ผู้เขียน หัวข้อ: รวม..วาทะธรรมะ >>เพจ สมาธิ จุฬาฯ  (อ่าน 1753 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
รวม..วาทะธรรมะ >>เพจ สมาธิ จุฬาฯ
« เมื่อ: กันยายน 23, 2015, 12:17:47 pm »

กาย...นี้คือก้อนทุกข์
กายนี้เป็นที่หมายให้พ้นเสียจากทุกข์...
ฝึกปัญญาให้ดี...
แล้วมาพิจารณากายนี้ให้แจ้ง...
ก็จะพ้นทุกข์ได้
หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
..
..
จิตแหละเป็นตัวนำทุกข์มาให้ ครั้นฝึกฝนดีแล้ว นำความสุขมาให้
อยู่ในโลกนี้ก็มีสุข ความทุกข์ไม่มี
อันนี้มันเป็นธรรมดาของอัตภาพของสภาวะ มันเป็นเองของมัน
ถึงมันจะทุกข์ปานใด มันก็ไม่มีความเดือดร้อน หวาดเสียวต่อความทุกข์
หลวงปู่ขาว อนาลโย
..
..
...สุขทุกข์เป็นเรื่องอารมณ์ภายในใจ
ยังไม่ใช่จิต เป็นอารมณ์เกิดดับได้
คนไม่เข้าใจ ไปเข้าใจจิตคืออารมณ์
อารมณ์คือจิต
เปรียบเหมือนแก้วน้ำใส
ใส่อะไรลงไปแก้วน้ำก็เป็นอย่างนั้น
เทออกก็เป็นแก้วน้ำอย่างเดิม
จิตเราก็เหมือนกัน
พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต
..
..
ถ้าเห็นชัดจริงๆ ในเรื่องของร่างกายบุคคลอื่นและร่างกายเรา
ว่าเป็นสักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติ จิตมันก็จะวางได้โดยสมบูรณ์
คือวางความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายตน วางความยึดมั่นถือมั่น
ในร่างกายบุคคลอื่น วัตถุธาตุทั้งหลาย มันจะเห็นเป็นสักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติ
พระอาจารย์อัครเดช (ตั๋น) ถิรจิตโต
..
..
ถ้าเห็นทุกข์ได้ ใช้ทุกข์เป็น
ก็ไม่มีทางที่จะเป็นทุกข์
พระอาจารย์มานพ อุปสโม
..
..
ถ้าอารมณ์สุขขึ้นมา ทุกข์ขึ้นมา
ชอบใจขึ้นมา ไม่ชอบใจขึ้นมา
เรานึกเห็นมันทุกอย่างว่ามันก็เท่านั้นแหละ
สุขมันก็เท่านั้นแหละ ทุกข์มันก็เท่านั้นแหละ
ก็แปลว่าเราเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว
เมื่อเห็นแล้วเราไม่ยึดไม่ถือ
คลี่คลายจากราคะ โทสะ โมหะ อยู่เรื่อยไป
เรียกได้ว่าเราปฏิบัติอยู่
ทั้งกลางวันกลางคืน
หลวงปู่ชา สุภัทโท
..
..
ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว
แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์...
ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
..
..
พระองค์สอนไว้ชัดแจ้งว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นสุข
ใครที่รู้จักทุกข์ตามความจริง จะไม่ยอมสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นอีก
ไม่ติดทุกข์ ละวางทุกข์ไว้ที่เดิม เพราะรู้ชัดว่าทุกข์ทางกายนั้น
เป็นเพียงแค่กำหนดรู้เท่านั้น ละมันไม่ได้
เพราะเป็นทุกข์ตามปกติของกาย ใครมีกายก็มีทุกข์มาก
                 เป็นคู่บารมีจนกว่าจะตาย
หลวงปู่หลุย จันทสาโร
..
..
คนมีศรัทธาในทาน บางครั้งก็สงสัยในทาน
คนมีศรัทธารักษาศีล บางครั้งก็สงสัยในศีล
คนภาวนาจนตนเองรู้แจ้งเห็นจริง
จะไม่สงสัยในเรื่องศีลทานภาวนา
เพราะจิตมันเปิดความจริงออกมาให้เห็นทั้งหมด
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
..
..
....โลก เป็นของกว้างขวาง และหมุนอยู่เสมอ ยากที่จะมองเห็นได้ง่าย
ท่านจึงสอนให้เราหยุดหมุนตามโลก
ให้มองแต่ตัวของเราอย่างเดียว แล้วเราก็จะมองเห็นโลกได้...
ท่านพ่อลี ธัมมธโร
..
..
คำว่านิพพาน คือปราศจากความปรุงแต่ง
ทำยังไงเราจะเห็นนิพพานน้อยๆ สำหรับการปฏิบัติของเรา
คือ เราก็พยายามไม่ให้สังขารปรุงแต่งจิตใจของเรา
เมื่อจิตของเราปราศจากความปรุงแต่ง ก็อิสระ ไม่ตกเป็นทาสของใคร
หลวงพ่อวิชัย เขมิโย
..
..
"จิตไม่รู้ความจริง" เป็นตัวสมุทัยที่สำคัญมาก
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
..
..
นิสัยของผู้จะหนีไปจากภพทั้งสามนั้น
ไม่มีการต่อรองกับกิเลสตัณหาอีกต่อไป
ไม่เป็นมิตรกับกิเลส ไม่เป็นเพื่อนกับตัณหา
เพราะชาติภพที่ผ่านมา
เราเสียเปรียบกับกิเลสตัณหามาแล้ว
ในชาตินี้จะเป็นชาติสุดท้ายของเรา
กิเลสตัณหาจะเอาอะไรมาต่อรองอีก
สติปัญญาจะไม่รับเงื่อนไขอะไรทั้งสิ้น
หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ
..
..
>> F/B เพจ-สมาธิ-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2016, 08:43:46 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: วาทะธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 28, 2015, 04:29:10 pm »

อย่าไปสนใจคิดถึงกาลสถานที่ หรือบุคคลใดๆ
ว่าเป็นภัยและเป็นคุณให้เสียเวลา
และล่าช้าไปเปล่าโดยไม่เกิดประโยชน์อะไร
ยิ่งกว่าการคิดเรื่องกิเลสกับธรรม ซึ่งมีอยู่ที่ใจ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
..
..
จิตนี้เมื่อถูกสติเตือนเข้าบ่อยๆ มันก็รู้ตัว
รู้ตัวแล้วมันก็คลาย มันก็ปล่อยวางอารมณ์
ไม่ส่งเสริม ไม่คิดไม่ปรุงไปอีก
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
..
..
เราถึงพระพุทธเจ้าอย่างไร ถึงพระธรรมอย่างไร ถึงพระสงฆ์อย่างไร
ให้มาพิจารณาถึงกายของตน จิตใจของตน
ถึงพระพุทธเจ้า หมายความว่าใจเบิกบาน
ใจรู้เท่าต่อสิ่งทั้งปวง
ไม่มีความดิ้นรนต่อสิ่งที่ไม่พอใจ
สิ่งที่พอใจก็ไม่มีความฟูขึ้นไปตามอารมณ์
เรียกว่าพุทโธ เป็นผู้รู้ยิ่ง...
หลวงปู่ขาว อนาลโย
..
..
แท้จริงการปฏิบัติธรรม
ใช้เพียงขณะปัจจุบันตรงหน้าเท่านั้น
ด้วยการมีสติรักษาใจให้ปกติสุข
การปฏิบัติธรรมจึงมีความจำเป็น
ต้องเห็นทุกเหตุปัจจัยตรงปัจจุบัน
ปัญญาก็จะเกิดขึ้นตรงปัจจุบันนั้น
ความปกติสุขอันเป็นผลของการปฏิบัติ
ก็เกิดขึ้นตรงปัจจุบันนั้น
พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส
..
..
ถ้าเรายังเกิด เราก็ต้องทุกข์ อย่างนี้
อะไรทำให้ทุกข์ เพราะความอยาก ทำให้ทุกข์
ถ้าเราไม่อยาก เราก็ไม่ทุกข์
ที่เราทุกข์ ก็เพราะชาติก่อนเราไม่หมดอยาก
และชาตินี้ เราก็ยังอยาก
เมื่อไรความอยากสิ้นไป เมื่อนั้นก็ถึงนิพพาน
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
..
..
เรื่องชีวิตประจำวันทั้งหมดนี่เป็นอารมณ์สมาธิ
แล้วเราจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร
สติตัวเดียว ทำ พูด คิด ฯลฯ ให้รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
ในตอนแรกๆ อาจจะสับสนวุ่นวาย
แต่เราพยายามฝึกให้คล่องตัวชำนิชำนาญแล้ว
มันจะเป็นอัตโนมัติไปหมดเลย
เรื่องได้สมาธิขั้นใด ตอนใด อย่าไปสนใจ
เอาสติตัวเดียวเท่านั้น
ทำงานอะไรต่างๆ นี้ เป็นอารมณ์สมาธิทั้งนั้น
ขอให้เรามี “สติ” ลูกเดียว
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
..
..
เวลานั่งสมาธิภาวนา ตาไม่มีประโยชน์ ไม่ต้องดูอะไร
เอาจิตใจ ดูใจของเรานั่นแหละ
มันคิดฟุ้งซ่านไปไหน หลงไปในอารมณ์ใด ๆ
เอาตาใจนั้นสอนใจของเรา
ผู้อื่นสอนยังห่างไกล
จิตใจเราจะเข้าใจในธรรมะปฏิบัตินั้น
ตัวเองจะต้องสอนตัวเอง
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
..
..
ถ้าหวังพึ่งแต่คนอื่น จะต้องกลืนน้ำตาตัวเอง
หลวงปู่จันทร์ กุสโล
..
..
ทุกท่านจงพยายามแก้ไขความทุกข์
การที่จะแก้ไขความทุกข์
ก็ต้องแก้ที่สาเหตุของความทุกข์เสียก่อน
นั้นคือความอยาก ให้มันเบาบางถึงกับจางหายไป
จากจิตใจของเราเป็นที่สุด
ให้เป็นผู้มีสติ ให้เป็นผู้มีปัญญา ที่จะสามารถต้านทาน
หรือป้องกันอารมณ์ที่ไม่ดี ที่จะมาครอบงำจิตใจของเรา
หลวงปู่ครูบาพรหมา พรหมจกฺโก
..
..
ความเพียรไม่ขึ้นอยู่กับการยืน การเดิน การนั่ง การนอน
แต่ขึ้นอยู่กับสติ หรือปัญญา ถ้าเรามีสติประคับประคองจิตใจของเราอยู่เสมอ
รู้ความเคลื่อนไหวของใจตนเอง
ทั้งที่จะเป็นไปในทางที่ผิดและที่ถูก ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียร
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
..
..
สติที่ใหญ่มีกำลัง สมาธิก็เกิดขึ้น
สมาธิเกิดขึ้นจากการมีสติเท่าทันนี่แหละ
ถ้ามีสติเท่าทันต่อสภาวธรรมทางกายทางใจ
ก็จะเกิดสมาธิขึ้นเอง
ความสงบในจิตใจก็เกิดขึ้น
จิตที่มันไม่สงบเพราะเราขาดสติ
มันไม่มีสติตามดูรู้ทัน จิตก็จะปรุงแต่ง...
ปรุงแต่งในเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง หรือเรื่องที่ได้เห็น
ในเรื่องที่ได้คิดไว้ได้รู้ไว้
เอาไปปรุงแต่งในเรื่องต่างๆ เหล่านั้น
จิตก็วุ่นวายสับสนสร้างความทุกข์ต่อจิตใจของตนเอง
พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี
..
..
...พระองค์ย้ำว่า ปัญญา นี่แหละเป็นตัวตัดสิน
ศรัทธา ก็เพื่อปัญญา โดยเฉพาะศีลวัตรนั้นช่วยให้เกิดสมาธิ
สมาธิก็ต้องนำไปสู่ปัญญา
ถ้าไม่อย่างนั้น ก็เป็นเพียงสมาธิที่นำไปสู่ภาวะดื่มด่ำทางจิตเท่านั้น
เป็นเรื่องของสมถะ ไม่ถึงนิพพาน...
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
..
..
ความไม่รู้จักพอมันทุกข์ เป็นทุกข์
เพราะไม่รู้จักตัวเอง
มันเมาแต่เสาะหาครูบาอาจารย์
เสาะหาธรรม แต่ไม่รู้จักว่า
ธรรมในตน ธรรมมิใช่นอกตน
ฟังมาแล้วหลายครู
หลายอาจารย์ หลายสำนัก
แต่สำนักภายในตน รู้จักได้หรือยัง
หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ
..
..
เป็นมนุษย์ต้องกระทบโลก
ด้วย รูป รส กลิ่น เสียง และธรรมารมณ์
เมื่อเราคุมจิตไม่ได้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ ...
ถ้าเราไม่มีสติ จิตก็จะเกิดการปรุงแต่ง
กรรมก็จะเกิดขึ้น
ยินดีหรือยินร้าย หรือไม่มียินดียินร้าย
กิเลสเกิดขึ้น
เพราะไม่มีสติป้องกัน
พระอาจารย์สุมโนภิกขุ
สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำสองตา อ.ปากช่อง
..
..
บุคคลที่หนีปรากฏการณ์
แต่ไม่ยอมหนีจิตปรุงแต่ง
ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่
โง่เขลาเบาปัญญา
คนฉลาดจะพยายามหนีจิตปรุงแต่ง
แต่ไม่หนีปรากฏการณ์
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
..
..
>> F/B เพจ สมาธิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รวม..วาทะธรรมะ >>เพจ สมาธิ จุฬาฯ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 28, 2015, 04:30:50 pm »
...ที่เรียกว่ารู้ๆ มันต้องรู้ที่จิต ไม่ใช่หูฟังแล้วจิตไปจำเอาไว้
แล้วก็เรียกว่ามีปัญญา นั่นไม่ใช่
 จิตที่เราจำได้นั้นเรียกว่า สัญญา ไม่ใช่ปัญญา
 จำได้หมายรู้ จำได้เรื่องอะไรนั่นมันเป็นสัญญา
 ส่วนปัญญานั้นมันรู้แจ้ง มันรู้ตลอด มันแทงทะลุ
มันตีแตก เรียกว่ารู้ แล้วก็มีเหตุผลที่รู้นั้น...
หลวงปู่สรวง ปริสุทโธ
..
..
...ได้รับผลดีของกรรมดี คือได้ประสบโลกธรรมฝ่ายดีเมื่อไร
เมื่อนั้นให้คิดถึงไตรลักษณ์ทันที จะได้รับผลดีของกรรมดี
ที่ดียิ่งกว่าผลดีทั้งนั้น
การคิดถึงไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวน
เปลี่ยนแปลง และไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการ คือ
การทำความดีทางใจ เป็นมโนกรรมที่ดี
จึงย่อมได้รับผลเป็นความดีตรงตามเหตุที่ได้กระทำ
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
..
..
คำสั่งสอนพระศาสดา มองด้วยตาไม่เห็น
ท่านผู้ใดเพียรบำเพ็ญ ผู้นั้นจะเห็นด้วยจิตใจ
ผู้ที่รู้ผู้ที่เห็น ผู้นั้นก็เป็นบัณฑิต
รู้ทั้งถูกรู้ทั้งผิด มีทุกยุคทุกสมัย
หลวงปู่เปลื้อง ปัญญาวันโต
..
..
จงถือธรรมะเป็นสำคัญ อย่าถือคน
ถ้ายังติดคนก็จะไม่ถึงธรรม
ถ้าถึงธรรมก็พ้นจากการติดคน
ถ้าติดคน ติดยศของคน
ติดฐานะของคน ติดศักดิ์ศรีของคน
ไม่มีอะไรดี เราก็ไม่เข้าถึงธรรม
ทุกอย่างที่ทำไปควรปรารภธรรม
อย่าเห็นแก่คน
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
..
..
การไม่รัก ไม่เกลียด ไม่โกรธนั้น เป็นทางไปของพระอริยเจ้า
เราห้ามรักว่า อย่าเกิดนั้นไม่ได้
เมื่อเขาเกิดมาแล้ว เราดูรักนั้นให้พินาศไปตามปัจจัยของญาณ
เราห้ามอย่าให้ทุกข์นั้นไม่ได้ เมื่อทุกข์เกิดขึ้นแล้ว
จงพิจารณาให้เห็นกันไปเป็นธรรมดาของมัน
เราห้ามไม่ให้โกรธ เกลียด แค้นนั้น ห้ามเขาไม่ได้
เมื่อเขาโกรธ เกลียด รัก แค้นขึ้นแล้ว
จงดูสิ่งเหล่านั้นดับไปเป็นธรรมดา
ท้ายที่สุด จิตของผู้ปฏิบัติจะเหนือกว่ากระแสโลกได้
หลวงพ่อจําเนียร สีลเสฏโฐ
..
..
ถ้าใจเราปกติ เป็นกลาง เป็นธรรมชาติ
ไม่ยินดียินร้ายแล้ว
สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกก็จะหมดไปจากใจเรา
เราก็จะอยู่ด้วยความไม่เปลี่ยนแปลง
จิตใจก็จะอยู่ในสภาพดั้งเดิม
ทุกข์ก็หมดไปเอง ไม่มีทุกข์อีก
หลวงปู่คูณ สิริจันโท
..
..
อย่างอื่นภายนอกเรียนเท่าไหร่ก็ไม่จบ
สู้เรียนวิชาในกายเราไม่ได้
ก็เอา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเรานี่แหละ
จะไปหาอะไรอื่น มันอยู่ในตัวเราทั้งหมด
มองหาที่อื่นไม่เห็น ถึงเห็นก็เป็นของปลอม
อยากรู้ก็ลองเรียนดู จะได้รู้ ได้เห็นของจริง
หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก
..
..
สังเกตนะ วันๆ หนึ่ง ส่วนมากเราจะไหลไปอยู่กับความเคยชิน กระทั่งลืมความรู้สึกตัว ลองกลับมารู้สึกเรื่อยๆ ทำอะไรก็ รู้สึก รู้สึก รู้สึก...หลักปฏิบัติคือ ให้เอาความรู้สึกตัว ใส่เข้าไปในความเคยชิน ทีนี้ประโยชน์ของความรู้สึกตัว พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้สึกตัวอยู่ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ก็จะเกิดขึ้น อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะดับไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้สึกตัวอยู่ ความเป็นผู้รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งพระสัทธรรม”
พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ
..
..
ยิ่งรัก ยิ่งยึดมั่นถือมั่นเท่าไร
ยิ่งหาผิดทางไปเท่าไร
ก็เหมือนกับก่อกองเพลิงขึ้นหลายๆ กอง
ไหม้มาทางบน ไหม้ลงข้างล่าง
ไหม้ลงทางซ้าย ไหม้ลงทางขวา
ตกลงมนุษย์ไปอยู่ที่ไหนจึงจะมีความสุข
หลวงปู่คำพอง ติสโส
..
..
ความสันโดษ มักน้อย
เป็นทรัพย์อันประเสริฐ ของผู้ต้องการความพ้นทุกข์
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

>> F/B เพจ สมาธิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2016, 08:38:04 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รวม..วาทะธรรมะ >>เพจ สมาธิ จุฬาฯ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 09, 2016, 08:40:15 pm »
บทเรียนส่วนใหญ่ในชีวิต
คือการเรียนรู้เพื่อเผชิญสิ่งที่ไม่ถูกใจ
ในตัวเราเองและโลกรอบๆ ตัวเรา
โดยให้รู้จักอดทน และรู้จักมีเมตตา
ไม่ฉุนเฉียวไปกับความรู้สึก
ทางประสาทสัมผัส
ที่ไม่ได้ดังที่ใจต้องการ
พระอาจารย์สุเมโธ
..
..
ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม
ความจริงก็ดำรงอยู่ตามธรรมดาของมันอย่างเป็นกลางๆ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้คือ ค้นพบความจริงนั้นแล้วนำมาเปิดเผยไว้...
ผู้ที่มองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น
ไม่ใช่มองตามที่ตนอยากหรือไม่อยากให้มันเป็น
จึงจะเข้าใจความจริงที่เป็นกลางนี้ได้
เมื่อเข้าใจธรรมที่เป็นกลางนี้แล้ว
ก็ย่อมมองเห็นความจริงอย่างกว้างๆ
ครอบคลุมทั่วไปทั้งหมด มีทัศนะเปิดกว้าง
หลุดพ้นเป็นอิสระอย่างแท้จริง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
..
..
กาย..วิมุติได้ วาจา..วิมุติได้ ใจ..วิมุติได้
มันไม่มีใครยึดใคร อย่าได้ไปยึดความเกิด ความดับ
เป็นสัตว์ เป็นสังขาร เป็นเรา เป็นของเราเสีย...เท่านั้นเอง
หลวงปู่บุดดา ถาวโร
..
..
...ถึงจะชอบใจมากแค่ไหน ก็ไม่สมควรจะตื่นเต้นตาม ถึงจะไม่ชอบใจสักเท่าไร ก็ไม่สมควรปล่อยให้จิตใจเศร้าหมอง...เราต้องพยายามให้จิตเป็นกลาง ที่เป็นกลางนั้นไม่ใช่ว่าไม่มีความรู้สึก ไม่มีอารมณ์เลย แต่ว่าเป็นกลางโดยมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดต่างๆ มีความมั่นคงท่ามกลางความรู้สึกต่างๆ...
พระอาจารย์ปสันโน
..
..
ทุกคนหนีโลกธรรมไม่พ้น จึงอย่าหนีมัน เพราะมันเป็นของธรรมดา คนส่วนใหญ่คิดว่าตนฉลาด (พระองค์ตรัสว่า เป็นคนโง่ตั้งแต่เริ่มคิด เพราะเป็นอารมณ์หลง) ดังนั้น เมื่อถูกด่า-ว่า-หรือติ หรือนินทา จะมีอารมณ์ไม่พอใจ โกรธ เก็บเอามาคิดปรุงแต่ง เกิดอาฆาต-พยาบาท-จองเวร เพราะอารมณ์โง่ โมหะหรือหลง หรือมิจฉาทิฏฐิ จึงทำร้ายตนเอง เผาตนเอง เบียดเบียนตนเอง ขาดเมตตาต่อตนเอง เหมือนกินยาพิษ เพราะโมหะ (โง่) แต่ใครเชื่อพระองค์ก็เป็นสุข เพราะถือเป็นของธรรมดา ให้ตั้งไว้ในอารมณ์ช่างมัน หรือวางเฉย หรือสักแต่ว่า หรืออุเบกขา จนถึงสังขารุเบกขาญาณในที่สุด
หลวงปู่หลุย จันทสาโร
..
..
โลกนี้เหมือนคุกขังสัตว์
เราชอบมาเกิด เพราะว่ามีของเล่นของหลอก
นักปฏิบัติจะหาทางออกอยู่เสมอ
เมื่อถึงเวลาจังหวะมี
ก็ดีดปึ้ง บินหนีออกไปเลย
หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ
..
..
ผู้ที่รู้จักตน คือ
ผู้ที่รู้ว่าไม่มีตน
หลวงปู่ชา สุภัทโท
..
..
ตัวนั่งพิจารณา นั่งคิดนึก นั่นมันตัววิตก...
การพิจารณาวิปัสสนาที่ถูกต้องนั้นไม่ใช่นั่งคิดอย่างนั้น..
คือ เมื่อเห็นรูปจากนิมิต ที่เกิดขึ้น จะสวยจะงามหรือไม่สวยไม่งามก็ ละ
ได้ยินเสียงก็ ละ ปวดขึ้นมาก็ ละ นึกคิดขึ้นมาก็ ละ
ได้กลิ่นก็ ละ รสเกิดขึ้นที่ลิ้นก็ ละ
ละกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
นี่คือตัววิปัสสนา ตัววิปัสสนาคือ ตัวละ
ฝึกให้จิตมันละ ให้มันทิ้ง
ให้มันปล่อย ให้มันวาง
เมื่อฝึกอยู่อย่างนี้ทุกวัน จิตมันรู้ มันก็คุ้นเคย
แล้วมันก็ไม่รับสิ่งเหล่านั้นต่อไป มันก็เบื่อหน่ายต่อกามคุณ...
หลวงปู่สรวง ปริสุทโธ

>> F/B เพจ สมาธิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย