกไข่ ซึ่งเป็นเวลาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ทำให้ในช่วงเวลานี้ จะมีตกขาวลักษณะค่อนข้างเหลวใสๆ ปริมาณมากกว่าระยะเวลาอื่น ส่วนตกขาวในระยะเวลาอื่นจะมีสีขาวขุ่นคล้ายแป้งเปียก  นอกจากนั้นแล้ว ตกขาวที่ปกติควรจะไม่คัน และไม่มีกลิ่น ถ้าตกขาวของท่านมีลักษณะดังที่กล่าวมานี้ถือว่าปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา อย่างไรก็ตาม สตรีแต่ละท่านจะมีปริมาณตกขาวแตกต่างกันไป บางท่านอาจมีปริมาณตกขาวมากจนเปื้อนชุดชั้นในอยู่หลายวันในแต่ละเดือน แต่สำหรับบางท่านอาจมีปริมาณน้อยจนไม่รู้ว่ามีตกขาวเลย

ภาวะตกขาวที่ผิดปกติเป็นอย่างไร มีสาเหตุจากอะไร
        ตกขาวผิดปกติจะมีลักษณะที่ต่างออกไปจากที่กล่าวมาข้างต้น จะมีสาเหตุใหญ่อยู่ 2 ประเภท คือ สาเหตุจากการติดเชื้อ และ สาเหตุจากการไม่ติดเชื้อ

ตกขาวที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ
        ตกขาวจากสาเหตุนี้ เกิดได้จากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา และพยาธิในช่องคลอด ตกขาวประเภทนี้ หรือตกขาวบางชนิดจะมีลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะตัว เป็นต้น

ตกขาวที่มีสาเหตุจากการไม่ติดเชื้อ
        ตกขาวผิดปกติประเภทนี้ มีสาเหตุได้จาก การระคายเคืองหรือแพ้สารเคมี จากมะเร็งในอวัยวะสืบพันธุ์สตรี (เช่น มะเร็งของปากมดลูก ช่องคลอด ท่อนำไข่) รวมทั้งเกิดจากการมีสิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด

ท่านจะทำอย่างไร? ในกรณีที่เกิดปัญหาตกขาว
         ท่านที่ประสบปัญหาตกขาวที่มีลักษณะปกติดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ท่านก็ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาแต่อย่างไร เพียงแต่ควรมาพบสูตินรีแพทย์ของท่าน เพื่อตรวจภายในพร้อมทั้งตรวจมะเร็งปากมดลูกประจำปีแต่ถ้าหากว่าท่านมีอาการตกขาวที่มีลักษณะผิดปกติ กล่าวคือ มีสี กลิ่นผิดไปจากปกติหรืออาจมีอาการคันร่วมด้วย ก็ควรจะได้รับการตรวจและรักษาให้ถูกต้องตามสาเหตุ



ที่มาข้อมูล : vibhavadi.com
ที่มารูปภาพ : www.tlcthai.com


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


“บารากุ ” ภัยร้าย! ภายใต้ความหอมหวาน

-http://club.sanook.com/14594/%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B8-%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89-



ช่วงหลังมักเห็นภาพ วัยรุ่น คนหนุ่มสาว ที่นิยมนั่งตามสถานที่ท่องเที่ยว และมักจะสั่ง บารากุ มานั่งสูบกัน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นแฟชั่น หรือเข้าใจว่า บารากุ นั้นมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ หรือด้วยเหตุผลใดก็ตามที่คิดจะสูบมัน อยากให้ทุกคนลองคิดใหม่ค่ะ เพราะว่าการสูบ บารากุ ที่มีกลิ่นหอมหวานนั้น มันมีภัยร้ายแอบแฝงอยู่ ซึ่งบางทีอาจมากกว่าบุหรี่หลายเท่าตัว

ซึ่งอันตรายจาก บารากุ นั้น เราจะแบ่งออกได้เป็นข้อๆ ดังนี้ค่ะ

- เมื่อสูบ บารากุ ประมาณหนึ่งเดือน ผู้สูบจะเริ่มติด จะรู้สึกกระสับกระส่ายเล็กน้อย คิดอะไรไม่ออก

- บารากุ มีโทษกว่าบุหรี่ถึง 6 เท่า

- สูบ บารากุ 1 ห่อ เท่ากับ การสูบบุหรี่ถึง 20 มวน

- เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งไม่น้อยไปกว่าการสูบบุหรี่

- ใน บารากุ ประกอบด้วยเป็นสารอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ ในระดับสูง

- การสูบ บารากุ นาน 45 นาที จะผลิตสารน้ำมันดิน (ทาร์) มากกว่าการสูบบุหรี่ 5 นาที ถึง 36 เท่า

- อาจก่อให้เกิดโรคติดต่อ หากใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น วัณโรค

จากโทษที่อันตรายของบารากุนั้น จึงส่งผลให้เกิดการผลักดันออกกฎหมายควบคุมยาสูบชนิดนี้ในไทย หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท แต่จากการสำรวจกลับพบว่ามอระกู่ก็ยังมีขายตามสถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืนอย่างเปิดเผย

นอกจากนั้น เรายังได้อ่านเจอข้อมูลจาก นพ.โสภณ เมฆธน ยังกล่าวว่า “ควันที่ผ่านน้ำลงไป ยังคงมีสารพิษในระดับสูงทั้งคาร์บอนมอนอกไซด์ โลหะหนัก และสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง  การสูบบารากู่แต่ละครั้งมักจะใช้เวลาสูบนาน ผู้สูบอาจสูดควันมากกว่าผู้สูบบุหรี่ทั่วไปถึง 100 มวน” เลยทีเดียว

ซึ่งถ้าใครที่ชื่นชอบการสูบ บารากุ ล่ะก็ ก็อยากขอให้ลด ละ เลิก กันเถอะนะคะ เพราะร่างกายจะได้ไม่เป็นอันตรายและเสียสุขภาพด้วยค่ะ

 

Credit ภาพ : sri.cmu.ac.th , Wikipedia

sithiphong:
คนไทยเป็นมะเร็งตับกว่า 2 หมื่นราย แนะเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง

-http://health.kapook.com/view77682.html-


คนไทยเป็นมะเร็งตับกว่า2หมื่น-เลี่ยงปิ้งย่าง (ไอเอ็นเอ็น)
 
           อธิบดีกรมอนามัย เผย พบผู้ป่วยมะเร็งตับในไทย 23,410 ราย แนะประชาชนหลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง

           วันที่ 4 ธันวาคม 2556 ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยสถิติขององค์การอนามัย ปี 2553 พบผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย 23,410 ราย และเสียชีวิต 20,334 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 55 คนต่อวัน ซึ่งเกิดจากประชาชนนิยมกินอาหารปิ้งย่างหรือรมควันเป็นประจำ และเสี่ยงต่อการได้รับสารอันตราย 3 ชนิด ได้แก่

           สารไนโตรซามีน ที่พบในปลาหมึกย่าง ประเภทแหนม ไส้กรอก แฮม ที่มีสีแดงผิดปกติ

           สารพัยโรลัยเซต พบมากในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร ปิ้ง ย่าง บางชนิดมีฤทธิ์ร้ายแรงทางพันธุกรรมมากกว่าสารอะฟลาทอกซิน ตั้งแต่ 6-100 เท่า

           สารพีเอเอช หรือสารกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก เป็นชนิดเดียวกับที่เกิดในควันไฟ ควันบุหรี่ เตาเผาเชื้อเพลิงในโรงงาน พบในบริเวณที่ไหม้เกรียมของอาหาร เช่น หมูย่างติดมัน โดยสารนี้จะมีมากในบริเวณที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง หากรับประทานเข้าไปเป็นประจำจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ

           ทั้งนี้ ประชาชนควรเลือกเนื้อสัตว์เฉพาะส่วนหรือที่มีไขมันติดน้อยอยู่ที่สุด ก่อนปิ้งย่าง เพื่อลดไขมันที่จะไปหยดลงบนถ่าน และควรใช้ถ่านที่อัดเป็นก้อน หรือใช้ฟืนที่เป็นไม้เนื้อแข็ง ที่สำคัญ ควรใช้ใบตองห่ออาหารก่อนจะทำการปิ้งย่าง และหลังปิ้งย่าง ควรหั่นส่วนที่ไหม้เกรียมออกให้มากที่สุด


ไอเอ็นเอ็น

sithiphong:
4 เรื่องควรเลี่ยงกระตุ้น “ไมเกรน”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 ธันวาคม 2556 20:15 น.

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000150988-


 พอเอ่ยถึง “ไมเกรน” ก็พาลให้คิดถึงอาการปวดหัวขึ้นมาโดยฉับพลัน เพราะไมเกรนเป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะเพศหญิงในวัยเจริญพันธุ์ การปวดหัวไมเกรนนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตและสมรรถนะในการทำงานของคนวัยนี้สูญเสียไป
       
       สาเหตุเกิดจากมีการกระตุ้นต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ซึ่งทำหน้าที่รับความรู้สึกที่บริเวณเยื่อหุ้มสมองและหลอดเลือดใหญ่ภายในกระโหลก เกิดการหลั่งของสารเคมีต่างๆ ไปกระตุ้นให้เกิดเป็นการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดใหญ่ที่ติดกับเยื่อหุ้มสมองขยายตัวเกิดเป็นความปวดขึ้นมา

 สำหรับอาการที่บ่งบอกว่า “คุณ” กำลังปวดศีรษะไมเกรนก็คือ
       
       1.ผู้ป่วยประมาณ 60% จะปวดที่ข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ ส่วนอีก 35% จะปวดสลับข้างไปมา และที่เหลือจะปวด 2 ข้างพร้อมกัน
       
       2.ระดับความปวดรุนแรงปานกลางถึงมาก จนไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามปกติได้
       
       3.ลักษณะการปวดเป็นแบบตุ๊บๆ ในบริเวณที่มีหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น ขมับซ้ายและท้ายทอย
       
       4.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
       
       5.อาการปวดจะแย่ลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมและดีขึ้นเมื่อพักผ่อน
       
       และ 6.ตาสู้แสงไม่ได้ ไม่ชอบเสียงดัง
       
       ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการปวดจะคงอยู่นาน 4-72 ชั่วโมง ส่วนความถี่ของอาการอาจเป็นหลายครั้งต่อเดือนหรือปีละ 1-2 ครั้ง
       
       โรคปวดศีรษะไมเกรนแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ คือ ไมเกรนแบบไม่มีอาการเตือน ซึ่งจะพบได้บ่อยกว่าประมาณ 85% และไมเกรนแบบมีอาการเตือน จะเกิดขึ้นใช่วงก่อนหรือหลังปวดไม่เกิน 1 ชั่วโมงและคงอยู่นาน 15-30 นาที โดยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
       
       เห็นแสงวูบวาบ ซิกแซก หรือเงามืดขยายวงที่มุมข้างหนึ่งของลานสายตา เจ็บหรือเหน็บชาร่างกายครึ่งซีก และพูดผิดปกติและอ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก
       
       ทั้งนี้ อาการไมเกรนในเด็ก อการปวดศีรษะอาจไม่ชัดเจน แต่จะมีอาการนำเด่น เช่น อาเจียนหรือปวดท้อติดต่อกันโดยไม่มีสาเหตุอื่น
       
       ไมเกรนถือเป็นโรคเรื้อรัง โดยธรรมชาติของโรคอาการจะดีขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาการของโรคอาจรุนแรงขึ้น ทำให้ต้องใช้ยาก้ปวดมากเกินขนาด โดยในรายที่มีอาการไม่บ่อย หรือน้อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน อาจรับประทานยาแก้ปวดเป็นครั้งคราวและควรมาพบแพทย์เมื่อมีอาการปวด ดังนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 55 ปี หรือขณะตั้งครรภ์ มีอาการปวดนานเกิน 72 ช่วโมง มีอาการปวดบ่อยกว่า 2 เดือนต่อครั้ง และเกิดร่วมกับไข้ ผื่นผิวหนัง คอแข็ง ชักกระตุก ซึมลง ตามัว เห็นภาพซ้อน และแขนอ่อนแรง
       
       การรักษาปวดศีรษะไมเกรน หากเป็นการรักษาอาการปวดระยะเฉียบพลัน จะใช้ยาแก้ปวดทั้งชนิดออกฤทธิ์เร็วหรือออกฤทธิ์ยาวนานต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังสามารถให้ยาป้องกันอาการปวดได้ ซึ่งจะช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการลงได้ภายหลังการรักษาไปแล้ว 1-2 เดือน สำหรับการรับประทานยานั้นควรรับประทานยารักษาอาการปวดทันทีที่เกิดอาการปวด จะทำให้อาการปวดทุเลาลงเร็ว และม่ควรรับประทานยาชนิดนีก่อนที่จะมีอาการปวด จะทำให้เกิดการใช้ยาที่ไม่ถูกวิธี และทำให้ติดยาแก้ปวดได้
       
       สำหรับสิ่งที่ควรเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนคือ
       
       1.อาหาร เช่น แอลกอฮอล์ กาแฟ ผงชูรส สารแทนความหวาน เนยแข็ง ช็อกโกแลต และการอดอาหาร
       
       2.ยา เช่น ฮอร์โมน ยาคุมกำเนิด ยาโรคหัวใจบางชนิด
       
       3.สิ่งกระตุ้น เช่น น้ำหอม ทินเนอร์ บุหรี่ กลิ่นฉุนๆ
       
       และ 4.สิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อน และความเครียด
       
       อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรพึงปฏิบัติก็คือต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน และออกกำลังกายม่ำเสมอ 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เท่านี้ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคปวดศีรษะไมเกรนได้

sithiphong:
12 อาการน่าสงสัย...ติดเอดส์!!!
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 ธันวาคม 2556 20:44 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000151177-


ต้องยอมรับว่าขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งมีความน่าเป็นห่วงกว่ากลุ่มอื่น อันเนื่องมาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รวมถึงศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ก็ออกมาตีปี๊บว่า หากรู้ตัวเร็วว่าติดเชื้อเอชไอวีไม่เกิน 4 สัปดาห์ก็มีโอกาสรักษาให้หายได้

12 อาการน่าสงสัย...ติดเอดส์!!!


ภาพ วิชาการ.คอม


       แล้วอาการใดบ้างที่เกิดขึ้นกับร่างกายแล้วบ่งบอกว่าเข้าข่ายต้องสงสัยว่าติดเอดส์เข้าเสียแล้ว
       
       สำนักโคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค (คร.) ได้ให้ความรู้ไวในคู่มือ มีรักอย่างไรให้ปลอดภัยว่ามีทั้งหมด 12 อาการต้องสงสัยให้รีบไปรักษาโดยไว
       
       1.ผู้ชายจะมีปัสสาวะแสบขัด หรือมีหนองไหลออกมา
       
       2.เจ็บปวดอวัยวะเพศชาย
       
       3.มีผื่น ตุ่ม แผลบริเวณอวัยเพศชาย
       
       4.ขาหนีบบวมหรือเป็นฝี
       
       5.ตกขาวผิดปกติ หรือมีสีเหลือง กลิ่นเหม็น
       
       6.เจ็บ เสียวท้องน้อย
       
       7.มีผื่น ตุ่ม คันอวัยวะเพศหญิง
       
       8.มีเชื้อราในปากและลำคอ
       
       9.ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ
       
       10.เป็นงูสวัดหรือแผลชนิดลุกลาม
       
       11.มีอาการเรื้อรังเกิน 1 เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น มีไข้ ท้องเสีย
       
       และ 12.ผิวหนังอักเสบและน้ำหนักลด
       
       เมื่อพบว่ามีอาการดังกล่าวก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะหากติดเชื้อเอชไอวีก็จะได้ทำการรักษาต่อไป ด้วยการรับประทานยาต้านไวรัส แม้ขณะนี้โอกาสการรักษาให้หายขาดจะยังดูริบหรี่ แต่ก็จะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version