ผู้เขียน หัวข้อ: การธำรงรักษาพระธรรมวินัยโดยอาศัยพระไตรปิฎก  (อ่าน 1679 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




การธำรงรักษาพระธรรมวินัยโดยอาศัยพระไตรปิฎก

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ หลังจากได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นศาสดาเอกในไตรโลกแล้วได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ เป็นเวลา ๔๕ ปี จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ทรงแสดงธรรมโปรดท่านพระอานนท์ผู้อาลัยอาวรณ์ในการที่พระพุทธองค์จะจากไป เพื่อให้ท่านพระอานนท์แจ้งแก่ภิกษุสงฆ์ ไม่ให้พากันคิดว่า "พระศาสดาจากพระธรรมวินัยไปแล้ว พระศาสดาไม่อยู่แล้ว" แต่ให้คิดว่า "พระธรรมที่พระศาสดาได้แสดงไว้แล้ว และพระวินัยที่พระศาสดาไดับัญญัติไว้แล้วแก่ภิกษุสงฆ์นั้น จักอยู่เป็นศาสดา คือตัวแทนพระศาสดาของภิกษุสงฆ์ เมื่อพระศาสดาได้ล่วงลับไปแล้ว" คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกว่า "ธรรมวินัย" บ้าง "พุทธพจน์" บ้าง ซึ่งในกาลต่อมาเรียกว่า "พระไตรปิฎก" พระธรรมวินัยนี้ คือตัวแทนพระศาสดาของพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งได้รับการนำสืบ ๆ กันมาด้วยวิธีมุขปาฐะ คือทรงจำด้วยใจท่องจำกันมาด้วยปากเปล่า สั่งสอนกันจดจำกันปากต่อปากสืบทอดกันมา เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ภิกษุสงฆ์บางกลุ่มบางพวกสั่งสอนประพฤติปฏิบัติผิดแปลกออกไป พระสาวกทั้งหลายผู้หวังความบริสุทธิ์ ความตั้งมั่นแห่งพระธรรมวินัย จะประชุมกันตรวจสอบพระธรรมวินัย ชำระสะสางขจัดคำสอนที่แปลกปลอมเข้ามาออกไป

พระสาวกทั้งหลายได้ทรงจำนำสืบต่อพระธรรมวินัยด้วยวิธีมุขปาฐะกันมาเป็นเวลานับ ร้อยปี ในที่สุดได้ตกลงกันจารึกพระธรรมวินัยเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนใบลานที่เกาะ สิงหล (ศรีลังกา) เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๐๐ พระธรรมวินัยที่จารึกลงบนใบลานที่เกาะสิงหลนี้ได้แพร่หลายไปยังประเทศที่ นับถือพระพุทธศาสนา ประเทศที่รับคัมภีร์พระไตรปิฎกไปก็เปลี่ยนจากการจารึกด้วยอักษรสิงหลเป็น จารึกด้วยอักษรที่ประเทศตนใช้ คัดลอกสืบต่อกันมา จนในที่สุดได้เปลี่ยนมาจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ

ในประเทศไทย ตามหลักฐานจากคัมภีร์มูลศาสนา๒ว่า พระญาณคัมภีรเถระไปลังกาแล้วรับพระไตรปิฎกและอักษรเขียนบาลีมาประเทศเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๐ แล้วคัดลอกจารลงบนใบลานนำสืบต่อกันมา จนได้รับการคัดลอกจากใบลานอักษรขอม เปลี่ยนเป็นอักษรไทย จัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ในประเทศอื่น เช่น ลังกา พม่า ลาว เขมร ก็มีการคัดลอกจารจารึก จนจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือเช่นกัน นี้เป็นเรื่องความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกได้รับการนำสืบต่อมา ได้มีการตรวจสอบกันกับฉบับของแต่ละประเทศ ได้รับการรักษายกย่องเทิดทูนเป็นตัวแทนองค์พระศาสดาเมื่อเกิดมีภิกษุประพฤติ ปฏิบัติส่อไปในทางว่าจะผิดหลักธรรมวินัย ก็พึงนำข้อที่คิดว่าผิดนั้นมาตรวจสอบกับพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎก เป็นประดุจเข้ากราบทูลถามพระศาสดาว่า การประพฤติปฏิบัตินั้น ถูกต้องหรือไม่ พระองค์ทรงสั่งสอนอย่างนี้หรือไม่ในการรักษาสืบต่อพระธรรมวินัยในรูปแบบของ การปฏิบัติและสั่งสอนนั้น ผู้ที่มีความละอาย คือเป็นลัชชี จึงจะรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ได้อย่างถูกต้องบริสุทธิ์ ในข้อนี้พระโบราณาจารย์เถระได้กล่าวไว้ว่า "อนาคเต ลชฺชี รกฺขิสฺสติ, ลชฺชี รกฺขิสฺสติ, ลชฺชี รกฺขิสฺสติ : ในกาลภายหน้า ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้ ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้ ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้" ภิกษุที่จัดว่ามียางอาย คือภิกษุที่มีความรู้สึกละอายต่อสิ่งที่พึงละอาย ละอายต่อการที่จะแตะต้องบาปอกุศลธรรม เป็นคนรังเกียจบาป ภิกษุผู้เป็นลัชชียังมีคุณธรรมอื่นอีก คือ มีความเกรงกลัวบาป มีความเคารพหนักแน่นในหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ยกย่องพระสัทธรรมไว้เหนือตนเอง

นอกจากจะละอายบาป ยังมีความเอ็นดู อนุเคราะห์ช่วยเหลือ ให้แล้วไม่หวังตอบแทน พูดจริง ไม่กล่าวให้คลาดจากความจริง ไม่สร้างความแตกแยก สมานสามัคคี เจรจาไพเราะ พูดถูกกาลเทศะ พูดจริง พูดเป็นอรรถเป็นธรรม มีที่อ้างอิงประกอบด้วยประโยชน์ ภิกษุที่เป็นลัชชี จะมีความยำเกรง ใคร่ในการศึกษา จะไม่ทำให้เสียแบบแผนเพราะเห็นแก่ความเป็นอยู่ แสดงเฉพาะธรรมและวินัย จะประคองสัตถุศาสน์ไว้อย่างมั่นคง ท่านจะไม่ละหลักการทางวินัย ไม่ละเมิดหลักการทางวินัย จะยืนหยัดมั่นคงในหลักการทางวินัย ตามภาวะของผู้มียางอาย ภิกษุลัชชีที่จะรักษาพระสัทธรรมไว้ได้นี้ เป็นระดับพหูสูตผู้คงแก่เรียน มิใช่ไม่มีการศึกษา เป็นผู้ไม่ง่อนแง่น เมื่อถูกสอบถามข้อความในพระไตรปิฎก หรืออรรถกถาตอนท้าย หรือตอนต้น ย้อนไปย้อนมา ก็ไม่ทื่อ ไม่หวั่น ชี้แจงได้ว่า เรากล่าวอย่างนี้ อาจารย์ของเราก็กล่าวอย่างนี้ ดุจดังใช้แหนบถอนขนทีละเส้น เป็นผู้ทีทรงจำหลักการในพระไตรปิฎก และข้อวินิจฉัยในอรรถกถาได้อย่างแม่นยำ ไม่มีหมดสิ้น ภิกษุแม้จะเป็นพหูสูต ผู้คงแก่เรียน แต่ถ้าเป็นผู้ไม่มียางอาย เป็นผู้เห็นแก่ได้ ก็มักจะทำให้แบบแผู้นคลาดเคลื่อน แสดงหลักคำสอนของพระศาสดานอกธรรมนอกวินัย สร้างความมัวหมู่องอย่างมหันต์ขึ้นในพระศาสนา ก่อให้เกิดสังฆเภทบ้าง สังฆราชีบ้าง ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้น ที่จะปกป้องพระสัทธรรม ยอมสละตนเพื่อรักษาธรรม ส่วนภิกษุอลัชชี มักจะสละธรรมเพื่อรักษาตนและพวกพ้องของตน ยอมสละหลักการแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อลาภสักการะ

ที่กล่าวมานี้ คือระบุถึงบุคคลผู้ที่รักษาพระสัทธรรมไว้ แต่การจะรักษาไว้ได้นั้น ก็มีขั้นตอนกระบวนการอยู่ คือต้องรู้ว่า อะไรเป็นแก่นแท้ที่เป็นพระสัทธรรม ภิกษุที่รู้สึกว่า ตนก็เป็นผู้มียางอาย หวงแหนปกป้องพระศาสนา แต่ถ้าไม่รู้จักพระศาสนา หรือพระสัทธรรมที่แท้ ก็อาจจะรักษาสัทธรรมปฏิรูปไว้ก็ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้พระสัทธรรมแท้ให้เข้าใจ ในเรื่องนี้ ก็ต้องอาศัยพระพุทธพจน์ที่พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก การที่พระสัทธรรมจะเสื่อมสลายหายสูญไป มิใช่ว่า เพราะไม่มีผู้รักษา มีผู้รักษา แต่อาจจะรักษาไว้แต่ที่พิรุธคลาดเคลื่อนก็เป็นได้ เหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสลายนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาตว่า :- ภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๒ ประการ ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป คือ บทพยัญชนะ (หมู่ายถึงพระพุทธวจนะ) ที่จำมาผิด (หรือคัดลอกมาผิด) และเข้าใจเนื้อความไม่ถูกต้อง เมื่อจำบทพยัญชนะมาผิด ก็ย่อมจะเข้าใจเนื้อความผิดไปด้วย อีกแห่งหนึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสลายไปไว้ว่า :-

เหตุ ๔ ประการ ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป คือ
๑. ภิกษุทั้งหลาย ศึกษาเล่าเรียนสุตตันตะที่เรียนกันมาผิดลำดับ ตามบทพยัญชนะที่จำกันมาผิด เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่จำกันมาผิด ก็ทำให้เข้าใจผิดกันไปด้วย
๒. ภิกษุทั้งหลาย เป็นคนที่ว่ายากสอนยาก มีนิสัยที่ว่ายากสอนยาก มีนิสัยไม่อดทน ไม่รับฟังคำสอนโดยเคารพ
๓. บรรดาภิกษุที่เป็นพหูสูต คล่องปริยัติทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ไม่ตั้งใจถ่ายทอดสุตตันตะแก่ผู้อื่น เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สุตตันตะก็ขาดรากฐาน ไม่มีที่พึ่งอาศัย (ไม่มีที่อ้างอิง)
๔. บรรดาภิกษุระดับเถระ เป็นพระมักมาก เป็นพระย่อหย่อน เป็นผู้นำในทางคลายความเพียร ละทิ้งวิเวก ไม่ระดมความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภิกษุรุ่นหลังก็พากันเอาเยี่ยงอย่าง

เหตุ ๔ ประการนี้ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป
ที่กล่าวมานี้ คือตัวสาเหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสูญสลายหายไป ในข้อความที่กล่าวมานั้น มีถ้อยคำที่ควรทำความเข้าใจ เช่นคำว่า "บทพยัญชนะที่จำมาผิด" (ทุนฺนิกฺขิตฺตํ ปทพฺยญฺชนํ) นั้น หมายถึงตัวอักษรที่ส่องให้รู้เนื้อความจำกันมาคลาดเคลื่อนไป เมื่อบทพยัญชนะพิรุธคลาดเคลื่อน การกำหนดความหมายเฉพาะบทย่อมคลาดเคลื่อนไปด้วย เช่นคำว่า "สุวิชาโน ปราภโว : คนเสื่อม (ชั่ว) ก็รู้ได้ง่าย" จำกันมาคลาดเคลื่อนไปว่า "ทุวิชาโน ปราภโว" ก็เลยตีความคลาดเคลื่อนไปแปลกันว่า "ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม" จึงเกิดความสงสัยกันว่า พระพุทธองค์ก็ทรงทราบเรื่องชั่วที่เรียกว่า อกุศลธรรม เป็นธรรมที่ต้องละ เรียกว่า ปหาตัพพธรรม พระองค์ก็มิได้มีความเสื่อมเสียอะไร ที่กล่าวมานี้ เป็นการกล่าวถึงลักษณะผู้ที่จะรักษาพระสัทธรรมไว้ได้ และเหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อม ต่อไปจะขอกล่าวถึงการที่จะธำรงรักษาพระธรรมวินัยด้วยอาศัยพระไตรปิฎก

พระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่นำสืบต่อกันมาจนกระทั่งได้รับการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในใบลาน คัดลอกสืบต่อกันมาจนกระทั่งได้รับการจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือนั้น ถ้าเราเกิดความสงสัยในบางบทบางข้อ หรือมีผู้มา กล่าวว่า ข้อความบทนี้ ตอนนี้ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ไม่ควรคัดค้านเสียทีเดียว ควรจะได้โอสาเรตัพพะ สัททัสเสตัพพะ คือสอบทานดูในพระสูตรเทียบเคียงดูในพระวินัยด้วยหลักมหาปเทส คือข้ออ้างอิงสำหรับใช้สอบสวนที่สำคัญ ๔ ประการ เมื่อสอบทานดูในพระสูตร เทียบเคียงดูในพระวินัยแล้ว ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ก็ไม่ต้องเชื่อตาม ถ้าลงกันสมกัน จึงค่อยเชื่อ

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


หลักการมหาปเทสฝ่ายพระสูตร ๔ ประการ ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้นั้น ดังนี้ :-
๑. หากมีภิกษุในธรรมวินัยนี้จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย เรื่องนี้ ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้เรียนมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
๒. หากมีภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสงฆ์ พร้อมพระเถระ พร้อมผู้เป็นปาโมกข์อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมาได้เรียนมาเฉพาะหน้าพระสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
๓. หากมีภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต จำปริยัติแม่นยำ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้เรียนมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
๔. หากมีภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุชั้นเถระรูปหนึ่ง อยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต จำปริยัติแม่นยำ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้เรียนมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์

ในตอนท้ายของมหาปเทสแต่ละข้อมีข้อความที่พระพุทธองค์ทรงกำชับ แต่ขอนำมาเฉพาะตอนสุดท้าย ดังนี้ :-
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่พึงยอมรับ ไม่พึงคัดค้านเรื่องที่ภิกษุนั้น (ท่านเหล่านั้น) กล่าว ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบทานดูในสูตร เทียบเคียงดูในวินัย ถ้าเมื่อสอบทานบทและพยัญชนะเหล่านั้นดูในสูตร เทียบเคียงดูในวินัย ไม่ลงกันไม่สมกันในสูตรไม่ลงกันไม่สมกันในวินัย พึงลงสันนิษฐานในข้อนี้ได้เลยว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้น (ท่านเหล่านั้น) เรียนมาไม่ดี ดังนั้น พวกเธอพึงละทิ้งเรื่องนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบทานบทและพยัญชนะเหล่านั้นดูในสูตรเทียบเคียงดูในวินัย ลงกันสมกันในสูตรเทียงเคียงกันได้ในวินัย พึงลงสันนิษฐานในข้อนี้ได้เลยว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้น (ท่านเหล่านั้น) เรียนมาดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงจดจำมหาปเทสทั้ง ๔ ประการนี้ไว้" ในเรื่องการตรวจสอบคำสอนที่แปลกปลอมเข้ามานี้ พระสังวราภิวังสเถระ ผู้แต่งหนังสือพุทธาปเทส ได้เล่าไว้ในบทนำถึงการที่บัณฑิตรุ่นโบราณ ได้ทำการตรวจสอบสัทธรรมปฏิรูปโดยการเทียบเคียงกับพระไตรปิฎกอรรถกถา ฉบับใบลานที่จารึกไว้ว่า

พระไตรปิฎกอรรถกถา ที่พระเถระฝ่ายมหาวิหารได้บากบั่นกระทำการจารึกไว้นั้นทำให้อนุชนรุ่นหลังมี ความสะดวกต่อการตรวจชำระคำสอนที่ปลอมแปลงเข้ามา เช่น ในระหว่าง พ.ศ. ๕๒๔-๕๕๒ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าภาติยะ ได้เกิดอธิกรณ์ ระหว่างคณะสงฆ์ฝ่ายมหาวิหารกับคณะสงฆ์ฝ่ายอภัยคีรีวิหาร พระเจ้าภาติยะทรงมอบอำนาจให้มหาอมาตย์นามว่า ทีฆการายนะ เป็นผู้ตัดสินคดี ซึ่งเมื่อมหาอมาตย์ได้ฟังสูตรของแต่ละฝ่ายแล้ว จึงได้ตัดสินอย่างถูกต้อง โดยการเทียบเคียงกับคัมภีร์ฉบับใบลานที่จารึกไว้ ในระหว่าง พ.ศ. ๗๕๘-๗๘๐ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าโวหารกติสสะ และในระหว่าง พ.ศ. ๗๙๗-๘๑๐ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าโคฐาภัย พระเถระฝ่ายนิกายเถรวาท ได้ทำการตรวจสอบและกำจัดคำสอนฝ่ายอธัมมวาที โดยการเทียบเคียงกับคัมภีร์ฉบับใบลานเก่า

ในราว พ.ศ. ๗๕๘-๗๘๐ ตรงกับสมัยของพระเจ้าโวหารกติสสะ พวกพระภิกษุนิกายธัมมรุจิ ที่อาศัยอยู่ในวัดอภัยศีรีวิหาร ได้รับเอาคัมภีร์วัณณปิฎก ที่แต่งโดยพวกพราหมู่ณ์ลัทธิเวตุลลวาท ซึ่งแอบบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา เพื่อหาทางทำลายพระพุทธศาสนา พวกภิกษุนิกายธัมมรุจิ ได้อ้างว่า คัมภีร์เวตุลลปิฎกเป็นพระพุทธพจน์ แต่เมื่อพระภิกษุฝ่ายเถรวาทจากสำนักมหาวิหาร ได้นำคัมภีร์ดังกล่าวมาตรวจสอบกับพระธรรมวินัยที่จารึกไว้ในใบลานแล้ว ปรากฏว่าไม่ใช่พุทธพจน์ จึงตัดสินให้คัมภีร์เหล่านั้นเป็นอธัมมวาท เมื่อพระเจ้าโวหารกติสสะทรงทราบ ได้ทรงส่งอมาตย์นามว่ากบิล ผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์ไปตรวจสอบ ครั้นได้รับการยืนยันว่าเป็นจริง จึงรับสั่งให้เอาไฟเผู้าคัมภีร์ทุกชนิดที่เกี่ยวกับเวตุลลวาท แล้วรับสั่งให้ปราบปรามพวกพระภิกษุที่นับถือลัทธิเวตุลลวาทอย่างราบคาบ ดังที่คัมภีร์มหาวงศ์ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า :- "พระเจ้าโวหารกติสสะ รับสั่งให้กบิลอำมาตย์ไปปราบพวกเวตุลลวาทแล้ว ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง"การที่พระมหาเถระรุ่นก่อน จารึกพระไตรปิฎกลงบนใบลานนั้น มีประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ไพศาล ควรแก่การจารึก และจดจำไว้ในดวงใจของคณะสงฆ์นิกายเถรวาททุกหมู่เหล่า หลักมหาปเทสนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้เพื่อให้ภิกษุลัชชีผู้เป็นพหูสูต นำไปใช้ตรวจสอบคำสอนที่ดูแล้วน่าจะนอกธรรมนอกวินัย การตรวจสอบนั้นก็ต้องมีเหตุการณ์ที่เข้าลักษณะที่กล่าวถึงในพระสูตรนี้ เช่นมีผู้กล่าวว่า "บาลีสิกขาบทวิภังค์ในพระวินัยปิฎก ที่อธิบายความตัวสิกขาบทบัญญัติ รจนาเมื่อภายหลัง การรจนารู้สึกว่า ผู้รจนาไม่แน่แก่ใจ จะเรียงเป็นพระพุทธภาษิตหรือเป็นคำของตนเอง"

ข้อความนี้ ท่านกล่าวเพราะพบข้อความในสิกขาบทวิภังค์พูดถึงเรื่องเจดีย์๒๑ ท่านเข้าใจว่า เจดีย์ที่กล่าวถึงในสิกขาบทวิภังค์ คือเจดีย์แบบที่เราพบเห็น เช่น พระปฐมเจดีย์ อันศักดิ์สิทธิ์ แต่ความจริงแล้ว คำว่า เจติย ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ส่วนมากหมายถึงสิ่งที่เคารพบูชา๒๒ เป็นอะไรก็ได้ ต้นไม้ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสถูป ถ้าเกิดกรณีมีผู้สงสัยข้อความในพระไตรปิฎกว่า ไม่น่าจะใช่พุทธพจน์ เช่นนี้ ก็ต้องยึดหลักมหาปเทส อย่าพึ่งคัดค้าน อย่าพึ่งเชื่อตาม พึงตรวจสอบเทียบเคียงดูก่อน โดยตรวจดูข้อความสิกขาบทวิภังค์ในพระวินัยปิฎ เมื่อเปิดพระวินัยปิฎกดูเกี่ยวกับสิกขาบทและสิกขาบทวิภังค์ก็จะพบประโยคบาลีแห่งสิกขาบทวิภังค์มีลักษณะที่ชวนให้คิดว่า ไม่น่าจะเป็นพุทธพจน์ เพราะรูปประโยคคล้ายอรรถกถามากกว่า เช่น

ข้อความสิกขาบทและสิกขาบทวิภังค์ แห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่า
โย ปน ภิกฺขุ ... เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสเวยฺย อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ, ปาราชิโก โหติ ... (วิ.มหา. ๑/๔๔/๓๐ มจร.) แปลว่า
อนึ่ง ภิกษุใด ... เสพเมถุนธรรมโดยที่สุดกับสัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุนั้นย่อมเป็นปาราชิก ...

อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปีติ ติรจฺฉานคติตฺถิยาปิ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย, มนุสฺสิตฺถิยา ...
ปาราชิโก โหตีติ เสยฺยถาปิ นาม ปุริโส สีสจฺฉินฺโน อภพฺโพ เตน สรีรพนฺธเนน ชีวิตฺ , เอวเมว ภิกฺขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย ... (วิ.มหา. ๑/๕๕/๓๖ มจร.) แปลว่า คำว่า อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ : โดยที่สุดกับสัตว์ดิรัจฉาน อธิบายว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรมกับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ย่อมไม่เป็นสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร การที่ภิกษุเสพเมถุนธรรมกับหญิงมนุษย์ไม่ต้องพูดถึง ...

คำว่า ปาราชิโก โหติ : ย่อมเป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรม ย่อมไม่เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษศีรษะขาดแล้ว ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้โดยการต่อศีรษะเข้ากับร่างกายนั้น ...

สิกขาบทและสิกขาบทวิภังค์แห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ว่า
โย ปน ภิกฺขุ ... อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อาทิเยยฺย, ... อยมฺปิ ปาราชิโก โหติ ... (วิ.มหา. ๑/๙๑/๖๐ มจร.) แปลว่า
อนึ่งภิกษุใด ... ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ โดยอาการแห่งขโมย ... ภิกษุนี้ย่อมเป็นปาราชิก ...

ปาราชิโก โหตีติ เสยฺยถาปิ นาม ปณฺฑุปลาโส พนฺธนา ปมุตฺโต อภพฺโพ หริตตฺตาย, เอวเมว ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อาทิยิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย ... (วิ.มหา. ๑/๙๒/๖๒ มจร.) แปลว่า
คำว่า ปาราชิโก โหติ : ย่อมเป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ๑ บาท หรือตีราคาได้ ๑ บาท หรือเกินกว่า ๑ บาท๒๒ โดยอาการแห่งขโมย ย่อมไม่เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนใบไม้เหี่ยวเหลืองหลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจจะเขียวสดอยู่ได้ต่อไป ...

สิกขาบทและสิกขาบทวิภังค์แห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่า
โย ปน ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปยฺย ... อยมฺปิ ปาราชิโก โหติ ... (วิ.มหา. ๑/๑๗๑/๙๙ มจร.) แปลว่า
อนึ่ง ภิกษุใด เจตนาปลงชีวิตมนุษย์ ... ภิกษุแม้นี้ ย่อมเป็นปาราชิก ...

ปาราชิโก โหตีติ เสยฺยถาปิ นาม ปุถุสิลา เทฺวธา ภินฺนา อปฺปฏิสนฺธิกา โหติ, เอวเมว ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย ... (วิ.มหา. ๑/๑๗๒/๑๐๑ มจร.) แปลว่า
คำว่า ปาราชิโก โหติ : ย่อมเป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุเจตนาปลงชีวิตมนุษย์ ย่อมไม่เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนก้อนหินใหญ่แตกออกเป็น ๒ ชิ้น จะประสานให้สนิทเป็นเนื้อเดียวกันอีกไม่ได้ ...

สิกขาบทและสิกขาบทวิภังค์แห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่า
โย ปน ภิกฺขุ อนภิชานํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อตฺตูปนายิกํ ... สมุทาจเรยฺย ... อยมฺปิ ปาราชิโก โหติ ... (วิ.มหา. ๑/๑๙๖/๑๒๖ มจร.) แปลว่า
อนึ่ง ภิกษุไม่รู้ยิ่ง พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม น้อมเข้าหาตน ... ภิกษุแม้นี้ย่อมเป็นปาราชิก ...

ปาราชิโก โหตีติ เสยฺยถาปิ นาม ตาโล มตฺถกจฺฉินฺโน อภพฺโพ ปุน วิรุฬฺหิยา, เอวเมว ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อุลฺลปิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย ... (วิ.มหา. ๑/๑๙๘/๑๒๙ มจร.) แปลว่า
คำว่า ปาราชิโก โหติ : ย่อมเป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ พูดอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่อยู่ไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาลยอดด้วน ที่ไม่อาจจะงอกงามได้อีก ...

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


บาลีลักษณะนี้ ผู้เขียนพิจารณาแล้ว ก็รู้สึกว่าเหมือนสำนวนอรรถกถา ข้อความที่เป็นสิกขาบทวิภังค์ เช่นในสิกขาบทที่ ๑ ว่า
อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปีติ ติรจฺฉานคติตฺถิยาปิ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวิตวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย, ปเคว มนุสฺสิตฺถิยา ...

นี้มีบทตั้ง คือ อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปีติ และมีคำอธิบาย คือ ติรจฺฉาน-คติตฺถิยาปิ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย, ปเคว มนุสฺสิตฺติยา ... เหมือนอรรถกถา แต่เราอย่าคิดว่าเป็นอรรถกถา และก็อย่าคิดว่าไม่ใช่อรรถกถา พึงใช้หลักการมหาปเทสลองตรวจสอบดูว่า ประโยคบาลีลักษณะนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในที่ไหนบ้างหรือไม่ ก็ขอตอบเลยว่ามีมากมาย แต่ขอยกมาเป็นอุทาหรณ์เพียงสูตรเดียว เช่น

สพฺรหฺมกานิ ภิกฺขเว ตานิ กุลานิ, เยสํ ปุตฺตานํ มาตาปิตโร อชฺฌาคาเร ปูชิตา โหนฺติ. สปุพฺพาจริยกานิ ภิกฺขเว ตานิ กุลานิ, เยสํ ปุตฺตานํ มาตาปิตโร อชฺฌาคาเร ปูชิตา โหนฺติ. สปุพฺพเทวานิ ภิกฺขเว ตานิ กุลานิ, เยสํ ปุตฺตานํ มาตาปิตโร อชฺฌาคาเร ปูชิตา โหนฺติ. สาหุเนยฺยกานิ ภิกฺขเว ตานิ กุลานิ, เยสํ ปุตฺตานํ มาตาปิตโร อชฺฌาคาเร ปูชิตา โหนฺติ.

พฺรหฺมาติ ภิกฺขเว มาตาปิตูนํ เอตํ อธิวจนํ. ปุพฺพาจริยาติ ภิกฺขเว มาตาปิตูนํ เอตํ อธิวจนํ. ปุพฺพเทวาติ ภิกฺขเว มาตาปิตูนํ เอตํ อธิวจนํ. อาหุเนยฺยาติ ภิกฺขเว มาตาปิตูนํ เอตํ อธิวจนํ. ตํ กิสฺส เหตุ ? พหุการา ภิกฺขเว มาตาปิตโร ปุตฺตานํ อาปาทกา โปสกา อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร๒๓
แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่มีบุตรบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน เป็นตระกูลที่มีพรหม เป็นตระกูลที่มีบุรพาจารย์ เป็นตระกูลที่มีบุรพเทพ เป็นตระกูลที่มีอาหุไนยบุคคลภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหม คำว่า บุรพาจารย์ คำว่า บุรพเทพ คำว่า อาหุไนยบุคคล นั้น เป็นชื่อเรียกมารดาบิดา ข้อนั้น เพราะเหตุที่มารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยงดูสอนให้บุตรรู้จักโลกนี้"

ในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ ได้ทรงนำคำที่พึงทำความเข้าใจ ซึ่งทรงแสดงในตอนต้นแห่งพระสูตรมาอธิบาย คำว่า พฺรหฺมาติ ปุพฺพาจริยาติ ปุพฺพเทวาติ และ อาหุเนยฺยาติ เป็นบทตั้งคล้ายอรรถกถา คือ วางคำที่จะอธิบายไว้แล้วปิดด้วยอิติศัพท์ ข้อความว่า ภิกฺขเว มาตาปิตูนํ เอตํ อธิวจนํ เป็นคำอธิบาย การที่พระพุทธองค์ทรงอุทเทส คือ ยกหัวข้อขึ้นแสดงแล้วทรงนิทเทส คืออธิบายในตอนท้าย นี้เป็นวิธีการแสดงพระธรรมเทศนาแบบหนึ่ง คือแบบอธิบายขยายความ คล้ายอรรถกถา

พระสูตรนี้พอเป็นที่อ้างได้ว่าสิกขาบทวิภังค์เป็นพุทธพจน์ โดยใช้หลักเทียบเคียงในพระสูตร ต่อไปพึงใช้หลักสอบทานในพระวินัยบ้าง ในคัมภีร์มหาวรรคมีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ได้ทำการอุปสมบทภิกษุรูปหนึ่ง แล้วทิ้งท่านให้อยู่ตามลำพัง ภิกษุบวชใหม่เดินตามมาภายหลังพอดีพบกับภรรยา นางถามว่า "นี่พี่ไปบวชมาหรือ" ท่านก็ตอบอดีตภรรยาไปว่า "ใช่พี่บวชแล้ว" นางจึงกล่าวกับพระบวชใหม่อดีตสามีว่า "พวกที่บวชหาการเสพเมถุนธรรมได้ยาก มาเสพเมถุนธรรมกันเถิด" พระบวชใหม่จึงเสพเมถุนธรรมกับอดีตภรรยา เสร็จแล้วจึงตามพระอุปัชฌาย์อาจารย์ไปอย่างชักช้าพระอุปัชฌาย์อาจารย์ได้ถามว่า "ทำไมจึงมาล่าช้า" พระบวชใหม่จึงบอกเรื่องที่ตนมัวเสพเมถุนธรรมกับอดีตภรรยาให้ทราบ ภิกษุเหล่านั้น จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ เมื่อการอุปสมบทให้ภิกษุใหม่แล้ว ให้มีภิกษุเป็นเพื่อน และให้บอกอกรณียกิจ ๔ อย่างด้วย๒๕ ข้อความที่เป็นคำบอกอกรณียกิจ ดังนี้ :- อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา เมถุโน ธมฺโม น ปฏิเสวิตพฺโพ อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ. โย ภิกฺขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวติ, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. เสยฺยถาปิ นาม ปุริโส สีสจฺฉินฺโน อภพฺโพ เตน สรีรพนฺธเนน ชีวิตฺ, เอวเมว ภิกฺขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ.

อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ น อาทาตพฺพํ อนฺตมโส ติณสลากํ อุปาทาย. โย ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อาทิยติ, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. เสยฺยถาปิ นาม ปณฺฑุปลาโส พนฺธนา ปมุตฺโต อภพฺโพ หริตตฺตาย, เอวเมว ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อาทิยิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ

อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา สญฺจิจฺจ ปาโณ ชีวิตา น โวโรเปตพฺโพ อนฺตมโส กุนฺถกิปิลฺลิกํ อุปาทาย. โย ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปติ อนฺตมโส คพฺภปาตนํ อุปาทาย, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. เสยฺยถาปิ นาม ปุถุสิลา เทฺวธา ภินฺนา อปฺปฏิสนฺธิกา โหติ, เอวเมว ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ.

อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อุตฺตริมนุสฺสธมฺโม น อุลฺลปิตพฺโพ อนฺตมโส "สุญฺญาคาเร อภิรมามีญติ. โย ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อุลฺลปติ :- ฌานํ วา วิโมกฺขํ วา สมาธึ วา สมาปตฺตึ วา มคฺคํ วา ผู้ลํ วา, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. เสยฺยถาปิ นาม ตาโล มตฺถกจฺฉินฺโน อภพฺโพ ปุน วิรุฬฺหิยา, เอวเมว ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อุลฺลปิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. ตนฺเต ยาวชีวํ กรณียํ (วิ.ม.
๔/๑๒๙/๑๔๐๑๔๑ มจร.)

แปลว่า ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดกับสัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุที่เสพเมถุนธรรม ย่อมไม่เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรภิกษุเสพเมถุนธรรม ย่อมไม่เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษศีรษะขาดแล้ว ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้โดยการต่อศีรษะเข้ากับร่างกายนั้น การเสพเมถุนธรรมนั้น อันเธอไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต

ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยอาการแห่งขโมย โดยที่สุดกระทั่งหญ้าเส้นหนึ่ง ภิกษุที่ถือเอาสิ่งของซึ่งเจ้าของมิได้ให้ โดยอาการแห่งขโมย ๑ บาทหรือตีราคาได้ ๑ บาท หรือเกินกว่า ๑ บาท ย่อมไม่เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยอาการแห่งขโมย ๑ บาท หรือตีราคาได้ ๑ บาท หรือเกินกว่า ๑ บาท ย่อมไม่เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนใบไม้เหี่ยวเหลืองหลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจจะเขียวสดอยู่ได้ต่อไป การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้นั้น อันเธอไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต

ภิกษุ ผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเจตนาปลงชีวิตสัตว์โดยที่สุดกระทั่งมดดำมดแดง ภิกษุที่เจตนาปลงชีวิตมนุษย์โดยที่สุดกระทั่งยังครรภ์ให้ตกไปย่อมไม่เป็น สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรภิกษุเจตนาปลงชีวิตมนุษย์ ย่อมไม่เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนก้อนหินใหญ่แตกออกเป็น ๒ ชิ้น จะประสานให้สนิทเป็นเนื้อเดียวกันอีกไม่ได้ การเจตนาปลงชีวิตมนุษย์นั้น อันเธอไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต

ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมโดยที่สุดพูดว่า ข้าพเจ้ายินดีในเรือนว่าง ภิกษุที่มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง คือ ญาณก็ดี วิโมกข์ก็ดี สมาธิก็ดี สมาบัติก็ดี มรรคก็ดี ผู้ลก็ดี ย่อมไม่เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร

ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริ-มนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาลยอดด้วนที่ไม่อาจจะงอกงามได้ต่อไป การกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมนั้น อันเธอไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต

คำภาษาบาลีบอกอกรณียกิจที่เน้นอักษรดำนั้น ข้อความเหมือนในสิกขาบทวิภังค์ที่เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบท นี้แสดงให้เห็นว่า คำอธิบายในสิกขาบทวิภังค์ ซึ่งประโยคคำพูดเหมือนอรรถกถานั้น เป็นพุทธพจน์ มิได้เป็นคำรจนาในภายหลัง

ในช่วง ๔-๕ ปีที่ผ่านมาได้มีผู้กล่าวว่าอรรถกถาอธิบายสับสนในเรื่อง สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา เนื่องด้วยบางแห่งว่าหมายถึงธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ เป็นอนัตตา บางแห่งว่าเฉพาะขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจ

คำว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" "ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา" ถ้าเป็นกรณีที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเพื่อเป็นวิปัสสนาภาวนาวิธีแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็หมายเอาขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา เช่น สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (ขุ.ธ. ๒๕/๒๗๙/๖๔, ขุ.เถร ๒๖/๖๗๘/๓๖๕ มจร.) "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา"

เมื่อ ดูข้อความบริบท คือข้อความข้างเคียงจากคัมภีร์พระไตรปิฎกขุททกนิกายธัมมบทกับคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาและคัมภีร์พระไตรปิฎกขุททกนิกายเถรคาถากับคัมภีร์เถรคาถาอัฏฐกถาก็จะพบว่าในคัมภีร์ธัมมบท พระพุทธองค์ ทรงแสดงวิธีเจริญวิปัสสนาแก่ภิกษุทั้งหลาย ส่วนในคัมภีร์เถรคาถา พระอัญญาโกณฑัญญเถระ พิจารณาถึงวิปัสสนาวิธีสำหรับใช้ระงับมิจฉาสังกัปปะจึงได้กล่าวคาถานี้กับตนเอง

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



อรรถกถาที่อธิบายคัมภีร์ทั้งสองนี้ จึงอธิบายหมายเอาเฉพาะขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ดังนี้ :-
สพฺเพ ธมฺมาติ ปญฺจกฺขนฺธา เอว อธิปฺเปตา. อนตฺตาติ มา ชีรนฺตุ มา มียนฺตูติ วเส วตฺเตตุน สกฺกาติ อวสวตฺตนตฺเถน อนตฺตา สุญฺญา อสฺสามิกา อนิสฺสราติ อตฺโถ (ธมฺม.อ. ๗/๖๒ มมร.)
แปลว่า "ข้อความว่า ธรรมทั้งปวง ทรงประสงค์เอาเฉพาะขันธ์ ๕ ข้อความว่า เป็นอนัตตา อธิบายว่า ที่เป็นอนัตตา คือ เป็นสิ่งที่ว่างเปล่า เป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ เป็นสิ่งที่ไม่มีอิสระ เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ เนื่องจากไม่มีใครสามารถบังคับให้อยู่ในอำนาจได้ว่า จงอย่าแก่ จงอย่าตาย"

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพฺเพปิ จตุภูมิกา ธมฺมา อนตฺตา. อิธ ปนเตภูมิกธมฺมาว คเหตพฺพา (เถร.อ. ๒/๖๗๘/๒๘๓ มจร.)
"ข้อความว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา หมายความว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในภูมิ ๔ แม้ทั้งหมด (คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ คือ มรรค ผล นิพพาน) เป็นอนัตตา แต่ในที่นี้พึงถือเอาเฉพาะธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น" ถ้าเป็นกรณีที่แสดงแต่หลักทั่วไปเป็นกลาง ๆ ก็หมายเอาธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ เช่น สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (สํ.ข. ๑๗/๙๐/๑๐๕๑๐๖, ขุ.จูฬ. ๓๐/๘/๔๐ มจร.) "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา"

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพฺเพ จตุภูมิกธมฺมา อนตฺตา (สํ.อ. ๒/๙๐/๓๔๖ มจร.) "ข้อความว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา หมายความว่า ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ เป็นอนัตตา"
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ นิพฺพานํ อนฺโตกริตฺวา วุตฺตํ (จูฬนิ.อ. ๘/๘ มจร.) "ข้อความว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นั้นพระพุทธองค์ตรัสรวมทั้งพระนิพพานด้วย"

เหตุไรอรรถกถาจึงอธิบายไม่ตรงกัน ก็ตอบว่า ต่างกรณีกันจึงอธิบายไม่ตรงกัน สำหรับผู้มิได้ศึกษาหลักการ หรือไม่เข้าใจความแห่งพุทธพจน์กับถ้อยคำบริบทก็เกิดความสับสน ผู้มีทิฏฐิว่า "นิพพานเป็นอัตตา" ก็อ้างที่อรรถกถาหมายเอาเฉพาะธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้นเป็นอนัตตา ส่วนภูมิที่ ๔ คือ โลกุตตรภูมิ เป็นภูมิที่ไม่มีทุกข์ มีแต่สุข จึงน่าจะเป็นอัตตา แล้วกล่าวจ้วงจาบการที่อรรถกถาอธิบายธรรมทั้งปวงหมายเอาธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ มรรค ผล นิพพานด้วย เป็นอนัตตา ว่าเป็นการอธิบายที่สับสน ความจริงผู้ที่กล่าวนั้นสับสนเอง

การศึกษาอรรถกถา ถ้ายังไม่เข้าใจหลักการที่ท่านใช้ก็จะสับสน หลักการที่อรรถกถาใช้ว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพฺเพปิ จตุภูมิกา ธมฺมา อนตฺตา. อิธ ปน เตภูมิกธมฺมาว คเหตพฺพา" นั้น ข้อความตอนต้นว่า "สพฺเพปิ จตุภูมิกา ธมฺมา อนตฺตา" เรียกว่า "อัตถุทธาร" คือ "การยกเนื้อความที่มีอยู่ทั้งหมดขึ้นกล่าว" ข้อความตอนท้ายว่า "อิธ ปน เตภูมิกธมฺมาว คเหตพฺพา" เรียกว่า "อัตถุทเทส" หรือ "อธิปเปตัตถะ" คือแสดงหรือระบุเนื้อความที่ประสงค์ในที่นี้

การอธิบายลักษณะนี้ ในพระไตรปิฎกก็ใช้ เช่น "สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน สิกฺขํ อปฺปจฺจกฺขาย" (วิ.มหา. ๑/๔๔/๓๐ มจร.) "ภิกษุผู้มีสิกขาและความเป็นอยู่สมบูรณ์เสมอกัน ยังมิได้บอกคืนสิกขา" ท่านอธิบายโดยกล่าวถึงสิกขาที่มีทั้งหมด แล้วชี้เฉพาะที่ประสงค์เอาในหน้าเดียวกันว่า "สิกฺขาติ ติสฺโส สิกฺขา :- อธิสีลสิกฺขา อธิจิตฺตสิกฺขา อธิปญฺญาสิกฺขา. ตตฺร ยายํ อธิสีลสิกฺขา, อยํ อิมสฺมึ อตฺเถ อธิปฺเปตา "สิกฺขาญติ (วิ.มหา. ๑/๔๕/๓๐ มจร.) "คำว่า สิกขา หมายถึงสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ในบรรดาสิกขา ๓ นั้น ในเรื่องนี้ประสงค์เอาอธิสีลสิกขา"

นี้เป็นการบอกให้ทราบว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง ๓ เป็นสิกขา แต่ประสงค์เอาเฉพาะอธิศีล คือเป็นเรื่องของภิกษุผู้ยังมิได้ลาสีลสิกขานั่นเอง
เช่นเดียวกัน ในการอธิบาย สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา บางแห่งท่านอธิบายแบบอัตถุทธาร คือ บอกให้ทราบว่า ธรรมอะไรบ้างที่เป็นอนัตตา แล้วชี้เฉพาะที่ต้องการในกรณีนั้น บางแห่งท่านอธิบายระบุเฉพาะที่ต้องการในกรณีนั้น มิได้บอกทั้งหมดหลักการอัตถุทธารนี้ ใช้มากทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถา-ฎีกา วิธีการที่ท่านแสดงไว้ที่พอจะหาดูได้มีอยู่ในคัมภีร์วิภังคมูลฎีกา และวิสุทธิมรรคมหาฎีกา ท่านเรียกว่า “อัตถุทธาร”ดั งนี้ :-

สมฺภวนฺตา นํ อตฺถานํ อุทฺธรณํ. สมฺภวนฺเต วา อตฺเถ วตฺวา อธิปฺเปตสฺส อตฺถสฺส อุทฺธรณํ อตฺถุทฺธาโร (วิภงฺคมูลฏีกา ๒/๑๘๙/๖๐, วิสุทธิ.ฏีกา ๒/๕๓๔/๒๑๖ มจร.) “การยกเนื้อความทั้งหลายที่มีอยู่ขึ้นแสดง “หรือการกล่าวเนื้อความทั้งหลายที่มีอยู่แล้วระบุเนื้อความที่ประสงค์ชื่อ ว่าอัตถุทธาร” ………ถ้าเข้าใจหลักการอัตถุทธาร ก็จะเข้าใจการอธิบายความเรื่องนี้ของอรรถกถา หลักการนี้ ปัจจุบันมีการศึกษากันอยู่ แต่หนังสือเอกสารยังไม่แพร่หลาย

ในช่วงระยะนี้ มีผู้กล่าวว่าได้มีพระภิกษุกระทำสังฆเภท เนื่องด้วยได้มีการกระทำที่ทำให้คณะสงฆ์มีความเห็นแตกเกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก
ปัญหาข้อนี้ ขอตอบก่อนสอบทานเทียบเคียงพระสูตรและพระวินัยว่า “การกระทำสังฆเภทในสังฆมณฑลสยาม เกิดขึ้นยาก เนื่องด้วยสถานที่ไม่อำนวย” ก็อย่าด่วนเชื่อหรือคัดค้านคำที่กล่าว เราควรจะได้สอบทานเทียบเคียงดูในพระสูตรและพระวินัยก่อน การที่พระภิกษุแสดงการปกป้องพระพุทธศาสนา พยายามประกาศพระสัทธรรมจนทำให้ทราบว่า “ใครเป็นอลัชชี ใครบิดเบือนหลักการคณะสงฆ์ฝ่ายเถร”วาท นั้น เป็นผู้ทำสังฆเภท หรือเป็นผู้ที่ฟ้าส่งมากำจัดเสี้ยนหนามที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา แสดงเถรวาทย่ำยีอลัชชี กันแน่ เรื่องการกระทำของภิกษุสงฆ์ที่จัดเป็นสังฆเภทนั้นมีขอบเขตอย่างไร ท่านพระอุบาลีเถระได้เคยเข้ากราบทูลถามพระพุทธเจ้าแล้วว่า สงฆ์จะแตกกัน คือเป็นสังฆเภทด้วยเหตุเท่าไร

พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลายมีความคิดเห็นในธรรมวินัยขัดแย้งกัน ๑๘ ประการ แยกกันทำอุโบสถ แยกกันทำปวารณา แยกกันทำสังฆกรรม จึงจัดว่าสงฆ์แตกกัน คือเป็นสังฆเภท ถ้ายังไม่แยกกันทำก็ยังถือว่าสงฆ์เป็นผู้สามัคคีกันการที่ภิกษุสงฆ์มีความแตกแยกทางความคิดยังไม่เป็นสังฆเภท พระพุทธเจ้าทรงกำหนดการเป็นสังฆเภทด้วยการแยกกันทำอุโบสถ สังฆกรรมเรื่องนี้ พึงตรวจสอบดูเรื่องที่ท่านพระเทวทัตทำสังฆเภท ครั้งที่พระเทวทัตทำสังฆเภทนั้น ท่านได้บอกท่านพระอานนท์ ขณะพบกันในเวลาบิณฑบาต ในกรุงราชคฤห์ว่า “อชฺชตคฺเคทานาหํ อาวุโส อานนฺท อญฺญเตฺร ควตา อญฺญเตฺรว ภิกฺขุสํฆา อุโปสถํ กริสฺสามิ, สํฆกมฺมํ กริสฺสามิ” (วิ.จู. ๗/๓๔๓/๑๓๙ มจร.) แปลว่า “ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้ไป จะมีผู้ทำอุโบสถแยกจากพระผู้มีพระภาค จะทำสังฆกรรมแยกจากพระผู้มีพระภาค” แล้วท่านก็ได้กระทำตามที่บอกท่านพระอานนท์

การกระทำของพระเทวทัตนี้ จัดเป็นสังฆเภท เพราะแยกตัวไปทำอุโบสถสังฆกรรมต่างหากจากพระพุทธเจ้า
มีปัญหาว่า ท่านพระเทวทัตแยกทำอุโบสถสังฆกรรมอย่างไร ตอบว่า แยกทำในเขตสีมาเดียวกัน ในกรุงราชคฤห์นั้นมหาวิหารทั้ง ๑๘ แห่ง รอบกรุงราชคฤห์ มีสีมาเดียวกัน ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระเป็นผู้ผูกสีมา

ครั้งหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปเถระพักอยู่ที่อันธกวินทวิหาร ห่างจากกรุงราชคฤห์ ๓ คาวุต เดินทางมาลงอุโบสถที่พระเวฬุวันเพื่อให้ความสามัคคีแก่สงฆ์ ท่านข้ามแม่น้ำ ผ้าสังฆาฏิเปียก ซึ่งเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์สมมติติจีวราวิปปวาส คือเขตที่อยู่ปราศจากไตรจีวรได้
ภิกษุสงฆ์ เกิดความแตกแยกทางความคิด ทางข้อปฏิบัติแล้วแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรมในสีมาเดียวกัน จึงจัดว่าเป็นสังฆเภท

สีมา คือเขตแดนที่ภิกษุสงฆ์กำหนดเป็นสถานที่ร่วมกันทำสังฆกรรม ในประเทศไทย ได้กำหนดเป็นของเฉพาะวัด และเขตสีมาของแต่ละวัด ก็ยังกำหนดเขตแคบเข้าไปอีก อยู่แค่เพียงบริเวณรอบโรงอุโบสถ เวลาทำอุโบสถสังฆกรรม ก็ทำวัดไหนวัดนั้น แม้ในวัดเดียวกัน ภิกษุสงฆ์กลุ่มหนึ่งทำอุปสมบทกรรมอยู่ในอุโบสถ ภิกษุสงฆ์อื่นภายในวัดมิได้เข้าร่วม กรรมก็ไม่เสีย เพราะสีมามิได้ครอบคลุมรอบวัด นี้คือเหตุผลที่กล่าวข้างต้นว่า “การกระทำสังฆเภทในสังฆมณฑลสยาม เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องด้วยสถานที่ คือ สีมาไม่อำนวย

ที่พูดกันในขณะนี้ว่า เกิดสังฆเภทนั้น เป็นคำพูดของผู้ไม่ยึดหลักการของพระไตรปิฎก เมื่อไม่เชื่อพระไตรปิฎก ไม่ถือตามพระไตรปิฎก อันเป็นประดุจองค์แทนพระบรมศาสดาแล้ว ก็ไม่ควรจะปฏิญญาตนว่าเป็นพุทธบริษัท นี้คือการสอบทานเทียบเคียงข้อความที่ทำให้เกิดความเห็นที่ขัดแย้งกันบางส่วน โดยใช้หลักมหาปเทส เมื่อสอบทานเทียบเคียงแล้วลงกันสมกันในพระสูตร ลงกันสมกันในพระวินัย ก็ลงความเห็นได้เลยว่า นี้เป็นพุทธพจน์ เป็นสัตถุศาสน์ เป็นหลักการของเถรวาท เมื่อได้อาศัยพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตรวจสอบแล้วทราบว่า คำสอนของใครเป็นสัทธรรมปฏิรูปแปลกปลอมเข้ามา เป็นอัตโนมัติ ก็พึงกำจัดออกไปเสีย แล้วเราทั้งหลายจะธำรงรักษาพระธรรมวินัยที่บริสุทธิ์ไว้ได้.




เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก :นายรังษี สุทนต์
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 2542 หน้า 277 - 299

หนังสือธรรมะ ภาษาต่างประเทศ
An Introduction to the Study of Buddhism: A Sane Way to Live
Most Popular Books on Buddhism
Theravada Buddhism Recommended Reading
:http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=inquirer&group=11