ผู้เขียน หัวข้อ: ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินแก่ "วัดที่ไม่มีเจ้าภาพ ทั่วประเทศ"  (อ่าน 1098 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Dhamraksa

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 52
  • พลังกัลยาณมิตร 16
    • ดูรายละเอียด


สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ขอเชิญพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินแก่วัดที่ไม่มีเจ้าภาพทั่วประเทศ

ด้วยมหาเถรสมาคม (มส.) และ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ทำโครงการถวายกฐินให้แก่วัดที่ไม่มีเจ้าภาพขึ้นทั่วประเทศ ประจำปี ๒๕๕๖ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา รวมทั้งเฉลิมพระเกียรติ และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร และถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมาหสังฆปริณายก ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการออกสำรวจข้อมูลวัดในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศที่ไม่มีเจ้าภาพมาทอดกฐินเพื่อสรุปรวบรวมข้อมูลจำนวนวัดทั้งหมดที่จะเข้าร่วมโครงการ

* ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบุญ โดยบริจาคเงินเข้าบัญชี
ธนาคารกรุงไทย  ประเภทออมทรัพย์  สาขากระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อบัญชี  "กองทุนทอดกฐินและผ้าป่าสามัคคี"
บัญชีเลขที่  :  059-0-19391-0
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ 0 2441 4535 - 41



กฐินตกค้าง คือ กฐินประเภทนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กฐินตก กฐินโจร ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงเหตุผลที่เกิดกฐินชนิดนี้ ตลอดจนชื่อเรียกที่ต่างกันออกไปว่า (จากเรื่องเทศกาลออกพรรษา)

“…แต่ที่ทำกันเช่นนี้ ทำกันอยู่ในท้องถิ่นที่มีวัดตกค้างไม่มีใครทอดก็ได้ จึงมักมีผู้ศรัทธาไปสืบเสาะหาวัดอย่างนี้เพื่อทอดกฐินตามปกติในวันใกล้ๆ จะสิ้นหน้าทอดกฐินหรือในวันสุดท้ายของกาลกฐิน (คือวันก่อนวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒) การทอดกฐินอย่างนี้เรียกว่า กฐินตกค้าง หรือเรียกว่า กฐินตก บางถิ่นก็เรียก กฐินโจร เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวเล่าสิบล่วงหน้าให้วัดรู้ เพื่อเตรียมตัวกันได้พร้อมและเรียบร้อย การทอดกฐินตกถือว่าได้บุญอานิสงส์แรงกว่าทอดกฐินตามธรรมดา บางคนเตรียมข้าวของไปทอดกฐินหลายๆ วัด แต่ได้ทอดน้อยวัด เครื่องไทยธรรมที่ตระเตรียมเอาไปทอดยังมีเหลืออยู่ หรือบางวัดทอดไม่ได้ (อาจเป็นที่ไม่ครบองค์สงฆ์) ก็เอาเครื่องไทยธรรมเหล่านั้นจัดทำเป็นผ้าป่า เรียกกันว่า ผ้าป่าแถมกฐิน

กฐินประเภทนี้ เรื่ององค์กฐิน บริวารกฐิน ยังคงเป็นเช่นเดียวกับกฐินอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือ ไม่มีการจองวัดล่วงหน้า การทอดก็ทอดได้เฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด และเจ้าภาพเดียวอาจจะทอดหลายวัดก็ได้ ตลอดจนสามารถนำเอาของไทยธรรมที่เหลือทำเป็นการบุญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ผ้าป่าแถมกฐิน ได้อีก


การแก้ปัญหาเรื่องกฐินตกค้าง

ในกรณีที่วัดใดวัดหนึ่งไม่มีผู้จองกฐิน หรือที่เรียกว่ากฐินตกค้างนั้น ถ้าเข้าใจความมุ่งหมายของการทอดกฐินแล้วแก้ปัญหาได้ง่าย เพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าการทอดกฐินนั้นต้องใช้จ่ายสิ้นเปลืองมาก ถ้าไม่มีกำลังทรัพย์พอก็ไม่ค่อยกล้าแสดงความจำนงจองกฐิน

ความจริงการทอดกฐินนั้นมีเพียงผ้าผืนเดียว ซึ่งอาจตัดเย็บย้อมเป็นผ้านุ่ง หรือผ้าห่มซ้อนอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรืออาจถวายผ้าสำเร็จรูปผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ นับเป็นการทอดกฐินแล้ว ที่เราสิ้นเปลืองกันมากนั้นเป็นการไปเพิ่มโน่นเพิ่มนี่ขึ้นมากันตามกำลังศรัทธา เพื่อให้มีองค์ประกอบสวยงาม โดยเฉพาะมหรสพคบงันต่างๆ ที่สร้างความครึกครื้นนั้นไม่ได้มีบัญญัติไว้แต่อย่างใด ซึ่งไม่ใช่สิ่งจำเป็นใดๆ เลย

เพราะฉะนั้นถ้ามีปัญหาเรื่องวัดใดวัดหนึ่งไม่มีใครจองกฐิน ใครก็ได้ที่มีศรัทธาและทุนไม่มากไปซื้อผ้าสำเร็จรูปผืนใดผืนหนึ่งมาถวายก็เรียกว่า ทอดกฐิน แล้ว หรือในกรณีที่บางวัดมีประเพณีให้ตัดเย็บ ย้อมให้เสร็จในวันนั้นก็ซื้อผ้าขาวผืนเดียวมาถวาย ก็จัดเป็นการทอดกฐินที่สมบูรณ์ตามพระวินัย เป็นอันแก้ปัญหาเรื่องกฐินตกค้างอย่างง่ายๆ เพียงเท่านี้

http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=7392:2013-09-09-06-05-25&catid=25:2008-09-16-16-33-35&Itemid=219

http://trt.onab.go.th/download/new_trt_onab_prasha_021.pdf


ที่มาและรายละเอียด : สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.ตราด
http://trt.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=651:2013-09-13-04-08-06&catid=41:2008-10-29-14-40-50&Itemid=100