ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธศาสนสุภาษิต  (อ่าน 12902 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
พุทธศาสนสุภาษิต
« เมื่อ: สิงหาคม 22, 2013, 03:04:54 pm »




พุทธศาสนสุภาษิต

        คำสอนในพระพุทธศาสนามีองค์ 9 ประการ ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และ เวทัลละ พุทธศาสนสุภาษิต ได้มาจากเนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในคำสอนดังกล่าว ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเนื้อความสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรมประจำใจ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทาง อันจะนำไปสู่ความสุข ความเจริญงอกงามในชีวิตของตน แล้วยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุข ในสังคมโลกอีกด้วย

       พุทธศาสนสุภาษิต คือ สุภาษิต ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย หรือ แม้แต่เตือน สติ ให้เรา หู ตา สว่าง เกิดปัญญาเข้าใจ ได้อุบายที่ดีในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหา และพ้นจากเครื่องเศร้าหมองได้

       พุทธศาสนสุภาษิต เป็นที่นิยมของหมู่ชนทั้งหลาย ถึงแม้จะต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนาต่างก็มีสุภาษิตในหมู่ของตน คำสุภาษิตนั้น เป็นคำสั้นๆ จำได้ ไม่ยากเย็น อีกทั้งไพเราะ และมีความหมาย ลึก กินใจ มีคุณค่า และประโยชน์ แก่ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ผู้ที่อยู่ในวัยเรียน วัยทำงาน วัยครองเรือน วัยสูงอายุ หากมีเวลา ให้แก่พระศาสนาบ้าง เพียงอ่าน และท่องจำวันละบท ศึกษาให้เข้าใจ ทั้งนี้ก็เพื่อน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน จะบังเกิดประโยชน์แก่ตนเอง และ ผู้อื่นโดยทั่วไป

หมวดเบื้องต้น
หมวดบุคคล
หมวดการศึกษา
หมวดวาจา
หมวดอดทน

หมวดความเพียร
หมวดความโกรธ
หมวดการชนะ
หมวดความประมาท
หมวดความไม่ประมาท

หมวดตน- ฝึกตน
หมวดมิตร
หมวดคบหา
หมวดสร้างตัว
หมวดการปกครอง

หมวดสามัคคี
หมวดเกื้อกูลสังคม
หมวดพบสุข
หมวดทาน
หมวดศีล

หมวดจิต
หมวดปัญญา
หมวดศรัทธา
หมวดบุญ
หมวดความสุข

หมวดธรรม
หมวดกรรม
หมวดกิเลส
หมวดบาป-เวร
หมวดทุกข์-พ้นทุกข์

หมวดชีวิต-ความตาย
หมวดพิเศษ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2013, 03:07:51 pm »



หมวดเบื้องต้น
ตนเป็นที่พึ่งของตน
ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์
คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้
คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ
ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า
พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น
คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
บัณฑิตย่อมฝึกตน
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก

จงเตือนตน ด้วยตนเอง
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบไม่มี
บิดามารดา เป็นบูรพาจารย์ของบุตร
คนเห็นแก่ตัว เป็นคนสกปรก
ความมีสติป้องกันความเลวร้ายได้
คนโกรธย่อมฆ่าได้แม้มารดาของตน
ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา
เมื่อคบคนดีกว่าตน ตนเองก็ดีขึ้นมาทันที
อยู่ร่วมกับคนชั่ว ย่อมมีแต่ความทุกข์
คนเกียจคร้าน ย่อมไม่พบความสุข

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
ความเป็นเพื่อนไม่มีในคนพาล
ผู้ฝึกตนได้เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์
พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
วาจาของคน ย่อมส่องเห็นน้ำใจ
ปราชญ์ว่า มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาประเสริฐที่สุด
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้
ถ้าจะทำ ก็ควรทำให้จริง
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ความชั่วเมื่อทำแล้ว ย่อมเดือนร้อนภายหลัง
คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
บิดามารดาเป็นพรหมของบุตร
คบคนดี ย่อมเจริญขึ้น
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะย่อมนำสุขมาให้
การไม่คบคนชั่วเป็นมิตร เป็นมงคลอันอุดมยิ่ง
ความอดทน นำสุขมาให้

กินคนเดียว ย่อมไม่ได้ความสุข
เมตตา เป็นเครื่องค้ำจุนโลก (กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต
พึ่งสละ ทั้งทรัพย์ อวัยวะ และ ชีวิต เพื่อรักษาธรรม (ความถูกต้อง)


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2013, 04:01:40 pm »

หมวดบุคคล

คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
ผู้มีความรู้ในทางที่ชั่ว เป็นผู้เสื่อม
ผู้มีความรู้ในทางที่ดี เป็นผู้เจริญ
พวกโจร เป็นเสนียดของโลก

ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม
ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ
สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์
ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีความเคารพตนเอง
ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น

ความสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย
คนย่อมเป็นที่เกลียดชัง เพราะขอมาก
ผู้ถึงพร้อมด้วยองคคุณ หาได้ยาก
คนเมื่อโกรธแล้ว มักพูดมาก
คนเมื่อรักแล้ว มักพูดมาก

พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
วิญญูชนตำหนิ ดีกว่าคนพาลสรรเสริญ
บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย

บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่ดี
พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
สัตบุรุษ ไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา
กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย
สัตบุรุษ ไม่ปราศรัยเพราะความได้กาม

ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ
มีบางคนในโลกที่ยับยั้งการกระทำด้วยความละอาย
คนจะประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ และ ความประพฤติ
อ่อนไป ก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไป ก็มีภัยเวร
คนได้เกียรติ เพราะความสัตย์

บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า
สมณะในศาสนานี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก
บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง
ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ

บุตรเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย
บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
สมณะ พึงตั้งอยู่ในภาวะแห่งสมณะ
คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย
ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา

ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ
คนซื่อตรง ไม่พูดคลาดความจริง
ผู้มีปัญญาย่อมไม่ขอเลย
คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข

สามีเป็นเครื่องปรากฎของสตรี
ผู้ไหว้ ย่อมได้รับการไหว้ตอบ
ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับการสักการะ
ไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน
คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน

คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น
มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
สตรี เป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย
ผู้รักษา ควรมีสติรักษา
ได้สิ่งใด พึงพอใจในสิ่งนั้น

สมณะ พึงเป็นสมณะที่ดี
อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก
ผู้บูชา ย่อมได้รับการบูชา
สติ เป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
สติจำเป็นในที่ทั้งปวง

คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ
พระราชา เป็นประมุขของประชาชน
ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ
อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน
ฤษีทั้งหลาย มีสุภาษิตเป็นธงชัย

ผู้ประกอบด้วยทมะ และ สัจจะนั้นแล ควรครองผ้ากาสาวะ
พึงตามรักษาความสัตย์
สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
ปราชญ์ มีกำลังบริหารหมู่ให้ประโยชน์สำเร็จได้

ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้
คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำในทางที่ไม่ควรแนะนำ
พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น
ความสงัดของผู้สันโดษมีธรรมปรากฎ เห็นอยู่ นำสุขมาให้
สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์

ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข
มารดา บิดา ท่านว่าเป็นพรหมของบุตร
สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม
ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้สิ่งที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ขอ
คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ

บรรพชิตฆ่าผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นสมณะเลย
คนโง่ มีกำลังบริหารหมู่ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์
คนฉลาด ย่อมละบาป
พึงประพฤติให้พอเหมาะพอดี
ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบากที่จะได้ประโยชน์นั้น

ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
คนแข็งกระด้างก็มีเวร
กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหวนทวนลมได้

ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ย่อมประกอบด้วยกรุณายิ่งใหญ่
ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามี และ คนที่ควรเคารพทั้งปวง
มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์ (ของบุตร)
ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ
สัตบุรุษได้ตั้งมั่นในความสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม

ผู้ปราศจากทมะ และ สัจจะ ไม่ควรครองผ้ากาสาวะ
อสัตบุรุษย่อมไปนรก
คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบการอันไม่ใช่ธุระ
ผู้มีความดีจงรักษาความดีของตนไว้
มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร

สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข
สัตบุรุษ ยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์
สัตบุรุษ ย่อมขจรไปทั่วทุกทิศ

ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
คนมีปัญญา ย่อมแนะนำในทางที่ควรแนะนำ
บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด

๐คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง
๐บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
๐บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟที่ส่องทางสว่าง
๐บุรุษจะเป็นบัณฑิตในทุกสถานก็หาไม่ สตรีคิดการได้ฉับไวก็เป็นบัณฑิต
๐ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่น ย่อมไม่บรรลุสมาธิ

๐ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าท่านไม่รักทุกข์ ก็อย่าทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
๐ผู้ใดเป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอุปธิ ไม่ติดในกาม ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ดับแล้ว อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ
๐ชนเหล่าใดฉลาดในขนบธรรมเนียมโบราณ และประกอบด้วยจารีตประเพณีดี ชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคคติ
๐ผู้ใดจักไม่ทำตามโอวาทที่ผู้รู้ได้บอกแล้ว ผู้นั้นจักถึงความย่อยยับ เหมือนพ่อค้า ถึงความย่อยยับเพราะพวกโจรสลัดฉะนั้น
๐ผู้ใดรีบในกาลที่ควรช้า และ ช้าในกาลที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมถึงทุกข์ เพราะการจัดทำโดยไม่แยบคาย

๐ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ ด้วยกรรมดี ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
๐ผู้ใดช้าในการที่ควรช้า และ รีบในการที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาด ย่อมถึงสุข เพราะการจัดทำโดยแยบคาย
๐ผู้บรรลุธรรมอย่างสูงสุดไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศกในความตาย เหมือนผู้ออกพ้นจากเรือนที่ถูกไฟใหม้
๐ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
๐ผู้ใดไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ถึงความหมดจด มีทิฏฐิสมบูรณ์ มีปัญญา พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ

๐ใคร่ครวญติ คนฉลาดจะประพฤติไม่ขาด ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ประดุจแท่งทองชมพูนุท
๐ผู้ใดยกย่องตน และดูหมิ่นผู้อื่น เป็นคนเลว เพราะการถือตัวเอง พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
๐ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง และ ไม่มีเวรกับใคร ๆ
๐ผู้ไม่โกรธ ฝึกตนแล้ว เป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ สงบระงับ และ คงที่ จะมีความโกรธมาแต่ไหน
๐มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมทางกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก

๐ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้, ผู้นั้นถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข
๐ถ้าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์ สงบและยินดีในทางสงบแล้ว จึงชื่อว่าชนะมาร พร้อมทั้งพาหนะ ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด
๐ผู้ที่มารดาบิดาเลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดาย่อมเข้าถึงนรก
๐ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง เพราะความแข่งดี เขาย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา
๐ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา และประทุษร้ายภริยาของคนอื่น นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม

๐คนไม่มีโชค มีศิลป์หรือไม่มีศิลป์ก็ตาม ขวนขวายรวบรวมทรัพย์ใดไว้ได้เป็นอันมาก ส่วนคนมีโชค ย่อมบริโภคทรัพย์เหล่านั้น
๐ราคะโทสะ และอวิชชา อันผู้ใดหลุดพ้นแล้ว, ผู้นั้นเป็นผู้คงที่ มีสายล่ามขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูก ย่อมไม่ติดในที่นั้น
๐นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นในกาม ทำบาปทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงทุคคติ
๐ผู้ใดมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว มีความเห็นวิบัติ มีมายา พึงรู้ว่าคนนั้นเป็นคนเลว
๐บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย นิ่งทางวาจา นิ่งทางใจ ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้ ว่าเป็นมุนี

๐บุคคลไม่ควรนิยมการกล่าวคำเท็จ ไม่ควรทำความเสน่หาในรูปโฉม ควรกำหนดรู้มานะ และ ประพฤติงดเว้นจากความผลุนผลัน
๐บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่, แม้สตรีก็เป็นบัณฑิต มีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น ๆ ได้เหมือนกัน
๐ผู้ตั้งใจประพฤติตนเป็นคนโสด เขารู้กันว่าเป็นบัณฑิต, ส่วนคนโง่ฝักใฝ่ในเมถุน ย่อมเศร้าหมอง
๐คนเขลาคิดว่าเรามีบุตร เรามีทรัพย์ เขาจึงเดือนร้อน ที่แท้ตนของตนก็ไม่มี จะมีบุตร มีทรัพย์มาแต่ไหนเล่า
๐ผู้ใดไม่มีความอาลัย รู้แล้ว หาความสงสัยมิได้ เราเรียกผู้หยั่งลงสู่อมตะบรรลุประโยชน์แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

๐คนเหล่าใดเขลา มีปัญญาทราม มีความคิดเลว ถูกความหลงปกคลุม, คนเช่นนั้น ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น
๐บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความสะอาดล้างบาปแล้ว ท่านว่าเป็นผู้สะอาด
๐ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา บรรเทาความโศก เปลื้องสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพ
๐ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น
๐ผู้เป็นคนขัดเคืองเหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย และ ไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว

๐บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ, ไม่ขุ่นเคือง เพราะเสื่อมลาภ, ไม่ยินดียินร้ายเพราะตัณหา และ ไม่ติดในรสทั้งหลาย
๐เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก, อสัตบุรุษย่อมทำตามไม่ได้ เพราะธรรมของสัตบุรุษ ยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม
๐บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่ แต่เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐเพราะการกระทำ
๐คนเหล่าใด อันเทวทูตตักเตือนแล้วยังประมาทอยู่ คนเหล่านั้นเข้าถึงกายอันเลว ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
๐บัณฑิตขัดขวางโจรผู้นำของไป, ส่วนสมณะนำไปย่อมเป็นที่รัก, บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับสมณะผู้มาบ่อย ๆ

๐ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ, เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
๐สัตบุรุษย่อมปรากฎได้ในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์ อสัตบุรุษถึงนั่งอยู่ในที่นี้ก็ไม่ปรากฎ เหมือนกับลูกศรที่ยิงไปกลางคืน
๐ผู้ถูกมานะหลอกลวง เศร้าหมองอยู่ในสังขาร ถูกลาภและความเสื่อมย่ำยี ย่อมไม่ลุถึงสมาธิ
๐ผู้ใดเห็นศีล ปัญญา และสุตะ ในตน, ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์ตน และผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่าย
๐ผู้ใดมีสติเฉพาะหน้า เจริญเมตตาไม่มีประมาณ, สังโยชน์ของผู้เห็นความสิ้นแห่งอุปธินั้นย่อมเบาบาง

๐ความปรารถนาลามก ไม่ละอาย ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะเหตุใด, เขาย่อมสร้างบาป เพราะเหตุนั้น เขาไปสู่อบายเพราะเหตุนั้น
๐ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไปสู่แว้นแคว้น ตำบล หรือ เมืองหลวงใด ๆ ก็ตาม ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง
๐ผู้มีปัญญาเหล่าใด ประกอบด้วยศึล ยินดีในความสงบด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาเหล่านั้น เว้นไกลจากความชั่วแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
๐มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบูรพาจารย์ เป็นที่นับถือของบุตร และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร
๐ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม และมีความข่มใจ ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้มีปัญญา หมดมลทิน เขาเรียกท่านว่า เถระ

๐กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว ไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์
๐ผู้ไม่ระเริงในอารมณ์ที่ชอบใจ ไม่ประกอบในความดูหมิ่น เป็นผู้ละเอียดเฉียบแหลม ย่อมไม่เชื่อง่าย ไม่หน่ายแหนง
๐สมณะภายนอกไม่มี, สังขารเที่ยงไม่มี, ความหวั่นไหวของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี, เหมือนรอยเท้าในอากาศ
๐ผู้มีสติย่อมหลีกออก ท่านไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านย่อมละที่อยู่ได้ ดุจหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น
๐พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด คือบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์

๐คนทรามปัญญาได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติแต่การอันไม่เกิดคุณค่าแก่ตน ปฏิบัติแต่ในทางที่เบียดเบียน ทั้งตน และ คนอื่น
๐เหตุอย่างหนึ่ง ทำให้คนหนึ่งได้รับการสรรเสริญ เหตุอย่างเดียวกันนั้น ทำให้อีกคนหนึ่งได้รับการนินทา
๐แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมด ได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายจะทำให้เหมือนกันหมดทุกคนก็ไม่ได้ฉันนั้น
๐ผู้ใด วิญญูชนพิจารณาดูอยู่ทุกวัน ๆ แล้วกล่าวสรรเสริญ ผู้นั้น ใครเล่าจะควรติเตียนเขาได้
๐คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือ ได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว ไม่เคยมีมา แล้วจักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ก็ไม่มี

๐คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอกก็หาไม่ ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า
๐สิ่งเดียวกันนั่นแหละดีสำหรับคนหนึ่ง แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งใด ๆ มิใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด และ ก็มิใช่จะเสียไปทั้งหมด
๐บุคคล รู้แจ้งธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น
๐ผู้มีปัญญาเหล่าใด ขวนขวายในฌาน ยินดีในความสงบ อันเกิดจากเนกขัมมะ เทวดาทั้งหลายก็พอใจ ต่อผู้มีปัญญา ผู้รู้ดีแล้ว และ ผู้มีสติเหล่านั้น
๐ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ และ ไม่ประกอบตนในสิ่งที่ควรประกอบ ละประโยชน์เสียถือตามชอบใจ ย่อมเป็นที่กระหยิ่มต่อผู้ประกอบตนเนือง ๆ

๐ผู้ใดทำ ราคะ โทสะ มานะ และ มักขะ ให้ตกไป เหมือนทำให้เมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม, เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์
๐การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์ จะนำความสุขมาให้ไม่ได้เลย ผู้มีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์ ดุจลิงเฝ้าสวนฉะนั้น
๐บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว (พระอรหันตผล) ไม่สะดุ้ง ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลศเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว ร่างกายนี้จึงชื่อว่ามีในที่สุด
๐กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณจาล และ คนงานชั้นต่ำทั้งปวง สงบเสงี่ยมแล้ว ฝึกตนแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนกันหมด
๐ผู้ดับกิเลสได้แล้วหมดความหวั่นไหวนั้นรู้ที่สุด ทั้ง แล้ว ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา, เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นละตัณหา เครื่องเย็บร้อยใจในโลกนี้ได้แล้ว

๐ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเรา ในนามรูปโดยประการทั้งปวง และ ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าภิกษุ
๐นรชนใดไม่เชื่อ (ตามเขาว่า) รู้จักพระนิพพาน อันอะไร ๆ ทำไม่ได้ ตัดเงื่อนต่อได้ มีโอกาสอันขจัดแล้ว และ คายความหวังแล้ว, ผู้นั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด
๐ผู้ติดใจในการบริโภคกาม ยินดีหมกมุ่นในกามทั้งหลาย ย่อมไม่รู้สึกซึ่งความถลำตัว เหมือนปลาถลันเข้าลอบที่เขาดักไว้ไม่รู้สึกตัว ฉะนั้น
๐ผู้ฉลาดหลักแหลม แสดงเหตุและไม่ใช้เหตุได้แจ่มแจ้ง และ คาดเห็นผลประจักษ์ ย่อมเปลี้องตน (จากทุกข์) ได้ฉับพลัน อย่ากลัวเลย เขาจักกลับมาได้
๐ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อยู่อย่างนี้ ความกลัว ความครั้นคร้าม ขนพองสยองเกล้าจักไม่มี

๐ผู้ใดละมานะ มีตนตั้งมั่นดีแล้ว มีใจดี หลุดพ้นในที่ทั้งปวง อยู่ในป่าคนเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท, ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยู
๐ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษ และ ของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีเทวดา และ มนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง ผู้นั้นจึงล่วงข่ายคือเครื่องข้องได้ และ เป็นมุนี
๐ภิกษุไม่ควรหวั่นไหวเพราะนินทา ได้รับสรรเสริญ ก็ไม่ควรเหิมใจ พึงบรรเทาความโลภกับความตระหนี่ ความโกรธ และ ความส่อเสียดเสีย
๐คนบางจำพวกเหล่าใดไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้, คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ ลอยไปตามกระแส (ตัณหา) ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป
๐โจรผู้มีความชั่ว ถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า ย่อมเดือนร้อนเพราะกรรมของตนฉันใด ประชาชนผู้มีความชั่ว ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนในโลกหน้าฉันนั้น

๐บัณฑิตละราคะ โทสะ และ โมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ย่อมไม่หวาดเสียวในการสิ้นชีวิต, พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
๐เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้ ไม่เสพกามและบาป พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้ ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส
๐บัณฑิต ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน, สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้องแม้พลาดพลั้งไป ก็ไม่ยอมละธรรม เพราะฉันทาคติ และ โทสาคติ
๐ผู้ฉลาดละเครื่องกั้นจิต ประการ กำจัดอุปกิเลสทั้งหมด ตัดรักและชังแล้ว อันตัณหา และทิฏฐิอาศัยไม่ได้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น
๐เราคิดค้นหาทุกทิศแล้ว ก็ไม่พบผู้อื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหน ๆ , ถึงผู้อื่นก็มีตนเป็นที่รักมากอย่างนี้ เพราะฉะนั้นผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น

๐ผู้ไม่ละโมภ ไม่อำพราง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่ ขจัดโมหะ ดุจน้ำฝาดแล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ครอบงำโลกทั้งหมด ควรเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
๐ผู้ใดปราศจากการติดในกามทั้งปวง ล่วงฌานอื่นได้แล้ว อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อันประเสริฐ ผู้นั้นจะพึงอยู่ในอากิญจัญญานตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อม
๐เมื่อใดบัณฑิตรู้ว่าชรา และ มรณะเป็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งปุถุขน มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น
๐คนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ ผู้ฝึกตน มีความเพียร กินดื่มพอประมาณ ไม่ทำบาป เพราะอาหาร ท่านเรียกคนนั้นแล ว่าสมณะในโลก
๐ผู้มีปัญญานั้น ย่อมเล็งเห็นกามคุณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นโรค, ผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกาม อันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่ได้

๐บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ มีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์
๐ผู้ใดพิจารณาเห็นความยิ่งและหย่อนในโลกแล้ว ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ไหน ๆ ในโลก, เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้สงบ ไม่มีกิเลสดุจควันไฟ ไม่มีทุกข์ ปราศจากตัณหา ข้ามชาติชราได้
๐ผู้ติดในสิ่งที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมละความโศกเศร้า ความรำพัน และ ความตระหนี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดภัย จึงละความยึดถือไปได้
๐ผู้ใด ระมัดระวังอินทรีย์เหล่านั้น รู้จักอินทรีย์ ตั้งอยู่ในธรรม ยินดีในความซื่อตรง และ ความอ่อนโยน ล่วงกิเลสเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้งหมด เที่ยวไป, ผู้นั้น เป็นธีรชน ย่อมไม่ติดในสิ่งที่เห็นแล้ว และ ได้ฟังแล้ว
๐ผู้ปราศจากราคะ และกำจัดโทสะได้แล้วนั้น พึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณ ผู้นั้น งดอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถานอันประเสริฐ

๐คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นอารมณ์ อันประจวบด้วยความฝันฉันใด คนผู้อยู่ ย่อมไม่เห็นชน อันตนรักทำกาละล่วงไปแล้วฉันนั้น
๐ผู้ใดมีจิตคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของพระชินเจ้า ผู้นั้นชื่อว่าให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งอกุปปธรรม, บรรลุความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท
๐เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต
๐ขุมกำลังของคนพาล คือการจ้องหาโทษของคนอื่น ขุมกำลังของบัณฑิต คือการไตร่ตรองโดยพินิจ
๐ผู้ครองเรือนขยัน ดีข้อหนึ่ง มีโภคทรัพย์แล้วแบ่งปัน ดีข้อสอง ถึงทีได้ผลสมหมาย ไม่มัวเมา ดีข้อสาม ถึงคราวสูญเสียประโยชน์ ไม่หมดกำลังใจ ดีครบสี่

๐คฤหัสถ์ชาวบ้าน เกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี ผู้ครองแผ่นดินไม่ใคร่ครวญก่อนทำ ไม่ดี บัณฑิตมักโกรธ ไม่ดี
๐คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา คนพูดมาก เขาก็นินทา แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
๐ผู้ใดใช้ทรัพย์จำนวนพันประกอบพิธีบูชาทุกเดือน สม่ำเสมอ ตลอดเวลาร้อยปี การบูชานั้นจะมีค่ามากมายอะไร
การยกบูชาบุคคลที่อบรมตนแล้ว คนหนึ่งแม้เพียงครู่เดียวประเสริฐกว่า
๐มิใช่การประพฤติตนเป็นชีเปลือย มิใช่การเกล้าผมทรงชฎา มิใช่การบำเพ็ญตบะ นอนในโคลนตม มิใช่การอดอาหาร มิใช่การนอนกับดิน มิใช่การเอาฝุ่นทาตัว มิใช่การตั้งท่านั่งดอก ที่จะทำคนให้บริสุทธิ์ได้ ในเมื่อความสงสัยยังไม่สิ้น
๐ส่วนผู้ใด ถึงจะตกแต่งกาย สวมใส่อาภรณ์ แต่หากประพฤติชอบ เป็นผู้สงบ ฝึกอบรมตนแน่วแน่ เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ เลิกละการเบียดเบียนปวงสัตว์ทั้งหมดแล้ว ผู้นั้นแล จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ หรือ เป็นภิกษุ ก็ได้ทั้งสิ้น

*** คัดลอกมาจาก...
:หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์
:http://www.baanjomyut.com/pratripidok/proverb_buddha/02.html

มีต่อค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 26, 2013, 08:53:54 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2013, 04:17:31 pm »


หมวดการศึกษา

ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา
บิดามารดาพึงให้บุตรเรียนศิลปวิทยา
สรรพวิทยา ควรเรียนรู้ให้หมด
ปัญญา ย่อมเกิดเพราะการฝึกฝน
ปัญญานั่นแหละ ประเสริฐกว่าทรัพย์
ผู้ตั้งใจศึกษา ย่อมได้ปัญญา
ปัญญา เปรียบเสมือนเครื่องประดับแห่งตน
ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
คนโง่ มักตกอยู่ในอำนาจแห่งมาร
คนไม่พินิจพิจารณา เป็นคนไม่มีปัญญา

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา นั้นไม่มี
คนย่อมเห็นแจ้งเนื้อความอย่างเด่นชัดด้วยปัญญา
คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
คนไร้ปัญญา ไม่มีความพินิจพิจารณา
ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ดีทั้งนั้น
คนมีปัญญา เมื่อถึงคราวตกทุกข์ ก็ยังหาสุขได้
คนเรียนน้อย เจริญแต่เนื้อหนังมังสา
มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ปราชญ์กล่าวว่าประเสริฐสุด
คนเรียนน้อย แก่เปล่า เหมือนโคถึก
คนเรียนน้อย ปัญญาย่อมไม่พัฒนา

ปัญญาเป็นเครื่องปกครองคน
พึงพินิจพิจารณาเรื่องราวโดยรอบคอบ
ผู้รู้จักประโยชน์แล้ว ย่อมนำสุขมาให้
คนมีปัญญาประเสริฐกว่า คนโง่ที่มียศ
ในหมู่มนุษย์ คนที่ประเสริฐ คือคนที่ฝึกแล้ว
ความไม่รู้ เป็นมลทินร้ายที่สุด
เมื่ออ่อนปัญญา ช่องทางวิบัติก็เกิดได้มหันต์
บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ
คนไม่มีศิลปวิทยา เป็นอยู่ยาก
สักวันหนึ่ง ความรู้ที่เรียนมาจะให้ประโยชน์

คนมีปัญญา ถึงไร้ทรัพย์ ก็ยังดำรงอยู่ได้
ปราชญ์กล่าวว่าปัญญา ประเสริฐสุด
บรรดาความอิ่มทั้งหลาย อิ่มปัญญาประเสริฐสุด
ปัญญาเป็นเครื่องตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนมา
คนเกียจคร้าน ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา
สิ่งที่ควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด
บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชาความรู้ประเสริฐสุด
ปัญญาช่วยให้รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์
ความรู้ที่เรียนมา เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา
การใฝ่ใจศึกษา เป็นเครื่องพัฒนาความรู้

พึงเป็นคนชอบไตร่ถามเพื่อหาความรู้
บรรดาสิ่งที่โรยราร่วงหายทั้งหลาย ความไม่รู้หมดไปได้เป็นดีที่สุด
คนมีปัญญาย่อมงอกงาม ดังพืชในนาที่งอกงามด้วยน้ำฝน
อัสดร อาชาไนย สินธพ กุญชร และช้างหลวง ฝึกดีแล้ว ล้วนดีเลิศ แต่คนฝึกตนแล้ว ประเสริฐยิ่งกว่านั้น
ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ไม่ว่าอย่างไหนๆให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น

คนที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา
เล่าเรียนสำเร็จวิทยา ก็ย่อมได้เกียรติ แต่ฝึกอบรมด้วยจริยธรรมแล้วต่างหาก จึงจะสบสันติสุข
คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่นเพียรมีปัญญา ประกอบด้วยอาจาระและศีล ก็รุ่งเรืองได้เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืด ก็สว่างไสว
ความใฝ่เรียนสดับ เป็นเครื่องพัฒนาความรู้ ความรู้จากการเรียนสดับนั้น เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา บุคคลที่อยู่ด้วยปัญญา ก็รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์ที่รู้จักแล้วก็นำสุขมาให้
ถ้าไม่มีพุทธิปัญญา แลมิได้ศึกษาระเบียบวินัย คนทั้งหลายก็จะดำเนินชีวิต เหมือนดังกระบือบอดในกลางป่า

อันความรู้ ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำ สูง หรือปานกลาง ควรรู้ความหมาย เข้าใจทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง วันหนึ่งจะถึงเวลาที่ความรู้นั้นจะนำมาซึ่งประโยชน์
คนมีปัญญา แม้มีปัญหา และถูกผูกมัดอยู่ พอพูดในเรื่องใดก็หลุดได้ในเรื่องนั้น

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2013, 11:26:20 am »


หมวดวาจา

วาจาเช่นเดียวกับใจ
ไม่ควรเปล่งวาจาที่ชั่วเลย
คนพาลที่ยังไม่ถูกผูกมัด แต่พอพูดในเรื่องใด ก็ถูกผูกมัดในเรื่องนั้น
คนกล่าววาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ

คนโกรธมีวาจาหยาบ
คำสัตย์แลเป็นวาจาที่ไม่ตาย
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
ควรเปล่งวาจางาม
ควรเปล่งวาจาไพเราะ ที่มีประโยชน์

พูดดี เป็นมงคลอย่างสูงสุด
พูดอย่างใด ควรทำอย่างนั้น
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
ในกาลไหนๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ

ระมัดระวังวาจา เป็นความดี
ความบริสุทธิ์พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ
วาจาสุภาษิต ย่อมมีผลแก่ผู้ปฎิบัติ เหมือนดังดอกไม้งาม ที่มีทั้งสีสวย และกลิ่นอันหอม
คนเกิดมาชื่อว่ามีขวานเกิดติดปากมาด้วย สำหรับให้คนพาลใช้ฟันตนเอง ในเวลาพูดคำชั่ว
ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป ควรกล่าววาจาที่ไม่ฟั่นเฝือ ควรกล่าวให้พอดีๆ เมื่อถึงเวลา

คนใดเมื่อถูกอ้างเป็นพยาน เบิกความเท็จ เพราะตนก็ดี เพราะผู้อื่นก็ดี เพราะทรัพย์ก็ดี พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย นั่นเป็นธรรมเก่า สัตบุรุษ ทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์ที่เป็นอรรถ และเป็นธรรม
ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ
คนเขลา เมื่อกล่าวในเรื่องใดไม่ถูกผูก ก็ติดในเรื่องนั่น คนฉลาด เมื่อกล่าวในเรื่องใด แม้ถูกผูก ก็หลุดในเรื่องนั่น

ผู้ใดไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่รำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นมุนี มีวาจาสำรวมแล้ว
ควรกล่าววาจาที่น่ารักอันผู้ฟังยินดีเท่านั้น เพราะคนดีไม่นำพาคำชั่วของผู้อื่น คนดีจะกล่าวแต่คำไพเราะ
บุคคลพึงกล่าววาจา ที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแล เป็นสุภาษิต
ถ้ามีวาจาที่ประกอบด้วยข้อความแม้ตั้งพัน ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แล้ว ข้อความที่เป็นประโยชน์เพียงบทเดียว ที่ฟังแล้วสงบระงับได้ ย่อมประเสริฐกว่า
จะทำสิ่งใดพึงพูดสิ่งนั้น สิ่งใดไม่ทำไม่พึงพูดถึง บัณฑิตย่อมจะหมายเอาได้ว่า คนไม่ทำดีแต่พูด

บุคคลทำสิ่งใดควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใดไม่ควรพูดสิ่งนั้น บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ ได้แต่พูด
พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด ย่อมเป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน และเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย
ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมเก็บโทษของตนไว้ด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษแห่งปากนั้น
ผู้มีภูมิปัญญาย่อมไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่นหรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชา ในท่ามกลางชุมชน ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ
ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใครๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย เป็นเครื่องให้รู้ความได้และเป็นคำจริง เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2013, 11:30:41 am »


หมวดอดทน

ความอดทน เป็นตปะ (ตบะ) ของผู้พากเพียร
ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข
ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง
ความอดทน เป็นกำลังของนักพรต

ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน
สมณพราหมณ์ มีความอดทนเป็นกำลัง
ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุคคลอื่น
ความอดทน ย่อมตัดแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่า ย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได้ เป็นต้น
ผู้มีความอดทนนับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ผู้มีความอดทน ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนแก่ผู้อื่น, ผู้มีความอดทน ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และไปนิพพาน
ผู้มีความอดทน ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา, และ ผู้มีความอดทน ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยการบูชาอันยิ่งใหญ่
ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ความอดทนเป็นตบะของผู้พากเพียร ความอดทนเป็นกำลังของนักพรต ความอดทนนำประโยชน์สุขมาให้
ความอดทนเป็นประธาน เป็นเหตุแห่งคุณ คือศีล และ สมาธิ, กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะความอดทนเท่านั้น

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2013, 11:40:32 am »


หมวดความเพียร

อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์
คนไม่ประมาท ไม่มีวันตายในกาลอันไม่ควรตาย
คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดวันมะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม
ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งความไม่ตายในกาลยังควรไม่ตาย
คนไม่เกียจคร้าน ย่อมพบแต่ความสุข

คนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า
จงมีความพยายามในหน้าที่ของตน
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย
คนประมาท เปรียบเสมือนคนตายแล้ว
ที่ควรช้า จงช้า ที่ควรเร่ง จงเร่ง

ทำงานไม่คั่งค้าง เป็นอุดมมงคล
ค่อย ๆ ตั้งตัว เหมือนค่อย ๆ ก่อไฟจากกองน้อย
คนผลัดวันประกันพรุ่ง มีแต่จะเกิดความเสื่อม
คนพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร
ค่อย ๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก

การงานใด ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
ไม่พึงหาทรัพย์ด้วยการคดโกง
จงทำงานให้สมกับอาหารที่บริโภค
ประโยชน์งามตรงที่ความพยายามสำเร็จ

ไม่พึงวิตกกังวลถึงอนาคต
พึงระแวงสงสัยสิ่งที่ควรระแวงสงสัย
ฤกษ์ยามและดวงดาว จักช่วยอะไรได้
ความคืนผ่านไป ๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่
พึงบากบั่นทำการให้มั่นคง

อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต
คนขยัน ได้ความสงบใจ
อย่ามัวประมาทอยู่เลย
ไม่ควรให้แต่ละวันผ่านไปเปล่า
รีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้

ถ้าจะทำ ก็ควรทำให้จริง
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
บัณฑิต ไม่ควรท้อแท้
โภคทรัพย์ มิใช่มีมาได้ด้วยเพียงคิดเอา
ไม่พึงหวนคำนึงถึงอดีต

พึงแสวงหาทรัพย์โดยทางชอบธรรม
ใครเล่ารู้ว่าจะตายวันตายพรุ่ง
คนที่พากเพียรไม่หยุด เทวดาก็กีดกันไม่ได้
เกิดเป็นคน ควรพยายามเรื่อยไป
คนประมาท เสมือนคนตายแล้ว

คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้
ประโยชน์ เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง
เกิดเป็นคน ควรมีความหวังเรื่อยไป
เมื่อต้องการความสุข ไม่พึงสิ้นความหวัง
จงเตรียมการให้พร้อม สำหรับอนาคต

ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย
ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่
คนมีกิจธุระ ตั้งใจทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้
ไม่พึงขวนขวายในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ประเสริฐกว่า

เมื่อทำหน้าที่ของลูกผู้ชายแล้ว จังไม่ต้องเดือนร้อนใจในภายหลัง
คนขยันทั้งคืนทั้งวัน จักไม่ซึมเซา เรียกว่าแต่ละวันมีแต่นำโชค
เป็นคนควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าผลที่ปรารถนาจะสำเร็จ
รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์แก่ชีวิตตน ก็ควรรีบลงมือทำ
พึงประกอบการค้าที่ชอบธรรม

ผู้ปรารถนาประโยชน์ด้วยวิธีการอันผิด จะต้องเดือดร้อน
ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย
ประโยชน์คือตัวฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้
ถ้ามัวล่าช้า ทำกิจล้าหลัง จะจมลงในห้วงอันตราย
จงทำประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท

อันความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้
คนฉลาดไม่ถูกเรื่อง ถึงจะพยายามทำประโยชน์ ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข
การงานที่ทำโดยผลีผลาม ทำให้คนอ่อนปัญญาต้องเดือนร้อนภายหลัง
ประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี เช้าดี รุ่งอรุณดี
เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้ประโยชน์อะไรบ้าง

เมื่อความบากบั่นมีอยู่ บัณฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสีย เหมือนคนมีจักษุ เว้นเดินทางอันไม่สะดวกเรียบร้อย
ผู้ไม่สำคัญความหนาว และ ความร้อนให้ยิ่งไปกว่าหญ้าบุรุษเมื่อทำกิจ ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข
ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารถนาความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น
ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้วจักพ้นจากเครื่องผูกของมาร
อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เมื่อขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และ ความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร

ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจจัดการงาน เลี้ยงชีวิตพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
คนมีปัญญา ถึงเผชิญอยู่กับความทุกข์ ก็ไม่ยอมสิ้นหวังที่จะได้ประสบความสุข
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ ด้วยต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น
ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์น้อยหรือมาก เพราะวันคืนผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น
เตรียมกิจสำหรับอนาคตให้พร้อมไว้ก่อน อย่าให้กิจนั้นบีบคั้นตัว เมื่อถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้า

-เมื่อได้เพียรพยายามแล้ว ถึงจะตาย ก็ชื่อว่าตายอย่างไม่มีใครติเตียน ไม่ว่าในหมู่ญาติ หมู่เทวดา หรือว่าพระพรหมทั้งหลาย
-สิ่งใดเป็นหน้าที่ กลับทอดทิ้งเสีย ไพล่ไปทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ คนเหล่านั้นมัวประมาทอยู่ ความหมักหมมภายในตัวเขา ก็พอกพูนยิ่งขึ้น
-เป็นคนควรหวังเรื่อยไป บัณฑิตไม่ควรท้อแท้ เราเห็นประจักษ์มากับตนเอง เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้สมตามนั้น
-ผู้ที่ทำการงานลวก ๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี เอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จ การงานเหล่านั้น ก็จะก่อความเดือนร้อนให้ เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก
-ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้วปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในธรรม ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
-คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของกาฬกิณี

-ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย และ เห็นการปรารภความเพียรว่าปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี
-คนใดไม่ว่าจะหนาวหรือร้อน มีลมแดด เหลือบยุงก็ไม่หรั่น ทนหิวทนกระหายได้ทั้งนั้น ทำงานต่อเนื่องไปไม่ขาด ทั้งคืนวัน -สิ่งที่เป็นประโยชน์มาถึงตามกาล ก็ไม่ปล่อยให้สูญเสียไป คนนั้นย่อมเป็นที่ชอบใจของสิริโชค สิริโชคจะพักพึงอยู่กับเขา
-มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า
-ผู้ใดทำการโดยรู้ประมาณ ทราบชัดถึงกำลังของตน แล้วคิดการเตรียมไว้รอบคอบ ทั้งโดยแบบแผนทางตำรา ทั้งโดยการปรึกษาหารือ และโดยถ้อยคำที่ใช้พูดอย่างดี ผู้นั้นย่อมทำการสำเร็จ มีชัยอย่างไพบูลย์

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต :หมวดความโกรธ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2013, 11:45:28 am »


หมวดความโกรธ

ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว (เพราะความโกรธได้เข้าพำนักหมดสิ้นแล้ว)
ความโกรธย่อมทำจิตให้กำเริบ

ผู้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ
ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม
ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย

ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์
ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ฉิบหาย
คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง
ผู้มืนเมาด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์
ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมเกิดมีขึ้นเมื่อนั้น

ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
ความโกรธก่อความพินาศ
ฆ่าความโกรธได้ ไม่โศกเศร้า
คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน

ความโกรธน้อยแล้วมาก มักเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น
ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี
ความโกรธไม่ดีเลย
อย่าลุแก่อำนาจความโกรธ
ผู้โกรธ ย่อมฆ่ามารดาของตนได้

ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้
คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต :หมวดการชนะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2013, 11:48:37 am »


หมวดการชนะ

การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรมะ ย่อมชนะรสทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
พึงชนะคนตระหนึ่ด้วยการให้

ผู้ชนะย่อมก่อเวร
พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ
ความชนะใด ที่ชนะแล้ว ไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี
ความยินดีในธรรมะ ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ความชนะใด ที่ชนะแล้ว กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต :หมวดความประมาท
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2013, 11:52:41 am »


หมวดความประมาท

ความประมาท เป็นทางแห่ง ความตาย
ความประมาท บัณฑิต ติเตียนทุกเมื่อ
ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา
ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว
ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท

อย่ามัวประกอบความประมาท
คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาท
คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย, มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่า

เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวมัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ
หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น
ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินควรแก่กาล

มีต่อค่ะ