หลักการเขียนโปรแกรม 50 ข้อ
1. โปรแกรมแบบพอเพียง(ทำอะไรให้เล็กที่สุดเท่าที่เป็น ไปได้)
2. ทำสิ่งธรรมดาให้ง่าย ทำสิ่งยากให้เป็นไปได้
3. จงโปรแกรมโดยนึกว่าจะมีคนมาทำต่ออย่างแน่นอน
4. ระเบียบ กฏข้อบังคับ เชื่อมั่นไม่ได้แล้วถ้ามีเพียงหนึ่งโมดูลไม่ปฏิบัติตาม
5. ตัดสินใจให้ดีระหว่างความชัดเจน(clearance) กับ การขยายได้(extensibility)
6. อย่าเชื่อมั่น output จากโมดูลอื่น ถึงแม้เราจะเป็นคนเขียนเอง
7. ถ้าคนเขียนยังเข้าใจได้ยาก แล้วคนอ่านจะเข้าใจได้ยากกว่าแค่ไหน
8. ค้นหาข้อมูลสามวันแล้วทำหนึ่งวัน หรือจะทำสามวันแล้วแก้บั๊กตลอดไป
9. จงสร้างเครื่องมือ ก่อนทำงาน
10. อย่าโทษโมดูลอื่นก่อน โดยเฉพาะถ้าโมดูลอื่นเป็น OS แล Compiler
11. พยายามทำตามกฏ แต่ถ้ามีข้อยกเว้น ต้องมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แล้วประกาศและตะโกนให้ดังที่สุด
12. High cohesion Loose coupling. (ยึดเกาะให้สูงสุดในโมดูล และ
เกาะเกี่ยวกับโมดูลอื่นให้น้อยที่สุด)
13. ให้สิ่งที่เกี่ยวข้องกันยิ่งมากอยู่ไกล้กันมากที่ สุด
14. อย่าเชื่อโดยไม่พิสูจน์
15. อย่าลองทำแล้วคอมไพล์ดู ถ้าเราไม่ได้คาดหวังผลลัพธ์อะไรไว้
(อย่างเช่นปัญหา index off by one)
16. จงกระจายความรู้เพราะนั่นคือการทำ Unit Test
ระดับล่างสุด(ระดับความคิด)
17. อย่าเอาทุกอย่างใส่ใน UI เพราะ UI คือส่วนที่ Unit Test ได้ยาก
18. ทั้งโปรเจ็คต์ควรไปในทางเดียวกันมากที่สุด( Consistency )
19. ถ้ามีสิ่งที่ดีอยู่แล้วจงใช้มัน อย่าเขียนเอง
ถ้าจำเป็นต้องเขียนเอง ให้ศึกษาจากข้อผิดพลาดในอดีตก่อน
20. อย่ามั่นใจเอาโค้ดไปใช้จนกว่าจะ test อย่างเพียงพอ
21. เอาโค้ดที่ test ไว้ที่เดียวกันกับโค้ดที่ถูก test เสมอ
22. ทุกครั้งที่แก้ไขโค้ดให้ run unit test ทุกครั้ง
23. จงใช้ Unit Test แต่อย่าเชื่อมั่นทุกอย่างใน Unit Test เพราะ
Unit Test ก็ผิดได้
24. ถ้าต้องทำอะไรที่ซ้ำกันมากกว่าหนึ่งครั้ง
ก็เพียงพอแล้วที่จะแยกโค้ดส่วนนั้นออก
25. ทำให้ใช้งานได้ก่อน แล้วค่อย optimize และถ้าไม่จำเป็น
อย่าoptimize
26. ยิ่งประสิทธิภาพเพิ่ม ความเข้าใจง่ายจะลดลง
27. ใช้ Design Pattern ที่เป็นที่รู้จักจะได้คุยกับใครได้รู้เรื่อง
28. อย่าเก็บไว้ทำทีหลัง ถ้ายังไงก็ต้องทำ
29. MutiThreading ไม่ใช่แค่การเพิ่มประสิทธิภาพ แต่มันมาพร้อมกับ
Concerency, Deadlock, IsolationLevel, Hard to debug,
Undeterministic Errors.
30. จงทำอย่างโจ่งแจ้ง
31. อย่าเพิ่ม technology โดยไม่จำเป็น
เพราะนั่นทำให้โปรแกรมเมอร์ต้องวุ่นวายมากขึ้น
32. จงทำโปรเจ็คต์ โดยคิดว่าความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอ
33. อย่าย่อชื่อตัวแปรถ้าไม่จำเป็น เดี๋ยวนี้ IDE
มันช่วยขึ้นเยอะแล้วไม่ต้องพิมพ์เองแค่
dot มันก็ขึ้นมาให้เลือก
34. อย่าใช้ i, j , k , result, index , name, param
เป็นชื่อตัวแปร
35. ทำโค้ดที่ต้องสื่อสารผ่านเครือข่ายให้คุยกันน้อยท ี่สุด
36. แบ่งแยกดีดี ระหว่าง Exception message ในแต่ละเลเยอร์
ว่าต้องการบอกผู้ใช้ หรือ บอกโปรแกรมเมอร์
37. ที่ระดับ UI ต้องมี catch all exception เสมอเพื่อกรอง
Exception ที่ลืมดักจับ
38. ระวัง คอลัมภ์ allow null ใน database ดีดี ค่า <Null มัน
convert ไม่ได้
39. อย่าลืมว่า Database เป็น global variable ประเภทหนึ่ง
แต่ละโปรแกรมที่ติดต่อเปรียบเหมือน MultiThreading ดังนั้นกฏของ
Multithreading ต้องกระทำเมื่อทำงานกับ Database
40. ระวังอย่าให้ logic if then else ซ้อนกันมากมาก
เพราะสมองคนไม่ใช่ CPU
จินตนาการไม่ออกหรอกว่ามันอยู่ตรงไหนเวลา Debug
(ถ้ามากกว่าสามชั้นก็ลองคิดใหม่ดูว่าเขียนแบบอื่นได้ มั้ย)
41. ระวังอย่าให้ลูปซ้อนกันมากมาก
ไม่ใช่แค่เรื่องความเร็วอย่างเดียว เวลา
Debug เราคิดตามมันไม่ได้ (ถ้าเกินสามชั้นก็ไม่ไหวแล้ว)
42. อย่าใช้ Magic Number ใน Code เช่น if( controlingValue == 4)
เปลี่ยนไปใช้ Enum ดีกว่า เป็น if(
controlingValue ==
ControllingState.NORMAL ) เข้าใจง่ายกว่ามั้ย
43. ถ้าจะเปรียบเทียบ string Trim ซ้ายขวาก่อนเสมอ
44. คิดหลายๆ ครั้งก่อนใช้ Trigger
45. โปรแกรมเมอร์คือห่วงโซ่สุดท้ายของมลพิษทางความซับ ซ้อน
ดังนั้นหา project leader ดีดีแล้วกัน
46. มนุษย์ฉลาดกว่าคอมพิวเตอร์
การเขียนโปรแกรมก็คือการสอนให้คอมพิวเตอร์ฉลาดได้เหม ือนเรา
(มนุษย์ฉลาดกว่าคอมพิวเตอร์จริงๆนะ)
47. จงควบคุมคอม มิใช่ให้คอมควบคุมเรา เราต้องสั่งให้คอมทำงาน
ไม่ใช่ให้เราทำงานตามคอมสั่ง
48. อย่าปล่อยให้ข้อจำกัดของคอม มาจำกัดความคิดของเรา
[คอมไม่ดีเปลี่ยนเครื่องเลย 55+]
49. ยอมรับความคิดของผู้อื่น แต่อย่าออกจากกรอบของตนเอง
50. หมั่น Save โปรแกรมไว้อย่าสม่ำเสมอ ก่อนที่จะไม่มีโอกาส Save
[จะให้ดี Save เป็นแต่ละ Version เลย]
ไม่ได้บอกว่าต้องดีที่สุด แต่ควรทำดีที่สุด ..ก็เท่านั้น..
ที่มา : Mew