อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ

<< < (12/33) > >>

sithiphong:
10 วิธีคลายความเหนื่อยล้า

-http://campus.sanook.com/1370555/10-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2/-

เช้าวันใหม่ที่แสนจะอ่อนล้าแบบนี้ เหมือนการพักผ่อนในวันหยุดจะยังไม่พอสำหรับคุณ ยิ่งถ้าอากาศเป็นใจด้วยแล้วยิ่งทำให้ไม่อยากตื่นจากที่นอนกันเลยใช่ไหมล่ เรามีวิธีช่วยให้คุณสดใสรับเช้าของคุณทุกๆ วันมาฝากกันค่ะ

เช้าวันจันทร์ หรือเช้าของทุกๆ วัน ที่ทำให้คุณไม่อยากจะตื่นจากที่นอนเพื่อลุกมาทำงาน หรือบางทีอาจจะเบื่อกับรถติด เบื่อกับการทำงานที่เต็มบนโต๊ะ ซึ่ง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายของคุณรู้สึกเหนื่อยล้าลงได้ง่าย วันนี้เรามีวิธีที่จะช่วยให้ทุกๆ วันของคุณ สดใส และมีพลังมาฝากกันจร้า

1.เข้านอนและตื่นให้ตรงเวลาทุก ๆ วัน ตัวเราจะได้เคยชินและไม่ไปง่วงในเวลาอื่น

2.นอนให้ได้ประมาณ 8 ชั่วโมง หรือสังเกตดูตัวเองว่า นอนกี่ชั่วโมงถึงพอ แล้วยึดเวลานั้นเป็นหลัก บางคนต้องการนอนมาก หรือน้อยกว่าคนอื่น

3.ถ้านอนไม่หลับ ให้หายใจเข้าออกยาว ๆ หรืออ่านหนังสือประเภทชวนง่วง เพื่อให้หลับง่าย คุณจะได้ไม่ต้องกลายเป็นคนที่นอนหลับยากแบบถ

4.กินอาหารหรือของขบเคี้ยวทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มพลัง ถ้าปล่อยให้หิวหลายชั่วโมง จะรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง ให้กินอาหาร 3 มื้อแต่น้อย ๆ และ ขบเคี้ยวพวกผักผลไม้ หรืออาหารมีประโยชน์อีก 2 มื้อย่อยระหว่างวัน

5.ทำตัวให้มีสุขบ้าง เพราะความเครียดความเศร้าเสียใจดูดพลังงานของเราไป ถ้าคุณทำอะไรแล้วมีความสุขเพลิดเพลินช่วยให้หัวเราะ หรือยิ้มได้บ้าง หาเวลาทำสิ่งนั้นบ่อยขึ้น

6.งดดื่มชากาแฟ พวกชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มมีกาเฟอีน จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว หลับยาก ดื่มน้ำเปล่าดีกว่าค่

7.ลดน้ำหนักส่วนเกิน ถ้าเราปล่อยให้อ้วนมากเกินไป การเดิน วิ่ง หรือขึ้นลงบันไดของเราจะเปลืองพลังงานมากกว่าตอนที่เราตัวเบา เสียแรงเหนื่อยไปเปล่า

8.อย่าออกกำลังกายก่อนนอน เพราะจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ร่างกายสดชื่น ไม่นึกอยากจะนอน

9.หมั่นตรวจสอบความเครียดว่ามากไปหรือยัง พยายามลดความเครียดด้วยการออกกำลังกาย ทำโยคะ

10.ปรึกษาคุณหมอ หากคิดว่าดูแลตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว ยังไม่รู้สึกว่าจะหายจากความเหนื่อยล้าไปได้ คงต้องสาเหตุที่แท้จริงกันอีกทีค่ะ



sithiphong:

ใจสั่น แบบไหน ควรไปหาหมอ

-http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99_%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99_%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD/-


        เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งที่หลายคนเคยเจอ บางรายหมายถึงปกติ แต่บางรายอาจถือว่าไม่ปกติก็ได้ โดยทั่วไปเรามักรู้สึกถึง การเต้นของหัวใจ ในภาวะที่หัวใจบีบตัวแรง เต้นเร็ว ในขณะออกกำลังกาย แต่ในภางะที่ไม่มีอะไรมากระตุ้นเลย ในบางคนอาจจะเกิด อาการใจสั่น จนทำให้เกิดข้อกังวลสงสัยว่า หัวใจฉันเกิดความผิดปกติหรือไม่

     6 ลักษณะอาการใจสั่นที่เกิดขึ้นได้
        1.อาการใจสั่นที่อาจเกิดจากความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ หรือ โรคหัวใจ
        2.อาการใจสั่นร่วมกับอาการอื่น เช่น หน้ามืด เป็นลมหมดสติ เจ็บ แน่นหน้าอก หรือเหนื่อยหอบกว่าปกติ อาจบ่งบอกถึง โรคหัวใจรุนแรงควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
        3.อาการใจสั่นที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยไม่สัมผัสกับการออกแรง และสามารถหายได้เอง ผู้ป่วยมักแยกอาการแตกต่างกันขณะที่มีและไม่มี อาการใจสั่น
        4.อาการใจสั่นที่เกิดร่วมกับจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
        5.อาการใจสั่นในผู้ป่วยที่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว เช่น ผู้ป่วยที่เคยมี กล้ามเนื้อหัวใจตาย จากหลอดเลือดอุดตัน หัวใจโตล้มเหลว หัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
        6.อาการใจสั่นในผู้ป่วยที่มีประวัติ คนในครอบครัว ใกล้ชิด เป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะการเสียชีวิตกะทันหัน ก่อนวัยอันควร

        ในบางครั้งที่หัวใจเต้นเร็วมาก อาจเกิดการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อย หรือเวียนศีรษะ บางครั้งหัวใจเต้นเร็วจนไม่สามารถพยุงความดันโลหิต ก็จะส่งผลให้เกิดการหน้ามืด เวียนศีรษะได้ และถ้าอาการเกิดขึ้นขณะที่อยู่นิ่งๆ โดยอาการเกิดขึ้นและหยุดทันที ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์หรือสัมพันธ์กับอาการเวียนหัว วูบ หน้ามืด มักมีสาเหตุจากวงจรไฟฟ้าเต้นผิดปกติ เพราะหากเกิดการตื่นเต้น เครียด หรือการออกกำลังกาย มักจะมีการเต้นเร็ว ค่อยๆเป็น และค่อยๆเต้นช้าลงเรื่อยๆ

        ทั้งนี้ภาวะหัวใจเต้นเร็วบ่อยครั้งที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ แต่เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะเลือดจาง ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ จากโรคท้องร่วงหรือเสียเลือดมาก ซึ่งเมื่อได้รับการรักษาแล้ว ภาวะหัวใจเต้นเร็ว ก็จะกลับสู่ปกติ โดยไม่ต้องใช้ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สิ่งที่กระตุ้น ที่จะทำให้เกิดภาวะใจสั่น
        -   คาเฟอีน
        -   เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
        -   ภาวะความเครียด
        -   การอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ
        -   ภาวะขาดน้ำ
        -   การเจ็บป่วยจากโรค เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือทำงานมากเกินไป
        -   ยาบางชนิด

เช็คสภาพหัวใจด้วยตัวคุณเอง
        หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่นั้น หากคุณไปพบคุณหมอในเวลาต่อมา อาการ และการเต้นผิดจังหวะของหัวใจได้หายแล้ว การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่กี่วินาที อาจไม่พบความผิดปกติ ดังนั้นคุณอาจมีส่วนช่วยในการวินิจฉัย โดยการจับชีพจร และนับอัตราการเต้นของชีพจรในระยะเวลา 1 นาที และสังเกตจังหวะของชีพจรเร็วกว่าปกติหรือไม่ ชีพจรสม่ำเสมอหรือเร็วช้าไม่สม่ำเสมออย่างไร

        หรือสำรวจด้วยการเช็คสมรรถภาพร่างกาย หากลดลง เช่น เหนื่อยง่าย มีอาการเจ็บหน้าอก หน้ามืดเป็นลมบ่อย หัวใจสั่นมากผิดปกติทั้งที่ไม่ได้ออกกำลังกาย มีอาการบวมในร่างกายเกิดขึ้น นอนราบไม่ได้ ต้องนอนหัวสูงเท่านั้น ในรายที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะเช็คสภาพหัวใจได้ง่าย แต่ในรายที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย แน่นอน วิ่งนิดหน่อย คุณก็เหนื่อยแล้ว

        การดูแลรักษาในเบื้องต้น คุณหมอจะสอบถามประวัติการตรวจร่างกาย การตรวจเอ็กซเรย์เงาปอด และหัวใจ และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อช่วยการวินิจฉัย หรือนำไปสู่การส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติมที่เหมาะสม ส่วนใครสงสัยว่า ฉันอาจมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาดหรือไม่นั้น แพทย์อาจส่งตรวจการเต้นของหัวใจด้วยการเดิน วิ่ง สายพานเลื่อน หรือผู้ใดที่สงสัยว่าตัวเอง มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ลิ้นหัวใจตีบ หรือผนังกั้นหัวใจรั่ว หรือโรคของ เยื่อหุ้มหัวใจ คุณหมอก็จะส่งตรวจด้วย เครื่องตรวจเสียงสะท้อนหัวใจ (Ecohocardigraphy) อีกครั้งหนึ่ง

        นอกจากนี้ การรักษายังขึ้นอยู่กับผลการตรวจว่า มีหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ถ้ามี การที่หัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นเป็นชนิดใด และที่สำคัญมีสาเหตุจากโรคหัวใจ หรือ ความผิดปกติของอวัยวะใด การรักษาที่สำคัญ คือ รักษาที่สาเหตุ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว หากหลอดเลือดหัวใจตีบมาก อาจต้องได้รับการรักษาด้วยการ ขยายหลอดเลือดหัวใจ เช่น การทำบอลลูน หรือการถ่างหลอดเลือด ด้วยขดลวดต่อไป

sithiphong:
10 วิธีคลายความเหนื่อยล้า

-http://news.springnewstv.tv/42083/10-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-


เช้าวันอาทิตย์หรือเช้าของทุกๆ วัน ที่ทำให้คุณไม่อยากจะตื่นจากที่นอนเพื่อลุกมาทำงาน หรือบางทีอาจจะเบื่อกับรถติด เบื่อกับการทำงานที่เต็มบนโต๊ะ ซึ่ง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายของคุณรู้สึกเหนื่อยล้าลงได้ง่าย วันนี้เรามีวิธีที่จะช่วยให้ทุกๆ วันของคุณ สดใส และมีพลังมาฝากกัน

1.เข้านอนและตื่นให้ตรงเวลาทุก ๆ วัน ตัวเราจะได้เคยชินและไม่ไปง่วงในเวลาอื่น

2.นอนให้ได้ประมาณ 8 ชั่วโมง หรือสังเกตดูตัวเองว่า นอนกี่ชั่วโมงถึงพอ แล้วยึดเวลานั้นเป็นหลัก บางคนต้องการนอนมาก หรือน้อยกว่าคนอื่น

3.ถ้านอนไม่หลับ ให้หายใจเข้าออกยาว ๆ หรืออ่านหนังสือประเภทชวนง่วง เพื่อให้หลับง่าย คุณจะได้ไม่ต้องกลายเป็นคนที่นอนหลับยากแบบถ

4.กินอาหารหรือของขบเคี้ยวทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มพลัง ถ้าปล่อยให้หิวหลายชั่วโมง จะรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง ให้กินอาหาร 3 มื้อแต่น้อย ๆ และ ขบเคี้ยวพวกผักผลไม้ หรืออาหารมีประโยชน์อีก 2 มื้อย่อยระหว่างวัน

5.ทำตัวให้มีสุขบ้าง เพราะความเครียดความเศร้าเสียใจดูดพลังงานของเราไป ถ้าคุณทำอะไรแล้วมีความสุขเพลิดเพลินช่วยให้หัวเราะ หรือยิ้มได้บ้าง หาเวลาทำสิ่งนั้นบ่อยขึ้น

6.งดดื่มชากาแฟ พวกชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มมีกาเฟอีน จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว หลับยาก ดื่มน้ำเปล่าดีกว่า

7.ลดน้ำหนักส่วนเกิน ถ้าเราปล่อยให้อ้วนมากเกินไป การเดิน วิ่ง หรือขึ้นลงบันไดของเราจะเปลืองพลังงานมากกว่าตอนที่เราตัวเบา เสียแรงเหนื่อยไปเปล่า

8.อย่าออกกำลังกายก่อนนอน เพราะจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ร่างกายสดชื่น ไม่นึกอยากจะนอน

9.หมั่นตรวจสอบความเครียดว่ามากไปหรือยัง พยายามลดความเครียดด้วยการออกกำลังกาย ทำโย

10.ปรึกษาคุณหมอ หากคิดว่าดูแลตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว ยังไม่รู้สึกว่าจะหายจากความเหนื่อยล้าไปได้ คงต้องสาเหตุที่แท้จริงกันอีกที



ขอบคุณข้อมูล news.sanook.com

----------------------------------------------------------------------------------------------

5 วิธีเลือกที่นั่งต้านกระดูกเสื่อม

-http://news.springnewstv.tv/42085/5-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1-

เมื่อมีอายุมากขึ้นทุกคนอาจเป็นโรคกระดูกเสื่อมได้ตามธรรมชาติ แต่สำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่บนเก้าอี้หลังโต๊ะทำงาน หรือนั่งอยู่บนเก้าอี้หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน โรคนี้อาจมาเยือนได้เร็วกว่าบุคคลอื่น ซึ่งวิธีการป้องกันหรือชะลอภาวะกระดูกเสื่อมแบบง่ายๆ นั้น ทำได้โดยการเลือกที่นั่งให้เหมาะสม 5 วิธี ดังนี้

>> 1.ความสูงของเก้าอี้ ต้องเท่ากับช่วงยาวของขาท่อนล่าง (น่อง) ตั้งแต่ข้อพับหลังหัวเข่าลงไปถึงเท้า เพื่อจะได้วางเท้าราบพื้นพอดี

>> 2.รูปร่างของเบาะนั่ง ต้องไม่บุ๋มเป็นแอ่ง มิเช่นนั้นจะทำให้กระดูเชิงกราน (ซึ่งเป็นฐานของกระดูกสันหลังทั้งหมด) บิดงอ

>> 3.เบาะไม่ควรอยู่ลึกเกินไป และพนักพิงไม่ควรอยู่ไกลเกินไป หากพิงไม่ถึง และต้องเอนตัวไปด้านหลัง จะทำให้หลังงอ

>> 4.ควรมีพนักพิง เพื่อช่วยดันหลังให้อยู่ในท่าตรงตามธรรมชาติ

>> 5.ที่เท้าแขนอยู่ในระดับที่งอข้อศอกแล้ววางแขนได้พอดี เพราะนอกจากใช้พักแขน และข้อศอกแล้วยังใช้สำหรับดันเพื่อยืดตัวให้ตรงขึ้นได้เล็กน้อยเพียงเท่านี้คงไม่ยากเกินไปที่จะใส่ใจกับสิ่งของที่เราต้องใช้บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว
 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สาระน่ารู้ดีดี





sithiphong:
เรื่องนี้ ผมขอลงเป็นความรู้ครับ

---------------------------------------------------------



ไบโพล่า โรคซึมเศร้าที่ต้องการคนเข้าใจ

-http://club.sanook.com/8174/%E0%B9%84%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95-


” ไบโพล่า “  โรคซึมเศร้าที่ต้องการคนเข้าใจ

วันนี้ได้อ่านเจอเรื่องๆ นึง ที่เกี่ยวกับกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่า หรือถ้าให้เรียกเข้าใจง่ายๆ ตามความเข้าใจของเรา อาจจะอธิบายได้ว่าผู้ป่วยนั้น จะมีสองบุคลิก ซึ่งหลายคนอาจจะว่าเค้าเป็นบ้า แต่ความเป็นจริงแล้ว คนที่เป็นไม่ได้บ้า แต่สิ่งที่เกิดเป็นอาการของโรคๆหนึ่ง ที่ใครเป็นแล้ว ต้องได้รับการดูแลเห็นใจและเข้าใจในตัวผู้ป่วยให้มากๆ  ซึ่งวันนี้เรามีบทความอธิบายเกี่ยวกับ โรคไบโพล่า มาฝากกันค่ะ



ภาวะซึมเศร้าที่จะพูดกันวันนี้ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เรียกกันในการแพทย์ว่า ไบโพล่า (bipolar หมายถึง สองขั้ว)หรือ แมนิค ดีเพรสซิฟ (manic-depressive disorder)

โรค ไบโพล่า เป็นภาวะผิดปกติของสารสื่อประสาทสมองและเป็นโรคที่ค่อนข้างรุนแรง ที่มีการรักษาได้ คนไข้จะมีการเปลี่ยนแปลงภาวะอารมณ์ พลังงาน และความคิด จากด้านหนึ่งคือพลังความคิดมากและรู้สึกตนเองว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่(หรือที่เรียกว่า แมเนีย mania) และเปลี่ยนกลับมาเป็นซึมเศร้า ท้อแท้ ไม่ทำอะไร อยากตาย รู้สึกว่าไร้ค่า(ซึมเศร้า depression) ได้อย่างรวดเร็ว บางครั้งการเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วรุนแรง และส่วนใหญ่ จะมีช่วงที่คนไข้ปกติ บางครั้งคนไข้จะมีโรคทางกายร่วม เช่น ไทรอยด์ทำงานเกิน เป็นต้น

ผู้ที่จะทราบว่าผู้ป่วยเป็น ที่ดีที่สุดคือญาติ ผู้ร่วมงาน หรือในระยะแรกคือตัวคุณเอง ลองถามตัวเองว่า

1.   บางครั้งเรารู้สึกตัวเองว่าอยู่สูงสุดในโลก
2.   มีพลังทำอะไรทุกอย่าง หัวคิดแล่น สร้างสรรค์
3.   ไม่ต้องนอน
4.   ความต้องการทางเพศเพิ่ม
5.   รู้สึกอยู่ไม่สุขต้องหาอะไรทำ
6.   รู้สึกบ้า
7.   ไม่สามารถใจจดจ่อกับอะไรเป็นเวลานาน
8.   พูดเร็ว บางครั้งหยุดไม่ได้
9.   ใช้จ่ายเงินมือเติบในสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือสิ่งของราคาแพง
1o. เพื่อนบอกว่า ทะเลาะ พูดเสียงดัง อารมณ์แปรปรวน

ถ้ามี คุณกำลังอยู่ในขั้นของแมเนีย และในบางครั้ง พอสักพัก
1.  กลับเปลี่ยนเป็นไม่มีพลัง
2.  เศร้าตลอดเวลา เดียวดาย
3.  ไม่อยากทำอะไรในสิ่งที่เคยอยากทำ
4.  นอนไม่หลับ
5.  เพลียมาก อยากนอนตลอด
6.  ไม่อยากกินอะไร
7.  ปวดเมื่อยเนื้อตัว
8.  อยากอยู่คนเดียวหรือไม่อยากอยู่บนโลก
9.  ไม่มีความต้องการทางเพศ
10. ลืมง่าย ไม่มีสมาธิ
11. กลัว หงุดหงิดง่าย
12. ไม่อยากเป็นตัวเอง หรือไม่ คุณกำลังอยู่ในขั้น ซึมเศร้า ถ้ามีสลับกัน คุณกำลังเข้าข่ายโรคไบโพล่า รีบปรึกษาแพทย์

รายละเอียดอื่นๆ ของโรคนี้ หาอ่านได้ที่ โรคซึมเศร้า จาก ไทยเฮลท์เอนไซโคลปีเดีย
พึงระลึกไว้เสมอว่า โรคนี้ต้องให้สังคมและคนใกล้ชิดช่วยจะดีที่สุด รักษาให้หายได้เหมือนคนปกติ และเขาก็ไม่ใช่คนบ้า แต่เป็นคนป่วยหนัก ที่ต้องการรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ

ขอขอบคุณ : สมาคมนักกิจกรรมบำบัด/อาชีวบำบัดแห่งประเทศไทย , www.otat.org



sithiphong:

ปัญหาการนอนกรน

-http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%99/-

การนอนกรนถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติ หากทางเดินหายใจโล่งดีไม่ควรมีเสียงกรนเกิดขึ้น
        แต่อันตรายของการกรนจะมากหรือน้อย ขึ้นกับว่าสุขภาพของบุคคลนั้นเป็นอย่างไร และมีการหยุดหายใจ (Apnea) ร่วมด้วยหรือไม่
ดังนั้นเราจึงอาจแบ่งการนอนกรนได้เป็น ๒ ชนิดคือ

กรนธรรมดา (Habitual Snoring)
อาจเรียกว่า “กรนรำคาญ” ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ไม่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย อันตรายของการกรนจึงเกิดจากการสร้างความรำคาญให้แก่คนข้างเคียง จนในบางรายอาจถึงขั้นมีปัญหากับคู่สมรส ต้องแยกห้องนอน

กรนที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย (Obstructive Sleep Apnea)
เป็นชนิดที่มีอันตราย เนื่องจากในช่วงที่หยุดหายใจ ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในกระแสเลือดจะลดลงเป็นช่วงๆ
ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น นอนไม่อิ่ม สะดุ้งตื่นบ่อยๆ ปวดศีรษะช่วงเช้า ง่วงนอนในตอนกลางวัน เผลอหลับในบ่อยๆ สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย และจากการศึกษาในปัจจุบันยังพบว่าผู้ที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วยในระดับรุนแรงจะมีอัตราการตายสูงกว่าประชากรทั่วไป และเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆที่สำคัญได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต


การรักษา
ขึ้นกับชนิดของการนอนกรน และระดับความรุนแรง
โดยถ้ามีการหยุดหายใจร่วมด้วย ไม่ควรปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจแบ่งการรักษาออกได้เป็น

1. การรักษาทั่วไป หลีกเลี่ยงสาเหตุเสริมต่างๆ ทำได้โดย ลดน้ำหนัก, ออกกำลังกาย, ปรับการนอน ไม่นอนหงาย, งดดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์, หลีกเลี่ยงยาบางประเภท รวมทั้งรักษาโรคที่เกี่ยวข้อง เช่น ภูมิแพ้ โรคในโพรงจมูก ซึ่งต้องรักษาก่อนที่จะไปรักษาโดยใช้วิธีอื่น

2. การรักษาโดยใช้เครื่องเพิ่มความดันของอากาศในช่องทางเดินหายใจ ซึ่งจะทำให้ช่องทางเดินหายใจถ่างกว้างออกจึงไม่เกิดเสียงขณะหายใจ และไม่เกิดการหยุดหายใจเครื่องมือดังกล่าวเรียกว่า Nasal CPAP (continuous positive airway pressure) การรักษาโดยใช้ Nasal CPAP นี้ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดีในผู้ป่วยเกือบทุกรายหากผู้ป่วยสามารถทนใช้เครื่องได้ แต่ผู้ป่วยบางส่วนไม่สามารถทนใช้เครื่องได้เนื่องจากรู้สึกรำคาญที่ต้องใช้เครื่องขณะนอนหลับ

3. การผ่าตัด มีหลายวิธีขึ้นกับระดับความรุนแรง ความพอใจของผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้งความชำนาญของแพทย์ผู้รักษา ตัวอย่างของการผ่าตัดได้แก่
- การผ่าตัดบริเวณต่อมทอนซิลและลิ้นไก่ เพื่อลดขนาดของเนื้อเยื่อบริเวณนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้นและการสั่นสะเทือนขณะหลับน้อยลงจึงลดเสียงกรนและลดการหยุดหายใจที่เกิดจากอุดกั้นของทางเดินหายใจ
- การใช้คลื่นความถี่สูง เพื่อลดขนาดของเนื้อเยื่อบริเวณ เพดานอ่อน, ลิ้นไก่, โคนลิ้น, ต่อมทอนซิล และทำให้เนื้อเยื่อกระชับขึ้น
- การผ่าตัดเพื่อลดความอ้วน เนื่องจากความอ้วนเป็นสาเหตุของการกรนและการอุดกั้นทางเดินหายใจ แต่ควรพิจารณาเฉพาะในรายที่อ้วนมากๆเท่านั้น
- การผ่าตัดยืดขากรรไกรและแก้ไขโครงสร้างของใบหน้า ได้ประโยชน์ในรายที่การกรนเกิดจากโครงสร้างของใบหน้าผิดปกติ
- การเจาะคอ ใช้ในรายที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่นแล้ว โดยเฉพาะในรายที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจรุนแรงและไม่สามารถใช้ Nasal CPAP ได้



ข้อมูลและรูปภาพ : ศูนย์หลอดเลือด โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version