อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ

<< < (20/33) > >>

sithiphong:
“ความดันโลหิตสูง” ภัยเงียบ..เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ไม่ได้จั่วหัวเรื่อง “ความดันโลหิตสูง” ให้ดูน่ากลัว แต่ถ้าทุกๆคนได้อ่านบทความนี้จากกรมการแพทย์แล้ว จะต้องทำให้ทุกคนหยุดคิด แล้วก็ต้องหันมาดูแลตัวเองกันมากๆแล้วล่ะค่ะ

 

ความดันโลหิตสูง

 

อธิบดีกรมการแพทย์ชี้ 1 ใน 3 คน มีภาวะความดันโลหิตสูง ระบุภัยร้ายความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร พร้อมแนะลดหวาน มัน เค็ม ป้องกันโรคไต โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์และอัมพาต

นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคความดันโลหิตสูงคือภาวะที่มีระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ซึ่งค่าความดันปกติในปัจจุบันถือเอาค่าตัวบน ไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท  และมีคนจำนวนมากไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะนี้ เนื่องจากไม่ปรากฏอาการในช่วงแรก เมื่อปล่อยนานไปโดยไม่รับการรักษาแรงดันในหลอดเลือดที่สูง จะไปทำลายผนังหลอดเลือดและอวัยวะที่สำคัญหลายระบบในร่างกายเป็นเหตุให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ และโรคไต เรียกว่าเพชฌฒาตเงียบ  ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงเป็น 1   ในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  จากสถิติขององค์การอนามัยโลก รายงานว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากถึงพันล้านคน โดยประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลก 1 ใน 3 คน มีภาวะความดันโลหิตสูง และได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2568 จะมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั่วโลกสูงถึง 1.56 พันล้านคน และข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เปรียบเทียบระหว่าง ปี พ.ศ. 2544 พบผู้ป่วย จำนวน 156,442 ราย และ ปี 2555 พบผู้ป่วย 1,009,385 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นสูงถึง 5 เท่า

จากความรุนแรงดังกล่าว สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก จึงได้กำหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันความดันโลหิตสูงโลก โดยได้กำหนดคำขวัญการรณรงค์ว่า “Know Your Blood Pressure” และคำขวัญของกระทรวงสาธารณสุขและสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย คือ ท่านทราบระดับความดันโลหิตของท่านหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนหันมาใส่ใจสุขภาพ  โดยมุ่งเน้นการป้องกันโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ และโรคไตที่มีสาเหตุมาจากโรคความดันโลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคอาหารเค็ม รับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ  ภาวะอ้วน ขาดการออกกำลังกาย   ดื่มแอลกอฮอล์มาก สูบบุหรี่และมีภาวะเครียด รวมทั้งอายุที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้ ดังนั้น วิธีการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง คือ ลดการบริโภคเกลือหรืออาหารที่มีรสเค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ที่หวานน้อยรวมถึงบริโภคธัญพืชแทนของว่าง ขนมกรุบรอบ ลดการรับประทานอาหารที่ผ่านกระบวนการ อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป ลดอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่   ที่สำคัญผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ ตลอดจนวัดความดันโลหิตเป็นประจำพร้อมจดบันทึกค่าความดันโลหิตในช่วงของการกินยา เพื่อประสิทธิภาพในการรักษา และป้องกันโรค

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์
ภาพประกอบจาก Thinkstockphoto.com

sithiphong:
วิธีป้องกันงูกัด-ปฐมพยาบาลอย่างไร เรื่องใกล้ตัวที่ต้องรู้ !

-http://health.kapook.com/view88365.html-





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          วิธีป้องกันงูกัด งูชนิดไหนมีพิษบ้าง หากถูกกัดแล้วจะมีอาการอย่างไร แล้วจะปฐมพยาบาลอย่างไร เรื่องใกล้ตัวที่ต้องรู้รับฤดูฝน

          ฤดูฝนไม่ได้มาพร้อมกับสายฝนที่ชุ่มฉ่ำเท่านั้น แต่จะไปไหนมาไหนก็ต้องระวังสัตว์มีพิษชนิดต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยในช่วงนี้ด้วย โดยเฉพาะ "งู" ที่อาศัยอยู่ตามสภาพแวดล้อมใกล้ตัว เพราะหากไม่ระวังก็เสี่ยงถูกงูพิษกัดจนเสียชีวิตได้เลย

          สำหรับเรื่องของงูนั้น นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ ได้ให้ความรู้เพื่อแจ้งเตือนให้พวกเราได้ระวังกันว่า งูมีอยู่หลายชนิด ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ หากถูกงูพิษกัดจะมีรอยเขี้ยว 1-2 แผลเสมอ และมีเลือดออกซึม ๆ แต่ถ้าถูกงูกัดแล้วไม่พบรอยเขี้ยว แสดงว่านั่นไม่ใช่งูพิษ

 ทั้งนี้ งูพิษที่คนถูกกัดบ่อย ๆ นั้นมีอยู่ 7 ชนิด คือ งูเห่า งูจงอาง งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ งูแมวเซา งูสามเหลี่ยม และงูทับสมิงคลา ซึ่งเราสามารถจำแนกพิษของงูได้เป็น 4 ประเภท คือ

          1. พิษต่อระบบประสาท ได้แก่ พิษของงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม ทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ลืมตาไม่ได้ กลืนลำบาก เสียชีวิตได้

          2. พิษต่อโลหิต ได้แก่ พิษของงูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ ทำให้มีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ ตามผิวหนัง เหงือก อาเจียนเป็นเลือด

          3. พิษต่อกล้ามเนื้อ ได้แก่ พิษงูทะเล ปวดกล้ามเนื้อมาก ปัสสาวะสีดำเนื่องจากกล้ามเนื้อถูกทำลาย

          4. พิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่ พิษงูเห่า งูจงอาง ทำให้ลืมตาไม่ขึ้น น้ำลายมากกลืนลำบาก เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ

          ในส่วนวิธีการป้องกันงูกัดนั้น ทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการเดินในที่แคบ หรือบริเวณที่รกมีหญ้าสูง ถ้าจำเป็นต้องเดินผ่านควรใส่รองเท้าหุ้มข้อเท้า กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว เตรียมไฟฉายและไม้

          แต่หากถูกงูกัดแล้วควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยการล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน หรือสิ่งอื่น ๆ ทาแผล ไม่ควรใช้ปากดูดเลือด ไม่ควรใช้ผ้าหรือเชือกรัดเหนือบริเวณที่ถูกกัดแน่นเกินไป หากจะรัดควรรัดให้แน่นพอที่สามารถสอดนิ้วมือเข้าใต้วัสดุที่ใช้รัดได้ 1 นิ้วมือ รัดทั้งเหนือและใต้แผลประมาณ 3 นิ้วมือ และรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด


sithiphong:
แชร์ประสบการณ์เมื่อโดนแมงกะพรุน รักษาเบื้องต้นอย่างไรดี


-http://health.kapook.com/view88427.html-





เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณสมาชิกหมายเลข 1337171 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

          ช่วงนี้อากาศช่างเป็นใจให้ยกขบวนไปเที่ยวทะเลเสียจริง ๆ แต่ถ้ามัวแต่เล่นน้ำทะเลจนเพลินไม่ระแวดระวังรอบตัวให้ดี ก็อาจจ๊ะเอ๋กับ "แมงกะพรุน" ที่แม้จะตัวเล็ก ๆ แต่ก็ทำให้เราเจ็บจี๊ด ปวดแสบปวดร้อนจนเกินคำบรรยายได้เลย

          ฟังแล้วชักสยองขึ้นมานิด ๆ ซะแล้ว แต่อย่าเพิ่งกังวลใจไป เพราะวันนี้ คุณสมาชิกหมายเลข 1337171 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ได้ตั้งกระทู้บอกเล่าประสบการณ์ที่โดนพิษแมงกะพรุนที่หัวหิน พร้อมแนะนำวิธีรักษาเบื้องต้นด้วย ใครกำลังจะแพ็กกระเป๋าไปเที่ยวทะเล ลองมาอ่านแล้วจำไว้เผื่อใช้ในยามฉุกเฉินดูกันเลยจ้า


          แชร์ประสบการณ์โดนแมงกะพรุน ณ หัวหิน + วิธีรักษาเบื้องต้นเมื่อโดนพิษแมงกะพรุน โดย คุณสมาชิกหมายเลข 1337171 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

          เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมได้ไปเที่ยวทะเลหัวหิน วันที่ 24-26 ไปกับเพื่อนรวมแล้ว 11 คน ในวันแรกที่ไปถึง เมื่อเก็บของเข้าที่พักเรียบร้อย ก็ไปหาอะไรกินกัน แล้วจึงไปเล่นน้ำทะเลที่หาดหัวหิน โดยไม่รู้เลยว่าวันที่ 23 (ก่อนผมจะมา 1 วัน) มีฝนตก ซึ่งเค้าบอกกันว่า หลังฝนตกไม่ควรเล่นน้ำ เพราะจะมีแมงกะพรุนลอยตามชายหาดเยอะ ด้วยความไม่รู้ จึงเล่นกันเต็มที่ครับ 5555

          จนกระทั่งเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มร้องขึ้นมา ผมก็นึกว่าเหยียบเศษหอยในน้ำ แล้วเพื่อนก็วิ่งหนีขึ้นฝั่ง แต่พวกผมก็เล่นน้ำต่อ ไม่ได้ไปดูว่าเพื่อนเป็นอะไร หลังจากนั้นประมาณ 1 นาที เพื่อนอีกคนก็ตะโกนว่าเจอแมงกะพรุน จังหวะนั้นผมก็รีบหันมาดูว่าอยู่ตรงไหน ปรากฏคือ มันอยู่หลังผมเลยครับ หันไปปุ๊บ มันลอยมาแปะขาพอดี

          ด้วยความตกใจ เพราะรู้สึกสยองมากตอนมันมาแปะขา เห็นตัวนิ่ม ๆ เหมือนไม่มีอะไร ที่ไหนได้ ความรู้สึกตอนโดนเหมือนโดนเข็มแหลม ๆ เป็นสิบ ๆ อันมาจิ้มขาครับ ผมเลยรีบวิ่งขึ้นหาด  ตอนนั้นก็เริ่มเจ็บ ๆ แสบ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ ครับ เพื่อนคนแรกที่วิ่งหนีไปก็วิ่งกลับมาหาครับ สรุปว่าเพื่อนก็โดนเหมือนกัน แปะเต็ม ๆ แข้งทั้งสองข้างเลย ผมกับเพื่อนที่โดนเลยบอกเพื่อนคนอื่นว่าขอวิ่งไปที่เกสท์เฮ้าส์ก่อน ให้เพื่อนที่เหลือวิ่งตามมา

          ขณะที่วิ่งไปที่พักครับ ตรงจุดที่โดนแมงกะพรุนนั้น แดงขึ้นมาเป็นเส้น ๆ เลยครับ เหมือนโดนหนวดมัน ปวดแสบปวดร้อนมาก ๆ เหมือนโดนน้ำร้อนลวกอะครับ เราก็รีบวิ่งไป 200 เมตรก็ถึงที่พักครับ พี่ที่เกสท์เฮ้าส์บอกว่าเค้าไม่มียา ให้ไปที่ร้านขายยา ตรงไปอีก 200 เมตรจากเกสท์เฮ้าส์ ผมกับเพื่อนคนนี้ก็วิ่งไปครับ รวมแล้ว 400 เมตร เพื่อนที่เหลือก็วิ่งตาม ๆ กันมา กลุ่มหนึ่งมาซื้อยากับผม อีกกลุ่มไปอาบน้ำ

          พอถึงร้านขายยา ผมก็ถามว่ามียาอะไรใช้ทาได้บ้าง พี่เค้าก็หยิบแอมโมเนียครับ คนละขวด มาราดแผล ตอนนั้นแสบมากขึ้นเรื่อย ๆครับ เหมือนว่าเข็มพิษแมงกะพรุนมันกัดแผลอยู่  เพื่อนที่ตาม ๆ มาก็ซื้อยามาให้อีกหลอดครับ เป็นยาทารักษาแผลไฟไหม้ ให้พอกแผลไว้ แสบ ๆ คัน ๆ ครับ

          ***** สำหรับคนที่โดนพิษแมงกะพรุนนะครับ ถ้าแถวนั้นไม่มีผักบุ้งทะเล แนะนำให้ไปร้านขายยาโดยเร็วที่สุดครับ เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น อย่าเอาน้ำจืดมาราดแผลเด็ดขาด !!! เพราะพิษจะยิ่งลามไปเรื่อย ๆ ครับ อย่าเอานิ้วไปเกา หรือไปถูแผลด้วยครับ **********





          หลังจากปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ผมกับเพื่อนก็กลับไปที่เกสท์เฮ้าส์  ในตอนนั้นชาวบ้านหัวหินใจดีมาก ๆ ครับ ทุกคนมาถามแล้วก็บอกว่า ให้ไปเอาใบผักบุ้งทะเลตามชายหาดมาบดแล้วมาโปะแผลไว้ เพื่อดับพิษแมงกะพรุน เพื่อน ๆ ผมสามคนก็ไปถามจากชาวประมงแถวนั้น แล้วก็เก็บมาหนึ่งกำครับ
                 
          ในตอนนั้นจำได้ว่า ตอนกำลังทำแผลอยู่ที่ร้าน รู้สึกปวดต้นขาข้างขวาครับ ปวดเหมือนจะเป็นตะคริว ปวดได้ประมาณ 10-15 นาที ก็ค่อย ๆ ปวดน้อยลงครับ (ส่วนเพื่อนปวดที่เอว ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมถึงปวด) เมื่อกลับมาถึงเกสท์เฮ้าส์ ก็รีบอาบน้ำ แสบมากกกกกกกกกกกกกกกกครับ ก้าวขาแต่ละทีรู้สึกเกร็ง ๆ เพราะว่าแผลของผมเป็นหลายที่ครับ โดนเต็ม ๆ อยู่3ที่  คือบริเวณข้าง ๆ หัวเข่าข้างขวา บริเวณข้อพับขาขวา (หายยากมากครับตรงนี้ เพราะเป็นที่ข้อพับพอดี) และก็ตรงต้นขาข้างขวาครับ นี่คือแผลใหญ่   ส่วนแผลเล็ก ๆ มีเป็นจุดเล็ก ๆ ประมาณ10กว่าจุดได้ มีตรงข้อเท้ามั่ง หน้าแข้งมั่ง กระจายกันไปครับ ส่วนมากจะอยู่ด้านหลัง เพราะผมโดนแปะที่ด้านหลังครับ





          แผลเล็ก ๆ บริเวณต้นขาครับ

          เพื่อน ๆ ที่ไปเอาใบผักบุ้งทะเล ก็กลับมาครับ พร้อมกับซื้อน้ำส้มสายชูมาหนึ่งขวดครับ วิธีผสมยาคือ เอาใบผักบุ้งทะเล บดให้ละเอียดครับ หาอะไรก็ตามที่ใช้บดได้ (****ทุกอย่างต้องล้างให้สะอาดนะครับ โดยเฉพาะใบผักบุ้งทะเล ต้องล้างดี ๆ****) เมื่อบดเสร็จแล้วจึงผสมกับน้ำส้มสายชู ให้ใบพอแฉะ ๆ ครับ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำส้มสายชูมากเกินไปครับ

          เมื่อผมอาบน้ำเสร็จ (ที่อาบน้ำ เพื่อล้างแอมโมเนียและครีมที่พอกไว้ตอนแรกออกครับ) ก็นอนให้เพื่อนรีดเข็มพิษออกครับ โดยทำตามที่เภสัชกรบอก วิธีการคือเอาสำลีชุบน้ำส้มสายชูครับ มาถูกับแผลให้แรงที่สุดเท่าที่พอทำได้ เพื่อขูดเอาเข็มพิษออกครับ เจ็บมากกกกกกกกก มันแสบอยู่แล้ว พอมาถูกับน้ำส้มสายชู ยิ่งปวดยิ่งแสบครับ ถูกันอยู่เกือบ 20 นาที ก็เริ่มเอาใบผักบุ้งทะเลที่บดไว้มาโปะแผลครับ แผลมันปวดตุ้บ ๆ เลยครับตอนนั้น เหม็นน้ำส้มสายชูมาก ๆ ครับ

          พอกไว้ทั้งคืนนะครับ *******ผักบุ้งทะเล มีสรรพคุณคือ แก้พิษของแมงกะพรุนครับ ส่วนน้ำส้มสายชูมีสรรพคุณคือ จะช่วยยับยั้งไม่ให้เข็มพิษแตกเพิ่มขึ้น ห้ามถู หรือสัมผัสบริเวณแผลด้วยมือเปล่า (ใช้สำลีแทน) เพราะอาจจะมีเข็มพิษอยู่ครับ*********

          ภาพหลังจากโปะใบผักบุ้งทะเลครับ (ที่โปะทั่วขา เพราะมันเป็นจุดเล็ก ๆ คล้ายผื่น แต่จะแสบ ๆ ครับ)







          รูปประกอบ ใบผักบุ้งทะเลครับ มีขึ้นอยู่ตามชายฝั่ง ถ้าไม่แน่ใจ ควรถามชาวประมงหรือชาวบ้านแถวนั้นครับว่าผักบุ้งขึ้นตรงไหน


ผักบุ้งทะเล


ผักบุ้งทะเล


ผักบุ้งทะเล


          ในวันที่ 2 หลังจากตื่นขึ้นมา พบว่ารอบ ๆ แผลแดงขึ้นมาเป็นเส้น ๆ เลยครับ แผลไหนเล็ก ๆ ก็เป็นจุดแดง ๆ ทั่วขา วันนี้ผมกับเพื่อนเหมารถไปเที่ยวรอบตัวเมืองหัวหินครับ เวลาเดินจะเจ็บแผลที่ข้อพับที่สุดครับ เพราะแผลยังปวดและแสบอยู่ แต่น้อยกว่าตอนโดนใหม่ ๆ เยอะครับ ลืมบอกไปครับ ในคืนแรก ผมกินยาแก้แพ้ครับ เพราะพี่สาวบอกว่าเดี๋ยวจะเป็นไข้แล้วเที่ยวไม่สนุก เลยกินไป 2 เม็ดครับ

          ภาพนี้ถ่ายไว้ตอนเช้าวันที่สองครับ สังเกตได้เลยว่าแผลนูนขึ้น และชัดขึ้นมากกว่าเมื่อคืน





          ใช้เวลาในการเที่ยวรอบหัวหินเกือบ 6 ชั่วโมงครับ ไปซาฟารีหัวหิน วัดห้วยมงคล ซานโตรินี่ Swiss sheep farm แล้วก็เวเนเซียครับ  อากาศร้อนมาก ๆ แล้วผมใส่กางเกงขาสั้นผมดี ขากางเกงก็ดันไปถูกับแผลตลอด ไม่รู้ว่าเกี่ยวกันไหมนะครับ แต่แผลยิ่งบวมและแดงมากขึ้น ตามภาพเลยครับ




          หลังจากไปเที่ยวกลับมาช่วงบ่าย ก็ไม่ได้เข็ดแต่อย่างใด ไปเล่นน้ำทะเลต่อที่เดิม 5555 แต่คราวนี้ไม่ลงไปไกลมาก และสอดส่องก่อนตลอดเวลา ว่ามีไคจูตัวไหนจะโผล่มาไหม สาเหตุนั้นแหละครับ ทำให้แผลเริ่มเละไปอีก (คือไม่ควรลงน้ำทะเลหรือทางที่ดี ไม่ควรโดนน้ำเลยครับ) ตอนโดนน้ำทะเล ก็แสบ ๆ คัน ๆ เล็กน้อย แต่ไม่ได้ใส่ใจอะไรมาก เล่นกันจนมืดมาก ๆ เลยกลับขึ้นมาอาบน้ำครับ  มาดูแผลอีกที มีตุ่มใส ๆ เล็ก ๆ ขึ้นรอบ ๆ แผลครับ เป็นทุกที่เลย แผลเล็กแผลใหญ่ก็ขึ้นหมด ลองบีบ ๆ มัน น้ำแตกครับ ! น้ำใส ๆ ในตุ่มนั่นแหละ ไม่รู้ว่าใช่หนองรึเปล่านะครับ




          ก็กินยาแก้แพ้ต่อครับ แล้วก็ไปหาของกินที่ถนนคนเดินต่อ (**** เมื่อมีแผลประเภทนี้ ไม่ควรกินอาหารทะเล ไข่ หรืออาหารที่มีเปลือก และของแสลงครับ เท่าที่ทราบมา ก็เพื่อไม่ให้แผลอักเสบไปมากกว่านี้ และเพื่อไม่ให้เป็นแผลเป็นชัด ๆ ครับ*****)

          หลังจากผ่านไปประมาณเกือบ 2 สัปดาห์ แผลก็เริ่มแข็งเป็นสะเก็ด มีหนอง เหมือนแผลไฟลวกครับ แต่ไม่หนักเท่าหลาย ๆ เคสที่เคยเห็น
             
          ใช้วิธีเอาน้ำเกลือราดเอาแล้วเอาสำลีซับอะครับ คือผมทำแผลแบบนี้ไม่ค่อยเป็น เลยใช้วิธีที่เคยทำ (เคยโดนตะปูเกี่ยวนิ้วเห็นว่าแผลคล้าย ๆ กัน) หลังจากราดน้ำเกลือก็ทาเบตาดีนเอาครับ ไม่กล้าราดไฮโดรเจน ตอนอยู่บ้านก็ไม่ได้เอาผ้าก็อซปิดแผลนะครับ เพราะอยากให้แผลแห้ง แต่ตอนไปข้างนอกก็ปิดเอาไว้ครับ

          ภาพนี้เป็นแผลช่วงที่เริ่มเป็นสะเก็ดครับ





          สารภาพเลยว่าเป็นคนมือซนมาก ๆๆ ชอบเผลอเอามือไปเขี่ย ๆ แผล จนสะเก็ดมันหลุด เลือดกับหนองไหล เป็นบ่อยมาก เลยทำให้แผลหายช้า+เป็นแผลเป็นชัดขึ้นไปอีก ยิ่งผ่านไปก็ยิ่งบุ๋ม หลังจากนั้นเลยไม่แกะเลยครับ แผลก็เป็นแบบนี้ประมาณ 7-10 วันครับ

          แผล ณ ปัจจุบันนี้ หายแล้วครับ เป็นแค่แผลเป็นยาว ๆ ไว้ทาครีมเอาครับ ส่วนเพื่อนที่โดน ตอนนี้ยังไม่หายเลยครับ 2 เดือนแล้ว  เพราะของเพื่อนจะเป็นวงกลมครับเท่าเหรียญ 50 สตางค์ แต่มีเต็มหน้าแข้งครับ เยอะมาก ของผมโชคดีที่เป็นเส้น ๆ หายง่ายกว่า

          ****ทางที่ดี ก่อนลงทะเลควรเช็กให้แน่ใจนะครับ เพื่อความปลอดภัย อย่างผมเนี่ย ไม่รู้ว่าฝนตกแล้วแมงกะพรุนจะขึ้นมา หรือเมื่อโดนแล้วก็ควรรักษาเบื้องต้นให้เร็วที่สุดครับ สิ่งเบื้องต้นที่ดีที่สุดคือน้ำส้มสายชูและผักบุ้งทะเลครับ****

          ขอบคุณที่ติดตามครับ"

          ทั้งนี้ ก็ได้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นพร้อมแชร์ประสบการณ์ในกระทู้นี้อย่างมากมาย รวมทั้ง คุณ ส.มโนมัย สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ซึ่งเป็นแพทย์ผิวหนัง ก็ได้เข้ามาให้ความรู้เพิ่มเติมถึงวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อโดนแมงกะพรุนเบื้องต้นด้วยว่า สามารถใช้ได้ทั้งผักบุ้งทะเลและน้ำส้มสายชู ซึ่งผักบุ้งทะเลมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากน้ำส้มสายชู แต่ผักบุ้งทะเลจะได้ผลเมื่อตำให้ละเอียดแล้วเอามาล้างแผลแมงกะพรุน ฉะนั้น การล้างด้วยน้ำส้มสายชู จะสะดวกและรวดเร็วกว่า

          อย่างไรก็ตาม เมื่อโดนแมงกะพรุนแล้ว ห้ามล้างแผลด้วยสบู่เด็ดขาด เพราะจะทำให้แคปซูลพิษของแมงกะพรุนที่ค้างอยู่บนผิวหนังแตกออก และจะยิ่งทำอันตรายผิวหนังมากขึ้น การล้างควรล้างเบา ๆ ให้แคปซูลพิษค่อย ๆ หลุดไป หากถูแรง ๆ เหมือนที่เจ้าของกระทู้ทำจะยิ่งทำให้แคปซูลพิษแตกง่ายขึ้น จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการในวันที่สองเป็นมากขึ้น

          ส่วนเรื่องการกินอาหารทะเลนั้น คุณหมอก็ให้ข้อมูลด้วยว่า ไม่ได้ทำให้อาการเป็นมากขึ้น ดังนั้น สามารถทานอาหารทะเลได้ เพราะอาการจะเป็นมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง




























sithiphong:
“ความดันโลหิตสูง” ภัยเงียบ..เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

-http://club.sanook.com/31233/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87-%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B5/-



“ความดันโลหิตสูง” ภัยเงียบ..เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ไม่ได้จั่วหัวเรื่อง “ความดันโลหิตสูง” ให้ดูน่ากลัว แต่ถ้าทุกๆคนได้อ่านบทความนี้จากกรมการแพทย์แล้ว จะต้องทำให้ทุกคนหยุดคิด แล้วก็ต้องหันมาดูแลตัวเองกันมากๆแล้วล่ะค่ะ

อธิบดีกรมการแพทย์ชี้ 1 ใน 3 คน มีภาวะความดันโลหิตสูง ระบุภัยร้ายความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร พร้อมแนะลดหวาน มัน เค็ม ป้องกันโรคไต โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์และอัมพาต

นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคความดันโลหิตสูงคือภาวะที่มีระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ซึ่งค่าความดันปกติในปัจจุบันถือเอาค่าตัวบน ไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท  และมีคนจำนวนมากไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะนี้ เนื่องจากไม่ปรากฏอาการในช่วงแรก เมื่อปล่อยนานไปโดยไม่รับการรักษาแรงดันในหลอดเลือดที่สูง จะไปทำลายผนังหลอดเลือดและอวัยวะที่สำคัญหลายระบบในร่างกายเป็นเหตุให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ และโรคไต เรียกว่าเพชฌฒาตเงียบ  ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงเป็น 1   ในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  จากสถิติขององค์การอนามัยโลก รายงานว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากถึงพันล้านคน โดยประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลก 1 ใน 3 คน มีภาวะความดันโลหิตสูง และได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2568 จะมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั่วโลกสูงถึง 1.56 พันล้านคน และข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เปรียบเทียบระหว่าง ปี พ.ศ. 2544 พบผู้ป่วย จำนวน 156,442 ราย และ ปี 2555 พบผู้ป่วย 1,009,385 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นสูงถึง 5 เท่า

จากความรุนแรงดังกล่าว สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก จึงได้กำหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันความดันโลหิตสูงโลก โดยได้กำหนดคำขวัญการรณรงค์ว่า “Know Your Blood Pressure” และคำขวัญของกระทรวงสาธารณสุขและสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย คือ ท่านทราบระดับความดันโลหิตของท่านหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนหันมาใส่ใจสุขภาพ  โดยมุ่งเน้นการป้องกันโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ และโรคไตที่มีสาเหตุมาจากโรคความดันโลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคอาหารเค็ม รับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ  ภาวะอ้วน ขาดการออกกำลังกาย   ดื่มแอลกอฮอล์มาก สูบบุหรี่และมีภาวะเครียด รวมทั้งอายุที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้ ดังนั้น วิธีการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง คือ ลดการบริโภคเกลือหรืออาหารที่มีรสเค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ที่หวานน้อยรวมถึงบริโภคธัญพืชแทนของว่าง ขนมกรุบรอบ ลดการรับประทานอาหารที่ผ่านกระบวนการ อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป ลดอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่   ที่สำคัญผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ ตลอดจนวัดความดันโลหิตเป็นประจำพร้อมจดบันทึกค่าความดันโลหิตในช่วงของการกินยา เพื่อประสิทธิภาพในการรักษา และป้องกันโรค

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์
ภาพประกอบจาก Thinkstockphoto.com

sithiphong:
โรคกระดูกพรุน คืออะไร


-http://www.dailynews.co.th/Content/Article/238108/_%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%3F_-


จากโครงสร้างของกระดูกที่เคยหนาแน่นประสานกันเป็นโยงใยในการรับน้ำหนักได้ดีขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการโปร่งบาง
วันอาทิตย์ 18 พฤษภาคม 2557 เวลา 00:00 น.

เป็นภาวะที่ความหนาแน่นเนื้อกระดูกลดลง จากโครงสร้างของกระดูกที่เคยหนาแน่นประสานกันเป็นโยงใยในการรับน้ำหนักได้ดีขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการโปร่งบางของโครงสร้างกระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเท่าเดิม อีกทั้งยังมีโอกาสเปราะหักเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายอีกด้วย

มีภาวะใดบ้างที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน

• เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเพศชายเนื่องจากโครงกระดูกในเพศหญิงมีความหนาแน่นน้อยกว่า

• เมื่อมีอายุสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุเกินกว่า 40 ปี

• ภาวะหมดประจำเดือนในเพศหญิงที่เกิดการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน

• ผู้ที่รับแคลเซียมและวิตามินดี ในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ทำอย่างไรจึงจะรักษาความหนาแน่นของกระดูก เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน?

• กระดูกคนเราจะมีความหนาแน่นสูงสุดในอายุ 30 ปี ดังนั้นการเสริมสร้างกระดูกให้มีความหนาแน่นมากที่สุดเมื่ออายุ 20-30 ปี เป็นช่วงที่สำคัญที่สุด และระยะสำคัญรองลงมาก็คือในช่วงก่อนหมดประจำเดือน

• เสริมสร้างกระดูกให้มีความหนาแน่นมากที่สุด ตั้งแต่ในช่วงอายุ 20-30 ปี ด้วยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงและวิตามินดีให้เพียงพอ นอกจากนี้อาจใช้ยาช่วยได้ ซึ่งแบ่งกลุ่มยาเป็น 2 กลุ่มคือ

1. ยาระงับการทำลายกระดูก ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนแคลซิโตนิน ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนท และแคลเซียม เป็นต้น

2. ยากระตุ้นการสร้างกระดูกได้แก่ วิตามินและฟลูออไรด์

มีวิธีป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร?

ในผู้ที่มีเนื้อกระดูกมากตั้งแต่แรกจะมีโอกาสเกิดการกระดูกพรุนได้น้อยกว่าผู้ที่มีเนื้อกระดูกน้อย ดังนั้น “การสะสมเนื้อกระดูกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวก็จะเป็นวิธีการป้องกันกระดูกพรุนได้ดีที่สุด รวมถึงการได้รับการตรวจ

วัดความหนาแน่นของกระดูกซึ่งสามารถตรวจพบการลดลงของเนื้อกระดูกตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นได้”

ตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร?

จากการใช้เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Densitometer) ที่ใช้เทคนิคการเรดิเอชั้น ซอร์ส (Radiation Source) โดยใช้หลักการจากการดูความหนาแน่น (Thickness) และส่วนประกอบของเนื้อ (Composition) แล้วนำไปเปรียบเทียบกับค่าปกติ

บุคคลที่ควรได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง Bone Densitometry

• หญิงทุกคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี

• หญิงวัยหมดประจำเดือน แม้ว่าอายุน้อยกว่า 65 ปี แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน

• หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีประวัติกระดูกหัก หรือมีภาพเอกซเรย์กระดูกผิดปกติ หญิงที่ต้องการรักษาโรคกระดูกพรุน การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกจะช่วยในการตัดสินใจ

• หญิงที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน มาเป็นระยะเวลานาน ๆ

• บุคคลที่มีภาวะกระดูกสันหลังผิดปกติ

• บุคคลที่ได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน

• บุคคลที่ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

• เพื่อติดตามการรักษากระดูกพรุน

• บุคคลที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา

• บุคคลที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ

ผู้หญิงอายุเท่าไหร่ ที่ควรรับประทานแคลเซียมเสริม?

ผู้หญิงควรรับประทานแคลเซียมในช่วงอายุ  20-30 ปี และในช่วงก่อนหมดประจำเดือน

การรักษา

เป็นการรักษาที่มุ่งเน้นเพื่อให้มีผลยับยั้งการทำลายกระดูกและเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้กระดูกหนาแน่นและมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น

จะติดตามผลการรักษาภาวะกระดูกพรุนได้อย่างไร?

จากการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Densitometry) เป็นระยะสม่ำเสมอตามแผนติดตามการรักษาของแพทย์

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง Bone Densitometry ต่างจากการตรวจด้วยเครื่อง Ultrasound อย่างไร?

การตรวจด้วยเครื่อง Bone Densi-tometry เป็นวิธีการตรวจที่จะได้รับความหนาแน่นของกระดูกมาตรฐาน ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุดในขณะนี้

ข้อมูลจาก ศูนย์กล้ามเนื้อกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 1 / http://www.phyathai.com

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version