ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธศาสนสุภาษิต  (อ่าน 13019 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต :หมวดบาป-เวร
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 12:00:41 pm »

หมวดบาป-เวร

บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น
คนมักทำบาปเพราะความหลง
บาปไม่มี แก่ผู้ไม่ทำ
คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน
พึงละเว้นบาปทั้งหลาย

การไม่ทำบาป นำสุขมาให้
ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้
คนพูดเท็จ จะไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี
คนสะอาด ไม่ยินดีในความชั่ว
ไม่ควรทำบาป เพราะเห็นแก่กิน

-สาธุชนย่อมละบาปกรรมด้วยตปะ (ตบะ)
-เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน
-แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด, คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วบบาปฉันนั้น
-ผู้ใดระงับบาปน้อยใหญ่ได้โดยประการทั้งปวง ท่านเรียกผู้นั้นว่าสมณะ เพราะเป็นผู้ระงับบาปทั้งหลายได้
-คนพูดเท็จ ล่วงสัตยธรรมเสียอย่างหนึ่ง ไม่คำนึงถึงโลกหน้า จะไม่พึงทำบาปเป็นอันไม่มี

-ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด, บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น
-ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อย มีทรัพย์มาก เว้นหนทางที่มีภัย และ เหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น
-บาปกรรม ที่ทำแล้วย่อมไม่มีเปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น, บาปย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
-เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับ

-ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมระงับด้วยเวรไม่ได้เลย
-ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง, เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือนร้อน

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต :หมวดทุกข์-พ้นทุกข์
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 01:52:43 pm »

หมวดทุกข์-พ้นทุกข์

การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก่อให้เกิดทุกข์
การพบเห็นสิ่งที่ไม่รัก ทำให้เกิดทุกข์
สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ความจน เป็นทุกข์ในโลก
ทุกเสมอด้วยขันธ์ ไม่มี

เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
คนไม่มีที่พึ่ง.. อยู่เป็นทุกข์
ผู้แพ้.. ย่อมอยู่เป็นทุกข์
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
ทุกข์.. ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล

นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง
ผู้ดื่มธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข
การสะสมบุญ นำสุขมาให้
เมื่อหมดกังวล ทุกข์ก็ไม่มี
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

ปฏิบัติชอบต่อมารดา เป็นความสุขในโลก
ปฏิบัติชอบต่อบิดา เป็นสุขเช่นกัน
การแสดงธรรม ทำให้เกิดสุข
ผู้ไม่มีอะไรให้กัลวล สุขจริงหนอ
ครองเรื่อนไม่ดี ก็เป็นทุกข์

ปฏิบัติชอบต่อสมณะ ย่อมเป็นสุข
ท่านผู้ไกลกิเลส ช่างสุขจริงหนอ
ศีลก่อให้เกิดสุขตราบเท่าชรา
ทุกข์ เท่านั้นเกิด
ศรัทธาที่มั่นคง ทำให้เกิดสุข

โลกตั้งอยู่บนฐานแห่งความทุกข์
คนมีตัณหาเป็นทุกข์บ่อยและนาน
ละทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นความสุข
เป็นคน พึงทำทุกข์ให้หมดไปได้
สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

การได้ปัญญา ทำให้เกิดสุข
การสะสมบาป เป็นทุกข์
การอยู่ร่วมกับคนไม่เสมอกันก็เป็นทุกข์
ไม่พบคนที่รักก็เป็นทุกข์
พอใจเท่าที่มี เป็นความสุข

ผู้ฉลาด พึงละทุกข์ในโลกนี้ให้ได้
การไม่เบียดเบียนกัน เป็นทุกข์ในโลก
คนโง่ ย่อมได้รักทุกข์บ่อย ๆ
กามมีความคับแค้นเป็นราก มีทุกข์เป็นผล
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้

สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี
บุญให้ความสุขเมื่อถึงคราวตาย
การไม่พบคนชั่วเลย มีความสุขทุกเมื่อ
ทุกข์ เสมอด้วยขันธ์ไม่มี
ผู้แพ้ ย่อมนอนเป็นทุกข์

พบคนไม่รัก ก็เป็นทุกข์
การไม่ทำชั่ว ทำให้เกิดสุข
ความทุกข์ เกิดขึ้นบ่อย ๆ
การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
ความจนเป็นทุกข์ในโลก

กามทั้งหลายมีสุขน้อย ทุกข์มาก
การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดสุข
ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป
อยากได้สุข เมื่อปฏิบัติถูกทาง ก็ย่อมได้สุข

นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด
ทุกข์เป็นภัยใหญ่หลวงของโลก

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธศาสนสุภาษิต :หมวดชีวิต-ความตาย
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 02:31:05 pm »

หมวดชีวิต-ความตาย

ชีวิตนี้วิปริตผันแปร ไม่แน่นอน
วัย หมดไปตามลำดับแห่งวัย
หนุ่มก็ตาย แก่ก็ตาย
ชีวิต ไม่ถึงร้อยปีก็จะตาย
ถ้าอยู่เลยร้อยปี ก็ต้องตายเพราะความแก่เป็นแน่แท้

คนโง่ก็ตาย คนฉลาดก็ตาย
สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนก้าวเดินไปสู่ความตาย
คนถึงคราวตาย หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้
ชีวิตนี้น้อยนัก ชีวิตนี้สั้นนัก
วันและคืนย่อมผ่านไป

เมื่อมีชีวิต วัยแห่งชีวิตก็ร่นเข้ามา
เกิด ก็เป็นทุกข์
จะตาย ก็ตายไปคนเดียว
กาลเวลาล่วงไป ราตรีก็ผ่านไป
ตาย ก็เป็นทุกข์

แก่ ก็เป็นทุกข์
สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น
จะวิ่งหนีก็ไม่ทัน (ความตายไม่มีใครหนีได้)
สัตว์โลก ถูกชราปิดล้อม
เจ็บ ก็เป็นทุกข์

จะเกิด ก็เกิดมาคนเดียว
ชีวิตนี้คับแค้น และสั้นนิดเดียว
ชีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย
เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรเกื้อกูลกัน
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน

เมื่อคนจะตาย ยังแถมประกอบด้วยทุกข์อีก
คนที่ร้องให้ถึงคนตาย เขาก็จะต้องตายด้วย
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
เห็นอยู่เมื่อเช้า สายก็ตาย
ที่ตายแล้วก็แล้วไป ไม่ควรเศร้าโศกถึง

ปราชญ์ทั้งหลาย บอกแล้วว่าชีวิตนี้น้อยนัก
โลกถูกความตายครอบเอาไว้
เมื่อความตายมาถึงตัว ก็ไม่มีใครป้องกันได้
เมื่อคนตายแล้วสมบัติสักนิดก็ไม่ติดไป
ทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วจะต้องแตกสลายในที่สุด

ทุกชีวิตจะต้องทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก
ไม่มีใครผัดเพี้ยนกับความตาย ซึ่งมีอำนาจมากได้
สถานที่ที่ได้ชื่อว่าไม่มีคนตาย ไม่มีในโลก
ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนและไม่ควรประมาท
ทั้งหนุ่มและแก่ ล้วนร่างกายแตกดับไปทุกคน

สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น ถูกชราปิดล้อม
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
กี่วันผ่านไป ชีวิตก็ยิ่งใกล้ความตาย
คนทุกคนต้องตาย

วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
การตายโดยชอบธรรม ดีกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่ชอบธรรม
อายุของคนย่อมหมดสิ้นไป
ความตายย่อมมีแก่ผู้เกิด
วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุก็เหลือน้อยเข้าทุกที

สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป
สายเห็นกันอยู่ รุ่งเช้าอีกวันก็ตาย
มีชีวิตอยู่อย่างไม่ถูกต้อง หาประเสริฐไม่
เงิน ก็ซื้ออายุให้ยืนยาวไม่ได้
สัตว์ทั้งปวง จัดทอดทิ้งร่างไว้ในโลก

ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก
วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไป ทุกหลับตา ทุกลืมตา
เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดเดียวจะติดตัวไปก็ไม่มี
ตายเพื่อความถูกต้องประเสริฐกว่า
ถึงคราวตาย บุตรทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้

ถึงคราวตาย บิดา ญาติพี่น้องก็ช่วยไม่ได้
รวยก็ตาย จนก็ตาย
ทรัพย์สมบัติ ก็ซื้อความแก่ไม่ได้
สักวันหนึ่ง ก็จะพรากจากกันไป
วันคืน ไม่ผ่านไปเปล่า

มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสามนี้ดุจไฟลามลุกไหม้
ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวความตาย
ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี
วันคืนผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมจะเหลือน้อยลง
อายุย่อมหมดไปทุกขณะที่หลับตาและลืมตา

คนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็เพียงร้อยปี หรือจะเกินก็เพียงเล็กน้อย
แม้ชีวิตอยู่ร้อยปี ก็ไม่พ้นความตายไปได้ มวลมนุษย์ล้วนมีความตายรออยู่ข้างหน้า
ชีวิตของเราเป็นของน้อย ชราและพยาธิก็คอยย่ำยี
กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง
คนใดร้องให้บ่นเพ้อถึงคนที่ตายไปแล้ว แม้คนที่ร้องนั้นก็ต้องตายเหมือนกัน

เมื่อมาเกิด ก็ไม่มีใครอ้อนวอนมาเกิด เมื่อตายจากโลกนี้ ก็ไม่มีใครอนุญาตให้ไป
วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากประโยชน์ที่จะทำ
ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโคตรไม่เสื่อมสลาย

อายุสังขาร ใช่จะประมาทไปตามสัตว์ผู้ยืน นั่ง นอน หรือ เดินอยู่ก็หาไม่
สิ่งมีชีวิตทั้งปวง ย่อมกลัวโทษและกลัวความตาย จงทำตนเป็นอุปมา แล้วไม่พึงฆ่าหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท
ร่างกายนี้ ไม่นานนัก เมื่อวิญญาณจากไปแล้ว หมู่ญาติก็เกลียดกลัว เอาไปทิ้งในป่าช้าเหมือนท่อนไม้
เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณะสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต

กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปที่ละตอน ๆ ตามลำดับ
อายุของคนนี้น้อยนัก จะต้องจากโลกนี้ไป จึงควรทำกุศล และประพฤติพรหมจรรย์
น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของคน ก็ย่อมไม่เวียนไปสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
ชีวิตนี้เป็นสิ่งคับข้อง เป็นสิ่งเล็กน้อย ประกอบด้วยทุกข์ ใครเล่ายังจะอาศัยชีวิตนี้ ไปสร้างเวรกับผู้อื่น
ชีวิตนี้น้อยนัก ไม่ถึงร้อยปีก็ตายกันแล้ว ถ้าจะอยู่เกินไป ก็ต้องตายเพราะความแก่

วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ ย่อมสิ่นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น
ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุ ไม่ตั้งอยู่ในอรูปธาตุ ย่อมหลุดพ้นไปได้ในในนิโรธธาตุ, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ละมัจจุได้
อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย พึงประพฤติดุจคนมีศรีษะถูกไฟใหม้ มฤตยู (ความตาย) จะไม่มาถึง ย่อมไม่มี
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
ความตายย่อมครอบงำคนเก็บดอกไม้ (กามคุณ) ที่มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่อิ่มในกาม ไว้ในอำนาจ

-ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมี เพราะต้องตายแน่นอน เหมือนภัยของผลไม้สุก ย่อมมี เพราะต้องหล่นในเวลาเช้าฉะนั้น
-ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
-ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลอง ฉันใด, ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปเช่นกัน ฉันนั้น
-การร้องให้ ความโศกเศร้า หรือ การคร่ำครวญร่ำไรใด ๆ ย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ตายแล้วก็คงอยู่อย่างเดิมนั้นเอง
-เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี

-ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทำไว้ ณ ที่ไหน ๆ เลย ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง
-การร้องให้หรือโศกเศร้า จะช่วยให้จิตใจสงบ สบาย ก็หาไม่ ทุกข์ยิ่งเกิดเพิ่มพูนทับทวี ทั้งร่ายกายก็พลอยทรุดโทรม
-คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีกเหมือนคนตื่นขึ้นไม่ได้เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน
-จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง
-คนที่สละความเศร้าโศกไม่ได้ มัวทอดถอนถึงคนที่จากไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของความโศก ย่อมประสบความทุกข์หนักยิ่งขึ้น

-ตอนเช้ายังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเย็นบางคนก็ไม่เห็น เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็น
-ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่แก่ตน (เช่นผู้ที่ตายไปแล้ว เป็นต้น) ไซร้ ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา
-แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
-ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด
-ผลไม้สุกแล้ว ก็หวั่นแต่จะต้องร่วงหล่นไปตลอดเวลา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น

-อายุของคนน้อยนัก คนดีไม่ควรลืมอายุ ควรระลึกถึงอายุดุจคนถูกไฟไหม้ศรีษะ เพราะการที่ความตายจะไม่มาถึงนั้น ไม่มีเลย
-ถ้าจะเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเองด้วย ที่ตกอยู่ในอำนาจของความตายตลอดเวลา
-ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด, สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น
-เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอน ของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป ก็ทำใจให้ได้ว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้
-ดูซิ.. ถึงคนอื่น ๆ ที่กำลังเตรียมตัว เดินทางไปตามยถากรรม ที่นี่สัตว์ทั้งหลายเผชิญกับอำนาจ ของพญามัจจุราชเข้าแล้ว กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น

-เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกัน ก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรเมตตา เอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้ว
-วันคืนล่วงไปเท่าไรชีวิตก็พร่องลงไปเท่านั้น เวลาแห่งความตายรุกไล่เข้าไปทุกอิริยาบท ฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทเวลา
-จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางมหาสมุทร เข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้ ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มี
-กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้
-เมื่อเศร้าโศกไป ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง ร่างกายจะผ่ายผอม ผิวพรรณจะซูบซีดหม่นหมอง ส่วนผู้ที่ตายไปแล้ว ก็จะเอาความโศกเศร้านั้นของเรา ไปช่วยอะไรตัวเขาไม่ได้ ความร่ำไรรำพัน ย่อมไร้ประโยชน์

-ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องให้ เหมือนกับขอพระจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา


มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป

ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
สังขารที่ยั่งยืน ไม่มี
ภาวะของหญิง รู้ได้ยาก
พึงเพิ่มพูนความสละออกให้มากไว้

ศรี เป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์
ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง
ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่
เมตตา เป็นเครื่องค้ำจุนโลก
พึงศึกษาความสงบนั้นแล

ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก
ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก
ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก
การได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษ เป็นการยาก

วัยย่อมผ่านพ้นไปทุกขณะทีเดียว
มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทิน
กำลังใจ พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย
ได้ยศแล้ว ไม่ควรเมา

ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
ความถึงพร้อมแห่งขณะ หาได้ยาก
สิ่งใดไม่ผิด พึงถือเอาสิ่งนั้น
เมื่อยังไม่ถึง ไม่ควรพูดอวด

ผู้เพ่งสันติ พึงละอามิสในโลกเสีย
ในเวลามีข้าวน้ำ ย่อมต้องการคนที่รัก
อำนาจ เป็นใหญ่ในโลก
ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
พรตของผู้บริสุทธิ์ มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ

ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่ม ผู้ทอดทิ้งการงาน
ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก

ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตัว
สัตบุรุษ ไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา
สิ่งใดที่เข้าไปยึดถืออยู่จะพึงหาโทษมิได้ สิ่งนั้นไม่มีในโลก
สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมเป็นไปตามปัจจัย
ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ ผู้มัวถือฤกษ์อยู่

พึงปรารถนาความไม่มีโรค ซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง
การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ เป็นการหาได้ยาก
ในบรรดาที่ปรึกษา ย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม
หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
ต่อหน้าประพฤติเช่นใด ถึงลับหลังก็ให้ประพฤติเช่นนั้น

ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ ย่อมฝืดเคือง
ความริษยา เป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
ขณะเวลา อย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
ในเมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต
ความเกียจคร้าน เป็นมลทินแห่งผิวพรรณ

สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
บรรดาทางทั้งหลาย ทางที่มีองค์ (มรรค) เป็นทางเกษมให้ถึงอมตธรรม

ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับจากทุกข์
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก
รูปโฉม พอลวงคนโง่ให้หลงได้ แต่ลวงคนแสวงหาพระนิพพานไม่ได้เลย
ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ

ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ
ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
อัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา เป็นลักษณะของมหาบุรุษ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
บุคคลไม่เพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก มีสติดำเนินอยู่อย่างนี้ วิญญาณย่อมดับ

พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมณพราหมณ์ และ ฝั่งทะเล ต่างก็มีกำลัง, แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง (เหล่านั้น)
ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือเพื่อสตรี และ บุรุษผู้ทำตามคำสอน
ภิกษุรื่นรมย์ยินดีในธรรม ใคร่ครวญธรรม และระลึกถึงธรรมอยู่เนือง ๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม

-ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ไม่พึงลุอำนาจของโลภะ พึงกำจัดใจที่ละโมภเสีย
-โลกถูกมฤตยูกำจัด ถูกชราล้อมไว้ไม่มีผู้ต้านทาน ย่อมเดือนร้อยเป็นนิตย์ ดุจคนต้องโทษ ต้องทำตามอาชญาฉะนั้น
-กามคุณ ในโลก มีใจเป็นที่ อันท่านชี้แจงไว้แล้ว, บุคคลคลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้
-ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
-ผู้ใด ต้องการสุขเพื่อตน ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น, ผู้นั้นชื่อว่าพัวพันไปด้วยเวร ย่อมไม่พ้นจากเวร

-พึงศึกษาวิเวก ซึ่งเป็นคุณอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย, ไม่ถือตัวว่าเป็นผู้ประเสริฐเพราะวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าปฏิบัติใกล้พระนิพพาน
-สัตว์โลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และ ธรรมารมณ์นั้น ล้วนเป็นโลกามิสอันร้ายกาจ
-คนรู้จักขนบธรรมเนียม ย่อมยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่ ในชาตินี้ก็มีผู้สรรเสริญ ชาติหน้าก็ไปดี
-สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้, สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้, โภคะของสตรีหรือบุรุษ ที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย
-คนใด จักทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว คนนั้นจักถึงฝั่งที่สวัสดี เหมือนพ่อค้าถึงฝั่งที่สวัสดีเพราะม้าวลาหก

ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่, ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำความชั่วไม่มีในโลก, คนทั้งหลายเห็นเป็นป่า แต่คนเขลาสำคัญที่นั้นว่าเป็นที่ลับ
พระราชาดี ที่ทรงยินดีในธรรม, คนดี ที่มีปัญญา, เพื่อนดีที่ไม่ประทุษร้ายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป
ควรระแวงภัยที่ควรระแวง พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ผู้ฉลาดย่อมมองดูโลกทั้ง เพราะกลัวต่ออนาคต
เมื่อพ้นเพราะรู้ชอบ สงบคงที่แล้ว ใจคอของเขาก็สงบ คำพูดและการกระทำก็สงบ

-ผู้ใดไม่มีกามอยู่ ผู้ใดไม่มีตัณหา และผู้ใดข้ามความสงสัยได้, ผู้นั้นย่อมมีความพ้น ที่ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่นอีก
-ผู้ใดผูกอาฆาตว่า เขาได้ด่าเรา เขาได้ฆ่าเรา เขาได้ชนะเรา เขาได้ลักของของเรา ดังนี้ เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ
-คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ , ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย
-ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติภพนี้เป็นทุกข์ สัตว์ก็ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก
-ผู้เห็นความประมาทเป็นภัย และเห็นควมไม่ประมาทเป็นความปลอดภัยแล้ว พึงเจริญมรรคมีองค์ นี้เป็นพุทธาศาสนี

-พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และพึงกล่าวแต่คำสัตย์อย่างนี้ ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
-แม้มีปัญญารุ่งโรจน์อย่างไฟ เมื่ออยู่ในต่างประเทศ ก็ควรอดทนคำขู่เข็ญแม้ของทาส
-ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดพูด ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมขจัดบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น
-คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยความสำรวม และ ด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข เพราะกรรมนั้นย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง
-คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน มีความมุทะลุ ข้อนั้น เป็นเหตุของผู้ฉิบหาย

-การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ เหตุนั้น จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพรากจากสิ่งที่รัก เป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย
-ธงเป็นเครื่องปรากฎของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฎของไฟ พระราชาเป็นเครื่องปรากฎของแว้นแคว้น สามีเป็นเครื่องปรากฎของสตรี
-ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่น ที่เขาทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ, ควรพิจารณาดู แต่การงาน ของตนที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำเท่านั้น
-คนเขลา มีกำลัง หาทรัพย์อย่างผลุนผลัน ไม่ดี, นายนิรยบาล ย่อมฉุดคนโง่มีปัญญาทราม ผู้คร่ำครวญอยู่ ไปสู่นรกอันร้ายกาจ
-เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เห็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร ผู้มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข

-บุคคลไม่ความเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง, ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส
-บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น, ปรารถนาสิ่งใด ดูหมิ่นสิ่งที่ได้แล้วนั้น, เพราะความต้องการไม่มีที่สุด, พวกเราจงทำความนอบน้อมผู้ปราศจากความต้องการเถิด
-ในโลกนี้ พวกที่ชอบถือตัว ย่อมไม่มีการฝึกตน, คนมีใจไม่มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้, ผู้ประมาทแม้อยู่ในป่าคนเดียว ก็ข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยูไม่ได้
-ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย

*** คัดลอกมาจาก...
:หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์
:http://www.baanjomyut.com/pratripidok/proverb_buddha/32.html
(+บาลี) >>> :http://www.doisaengdham.org/พุทธศาสนสุภาษิต