ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้บริโภคตรวจข้าวถุงพบ “โค-โค่” มีสารตกค้างเกินมาตรฐาน  (อ่าน 2255 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ผู้บริโภคตรวจข้าวถุงพบ “โค-โค่” มีสารตกค้างเกินมาตรฐาน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    16 กรกฎาคม 2556 16:39 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000087114-



น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงผลการตรวจข้าวถุง เมื่อวันที่ 16 ก.ค.


       มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคตรวจข้าวถุงไม่พบสารเคมีใดๆ ตกค้างเลย 12 ตัวอย่าง ตกค้างไม่เกินค่ามาตรฐาน 50 ppm จำนวน 33 ตัวอย่าง และเกินค่ามาตรฐาน 1 ตัวอย่างคือ “ข้าวโค-โค่” แนะรัฐเปิดเผยยี่ห้อข้าวที่พบการปนเปื้อนและปลอดภัย ย้ำเป็นสิทธิที่ผู้บริโภคต้องรู้ ชี้ใช้กำหนดทิศทางการส่งออกข้าวได้ เหตุบางยี่ห้อสารเคมีเกือบเกินมาตรฐานต้องเร่งแก้ไข เพราะไม่ผ่านมาตรฐานประเทศคู่ค้าสำคัญ
       
       วันนี้ (16 ก.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น.ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวแถลง “ผลทดสอบข้าวสารถุงยี่ห้อไหนไม่มีสารเคมี?” ว่า การเปิดเผยข้อมูลการทดลองในครั้งนี้เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ และคุ้มครองผู้บริโภคในการรับข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอต่อการบริโภค สิทธิในการเลือกซื้อสินค้า และสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ทั้งนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี และศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ตรวจสารเคมีในข้าวสารบรรจุถุงจำนวน 46 ตัวอย่าง จากยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมต ยากันรา และสารรมควันข้าวเมทิลโบรไมด์ พบว่า ข้าวสารจำนวน 12 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 26.1 ไม่พบสารตกค้างทุกกลุ่ม ได้แก่ ลายกนก-ข้าวหอมมะลิ ข้าวพันดี-ข้าวขาว ธรรมคัลเจอร์-ข้าวหอม รุ้งทิพย์-ข้าวเสาไห้ บัวทิพย์-ข้าวหอม ตราฉัตร-ข้าวขาว ข้าวมหานคร-ข้าวขาว สุพรรณหงส์-ข้าวหอมสุรินทร์ เอโร่-ข้าวขาว ข้าวแสนดี-ข้าวหอมทิพย์ โฮมเฟรชมาร์ท-จัสมิน และชามทอง-ข้าวหอมมะลิ
       
       น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ส่วนอีก 34 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 73.9 พบสารเมทิลโบรไมด์ ตั้งแต่ 0.9-67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ppm) โดยแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ดังนี้ 1.ตกค้างน้อยมาก คือน้อยกว่า 0.9 ppm มี 7 ตัวอย่าง ได้แก่ ช้างเผือก-ข้าวเสาไห้ cooking for fun-ข้าวหอมมะลิ ข้าวเบญจรงค์-ข้าวหอมมะลิ แฮปปี้บาท-ข้าวขาว เทสโก ตราคุ้มค่า-ข้าวหอม และ อคส.-ข้าวหอมมะลิ 2.ตกค้างน้อย คือ ระหว่าง 0.9-5 ppm จำนวน 14 ตัวอย่าง ได้แก่ ข่าวอิ่มทิพย์-ข้าวขาว ชาวนาไทย-เสาไห้ ข้าวแสนดี-ข้าวขาว ท็อปส์-หอมมะลิ ตราเกษตร-ข้าวขาวหอม ฉัตรทอง-หอมมะลิ ติ๊กชีโร่-หอมมะลิ หงษ์ทอง-หอมมะลิ บิ๊กซี-หอมปทุม ตราฉัตร-หอมผสม โรงเรียน-หอมมะลิ ฉัตรอรุณ-หอมผสม ปทุมทอง-หอมมะลิ และไก่แจ้เขียว-หอมมะลิ
       
       น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า 3.ตกค้างสูง คือระหว่าง 5-25 ppm จำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่ พนมรุ้ง-ข้าวขาว ท็อปส์-หอมปทุม คุ้มค่า-เสาไห้ เอโณ่-ข้าวหอม มาบุญครอง-ข้าวขาว ดอกบัว-ข้าวหอมมะลิ และปิ่นเงิน-ข้าวหอม 4.ตกค้างสูง คือระหว่าง 25-50 ppm จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ ถูกใจ-ข้าวขาว สุรินทิพย์-หอมมะลิ ดอกบัว-ขาวตาแห้ง ตราดอกบัว-เสาไห้ และข้าวแสนดี-ข้าวหอม และ 5.ตกค้างเกินมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 50 ppm จำนวน 1 ตัวอย่าง คือข้าวยี่ห้อ “โค-โค่-ข้าวขาวพิมพา” โดยตกค้างอยู่ที่ 67.4 ppm ส่วนการตรวจสารพิษจากเชื้อรา และคุณภาพข้าวถุงนั้นยังไม่แล้วเสร็จ
       
       “การเปิดเผยข้อมูลในครั้งนี้ไม่ได้ต้องการดิสเครดิตธุรกิจใด หรือต้องการโจมตีรัฐบาล แต่ต้องการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะส่งผลการตรวจนี้ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมกับขอเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐ ทั้ง อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยรายละเอียดชื่อยี่ห้อข้าวที่พบการปนเปื้อน หรือตัวอย่างยี่ห้อที่ตรวจแล้วปลอดภัยไม่พบการปนเปื้อน เพราะผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลตามกฎหมาย นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อการกำหนดทิศทางการผลิตสินค้าและการบริโภคของประเทศในอนาคต และการตรวจสอบของหน่วยงานรัฐครั้งต่อๆ ไป ควรมีองค์กรผู้บริโภคร่วมด้วย” เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวและว่า การส่งตรวจในครั้งนี้ ได้ส่งตรวจในห้องปฏิบัติการที่น่าเชื่อถือทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยงบประมาณ 7 แสนบาท
       
       นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า การตรวจข้าวบรรจุถุงครั้งนี้ พบผลที่แตกต่างจากของรัฐบาล คือเราพบข้าวถุงที่มีสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 50 ppm ที่สำคัญการตรวจของรัฐบาลไม่มีการจำแนกระดับของสารตกค้างให้ผู้บริโภคทราบ สำหรับเกณฑ์การกำหนดระดับสารตกค้างเมทิลโบรไมด์นั้น ได้ใช้ค่ามาตรฐานของประเทศคู่ค้าข้าวรายสำคัญของไทย ซึ่งมีค่ามาตรฐานที่ต่ำกว่า 50 ppm เป็นเกณฑ์คือ อินเดียที่กำหนดไว้ไม่เกิน 25 ppm และประเทศจีนที่กำหนดไว้ไม่เกิน 5 ppm ซึ่งการแบ่งเกณฑ์ดังนี้จะสะท้อนข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบว่ามีข้าวยี่ห้อใด บริษัทใด มาจากโรงสีใด ที่อาจมีผลกระทบต่อการส่งออก เพราะมีสารตกค้างอยู่ในระดับที่เกินกว่าประเทศคู่ค้ากำหนด ซึ่งต้องรีบแก้ไขเพราะอาจทำให้ไทยสูญเสียตลาดค้าข้าวที่สำคัญ อย่างจีนเมื่อก่อนนำเข้าข้าวจากไทยประมาณ 5 แสนตันต่อปี ปัจจุบันเหลือเพียง 1 แสนตันต่อปีเท่านั้น โดยหันไปนำเข้าข้าวจากประเทศอื่นมากขึ้น
       
       น.ส.ทัศนีย์ แน่นอุดร หัวหน้าศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีผู้บริโภคร้องเรียนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้หาข้อเท็จจริง จากกระแสข่าวเรื่องความไม่ปลอดภัยของข้าวสารบรรจุถุงทางสื่อต่างๆ เพราะมีผู้บริโภคบางส่วนยังไม่เชื่อข้อมูลจากภาครัฐ จึงอยากให้มีข้อมูลการตรวจสอบจากภาคประชาชนด้วย ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อจึงร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไทยแพน) และมูลนิธิชีววิถี เก็บตัวอย่างข้าวถุงที่มีการจำหน่าย ระหว่างวันที่ 19-27 มิ.ย.2556 ทุกยี่ห้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างโมเดิร์นเทรด ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง 6 แห่ง ได้แก่ เทสโก้โลตัส บิ๊กซี แม็คโคร ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต โฮมเฟรชมาร์ท และร้านสะดวกซื้อ 1 แห่งคือ เซเวนอีเลฟเวน ได้ข้าวถุงรวม 36 ยี่ห้อ จำนวน 46 ตัวอย่าง แบ่งเป็นข้าวหอมมะลิ 100% จำนวน 15 ตัวอย่าง และข้าวขาวกับข้าวหอมอื่นๆ อีก 31 ตัวอย่าง โดยส่งตรวจคุณภาพข้าวสารถุงที่จำหน่ายในท้องตลาดใน 5 ด้านคือ 1.การตรวจคุณภาพข้าวสารถุง ตามมาตรฐานข้าวสาร กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ 2.สารเคมีทางการเกษตร ยาฆ่าแมลง 2 กลุ่ม ได้แก่ ออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต 3.ยากันรา 4.สารรมควันข้าวเมทิลโบรไมด์ และ 5.สารพิษจากเชื้อรา อะฟลาทอกซิน

       

ภาพจากเว็บไซต์ฉลาดซื้อ http://www.chaladsue.com/index.php/component/content/article/96-PR/1577-rice.html
       

ภาพจากเว็บไซต์ฉลาดซื้อ http://www.chaladsue.com/index.php/component/content/article/96-PR/1577-rice.html
       

ภาพจากเว็บไซต์ฉลาดซื้อ http://www.chaladsue.com/index.php/component/content/article/96-PR/1577-rice.html
       

ภาพจากเว็บไซต์ฉลาดซื้อ http://www.chaladsue.com/index.php/component/content/article/96-PR/1577-rice.html       




       





คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
2 มูลนิธิคอนเฟิร์ม ผลทดสอบข้าว พบ 34 ยี่ห้อมีสารตกค้าง
-http://hilight.kapook.com/view/88662-




















เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก thaipan.org

            2 มูลนิธิคอนเฟิร์มผลทดสอบข้าว พบ 34 ยี่ห้อ มีสารตกค้าง จากการสุ่มตรวจ 46 ยี่ห้อ ขัดกับข้อมูล อย.-กรมวิทยาศาสตร์ฯ ชี้แถลงข่าวเพื่อความปลอดภัยผู้บริโภค

            วันนี้ (16 กรกฎาคม 2556) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี แถลงผลการเก็บตัวอย่างข้าวถุงจากการสุ่มตรวจเพื่อดูมาตรฐาน จากการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 46 ยี่ห้อ พบว่ามี 12 ยี่ห้อ หรือคิดเป็นร้อยละ 26.1 ไม่พบการตกค้างของสารทุกกลุ่มประเภท ขณะที่มีข้าวถุงมากถึง 34 ยี่ห้อ หรือคิดเป็นร้อยละ 73.9 มีการตกค้างของสารเมทิลโบรไมด์ ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการรมควันข้าว โดยมีค่าในหลายระดับตั้งแต่ระดับน้อยที่สุดจนถึงเกินค่ามาตรฐานระหว่างประเทศ คือ 0.9-67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งในจำนวนนี้พบว่า ข้าวสารยี่ห้อ โค-โค่-ข้าวขาวพิมพา มีระดับสารตกค้าง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และยังพบอีกว่ามีเพียง 5 ตัวอย่าง ที่ไม่มีสารตกค้างเกินค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ เพราะพบสารตกค้างสูงกว่า 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่

            1. ข้าวแสนดี ข้าวหอม พบสารตกค้าง 41 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            2. ข้าวตราดอกบัว ข้าวเสาไห้ พบสารตกค้าง 29.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            3. ข้าวตราดอกบัว ข้าวตาแห้ง พบสารตกค้าง 28.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            4. ข้าวสุรินทิพย์ ข้าวหอมมะลิ พบสารตกค้าง 27.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            5. ข้าวถูกใจ ข้าวขาว พบสารตกค้าง 27.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม





สำหรับข้าวถุงจำนวน 12 ตัวอย่างที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรชนิดใด ๆ ได้แก่

            1. ลายกนก ข้าวหอมมะลิแท้ 100%
            2. ข้าวพันดี ข้าวขาว 100% ชั้นดีพิเศษ
            3. ธรรมคัลเจอร์ ข้าวหอมคุณภาพคัดพิเศษ
            4. รุ้งทิพย์ ข้าวขาวเสาไห้
            5. บัวทิพย์ ข้าวหอม
            6. ตราฉัตร ข้าวขาว 15%
            7. ข้าวมหานคร ข้าวขาวคัดพิเศษ
            8. สุพรรณหงส์ ข้าวหอมสุรินทร์
            9. เอโร่ ข้าวขาว 100%
            10. ข้าวแสนดี ข้าวหอมทิพย์
            11. โฮมเฟรชมาร์ท จัสมิน ข้าวหอมมะลิ 100%
            12. ชามทอง ข้าวขาวหอมมะลิ 100%

ข้าวถุงที่มีสารตกค้างในจำนวนน้อยมาก ได้แก่

            1. ช้างเผือก-ข้าวเสาไห้
            2. cooking for fun-ข้าวหอมมะลิ
            3. ข้าวเบญจรงค์-ข้าวหอมมะลิ
            4. ข้าวหอมมะลิแปดริ้ว-ข้าวหอมมะลิ
            5. แฮปปี้บาท-ข้าวขาว
            6. เทสโก ตราคุ้มค่า-ข้าวหอม
            7. อคส.-ข้าวหอมมะลิ

ส่วนข้าวถุงที่มีการตกค้างของสารเมทิลโบรไมด์ ได้แก่

            1. โค-โค่-ข้าวขาวพิมพา ระดับสารตกค้าง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            2. ข้าวแสนดี-ข้าวหอม ระดับสารตกค้าง 41 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            3. ตราดอกบัว-เสาไห้ ระดับสารตกค้าง 29.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            4. ดอกบัว-ขาวตาแห้ง ระดับสารตกค้าง 28.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            5. สุรินทิพย์-หอมมะลิ ระดับสารตกค้าง 27.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            6. ถูกใจ-ข้าวขาว ระดับสารตกค้าง 27.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            7. ปิ่นเงิน-ข้าวหอม ระดับสารตกค้าง 21.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            8. ดอกบัว-ข้าวหอมมะลิ ระดับสารตกค้าง 19.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            9. มาบุญครอง-ข้าวขาว ระดับสารตกค้าง 19.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            10. เอโร่-ข้าวหอม ระดับสารตกค้าง 10.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            11. คุ้มค่า-เสาไห้ ระดับสารตกค้าง 6.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            12. ท็อปส์-หอมปทุม ระดับสารตกค้าง 6.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            13. พนมรุ้ง-ข้าวขาว ระดับสารตกค้าง 5.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            14. ไก่แจ้เขียว-หอมมะลิ ระดับสารตกค้าง 4.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            15. ปทุมทอง-หอมมะลิ ระดับสารตกค้าง 4.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            16. ฉัตรอรุณ-หอมผสม ระดับสารตกค้าง 3.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            17. โรงเรียน-หอมมะลิ ระดับสารตกค้าง 2.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            18. ตราฉัตร-หอมผสม ระดับสารตกค้าง 2.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            19. บิ๊กซี-หอมปทุม ระดับสารตกค้าง 2.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            20. หงษ์ทอง-หอมมะลิ ระดับสารตกค้าง 2.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            21. ติ๊กชีโร่-หอมมะลิ ระดับสารตกค้าง 1.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            22. ฉัตรทอง-หอมมะลิ ระดับสารตกค้าง 1.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            23. ตราเกษตร-ข้าวขาวหอม ระดับสารตกค้าง 1.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            24. ท็อปส์-หอมมะลิ ระดับสารตกค้าง 1.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            25. ข้าวแสนดี-ข้าวขาว ระดับสารตกค้าง 1.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            26. ชาวนาไทย-เสาไห้ ระดับสารตกค้าง 0.98 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
            27. ข้าวอิ่มทิพย์-ข้าวขาว ระดับสารตกค้าง 0.93 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

            โดย น.ส.สารี ระบุว่า การแถลงข่าวในครั้งนี้เพื่อเป็นการเปิดเผยข้อมูลผลการทดลองที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการที่จะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอในการบริโภค รวมถึงสิทธิในการเลือกซื้อสินค้า โดยเฉพาะในเรื่องของการตรวจสอบสารเคมีในข้าวสารบรรจุถุง ในกลุ่มยาฆ่าแมลงชนิดกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมต รวมถึงสารที่เป็นยากันเชื้อรา และสารรมควันข้าวเมทิลโบรไมด์



 ทั้งนี้ น.ส.สารี กล่าวย้ำด้วยว่า ก่อนหน้านี้แม้จะมีหน่วยงานของรัฐบาล อาทิ คณะกรรมการอาหารและยา รวมถึงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ออกมาแถลงข่าวยืนยันในเรื่องของความปลอดภัยของข้าวสารถุงแล้ว แต่ขณะนี้จากการตรวจสอบของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี พบว่ายังมีข้อมูลที่แตกต่างกัน ฉะนั้นจึงต้องการย้ำชัดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

            ขณะที่ทางด้าน นายวิฑูรณ์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี ได้กล่าวถึงเรื่องค่ามาตรฐานของ codex ว่า จากการตรวจสอบสารรมควันเมทิลโบร์ไมด์ พบว่า มีข้าวสารบรรจุถุง จำนวน 13 ตัวอย่างที่มีการตกค้างของเมทิลโบร์ไมด์ในข้าวเกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานของ codex ของประเทศจีน ที่กำหนดปริมาณการตกค้างของเมทิลโบร์ไมด์ในข้าวต้องไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และถ้าหากยังไม่มีการปรับปรุงในเรื่องนี้ เชื่อได้ว่า อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของประเทศไทยได้ เพราะประเทศจีน คือ คู่ค้าข้าวรายสำคัญของประเทศไทย จึงอยากเสนอให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตรวจสอบโรงสี และผู้ประกอบการเพื่อหาสาเหตุของการตกค้างของสารรมควันข้าวเมทิลโบรไมด์ในข้าว ว่ามาจากสาเหตุใดกันแน่ พร้อมทั้ง กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานการปนเปื้อนของสารเคมี เพื่อยกระดับคุณภาพของข้าวไทยให้มากขึ้น เพราะเรื่องนี้นอกจากจะกระทบเรื่องการส่งออกแล้ว ก็ยังอาจกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคอีกด้วย

            นอกจากนี้ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ได้ยื่นขอเสนอแนะแก่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

            1. ขอให้รัฐบาลเร่งผลักดันให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้องค์การนี้เป็นตัวแทนของผู้บริโภคในการดำเนินการตรวจสอบสินค้า หรือบริการต่าง ๆ

            2. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของภาครัฐ และภาคเอกชน ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพข้าว เปิดเผยผลการตรวจสอบคุณภาพข้าวให้ประชาชนได้รับทราบ

            3. ขอให้มีการสร้างระบบตรวจสอบคุณภาพข้าวอย่างเป็นระบบ โดยระบบนี้ควรเกิดจากความส่วมมือของหลาย ๆ ภาคส่วน เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ตรวจสอบครอบคลุมและครบถ้วนทุกด้าน นอกจากนี้ อยากให้ดำเนินการสุ่มตรวจตัวอย่างข้าวเป็นระยะ เพื่อให้เกิดการปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพข้าวไทย

.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
จวกรัฐแนะ ปชช.ซาวข้าวล้างสารตกค้างไม่ได้ผลจริง เหตุซึมลึกถึงโมเลกุล
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 กรกฎาคม 2556 00:41 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000089591-

  นักวิชาการอัดรัฐ แนะซาวข้าวล้างโบรไมด์ไอออนทำไม่ได้จริง ชี้ซึมลึกระดับโมเลกุลข้าว ขนาดการตรวจสอบต้องเอาข้าวไปเผาจึงจะได้โบรไมด์ไอออน ล้างธรรมดาเอาไม่อยู่ เผยพบโบรไมด์ไอออนตกค้างในข้าวโค-โค่ เกินมาตรฐาน สะท้อนมีการรมข้าวหลายครั้ง แจง อย.จ่อคุมสารเมทิลโบรไมด์ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมอาหาร ไม่มีทางเท่ากับค่าโบรไมด์ไอออน 50 ppm เพราะเป็นหน่วยเดียวกัน
       
       น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานมูลนิธิชีววิถี เครือข่ายต่อต้านสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) กล่าวถึงการตรวจสอบคุณภาพข้าวสารบรรจุถุง ว่า การตรวจสอบสารเมทิลโบรไมด์ตกค้างในข้าวสารบรรจุถุงนั้น จะทดสอบโดยการวัดปริมาณของโบรไมด์ไอออน (Bromide Ion) ซึ่งแตกตัวมาจากสารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) อีกที ทั้งนี้ โบรไมด์ไอออนไม่ได้ตกค้างอยู่ที่ผิวเมล็ดข้าวด้านนอกทั่วไป แต่จะซึมลึกอยู่ในระดับโมเลกุลของข้าว ดังนั้น การที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคตรวจเจอโบรไมด์ไอออนเกินกว่าค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ppm) นั้น หมายความว่าจะต้องมีการรมข้าวซ้ำหลายครั้งมาก ถึงจะมีการตกค้างจำนวนมากขนาดนี้

   
       น.ส.ปรกชล กล่าวอีกว่า มูลนิธิฯตรวจพบโบรไมด์ไอออนในโมเลกุลข้าว 67.4 ppm ส่วนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจเจอถึง 94.2 ppm แบบนี้ถือว่าอันตราย เพราะเกินกว่าค่ามาตรฐาน 50 ppm ซึ่งเป็นปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit : MRL) ที่องค์การอนามัยโลกยอมรับว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ที่สำคัญโบรไมด์ไอออนที่ตรวจเจอจำนวนมากเช่นนี้ไม่มีทางที่จะเป็นโบรไมด์ไอออนตามธรรมชาติ เนื่องจากมีข้าวถุง 12 ตัวอย่างที่ตรวจพบว่าไม่มีการตกค้างของโบรไมด์ไอออนเลย จึงหมายความได้ว่าต้องเป็นโบรไมด์ไอออนที่มาจากการแตกตัวของสารเมทิลโบรไมด์เท่านั้น แม้โบรไมด์ไอออนจะยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่าจะก่ออันตรายอะไรต่อร่างกาย แต่โบรไมด์ไอออนที่แตกตัวมาจากสารเมทิลโบรไมด์ จะมีตัวเมทิลแทรกอยู่ตามช่องว่างของโบรไมด์ไอออนด้วย ซึ่งตัวเมทิลนี้ที่เป็นสารอันตรายต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้การพบโบรไมด์ไอออนเกินค่ามาตรฐานจึงถือเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
       
       "การแนะนำให้ประชาชนป้องกันตัวเองด้วยการล้างข้าวหรือซาวข้าวนั้น ไม่สามารถขจัดโบรไมด์ไอออนได้แน่ เพราะมันซึมลึกอยู่ในระดับโมเลกุล ซึ่งการตรวจสอบยังต้องเอาเม็ลดข้าวไปเผาเพื่อสกัดโบรไมด์ไอออนออกมา ดังนั้น การซาวข้าวจึงไม่สามารถช่วยล้างโบรไมด์ไอออนออกไปจากข้าวได้" น.ส.ปรกชล กล่าว
       
       ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) โดยกำหนดค่า MRL ของสารเมทิลโบรไมด์ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมอาหาร หรือเท่ากับโบรไมด์ไอออนไม่เกิน 50 ppm ตามค่ามาตรฐานนั้น น.ส.ปรกชล กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะหน่วยมิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมอาหารก็คือหน่วย ppm เช่นกัน เพราะ ppm ย่อมาจาก part per million หรือ 1 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วน ซึ่ง 1 กิโลกรัมก็คือเท่ากับ 1 ล้านมิลลิกรัมนั่นเอง จึงเป็นในลักษณะของ 1 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วน ดังนั้น การกำหนดค่า MRL อยู่ที่ 0.01 ppm จึงไม่มีทางเท่ากับ 50 ppm ตามที่ อย.อธิบายแน่นอน
       
       น.ส.ปรกชล กล่าวด้วยว่า การกำหนดค่า MRL อยู่ที่ 0.01 ppm ซึ่งถือว่าน้อยกว่าค่ามาตรฐานโลกมาก ถือเป็นเรื่องดี แต่ในความเป็นจริงคงเป็นไปได้ยากในการควบคุมสารตกค้างไม่เกิน 0.01 ppm ซึ่งเท่ากับเป็นการกำหนดค่า MRL ที่น้อยที่สุดในโลกก็ว่าได้ เพราะขนาดจีนยังกำหนดอยู่ที่ 5 ppm เท่านั้น และไม่แน่ใจว่าไทยมีเทคโนโลยีรองรับการตรวจถึงระดับ 0.01 ppm แล้วหรือยัง ทั้งนี้ ประเทศไทยใช้ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 50 ppm ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาภายในประเทศว่าการตกค้างของสารในระดับใดจึงจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม บางประเทศมีการตั้งค่ามาตรฐานที่สูงกว่านี้ ซึ่งการส่งออกต้องทำให้ได้ตามที่ประเทศคู่ค้ากำหนด ตรงนี้คนในประเทศก็ย่อมอยากบริโภคข้าวที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าการส่งออกเช่นกัน

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)