วิถีธรรม > แนวทางปฏิบัติธรรม
อเหตุกจิต
ฐิตา:
นี่ไม่ใช่ชีวิตจริงๆหรือ เมื่อเกิดทุกขเวทนาก็โทมนัส เมื่อเกิดสุขเวทนาก็โสมนัส เราคิดว่าสุขเวทนาเป็นความสุขที่แท้จริง เราไม่เห็นตามความเป็นจริงว่าชีวิตเป็นทุกข์ เราไม่อยากเห็นความเจ็บป่วย ความชราและความตาย ความโศกเศร้าและความสิ้นหวัง ความไม่ยั่งยืนของสังขารธรรมทั้งหลาย เราหวังจะมีความสุขในชีวิต และเมื่อมีทุกข์ เราก็คิดว่าสุขเวทนาจะทำให้ความทุกข์หมดไป เราจึงยึดมั่นในสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
ปฏิจจสมุปบาทว่าเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ทุกขเวทนาก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาด้วย เพราะเราต้องการที่จะพ้นจากทุกขเวทนาด้วย ข้อความในพระสูตรมีต่อไปว่า
"... เขาย่อมเสวยสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลส เสวยสุขเวทนานั้น ย่อมเสวยทุกขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น และย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เราเรียกว่าเป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่าเป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ไม่รํ่าไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกครํ่าครวญ ไม่ถึงความงมงาย เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจฯ ...
ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราย่อมกล่าวว่าเป็นผู้ปราศจากทุกข์...."
"ไม่ใช่มีแต่จิตที่มีโลภะ โทสะ โมหะเกิดร่วมด้วย และจิตที่มีโสภณเหตุเกิดร่วมด้วยเท่านั้น
แต่ยังมีอเหตุกจิตซึ่งเป็นจิตที่ไม่มีเหตุ เกิดร่วมด้วย"
ฐิตา:
เวทนาเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป เวทนาไม่เที่ยง ไม่ควรยึดถือเวทนาว่าเป็นตัวตน
ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค หาลิททกานิสูตร มีข้อความเกี่ยวกับเวทนาว่า
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ที่เรือนสกุลใกล้กับสังปวัตตบรรพต ในอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล หาลิททกานิคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัจจายนะว่า
"พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะดังนี้ พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ความต่างกันแห่งผัสสะย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ อย่างไรหนอแล"
"ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อมรู้ชัดว่า รูปอย่างนี้น่าพอใจ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
อนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุอย่างนั้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่ารูปอย่างนี้ไม่น่าพอใจ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุอย่างนั้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า รูปอย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุวิญญาณและผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา
ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหูแล้ว... สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าธรรมารมณ์อย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาฯ
ดูกรคฤหบดี ความต่างกันแห่งผัสสะย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ ด้วยประการอย่างนี้แลฯ"
ถ้าสติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏทางทวารต่างๆ ก็จะรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม เราจะรู้ลักษณะของจิตและเวทนาประเภทต่างๆ เราจะรู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งและไม่ใช่ตัวตน เราจะรู้จากการปฏิบัติว่า ไม่ใช่มีแต่จิตที่มีโลภะ โทสะ โมหะ เกิดร่วมด้วย และจิตที่มีโสภณเหตุเกิดร่วมด้วยเท่านั้น แต่ยังมีอเหตุกจิตซึ่งเป็นจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย บางคนอาจจะไม่สนใจที่จะรู้เรื่องการเห็น การได้ยิน และสภาพธรรมอื่นๆที่ปรากฏทางทวารต่างๆ อย่างไรก็ตาม การที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงนั้น จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าจิตซึ่งได้ยินเสียงมีลักษณะต่างกับจิตที่ชอบหรือไม่ชอบเสียง และจิตเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยต่างๆกัน ธรรมใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ธรรมนั้นสามารถพิสูจน์ได้ด้วยการเจริญสติระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
คัดลอกจากหนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
โดย Nina Van Gorkom
แปลโดย ดวงเดือน บารมีธรรม
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
Credit by : http://buddhiststudy.tripod.com/ch8.htm
Pics by : Google
: http://www.sookjai.com/index.php?topic=3802.0
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:45: อนุโมทนาครับผม
ฐิตา:
ธรรมะจากหลวงปู่ดูลย์
อเหตุกจิต ๑
อเหตุกจิต ๓ ประการ
๑. ปัญจ ทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตาม อายตนะ หรือทวารทั้ง ๕ มีดังนี้
ตา ไปกระทบกับรูป เกิด จักษุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ ตา เห็นรูปไม่ได้
หู ไปกระทบเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้ หู ได้ยินเสียงไม่ได้
จมูก ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานะวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้ จมูก รับกลิ่นไม่ได้
ลิ้น ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ ลิ้น รับรู้รสไม่ได้
กาย ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กาย รับสัมผัสไม่ได้
วิญญาณทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกายตามทวาร ทำ หน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบ
เป็นสภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น
ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอกที่เข้ามากระทบ
แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามมิให้เกิด มี เป็นเช่นนั้น ย่อมกระทำ ไม่ได้
การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น
หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้นประกอบการงานทางกาย ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต
เช่นเมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิดปรุง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้ เป็นต้น
(ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว)
๒. มโนทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ที่มโนทวาร มีหน้าที่ผลิตความคิดนึกต่างๆ นานา
คอยรับเหตุการณ์ภายในภายนอกมากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้
ก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็ให้กำหนดรู้ว่าจิตคิดถึงเรื่องเหล่านั้น
ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล เราเขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น
อเหตุกจิต ๒
ทำความเห็นให้เป็นปกติ ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ไหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์
๓. หสิตุปบาท คือ กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม หมายความว่าไม่อยากยิ้มมันก็ยิ้มของ
มันเอง กิริยาจิตอันนี้มีเฉพาะเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี
สำหรับ อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ มีเท่ากันในพระอริยเจ้าและในสามัญชน นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
เมื่อตั้งใจปฏิบัติตนออกจากกองทุกข์
ควรพิจารณา อเหตุกจิต นี้ให้เข้าใจด้วย เพื่อความไม่ผิดพลาดในการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม
อเหตุกจิต นี้ นักปฏิบัติทั้งหลายควรทำความเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว
เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด ซึ่งเป็นอันตราย
ต่อการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไม่เข้าใจใน อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ นี้เอง
อเหตุกจิต ข้อ ๓ เป็นกิริยาจิตที่ยิ้มเองโดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม เกิดในจิตของเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น
ในสามัญชนไม่มี เพราะกิริยาจิตนี้เป็นผลของการเจริญจิตจนอยู่เหนือมายาสังขารได้แล้ว จิตไม่ต้องติดข้อง
ในโลกมายา เพราะความรู้เท่าทันเหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งได้แล้ว เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง
:13: http://www.sookjai.com/index.php?topic=5111.0
กระตุกหางแมว:
กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม
ผมเป็นบ่อยๆอันนี้ แต่ไม่ใช่ หสิตุปบาท
แต่เป็นเพราะความบ้าส่วนตัวห้ามเลียนแบบ :45:
อนุโมทนาครับพี่แป๋ม :13: :13:
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version